Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

eee เอาใจอามนตรีย์มาหลายคลิปแล้ว ขอตามใจตัวเองมั่งนะครับ eee

eeman2

14/08/2011 20:03:46
0
เคยสังเกตไหมว่าป้ายโฆษณาริมถนนในกรุงเทพ ฯ โดยเฉพาะข้างทางด่วนเกือบร้อยทั้งร้อยล้วนเป็นภาพของหญิงชายที่กำลังยิ้มแย้มและมีความสุข เห็นได้ชัดว่าพวกเขามีความสุขก็เพราะได้บริโภคหรือได้ครอบครองสินค้าบางอย่าง ซึ่งทำให้เขาสัมผัสได้ถึงรสชาติอันเอร็ดอร่อย หาไม่ก็ได้รับความสนุกสนาน หรือประสบความสำเร็จ รวมทั้งดึงดูดผู้คนให้เข้าหาคน ซึ่งมักหนีไม่พ้นเพศตรงข้าม และโดยที่ไม่ต้องใช้ความสังเกตมาก ก็จะพบว่าหญิงชายที่กำลังมีความสุขเหล่านั้นมักอยู่ในวัยหนุ่มสาว

นอกจากเชิญชวนให้เราซื้อสินค้าของเขาแล้ว ใช่หรือไม่ว่าป้ายเหล่านี้กำลังบอกเราด้วยว่า วัตถุ(หรือเงิน) ความสนุกสนาน ความสำเร็จ เซ็กส์ และความเป็นหนุ่มสาว คือที่มาแห่งความสุข

แต่มองให้ลึกลงไป ป้ายโฆษณาเหล่านี้มิเพียงส่ง “สาร” มาให้ผู้คนซึมซับเข้าไปสู่จิต(ไร้)สำนึกเท่านั้น หากมันยังเป็นกระจกสะท้อนค่านิยมของผู้คนในสังคมปัจจุบันด้วย เป็นเพราะคนส่วนใหญ่(โดยเฉพาะคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของป้ายโฆษณาเหล่านี้) มีความเชื่อเช่นนั้นอยู่แล้ว สื่อโฆษณาทั้งหลายจึงใช้ความเชื่อเหล่านั้นเป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกดีต่อสินค้าที่ต้องการเสนอขาย

แต่จริงหรือว่า ทรัพย์สมบัติ ความสนุกสนาน ความสำเร็จ เซ็กส์ และความเป็นหนุ่มสาว เป็นปัจจัยแห่งความสุข ทุกวันนี้รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นเกือบ ๕๐ เท่าเมื่อเทียบกับ ๕๐ ปีที่แล้ว ขณะที่สิ่งอำนวยความสนุกและสถานบันเทิงเริงรมย์มีทุกหนแห่ง แต่ความสุขของผู้คนก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย กลับจะลดลงด้วยซ้ำ หากดูจากสถิติคนเป็นโรคจิตโรคประสาทและอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี รวมทั้งการใช้ยาระงับความเครียดที่พุ่งสูงขึ้นไม่หยุด การวิจัยเมื่อไม่กี่ปีมานี้พบว่าตามโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ มีการสั่งยาคลายเครียดหรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทถึง ๑ ใน ๔ ของใบสั่งยาทั้งหมด ส่วนในกรุงเทพมหานครและภาคกลางก็พบว่ามีการใช้ยาคลายเครียดเพิ่มสูงขึ้นมาก

นี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา รายได้ของคนอเมริกันเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว แต่สัดส่วนของคนอเมริกันที่บอกว่า “มีความสุข” ไม่ได้เขยิบเพิ่มขึ้นเลย คืออยู่ที่ ๖๐ % มาตลอด ส่วนคนที่บอกว่า “มีความสุขมาก” ลดลงจาก ๗.๕% เป็น ๖% ในยุโรปและญี่ปุ่นความสุขก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดก็คือ โรคจิต โรคประสาท และการฆ่าตัวตาย

เงินมีส่วนทำให้คนมีความสุขก็จริง แต่ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด จะว่าไปแล้วหากมีทรัพย์สมบัติถึงจุดหนึ่ง (เช่น เลยพ้นระดับความยากจนหรืออัตคัดขัดสน) เงินที่เพิ่มขึ้นอาจไม่ช่วยให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นเลยก็ได้ การศึกษากลุ่มชนทั่วโลกที่มีวิถีชีวิตและมาตรฐานการครองชีพที่ต่างกันเมื่อไม่กี่ปีมานี้พบว่า เศรษฐีพันล้านชาวอเมริกัน ชาวอามิช(ที่ยังชีพแบบเกษตรกรเมื่อร้อยปีก่อน)ในรัฐเพนซิลวาเนีย ชาวอินุยต์ในเกาะกรีนแลนด์ที่ปกคลุมด้วยหิมะ และชนเผ่ามาไซในอาฟริกา ล้วนมีความสุขในระดับใกล้เคียงกัน (คือ ๕.๘ หรือ ๕.๗ จากคะแนนเต็ม ๗)

การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศก็ให้ผลในทำนองเดียวกัน นั่นคือประเทศร่ำรวยไม่จำเป็นต้องมีความสุขมากกว่าประเทศที่มีรายได้ปานกลางหรือยากจน อาจกลับกันด้วยซ้ำ เช่น บราซิลมีความสุขมากกว่าปอร์ตุเกสและเยอรมนี การวิจัยล่าสุดของรุตต์ วีนโฮเฟน (Rutt Veenhofen) แห่งมหาวิทยาลัยรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเทอร์แลนด์พบว่า ประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลกคือ คอสตาริกา (คะแนน ๘.๕) รองลงมาคือเดนมาร์ค (๘.๓) และแคนาดากับสวิตเซอร์แลนด์ (๘.๐)

จริงอยู่เมื่อศึกษากลุ่มคนที่อยู่ในประเทศเดียวกัน จะพบว่าคนรวยมักมีความสุขมากกว่าคนจน แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วกลับมาสอบถามความรู้สึกอีกครั้ง จะพบว่าคนรวยไม่จำเป็นต้องมีความสุขมากกว่าคนจน กล่าวอีกนัยหนึ่งเงินกับความสุขไม่ได้ผูกติดกันเสมอไป

ความสุขนั้นอาศัยตัวแปรมากมาย ซึ่งไม่เกี่ยวกับปริมาณตัวเลขใด ๆ อย่างไรก็ตามมีตัวเลขประเภทหนึ่งซึ่งสามารถเป็นตัวชี้วัดความสุขได้ดี ตัวเลขนี้คนมักนึกไม่ถึง นั่นคืออายุ พอพูดถึงอายุ ผู้คนมักคิดว่า วัยที่มีความสุขมากที่สุดคือ วัยรุ่นหรือหนุ่มสาว แต่การศึกษาล่าสุดจากหลายสำนักกลับพบว่า วัยชราต่างหากที่มีความสุขมากที่สุด

แอนดรูว์ ออสวอลด์ (Andrew Oswald) แห่งมหาวิทยาลัยวอริค ได้สอบถามความเห็นของประชาชนใน ๗๒ ประเทศ ข้อสรุปที่ได้ก็คือ อายุเฉลี่ยที่ผู้คนมีความทุกข์มากที่สุดคืออายุ ๔๖ ปี แต่หลังจากนั้นก็จะมีความสุขเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ สอดคล้องกับการวิจัยของมหาวิทยาลัยพรินซตันนำโดยอาเทอร์ สโตน (Arthur Stone) ซึ่งแยกกลุ่มคนตามวัย และสอบถามความรู้สึกทั้งบวกและลบ เพื่อดูว่าอารมณ์เหล่านี้สัมพันธ์กับอายุมากน้อยเพียงใด สิ่งที่นักวิจัยกลุ่มนี้พบก็คือ ความสุขและความเบิกบานจะต่ำสุดเมื่อถึงวัยกลางคนจากนั้นก็จะเพิ่มขึ้น ความกังวลเพิ่มถึงขีดสูงสุดเมื่ออยู่ในวัยกลางคนและตกลงอย่างฮวบฮาบหลังจากนั้น ความโกรธลดลงตามวัย ส่วนความเศร้าเพิ่มขึ้นนิดหน่อยในวัยกลางคนและลดลงหลังจากนั้น สรุปก็คือ ความสุขของผู้คนจะมีลักษณะคล้ายตัว U นั่นคือ มีความสุขมากเมื่อเป็นวัยรุ่น(ก่อนอายุ ๑๘) หลังจากนั้นก็จะลดต่ำลงเรื่อย ๆ จนถึงวัยกลางคน (คือปลาย ๔๐) แล้วก็จะไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอายุ ๘๐ โดยระดับความสุขนั้นมากกว่าตอนก่อนอายุ ๑๘ เสียอีก ( คือ ๗.๐ เทียบกับ ๖.๘)

อะไรทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขมากกว่าคนวัยอื่น ( หรือ “ทำไมชีวิตจึงเริ่มต้นเมื่ออายุ ๔๖” อย่างที่นิตยสาร The Economist ฉบับรับปีใหม่ได้พาดปก) เป็นเพราะผู้สูงอายุมีรายได้ดีกว่า ประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า มีตำแหน่งสูงกระนั้นหรือ เมื่อผู้วิจัยได้ตัดตัวแปรอื่น ๆ เช่น รายได้ อาชีพการงาน สถานะทางสังคม ออกไป ก็ยังพบว่าผู้สูงอายุมีความสุขมากกว่าคนวัยอื่น แสดงให้เห็นว่าความสุขของผู้สูงอายุนั้นเป็นผลจากปัจจัยภายในมากกว่าปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายในที่ว่านั้นได้แก่อะไร ที่สำคัญก็คือ วุฒิภาวะ ความเข้าใจในชีวิต และการจัดการกับอารมณ์ของตน อันเป็นผลมาจากประสบการณ์อันยาวนาน ผู้สูงอายุนั้นผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก จึงทำใจได้ดีกว่าเมื่อประสบกับความไม่สมหวัง อดกลั้นต่ออารมณ์ได้มากกว่าเมื่อถูกกระทบหรือประสบกับสิ่งที่ไม่ถูกใจ อาจจะเป็นเพราะตระหนักดีว่า มันเป็นธรรมดาของชีวิต หรือเพราะรู้ว่ามันมาแล้วก็ต้องผ่านไป ไม่มีอะไรจิรังยั่งยืน ความโกรธหรือความวิตกกังวลจึงครอบงำจิตใจได้น้อยกว่าวัยอื่น

