Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส(Streptococus suis)มหันตภัยสำหรับหูของเรา

ittichai k.

22/03/2011 12:52:45
0



เชื้อ สเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส(Streptococus suis) ซึ่งเป็นเชื้อธรรมดาชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณจมูก คอ หรือทอนซิลของหมู ปกติไม่ทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด แต่หากเลี้ยงดูแลหมูไม่ดี หมูเกิดโรค หรือนำไปฆ่าโดยไม่ผ่านโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน โอกาสที่เชื้อจะผ่านจากเลือดหรือเนื้อหมูที่ปรุงไม่สุกไปสู่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอาหารประเภท ลาบ ซกเล็ก ลู่ ซึ่งคนทางภาคเหนือและอีสานนิยมรับประทาน ทำให้เกิดอาการของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจากการรับประทานเนื้อ หรือเลือดหมูป่วย ที่ปรุงไม่สุก คือ ภายใน 1-3 วัน จะมีอาการไข้ขึ้น ปวดตามข้อ ส่วนที่เป็นข้อต่อของข้อมือ ข้อเท้า เมื่อยตามตัวและปวดบริเวณกระดูกสันหลัง เนื่องจากเชื้อเริ่มเข้าสู่ส่วนของประสาท มีอาการเวียนศีรษะมาก เหมือนกับโลกหมุน คล้ายกับคนเมา กระทั่งหูเริ่มได้ยินเสียงเบาลงๆ และถึงขั้นหูหนวก และอาจจะตาบอดได้ในที่สุด บางรายมีอาการเป็นอัมพาตด้วย ถ้ามีอาการมากเนื่องจากเชื้อเข้าสู่เส้นเลือด จะมีการต่อต้านของเม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะส่วนของน้ำบริเวณไขสันหลัง เกิดพิษถึงขั้นน้ำเน่าเข้าสู่ประสาท และสมอง ทำให้เสียชีวิตในที่สุด ปกติแล้วโรคดังกล่าวรักษาได้ง่าย เนื่องจากไวต่อยาในกลุ่มเพนนิซิลิน แต่เพราะเชื้อผ่านเข้าสู่เส้นประสาท และคนป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว คิดว่าเป็นอาการไข้ธรรมดา กว่าจะไปถึงแพทย์ก็สูญเสียการได้ยิน หรือการมองเห็นและลุกลามเป็นอัมพาตไปแล้ว
การป้องกันโรคนี้ทำโดยการไม่ฆ่าหรือชำแหละหมูโดยไม่ผ่านโรงฆ่าสัตว์ที่มี มาตรฐานการตรวจ และรักษาความสะอาด ขณะเดียวกันต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการรับประทานอาหารดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ซกเล็ก ลาบ ลู่ เพราะในต่างประเทศก็พบเชื้อดังกล่าวเช่นกัน แต่ไม่มีการนำหมูมารับประทานแบบดิบๆ จึงไม่มีรายงานของโรคนี้
สำหรับในประเทศไทยพบที่ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร
ระยะฟักตัวและอาการในสัตว์

โดยปกติสุกรที่มีการติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ ส่วนใหญ่เชื้อจะอยู่บริเวณ ต่อมทอนซิลบริเวณเพดานปาก (palatine tonsil) และเยื่อเมือกบุในโพรงจมูก เมื่อสุกรอยู่ในภาวะเครียด เช่นเลี้ยงอย่างแออัดอยู่ สภาพอากาศเย็น และมีระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดี ทำให้ร่างกายสัตว์อ่อนแอเชื้อจะฉวยโอกาสจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการสมองอักเสบ ข้ออักเสบแบบรุนแรง กล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตจนถึงขั้นเสียชีวิต กลุ่มสุกรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นสุกรหย่านม สุกรขุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุกรที่อยู่ในช่วงอายุ 8-15 สัปดาห์
[แก้ไข] วิธีการติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน

คนสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสกับสุกรที่ติดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสุกร สัตวบาล และสัตวแพทย์ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา รวมทั้งการบริโภคเนื้อสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกก็ทำให้เกิดการติดเชื้อนี้ ได้
[แก้ไข] ระยะฟักตัวและอาการในคน

ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1-3 วัน อาการที่พบได้แก่ มีไข้ คลื่นเยน ปวดศีรษะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบ ผู้ป่วยอาจสูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวก ภายหลังที่หายจากอาการป่วยแล้วอาจจะมีความผิดปกติในการทรงตัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแส โลหิต

1. สัมผัสสุกรเป็นโรค กลุ่มเสี่ยงได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสุกร สัตวบาล และสัตวแพทย์ โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อ


2. บริโภคหมูหรือเลือดหมูที่ปรุงไม่สุก


แม้จะยังไม่มีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คนมีรายงานการพบการติดเชื้อ Streptococus suis จากหมูสู่คนในต่างประเทศ

