Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

งงเรื่อง ความละเอียด ของเพลงครับ

โป๊งเหน่ง

04/08/2010 23:26:06
พอดี ผมมี CD เพลงบบรเลง อยู่ แผ่นนึงครับ อัลบัม Serenade ของ Gary Schnitzer
ที่ปกมันบอกว่า Audiophile recording 24bit mastering 96kHz GOLD DISC
ไม่อยากบอกว่า ผม ไม่รู้ เรื่องเลยครับ เจอแบบนี้มึน มีใครอธิบาย ความหมายของ แต่ละอันได้บ้างครับ ช่วยที

อีกคำถามนึงครับ คือ 4bit mastering 96kHz มันเกี่ยวอะไร กะ bitrate รึเปล่าครับ

รบกวนด้วยจ้าาาาาาา

ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

อยู่ดีกินหอย อยู่ดอย

04/08/2010 23:43:19
0
"ไม่อยากบอกว่า ผม ไม่รู้ เรื่องเลยครับ เจอแบบนี้มึน"

555555 ฮาครับ ผมก้อมึนเหมือนกัน สรุปฟัง ๆ ไป
ความคิดเห็นที่ : 2

Acidstudio

05/08/2010 01:13:26
0
รอพี่ BURST มาตอบละกันครับ อิอิ
ความคิดเห็นที่ : 3

onspeeds

05/08/2010 01:18:42
0
อัดมาแบบนั้นก็จริง
แต่พอลงแผ่นรู้สึกจะเหลือ 16bit 44.1kHz มั้งครับคุ้นๆๆ
ความคิดเห็นที่ : 4

Acidstudio

05/08/2010 01:41:42
0
เครื่องเล่นต้องรองรับด้วยครับ ไม่งั้นเสียงจะฟังแตกพร่า เพี้ยนๆมั้ง

เพราะเมื่อก่อนเคยทำเพลงที่ไฟล์เท่านี้แหละ พอเขียนลง CD แล้วไปเปิดเครื่องเล่นไม่รองรับ เหอๆๆ ฟังไม่ได้เลย

สุดท้ายเลยกลับมาทำเพลงที่ 16bit 44.1K เหมือนเดิม (นานมากแล้วครับ สมัยนั้นเครื่องเล่นที่รองรับยังน้อย)
ความคิดเห็นที่ : 5

Close_Up

05/08/2010 01:43:12
0
ยิ่งแผ่นมันดี ก็ต้องใช้sourceดีๆเล่นครับ แล้วยิ่งsourceดีขึ้น เงินก็ปลิวออกจากกระเป๋ามากขึ้นครับ
ความคิดเห็นที่ : 6

wat_chy

05/08/2010 09:20:49
2
^^
^^
มันเป็นสัจจธรรมครับ ฮี่ฮี่ ^_^
ความคิดเห็นที่ : 7

โป๊งเหน่ง

05/08/2010 12:32:44
ูู^
^
^

เอาแล้วไง เสียตังค์ซื้อแผ่น คุณภาพดี แล้วต้องเสียตังค์ซื้อ player เทพอีก สงสัยคงต้องถามหา D-25s ซักตัวละ จะได้ จบๆ ไป (หรือว่า มัน จะมี season 2 ต่ออีกเนี่ย)
ความคิดเห็นที่ : 8

โป๊งเหน่ง

06/08/2010 11:32:37
0
เอ้า มาตอบกันหน่อยเร็ววววว หายกันหมดดดดด เยย
ความคิดเห็นที่ : 9

อาร์ต

06/08/2010 12:21:09
http://www.audio-teams.com/teams_colum/impedance_mat/1.shtml

ความเข้าใจเชิง ‘ ตรรกะจินตนาการ ' เรื่อง :
‘คุณภาพเสียงของ CD, SACD, DVD-Audio ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า Impedance Matching'
โดย..." ธานี โหมดสง่า์ "
E-Mail : [email protected]

(abstract)*

ผมสงสัยมาเสมอว่าทำไม.. ฟอร์แม็ต high-resolution digital audio อย่าง SACD และ DVD-Audio (24bit/96kHz กับ 24bit/192kHz) จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมอย่างที่ควร?