มีการทดลองให้คนวัยต่าง ๆ ฟังเสียง(จากเครื่องบันทึก)ของคนที่พูดจาระรานเขา ทั้งผู้สูงวัยและคนหนุ่มรู้สึกไม่ดีพอ ๆ กัน แต่ผู้สูงวัยโกรธน้อยกว่าและปล่อยวางได้มากกว่า หลายคนให้เหตุผลว่า “เราไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้ตลอดเวลา”

การผ่านโลกมามาก เห็นความผันผวนขึ้นลงของผู้คนมากมายรวมทั้งตัวเอง ย่อมมีส่วนทำให้ผู้สูงวัยตระหนักว่า ถึงที่สุดแล้วความสุขก็อยู่ที่ใจของเราเอง หาได้อยู่ที่ทรัพย์สินเงินทองหรือของนอกตัวไม่ เพราะคนที่ร่ำรวยแต่เป็นทุกข์ มีฐานะสูงแต่ฆ่าตัวตายก็มากมาย ดังนั้นจึงเห็นความสำคัญของการทำใจ ขณะเดียวกันก็ดิ้นรนน้อยลงเพื่อครอบครองสิ่งต่าง ๆ อย่างที่เคยทำในวัยหนุ่ม การยอมรับข้อจำกัดของตนเอง ก็มีส่วนช่วยให้ผู้สูงวัยยอมรับจุดที่ตัวเองเป็นอยู่ได้ แม้จะเคยมีความใฝ่ฝัน แต่เมื่อไปไม่ถึงดวงดาว ก็พอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น ในทางตรงข้ามวัยหนุ่มสาวหรือกลางคนคงทำใจเช่นนี้ได้ยากเป็นเพราะยังมีความหวังและความทะเยอทะยาน ที่สำคัญก็คือ ยังคิดว่าตัวเองยังมีโอกาสที่บรรลุความใฝ่ฝันเพราะมีเวลาเหลืออีกมากมาย

ประเด็นหลังเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุมองต่างจากคนหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยชราย่อมรู้ดีว่าเวลาของตัวเองเหลือน้อยลงทุกที ดังนั้นจึงไม่หวังกับอนาคต รวมทั้งไม่รอความสุขจากสิ่งที่ยังอยู่อีกไกล แต่หันมาหาความสุขจากปัจจุบัน นั่นคือมีความพึงพอใจกับสิ่งที่มีอยู่และเป็นอยู่ และใช้ประโยชน์เต็มที่จากเวลาที่มีอยู่ ไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างไร้ค่า

ความตายที่ใกล้เข้ามามักช่วยให้คนเราตระหนักว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต รวมทั้งใส่ใจกับสิ่งนั้นก่อนอื่นใด (ต่างจากคนหนุ่มสาวหรือคนที่ยังมีสุขภาพดี ที่แม้จะรู้ว่าอะไรสำคัญ แต่ก็มักจะผัดผ่อนไปก่อน เพราะมัวเถลไถลหรือหมกมุ่นกับสิ่งที่ไม่สำคัญ เช่น ความสนุกสนาน หรือการแสวงหาชื่อเสียง) ความตระหนักดังกล่าวทำให้คนชรามักจะใช้เวลาที่มีอยู่กับสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายต่อชีวิต เช่น ครอบครัว การบำเพ็ญประโยชน์ การทำบุญกุศลหรือเข้าหาศาสนา ซึ่งย่อมมีความสุขทางใจเป็นรางวัล

การรู้จักวางใจต่อชีวิตและเหตุการณ์รอบตัวนี้เองที่เป็นคำตอบว่าเหตุใดผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นสุขมากกว่าคนในวัยอื่น หาใช่ทรัพย์สินเงินทอง ความสำเร็จ ความสนุกสนาน หรือ เซ็กส์ อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจไม่ จะว่าไปแล้วสองประการหลังนั้นเป็นสิ่งที่คนชรามีโอกาสสัมผัสน้อยกว่าคนหนุ่มสาวด้วยซ้ำ แต่นั่นก็มิใช่ปัจจัยสำคัญแห่งความสุข โดยเฉพาะความสุขที่ยั่งยืน

แม้ความชราจะนำความเปราะบางมาสู่ชีวิตมากขึ้น รวมทั้งบั่นทอนสิ่งดี ๆ ที่เคยมี เช่น กำลังวังชา สุขภาพอนามัย และความสนุกสนาน แต่อย่างน้อยก็ให้สิ่งหนึ่งมาทดแทน ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่ง นั่นคือประสบการณ์ชีวิตที่ช่วยพัฒนาวุฒิภาวะและทำให้มีความเข้าใจในชีวิตมากขึ้น อันเป็นที่มาแห่งความสุขอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามเราไม่จำเป็นต้องรอให้แก่ชราเสียก่อน จึงจะเกิดสิ่งดี ๆ เหล่านั้น แม้จะยังเป็นหนุ่มสาว ก็สามารถฝึกใจให้ฉลาดในการรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตด้วยความไม่ประมาท ในขณะที่ยังมีเรี่ยวแรงและความมุ่งมั่นในการ “ทำกิจ” เพื่อบรรลุความใฝ่ฝันนั้น ก็ไม่ละเลยที่จะ “ทำจิต” เพื่อพร้อมเผชิญกับทุกอย่างที่เกิดขึ้น ในยามสำเร็จหรือรุ่งเรืองก็ไม่หลงระเริง เมื่อล้มเหลวหรือตกยาก ก็ไม่ทุกข์ระทม เพราะรู้ดีว่ามันเป็นธรรมดาของชีวิต