* ประเทศเนเธอร์แลนด์ พบความเสี่ยงของผู้เลี้ยงหมูหรือทำงานในโรงฆ่าสัตว์ 3 : 100, 000 / ปี คนทั่วไปมีความเสี่ยงน้อยลง 1, 500 เท่า ส่วนคนชำแหละหมูมีความเสี่ยง 1.2: 100, 000 / ป

* ประเทศเยอรมันนี มีรายงานกลุ่มที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหมูพบเชื้อ Streptococus suis ที่โพรงหลังจมูก 5.3 %

* ประเทศนิวซีแลนด์ มีรายงานกลุ่มที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหมู พบผลเลือดบวกต่อเชื้อ Streptococus suis 9-21 %


อาการในคน

อาการทั่วไป

มีไข้สูงเฉียบพลัน คลื่นเยน ปวดศีรษะ

อาการเฉพาะ

1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบมีไข้ ปวดศีรษะมาก คอแข็ง หากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทหูจะทำให้การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลันจนถึงขั้น หูหนวก หูหนวก ภายหลังที่หายจากอาการป่วยแล้วอาจจะมีความผิดปกติในการทรงตัว หากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตาจะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอดได้

2. ติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

3. กลุ่มอาการ Toxic Shock Syndrome

4. กลุ่มอาการอื่น ได้แก่ ข้ออักเสบ หรือลิ้นหัวใจอักเสบ การดำเนินของโรค

- กลุ่มเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลังจากได้รับการรักษาไข้จะลดลงใน 2-14 วัน โดยเฉลี่ย 6 วัน และอาจป็นซ้ำในกรณีที่ได้รับยาน้อยกว่า 14 วัน (Suankratay 2004) ผลการตรวจน้ำไขสันหลังพบ ระดับโปรตีนสูง น้ำตาลต่ำ จำนวนเม็ดเลือดขาวสูง อาจย้อมพบเชื้อ (Wangkeaw 2006) อาการหูเสื่อมเกิดได้ในช่วง 1-21 วัน (Suankratay 2004: 1-14 วัน, CMU 2007: 1-9 วัน, Clements 1984: 1-21 วัน)
[แก้ไข] การรักษา

ยาต้านจุลชีพ

- ยาฉีดเพนนิซิลลินขนาดสูง 18-24 ล้านยูนิตทางหลอดเลือดดำ > 2 สัปดาห์ เพราะอาจเป็นซ้ำ

- กลุ่ม 3rd generation cephalosporin : cetriazone cefotaxime

- Levofloxacin (Tarawichitkul,2006)

ยาอื่น ๆ

- สเตียรอยด์แต่ยังไม่มีข้อสรุป
การป้องกันและควบคุมโรค
ในสุกร

เนื่องจากเชื้อนี้มีสุกรเป็นสัตว์พาหะนำโรคซึ่งมักไม่แสดงอาการ ป่วย ดังนั้นการเลี้ยงดูสุกรให้อยู่ในสภาวะสุขาภิบาลที่ดี เช่นไม่เลี้ยงให้อยู่กันอย่างแออัด อากาศในโรงเรือนถ่ายเทได้ดี สามารถป้องกันความหนาวเย็นขณะที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหันได้ สุกรจะมีร่างกายแข็งแรง เชื้อ Streptococus suis ที่มีอยู่ในช่องปากและโพรงจมูกก็ไม่สามารถเพิ่มจำนวนและฉวยโอกาสก่อให้เกิด โรคในสุกรได้
ในคน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

boomer1983

22/03/2011 14:53:24
0
โอ้ว...ความรู้ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

แมว

22/03/2011 23:12:48
0
ขอบคุณมากค่ะ แบ่งปันเรื่องดีๆที่ควรระวังให้พี่ๆน้องๆเรื่อยเลย...เป็นคนที่น่ารักมากๆๆๆ

เดี๋ยวนี้ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังค่ะ ผิดปกติเล็กน้อยอย่าชะล่าใจ ไปหาหมอที่เราไว้ใจได้ดีกว่า การเลือกสถานพยาบาลก้เป้นประเด็นสำคัญมากๆ

มีเพื่อนอายุไม่เท่าไหร่เอง เพิ่งเสียไปเพราะพยาธิตัวจี๊ดมันขึ้นสมอง ไชสมองส่วนสำคัญ เป็นเรื่องเศร้าจริงๆค่ะ

อีกคน เป้นไข้เลือดออกแบบที่ยุงลายกัดนี่หล่ะ แต่ซวยชะมัดที่เลือดดันใปออกในสมอง เข้า รพ.ได้สามวันก้เสียชีวิต

สังขารไม่เที่ยงจริงๆ สะสมบุญกันไว้เยอะๆนะคะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

buvb

23/03/2011 09:58:34
2
ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

SorN.

23/03/2011 11:28:23
0
ขอบคุณครับ

ผมชอบกินคอหมูย่างด้วยสิ เฮ้อ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

ittichai k.

23/03/2011 11:52:43
0
ยินดีครับ เเบ่งปันความรู้กัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส(Streptococus suis)มหันตภัยสำหรับหูของเรา"