Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

เตือนภัยเด็กกลืนแบตเตอรี่

Veera

03/06/2010 17:39:31

เด็กอเมริกันกลืนแบตเตอรี่ 3,500 คนต่อปี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มิถุนายน 2553


สื่ออเมริกันกำลังกระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองเมืองลุงแซมรับรู้ถึงพิษภัยแบตเตอรี่ลิเธียมแบบกระดุมต่อเด็กเล็ก หลังเกิดกรณีเด็กวัย 1 ขวบเสียชีวิตเพราะกลืนกินแบตเตอรี่จนเป็นข่าวใหญ่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากศูนย์ National Capital Poison Center ของสหรัฐฯ ระบุว่าปัจจุบันกรณีเด็กกลืนกินแบตเตอรี่ในสหรัฐฯนั้นมีจำนวนสูงถึง 3,500 รายต่อปี

หนึ่งในมาตรการกระตุ้นการรับรู้ของประชาชนอเมริกันคือการยกกรณีเด็กชายชาวอเมริกันวัย 1 ปีกลืนกินแบตเตอรี่ลิเธียมแบบกระดุมขนาดจิ๋วจนทำให้เสียชีวิตขึ้นมาเป็นอุทธาหรณ์ โดยเด็กน้อยรายนี้มีชื่อว่า Aidan Truett เป็นเด็กน้อยวัย 13 เดือนจากรัฐโอไฮโอ อาการแรกเริ่มคือเบื่ออาหารและอาเจียน ทำให้แพทย์สันนิษฐานว่าการล้มป่วยเกิดขึ้นเพราะเชื้อไวรัส

แต่ผ่านไป 9 วัน อาการของเจ้าหนูไม่ดีขึ้นและยังคงอาเจียนตลอด แพทย์จึงมองว่าเด็กน้อยอาจป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ ซึ่งเมื่อลงมือเอ็กซเรย์ปอด แพทย์กลับไม่พบความผิดปกติในปอด หากไปพบแบตเตอรี่จิ๋วในระบบทางเดินอาหารแทน

แบตเตอรี่ที่แพทย์พบในกระเพาะอาหารของ Aidan นั้นเป็นแบตเตอรี่ทรงกลมแบนสีเงินหรือแบบกระดุมสำหรับให้พลังงานในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาเช่นรีโมทคอนโทรล์สำหรับโทรทัศน์ หรือในสิ่งของเบ็ดเตล็ดเช่น การ์ดอวยพรแบบมีเสียงดนตรี ซึ่งจนถึงขณะนี้ พ่อแม่ของเด็กก็ยังไม่ทราบว่าเจ้าหนูกลืนกินแบตเตอรี่ซึ่งติดตั้งในอุปกรณ์ชนิดใด

แม้จะถูกผ่าตัดเอาแบตเตอรี่ออกจากกระเพาะอาหารในวันรุ่งขึ้น และเจ้าหนูได้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน แต่แบตเตอรี่ได้คายปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นจากสารละลายและประจุไฟฟ้าจนทำให้เนื้อเยื่อกระเพาะอาหารบริเวณที่ถูกกดทับเป็นแผลร้ายแรง เพียง 2 วันหลังจากการผ่าตัดนำแบตเตอรี่ออกจากร่างกาย หนู Aidan เริ่มไอเป็นเลือดและเสียชีวิตในที่สุด

เรื่องนี้ดร.โทบี ลิโทวิตซ์ (Dr. Toby Litovitz) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกุมารเวชศาสตร์ให้ความเห็นว่าความเจ็บป่วยจากการกลืนกินแบตเตอรี่ในเด็กเล็กนั้นเป็นปัญหาร้ายแรงที่พ่อแม่เด็กต้องตระหนักให้มาก เนื่องจากจะสร้างความทุกข์ทรมานให้เด็ก โดยเชื่อว่ากรณีของหนูน้อย Aidan จะสามารถกระตุ้นให้ทุกฝ่ายหันมาให้ความสนใจภัยแบตเตอรี่จิ๋วในเด็กเล็กกันมากขึ้น

สถิติที่น่าตกใจคือ จำนวนเด็กที่กลืนกินแบตเตอรี่แบบกระดุมนั้นสูงถึง 3,500 คนต่อปี และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องด้วย

โดยทั่วไป การกลืนแบตเตอรี่ลงไปในระบบทางเดินอาหารมักไม่เกิดอันตรายเพราะสามารถถูกขับถ่ายออกมาทางอุจจาระหลังจากการกลืน 3 วัน แต่กรณีของหนูน้อย Aidan นั้นเกิดการติดค้างของแบตเตอรี่ในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะหลอดอาหาร ทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กจนถึงขั้นเสียชีวิต

