Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

ตัวไรครับที่ใส่คร่อมกับลำโพงทำให้??

basictoday

16/09/2010 23:31:10
0
บทความนี้ไปเอาของชาวบ้านมาครับ เพื่อเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อเพื่อนๆ ในบอร์นี้ครับ

[img]http://www3.pantown.com/data/28356/board4/4-20080724093100.jpg[/ img]

เรียกว่า วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก) คนออกแบบได้ต้องศึกษาเรื่องวงจรความถี่ต่างๆ การวงจรคัทออฟ วงจรกรองความถี่สูง วงจรกรองความถี่ต่ำ

หลักการ
ลำโพง จะสั่นเร็วหรือช้าขี้นอยู่กับความถี่ และเสียงจะดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดของสัญญาณไฟฟ้า ขนาดของลกำโพงมีความสำคัญมาก ไม่ใช่ว่าลำโพงตัวเดียวสามารถจะให้ความถี่ได้ออกมาทุกๆความถี่ ถ้าต้องการให้เหมือนกับเสียงธรรมชาติมากที่สุด ลำโพงจะต้องมีหลายขนาด เราจะแบ่งลำโพงโดยใช้ความถี่ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

วูฟเฟอร์
เป็นลำโพงที่มีขนาดใหญ่สุด ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่ต่ำ






มิดเรนส์
เป็นลำโพงขนาดกลาง ถูกออกแบบมาเพื่อให้เสียงในช่วงความถี่กลางๆ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำ





ทวีทเตอร์
เป็นลำโพงที่มีขนาดเล็กสุด ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่สูง





เรียกว่า วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก) คนออกแบบได้ต้องศึกษาเรื่องวงจรความถี่ต่างๆ การวงจรคัทออฟ วงจรกรองความถี่สูง วงจรกรองความถี่ต่ำ

หลักการ
ลำโพง จะสั่นเร็วหรือช้าขี้นอยู่กับความถี่ และเสียงจะดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดของสัญญาณไฟฟ้า ขนาดของลกำโพงมีความสำคัญมาก ไม่ใช่ว่าลำโพงตัวเดียวสามารถจะให้ความถี่ได้ออกมาทุกๆความถี่ ถ้าต้องการให้เหมือนกับเสียงธรรมชาติมากที่สุด ลำโพงจะต้องมีหลายขนาด เราจะแบ่งลำโพงโดยใช้ความถี่ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

วูฟเฟอร์
เป็นลำโพงที่มีขนาดใหญ่สุด ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่ต่ำ

มิดเรนส์
เป็นลำโพงขนาดกลาง ถูกออกแบบมาเพื่อให้เสียงในช่วงความถี่กลางๆ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำ

ทวีทเตอร์
เป็นลำโพงที่มีขนาดเล็กสุด ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่สูง

และ
ซับวูฟเฟอร์ คือลำโพงที่ทำหน้าที่ขับความถี่เสียงต่ำสุด มักมีตู้แยกต่างหาก และใช้วงจรขยายสัญญาณในตัว

ปกติเสียงที่คนเราสามารถได้ยิน อยู่ในช่วงความถี่ 20 Hz- 20000 Hz (20KHz)

ความถี่ 20 Hz หมายถึง เราต้อง สั่นลำโพง 20 ครั้ง ต่อวินาที
ความ ถี่ 20,000 Hz หมายถึงเราต้องสั่น ลำโพง 20,000 ครั้งต่อวินาที เราจึงจะสามารถ ผลิต สร้างเสียงให้ดังผ่านลำโพงออกมาได้ ยิ่งต้องการความดังมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะต้องให้การขยับสั่นของลำโพง ในแต่ละครั้ง นั้นมีความ รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

ลำโพงทวีทเตอร์ เป็นลำโพงที่มีความถี่สูง แผ่นลำโพงมีขนาดเล็กและค่อนข้างแข็ง จึงสามารถสั่นด้วยความเร็วที่สูง

ส่วน ลำโพงแบบวูฟเฟอร์ แผ่นลำโพงจะมีขนาดใหญ่ และค่อนข้างนิ่ม จึงสั่นด้วยความเร็วต่ำ เพราะมีมวลมาก อย่างไรก็ตามเสียงทั่วไป มีความถี่กว้าง คือ มีความถี่จากสูงถึงต่ำ ซึ่งเราจะเรียกว่า มีความถี่ช่วงกว้าง ถ้าเรามีแต่ลำโพงทวีทเตอร์ และวูฟเฟอร์ เราจะได้เสียงอยู่ในย่านความถี่สูงกับต่ำเท่านั้น ความถี่ในช่วงกลางจะหายไป

เพื่อจะให้คุณภาพของเสียงออกมาทุกช่วง ความถี่ จึงจำเป็นจะต้องมีลำโพงมิดเรนส์ด้วย ภายในตู้ลำโพงตู้หนึ่ง จึงมักจะเห็นลำโพงทั้งสามชนิดประกอบเข้าด้วยกัน

สำหรับลำโพงแบบทวี ทเตอร์ เครื่องขยายเสียงจะส่งความถี่สูงให้ ลำโพงวูฟเฟอร์ จะส่งความถี่ต่ำ ส่วนความถี่ในช่วงที่เหลือเป็นของลำโพงแบบมิดเรนส์ ถ้าลองถอดฝาตู้ด้านหลังออก เราจะได้เห็น อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งเรียกว่า ครอสโอเวอร์ (Cross over) อุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัวแยกสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับให้ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนความถี่สูง ความถี่ต่ำ และความถี่ขนาดกลาง






การต่อ cross over มันจะช่วยตัดสัญญาความถี่ที่ไม่ต้องการให้ลำโพงตัวนั้นขับออกไปครับ เช่น ใน ลำโพง วูฟเฟอร์ เนี่ย ถ้าต่อ cross over มันจะช่วยตัดความถี่สูงที่ไม่ต้องการให้ วูฟเฟอร์ขับออกไปครับ ซึ่งจะทำให้วูฟเฟอร์ทำงานเฉพาะในย่านความถี่ที่เราต้องการ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้วูฟเฟอร์ทำงานได้ดีขึ้น ครับ

ครอ สโอเวอร์แยกออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ พาสซีพ (Passive) และ แบบแอคทีฟ (active) ครอสโอเวอร์แบบแอคทีฟ ไม่ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ แต่ใช้พลังงานจากสํญญาณเสียงแทน

หลักการพื้นฐานของครอสโอเวอร์นั้นประกอบขึ้นด้วย ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ และ ตัวเก็บประจุ ต่อขึ้นเป็นวงจรไฟฟ้า ทั้งตัวเก็บประจุและตัวเหนี่ยวนำจะเป็นตัวนำที่ดีภายใต้เงื่อนไขบางประการ ยกตัวอย่างเช่น ตัวเก็บประจุจะยอมให้ความถี่สูงที่เกินกว่าค่าที่กำหนดผ่านไปได้ แต่ถ้าเป็นความถี่ต่ำกว่าค่าที่กำหนดมันจะไม่ยอมให้ผ่านไป

ส่วน ตัวเหนี่ยวนำจะทำหน้าที่แตกต่างกัน คือจะเป็นตัวนำที่ดีเมื่อความถี่ต่ำ คือมันจะยอมให้ความถี่ต่ำกว่าค่าที่กำหนดผ่านไปได้ และจะไม่ยอมให้ความถี่สูงกว่าค่าที่กำหนดผ่านไป

สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับที่ผ่านการขยายมาแล้ว จะถูกส่งผ่านไปยังครอสโอเวอร์แบบพาสซีฟ โดยเราจะต่อตัวเก็บประจุไว้ก่อนที่จะเข้าทวีทเตอร์ เพราะจะยอมให้แต่ความถี่สูงผ่านไปได้เท่านั้น ตัวเหนี่ยวนำจะต่อไว้ก่อนจะเข้าวูฟเฟอร์ ส่วนลำโพงมิดเรนส์ จะต่ออยู่กับ ตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนำ โดยต่อเป็นวงจรไฟฟ้า เรียกว่า วงจร L-C และเลือกค่าให้เหมาะสม เพื่อให้ความถี่ในช่วงกลางสามารถผ่านไปได้





ตัวเก็บประจุ หรือ C





ตัวเหนี่ยวนำ หรือ L

ครอสโอเวอร์แบบแอคทีฟ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เหมือนกับครอสโอเวอร์แบบพาสซีฟ แต่ว่าออกแบบซับซ้อนกว่า จึงต้องมีแหล่งจ่ายไฟป้อนพลังงานให้ ครอสโอเวอร์แบบนี้จะแยกความถี่ออกก่อนที่จะเข้าเครื่องขยายเสียง ดังนั้นจึงต้องมีเครื่องขยาย 3 อัน แต่ละอันขยายความถี่ในช่วงที่แตกต่างกัน จึงเป็นข้อเสียที่สำคัญประการหนึ่ง แต่มีข้อดีมากเมื่อเทียบกับแบบพาสซีฟ และเป็นสิ่งที่เครื่องเสียงราคาเป็นแสนขาดเสียไม่ได้คือ คุณสามารถปรับแต่งความถี่ทุกๆช่วงได้ อย่างไรก็ตามมันมีราคาค่อนข้างแพงจึงใช้กับเครื่องเสียงราคาสูงเสียมากกว่า

วงจรมีหลายแบบ หลายระดับการตัดสัญญาณ ยิ่งระดับสูง จะยิ่งตัดสัญญาณได้เที่ยงตรงยิ่งขึ้น





ระดับที่ 1





ระดับที่ 2





ระดับที่ 3





ระดับที่ 4

วงจรครอสโอเวอร์บางตัวต้องซับซ้อน ก็เพื่อให้สอดรับกับดอกลำโพงที่นำมาใช้น่ะครับ....นอกจากนี้ วงจรครอสโอเวอร์ยังมีส่วนช่วยในการตัดแบ่งความถี่ที่จะส่งไปยังดอกลำโพงแต่ ละตัว ทั้งดอกทวีตเตอร์ ดอกเสียงกลาง และดอกเสียงต่ำได้แม่นยำและเที่ยงตรงถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ครอสโอเวอร์ทำอะไรให้คุณได้บ้าง ?
ครอ สโอเวอร์เป็นอุปกรณ์ที่จำกัดขอบเขตของความถี่ที่จะถูกส่งไปย ังลำโพง ความคิดเกี่ยวกับครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ค ที่เปรียบเหมือนตำรวจจราจร ที่ให้เสียงสูงผ่านไปยัง ทวีตเตอร์ เสียงกลางผ่านไปยัง มิดวูฟเฟอร์ และเสียงต่ำผ่านไปยัง ซับวูฟเฟอร์

ถ้าปราศจากครอสโอเวอร์แล้วคลื่น เสียงก็มีลักษณะเหมือนการจราจรที่ติดขัด มิดเรนท์ และ ซับวูฟเฟอร์จะพ้องเสียงไปในความถี่เดียวกัน และซับวูฟเฟอร์ในระบบก็จะพยายามส่งเสียงในย่านเสียงตัวโน๊ตสูงๆ ที่มันไม่สามารถทำได้ ก่อให้เกิดอาการ " สุมรวมกันอย่างรุนแรง " ( Fatal pile-up ) และทำลายเสียงแหลมด้วยลักษณะการแปรเปลี่ยนปัจจัยของโน๊ตเสียงเบ ส ซึ่งกระตุกต่อเนื่องในเปลายทางที่ผิดพลาด

