Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

คอบอล

23/02/2010 16:57:11
บทความจากผู้จัดการออนไลน์

“มีบางคนเชื่อว่าฟุตบอลคือ สาระแห่งชีวิตและความตาย ผมผิดหวังอย่างยิ่งกับทัศนคติที่ว่านี้ ผมขอยืนยันว่ามันสำคัญยิ่งกว่านั้นมากมายนัก”

วาจาอมตะและอหังการของ บิล แชงคลีย์ อดีตผู้จัดการและตำนานของทีมลิเวอร์พูลเคยพูดไว้เมื่อนานมาแล้ว แต่เขาอาจถูก เมื่อทุกวันนี้ ทุนและการตลาดได้สถาปนาฟุตบอลให้กลายเป็นศาสนาใหม่ไปแล้ว ไม่แปลก ถ้าจะมีใครยอมพลีกาย พลีใจเพื่อทีมฟุตบอลที่ตนเองรักและเทิดทูน

ฮูลิแกน อันธพาลลูกหนังอังกฤษที่โด่งดังทั่วโลก เพราะความแรง ดิบ เถื่อน ถือเป็นเงามืดแห่งวัฒนธรรมการเชียร์ฟุตบอลที่ไม่น่าเอาเยี่ยงอย่าง แต่แล้วพี่ไทยก็พลาดท่าเอาอย่าง เมื่อเกิดการปะทะกันระหว่างกองเชียร์ของทีม ‘สิงห์เจ้าท่า-การท่าเรือแห่งประเทศไทย’ กับ ‘กิเลนผยอง-เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด’ ในศึกชิงแชมป์ถ้วย ก ที่สนามศุภชลาศัย

เมื่อกองเชียร์ทีมสิงห์เจ้าท่าไม่พอใจคำตัดสินของกรรมการ ขณะที่สิงห์เจ้าท่าตามอยู่ 2-0 แล้วความไม่พอใจก็แปรเป็นพฤติกรรมไล่ทำร้ายกองเชียร์ฝ่ายตรงข้าม การกีฬาอันเป็นยาวิเศษจึงเปลี่ยนเป็นการจลาจลขนาดย่อมที่คนโดนลูกหลงต้องไปหายารักษาตัวกันเอง และ พิเชษฐ์ มั่นคง ประธานสโมสรการท่าเรือได้แสดงความรับผิดชอบประกาศให้กิเลนผยองชนะ ทั้งที่เวลาการแข่งขันยังไม่หมด

นี่ไม่ใช่ครั้งแรก และยิ่งไม่น่าจะใช่ครั้งสุดท้าย แต่เมื่อวงการฟุตบอลบ้านเรากำลังก้าวเดินด้วยแรงผลักจากกระแสไทยลีก ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อวัฒนธรรมการเชียร์ฟุตบอลของแฟนบอลในอนาคต ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก็น่าจะเริ่มต้นคิดได้แล้วว่าจะหาวิธีป้องกันบรรดา ไทย-ฮูลิแกน อย่างไร



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

.

23/02/2010 16:58:39

บูรณิจฉ์ รัตนวิเชียร หรือ บ.บู๋ คอลัมน์นิสต์และพิธีกรรายการกีฬา ให้มุมมองเกี่ยวกับวัฒนธรรมการดู-การเชียร์ฟุตบอลที่น่าสนใจว่า เมื่อก่อนที่ฟุตบอลไทยจะได้รับความนิยม วัฒนธรรมการเชียร์ของกองเชียร์แต่ละทีมจะไม่มีการแบ่งแยกกันที่ขัดเจน เนื่องจากไม่มีสีเสื้อ ซึ่งใส่เสื้อสีไหนไปเชียร์ก็สามารถเชียร์ได้ และสามารถนั่งรวมกันได้ด้วย

“กองเชียร์ไม่มีแบ่ง เชียร์ด้วยกัน คือเมื่อก่อนไม่มีเสื้อขาย เสื้อท่าเรือ เสื้อทหารอากาศ หรือเสื้อทีมต่างๆ ไม่มีขาย เพราะฉะนั้นกองเชียร์ไม่มีแบ่งแยกกัน ต่างคนต่างเชียร์ แต่งตัวธรรมดา เมื่อปีที่แล้วฟุตบอลเริ่มมีรูปแบบ เหมือนเมืองนอกมากขึ้น มีการแบ่งอย่างชัดเจนว่าเชียร์ทีมนั้นทีมนี้ มีเสื้อขาย กลายเป็นธุรกิจไปแล้ว คนไทยตามไม่ทัน พอมาแบ่งแยก กลายเป็นคนละพวก เมื่อก่อนคนไทยไม่เคยเกิดเรื่องแบบนี้ เพราะไม่ได้ชัดเจน ใส่เสื้อเหมือนกัน ไม่มีใครสนใจการแบ่งพรรคพวก