รายงานระบุว่าแบตเตอรี่ทีมีความเสี่ยงเกิดภัยในเด็กสูงที่สุดคือรุ่นที่มีเลขรุ่นนำหน้าด้วย 20 ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงขนาดแบตเตอรี่ที่ 20 มิลลิเมตร ใกล้เคียงกับขนมหวานช็อคโกเล็ตสีสดใสเม็ดกลม

แบตเตอรี่ที่มีเลขรุ่นนำหน้าด้วย 20 เป็นรุ่นที่ถูกพัฒนาใหม่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยข้อมูลชี้ว่าแบตเตอรี่รุ่น 2032, 2025 และ 2016 เป็นรุ่นแบตเตอรี่ที่ถูกเด็กน้อยกลืนกินมากถึง 90%

สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีกรณีเด็กเล็กกลืนกินแบตเตอรี่จนทำให้เสียชีวิต โดยปี 2549 คณะแพทย์โรงพยาบาลนครพิงค์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เคยร่วมกันแถลงข่าวเตือนประชาชน ให้ระวังเหตุการณ์ซ้ำรอยเด็ก 3 ขวบกลืนกินแบตเตอรี่แล้วติดค้างในลำไส้ จนทำให้ลำไส้ทะลุ โดยคณะแพทย์สามารถผ่าตัดช่วยชีวิตไว้ได้

คำแนะนำเมื่อสงสัยว่าเด็กกลืนกินแบตเตอรี่ คือให้เด็กงดน้ำและอาหารทางปาก ห้ามทำให้อาเจียนด้วยวิธีใดๆ รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อเอ็กซเรย์ว่ามีแบตเตอรี่อยู่ในระบบทางเดินอาหารผู้ป่วยจริงหรือไม่ และอยู่ในตำแหน่งใด ซึ่งหากพบว่าแบตเตอรี่ติดค้างอยู่ในหลอดอาหาร แพทย์ควรรีบนำแบตเตอรี่ออกจากร่างกายทันทีโดยใช้กล้องส่องเข้าไปในหลอดอาหารแล้วคีบออกมา เนื่องจากแบตเตอรี่ที่ติดค้างในหลอดอาหารเพียงแค่ 2 ชั่วโมง ก็อาจทำให้หลอดอาหารทะลุได้


ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

toriyamo

03/06/2010 18:46:53
สงสัยจะน่าอร่อย ฮิๆๆๆๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

นายมั่นคง

03/06/2010 20:32:00
4,294
ขอบคุณมากครับเฮียวีระ ว่ากันจริงๆๆ อันตรายมากๆๆ เลยล่ะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

น้อย

03/06/2010 20:36:30
1
อันตรายมากๆเลย ต้องคอยระแวดระวังกันหน่อยล่ะครับคราวนี้
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

03/06/2010 22:36:29
125
กลืนลงท้องยังไม่อันตรายนัก เพราะโดยปกติถ้าไม่ท้องผูก 24 ชั่วโมงก็ถ่ายออมาแล้วครับ ด่างในแบ็้ตเตอรียังไม่ทันรั่วออก รายที่ว่านี่โชคร้าย คงไปค้างอยู่ในทางเดินอาหารส่วนใดส่วนหนึ่งจนมันรั่วปล่อยสารด่างอย่างเข้มข้นออกมาน่ะครับ ทีน่ากลัวกว่ามักจะเป็นการที่เด็กเอายัดจมูกครับ (และพบได้บ่อยกว่าด้วย) เพราะมันจะค้างอยู่ตรงนั้นไม่ไปไหน ในที่สุดด่างเข้มข้นข้างในก็จะรั่วออกมา ด่างนี่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อมมากกว่ากรดอีกครับ เพราะมันจะกัดเซาะไปเรื่อย ๆ ไม่ยอมหยุดจนกว่าเราจะตัดเอาเนื้อเยื่อที่ปนเปื้อนนั้นออก ดังนั้นถ้าทิ้งไว้นาน(เพราะไม่รู้) จมูกอาจเป็นโพรงเท่าลูกเทนนิสก็ได้(ไม่ได้พูดเล่นนะครับ) ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกในวัยกำลังซน(หนึ่งถึงห้าหกขวบ)พึงระวังให้จงหนักครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

chok

04/06/2010 08:37:04
2
ขอบคุณ คุณวีระ และอาหมอ สำหรับข่าวสาร ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"เตือนภัยเด็กกลืนแบตเตอรี่ "