1.หมวดของกิน
1.1ข้าวสาร/อาหารแห้ง/ข้าวกระป๋อง/อาหารกระป๋องแบบเปิดกินได้ทันที/น้ำพริกแห้ง/หมูแผ่นหมูหยองหมูแดดเดียว/ขนมปังสดและแครกเกอร์
1.2น้ำดื่มเตรียมไว้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เผื่อเอาไว้ใช้อาบน้ำด้วย เพราะถ้าน้ำท่วมถังเก็บน้ำที่บ้านจะใช้น้ำนั้นไม่ได้ อย่าประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไปเพราะไม่มีอะไรคาดเดาได้ การเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าอย่างพอเพียงดีที่สุดค่ะ และจะได้แบ่งปันให้เพื่อนบ้านได้ด้วย
1.3ขนมที่ชอบ/ชา/กาแฟกระป๋อง/นมกล่อง/นมถั่วเหลืองกล่อง/นมเปรี้ยวแบบกล่อง
1.4ที่เปิดกระป๋อง
1.5ช้อน ส้อมพลาสติก จานกระดาษ
1.6น้ำยาล้างจาน
1.7ถุงขยะ/ถุงก๊อบแก๊บ
1.8ถังขยะแบบมีฝาปิดใบใหญ่
2.หมวดเครื่องนุ่งห่มและการชำระร่างกาย
2.1เสื้อผ้า/ชุดชั้นใน(ไม่มีการซักผ้าจนกว่าน้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติ)
2.2ผ้าอนามัย
2.3ผ้าขนหนูผืนเล็ก/กลาง/ใหญ่
2.4กะละมังใบเล็ก
2.5เด็ทตอลน้ำ/โคโลญจน์
2.6แป้งฝุ่นทาตัว/แป้งเย็นตรางูสำหรับคนที่ร้อนง่ายเพียงเทแป้งใส่ฝ่ามือผสมน้ำพอประมาณประตามตัวจะเย็นสบายๆใจ
2.5สบู่/ยาสีฟัน/แปรงสีฟัน/แชมพู(ใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ)/roll on อันนี้ก็จำเป็น
3.หมวดการขับถ่าย
3.1ถุงพลาสติกทึบขนาดเล็กเอาไว้ใช้ถ่ายหนักใช้เสร็จมัดปากถุงให้แน่น/ยางรัดของเอาไว้มัดถุงที่กล่าวไว้มิฉะนั้นกลิ่นจะลอดออกมาได้
3.2กระดาษชำระ/ทิชชู่แบบเปียกที่ทารกใช้(baby wet tissue)อันนี้สารพัดประโยชน์จริงๆควรมีไว้เยอะๆใช้เช็ดตัว/เช็ดหน้า/เวลาถ่ายหนัก เบาใช้ทิชชู่ธรรมดาเช็ดให้สะอาด ใช้ทิชชู่แบบเปียกเช็ดซ้ำเพื่อให้สะอาดจริงๆ
3.3ขวดน้ำเปล่าๆท่านชายฉี่ใส่ขวดได้เลย/ขวดน้ำตัดปากขวดออกสำหรับสุภาพสตรีใช้แล้วเทใส่ขวดเดียวกับท่านชาย/กระโถนใช้ถุงก๊อบแก๊บรองก่อนสำหรับบ้านที่มีเด็กหรือท่านที่ไม่สามารถถ่ายใส่ถุงได้(มันจั๊กกระเดียมใจเกิน)
3.4ถังขยะมีฝาปิด/ถุงดำ เอาไว้สะสมของเหลือจากร่างกาย.ได้โปรดอย่าถ่ายอุนจิ อย่าฉี่ลงน้ำนะคะ
4.หมวดเครื่องนอน
4.1หมอน/ผ้าห่ม/ถุงนอน/มุ้งครอบกันยุง
4.2พัด/พัดลมเล็กแบบใช้ถ่าน
4.3ยาทากันยุง
5.หมวดเวชภัณท์