ด้วยว่าเหตุเหล่านี้มี ความสำคัญอย่างยิ่ง คุณจึงต้องค้นหาครอสโอเวอร์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับลำโพงแต่ละตัว ถ้าเป็นการใช้ในลำโพงวางหิ้งในระบบเครื่องเสียงบ้านแบบ สองทาง 1 คู่ มันจะใช้ครอสโอเวอร์แบบ 2 ทาง ซึ่งในลักษณะของครอสโอเวอร์แบบนี้ ตัวกรองความถี่สูงผ่านจะขวางกั้นเสียงต่ำไว้ และผ่านเฉพาะย่านความถี่สูงไปให้กับทวีตเตอร์ ในขณะเดียวกันตัวกรองความถี่ต่ำผ่านจะขวางกั้นเสียงสูง และผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำไปยังวูฟเฟอร์

ทำไมต้องใช้แบบแอคทีฟ ?
ขั้น ตอนการใช้งานของพาสซีฟ ครอสโอเวอร์จะต่อในช่วงสัญญาณหลังผ่านเพาเวอร์แอมป์ โดยทั่วไปจะใช้คาปาซิเตอร์หรือคอยส์ที่มีค่าเหมาะสมวางไว้ในระหว่างทางของ สายลำโพง ดังนั้นมันจึงปรุงแต่งเฉพาะเสียงที่ผ่านการขยายกำลังแล้วเท่านั ้น การใช้พาสซีฟ ครอสโอเวอร์ จะต้องมีกำลังเสียงพอเพียง จุดตัดครอสโอเวอร์จะแปรเปลี่ยนไปตามอิมพีแดนซ์ของลำโพง เพราะความถี่จะถูกกำหนดโดยปฎิกริยาของโหลดลำโพง เมื่อคุณเปลี่ยนลำโพงจาก 4 โอห์มไปเป็น 8 โอห์มจุดตัดความถี่จะเปลี่ยนไปครึ่งหนึ่ง เช่น 100 Hz ก็จะเปลี่ยน 50 Hz

ในทางกลับกัน แอคทีฟครอสโอเวอร์จะมีการกระทำโดยตรงกับสัญญาณเสียงก่อนที่จะถูกป้อนเข้า เพา เวอร์แอมป์ ดังนั้นมันจึงไม่มีผลกระทบจากอิมพีแดนซ์ของลำโพง และทำให้ระบบเสียงนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก การติดตั้งในระดับสัญญาณปรีแอมป์ ทำให้เพาเวอร์แอมป์ได้รับสัญญาณที่เข้มข้นเพื่อการขับขยายที่เต็มพละกำลัง ใน ช่วงความถี่นั้นๆ เพื่อผ่านต่อไปยังชุดลำโพง

ข้อด้อยของมันมีแค่ เพียงเรื่องของความต้องการไฟ +12 โวลท์ , กราวด์ และสายควบคุมการ เปิด/ปิด อีเล็คโทรนิคครอสโอเวอร์ อาจมีส่วนใรการเพิ่มเสียงรบกวนให้กับระบบ แต่ด้วยงานติดตั้งคุณภาพสูงๆในปัจจุบันไม่น่าเกิดปัญหานี้ (นอกจากงานติดตั้งห่วยๆ ) แต่ข้อได้เปรียบของอิเล็คทรอนิคครอสโอเวอร์นั่นคือ การให้ความสะอาดชัดของเสียงแม้ว่าจะเปิดฟังความดังของระบบเสียง

ทีนี้มาดูกันว่า ต้องใช้อะไรบ้าง
อันดับแรก ดูความต้องการของเราก่อนว่าอยากได้อะไร คุณภาพ แบบไหน ความดังเท่าไร
อันดับสอง หลายทาง ลำโพงที่ใช้ มีน้ำเสียงที่เหมาะสม ระหว่างลำโพง ที่จะมาร่วม ผลิตเสียง เข้ากันได้หรือไม่
อันดับสาม crossover ที่จะใช้ กับ power amp จะเป็น ระบบไหน (มีผลต่อสตางค์มาก)
อันดับสี่ หาความรู้เยอะๆ เรื่อง crossover และ เรื่อง phase การกำนดจุดตัดแบ่งความถี่เป็นเรื่อง ซับซ้อนพอสมควร

จุดตัด crossover นั้น ต้องดู ค่าการตอบสนองความถี่ ของดอกลำโพงแต่ละดอก เป็นหลักเลยครับ
ลำโพง MID-HI 50Hz-20KHz
ลำโพง LOW 30Hz-350Hz

ควรตั้งจุดตัดไว้ที่เท่าไหร่ครับ สอบถามเพื่อเป็นแนวทางครับ
มันต้องแล้วแต่เราอะครับ ว่า ใช้ตู้แบบไหน อยากได้แนวเสียงแบบไหน มันตอบยาก

การคำนวณ
http://sound.westhost.com/lr-passive.htm
http://www.diyaudioandvideo.com/Calculator/XOver/Help.aspx






ตัวอย่าง















ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง แก้ไขข้อความแก้ไข ลบข้อความลบทิ้ง แยกหัวข้อแยกหัวข้อ
การคำนวณ
http://sound.westhost.com/lr-passive.htm
http://www.diyaudioandvideo.com/Calculator/XOver/Help.aspx

ตัวอย่าง

เว็บสำหรับเอาไว้คำนวณเล่นๆ
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=55#first

ค่าอุปกรณ์ ค่า C หรือตัวเก็บประจุนั้นอาจต้องต่อแบบขนานเพื่อเพิ่มค่าให้ได้ตามการคำนวณ
ส่วนค่าเหนี่ยวนำหรือ L ต้องพันเอง และใช้เครื่องมือวัดค่า

ตัวอย่างการต่อจริง





2-Way Crossover Network
Low-Pass (LP) Filter: 2nd-Order Butterworth, Corner Frequency: 4000 Hz
High-Pass (HP) Filter: 2nd-Order Butterworth, Corner Frequency: 4000 Hz

อุปกรณ์
C1 = 3.3 uF, Polypropylene,
C2 = 8.2 µF, Polypropylene
C3 = 15 µF, Polypropylene,
L1 = 0.27 mH, Air Core(ลวดเบอร์ #18),
L2 = 0.13 mH, Air Core(ลวดเบอร์ #18),
Req = 2.4 ohms
Ce = 25 uF
Rp1 = 0.51 ohms
Rp2 = 5.1 ohms

จุดตัดความถี่






วงจรจริง





การต่อ





สรุป
มีขายทั่วไปครับ ที่บ้านหม้อและร้านขายเครื่องเสียง ทั้งแบบ 2 ทางและ 3 ทาง
ราคาตั้งแต่หลักสิบบาท จนถึง หลายหมื่น หากซื้อแนะนำว่าเอาราคาหลักไม่เกิน 1 พัน
มาต่อเล่นก่อน เดี๋ยวราคาวงจรจะแพงกว่าราคาลำโพงเอา

แอมป์ไม่ดี ลำโพงดี เสียงก็ย่อมไม่ดี
แอมป์ดี วงจรตัดเสียงดี ลำโพงเสียงไม่ดี เสียงที่ได้ก็ไม่ดี
แอมป์ดี วงจรตัดเสียงดี ลำโพงดี เสียงย่อมดี

หากต้องการเสียงดี ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายส่วน แหล่งของเสียง แอมป์ สายลำโพง ลำโพง ตู้ วงจรตัดเสียง มันต้องไปด้วยกัน
และของพวกนี้ ราคาค่าตัวมีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักล้าน แล้วแต่ฐานะ

นักเล่นเครื่องเสียง ประเภทเห่อ เสียเงินไปมากมายกับการทำตาม ซื้อตาม พวกหากินกับเสียง พวกหูทอง
เช่นก้อนอิฐราคา 3 หมื่น เมื่อมาวางบนเครื่องเสียงจะทำให้เสียงดีขึ้น โอ้ประเจ้า....มีคนซื้อด้วย รวยอย่างเดียวทำไม่ได้ ต้อง...ด้วย ฮา

มันไม่มีเงื่อนไข อะไรแน่นอน นอกจากทดลองต่อเอง และฟังตามความชอบ
พวกหูทองว่าเสียงดี เราฟังว่างั้นๆ ก็เป็นได้.... ขึ้นอยู่กัีบความชอบของเราเอง....จริงไหม

เพิ่มเติม

คุณสมบัติของ C
หากต่ออนุกรมจะกรองความถี่สูงผ่าน
หากต่อขนานจะกรองความถี่สูงทิ้ง

หากค่ามาก จะตอบสนองต่อความถี่ต่ำ
หากค่าน้อยจะตอบสนองกับความถี่สูง

เช่น
ค่ามาก เสียงกลางก็ปนไปบ้าง
ค่าน้อย ก็ยิ่งแหลม ซิ้ป ๆ

ก็อยู่ที่เกรด คุณภาพของ C ที่ว่านี้ด้วย ว่าเสียงจะสากหู หรือ ชัดใส...

ลำโพงเสียงแหลม
เอา C มาต่ออนุกรมกับลำโพงเสียงแหลม

C ทำหน้าที่ HIGH Pass Filter คือยอมให้ความถี่สูงผ่าน (เสียงแหลมอยู่ในช่วงความถี่สูงครับ) จะผ่านได้แค่ไหนก็ อยู่ที่ค่า C ครับ ถ้า C ค่า น้อยๆความถี่ที่จะผ่านไปยัง ลำโพงนั้นก็จะต้องสูง ตามไป และเสียงจะออกมาเบา ส่วนจะใช้ค่าเท่าไร ต้องลองฟังดูครับ แล้วแต่ ความไว ชอง Tweeter

แนะนำว่าให้ หาซื้อ C ถูกๆขำๆ มาลองก่อนว่าค่าไหนเหมาะกับหูเรา (เรื่องเสียงต้องฟังเองครับ) จ
ากนั้นค่อยไปซื้อ C เทพๆ มาใส่ เช่น Cของยี่ห้อWIMA หรือ ยี่ห้อ Hovland


การใช้ C ต่อ อนุกรม ก็จะเป็น 1st order hi pass filter

จุดตัดความถี่ = จุดที่ค่า impedance ของ C มีค่าเท่ากับ impedance ของลำโพง

impedance ของ C = 1 / (2 x pi x f x c)

pi = 3.14159
f = ความถี่ เนื่องจากค่า impedance ของ C จะเปลี่ยนไปตามความถี่ที่เปลี่ยนแปลง
c = ค่าความจุ หน่วยเป็น farad ถ้าเป็น micro farad ก็คือ 1/1,000,000


แทนค่าสมการ แล้วปรับให้ง่ายต่อการคำนวณ

c = 1,000,000 / ( 2 x 3.14159 x f x z ) หน่วยเป็นไมโครฟารัด

f = จุดตัดที่ต้องการ
z = impedance ของลำโพง

เช่น z = 4 โอห์ม ต้องการจุดตัดที่ 3000 Hz

c = 1,000,000 / (2 x 3.14159 x 3000 x 4)
= 1,000,000 / ( 75398.16 )
= 13.26 ไมโครฟารัด