“ความเจริญที่เปลี่ยนไป เราตามไม่ทัน พูดง่ายๆ ว่าจิตใจคนยังต่ำ คือคนส่วนหนึ่งยังไม่พัฒนา ยังไม่ได้รับการสั่งสอนที่ดี ยังไม่รู้จักแยกแยะ ไม่รู้จักใช้สมองคิด เข้าใจว่าต้องทำให้เขาเห็นว่ากองเชียร์ทีมเรานี่สุดยอดเป็นที่หนึ่งของประเทศแบบนั้นเหรอ”

แต่ความเป็นจริงอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมการเชียร์กีฬาก็คือ การสร้างความรู้สึกร่วม ในสายตาของ ธีรพัฒน์ อัครเศรณี บรรณาธิการข่าวกีฬา หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน จึงรู้สึกว่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนๆ ก็มีวัฒนธรรมการเชียร์กีฬาที่ไม่แตกต่างกันนัก เพราะการแข่งขันแต่ละอย่างก็มักจะมีความรู้สึกร่วม หรือการระบายอารมณ์ของผู้ที่เข้าชมที่จะแสดงออกว่าจุดยืนของพวกเขานั้นเป็นอย่างไร ถือเป็นแนวโน้มที่คล้ายๆ กันทั่วโลก

“หากบอกว่า วัฒนธรรมการเชียร์คือการมาให้นั่งปรบมือหรือนั่งพับเพียบก็คงเป็นไปได้ เพราะนี่ถือเป็นกีฬาอาชีพแล้ว ก็ถือเป็นปกติที่สโมสรต่างๆ จะต้องมีการสร้างแฟนคลับของตัวเอง ให้เกิดความรัก ความอยากที่จะมาดูฟุตบอล ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต้องจัดฟุตบอลอาชีพ จัดแบบสมัครเล่นไป บ้านนี้อยากจะมาดูก็มา ไม่อยากมาก็ไม่ต้องมา แต่ฟุตบอลอาชีพต้องอยู่บนฐานของแฟนบอล มันเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องบิลท์แฟนคลับขึ้น จะมาบอกว่าอย่าเชียร์ดังนะ ก็คงเป็นไปไม่ได้”
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

.

23/02/2010 16:59:40

เพราะวงการฟุตบอลไทยมีการพัฒนา รูปแบบการเชียร์จึงก้าวตาม การที่จะห้ามไม่ให้แสดงความดุเดือดสะใจ ก็คงเหมือนที่ธีรพัฒน์บอกว่า เป็นไปไม่ได้

ประเด็นสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่วัฒนธรรมการเชียร์ล้วนๆ แต่ยังอยู่ที่ว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันจะจัดระบบดูแลความปลอดภัยอย่างไรต่างหาก

“ในต่างประเทศก็มีเหตุการณ์แบบนี้ แต่เขามีวิธีป้องกันและรับมือได้ดีกว่า เราพยายามจัดการแข่งขันฟุตบอลเป็นระดับอาชีพ แต่กลายเป็นระบบสมัครเล่น ห่วยมากๆ เจ้าหน้าที่ก็ไม่มี วิธีแยกแฟนของ 2 ทีมก็ไม่มี ให้ไปนั่งรวมอยู่บนอัฒจันทร์เดียวกัน เอารั้วเล็กๆ มากั้น ภาพข่าวที่ออกมาคือกองเชียร์ไปถีบรั้ว แล้วก็วิ่งข้ามมา น่าสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมถึงจัดให้แฟน 2 ฝั่งมาอยู่ฝั่งเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าสำคัญมาก จะบอกว่านึกไม่ถึงไม่ได้ เพราะมีตัวอย่างในต่างประเทศ แล้วการที่จะไปจัดการแข่งขันระดับอาชีพ คุณต้องผ่านการดูงาน ดูฟุตบอลในต่างประเทศมาแล้ว แต่เรื่องนี้แสดงว่าคุณประมาทเอง