ถึงที่สุดแล้วอะไรเกิดขึ้นแก่เรา ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเรารู้สึกต่อสิ่งนั้นอย่างไร มีมากเท่าไรก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเรามีท่าทีต่อสิ่งที่มีอย่างไร แม้มีน้อยแต่พอใจ ความสุขก็พลันบังเกิด ถึงมีมากแต่ไม่พอใจที่เห็นคนอื่นมีมากกว่า ก็ย่อมทุกข์สถานเดียว ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจ นี้คือความจริงที่ไม่ว่าคนชราหรือหนุ่มสาวก็สามารถประจักษ์แก่ใจได้

นิตยสารสารคดี : ฉบับที่ ๓๑๖ :: มิถุนายน ๕๔ ปีที่ ๒๗

คอลัมน์รับอรุณ : ความสุขที่ปลายทาง
พระไพศาล วิสาโล


ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

montree2511

14/08/2011 21:24:55
0
เมื่อใดที่ชีวิตเราชาว "พุทธ" ขาดในเรื่อง...หลัก "ธรรม"...

อย่าได้หวังหาความสงบสุขในชีวิตได้เลยครับ...

เงินอาจจะเป็นปัจจัยที่ตอบสนอง...บาง "สิ่ง" เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่คน "เชื่อ" ว่านั่นคือ..."ความสุข"

เมื่อใดที่ ...เราใช้เงินในการ "ซื้อ" ความสุขแล้ว...

วันนึง...หากเราไม่ีมีเงิน หรือ มีเงินลดลงล่ะ...จะทำอย่างไร...

จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า...ขาด "เงิน" ก็ย่อมขาด "ความสุข"...

ผมจำได้นะ เฮีย และ อีกหลายต่อหลายท่านในเว็ปนี้ เคยบอกว่า...ซื้อหูฟัง หรือ เซ็ตอะไรก็ตาม...

ขอให้เอาแต่ "พอดี"...ผมก็ได้จัด ด้วยความ "พอดี" ...

และพยายามให้มันพอดีครับ...

แค่นี้...ชีวิตผมระหว่างการ "เดินทาง" ไกล ๆ ก็มีความสุขเพิ่มขึ้นแล้วล่ะครับ...

โดยไม่เดือดร้อนมากจนเกินไปนัก....

10 งวดที่จัดของร้านเฮีย...ใกล้จะหมดล่ะครับ...ฮ่า ๆ ...


ขอบคุณ น้าแม๊นซ์ สำหรับข้อคิดดี ๆ ในยามค่ำคืนวันอาทิตย์ที่สงบ พร้อมพักผ่อนครับผม...

ด้วยความเคารพครับ...


แถวววววววว....ตร๊งงงงง....ฮี่ ๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

chimgimmick

14/08/2011 21:40:13
0
อ่านแล้วชอบจัง ขอเอาไปโพสใน TAF หน่อยนะครับ...

ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

เบียส

14/08/2011 22:27:37
11
โอ้ว ...ววว ขอบคุณ ครับ อ่านก่อนนอน แล้ว รู้สึกอยากแก่ มั่งละ สิ 55 ........อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

eeman2

14/08/2011 23:50:14
0
เหมือนผมเลยครับเฮียเบียส แต่ผมคงต้องรออีกนานเลย เพราะตอนนี้ผมเพิ่งอายุ 23 เอง

อามนตรีย์ ตอนนี้ผมว่าจะแบ่ง คลิปขาวเด้งจะอยู่ทู้โน้น ให้เป็นภาพลักษณ์ให้อามนตรีย์ไป อิอิย์ ส่วนทู้นี้ ผมจะหมั่นอัพบทความดีๆมาแบ่งกัน ถ้าท่านใดจะมาแจมด้วย ไม่ว่าจะบทความ ความเห็น จะขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ ความดี ยิ่งบอกกล่าวถึงกัน ก็ยิ่งดีครับ

ท่านchim หรือท่านใดจะเอาไปแชร์ต่อก็ตามสะดวกเลยครับ เพราะผมก็ตัดปะมาอีกทีหนึ่ง ผมขอเป็นผู้รับใช้ให้พระอาจารย์ทั้งหลายท่านอีกทอดหนึ่งเช่นกันครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

montree2511

15/08/2011 16:00:21
0
ยินดีครับ น้าแม๊นซ์...ผมยังไงก็ได้ครับผม...