เลือกแรงดันไฟฟ้าที่ C ตัวนั้นทนได้ด้วยครับ เช่น 10 uF/250V, 10 uF/ 630V เป็นต้น

และค่าที่ถูกต้องจาการคำนวน อาจไม่ใช่ค่าที่ทำให้เสียงออกมาอย่างที่เราต้องการ
อย่างบางคนคำนวนไว้ได้ประมาณ 10 ไมโคร แต่ก็ใช้ตัว 6.8 เสียงจึงจะได้ตามที่ชอบ


ลำโพงเสียงกลาง

ต้องการใช้ C มาต่อคร่อมสัญญาณของเสียงกลาง ก็คือไม่ต้องการให้เสียงต่ำ Low ผ่านเข้าดอกเสียงกลาง
แต่ท่านต้องกำหนดว่าต้องการไม่ให้ผ่านได้ตั้งแต่ความถี่ที่เท่าไหร่

แล้วใช้สูตรสำเร็จในการคำนวณตามนี้เลยครับ

C = 112556 / ( OhmZ x จุดตัดความถี่)

โดยที่
Ohm Z = อิมพีแดนซ์ของลำโพงที่จะใช้งาน x 1.414
ดังนั้น
ลำโพง 8 Ohm จะ = 11.31 Ohm Z
ลำโพง 4 Ohm จะ = 5.66 Ohm Z

จุดตัดความถี่ หน่วยเป็น Hz
ค่า C หน่วยเป็นไมโครฟารัด uF

ยกตัวอย่างเช่นท่านต้องการไม่ให้ความถี่ที่ต่ำกว่า 120Hz ผ่านเข้าดอกลำโพงเสียงกลางที่มีอิมพีแดนช์ 8 Ohm จะคำนวณออกมาได้ดังนี้

ค่า C ที่ได้จะเท่ากับ = 112556 / (11.31 x 120) = 82.93 uF

ค่า C ที่มีขายตามร้านขายอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ อาจไม่ตรงเปะกับค่าที่ท่านคำนวณได้ ก็ให้หาที่ค่าใกล้เคียงที่สุดแทนได้ครับ






ผมไปไล่อ่านในเว็บเขาบอกว่าถ้าอยากได้เสียงทุ้ม

ต้องใส่ 47-100 uF

แล้วถ้าแหลมยิ่งเบอร์น้อยยิ่งแหลม

แล้ว C คืออะไรครับ

ไม่ค่อยรู้เรื่อง






จริงๆ ก็ไม่อยากมาลงมาโพสเท่าไหร่
แต่ในกรณี ถามเรื่องความรู้พื้นฐานมากๆ คุณควรมีหนังสือความรู้พื้นฐานไว้อ่านสักเล่มนะครับ
หาซื้อได้ตามร้านหนังสือ เช่นซีเอ็ด

ไม่งั้นคนตอบ คงเขียนกันยาว

ซี หรือ c หรือ ตัวเก็บประจุ หรือคาปาซิเตอร์ ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้าไว้ที่ตัวมัน นี่คือหน้าที่หลักของมัน แต่เมื่อมีสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ ที่มีความถี่เข้ามา มันจะมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีค่าความต้านทานภายในเกิดขึ้น ยิ่งความถี่สูงค่ามันจะน้อยลง
ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านดีขึ้น

ประโยชน์ของมัน ตามคุณสมบัตินี้คือการกรองความถี่ นิยมเอาไปใช้จูนความถี่วิทยุ ความถี่ไฟฟ้า และความถี่เสียง
คือจะให้ผ่านหรือตัดออกนั่นเอง

และขอสรุปข้อมูลที่ทางชมรมห้องสมุดมาปล่อย นะครับ

ธรรมดาตู้ลำโพงจะแบ่งออก 2 ทาง กับ 3 ทาง
2 ทาง คือมีเสียงแหลม กับเสียงทุ้ม
3 ทาง คือทุ้ม กลาง แหลม

การ ต่อซีหรือค่าเก็บประจุ ในเสียงแหลม นั้น เพื่อให้ทำหน้าที่กรองเอาความถี่สูง ให้ผ่านอกไป เนื่องจากลำโพงเสียงแหลม จะตอบสนองได้ไดีที่ความถี่สูง

ลำโพงบางชนิด ก็ตอบสนองได้ทุกย่าน ทั้งทุ้ม กลาง และแหลม แต่ในการผลิตจริงพบว่า ตอบสนองไม่ได้ทั้งหมด
คนออกแบบเครื่องเสียง เลยต้องผสมลำโพงหลายๆแบบมาทำเป็นตู้ เพื่อให้เสียงที่ออกมาครบทุกความถี่ ที่มนุษย์ได้ยิน
ออกมา เป็น 2 ทางและ 3 ทาง นั้น เพื่อแบ่งการทำงาน ในการตอบสนองความถี่ให้ได้ดีที่สุด

วงจรครอสโอเวอร์เน็ทเวิร์ก ง่ายที่สุดคือเอาซี หรือ ค่าเหนี่ยวนำ (L) มาต่อเข้ากับลำโพง ตามตัวอย่างข้างบน แต่ความถี่ที่ได้จะตัดไม่ขาด เช่นกำหนดไว้ที่ช่วง 8KHz -20KHz อาจตัดจริงที่ 5KHz ก็ได้
ทำให้การขับที่ความถี่คลาดเคลื่อน
จึงจำเป็นต้องมีวงจรที่ซับซ้อนขึ้นเป็นระดับที่ 2 ที่ 3......ซึ่งจะใช้อุปกรณ์หลายชั้นขึ้น

ธรรมดานิยมใช้ซี กับลำโพงเสียงแหลม เมื่อใช้ค่าน้อยความถี่สูงจะผ่าน ทำให้เสียงออกมาแหลม หากใช้ค่ามากเสียงจะแหลมน้อยลง แต่ไม่ใช่ทำให้เสียงทุ้ม เพราะลำโพงเสียงแหลม จะให้เสียงแหลมอย่างเดียว

กรณีลำโพงตัวเดียว ที่ตอบสนองได้ตลอดย่าน ซึ่งการต่อซีไปนั้น จะทำให้ความถี่ช่วงหนึ่งหายไปเลย
ดังนั้นจึงไม่นิยมต่อกับลำโพงทางเดียว (ตัวเดียวออกทุกย่าน)

และเช่นกัน ก็จะใช้ L ซึ่งมีคุณสมบัติยอมให้ความถี่ต่ำผ่าน กับลำโพงเสียงทุ้ม

วงจรอย่างง่ายการต่อแบบ 2 ทาง





จากรูปจะเห็นว่า ใช้ซีกับลพโพงเสียงแหลม และใช้ L กับลำโพงเสียงทุ้ม

ส่วน จะใช้ค่าเท่าไหร่นั้น นอกจากลองต่อและฟังเสียง ก็ต้องมีการคำนวณ หรืออาจต้องเข้าห้องแลบเพื่อวัดการตอบสนองความถี่ของลำโพงแต่ละตัวก่อน จึงจะมาหาค่า ซีและ L
หรืออาจดูจากสเปคกราฟการตอบสนองความถี่ของลำโพงแต่ละตัว

ชุดตู้ลำโพงที่ดี ต้องมีกราฟที่ต้องสนอง ความถี่เสียงของมนุษย์ที่ได้ยินได้ทั้งหมดคือ 20Hz-20KHz

ตัวอย่างกราฟ





ากราฟจะเห็นว่า ตัวนี้ตอบสนองได้ในช่วง 30Hz-5KHz แต่ช่วงที่ดีที่สุดคือ 50Hz-2KHz ตัวนี้จึงเหมาะทำเสียงกลาง ในกรณีค่อแบบ 3 ทาง หรือเสียงทุ้มต่ำในกรณีต่อแบบ 2 ทาง

การดูสเปค จากที่บริษัทให้มา อาจไม่ตรงนัก เนื่องจากผู้ขายย่อมเขียนให้เลิศหรู จะได้ขายของได้

การทดสอบในห้องแลบ จะใช้สัญญาณรบกวนขาวและชมพูซึ่งจะมีความถี่ผสมกันตั้งแต่ย่าน 20 Hz- 20KHz ปล่อยออกลำโพงที่ทดสอบ แล้วใช้ไมโครโฟนเป็นตัวรับ ไปเข้าเครื่องแสดงแถบย่านความถี่

เรื่องของอุปกรณ์ คุณต้องพยายามศึกษาเยอะนะครับ เพราะเมื่อเอาอุปกรณ์มาต่อเป็นวงจร ก็จะมีการทำงานแตกต่างไปอีก
และจะได้อ่านสัญลักษณ์อุปกรณ์ บนวงจรได้เข้าใจ

ที่มา link: http://www.basiclite.com/web/index.php?topic=207.0

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

นายมั่นคง

17/09/2010 00:03:25
4,282
มีประโยชน์มากๆ เลยครับ เรียกว่าท่านใดสงสัยมานาน อ่านจบปุ๊บ เสียเงินปั๊บ เอ๊ย รูปเรื่องปุ๊บทันทีเลยครับ

เดี๋ยวว่างผมต้องอ่านเองทบทวน เพราะชักจะลืมๆๆไปบ้างหลายอันเลยล่ะครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

figaro

17/09/2010 00:53:50
nice article
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

Acidstudio

17/09/2010 12:51:51
0
เยี่ยมครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

basictoday

17/09/2010 13:25:04
0
ว่าด้วยตัวเก็บประจุครับ เอาของชาวบ้านมาเหมือนกันครับ

คาปาซิเตอร์

หรือ คอนเด็นเซอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บประจำไฟฟ้าและคายประจุไฟฟ้า ให้กับวงจร คุณสมบัติการกรองไฟดีซีให้เรียบ (Filter) การถ่ายทอดสัญญาณ และเชื่อมโยงระหว่างวงจร (Coupling) การกรองความถี่ (Bypass) การกั้นการไหลของกระแสไฟดีซี (Blocking) เป็นต้น

นิยาม : เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ มีการใช้งานในวงจรกรองแรงดัน วงจรกรองความถี่ และยังใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณ ( Coupling ) เป็นต้น * ค่าความจุไฟฟ้า ( Capacitance ) คือ ค่าของตัวเก็บประจุที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้มากหรือน้อยมีหน่วยเป็นฟารัด ( Farad : F )





สัญลักษณ์


ลักษณะทางกายภาพ
ตัวเก็บประจุนั้น ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า (หรือเพลต) 2 ขั้ว แต่ละขั้วจะเก็บประจุชนิดตรงกันข้ามกัน ทั้งสองขั้วมีสภาพความจุ และมีฉนวนหรือไดอิเล็กตริกเป็นตัวแยกคั่นกลาง ประจุนั้นถูกเก็บไว้ที่ผิวหน้าของเพลต โดยมีไดอิเล็กตริกกั้นเอาไว้ เนื่องจากแต่ละเพลตจะเก็บประจุชนิดตรงกันข้าม แต่มีปริมาณเท่านั้น ดังนั้นประจุสุทธิในตัวเก็บประจุ จึงมีค่าเท่ากับ ศูนย์ เสมอ