“อย่างพลุไฟบ้องเบ้อเริ่มเอาเข้าไปได้ยังไง นี่คือความหละหลวมของฝ่ายการจัดการแข่งขันที่น่าตกใจมากๆ เรื่องการดื่มสุราคงจะห้ามไม่ได้หรอก แต่สิ่งสำคัญคือ เวลาที่คุณในอยู่สนาม แล้วความพอดีคือระดับไหน ในเมืองนอก เขาขายสุราในสนามเลย ไม่ได้ห้ามดื่ม แต่ห้ามเมา ถ้าคุณเมาเละเทะ เขาก็จะมีการ์ดหนีบคุณสองข้างแล้วลากกออกมาเลย อันนั้นก็คืออีกส่วนหนึ่งที่นอกเหนือจากตำรวจ ซึ่งแน่นหนามาก” ธีรพัฒน์ ฉะความหละหลวมแบบเต็มๆ

จากการบอกเล่าของ บ.บู๋ ถึงวิธีการรักษาความปลอดภัยในประเทศอังกฤษ ที่เขาเคยไปฝังตัวทำข่าวอยู่ที่ประเทศอังกฤษถึง 2 ปีเต็ม บ.บู๋อธิบายว่า จะมีการตรวจค้นอาวุธอย่างรัดกุม มีตำรวจกั้นกลางบริเวณรอยต่อระหว่างกองเชียร์ของทีมทั้งสอง และเจ้าหน้าที่สามารถกระทำบางอย่างได้กับกองเชียร์เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เช่น ใช้กระบองตี แต่ในเมืองไทยไม่สามารถทำแบบนั้นได้

“ถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้น หน่วยรักษาความปลอดภัยเขาก็ตีเลยครับ หน่วยปราบจลาจลที่มีหมวกกันน็อก มีกระบองยาว คือถ้าวันนั้นท่าเรือทำแบบนั้นก็ต้องตี แต่ผมเข้าใจว่าเมืองไทยทำแบบนั้นไม่ได้เพราะจะบานปลาย จากภาพเห็น สห. (สารวัตรทหาร) มีน้อยและไม่กล้า ยังเห็นยืนดูแฟนบอลถูกรุมกระทืบแบบ 10 ต่อ 1

“ที่อังกฤษระบบรักษาความปลอดภัยรัดกุม เนื่องจากเคยมีบทเรียน ถือเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู สมมติถ้ากองเชียร์คนหนึ่งวิ่งลงในสนาม เขาจะตีความเลยว่าคุณอาจเอามีดไปแทงนักฟุตบอล ต่อยนักฟุตบอล ซึ่งจับได้ก็โดนใบแดงห้ามเข้าสนามตลอดชีวิต เขาใช้วิถีกฎหมายแรงในการควมคุม”

นอกจากนี้ ภายนอกสนามหรือเมื่อจบการแข่งขันแล้ว ที่อังกฤษมีตำรวจม้าคอยดูแล โดยจะนำทหารม้ามาเรียงเป็นแถว เพื่อที่จะเปิดทางให้แก่แฟนทีมเยือนออกไปก่อน กลับบ้านก่อน หรือไม่ก็รอให้เจ้าบ้านออกไปก่อนให้ทีมเยือนรออยู่ข้างใน เพื่อไม่ให้เจอหน้ากัน เวลาเดินออกจากสนาม ตำรวจม้าก็ต้องทำเป็นรั้วให้กองเชียร์ด้วย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

.

23/02/2010 17:00:25

แล้ววงการฟุตบอลไทยจะทำยังไง อันที่จริงว่าก็ไปไม่น่ายาก เพราะมีรูปแบบวิธีการในต่างประเทศเป็นตัวอย่างอยู่แล้ว

พินิจ งามพริ้ง ประธานชมรมเชียร์ไทยพาวเวอร์บอกว่า จะต้องมีการจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งในและนอกเครื่องอย่างเพียงพอ เพราะทุกนัดถือว่ามีความเสี่ยงของการทะเลาะวิวาท และนอกจากมีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยยืนประจำตามจุดต่างๆ ทั่วสนามแล้ว หัวใจสำคัญอีกอย่างอยู่ที่การมีแผนบีสำหรับรับมือกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่อาจปะทุขึ้นในสนาม

“หากเกิดความวุ่นวายในสนาม ควรเรียกเจ้าหน้าที่ปราบจลาจลมาสมทบได้ภายใน 10-20 นาที หรือไม่อย่างนั้นควรเตรียมแผนการให้รถฉีดน้ำเข้ามาสลายฝูงชนได้ในไม่กี่นาที โดยเป็นไปตามกฎระเบียบของเอเอฟซี (AFC-Asian Football Confederation) ซึ่งสมาคมฟุตบอลไทยไม่ได้ปฏิบัติตามเท่าที่ควร”