เหตุผลที่ว่าแผ่นซอฟท์แวร์เหล่านี้มี จำนวนน้อยนั้นน่าจะไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะผมเชื่อว่าถ้าตัวฟอร์แม็ตเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ทางต้นสังกัดแผ่นก็คงจะรีบทำแผ่นออกมาขายกันเอง ประเด็นเรื่องแผ่นซอฟท์แวร์นี้มันน่าจะเป็นเรื่องของปัญหาไก่กับไข่มากกว่า

ส่วนต้นเหตุที่ทำให้ฟอร์แม็ต HDA (high-resolution digital audio) ไม่ได้รับความนิยมมากอย่างที่ควรนั้นน่าจะมีเรื่องของ ‘ ข้อจำกัด ' ทางด้านเทคนิคและฮาร์ดแวร์เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้างไม่มากก็น้อย..

สมัยก่อน ยุคที่ยังใช้มาตรฐานอะนาลอกในการออกแบบฮาร์ดแวร์นั้น แบนด์วิธ ( bandwith) หรือย่านความถี่ของเสียงที่ใช้เป็นมาตรฐานในการบันทึกเสียงและออกแบบ ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เครื่องเสียงถูกกำหนดอยู่แค่ 20Hz-20kHz เท่านั้น เทปคาสเส็ทมีย่านความถี่ตอบสนองอยู่แค่ประมาณ 25Hz-15kHz เท่านั้น ส่วนแผ่นเสียงก็ให้แบนด์วิธของเสียงได้แค่ 10Hz-18kHz เท่านั้น ก่อนหน้า SACD และ DVD-Audio เราไม่เคยมีสื่อกลางที่ใช้บันทึกสัญญาณเสียงดนตรีประเภทไหนให้ย่านเสียงได้ กว้างถึง 20Hz-20kHz มาก่อนเลย

เมื่อมาถึงยุคของดิจิตัล-ออดิโอฟอร์แม็ต แรกสุดคือ Compact Disc หรือ CD ก็ได้มีการกำหนดมาตรฐานของฟอร์แม็ตเอาไว้สูงขึ้นกว่ามาตรฐานอะนาลอกเดิมนิด หน่อย คือในแง่ของ frequency response หรือความกว้างของความถี่ตอบสนองของฟอร์แม็ต CD จะเริ่มตั้งแต่ 5Hz ขึ้นไปจนถึง 22.05kHz

อีกประการหนึ่ง คือเรื่องของ ไดนามิก เร้นจ์ ( dynamic range) ของเสียง หรือก็คือระดับความกว้างในการสวิงความดังของเสียง ซึ่งในยุคที่เราใช้มาตรฐานอะนาลอกนั้น แทบจะไม่มีสื่อกลางตัวไหนเลยที่สามารถให้ไดนามิกเร้นจ์ที่กว้างถึง 80dB อย่างเช่นเทปคาสเส็ทนั้นก็ทำได้สูงสุดแค่ 50-60dB เท่านั้น (ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อเทป ถ้าเป็นเนื้อเทปแบบโครเมี่ยมก็จะให้ไดนามิกเร้นจ์สูงกว่าเทปธรรมดา และเมทัลเทปจะให้ค่าไดนามิกเร้นจ์สูงสุด) ส่วนแผ่นเสียงไวนิลนั้นก็ไปได้สูงสุดแค่ 65-70dB เท่านั้น

เมื่อเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานดิจิตัล สัญญาณเสียงดิจิตัล PCM แบบมัลติบิตที่ใช้เป็นมาตรฐานในการบันทึกเสียงลงบนแผ่นซีดีจะสามารถให้ความ แตกต่างของความดังของเสียงได้ bit ละ 6dB ซึ่งฟอร์แม็ต CD กำหนดให้ใช้บิตเรตในการบันทึกสูงสุดเท่ากับ 16 bit นั่นก็หมายความว่า จุดที่สัญญาณถูกบันทึกลงไปบนแผ่นเต็มสเป็คฯ ที่ 16 bit นั้นเมื่อผ่านการแปลงกลับมาเป็นสัญญาณอะนาลอกแล้วที่จุดนั้นก็จะได้ระดับ ความดังของเสียงออกมาสูงสุด คือเท่ากับ 96dB เต็มๆ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่มาตรฐานของการ reproduction ของเสียงในระบบเพลย์แบ็คได้ถูกขยับปรับให้สูงขึ้นนับตั้งแต่วงการออดิโอได้ ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก

ผ่านมายี่สิบกว่าปี เมื่อฟอร์แม็ต HDA (High-resolution Digital Audio) สองฟอร์แม็ตคือ SACD และ DVD-Audio ถูกเสนอออกมาสู่วงการ มันทั้งคู่ได้ปรากฏตัวออกมาพร้อมกับสเป็คฯ ใหม่ที่ไฉไลกว่าเดิมขึ้นไปอีก.. !