ประกอบ ด้วยแผ่นโลหะที่ทำเป็นแผ่นเพลต 2 แผ่นมาวางชิดกันมีฉนวนที่ผลิตมาจากวัสดุต่างชนิดกันมากั้นกลางแผ่นตัวนำทั้ง สองข้างเรียกว่า “ไดอิเล็กตริก”





คุณสมบัติทางไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ

1. การทำงานของตัวเก็บประจุกับไฟดีซี ตัวเก็บประจุจะทำการเก็บประจุและคายประจุเมื่อทำงานกับไฟดีซี การเก็บประจุ (Charge) และ การคายประจุ (Discharge)
การเก็บประจุ

การ เก็บประจุ คือ การเก็บอิเล็กตรอนไว้ที่แผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ เมื่อนำแบตเตอรี่ต่อกับตัวเก็บประจุ อิเล็กตรอนจากขั้วลบของแบตเตอรี่ จะเข้าไปรวมกันที่แผ่นเพลต ทำให้เกิดประจุลบขึ้นและยังส่งสนามไฟฟ้าไป ผลักอิเล็กตรอนของแผ่นเพลตตรงข้าม ซึ่งโดยปกติในแผ่นเพลตจะมี ประจุเป็น + และ - ปะปนกันอยู่ เมื่ออิเล็กตรอนจากแผ่นเพลตนี้ถูก ผลักให้หลุดออกไปแล้วจึงเหลือประจุบวกมากกว่าประจุลบ ยิ่งอิเล็กตรอนถูกผลักออกไปมากเท่าไร แผ่นเพลตนั้นก็จะเป็นบวกมากขึ้นเท่านั้น

การคายประจุ
ตัว เก็บประจุที่ถูกประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที เราเรียกว่า “การคายประจุ”


2. การทำงานของคาปาซิเตอร์กับไฟฟ้ากระแสสลับ เมื่อนำคาปาซิเตอร์ไปต่อเข้ากับไฟไฟ้ากระแสสลับ จะมีการทำงานดังนี้ในครึ่งไซเกิลแรกตัวเก็บประจุจะทำการเก็บประจุ ทำให้มีกระแสไหลจากเฟสบวกไปยังแผ่นโลหะ A ทำการเก็บประจุ ผ่านโลหะแผ่น B ไปครบวงจรที่แหล่งจ่าย ในครึ่งไซเกิลหลัง เมื่อไฟเอซีสลับเฟส ตัวเก็บประจุที่เก็บประจุไว้ก็จะคายประจุออก แล้ว เก็บประจุใหม่ในทิศทางตรงกันข้าม การทำงานจะสลับกันไปมาตลอดเวลาตามไซเกิลของไฟเอซี ลักษณะของหลอดไฟจะสว่างตลอดทั้งในครึ่งไซเกิลแรก และ ครึ่งไซเกิลหลัง ไฟเอซีจะไหลผ่านคาปาซิเตอร์ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความถี่ของไฟเอซีและ ค่าของตัวเก็บประจุ

o ถ้าความถี่ของไฟเอซี สูง จะไหลผ่านได้มาก ความถี่ต่ำจะไหลได้น้อย
o ถ้าคาปาซิเตอร์ค่ามากการเก็บประจุและคายประจุได้มาก ไฟเอซีก็ผ่านได้มาก
o ถ้าคาปาซิเตอร์ค่าน้อยการเก็บประจุและคายประจุน้อย ไฟเอซีก็ผ่านได้น้อย






ชนิดของตัวเก็บประจุ

ชนิดของตัวเก็บประจุแบ่งตามวัสดุการใช้งานแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ Fixed capacitor

Capacitor ชนิดนี้จะมีขั้วบวกและขั้วลบบอกไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบกลมดังนั้น การนำไปใช้งานจะต้องคำนึงถึงการต่อขั้วให้กับ Capacitor ด้วย จะสังเกตขั้วง่าย ๆ ขั้วไหนที่เป็นขั้วลบจะมีลูกศรชี้ไปที่ขั้วนั้น และในลูกศรจะมีเครื่องหมายลบบอกเอาไว้

ตัวเก็บประจุแบบกระดาษ (Paper capacitor)













ตัวเก็บประจุแบบเปเปอร์ นำไปใช้งานซึ่งต้องการค่าความต้านทานของฉนวนที่มี ค่าสูง และ มี เสถียรภาพต่ออุณหภูมิสูงได้ดี มีค่าความจุที่ดีใน ย่านอุณหภูมิที่กว้าง

ตัวเก็บประจุแบบไมก้า (Mica capacitor)

ตัว เก็บประจุแบบไมก้านี้ จะมีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิ และ ความถี่ดี มีค่าตัวประกอบการสูญเสียต่ำ และ สามารถทำงาน ได้ดีที่ความถี่สูง จะถูกนำมาใช้ในงานหลายอย่าง เช่น ในวงจะจูนวงจรออสซิสเตอร์ วงจรกรองสัญญาณ และวงจรขยาย ความ ถี่วิทยุกำลังสูง จะไม่มีการผลิตตัวเก็บประจุแบบไมก้าค่าความจุสูงๆ ออกมา เนื่องจากไมก้ามีราคาแพง จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการ ผลิตสูงเกินไป






ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก (Ceramic capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์ราคา ถูกมีใช้กันอยู่ทั่วไป เหมาะสำหรับงานคัปปลิ้งความถี่วิทยุ มีการสูญเสียมากมีค่าความจุต่ำสุดอยู่ที่ 1 ไมโครฟารัด

ตัวเก็บ ประจุชนิดเซรามิก โดยทั่วไปตัวเก็บประจุชนิดนี้มีลักษณะกลมๆ แบนๆ บางครั้งอาจพบแบบสี่เหลี่ยมแบนๆ ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุชนิดนี้ มีค่าน้อยกว่า 1 ไมโครฟารัด และเป็นตัวเก็บประจุชนิดที่ไม่มีขั้ว และสามารถทนแรงดันได้ประมาณ 50-100 โวลต์ค่าความจุของตัวเก็บประจุชนิดเซรามิกที่มีใช้กันในปัจจุบันอยู่ในช่วง 1 พิโกฟารัด ถึง 0.1 ไมโครฟารัด

ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก มีขนาดเล็ก ไม่มีขั้ว ค่าความจุต่ำ อยู่ในช่วง พิโก - นาโน (pF - nF )โดยทั่วไปตัวเก็บประจุชนิดนี้มีลักษณะกลมๆ แบนๆ บางครั้งอาจพบแบบสี่เหลี่ยมแบนๆ ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุชนิดนี้ มีค่าน้อยกว่า 1 ไมโครฟารัด และเป็นตัวเก็บประจุชนิดที่ไม่มีขั้ว (ไม่ต้องคำนึงเวลาใช้งาน) และไม่ค่อยระบุการใช้ แรงดัน แต่ปกติจะ ใช้แรงดันที่ 50V 100V 1000V ขึ้นอยู่กับขนาดของมัน (ปกติ ทนแรงดันที่ 50 โวลท์ ) จะใช้ในงานกรองความถี่ พบมากในพวกเครื่องรับ-ส่ง และวงจรทั่วไป

เซรามิคคาปาซิเตอร์มีด้วยกัน 2 แบบคือ

เซรามิคแบบจาน (Disc Ceramic Capacitor) ลักษณะการสร้างเป็นการเคลือบโลหะด้วยสารละลายเงินที่พื้นผิวทั้ง 2 ด้าน ของจานเซรามิคแผ่นบาง ๆ ที่มีค่าไดอิเล็กตริกต่ำ บัดกรีขาออกมาทั้งสองด้านแล้ว นำไปเคลือบผิวภายนอกด้วยเรซิน หรือ อีพ๊อกซี มีค่าความจุ 0.75 pF-2.2 m F อัตราการทนแรงไฟ 50 V – 6 KVDC ค่าผิดพลาด ± 5 – 10 %

เซรามิคแบบหลายชั้น (Monolithic Multilayer Ceramic: MLC) ลักษณะเป็นการเคลือบฟิล์มโลหะชั้นบาง ๆ ของเซรามิคที่มีค่าไดอิเล็กตริกสูง วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ แล้วอัดแน่นเป็นชิ้นเดียวส่วนมากจะเป็นแบบชิป (Chip) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประเภทติดผิวหน้า (Surface Mount) ขั้วต่อทำจากโลหะตะกั่วผสมกับดีบุกให้คุณภาพสูง มีค่าความจุด 10 pF – 0.56 m F อัตราการทนแรงไฟ 200 VDC ค่าผิดพลาด ± 5 – 10 %










ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลติก (Electrolytic capacitor)
เป็นคา ปาซิเตอร์ที่มีค่าความผิดพลาดสูงมาก แต่ต้องใช้เพราะว่ามีค่าความจุที่สูง มีโครงสร้างใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ มีขั้วบวกและลบ นิยมใช้กับงานความถี่ต่ำทั่วๆไป หรือใช้สำหรับไฟตรง สารที่นำมาใช้ทำแผ่นตัวนำในคาปาซิเตอร์แบบนี้จะเป็นสารอลูมิเนียมโดยมีน้ำยา เคมีอิเล็กโตไลต์ติกทำหน้าที่เป็นไดอิเล็กตริก ช่วยเร่งปฎิกิริยาเคมีทำให้ประจุเกิดได้มากกว่าปกติ

ตัวเก็บประจุ ชนิดอิเล็กทรอไลติก ตัวเก็บประจุชนิดนี้ต้องระวังในการนำไปใช้งานด้วย เพราะมีขั้วที่แน่นอนพิมพ์ติดไว้ด้าน ข้างตัวถังอยู่แล้ว ถ้าป้อนแรงดันให้กับตัวเก็บประจุผิดขั้วละก็ อาจเกิดความเสียหายกับตัวมันและอุปกรณ์ที่ประกอบร่วมกับตัวมันได้ ขั้วของตัวเก็บประจุชนิดนี้สังเกตได้ง่ายๆ เมื่อตอนซื้อมา คือ ขาที่ยาวจะเป็นขั้วบวก และขาที่สั้นจะเป็นขั้วลบ

ตัวเก็บประจุชนิด นี้จะมีค่าความจุอยู่ในช่วง1 uF - 30,000 uFขึ้นไป และมีการใช้งานที่ แรงดัน ตามที่ระอยู่บนตัวมันอยู่แล้วเช่น 10V , 16V , 25V ,50V 100V เรานิยมใช้ตัวเก็บประจุชนิดนี้ในวงจรทั่วไป ตัวเก็บประจุ ชนิดนี้มีใช้ทั้งแบบมีขั้ว และ ไม่มีขั้วค่าความจุ และแรงดันใช้งาน จะพิมพ์ตัวเก็บประจุเลย และจะมีแถบสีขาวด้านข้างซึ่งจะแสดง ตำแหน่งขาลบ(-) ของตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลติก ตัวเก็บประจุชนิดนี้ต้องระวังในการนำไปใช้งานด้วย เพราะมีขั้วที่แน่นอนพิมพ์ติดไว้ด้าน ข้างตัวถังอยู่แล้ว ถ้าป้อนแรงดันให้กับตัวเก็บประจุผิดขั้วละก็ อาจเกิดความเสียหายกับตัวมันและอุปกรณ์ที่ประกอบร่วมกับตัวมันได้ ขั้วของตัวเก็บประจุชนิดนี้สังเกตได้ง่ายๆ เมื่อตอนซื้อมา คือ ขาที่ยาวจะเป็นขั้วบวก และขาที่สั้นจะเป็นขั้วลบ










