แฟนเพลง Pink Floyd มานั่งปูเสื่ออ่านได้เลย (โดยเฉพาะเฮียมั่นคงน่าจะชอบน่ะ 555 )ผมเอาบทความนี้มาจาก Pantip ครับ ซึ่งคุณ Agent Fox Mulder เคยโพสไว้นานแล้ว ต้องขอบคุณมากๆที่แปลมาให้ครับ
ที่มา
เพลง Shine On You Crazy Diamond (ต่อไปจะขออนุญาตย่อว่า SOYCD) >>> (ซอยซีดี 555) ถือกำเนิดขึ้นในช่วงปี 1974 โรเจอร์ให้สัมภาษณ์ว่า เพลงนี้เริ่มต้นมาจากเสียงกีตาร์สามสี่โน๊ตของเดฟ ซึ่งภายหลังถูกพัฒนาจนกลายเป็นเพลงยาวเหยียดถึง 9 Part ด้วยกัน โรเจอร์บอกอีกว่า มันถูกแต่งขึ้นในแบบเดียวกับที่พวกเค้าเคยแต่งเพลง Echoes โดยในช่วงทัวร์ของปี 1974-1975 เพลง SOYCD ถูกนำไปเล่นในครึ่งแรกของการแสดงสดของทางวง ร่วมกับเพลงอื่นๆ ที่ยังเป็นวัตถุดิบใหม่ๆ ในขณะนั้น คือเพลง Raving And Drooling, You&squot;ve Gotta Be Crazy และ Have A Cigar (ซึ่งสองเพลงแรกต่อมากลายมาเป็นเพลง Sheep และ Dogs ในอัลบั้ม Animals ตามลำดับ) โดยเพลง SOYCD จะถูกแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ คือ Part 1-5 และ Part 6-9 โดยในการแสดงสดช่วงปี 1974-1975 มันจะถูกคั่นด้วยเพลง Have A Cigar
การบันทึกเสียงของเพลง SOYCD กับอัลบั้ม Wish You Were Here
สังเกตดีๆ จะเห็นว่าในเซ็ทลิสต์ของทัวร์ในปี 1974-1975 ของพวกเค้า ไม่มีเพลง Welcome To The Machine และ Wish You Were Here ร่วมอยู่ด้วย สาเหตุเป็นเพราะว่าในช่วงทัวร์จนถึงต้นเดือนกรกฎาคมของปี 1975 นั้น ทางวงยังไม่ได้แต่งเพลง Welcome To The Machine และ Wish You Were Here ไว้ (หรืออาจแต่งไว้แต่ไม่ได้นำไปเล่นออกแสดง) ซึ่งสองเพลงนี้ถูกนำมาบันทึกเสียงในช่วงกลางเดือนถึงปลายเดือนกรกฎาคมในปี 1975 ส่วนเพลง SOYCD และ Have A Cigar นั้น เข้าในว่าทางวงเริ่มงานบันทึกเสียงมาตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมของปี 1975 แล้ว โดยเข้าสตูดิโอบันทึกเสียงสลับกับการออกทัวร์
ภาพรวมของเพลง SOYCD
แน่นอนว่าอย่างที่หลายๆ ท่านรู้กันว่า เพลงทุกเพลงในอัลบั้ม Wish You Were Here มีธีมหลักเกี่ยวกับ Syd Barrett โดยโรเจอร์เคยให้คำอธิบายเกี่ยวกับธีมนี้ด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ว่า "Absence" หรือการขาดหายนั่นเอง และเพลง SOYCD ก็เช่นเดียวกัน มันถูกประพันธ์ขึ้นมาเป็นส่วนแยกได้ถึง 9 Part โดยทุกพาร์ตใช้คีย์เดียวกันคือเป็น Gm เรียกได้ว่า Gm แทบจะเป็นสัญลักษณ์ของเพลงนี้ได้เลยครับ
SOYCD Part I
เวลา :00 – 2:05
เครดิตผู้แต่ง Wright, Waters, Gilmour
รายละเอียด : อินโทรของเพลงนี้เริ่มต้นด้วยเสียงจากการเล่นแก้วไวน์ที่ถูกใส่ระดับน้ำไว้ต่างกัน โดยใช้มือเปียกๆ ถูไปมาบริเวณขอบแก้ว (ซึ่งเป็นการนำวัตถุดิบจากโปรเจคท์เก่าที่ชื่อ Household Objects ที่ทางวงเคยคิดจะทำ แต่สุดท้ายก็ล้มเลิกไป) เพื่อให้เกิดเป็นคอร์ด Gm ซึ่งจะซ้อนกับเสียงคอร์ดจากซินธิไซเซอร์ ARP Solina String Ensemble โดยจะเป็นคอร์ดแช่อยู่จนถึงประมาณวินาทีที่ 20 เราจะได้ยินเสียงโซโล่ Minimoog จากริก โดยลักษณะเสียงจะคล้ายๆ เสียง Horn โดยทั้งหมดจะถูกรองรับด้วยคอร์ด Gm ทั้งหมด
SOYCD Part II
เวลา 2:05 - 3:55
เครดิตผู้แต่ง Gilmour, Waters, Wright
รายละเอียด : เป็นช่วงที่เดฟเริ่มโซโล่กีตาร์ชุดแรก โครงสร้างของคอร์ดจะกลายเป็น Gm Cm และ Dm โดยกีตาร์เดฟใช้บันทึกเสียงคือ Black Strat ในสมัยที่คอยังเป็นไม้ Rosewood อยู่ (คอสีดำ) โดยจะปิด Knob โทนที่ตัวกีตาร์ และสเกลที่เดฟใช้จะเป็น Gm Pentatonic โดยจะมีเสียงซินธ์จาก VSC3 เล่นเป็นโน๊ตเบสด้วย