ยาจำเป็น เช่นยาประจำตัว/ยาสามัญ ยาดม ยาอม(บรรเทากระหายน้ำ ลมหายใจสดชื่น) ยาหม่อง ยาทานวดที่ปวดเมื่อย ยาทาเชื้อราน้ำกัดเท้า พาราเซตามอล ยาแก้หวัด ผงน้ำตาลเกลือแร่ พลาสเตอร์ยา ผ้าปิดปาก เจลทำความสะอาดมือจะช่วยประหยัดน้ำและฆ่าเชื้อ เบต้าดีน ยาธาตุน้ำแดง(ถ้านอนมากท้องจะอืดได้นะคะ). ยาธาตุน้ำขาว ยาลดกรดแก้ปวดท้อง(Antacil gel) น้ำส้มสายชู(แก้พิษตะขาบ) ยาคุมกำเนิด แอลกอฮอล์ทำแผล แอลกอฮอล์ชนิดดื่มไม่แน่ใจว่าจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้มั้ย บ้างว่าเป็นน้ำกระสายยาดอง ดื่มบางๆแก้เก๊กซิม คำเตือน การดื่มเหล้ามีผลเสียต่อร่างกายและความสามารถในการตัดสินใจลดลง ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้อินซูลินชนิดฉีด อินซูลินสามารถอยู่นอกตู้เย็นได้ 28 วันโดยไม่เสื่อมฤทธิ์
6.หมวดของใช้จำเป็น
6.1ไฟฉายสองกระบอกขึ้นไป/ถ่านไฟฉายควรสำรองไว้ให้พอ/ไฟแช็คสามสี่อันเผื่อจุดไม่ติดหรือแบ่งให้ข้างบ้าน/ถ่านสำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆเช่น วิทยุ MP3 เน้นไว้ฟังข่าว. เตาแก้ส เตาถ่านและถ่าน หม้อหุงข้าวไฟฟ้าถ้าไม่ถูดตัดไฟ หม้อแบบตั้งไฟเอาไว้หุงข้าว ต้มน้ำชงกาแฟ ต้มน้ำอาบ กระทะ
6.2แบตมือถือสำรองที่ชาร์จไว้เต็มพร้อมใช้อย่างน้อยสองก้อน/ที่ชาร์จแบตมือถือแบบใช้ถ่าน/ที่ชาร์ตแบต
6.3กระดาษแข็ง ปากกาหัวใหญ่สีดำ แดง น้ำเงิน เอาไว้เขียนขอความช่วยเหลือ
6.4มีด/ค้อน/ตาปู/ขวาน/ไม้เบสบอล(เอาไว้ขู่โจร)
6.5ผ้าใบ/พลาสติกแบบหนา
6.6ธงชาติขนาดเล็ก
6.7ไม้กวาดทางมะพร้าว/ไม้กวาดธรรมดา
6.8เชือกฟาง/เชือกมะนิลา/เชือกไนลอน/เชือกที่แข็งแรงที่เอาไว้ลากรถเผื่อน้ำเชี่ยวและจำเป็นต้องลุยน้ำ
6.6รองเท้าแตะ/รองเท้าบูท
6.7หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน( ขอความช่วยเหลือทั่วไป/ความช่วยเหลือทางการแพทย์/แจ้งเหตุ )
6.8ที่ตัดเล็บ/กรรไกร/คัตเตอร์/มีดทำครัว
6.6ที่ปั๊มชักโครก
6.7โทรโข่ง/นกหวีด เอาไว้ขอความช่วยเหลือ
6.8ร่ม/เสื้อกันฝน
6.9เทียนไข ตะเกียงแบบใช้ถ่าน เทียนพรรษา(ใช้ได้นานดีสว่างดี)
7.หมวดแก้เบื่อแก้เซ็ง
7.1หนังสือที่ชอบ/งานที่ค้างคา/กล้องถ่ายรูปพร้อมแบตสำรอง
7.2เกมที่ชอบเล่น/ipad/notebook/เครื่องดูหนังฟังเพลงพร้อมแผ่นที่ชอบใช้กรณีไม่ถูกตัดไฟ
7.3เครื่องออกกำลังกาย
7.4ถุงยางอนามัย
7.5ไพ่(เอาไว้เล่นอีแก่กินน้ำ ดูดวง)
8.หมวดติดตามข่าวสารและสถานการณ์
8.1ทีวี/อินเตอร์เน็ต( ถ้าไม่ถูกตัดไฟ) วิทยุแบบใช้ถ่าน MP3
8.2เรือเล็กถ้ามี
9.หมวดเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
9.1หนังสือธรรมะ/จิตวิทยา
9.2พระพุทธรูป/บทสวดมนต์