โฟกัสแค่สเป็คฯ หลักๆ สองตัวข้างต้นคือค่า frequency response กับค่า dynamic range ก็พอ จะเห็นว่า ทั้ง SACD และ DVD-Audio ต่างก็มีสเป็คฯ ที่สูงกว่า CD ขึ้นไปมากทีเดียว..

SACD กำหนดค่า frequency response หรือย่านความถี่ตอบสนองเอาไว้ตั้งแต่ 2Hz-50kHz และมีอัตราการสวิงของความดังของเสียงสูงสุดถึง 120dB สูงกว่า CD ถึง 25% ในขณะที่ระบบเสียงสเตริโอของฟอร์แม็ต DVD-Audio ก็กำหนดช่วงความถี่ตอบสนองสูงสุดของตนเอาไว้ที่ระดับ 96kHz ( หรือเก้าหมื่นหกพันเฮิร์ตที่ระดับแซมปลิ้งเรตเท่ากับ 192kHz ) และกำหนดอัตราบิตเรตของสัญญาณที่ระดับสูงสุดเอาไว้เท่ากับ 24bit นั่นเท่ากับว่าเมื่อแปลงกลับมาเป็นสัญญาณอะนาลอกแล้วมันจะให้อัตราการไดนามิ กเร้นจ์ที่กว้างสุดทะลุขึ้นไปได้ถึง 144dB ( 24x6) เลยทีเดียว ซึ่งสูงกว่า CD ประมาณ 34% !
เสป็คฯ สูงขึ้นก็ดีนะซิ.. ! ทำไมจะไม่ดีล่ะ.??

ทั้ง frequency response และ dynamic range ล้วนเป็นสเป็คฯ ที่สำคัญมีผลต่อความเป็นธรรมชาติของเสียงอย่างมาก เนื่องจากความถี่เสียงในธรรมชาตินั้นกว้างมากจนแทบจะเรียกได้ว่าไร้ซึ่งขีด จำกัด ดังนั้น ยิ่ง frequency response ของระบบ (ซอฟท์แวร์ + ซิสเต็ม) ยิ่งกว้างมากเท่าไร คุณภาพเสียงที่ได้ออกมาก็จะเข้าใกล้ของจริงตามธรรมชาติมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ส่วนทางด้าน dynamic range ก็เช่นกัน เสียงดนตรีบางชนิดในธรรมชาตินั้นอาจจะให้การสวิงความดังที่กว้างเกิน 100dB ได้อย่างสบายๆ อย่างเช่นเสียงกลอง หรือเสียงประโคมท่อนโหมของวงออเคสตร้าขนาดใหญ่ทั้งวงพร้อมกันเป็นต้น ดังนั้น ถ้าต้องการความเป็นธรรมชาติของเสียงให้ปรากฏออกมาจากซิสเต็มของคุณ นอกจากแผ่นซอฟท์แวร์จะต้องบันทึกความดังระดับนั้นมาได้แล้ว ความสามารถของซิสเต็มเพลย์แบ็คก็ต้องสูงพอที่จะสามารถขยายความดังระดับนั้น ออกมาได้ด้วย (โดยไม่มีความเพี้ยนเข้ามาปน)

ฟอร์แม็ตใหม่ๆ อย่าง SACD และ DVD-Audio ที่ระดับ 192kHz/24bit จะให้เสียงที่มีย่านความถี่ตอบสนองและไดนามิกเร้นจ์ที่ใกล้เคียงของจริงได้ มากกว่าฟอร์แม็ต CD และอะนาลอกฟอร์แม็ตทุกฟอร์แม็ตขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นก้าวกระโดดก้าวใหญ่ๆ สำหรับการพัฒนาระบบเสียงตั้งแต่ยุคแรกๆ เป็นต้นมา..

แต่นั่นเป็นเพียงแค่หนังตัวอย่างที่ยังต้องรอโปรแกรมกำหนดฉายจริง.. !