หากอะไรก็ตามที่จะพอ "ยัง" ประโยชน์กับเว็ปนี้ได้...ผมยินดีเสมอครับ...ฮี่ ๆ

ต้องขอบคุณเฮียด้วยครับ...สำหรับการนี้...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

eeman2

16/08/2011 08:58:38
0
วินทร์ เลียววาริณ

www.winbookclub.com

สิงหาคม 2553


“แล้วไงล่ะ?”

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 ชายหนุ่มคนหนึ่งนาม หลิว เหว่ย สมัครเข้าประกวดคัดหาศิลปินเพลงในรายการ China’s Got Talent เขาแตกต่างจากคนอื่นมิใช่เพราะมีเรือนกายผอมบาง สวมแว่นตาขอบกระหนาซึ่งดูไม่เป็นศิลปินดนตรี แต่เก้าอี้ที่เขานั่งบรรเลงเปียโนสูงกว่าปกติมาก

หลิว เหว่ย ไม่มีแขนทั้งสองข้าง เขาเล่นดนตรีด้วยนิ้วเท้า!

ชายหนุ่มเล่นเพลงคลาสสิก Mariage D’amour ซึ่งเคยสร้างชื่อเสียงให้ Richard Clayderman มาแล้ว ด้วยนิ้วเท้าทั้งสิบที่ขยับไปมา โน้ตดนตรีหลั่งไหลออกจากเปียโนทีละตัว ต่อเนื่องแผ่วพลิ้วเป็นดนตรีเสียงสดใสกังวานท่ามกลางความคาดไม่ถึงของผู้ชม

หลิว เหว่ย เป็นชาวปักกิ่งวัยยี่สิบสาม เมื่ออายุสิบขวบ เขาเล่นซ่อนหากับเพื่อนๆ และเผลอถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด เด็กชายนอนไม่รู้สึกตัวนานสี่สิบห้าวัน แต่ก็รอดชีวิตมาได้อย่างมหัศจรรย์แลกกับการสูญเสียแขนทั้งสองข้างไปอย่าง ถาวร

เด็กน้อยร้องไห้เสียใจ คนไม่มีแขนจะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร บางคนถามเขาว่า “แล้วนี่จะกินข้าวยังไง?”

พลันเขาก็เข้าใจสัจธรรมว่า ชีวิตเป็นสิ่งเปราะบางยิ่ง เราทุกคนสามารถจากโลกไปได้ง่ายดายชั่วพลิกฝ่ามือ

พ่อแม่ของ หลิว เหว่ย บอกเขาว่า “ลูกต้องฝึกฝนการกินข้าวด้วยตัวเอง มิเช่นนั้นต่อไปเบื้องหน้า เมื่อพ่อแม่แก่แล้ว ใครจะดูแลลูก”

เมื่อนั้นเด็กพิการก็ได้สติ เข้าใจแล้วว่าสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความฝัน

แม่ของเขาบอกว่า “ลูกก็ไม่ได้ต่างจากคนอื่นเลย”

เมื่อคิดดูแล้ว ก็จริงอย่างที่แม่บอก ดูๆ แล้วเขาก็ไม่ได้ต่างจากคนอื่น แค่ไม่มีสองแขนก็เท่านั้นเอง!

เมื่อปลงได้ เขาก็มองว่ามันเป็นชะตาชีวิตของเขา ป่วยการที่จะคร่ำครวญ เมื่อยอมรับความจริงได้ สติก็กลับคืนมา การไม่มีแขนไม่ใช่เรื่องทุกข์ระดับร้ายแรงอีกต่อไป เขาถามตัวเองว่า “แขนไม่อยู่แล้ว แล้วไงล่ะ?”

ตั้งแต่นั้นเขาก็ดำเนินชีวิตเยี่ยงคนปกติ เขาบอกว่า “ผมมีความสุขดีกับชีวิตที่มีสีสัน เช่นเดียวกับคนหนุ่มสาวอื่นๆ”

แม่ไม่เคยคาดหวังอะไรจากเขา ขอเพียงให้เขามีสุขภาพดีก็พอแล้ว แต่เขาอยากทำอะไรมากกว่านั้น อยากทำอะไรที่สำเร็จ

เขาฝันอยากเป็นโปรดิวเซอร์ดนตรีชั้นนำ

เป้าหมายเขาในวันนี้คืออยากได้ติดหนึ่งในสามอันดับแรกของการประกวด “เพื่อที่แม่จะได้มีอะไรพูดถึงลูกชายคนนี้กับคนอื่นบ้าง!”



โลกเรามีตัวอย่างคนสู้ชีวิตจำนวนมากมาย ผู้ที่ไม่ยอมถอยแม้จะพิการ คนตาบอด คนไร้แขน ไร้ขา กระทั่งคนที่ใกล้ตาย

กระนั้นคนส่วนมากก็มองว่า “ก็พวกนั้นเป็นคนพิเศษ เป็นคนที่มีกำลังใจเข้มแข็งผิดมนุษย์ ฉันเป็นคนธรรมดา จะทำอย่างนั้นได้ยังไง”

หรือ “ถ้าฉันต้องตกในสภาพตาบอด แขนขาดสองข้างอย่างนั้น ฉันขอตายดีกว่า”

แต่ตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องพิสูจน์ให้เราเห็นว่า การต่อสู้กับชีวิตไม่ใช่ความพิเศษแบบพรสวรรค์ ใครๆ ก็ทำได้หากจะทำจริงๆ

