ผมขออนุญาตเฮียมั่นมาเล่าเรื่องแอมป์พกพาตัวแรงให้ฟังกันหน่อยนะครับ
ความเป็นมาสั้นๆ ของแอมป์ fi.Quest ก็คือ การจับมือกันระหว่าง iBasso ที่เป็นผู้ผลิต และ Ryuzoh (Ryouta Kojima) แห่ง MST เป็นคนออกแบบ ซึ่งมีทั้งรุ่นธรรมดา และรุ่น Maxxed ที่ MST เอามาโมตามที่ลูกค้าสั่งว่าอยากจะใช้ชิ้นส่วนวงจรข้างในแบบไหน หรือลูกค้าคน ไหนที่ซนหน่อย จะไปโมต่อเองก็ได้
สเปก
Power Source:
Rechargeable 12-series Ni-MH Battery pack
Frequency Response:
5Hz – 100kHz/ -0.5dB
Gain:
+3dB/+12dB/+23dB
SNR:
109.7dB (Gain:L), 101.2dB (Gain: M), 96.1dB (Gain: H)
Crosstalk:
90.7dB
Total Harmonic Distortion+Noise:
0.0009% @1kHz/+12dB/1Vp-p/600Ohm,
0.0011% @1kHz/+12dB/1Vp-p/100Ohm,
0.0018% @1kHz/+12dB/1Vp-p/33Ohm,
0.0024% @1kHz/+12dB/1Vp-p/15Ohm
Maximum Output power:
1300mW+1300mW (12Ohm loading+External powered),
590mW+590mW (12Ohm loading+Internal Battery Powered),
Battery Life:
8 Hours (Maxxed configuration) and 20 Hours (Normal configuration)
Battery Charge Time:
2.5 Hours
Recommended Headphone Impedance:
8-300Ohm
ลักษณะภายนอก
ตอนที่ผมได้รับ fi.Quest หมายเลข 51 มาก็โล่งใจที่ตัวจริงมีขนาด และน้ำหนักน้อยกว่าที่คิดไว้พอสมควร (ตอนแรกผมกะว่าน่าจะพอๆ กับ Lisa) ตัวถังอลูมิเนียมบึกบึน และงานประกอบแน่นหนาเรียบร้อยดีมากครับ สรุปว่า โจทย์ข้อแรกสอบผ่าน เพราะหน้าตาดี, ขนาดไม่ใหญ่เกินไป, และน้ำหนักก็อยู่ในเกณฑ์ที่พกพาได้ (แต่เป็นแบบใส่ในกระเป๋าสะพายนะครับ ไม่ใช่พกใส่กระเป๋ากางเกง)
การใช้งาน
ต้องยอมรับว่า ตอนแรกงงๆ นิดหน่อย เพราะผมรู้ว่า fi.Quest ปรับ Gian และเบสได้ 3 ระดับ แต่ไม่มีเครื่องหมายบอกไว้ว่าสูง-ต่ำเป็นยังไง ซึ่งถ้าให้เดาเอาก็ต้องคิดว่า ตำแหน่ง Default จะอยู่ทางซ้าย นี่กลับกลายเป็นว่า ทั้ง Gain และเบสตำแหน่ง Default อยู่ทางขวาครับ หลอดไฟ LED ด้านหน้ามี 2 ดวง หลอดไฟดวงสีฟ้าจะติดเวลาที่เปิดใช้งาน และจะกระพริบเวลาที่แบตเตอรี่ใกล้หมด ส่วนหลอดไฟดวงสีส้มจะติดเวลาเสียบชาร์ตกับ PSU (24 โวลท์) ตัวเขื่อง และจะดับเมื่อไฟเต็ม (ใช้เวลาประมาณสามชั่วโมง) แต่ถ้าเลือกตัวแหน่งสวิทช์ด้านหลังไปที่หมายเลข “2” ก็จะเป็นการใช้ไฟจาก PSU เข้าไปเลี้ยงแอมป์โดยไม่ได้ชาร์ตแบตเตอรี่ ซึ่งหลอดไฟดวงสีส้มจะไม่ติดในกรณีนี้ครับ
ความอึดของแบตเตอรี่ของ fi.Quest รุ่น Maxxed ตัวนี้อยู่ได้ประมาณ 9 ชั่วโมงครับ (ถ้าเป็นรุ่นธรรมดา แบตเตอรี่อยู่ได้เกือบ 20 ชั่วโมง)
ปุ่มวอลลุ่มหมุนคล่องกำลังดี ไม่ไว หรือหนืดจนเกินไป เวลาปรับเสียงดัง-เบามีความสมดุลระหว่างด้านซ้าย และขวา รวมทั้งไม่มีเสียงแทรกรบกวนเลยครับ
เสียง
หูฟังที่ผมใช้ทดสอบ fi.Quest มีสองตัว คือ ED8 กับ JH16 ครับ ซึ่งผลออกมาน่าพอใจมากๆ ทั้งคู่ครับ
เริ่มด้วยฉากหลังของเสียงเงียบสนิท ไม่มีเสียงซ่าเวลาต่อกับ JH16 เลย แต่ยังไงนั่นก็ไม่ใส่เรื่องที่เหนือความคาดหมายสำหรับแอมป์ระดับนี้ จุดที่ทำให้ผมตะลึงจริงๆ ตั้งแต่แรกคือ กำลังขับครับ เพราะทั้งแรง และนิ่งมากครับ สำหรับ ED8 บิดวอลลุ่มไปที่ 10 หรือ 11 นาฬิกา ส่วน JH16 แค่ 7 หรือ 8 นาฬิกาก็เหลือเฟือแล้ว (Low Gain) แต่ถ้าตั้งเป็น Medium Gain ก็ต้องลดวอลลุ่มลงมาอีกครับ โดยระดับของเสียงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผมปรับเต็มที่ถึง 12 นาฬิกานั้น ไม่มี Distortion เลยครับ (แต่เกิน 12 นาฬิกาไม่ได้ทดสอบครับ มันดังมากไป)
Fi.Quest เป็นแอมป์ที่ช่วยเพิ่มรายละเอียด, การแยกชิ้นดนตรี และมิติโอบล้อมให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยคุมความสมดุลของเสียงทุกย่านดีมาก บุคลิกของเสียงที่ได้ก็ถูกใจผมจริงๆ คือ นอกจากจะให้ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม และฟังสนุก เสียงสูงมีความใสพลิ้ว, กังวาน และเป็นประกายกริ๊ง ส่วนเสียงกลางก็อิ่มฉ่ำ และเบส ซึ่งเป็นพระเอกตัวจริงของ fi.Quest สามารถปรับได้สามระดับ เพิ่มขึ้นทีละ 3 dB โดยน้ำหนัก และแรงปะทะที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้ทำให้รู้สึกว่า บวม หรือเบลอเลยครับ
สรุป
ก่อนหน้านี้ที่ผมเคยคิดไว้ว่า RSA Protector แบบบาลานซ์กินแอมป์พกพาตัวอื่นๆ ที่เป็น Single End ได้หมด ตอนนี้ต้องเปลี่ยนใจแล้วครับ ส่วน Lisa ซึ่งเป็นแอมป์ Transportable ที่ดีมากๆ ก็ถูก fi.Quest แซงหน้าไปด้วยเหมือนกันครับ
สำหรับใครที่ทำใจกับขนาดของแอมป์ตัวนี้ได้ และอยากจะหามาลอง ปัญหาใหญ่ที่สุดก็คือ MST ไม่ยอมปล่อยล๊อตสองออกมาซักทีครับ