Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

ประกาศเตือนเรื่อง โรคคอตีบระบาดที่สามจังหวัดอิสานตอนบน

edward_jong

11/11/2012 10:00:26
0
ผมคนเหนึ่งที่ทำงานขึ้นล่องภาคอิสานครับ ตอนนี้มีโรค คอตีบ ระบาดอยู่ ที่จังหวัด เลย (แหล่งกำเนิดเชื้อ) หนองบัวลำภู อุดรธานีและ อำเภออื่นๆรอยต่อจังหวัดเหล่านี้ ที่อาจจะติดโรคนี้ ครับ
ทางหน่วยงานราชการได้ออกปราบปรามโดยการฉีดวัคซีน (เฉพาะวันราชการครับ หยุดเสาร์ อาิทิตย์ เอแล้วเชื้คโรคมันยอมหยุดแพร่ระบาดให้เราวันหยุดได้ไหมเนื่ย)

ดังนี้ถ้าท่านใดมีความจำเป็นจะต้องเดินทางมาจังหวัดที่ผมว่านี้ ควรต้องไปฉีดวัคซีนที่จังหวัดของท่านกันไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โรคคอตีบนี้ระบาดไปที่อื่นๆ ได้ ครับ (ไม่ต้องมาหาที่จังหวัดเหล่านี้เพราะมีไม่เพียงพอครับ)

ปล กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้เปิดเผยข่าวนี้เลย ทั้งที่ระบาดมาได้สองเดือนแล้วครับ ระวังตัวด้วย ผมเองยังเเทบหาวัคซีนไม่ได้เลยตอนนี้

ปล โรคคอตีบ เป็นโรคโบราณที่หายจากบ้านเราไปนานนนนมากแล้ว แต่กำเนิดในครั้งมาจากแรงงานคนต่างด้าวครับ เพราะมาตรการ ต.ม. บ้านเราไม่ระเอียดในการตรวจโรคก่อนพวกนี้เข้ามาในเมืองไทย
ทั้งนี้ถ้ามีการเปิด aec เข้ามา ท่นอาจจะพบโรคแปลกๆมากขึ้นแน่อน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

edward_jong

11/11/2012 14:05:29
0
ตอนนี้ผมอยู่อุดร ใครมาก็หาวัคซีนฉีดกันกอ่นนะครับ เพราะที่จังหวัดรอบข้างมีคนตายเพราะโรคนี้ไปหลายคนแล้ว และอาการมันเหมือนเป็นหวัดเจ็บคอทั่วไป ทำให้ผู้ป่วยชะล่าใจไม่ไปหาหมอครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

jetsadaton999

11/11/2012 14:33:47
0



น่ากลัวมากโดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นในเด็กเล็กๆ..... ขออนุญาต คัดลอกบทความมาเผยแพร่ครับ
ที่มา : dpc2.ddc.moph.go.th/option/PSO/pso2/data/pic/2.doc

โรคคอตีบ ( Diptheria )
อุษา โฉมปราชญ์

โรคคอตีบ เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่มักเกิดกับเด็ก ซึ่งเมื่อเป็นแล้วทำให้หลอดลมตีบตัน
สาเหตุ โรคคอตีบเกิดจากเชื้อ bacteria
พยาธิสภาพ มีลักษณะเป็นแท่งรูปไม้เท้า ทำให้เกิดหนังเยื่อแข็งหนาเหมือนหนังสัตว์ในช่องคอ
เชื้อเป็นแท่งไม่เคลื่อนที่ ไม่มี capsuls หุ้ม ย้อมติดสีกรัมบวก
การติดต่อ โดยการไอจามทำให้ละอองน้ำลายหรือเสมหะที่ติดเชื้อของผู้ป่วยแพร่ไปยังบุคคลอื่น
ถ้าเป็นพาหะของโรค ไม่มีอาการซึ่งสามารถพบเชื้อได้จากการเพาะเชื้อ nasopharyn หรือผิวหนัง
ระยะฟักตัว 2 – 6 วัน
ระยะแพร่เชื้อ ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มป่วย โดยทั่วไปอาจจะแพร่เชื้ออยู่ได้นาน 2 สัปดาห์อาจมีบางรายแพร่เชื้อได้นานถึง 6 เดือน
อาการ ไข้ค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย มักไม่ค่อยเกิน 10 วัน ยกเว้นบางรายที่ผู้ป่วย มีอาการมาก สัญญาณปรากฎและอาการขึ้นอยู่กับแผลติดเชื้อ ระยะต่อมาคออักเสบ มีอาการคอเจ็บ ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มีไข้ต่ำ ไอ
อาการแทรกซ้อน มี 2 ชนิดที่เกิดขึ้นเฉพาะที่และทั่วไป
อาการแทรกซ้อนเฉพาะที่ เกิดขึ้นจากแผ่นเนื้อเยื่อกระจายไปยังกล่อง เสียงทำให้ท่อทางเดินอุดตัน หายใจไม่ออก มีความรุนแรงมากในทารก และเด็กเล็ก
อาการแทรกซ้อนที่เกิดทั่วไป เกิดขึ้นเนื่องจาก สารพิษของเชื้อ bacteria ทำให้เป็นอันตรายต่อหัวใจและระบบประสาท ผู้ป่วยโรคคอตีบที่มีอาการ จำนวน 6 ราย จะมี 1 ราย ที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการ จะเกิดขึ้นภายใน 1 สัปดาห์หลังจากคออักเสบ อาการอาจจะเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออย่างช้าๆทำให้หัวใจวาย และเสียชีวิต
อาการทางระบบประสาท มักเกิดระยะหลังของโรคคอตีบเริ่มแรก อัมพาต ของเพดานปากมีลักษณะเฉพาะ เสียงพูดแบบออกจมูก กลืนอาหารลำบาก สำลักน้ำออกทางจมูก และอาจมีอัมพาตของเส้นประสาทสมอง กล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนเปลี้ย ผู้ป่วยอาจจะคืนสู่สภาพปกติได้แม้ว่าจะมีอาการอัมพาตอยู่หลายเดือน
การวินิจฉัย ตรวจบริเวณคอจะเห็นคอตีบ แผ่นเนื้อเยื่อสีเหลืองปนเทาคลุมอยู่รอบๆต่อม
ทอลซิลแผ่นเนื้อเยื่อมีคราบหนาประมาณ 1 มิลลิเมตร และติดอยู่กับต่อมทอลซิล ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอจะโต ทำให้ลำคอโตและบวม