ลีนา มาเรีย คลิงวัลล์ ไม่มีแขน มีขาสมบูรณ์เพียงข้างเดียว เธอว่ายน้ำระดับทีมชาติ เย็บปักถักร้อย ขับรถ เล่นวอลลีย์บอล แม้กระทั่งทำอาหาร

ทนง โคตรชมภู ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อสลายจนแขนขาลีบใช้การไม่ได้ เขาใช้ปากวาดรูประดับมืออาชีพ

ฯลฯ

มันคล้ายเป็นโบนัสที่ธรรมชาติมอบให้เมื่อเราสูญเสียอวัยวะบางชิ้นไป ขอเพียงแต่ไม่อยู่เฉยๆ รอความตาย

คนเหล่านี้เลือกที่จะพูดว่า “แล้วไงล่ะ?” แทนที่จะเป็น “ไม่เอาแม่ งแล้วโว้ย! ตายดีกว่า”

ไปต่อหรือไม่ไปต่อขึ้นกับทัศนคติของเราเองว่าจะใช้เกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง

“แขนไม่อยู่แล้ว แล้วไงล่ะ?”

“นัยน์ตาเสียไปแล้ว แล้วไงล่ะ?”

“เท้าหายไปแล้ว แล้วไงล่ะ?”

“อีกสองเดือนก็ตายแล้ว แล้วไงล่ะ?”

‘แล้วไงล่ะ?’แปลว่าก ูยังคิดที่จะมีชีวิตอยู่! ขอเวลาก ูคิดหน่อย แต่จะเดินหน้าไปแน่โว้ย!



หลิว เหว่ย ใช้เกียร์เดินหน้า

ชายหนุ่มไร้แขนเล่นเพลงนั้นจนจบ ทุกคนตะลึง เพราะลำพังใช้นิ้วมือเล่นเปียโนก็ยากแสนยากแล้ว เขาทำได้อย่างไร?

เขาเริ่มฝึกเล่นเปียโนตอนอายุสิบเก้า การฝึกทรมานมาก เพราะเปียโนไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเท้า ครูที่สอนเขาก็เลิก บอกว่าเป็นไปไม่ได้ที่เล่นเปียโนด้วยนิ้วเท้า

หลิว เหว่ย เล่าว่าแค่ฝันว่าจะเล่นเปียโนก็ถูกหัวเราะเยาะเสียแล้ว มิพัก ‘ลงเท้า’ เล่นจริงๆ การฝึกฝนทีแรกนั้นลำบากแสนสาหัส โชคดีที่เขาเป็นพวกที่เมื่ออยากทำอะไร ก็ทำให้มันจบให้เรียบร้อย

เขาบอกตัวเองว่าเขามีทางเลือกแค่สองทาง หนึ่งคือ คร่ำครวญและภาวนาให้ตายเร็วๆ อีกทางหนึ่งก็คือทำเรื่องที่แสนวิเศษ

“ไม่มีใครกำหนดเป็นกฎว่า เปียโนต้องเล่นด้วยนิ้วมือเท่านั้นนี่หว่า!”

เมื่อข้ามอุปสรรคก้าวแรกไปได้ ก้าวที่สองก็ยากน้อยกว่าก้าวแรก ก้าวที่สามก็ยากน้อยกว่าก้าวที่สอง...

เมื่อไม่ยอมแพ้เสียอย่างเดียว อะไรๆ ก็เป็นไปได้

หลิว เหว่ย ผ่านเข้ารอบแรกไปได้ เขาอาจไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่วันนี้เขาได้รับชัยชนะไปเรียบร้อยแล้ว

‘เรื่องที่แสนวิเศษ’ เป็นความจริงได้ตั้งแต่เมื่อคิดได้ว่า “แล้วไงล่ะ?”




[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=B1Qut0Nrsiw[/youtube]
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

Tanawat Na Ja

16/08/2011 20:46:27
0
e สุโค้ยครับ .... เรา โดยเฉพาะพวกเหล่าเล่าทั้งหลายสมควรหันมองคุณค่าภายในมากกว่าภายนอกครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

aor

17/08/2011 12:24:59
8
พูดไม่ออก มันเป็นความจริงที่โหดร้ายสำหรับจระเข้แบบผมครับคุณอีแม้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 9

eeman2

18/08/2011 23:29:49
0
ในสายตาของคนทั่วไป หลวงพ่อพุทธทาสเป็นพระที่ดุ น่าเกรงขาม จนไม่ค่อยมีใครกล้าโต้เถียงหรือถามท่านตรง ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วท่านชอบเวลามีคนมาซักถามหรือโต้แย้งท่าน หากมีเหตุผล ท่านก็รับฟัง แม้กิริยาอาการของผู้ถามจะดูไม่สุภาพ ท่านก็ไม่โกรธ กลับนิ่งสงบ และตอบเป็นปกติเพื่อประโยชน์ของผู้ฟัง

เทพศิริ สุขโสภา นักเขียนและศิลปินชื่อดัง เล่าว่าคราวหนึ่งได้ถามท่านว่า

"อาจารย์ครับ อาจารย์สอนเรื่องจิตว่างมานาน ท่านไม่โกรธไม่เกลียดใคร ผมก็เชื่อแต่เคยนึกพอใจไหม"