ตัวเก็บประจุแบบน้ำมัน (Oil capacitor)

ตัวเก็บประจุแบบโพลีสไตลีน (Polyethylene capacitor)
เป็น คาปาซิเตอร์ชั้นดีที่ให้การสูญเสียต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ รวมไปถึงกระแสรั่วไหลน้อยมากๆ เหมาสำหรับงานคัปปลิ้งความถี่วิทยุหรือในวงจรจูน






ตัวเก็บประจุ แทนทาลั่ม (Tantalum capacitor)
ตัวเก็บประจุแบบแทน ทาลั่ม จะให้ค่าความจุสูงในขณะที่ตัวถังที่บรรจุมีขนาดเล็ก และมีอายุในการเก็บรักษาดีมาก ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มนี้มีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น ชนิด โซลิต ( solid type ) ชนิด ซินเทอร์สลัก ( sintered slug ) ชนิดฟอลย์ธรรมดา ( plain foil ) ชนิดเอ็ชฟอยล์ ( etched foil ) ชนิดเว็ทสลัก ( wet slug ) และ ชนิดชิป ( chip ) การนำไปใช้งานต่างๆ ประกอบด้วยวงจรกรองความถี่ต่ำ วงจรส่งผ่านสัญญาณ ชนิด โซลิตนั้นไม่ไวต่ออุณหภูมิ และ มีค่าคุณ สมบัติระหว่างค่าความจุอุณหภูมิต่ำกว่า ตัวเก็บประจุ แบบอิเล็กทรอไลติกชนิดใด ๆ สำหรับงานที่ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มไม่เหมาะกับ วงจรตั้งเวลาที่ใช้ RC ระบบกระตุ้น ( triggering system ) หรือ วงจรเลื่อนเฟส ( phase - shift net work ) เนื่องจากตัวเก็บประจุแบบนี้ มีค่าคุณสมบัติของการดูดกลืนของไดอิเล็กตริก สูง ซึ่งหมายถึงเมื่อตัวเก็บประจุถูกคายประจุ สารไดอิเล็กตริกยังคงมีประจุหลงเหลืออยู่ ดังนั้นเม้ว่าตัวเก็บประจุที่มีคุณสมบัติของ การดูดกลืนของสารไดอิเล็กตริกสูงจะถูกคายประจุประจุจนเป็นศูนษ์แล้วก็ตาม จะยังคงมีประจุเหลืออยู่เป็นจำนวนมากพอ ที่ จะทำ ให้เกิดปัญหาในวงจรตั้งเวลา และ วงจรอื่นที่คล้ายกัน

คาปาซิเตอร์แบบ นี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อใช้งานแทนอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ แม้การสูญเสียจะใกล้เคียงกับอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ แต่มีค่าความผิดพลาดน้อยกว่า










ตัวเก็บประจุแบบไมลา (Milar capacitor)
นำมาใช้แทนคาปาซิเตอร์ แบบเซรามิค เพราะมีค่าความผิดพลาดและกระแสรั่วไหลน้อยกว่าในขณะที่สามารถทนแรงดันได้ เท่ากัน ตัวถังของไมลาร์เล็กกว่าและค่าความจุสูงกว่าเซรามิค

ตัวเก็บประจุแบบไบโพลา (Bipolar capacitor)
ไบโพลาร์ คาปาซิเตอร์ (Bipolar Capacitor) หรือไบแคป(Bi-Cap) เหมือนกับแบบอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ แต่ไม่มีขั้ว นิยมใช้กันมากในวงจรเครื่องเสียง ขยายเสียง ภาคจ่ายไฟ








Re: ตัวเก็บประจุ
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 09:56:14 AM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง แก้ไขข้อความแก้ไข ลบข้อความลบทิ้ง แยกหัวข้อแยกหัวข้อ
ชนิดของตัวเก็บประจุ

ชนิดของตัวเก็บประจุแบ่งตามวัสดุการใช้งานแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ Fixed capacitor

Capacitor ชนิดนี้จะมีขั้วบวกและขั้วลบบอกไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบกลมดังนั้น การนำไปใช้งานจะต้องคำนึงถึงการต่อขั้วให้กับ Capacitor ด้วย จะสังเกตขั้วง่าย ๆ ขั้วไหนที่เป็นขั้วลบจะมีลูกศรชี้ไปที่ขั้วนั้น และในลูกศรจะมีเครื่องหมายลบบอกเอาไว้

ตัวเก็บประจุแบบกระดาษ (Paper capacitor)






ตัว เก็บประจุแบบเปเปอร์ นำไปใช้งานซึ่งต้องการค่าความต้านทานของฉนวนที่มี ค่าสูง และ มี เสถียรภาพต่ออุณหภูมิสูงได้ดี มีค่าความจุที่ดีใน ย่านอุณหภูมิที่กว้าง

ตัวเก็บประจุแบบไมก้า (Mica capacitor)

ตัว เก็บประจุแบบไมก้านี้ จะมีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิ และ ความถี่ดี มีค่าตัวประกอบการสูญเสียต่ำ และ สามารถทำงาน ได้ดีที่ความถี่สูง จะถูกนำมาใช้ในงานหลายอย่าง เช่น ในวงจะจูนวงจรออสซิสเตอร์ วงจรกรองสัญญาณ และวงจรขยาย ความ ถี่วิทยุกำลังสูง จะไม่มีการผลิตตัวเก็บประจุแบบไมก้าค่าความจุสูงๆ ออกมา เนื่องจากไมก้ามีราคาแพง จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการ ผลิตสูงเกินไป




ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก (Ceramic capacitor)
เป็น คาปาซิเตอร์ราคาถูกมีใช้กันอยู่ทั่วไป เหมาะสำหรับงานคัปปลิ้งความถี่วิทยุ มีการสูญเสียมากมีค่าความจุต่ำสุดอยู่ที่ 1 ไมโครฟารัด

ตัวเก็บ ประจุชนิดเซรามิก โดยทั่วไปตัวเก็บประจุชนิดนี้มีลักษณะกลมๆ แบนๆ บางครั้งอาจพบแบบสี่เหลี่ยมแบนๆ ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุชนิดนี้ มีค่าน้อยกว่า 1 ไมโครฟารัด และเป็นตัวเก็บประจุชนิดที่ไม่มีขั้ว และสามารถทนแรงดันได้ประมาณ 50-100 โวลต์ค่าความจุของตัวเก็บประจุชนิดเซรามิกที่มีใช้กันในปัจจุบันอยู่ในช่วง 1 พิโกฟารัด ถึง 0.1 ไมโครฟารัด

ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก มีขนาดเล็ก ไม่มีขั้ว ค่าความจุต่ำ อยู่ในช่วง พิโก - นาโน (pF - nF )โดยทั่วไปตัวเก็บประจุชนิดนี้มีลักษณะกลมๆ แบนๆ บางครั้งอาจพบแบบสี่เหลี่ยมแบนๆ ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุชนิดนี้ มีค่าน้อยกว่า 1 ไมโครฟารัด และเป็นตัวเก็บประจุชนิดที่ไม่มีขั้ว (ไม่ต้องคำนึงเวลาใช้งาน) และไม่ค่อยระบุการใช้ แรงดัน แต่ปกติจะ ใช้แรงดันที่ 50V 100V 1000V ขึ้นอยู่กับขนาดของมัน (ปกติ ทนแรงดันที่ 50 โวลท์ ) จะใช้ในงานกรองความถี่ พบมากในพวกเครื่องรับ-ส่ง และวงจรทั่วไป

เซรามิคคาปาซิเตอร์มีด้วยกัน 2 แบบคือ

เซรามิคแบบจาน (Disc Ceramic Capacitor) ลักษณะการสร้างเป็นการเคลือบโลหะด้วยสารละลายเงินที่พื้นผิวทั้ง 2 ด้าน ของจานเซรามิคแผ่นบาง ๆ ที่มีค่าไดอิเล็กตริกต่ำ บัดกรีขาออกมาทั้งสองด้านแล้ว นำไปเคลือบผิวภายนอกด้วยเรซิน หรือ อีพ๊อกซี มีค่าความจุ 0.75 pF-2.2 m F อัตราการทนแรงไฟ 50 V – 6 KVDC ค่าผิดพลาด ± 5 – 10 %

เซรามิคแบบหลายชั้น (Monolithic Multilayer Ceramic: MLC) ลักษณะเป็นการเคลือบฟิล์มโลหะชั้นบาง ๆ ของเซรามิคที่มีค่าไดอิเล็กตริกสูง วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ แล้วอัดแน่นเป็นชิ้นเดียวส่วนมากจะเป็นแบบชิป (Chip) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประเภทติดผิวหน้า (Surface Mount) ขั้วต่อทำจากโลหะตะกั่วผสมกับดีบุกให้คุณภาพสูง มีค่าความจุด 10 pF – 0.56 m F อัตราการทนแรงไฟ 200 VDC ค่าผิดพลาด ± 5 – 10 %








ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลติก (Electrolytic capacitor)
เป็น คาปาซิเตอร์ที่มีค่าความผิดพลาดสูงมาก แต่ต้องใช้เพราะว่ามีค่าความจุที่สูง มีโครงสร้างใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ มีขั้วบวกและลบ นิยมใช้กับงานความถี่ต่ำทั่วๆไป หรือใช้สำหรับไฟตรง สารที่นำมาใช้ทำแผ่นตัวนำในคาปาซิเตอร์แบบนี้จะเป็นสารอลูมิเนียมโดยมีน้ำยา เคมีอิเล็กโตไลต์ติกทำหน้าที่เป็นไดอิเล็กตริก ช่วยเร่งปฎิกิริยาเคมีทำให้ประจุเกิดได้มากกว่าปกติ

ตัวเก็บประจุ ชนิดอิเล็กทรอไลติก ตัวเก็บประจุชนิดนี้ต้องระวังในการนำไปใช้งานด้วย เพราะมีขั้วที่แน่นอนพิมพ์ติดไว้ด้าน ข้างตัวถังอยู่แล้ว ถ้าป้อนแรงดันให้กับตัวเก็บประจุผิดขั้วละก็ อาจเกิดความเสียหายกับตัวมันและอุปกรณ์ที่ประกอบร่วมกับตัวมันได้ ขั้วของตัวเก็บประจุชนิดนี้สังเกตได้ง่ายๆ เมื่อตอนซื้อมา คือ ขาที่ยาวจะเป็นขั้วบวก และขาที่สั้นจะเป็นขั้วลบ