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยการตรวจหาเชื้อจากแผลจากการย้อมสีกรัมและเพาะเชื้อ
เม็ดเลือดขาวสูงปานกลาง
มีอัลบูมินในปัสสาวะ
อาการตรวจพบที่สำคัญ 3 ใน 4 ถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคคอตีบ
1.มีไข้สูงปานกลางอุณหภูมิประมาณ 38 – 40 C
2.บริเวณลำคอและต่อมทอลซิลบวมแต่ไม่ค่อยเจ็บ
3.บริเวณลำคอและต่อมทอลซิลไม่แดง แม้ว่าจะบวมเห็นชัดเจน
4.พบมีเยื่อสีเทา – น้ำตาลบริเวณต่อมทอลซิล
การควบคุมโรค โรคนี้เป็นโรคที่ต้องแจ้งความทั่วราชอาณาจักร
การเฝ้าระวัง
- การวินิจฉัยโดยรวดเร็ว
- การติดตามค้นหาผู้ป่วย
- ศึกษาทางระบาดวิทยาเพื่อหาแหล่งแพร่โรค
- รายงานและแจ้งความโรค
การสร้างภูมิคุ้มกันโรค - ฉีดวัคซีนแก่เด็กทุกคนตั้งแต่ 2 – 3 เดือน
- ฉีดให้ครบชุด และฉีดกระตุ้นตามกำหนด
การกำจัดการติดต่อโรค
แยกผู้ป่วย
ทำลายเชื้อโรคในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ รวมทั้งของใช้ของผู้ป่วย
การยกระดับสุขวิทยาส่วนบุคคล แนะนำให้เด็กไปรับการฉีดวัคซีนตามกำหนด
การรักษา ถ้าสงสัยว่าเป็นคอตีบ ควรให้ Antitoxic ทันที โดยไม่ต้องรอผลการตรวจ
ทางห้องปฎิบัติการ ในรายที่รุนแรง อาจฉีดยาเข้ากล้ามหรือเข้าเส้นเลือดดำ

เรียบเรียงโดย ชวลิต ทัศนสว่าง วทบ. ( เทคนิคการแพทย์ ) 634 –643 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กุมภาพันธ์ 2533
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

edward_jong

11/11/2012 15:53:37
0
ระวังตัวด้วยนะครับ อำเภอด่านซ้ายมีผูป่วย หลายคน และมีตายไปแล้ว

จังหวัดรอบข้างระวังให้ดี อย่าให้มันลุกลามไปไกลกว่านี้
พรุ่งนี้ผมจะไปฉีดวัคซีนครับ เพราะต้องเดินทางไปจังหวัดอื่น ไม่อยากพาเชื้อไปด้วย 55

ควรเร่งกำจัดเชื้อโรคนี้อย่างท่วงทีนะครับ

ปล วันนี้ส่งข่าวเองไปเว็ปท่าอื่นด้วย น่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

boyod

13/11/2012 01:49:22
3
ข้อมูลดีมากครับ ยิ่งมีเด็กเล็กเเล้วอดห่วงไม่ได้เลย.....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"ประกาศเตือนเรื่อง โรคคอตีบระบาดที่สามจังหวัดอิสานตอนบน"