"ถ้าเผลอก็มี" ท่านตอบเรียบ ๆ

"แล้วท่านเผลอบ่อยหรือเปล่า" เทพศิริถามพลางชี้หน้าท่าน แต่ท่านกลับไม่ว่าอะไร ท่านพูดน้ำเสียงปกติ พูดว่า "ของอย่างนี้ปฏิบัติมากเท่าไร โอกาสเผลอก็มีน้อยลงเท่านั้น"

ท่านมีความปกติแม้กระทั่งเวลาได้ฟังปัญหาต่าง ๆ ที่ชวนให้หดหู่หรือโกรธแค้น เทพศิริเล่าว่าคราวหนึ่งได้เล่าให้พระที่สวนโมกข์ฟังถึงการทำลายโบราณสถาน โดยเฉพาะเจดีย์เก่า ๆ มีการเอารถแทรกเตอร์ทำลายพระเจดีย์เพื่อหากรุพระ หลายคนได้ฟังก็ไม่พอใจ แม้แต่พระก็รู้สึกโกรธเคืองโจรเหล่านั้น แต่หลวงพ่อพุทธทาสฟังเป็นปกติราวกับไม่ได้ยินเรื่องเล่า จนในที่สุดเทพศิริซึ่งเป็นนักเล่านิทานตัวยงก็ค่อย ๆ ลดเสียงลง แล้วเลิกเล่าไปกลางคันเลย เมื่อเห็นท่านไม่มีอารมณ์ร่วม มองดูเหมือนว่าท่านไม่สนใจเรื่องเหล่านี้ หรือไม่เห็นคุณค่าของโบราณสถาน แต่ที่จริงน่าจะเป็นเพราะท่านเห็นว่ามันเป็นธรรมดาโลก ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะโกรธเคืองพฤติกรรมของคนเหล่านี้

ความซื่อตรงกับตัวเอง กล้าที่จะยอมรับความผิดพลาดหรือข้อจำกัดของตนเองเป็นคุณลักษณะประการหนึ่งของหลวงพ่อพุทธทาสที่ประทับใจผู้ใกล้ชิด โกวิท เขมานันทะซึ่งเคยบวชกับท่านนานนับสิบปีเล่าว่า

วันหนึ่งพวกเราพระเณร กำลังกวนปูนกันอยู่ ท่านอาจารย์เดินมาพูดว่า "พวกคุณโง่อยู่ได้ คุณไปกวนทำไมให้เสียเวลา ทำไมไม่เอาปูน เอาทราย เอาหิน เอาน้ำเทรวมในถังน้ำมันปิดฝา แล้วก็กลิ้งมันไปในสนามหญ้า " ทุกคนก็สว่างไสว พูดกันว่าเออจริง ๆ แล้วทุกคนก็ปฏิบัติตาม กลิ้งกันไปกลิ้งกันมาจนเหงื่อตก พอเปิดฝา หินอยู่หิน ทรายอยู่ทราย ปูนอยู่ปูน พวกเราก็ชักมีอารมณ์ ทั้งเหนื่อยทั้งผิดหวัง อาจารย์เห็นเข้าท่านก็หัวเราะ บอกว่า "ผมจะไปรู้อะไร ผมไม่เคยทำ"

นอกจากไม่สร้างภาพให้ตนเองดูดีแล้ว ท่านยังชอบล้อตัวเอง ดังมักเรียกตัวเองว่าเป็น สุนัขปากร้าย หรือกล่าวหาว่าตัวเองชอบใช้คำว่าโสกโดก กล่าวได้ว่าท่านไม่ยอมพะนอหรือปรนเปรออัตตาตนเองเลย สมกับที่เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประพันธ์ไว้ว่า

"พุทธทาส" นามท่านปานขุนเขา
ทว่าเบาสบายอย่างว่างน้ำหนัก
และตัวตนของท่านนั้นใหญ่นัก
ใหญ่ด้วยหลักให้สละละตัวตน


เรื่องเล่าเช้าวันพระ
พระไพศาล วิสาโล
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 10

jomjomjom

19/08/2011 01:45:59
5
สาธุค่ะอา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 11

Mr.Burst

19/08/2011 11:04:50
3
รักอา รักเว็บนี้ครับ ใครว่ามีแต่คนไร้สาระ...มีที่ไหน..ไม่มี๊!!!!!
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 12

pap

23/08/2011 02:15:30
ชักจะหลงรัก คุณeeman2 แล้วซิเนี่ยไม่ทราบแต่งงานหรือยังครับ อิอิ

บ้า...ผมไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิดนะ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 13

jomjomjom

23/08/2011 07:21:07
5
หยุดเลย หยุดเลย อย่ามาวอแว คุณอาย์ของฉันนะย์
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 14

eeman2

23/08/2011 07:51:20
0
“ความสุข คือ อะไร”