ตัวเก็บประจุชนิด นี้จะมีค่าความจุอยู่ในช่วง1 uF - 30,000 uFขึ้นไป และมีการใช้งานที่ แรงดัน ตามที่ระอยู่บนตัวมันอยู่แล้วเช่น 10V , 16V , 25V ,50V 100V เรานิยมใช้ตัวเก็บประจุชนิดนี้ในวงจรทั่วไป ตัวเก็บประจุ ชนิดนี้มีใช้ทั้งแบบมีขั้ว และ ไม่มีขั้วค่าความจุ และแรงดันใช้งาน จะพิมพ์ตัวเก็บประจุเลย และจะมีแถบสีขาวด้านข้างซึ่งจะแสดง ตำแหน่งขาลบ(-) ของตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลติก ตัวเก็บประจุชนิดนี้ต้องระวังในการนำไปใช้งานด้วย เพราะมีขั้วที่แน่นอนพิมพ์ติดไว้ด้าน ข้างตัวถังอยู่แล้ว ถ้าป้อนแรงดันให้กับตัวเก็บประจุผิดขั้วละก็ อาจเกิดความเสียหายกับตัวมันและอุปกรณ์ที่ประกอบร่วมกับตัวมันได้ ขั้วของตัวเก็บประจุชนิดนี้สังเกตได้ง่ายๆ เมื่อตอนซื้อมา คือ ขาที่ยาวจะเป็นขั้วบวก และขาที่สั้นจะเป็นขั้วลบ








ตัวเก็บประจุแบบน้ำมัน (Oil capacitor)

ตัวเก็บประจุแบบโพลีสไตลีน (Polyethylene capacitor)
เป็น คาปาซิเตอร์ชั้นดีที่ให้การสูญเสียต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ รวมไปถึงกระแสรั่วไหลน้อยมากๆ เหมาสำหรับงานคัปปลิ้งความถี่วิทยุหรือในวงจรจูน



ตัวเก็บประจุ แทนทาลั่ม (Tantalum capacitor)
ตัว เก็บประจุแบบแทนทาลั่ม จะให้ค่าความจุสูงในขณะที่ตัวถังที่บรรจุมีขนาดเล็ก และมีอายุในการเก็บรักษาดีมาก ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มนี้มีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น ชนิด โซลิต ( solid type ) ชนิด ซินเทอร์สลัก ( sintered slug ) ชนิดฟอลย์ธรรมดา ( plain foil ) ชนิดเอ็ชฟอยล์ ( etched foil ) ชนิดเว็ทสลัก ( wet slug ) และ ชนิดชิป ( chip ) การนำไปใช้งานต่างๆ ประกอบด้วยวงจรกรองความถี่ต่ำ วงจรส่งผ่านสัญญาณ ชนิด โซลิตนั้นไม่ไวต่ออุณหภูมิ และ มีค่าคุณ สมบัติระหว่างค่าความจุอุณหภูมิต่ำกว่า ตัวเก็บประจุ แบบอิเล็กทรอไลติกชนิดใด ๆ สำหรับงานที่ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มไม่เหมาะกับ วงจรตั้งเวลาที่ใช้ RC ระบบกระตุ้น ( triggering system ) หรือ วงจรเลื่อนเฟส ( phase - shift net work ) เนื่องจากตัวเก็บประจุแบบนี้ มีค่าคุณสมบัติของการดูดกลืนของไดอิเล็กตริก สูง ซึ่งหมายถึงเมื่อตัวเก็บประจุถูกคายประจุ สารไดอิเล็กตริกยังคงมีประจุหลงเหลืออยู่ ดังนั้นเม้ว่าตัวเก็บประจุที่มีคุณสมบัติของ การดูดกลืนของสารไดอิเล็กตริกสูงจะถูกคายประจุประจุจนเป็นศูนษ์แล้วก็ตาม จะยังคงมีประจุเหลืออยู่เป็นจำนวนมากพอ ที่ จะทำ ให้เกิดปัญหาในวงจรตั้งเวลา และ วงจรอื่นที่คล้ายกัน

คาปาซิเตอร์แบบ นี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อใช้งานแทนอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ แม้การสูญเสียจะใกล้เคียงกับอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ แต่มีค่าความผิดพลาดน้อยกว่า






ตัวเก็บประจุแบบไมลา (Milar capacitor)
นำ มาใช้แทนคาปาซิเตอร์แบบเซรามิค เพราะมีค่าความผิดพลาดและกระแสรั่วไหลน้อยกว่าในขณะที่สามารถทนแรงดันได้ เท่ากัน ตัวถังของไมลาร์เล็กกว่าและค่าความจุสูงกว่าเซรามิค

ตัวเก็บประจุแบบไบโพลา (Bipolar capacitor)
ไบโพลาร์ คาปาซิเตอร์ (Bipolar Capacitor) หรือไบแคป(Bi-Cap) เหมือนกับแบบอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ แต่ไม่มีขั้ว นิยมใช้กันมากในวงจรเครื่องเสียง ขยายเสียง ภาคจ่ายไฟ

ตัวเก็บประจุแบบโพลีโพรไพลีน (Poiypropyrene)

โพลีเอสเตอร์คาปาซเตอร์ (Polyester Capacitor)
ลักษณะ การใช้งานและคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับแบบเปเปอร์ โดยไดอิเล็กตริคทำมาจากโพลีเอสเตอร์หรือพวกพลาสติกตัวนำ ดังนั้นการสูญเสียจึงน้อยกว่าเปเปอร์






โพลีคาร์บอเนตคาปาซิเตอร์ (Polycarbonate Capacitor)
เป็น คาปาซิเตอร์ที่มีค่าความจุสูงกว่าชนิดโพลีเอสเตอร์เล็กน้อย คุณสมบัติคล้ายคลึงกันใช้แทนกันได้ ตัวของคาร์ปาซิเตอร์แบบนี้จะเล็กกว่าเล็กน้อยและมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสีย น้อยกว่าโพลีเอสเตอร์ประมาณ 20 - 30 เท่า





ซิลเวอร์ไมก้าคาปาซิเตอร์ (Silver Mica Capacitor)
เหมาะที่จะ ใช้กับวงจรความถี่สูง เช่นความถี่วิทยุเพราะมีค่าความจุประมาณ 10pF - 10nF เป็นคาปาซิเตอร์ชั้นดีอีกชนิกหนึ่ง เปอเซ็นต์ความผิดพลาดแทบไม่มีเลย





ฟีดทรูคาปาซิเตอร์ (Feed-through Capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์ที่ใช้ในการกรองความถี่รบกวน





ตัวเก็บประจุชนิดเปลี่ยนแปลงค่าได้ แบ่งได้ 2 ชนิด
วาริเอเบิ้ลคาปาซิเตอร์ (Variable Capacitor) เป็นคาปาซิเตอร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความจุในตัวได้ เพื่อใช้ในการจูนรับความถี่ของเครื่องรับวิทยุ
โครงสร้างทำมาจากแผ่นโลหะมาวางซ้อนกัน ชุดหนึ่งติดตั้งคงที่ อีกชุดหนึ่งยึดติดกับแกนหมุน มีแผ่นอากาศเป็นไดอิเล็กตริค













เป็น Capacitor ชนิดที่ไม่มีค่าคงที่ ซึ่งจะมีการนำวัสดุต่างๆ มาสร้างขึ้นเป็น Capacitor โดยทั่วไปจะมีค่าความจุไม่มากนัก โดยประมาณไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด (m F) Capacitor ชนิดนี้เปลี่ยนค่าความจุได้ จึงพบเห็นอยู่ ในเครื่องรับวิทยุต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวเลือกหาสถานีวิทยุโดยมีแกนหมุน Trimmer หรือ Padder เป็น Capacitor ชนิดปรับค่าได้ ซึ่งคล้าย ๆ กับ Varible Capacitor แต่จะมีขนาดเล็กกว่า การใช้ Capacitor แบบนี้ถ้าต่อในวงจรแบบอนุกรมกับวงจรเรียกว่า Padder Capacitor ถ้านำมาต่อขนานกับวงจร เรียกว่า Trimmer

ทริมเมอร์คาปาซิเตอร์ และ แพดเดอร์คาปาซิเตอร์ (Trimmer and Padder) เป็น คาปาซิเตอร์ชนิดเปลี่ยนแปลงค่าความจุได้เพียงเล็กน้อย เพราะโครงสร้างเป็นเพียงโลหะเล็กๆ วางซ้อนกันมีแผ่นไมก้ากั้นกลาง มีสรูยึด ปรับค่าโดยการยึดหรือคลายสกรู ถ้าต่อขนาดอยู่กับวงจรนิยมเรียกว่า ทริมเมอร์ ถ้าต่ออันดับนิยมเรียกว่า แพดเดอร์










การอ่านค่าความจุของคาปาซิเตอร์
หน่วยความจุของคาปาซิเตอร์
คาปาซิเตอร์มีหน่วยเป็น ฟารัด (F) ไมโครฟารัด (uF) หรือ MFD และ นาโนฟารัด (nF)






ดังนั้น
1 F = 1,000,000 uF
1 uF = 1,000 nF
1 nF = 1,000 pF

การอ่านค่าความจุของคาปาซิเตอร์
ตัวเก็บประจุจะบอกลักษณะอยู่ทั้งหมด 3 แบบ คือ

1. บอกเป็นตัวเลขค่าความจุ
2. บอกเป็นตัวเลข
3. บอกเป็นแถบสี

การอ่านแบบที่บอกเป็นตัวเลข
คาปาซิเตอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีความจุสูง และบอกอัตราทนแรงดันไฟฟ้าสูงสุดมาด้วย




จากรูปสามารถอ่านได้
1500 ไมโครฟารัด
ทนแรงดันสูงสุดที่ 35 โวลท์


ตัวที่ 1 สามารถอ่านได้10 ไมโครฟารัด ทนแรงดันสูงสุดที่ 100 โวลท์
ตัวที่ 2 สามารถอ่านได้ 10 ไมโครฟารัด ทนแรงดันสูงสุดที่ 250 โวลท์

การอ่านแบบที่บอกเป็นตัวเลข


ค่า ของตัวเก็บประจุปกติมี 2 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยไมโครฟารัด (uF) กับพิโกฟารัด (pF) ซึ่งการอ่านค่าวิธีนี้ในบางครั้ง ผู้ผลิตอาจบอกค่าความจุแต่เพียงตัวเลขอย่างเดียว ส่วนหน่วยนั้นเขาละกันเอาไว้ในฐานที่เข้าใจกัน

การบอกค่าแบบเป็นตัวเลขมีค่าน้อยกว่า 1 (ค่าที่พิมพ์บนตัวเก็บประจุ) ค่าที่อ่านได้ก็จะมีหน่วยเป็นไมโครฟารัด (uF) เช่น 0.1 หมายถึง 0.1 ไมโครฟารัด
การอ่านค่าแบบเป็นตัวเลขมีค่ามากกว่า 1 ค่าที่อ่านได้ก็จะมีหน่วยเป็นพิโกฟารัด (pF) เช่น 20 หมายถึง 20 พิโกฟารัด

