เล่นลำโพงบ้านเล่นยากกว่าหูฟังเยอะ ลำโพงตัวเดียวกันห้องเล็กห้องใหญ่เสียงไม่เหมือนกัน วางห่างกัน วางห่างผนัง (รุ่นเบสสะท้อน) มุมเอียง เสียงก็เปลี่ยน
แต่มีข้อดีที่ฟังยากกว่าหูฟัง อาจจะรับรู้ยากหน่อยในการเซ็ตระบบ แต่ห้องขนาดนี้ วัตต์ไม่สูงก็น่าจะพอเพียงละ ส่วนที่ว่าเท่าไหร่ต้องดูที่ความไวของลำโพงด้วย
ลำโพงที่ dB ต่ำๆ (ต่ำกว่า 90 ลงมา) ต้องเผื่อแอมป์วัตต์สูงขึ้น ยิ่งต่ำมากยิ่งต้องใช้แอมป์วัตต์มาก
ปล. เดาๆ จากรูปในเวป เป็นตู้เปิด ไม่น่ากินวัตต์แบบตู้ปิด 50 วัตต์ถือว่าน่าจะเพียงพอ
ไหนถกกันแล้วก็เอาเรื่องสำคัญไปเลยนะครับ
ความสูงของขาตั้ง(โดยประมาณ)
เมื่อตั้งรวมขาตั้งแล้ว ถ้าเป็นลำโพงสองทาง ให้กึ่งกลางระหว่างทวีตเตอร์กับวูฟเฟอร์ อยู่สูงจากพื้น 34" +- 2-3"
ถ้าลำโพงสามทาง ให้กึ่งกลางของมิดเรนจ์อยู่สูงจากพื้น 34" +- 2-3"
ถ้าลำโพงสองทางสามตัวขับ ก็ให้กึ่งกลางวูฟเฟอร์ตัวบน อยู่สูงจากพื้น 34" +- 2-3"
จากจุดนั้นวัดลงมาถึงพื้นลำโพง หักออกจาก 34" จะได้ระยะความสูงของขาตั้งที่เหมาะสมครับ
ต่อให้ลำโพงทรงทาวเวอร์ ถ้าไม่ได้ออกแบบเจาะจงจริงๆจะให้วางโดยตรงกับพื้น เท่าที่ลองมา หาขาตั้งมาวางให้ได้ความสูงตามที่ว่า ก็ดีกว่าไม่เสริมนะครับ (ผมเคยลองกับ JBL L5 ขนาดว่าดูแล้วเป็นตั้งพื้นแหงๆ ทำขาตั้งสูงประมาณห้านิ้วมาให้เพื่อน มันใช้ไปสักพัก ก็ยอมรับว่า วางบนขาตั้งเตี้ยๆนั่น ดีกว่าไม่วาง)
หาขาตั้งได้แล้ว ค่อยเลือกซื้อหาเก้าอี้ซึ่งนั่งแล้ว ความสูงของทวีตเตอร์อยู่ระดับหูครับ ตามนั้น
แต่นี่แค่ข้อมูลเบสิคสุดๆนะครับ แค่ความสูงโดยประมาณ บางครั้งอาจจะต่ำหรือสูงกว่าที่ว่า ขึ้นอยู่กับห้องด้วย ยกตัวอย่างที่ผมเล่าไปเรื่องห้องผมเอง แค่เปลี่ยนด้านเป็นไว้ตามแนวขวางด้านกว้าง กลายเป็นต้องปรับความสูงขึ้นหลายนิ้ว
หรือลำโพงรุ่นใหม่ๆ ที่เทคโนโลยีดีขึ้น มุมกระจายเสียงกว้างขึ้น อาจวางห่างจากพื้นได้น้อยลง โดยไม่ถึง 34" เช่น ลำโพง Epos ซึ่งเขาออกแบบขาตั้งจำเพาะมาสูงแค่ 24" หรือลำโพงบางรุ่น ออกแบบให้แผงหน้าเอนหลัง แบบนี้ก็อาจวางได้ห่างพื้นน้อยลงโดยเวทีเสียงไม่เตี้ย