SOYCD Part III
เวลา 3:55 – 6:28
เครดิตผู้แต่ง Waters, Gilmour, Wright
รายละเอียด : เริ่มต้นด้วยโน้ตสี่ตัวจากกีตาร์ของเดฟ คือ (B-flat, F, G, E) วนซ้ำไปซ้ำมา จนถึงรอบที่สี่ ออร์แกน Hammond B-3 ของริกและเบสกับกลองก็จะเข้ามา ตามด้วยโซโล่กีตาร์ชุดที่สองจากเดฟ (เดฟดันสายได้ถึงพริกถึงขิงมาก) ช่วงนี้ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Syd&squot;s Theme
SOYCD Part IV
เวลา 6:29 – 8:43
เครดิตผู้แต่ง Waters, Gilmour, Wright
รายละเอียด : เริ่มต้นด้วยการโซโล่ Minimoog เป็นเสียง Horn อีกครั้งจากริก แล้วตามด้วยโซโล่กีตาร์ชุดที่สามจากเดฟ โดยเดฟเล่นกีตาร์ผ่าน MXR Phase 90 จบด้วยการเล่นกีตาร์ Double Track คู่ประสานของเดฟ
SOYCD Part V
เวลา 8:44 - 13:34
เครดิตผู้แต่ง Waters
รายละเอียด : ท่อนร้องที่โรเจอร์เป็นทั้งผู้แต่งและร้องนำ สังเกตว่ายังคงคอนเซปต์เดิมคือเป็นคีย์ Gm โดยมีโครงสร้างการเคลื่อนของคอร์ดที่น่าสนใจมาก (ไม่น่าเชื่อว่าโรเจอร์จะเขียนคอร์ดได้ดีขนาดนี้) Backing Vocals โดยริก, เดฟ และนักร้องประสานเสียงสาวสองคนคือ Venetta Fields และ Carlena Williams เสียงออร์แกนของริกและเสียงกีตาร์ของเดฟโดดเด่นเหลือเกิน จบท่อนร้องด้วยโซโล่แซ็กโซโฟนจาก Dick Parry ซึ่งใช้แซ็กโซโฟนถึงสองชนิดด้วยกัน โดยเริ่มต้นด้วย Baritone Saxophone ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น Alto Saxophone ในช่วงเวลา 12:02 โดยเดฟเล่นกีตาร์ แบบเดียวกันกับใน Syd&squot;s Theme คู่ไปกันเสียงออร์แกนของริก จนถูกเฟตเอาท์ออกไป
SOYCD Part VI
เวลา 00 – 5:00
เครดิตผู้แต่ง Wright, Waters, Gilmour
รายละเอียด : เปิดด้วยเสียงลมที่ต่อมาจากแทร็ก Wish You Were Here ตามด้วยเสียงเบสโน๊ตตัว G ย้ำๆ จากฝีมือเบสของเดฟ ในขณะที่โรเจอร์เล่น Riff เบสอีกท่อนนึงผ่านเอฟเฟคต์ MXR Phase 90 (ท่อนนี้มีเบสถึงสองตัวด้วยกัน) ริกเริ่มเล่น ARP Solina และอีกครั้งด้วยโซโล่ Minimoog จนถึงช่วงนาทีที่ 1:40 เดฟเริ่มเล่น Lap Steel เป็น Unision คู่ไปกับ Minimoog ของริก หลังจากนั้น เดฟเริ่มโซโล่ Lap Steel ยาวเหยียด โดยมีริกแซมๆ Minimoog กับ ARP Solina ไปตลอดทาง
SOYCD Part VII
เวลา 5:01 – 6:05
เครดิตผู้แต่ง Waters, Gilmour, Wright
รายละเอียด : ท่อนร้องชุดที่สองซึ่งมีโครงสร้างและการเรียบเรียงในแบบเดียวกับ Part V ทุกอย่าง จบด้วยริฟฟ์กีตาร์ Syd&squot;s Theme เหมือนเดิม
SOYCD Part VIII
เวลา 6:05 – 9:05
เครดิตผู้แต่ง Gilmour, Wright, Waters
รายละเอียด : ท่อนแจมที่ออกจังหวะไปทาง Funky หน่อยๆ ริกเริ่มต้นด้วยการเล่นเปียโนไฟฟ้า Wurlitzer คุมด้วยคอร์ด Gm และ C จนถึงนาทีที่ 7:01 ริกเล่น Hohner Clavinet ส่วนเดฟเล่นโซโล่ Lap Steel ควบคู่ไปกับ โซโล่ซินธ์ VCS3 ของริก โดยในส่วนของภาคริธึ่ม เดฟเล่น Rhythm Guitar ที่ผ่านเอฟเฟคต์ MXR Phase 90
SOYCD Part IX
เวลา 9:05 – 12:31
เครดิตผู้แต่ง Wright
รายละเอียด : ท่อนปิดที่เป็นเครดิตการประพันธ์ของริกแต่เพียงผู้เดียว ใช้จังหวะ 4/4 มีการเคลื่อนของคอร์ดที่น่าสนใจมากๆ ซึ่งเป็นแบบฉบับของริกโดยแท้ (แม้แต่เดฟก็ทำแบบนี้ไม่ได้) ยังคงคอนเซปต์คือเป็นคีย์ Gm ในส่วนของการเรียบเรียงคือมีเปียโนอคูสติกเป็นตัวคุมหลัก โดยมีโซโล่เสียง Horn จาก Minimoog และหยอดด้วยเสียงซินธ์ Sweeping Effect จาก VCS3 เป็นระยะๆ