“พ่อค้าคนหนึ่งส่งลูกชายของเขาไปเรียนรู้เคล็ดลับของความสุขจากชายผู้ชาญฉลาดที่สุดในโลก เด็กหนุ่มเดินทางไปในทะเลทรายถึง 40 วัน ในที่สุด เขาก็มาถึงปราสาทสวยงามซึ่งตั้งตระหง่านอยู่เหนือภูผา ปราสาทนี้เป็นที่พำนักของชายผู้ชาญฉลาดที่เขาตามหา
“แต่แทนที่จะได้พบชายมีลักษณะเหมือนนักบุญ เมื่อพระเอกของเราเข้าไปในห้องโถงปราสาท เขากลับเห็นว่าในห้องนั้นมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย พ่อค้ากำลังเดินเข้าเดินออก คนจับกลุ่มคุยกันตรงมุมห้อง ด้านหนึ่งมีวงดนตรีเล็กๆ กำลังบรรเลงเพลงเบาๆ และบนโต๊ะก็วางอาหารที่อร่อยที่สุดในส่วนนั้นของโลกเต็ม ชายผู้ชาญฉลาดสนทนากับทุกคน เด็กหนุ่มต้องรอนานถึงสองชั่วโมงกว่าจะได้พูดคุยกับเขา

“ชายผู้ชาญฉลาดตั้งใจฟังเด็กหนุ่มอธิบายว่าเขามาที่นี่ทำไม และบอกว่าตอนนี้ยังไม่มีเวลาอธิบายเคล็ดลับของการมีความสุขให้ฟัง ชายผู้ชาญฉลาดแนะให้เด็กหนุ่มเดินดูรอบๆ ปราสาท และกลับมาหาเขาใหม่สองชั่วโมงหลังจากนั้น
“ ‘ระหว่างนั้น ฉันอยากให้เธอทำอะไรบางอย่าง’ ชายผู้ชาญฉลาดบอกเด็กหนุ่ม และยื่นช้อนซึ่งมีน้ำมันสองหยดให้ ‘ระหว่างที่เดินดูรอบๆ ปราสาท จงถือช้อนนี้ไปด้วย แต่ระวังอย่าให้น้ำมันหกเสียล่ะ’

“เด็กหนุ่มขึ้นและลงบันไดที่มีมากมายในปราสาทแห่งนั้น ตาของเขาจับอยู่ที่ช้อนและหยดน้ำมัน สองชั่วโมงผ่านไป เขาก็เดินกลับมายังห้องที่ชายผู้ชาญฉลาดรออยู่”

“ ‘เอาล่ะ’ชายผู้ชาญฉลาดเอ่ย ‘เธอเห็นผ้าทอเปอร์เซียที่ประดับอยู่ในห้องอาหารของฉันไหม รวมทั้งสวนซึ่งคนทำสวนที่เก่งที่สุดต้องใช้เวลาถึงสิบปีกว่าจะจัดเสร็จ และเอกสารที่คัดลอกด้วยลายมืออันสวยงามในห้องสมุด เธอเห็นของพวกนั้นไหม’

“เด็กหนุ่มรู้สึกอาย เขาสารภาพว่าเขาไม่ได้มองอะไรเลย สิ่งที่เขาสนใจมีเพียงอย่างเดียว คือ หยดน้ำมันที่ชายผู้ชาญฉลาดสั่งให้เขาดูแล

“ ‘ถ้าเช่นนั้น เธอจงกลับไปดูใหม่ และดูความน่ามหัศจรรย์ทั้งหลายในโลกของฉัน’ ชายผู้ชาญฉลาดบอก ‘อย่าไว้ใจใครหากเธอยังไม่รู้จักบ้านของเขา’

“เด็กหนุ่มรู้สึกสบายใจขึ้น เขาหยิบช้อนและเริ่มออกสำรวจปราสาทครั้งนี้ เขามองเห็นผลงานศิลปะชั้นเลิศทั้งบนผนังและเพดาน เห็นสวนและเทือกเขาที่ล้อมรอบเขาอยู่ เห็นความงามของดอกไม้และรสนิยมของเจ้าของปราสาทซึ่งสะท้อนผ่านสรรพสิ่งที่ถูกเลือกสรรมาก เมื่อเขากลับมาหาชายผู้ชาญฉลาด เด็กหนุ่มเล่าทุกสิ่งที่เบาเห็นอย่างละเอียดลออ

“แล้ว ‘หยดน้ำมันที่ฉันให้เธอดูแลล่ะ’ชายผู้ชาญฉลาดถามขึ้น

“เด็กหนุ่มมองช้อนที่เขาถืออยู่และพบว่าหยดน้ำมันหายไปแล้ว

“ ‘สิ่งที่ฉันอยากบอกเธอมีอย่างเดียว’ ชายผู้ชาญฉลาดที่สุดในโลกกล่า ‘เคล็ดลับของความสุขคือ การมองเห็นความมหัศจรรย์ทั้งปวงในโลก ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมหยดน้ำมันในช้อน’”

ที่มา : เปาโล โคเอโย (เขียน) ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (แปล) ขุมทรัพย์ที่ปลายฝัน. (The Alchemist) สำนักพิมพ์คบไฟ. กรุงเทพ : 2543. หน้า 25-27.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 15

เหน่งบา

15/08/2013 04:10:40
0
ดันเช้ามืด
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"eee เอาใจอามนตรีย์มาหลายคลิปแล้ว ขอตามใจตัวเองมั่งนะครับ eee"