แม้ว่าสัญญาณ DSD บนแผ่น SACD และสัญญาณ PCM 192kHz/24bit บนแผ่น DVD-Audio จะสามารถเก็บสเป็คฯ ที่สูงส่งขนาดนั้นยัดลงไปได้ แต่การที่จะปลดปล่อยมันออกมาให้ได้ตรงตามนั้นน่ะซิที่ยังเป็นปัญหา.. เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคและลำโพงรวมถึงสายต่อเชื่อมๆ ต่างที่ใช้อยู่ในระบบเพลย์แบ็คแต่ก่อนนั้นมันได้ถูกออกแบบมามาโดยอ้างอิงกับ สเป็คฯ เก่าๆ แค่ 20Hz-20kHz และไม่เกิน 80dB เท่านั้น เมื่อเอาฮาร์ดแวร์ระดับนั้นมาเล่นกับฟอร์แม็ตใหม่ๆ เหล่านี้ ก็เหมือนกับจับเอารถยนต์โชว์รูมขนาด 1300 CC มาควักเครื่องออกแล้วเอาเครื่อง 3000 CC ยัดลงไปแทน

เจอถนนโล่งๆ กดลงไปแค่ 120-150 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น ตัวถังกับช่วงล่างก็แทบจะแยกออกจากกันเป็นเสี่ยงๆ แล้ว ลักษณะเดียวกับเอาแอมป์กับลำโพงรุ่นเก่าสมัยพระเจ้าเหานุ่งกางเกงขาก้วยมา ขับด้วยฟอร์แม็ต SACD แค่เปิดเบาๆ ทวีตเตอร์กับวูฟเฟอร์ก็อยากจะเผ่นออกไปนอกตู้ซะแล้ว..

ถ้าไม่ปรับปรุงสมรรถนะของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ขึ้น มาก็ต้องลดประสิทธิภาพของฟอร์แม็ต SACD และ DVD-Audio ลงไป แทนที่จะได้ประโยชน์จากฟอร์แม็ตเหล่านี้ก็อาจจะไม่ได้อะไรเลยเมื่อเทียบกับ ฟอร์แม็ตเก่าอย่าง CD ซึ่งนั่นไม่ใช่ทิศทางข้างหน้าสำหรับคำว่า “ พัฒนาการ ” แน่ๆ และคุณคงเดาออกนะครับว่า เส้นทางของอุตสาหกรรมไฮไฟฯ ในอนาคตมันจะมุ่งเข็มไปทางไหน..??

(ปัจฉิม) **

เรื่องข้างต้นนั้นมีมันมี way ให้คิดให้วิเคราะห์กันอีกหลายปัจจัย ว่ากันไปได้เรื่อยๆ ..

เรื่องมันยังไม่ยอมจบ แต่คนเขียนขอรวบรัดจบตอนลงดื้อๆ กับข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้เชิงปฏิบัติได้เกี่ยวกับเรื่องนี้ นั่นคือ เมื่อใดที่คุณลงทุนกับเครื่องเล่นแผ่น HAD อย่างพวก SACD หรือ DVD-Audio ไปแล้ว และเริ่มต้นสะสมแผ่นซอฟท์แวร์ที่เป็นฟอร์แม็ตดิจิตัล HAD เหล่านี้ไปแล้วด้วย
หากทุกวันนี้ยังรู้สึกว่าเสียงของฟอร์แม็ตเหล่านี้ไม่ได้ดีไปกว่าฟอร์แม็ต CD สักเท่าไร.. ผมขอติงว่า อย่าเพิ่งไปปักใจว่าฟอร์แม็ต HDA อย่าง SACD หรือ DVD-Audio มันไม่ดีนะครับ

แต่อยากจะขอให้คุณหันมาพิจารณาซิสเต็มของคุณดูสักหน่อย ว่าสเปคฯ มันสอดคล้องกับฟอร์แม็ตเหล่านั้นรึป่าว..?

"ธานี โหมดสง่า"
กันยายน 2550
ความคิดเห็นที่ : 10

อาร์ต

06/08/2010 12:22:20
ผมว่าค่ายเพลงประเทศไทย ควรจะแข็งขันกันที่คุณภาพเสียง การอัด แล้วละครับ คนจะได้ไม่หนีไปซื้อ MP3
ความคิดเห็นที่ : 11

อาร์ต

06/08/2010 12:24:18
ความคิดเห็นที่ : 13

โป๊งเหน่ง

06/08/2010 18:16:30
0
โอ้ ขอบคุณครับ ให้ source มาเยอะเลยครับ อ่านไปได้บ้างแล้วครับ แต่ยอมรับ ยังงงๆ เป็นบ้างจุดครับ (พื้นฐาน ฟิสิกสฺ์ ด้อย ไม่ตั้งใจเรียน ม.ปลาย 555)

แต่ก็ขอบคุณมากอีกครับ ที่อุตส่าห์ หามาให้ครับ จะพยายามอ่านให้จบให้หมดครับ
"งงเรื่อง ความละเอียด ของเพลงครับ"