ยก เว้นในกรณีที่มีหน่วยตามหลังเช่น 10uF ค่าที่อ่านได้เท่ากับ 10 ไมโครฟารัด และตัวเลขที่บอกค่าเกิน 2 หลัก เช่น 101 ไม่เท่ากับ 101 พิโกฟารัด แต่เราจะอ่านค่าโดยการแปรรหัสดังที่จะนำมากล่าวต่อไป

คาปาซิเตอร์ ชนิดนี้จะบอกเป็นตัวเลขมา 3 ตำแหน่งด้วยกัน โดยที่ ตัวที่หนึ่งจะเป็นตัวตั้งหลักที่หนึ่ง ตัวที่สองจะเป็นตัวตั้งหลักที่สอง และตัวเลขตัวที่สามจะเป็นตัวเติมเลขศูนย์ลงไป(หรือตัวคูณก็ได้) หน่วยที่ได้จะเป็นพิโกฟารัด เสมอ
ยกตัวอย่าง





1 0 และเติมศูนย์อีกสองตัว
จะได้
1000 pF หรือ 1 nF(หารด้วย1,000) หรือ 0.001 uF (หารด้วย 1,000,000)

อ่านได้ 100 pF






อ่านได้

150000 pF
150 nF
0.15 uF










การอ่านค่า C แบบรวดเร็ว

หลักที่ 1 และ 2 เป็นตัวตั้ง
หลักที่ 3 เป็นตัวคูณ
หลักที่ 4 เป็นค่าความผิดพลาด เช่น K , H , J
กรณีหลักที่สาม คือ ตัวคูณ มีรายละเอียดดังนี้

หลักที่สามเป็น 0 ค่าตัวคูณ คือ 1
หลักที่สามเป็น 1 ค่าตัวคูณ คือ 10
หลักที่สามเป็น 2 ค่าตัวคูณ คือ 100
หลักที่สามเป็น 3 ค่าตัวคูณ คือ 1,000
หลักที่สามเป็น 4 ค่าตัวคูณ คือ 10,000
หลักที่สามเป็น 5 ค่าตัวคูณ คือ 100,000
หลักที่สามเป็น 6 ค่าตัวคูณ คือ ไม่ใช้
หลักที่สามเป็น 7 ค่าตัวคูณ คือ ไม่ใช้
หลักที่สามเป็น 8 ค่าตัวคูณ คือ 0.01
หลักที่สามเป็น 9 ค่าตัวคูณ คือ 0.1

หลักที่ 4 คือ ค่าความผิดพลาด มีรายละเอียดดังนี้

D ==> +/- 0.5 pF
F ==> +/- 1%
G ==> +/- 2%
H ==> +/- 3%
J ==> +/- 5%
K ==> +/- 10%
M ==> +/- 20%
P ==> +100% ,-0%
Z ==> +80%, -20%

ตัวอย่างเช่น ตัว C มีค่า 104K

10 x 10,000 = 100,000 pF หรือ 0.1 uF และมีค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ +/- 10%

ตัวอย่างเช่น ตัว C มีค่า 103K

10 x 1,000 = 10,000 pF หรือ 0.01 uF หรือ 10 nF และมีค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ +/- 10%

โดยที่…
1 micro = 1/1,000,000 ==> 1 uF
1 nano = 1/1,000,000,000 ==> 1 nF
1 pico = 1/1,000,000,000,000 ==> 1 pF

ที่มา: link http://www.basiclite.com/web/index.php?topic=128.0

จากบทความนี้ เราก็สามารถเลือกใช้ตัวเก็บประจุและอ่านค่าได้อย่างถูกต้องแล้วนะครับ
ส่วนตัวเก็บประจุแต่ละแบบ ก็สามารถเดินหาซื้อได้ที่บ้านหม้อเลยนะครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

jomjomjom

17/09/2010 13:40:37
5
เหมือนได้อ่านหนังสือตอน ปวช.เลยครับ
แจ๋ว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

MOD91

18/09/2010 00:01:38
6
แจ่มมากคับ มีสาระ นานๆหลงมาทีเวปนี้ ชอบหลุดบ่อย 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

basictoday

27/09/2010 23:03:16
0
สวัสดีครับมาต่ออีกบทความนะครับ

สำหรับนัก DIY ประดิษฐ์คิดค้นงานต่างๆ ทางด้านงานอิเล็กทรอนิกส์ PCB PCB PCB!!
แผ่นพลาสติกเล็กๆเคลือบทองแดง เป็นสิ่งพื้นฐานที่เราต้องทำความรู้จัก

แผ่นวงจรพิมพ์จะประกอบด้วยส่วนสําคัญ 2 ส่วนคือแผ่นฐานหรือซับสเตรตกับส่วนที่เป็นตัวนํา ในชุดแรกแผ่นวงจรพิมพ์จะ
ประกอบขึ้นจากแผ่นฐานที่ทําจากฉนวนบาง ๆ ยึดรวมกันด้วยสารประเภทเทอร์โมเซตติง เพื่อให้รองรับกับตัวนําที่ใช้เชื่อมต่อตัวอุปกรณ์ตัว
นํา ที่ใช้เชื่อมต่อตัวอุปกรณ์จะใช้วิธีการพิมพ์หมึกที่สามารถนําไฟฟ้าได้ลง ไปบนแผ่นฐานวงจรพิมพ์ จึงเป็นที่มาของคําว่า PrintedCircuit
Board หรือ PCB และยังนิยมใช้คํานี้อยู่จนถึงปัจจุบัน

แผ่นวงจรพิมพ์ Printed circuit board (PCB)หรือ Printed circuit wiring board (PWB)เป็นแผ่นฉนวนบางๆ ทําหน้าที่เป็นที่
วางและยึดติดตัวอุปกรณ์มีตัวนําไฟฟ้าเป็นตัวต่อวงจรให้แก่อุปกรณ์ไปด้วยใน ตัว โดยทั่วไปจะใช้ทองแดงเป็นตัวต่ออาจจะทําเป็นหน้าเดียว
(Single-sided) หรือสองหน้า(Double-sided)แต่ถ้าวงจรมีความหนาสูงมีความซับซ้อนมากๆ ก็อาจจะต้องทำเป็นหลายๆ ชั้น(Multi-layered)
ก็ได้ วิธีการพิมพ์หมึกลงบนแผ่นวงจรพิมพ์นั้น ในการนำมาใช้งานพบว่าหมึกหลุดล่อนได้ง่ายทําให้เกิดความเสียหายต่อวงจร เทคนิคที่นํามา
ใช้แทนที่คือ วิธีที่เรียกว่าซับแทร็กตีฟโปรเซส (Suptractive process) หรือ เคมิคอลฟอยล์เอนซึ่ง (chemical foilencing) โดยขั้นแรกจะ
ทําการยึดแผ่นทองแดงบางๆ ซึ่งเป็นวัสดุที่นําไฟฟ้าได้ดีกว่าหมึกพิมพ์ และมีความคงทนกว่าเข้ากับผิวหน้าของแผ่นฐานด้วยกาวผลที่ได้จะ
เกิด วัสดุที่เรียกว่า “metal clad laminate” แต่เราก็ยังเรียกกันว่า “Printed Circuit Board” อยู่ดีแผ่นฐานจะทํามาจากวัสดุที่เป็นฉนวน
น้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงที่นิยมใช้มี 3 ชนิด คือ

1. ฟีนอลิก (phenolic)

2. กลาสอีพอกซี่ (glass epoxy)

3. สารประกอบ อีพอกซี่ (composite epoxy)

ในครั้งแรกๆ การใช้งานแผ่นวงจรพิมพ์ แผ่นฐานที่ใช้จะทําจากกระดาษบางๆ ชุบฟีนอลิกแล้วอัดรวมกันให้แข็งแรงแต่แผ่น
วงจรพิมพ์ที่ทําจากฟีนอลิกนั้นจะมีลักษณะประเภทแตกหักได้ง่าย มีความแข็งแรงต่ำไม่ค่อยต้านทานความชื้นต่อมาได้มีการนําใยฝ้ายมาใช้
แทนที่กระดาษ ทําให้ได้ความแข็งแรงทางกลสูงขึ้น และมีความต้านทานต่อความชื้นสูงแต่ทําให้ความแข็งแรงทางไฟฟ้าลดลงจากนั้นจึง ได้
มี การนําใยแก้วมาทําเป็นแผ่นฐาน โดยทอใยแก้วชั้นเดียวหรือหลายชั้นเข้าด้วยกัน แล้วยึดด้วยอีพอกซีเรซินจึงเรียกแผ่นวงจรพิมพ์ชนิดนี้ว่า
กลาสอีพอกซี่ ลักษณะการทอเป็นพื้นของใยแก้ว

การแบ่งเกรดของแผ่นวงจรพิมพ์

สมาคมผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อเมริกา (NEVA:National Electrical Manufacturers Association) ได้แบ่งชนิดของ
แผ่นวงจรพิมพ์ไว้ถึง 30 ชนิด แต่โดยทั่วไปเราจะพบประมาณ 10 ชนิด ดังต่อไปนี้

เกรด XXX PC แผ่นวงจรพิมพ์ชนิดนี้ ทําขึ้นจากกระดาษยึดรวมตัวกันด้วยฟีนอลิกเรชั่นเป็นชนิดที่ ใช้งานทั่วๆ ไป
ทน ความชื้นได้ไม่สูงนักมีความต้านทานค่อนข้างตํ่าเมื่อเทียบกับแผ่นวงจร พิมพ์ที่ทําจากสารชนิดอื่นสามารถใช้กับงานความถี่สูงได้ถึงย่าน
ความถี่วิทยุ ออกแบบมาเพื่อให้ตัดเจาะได้ที่อุณหภูมิตํ่า

เกรด FR-2 ทําจากฟีนอลิก ลักษณะโดยทั่วๆ ไป คล้ายกับ เกรด XXX PC แต่ออกแบบมาให้ติดไฟได้ยากกว่า ทําให้
สามารถนําไปใช้กับงานที่อุณหภูมิสูงกว่าได้

เกรด FR-3 แผ่นวงจรพิมพ์ชนิดนี้ทําจากกระดาษบาง ๆ ยิดติดกันด้วยอีพ็อกซี่เรซินมีความแข็งแรงสูงสามารถใช้กับ
งานที่แรงดันสูงและความชื้นสูงได้ ดีกว่าเกรด XXX PC และยังออกแบบมาให้ตัดเจาะได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง

เกรด FR-4 พัฒนาขึ้นมาจากเกรด FR-3 ทําจากใยแก้วยึดด้วยอีพอกซี่เรซิน สามารถใช้ได้กับงานหลายประเภท ทน
ต่อความชื้นและอุณหภูมิสูง และสามารถใช้งานกับแรงดันสูงได้ดีกว่า เกรด XXX PC, FR-2 และ FR-3

เกรด FR-5 พัฒนาขึ้นจากเกรดFR-4 โดยยังคงใช้เส้นใยแก้วยึดด้วยอีพอกซี่เรซินแต่มีความแข็งแรงสูงกว่าทั้งทางกล
และทางไฟฟ้า นอกจากนี้ยังติดไฟได้ยากอีกด้วย