ประเด็นกรรมการตัดสินก็มีส่วนสำคัญ ธีรพัฒน์มองว่า ผู้ตัดสินก็ต้องมีความแม่นยำในกติกา ทันเกมผู้เล่น เพราะหากคนดูไม่เชื่อมั่นในการตัดสิน ก็มีส่วนทำให้เกมและอารมณ์รุนแรงได้

สุดท้าย พินิจให้ข้อคิดว่า ในยุคนี้ที่แฟนบอลเป็นพวกคลั่งไคล้สโมสรจนเกินขอบเขต ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของทีม จึงทุ่มเทเชียร์สโมสรที่ตนรักมากเกินไป จนหลงลืมไปว่ามันคือเกมกีฬา จึงมีความจำเป็นในการปลูกฝังวัฒนธรรมการเชียร์ เพื่อให้คนดูบอลเป็นและเชียร์ฟุตบอลด้วยความสนุกสนาน ไม่ยึดติดกับผลแพ้ชนะมากเกินควร

“ก่อนฟุตบอลจะเริ่มแข่ง ผู้นำเชียร์ต้องประชุมกันก่อน จากนั้นไปพูดคุยกับกองเชียร์ แทนที่จะเน้นการเชียร์เพียงอย่างเดียว ควรประกาศให้รับรู้โดยทั่วกันว่า เพื่อหน้าตาของสโมสร สิ่งที่ไม่ควรทำคืออะไรบ้าง เช่น อย่าใช้คำพูดว่า ฆ่ามัน หรือ ราวี อย่าขว้างปาสิ่งของลงไปในสนามหรือขว้างใส่กองเชียร์อีกฝ่าย และต้องนำข้อปฏิบัติเหล่านี้ไปโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ของสโมสรด้วย”
……….
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

.

23/02/2010 17:01:35

ฮูลิแกนหรืออันธพาลในวงการฟุตบอลคือใคร

“การทะเลาะวิวาทของเหล่าฮูลิแกน ก็เหมือนกับสงครามปาเลสไตน์กับอิสราเอล” ตัวละครตัวหนึ่งในหนังเรื่อง ‘Hooligans’ พูดไว้ และทุกวันนี้ ฮูลิแกนหรือกลุ่มคนที่ได้รับฉายาว่าเป็นอันธพาลลูกหนังแห่งอังกฤษ ก็กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของฟุตบอลอังกฤษไปแล้ว

ต้นกำเนิดของคำว่า Hooligan ไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่ามาจากชื่อของนักเลงเจ้าถิ่นชาวไอริชที่มีลูกน้องเป็นบริวารมากมาย นามว่า แพทริก ฮูลิแกน บ้างก็ว่าเป็นชื่อแก๊งวัยรุ่นขาโจ๋ประจำย่านไอส์ลิงตันที่ชื่อ ฮูเล่ย์ ซึ่งในภาษาไอริช หมายถึงปาร์ตี้ดิบเถื่อนของแก๊งวัยรุ่น

คำนี้เริ่มเป็นที่รู้จักจริงๆ ช่วงปี 2493 เมื่อสื่อมวลชนอังกฤษใช้เรียกกลุ่มแฟนบอลที่มักก่อเรื่องในสนาม (เรียกอีกชื่อว่า Firm) นิยามสั้นๆ ก็คือเป็นกลุ่มแฟนบอลที่จงรักภักดีกับทีมตัวเองแบบเดนตาย และพร้อมจะเข้าไปทำร้ายแฟนบอลทีมคู่อริได้ทันที ไม่ว่านอกหรือในสนาม

การเข้าร่วมกลุ่มฮูลิแกนไม่ได้ง่ายเหมือนเข้าไปหาเพื่อนในผับ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการชักชวนโดยเพื่อนหรือคนที่อยู่ในกลุ่มก่อนในผับเจ้าประจำซึ่งเป็นสถานที่ที่รวมตัวของเหล่าฮูลิแกน สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนจะถูกเรียกว่า Lad คนที่เข้ามาใหม่จะได้รับการดูแลจากรุ่นพี่ลดหลั่นกันไป และอาจมีการทดสอบเล็กๆ น้อยๆ เช่น การออกไปหาเรื่องฝ่ายตรงข้ามเพื่อเป็นการพิสูจน์ตัวเอง จนได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มในที่สุด