เกรด FR-6 ทําจากแผ่นใยแก้วบาง ๆ ยึดรวมกันด้วยเทอร์โมเซตติงโพลีเอสเตอร์ มีค่าคงที่ทางไดอิเล็กตริกตํ่า มีความ
แข็งแรงตํ่า แต่ได้ปรับปรุงคุณสมบัติในด้านการทนต่อความชื้น จึงสามารถใช้กับงานที่ความชื้นสูงได้

เกรด CEM1 แผ่นวงจรพิมพ์ชนิดนี้ใช้เซลลูโลสเป็นแกนกลางมีใยแก้วทอเป็นผิวสองด้านยึดติดกันด้วยอีพอกซี่เรซิน
เช่นเดิม ทําให้ตัดเจาะได้ง่าย แต่ทนความชื้นได้ตํ่ากว่าเกรด FR-4,FR-5 และ FR-6

เกรด G-10 เป็นแผ่นวงจรพิมพ์ ชนิดอีพอกซี่ไฟเบอร์ไกลาส มีความแข็งแรงทางกลสูง มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าดีเยี่ยม
ลักษณะทั่วไปคล้ายกับเกรด FR-4 แต่ติดไฟยากกว่าแผ่นวงจรทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ยังใช้วัสดุแบบเดิม ๆ ทําเป็นแผ่นฐาน ซึ่งยังมีแผ่นวงจร
พิมพ์ที่ใช้สารที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เป็นแผ่นฐาน ได้แก่เกรด G-30 และเกรด G-60

เกรด G-30 ใช้ใยแก้วทอยึดตัวด้วยโพลีอะไมค์เรซินมีความคงตัวสามารถต้านทานต่อความชื้นสูงมีคุณสมบัติทาง
ไฟฟ้าดีเยี่ยม เหมาะสําหรับการนํามาใช้ทําแผ่นวงจรพิมพ์ชนิดมัลติเลเยอร์

เกรด G-60 เป็นแผ่นวงจรพิมพ์ชนิดพิเศษที่ใช้สารโพลีซัลโฟนเทอร์โมพลาสติก ทําเป็นแผ่นฐานเนื่องจากมีค่าความ
สูญเสียในไดอิเล็กตริกตํ่า สามารถควบคุมคุณสมบัติของไดอิเล็กตริกได้ง่าย นิยมใช้ในงานความถี่สูงมาก ๆ เป็นกิกะเฮิรตซ์ (GHZ) สําหรับ
ไมโครชิปเป็นต้น คุณสมบัติทางไดอิเล็กตริกและความสูญเสียในไดอิเล็กตริกของสารโพลีซัลไฟด์ที่ใช้กับย่านความถี่ไมโครเวฟ

แผ่นลายวงจรพิมพ์ หรือ พีซีบี (PCB ย่อจาก Printed Circuit Board) หรือนิยมเรียกว่า "แผ่นปรินท์ หรือ แผ่นแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์"
เป็น แผงที่มีลายทองแดงนำไฟฟ้าอยู่ใช้สำหรับต่อวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประกอบเป็นวงจร แทนการต่อวงจรด้วยสายไฟ ซึ่งมีความซับซ้อนและยุ่งยาก
โดย แผงวงจรนี้อาจมีเพียงด้านเดียว (Single side)หรือสองด้าน (Double side)หรือสามารถวางซ้อนกันได้หลายๆ ชั้น (Multi layer) ได้เช่นกัน ตามความต้องการของผู้ออกแบบ






PCB ชนิดหน้าเดียว (Single Side)




PCB ที่มีเส้นลายวงจรเพื่อเชื่อมสัญญาณทางไฟฟ้าอยู่ด้านเดียวและมักจะใส่อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์์อยู่ด้านตรงข้ามกับเส้นลายวงจร และมัก จะมี Silk Screen ด้านเดียวกับอุปกรณ์

PCB ชนิดสองหน้า (Double Side PCB)
แบบนี้จะมีทองแดงเคลือบอยู่ ทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่ด้านหนึ่งมักจะปล่อยให้เป็นลายทองแดงเต็มแผ่นในลักษณะเป็น กราวน์เพลน (Ground Plane) โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดสัญญาณรบกวน มักใช้ในวงจรเครื่องรับหรือเครื่องส่งวิทยุ


PCB ชนิดสองหน้า (Double Side Plate Through Hole)





เป็น ชนิดที่มีลายทองสองด้านซึ่งประกอบไปด้วย ชั้นของแผ่นตัวนำสองด้านคือด้านบนและด้านล่างประกบกับชั้นซัพเตรดอยู่
PCB ที่มีเส้นลายวงจรเพื่อเชื่อมสัญญาณทางไฟฟ้าทั้งสองด้าน และภายในรูมักจะชุบด้วยทองแดงเพื่อเชื่อมสัญญาณระหว่างด้าน และ มักจะใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมี Silk Screen ได้ทั้งสองด้าน



วัสดุที่นิยมนำมาใช้คือ ไฟเบอร์กลาสอิพ็อกซี่ แผ่นงวงจรลักษณะนี้จะเหมาะสำหรับงานที่มีตัวอุปกรณ์ที่มีความหนาแน่นมากซึ่ง

แผ่น PCB ประเภท Double-sided จะเหมาะสำหรับงานหรือวงจรที่ใช้ความถี่ปานกลางถึงความถี่สูง และยังสามารถเชื่อมต่อแบบ Plat through Hole (PTH) เพื่อให้เส้นทั้งสองเชื่อมต่อกันได้สั้นลงด้วย

PCB ชนิดหลายชั้น (Multi Layer)





PCB ที่มีเส้นลายวงจรเพื่อเชื่อมสัญญาณทางไฟฟ้า ระหว่างชั้นใน (Inner Layer) 2,4..Layer และชั้นนอก (Outer Layer) และภายในรูมักจะชุบด้วยทองแดง เพื่อเชื่อมสัญญาณระหว่างชั้น และ มักจะใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมี Silk Screen ได้ทั้งสองด้าน

เป็น แผ่นวงจรชนิดหลายชั้น แผ่นวงจรชนิดนี้จะประกอบไปด้วยชั้นของแผ่นตัวนำและซัพเตรดมากกว่าสองชั้น ขึ้นไป โดยการอัดชั้นต่างเข้าหากันโดยใช้ความร้อนและเครื่องอัดแรงดันสูงเหมาะ สำหรับงานที่มีความหนาแน่นของตัวอุปกรณ์สูงถึงสูงมาก

ชนิด ฟีนอลลิกอัดและชนิด อีพ็อกซี่ไฟเบอร์กลาส ซึ่งชนิด อีพ็อกซี่จะเป็นที่นิยมกันมากเพราะคุณสมบัติที่ดีคือการทนต่ออุณหภูมิที่สูง และไม่บิดงอได้ง่ายเหมือนกับชนิด ฟีนอลลิกซึ่งไม่เป็นที่นิยมและมีความต้านทานความชื้นต่ำทำให้สูญเสียความ เป็นฉนวนง่ายจึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่มีความถี่สูงๆ แต่ ยังพบเห็นได้บ้างตามงานที่ไม่เน้นคุณภาพที่สูงมากนักเพราะราคาของเจ่าฟีนอ ลลิกนั้นจะมีราคาที่ถูกกว่าชนิดอีพ็อกซี่มากซึ่งเป็นการลดต้นทุนทางการผลิต

นอก จากนี้ยังมีการเรียกแผ่นวงจรพิมพ์ ตามสารที่เป็นพื้นฉนวน เข่น แผ่นวงจรพิมพ์แบบเบกาไลต์ (Bakelite) ซึ่งใช้ เบกาไลต์เป็นฉนวน ส่วนใหญ่มักมีสีน้ำตาล แผ่นวงจรพิมพ์แบบกลาสอีพ๊อกซี่ (Glass Epoxy) ซึ่งจะใช้ใยแก้ว เป็นฉนวน มักมีสีต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่มักทำเป็นสีเขียวหรือสีฟ้า

Copper Thickness Measurement

Copper 1 Oz = 35 µm (1.4 mil)

โปรแกรมที่นิยมใช้ออกแบบ

Protel,Altium Designer
P-CAD
OrCAD
EAGLE โปรแกรมออกแบบ PCB หนึ่งเดียวที่ทำงานได้ 3 OS
PCB Wizard

ที่มา: link http://www.basiclite.com/web/index.php?topic=293.0

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

mhxymcl

20/10/2010 21:16:49
0
Dissemination of how to make your hair a healthy atmosphere, GHD Australia professional specifically for your use hair straightener,ghd Straightener,ghd hair and ghd Hair Straightener to help you repair your hair,In addition the company in New Zealand GHD NZ also provide the same products ghd hair,ghd Straighteners and hair straighteners,We guarantee that our ghd Hair Straighteners good quality and cheap price.By the way,have you heard golf for sale,discount golf clubs,golf clubs for sale and ladies golf club?yes,our business partners callaway golf clubs offer price reduction is being,While the focus we recommend that you look more out of exercise to maintain a healthy body, ping golf clubs is a perfect sport, if you need any left handed golf clubs,taylor made golf clubs and golf club drivers,weclome to our discount golf store to buy what you need like Golf Balls.
Our company also offers the following services like Golf Equipment,TaylorMade Golf,Golf Irons,Callaway Golf,Golf Fairway Woods and Hybrid Golf Clubs,If you like Titleist Golf or Golf Wedges,please check our Golf Putters web,You can enjoy the best prices of Mizuno Golf,Golf Bags,Ping Golf,Golf Set,We sincerely recommend that you use these products, after years of marketing experience we guarantee that you will be wise choice,It includes:Taylor made irons,Callaway clubs,golf for sale,wholesale golf,golf for wholesale and golf for discount,Callaway club,edit by 英文seo,Other movie Web:动漫网站
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 9

mhxymcl

20/10/2010 21:18:18
0
Dissemination of how to make your hair a healthy atmosphere, GHD Australia professional specifically for your use hair straightener,ghd Straightener,ghd hair and ghd Hair Straightener to help you repair your hair,In addition the company in New Zealand GHD NZ also provide the same products ghd hair,ghd Straighteners and hair straighteners,We guarantee that our ghd Hair Straighteners good quality and cheap price.By the way,have you heard golf for sale,discount golf clubs,golf clubs for sale and ladies golf club?yes,our business partners callaway golf clubs offer price reduction is being,While the focus we recommend that you look more out of exercise to maintain a healthy body, ping golf clubs is a perfect sport, if you need any left handed golf clubs,taylor made golf clubs and golf club drivers,weclome to our discount golf store to buy what you need like Golf Balls.
Our company also offers the following services like Golf Equipment,TaylorMade Golf,Golf Irons,Callaway Golf,Golf Fairway Woods and Hybrid Golf Clubs,If you like Titleist Golf or Golf Wedges,please check our Golf Putters web,You can enjoy the best prices of Mizuno Golf,Golf Bags,Ping Golf,Golf Set,We sincerely recommend that you use these products, after years of marketing experience we guarantee that you will be wise choice,It includes:Taylor made irons,Callaway clubs,golf for sale,wholesale golf,golf for wholesale and golf for discount,Callaway club,edit by 英文seo,Other movie Web:动漫网站
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"ตัวไรครับที่ใส่คร่อมกับลำโพงทำให้??"