ตำรวจ นักข่าว และคนอเมริกัน คือ 3 สิ่งที่พวกฮูลิแกนอังกฤษเกลียดเข้าไส้ นอกจากแฟนบอลทีมคู่อริ และพวกนี้ยังไม่ชอบให้ใครเรียกกีฬาฟุตบอลว่า ซอคเกอร์ (เป็นชื่อที่คนอเมริกันใช้เรียกฟุตบอล)

ทีมฟุตบอลในแต่ละเมืองของอังกฤษมักจะมีเหล่าฮูลิแกนประจำทีมที่เหนียวแน่น กลุ่มเล็กบ้างใหญ่บ้าง และแต่ละกลุ่มต่างก็มีคู่อริที่เป็นศัตรูคู่อาฆาตของตัวเอง ฮูลิแกนที่ได้รับการกล่าวขานว่าแสบที่สุดในอังกฤษเห็นจะเป็นฮูลิแกนแห่งมิลวอลล์ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายกลุ่มที่ได้รับกิตติศัพท์ว่าไม่ควรเข้าใกล้ เช่น กลุ่มซูลู จากเบอร์มิงแฮม และกลุ่มโซลครูว์ จากคาร์ดิฟฟ์

การปะทะกันของฮูลิแกนเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งที่เป็นที่จดจำและน่าสลดที่สุด เห็นจะเป็นเหตุการณ์รอบชิงชนะเลิศชิงแชมป์ถ้วยยุโรป ระหว่างลิเวอร์พูลและยูเวนตุสที่สนามเฮย์เซล เมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อปี 2528 ความวุ่นวายทำให้อัฒจันทร์ส่วนหนึ่งของสนามพังลงมาจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก จนทำให้ทีมฟุตบอลจากอังกฤษถูกแบนยาวไม่ให้ลงแข่งในบอลถ้วยยุโรปไปหลายปี

จริงๆ แล้วปัญหาฮูลิแกนมีอยู่ในหลายๆ มุมโลก ทั้งในยุโรป (ฮูลิแกนของอิตาลีเรียกว่า อุลตรา (Ultra) แอฟริกา และอเมริกาใต้ ซึ่งระดับความรุนแรงก็ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่ากันเลย แต่เมื่อพูดถึงฮูลิแกน คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงกลุ่มแฟนบอลจากอังกฤษเป็นอันดับแรก

ขนาดที่บางคนเรียกขานเหล่าฮูลิแกนว่าเป็น ‘โรคระบาดแห่งอังกฤษ’ (English Disease) เลยทีเดียว และเมื่อเลยเถิดถึงขั้นเป็นปัญหาระดับชาติ ก่อนจะถึงทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลระดับใหญ่ เจ้าหน้าที่ตำรวจของแต่ละชาติจึงต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกลุ่มผู้อยู่ในข่ายก่อความรุนแรง บางประเทศก็ถึงขั้นแบบไม่ให้เข้าประเทศ แต่ขั้นเบาะๆ ที่สุดก็คือ ใครก่อเรื่องที่สนามไหนไว้ ก็อย่าหวังว่าจะได้ก้าวเท้าเข้าสนามนั้นอีก เพราะจะโดนแบนตลอดชีวิต

***************

เรื่อง: ทีมข่าว CLICK
ภาพ : ธนารักษ์ คุณทน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

vichien

23/02/2010 18:35:01
0
ผมเองก็เคยเชียร์ทึมทหารอากาศและทีมท่าเรือมาตั้งแต่เด็กๆ จริงอย่างที่เค้าวิเคราะห์ สมัยก่อนมันไม่มีการแบ่งแยกกันจริงๆ ครั้งหนึ่งเมื่อสิบกว่าปีก่อน ผมเคยไปนั่งดูบอลในสนามศุภฯเชียร์ทีมทหารอากาศ คนข้างๆผมเชียร์ทีมอะไรจำไม่ได้...นั่งเชียร์กันอยู่ข้างๆนั่นแหละ ไม่เห็นจะมีเรื่องกันเลย แถมพักครึ่งพี่เค้ายังซื้อน้ำ ขนมมาแบ่งผมกินด้วยซ้ำไปครับ....


โลกเปลี่ยนไป ฟุตบอลไทยลีคพัฒนาขึ้นเยอะ แต่แฟนบอลนี่ซิ ไม่พัฒนาเลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"บอลแพ้ คนไม่แพ้"