ตามที่ผมเรียนมายุคคลาสสิกคือดนตรีที่มีแบบแผนชัดเจน
ส่วน นีโอ คลาสสิค มีแนวคิดที่จะกลับไปสู่ดนตรีในยุค BaroqueและClassic แต่ฟังดูสดใหม่กว่าเนื่องจากไม่ได้นำลักษณะดนตรีแบบเก่ามาใช้อย่างตรงตัว
ตามที่ผมเรียนมายุคคลาสสิกคือดนตรีที่มีแบบแผนชัดเจน
ส่วน นีโอ คลาสสิค มีแนวคิดที่จะกลับไปสู่ดนตรีในยุค BaroqueและClassic แต่ฟังดูสดใหม่กว่าเนื่องจากไม่ได้นำลักษณะดนตรีแบบเก่ามาใช้อย่างตรงตัว
ผมเป็นผู้เล่นและศึกษาดนตรี แต่จบสายวิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์ จึงมองดนตรีผ่านแนวคิดทางสังคมนะครับ
1.หลักการแบ่ง ไม่ว่าเรื่องอะไร มักมองไปที่ "ความเปลี่ยนแปลง" และการเลือกว่าจะใช้อะไรเป็น "จุดแบ่ง" ในการอธิบายความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เช่น การแบ่งยุคโลหะ การแยกเป็นยุคสำริด เป็นยุคเหล็ก ก็ใช้สำริด กับเหล็กเป็นตัวแบ่ง การแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ กับประวัติศาสตร์ ใช้การค้นพบตัวอักษรเป็นจุดแบ่ง ผลการแบ่งพวกนั้น ทำให้ความเปลี่ยนแปลงระดับสากล ต่างจากระดับท้องถิ่น
ดังนั้นจะแบ่งยังไงก็ได้ แต่ต้องอธิบายให้ได้ว่า ใช้อะไรเป็นจุดแบ่ง
2.การสื่อสารในแวดวงเฉพาะ เช่น เฉพาะกลุ่มผู้เรียนดนตรี ในสถาบันการศึกษา ถ้าเพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ก็ต้องจำว่าตำราส่วนใหญ่ เล่ากันยังไง หรือจะวิเคราะหฺ์รวมๆ ด้วยแนวคิดเรื่อง Union ของ SET ในทางคณิตศาสตร์ก็ได้ ว่าฉบับนี้แบ่งยุคแบบนี้ ฉบับนั้นแบ่งแบบนี้ สิ่งที่เหมือนกันตัดออกไป สิ่งไม่เหมือนกันนำเข้ามารวม
เท่าที่ผมอ่านดูตำราฉบับต่างๆ ก็ทั้งการแบ่งที่ ยึดแนวสืบต่อกันมา ในลักษณะต่างๆ มีการแบ่งแตกต่างกัน ดูๆ เหมือนการแบ่งจะเลียนๆกันมา แบบครอบคลุม ว่าแบ่งช่วงไหนเป็นยุคอะไร ลักษณะการเล่นดนตรี เป็นยังไง นักแต่งเพลงดังๆ มีใครบ้าง แต่จุดอ่อนส่วนใหญ่ ไม่ได้อธิบายจุดแบ่งกันอย่างชัดเจน อาจเป็นเพราะข้อจำกัดต้างๆ เช่น เขียนยาวคนก็ไม่อ่าน อ่านได้ก็ไม่เข้าใจ เลยขมวดมันรวมๆเอาไว้ จำๆเอา ค่อยไปแยกแยะทีหลัง
ผมว่ากระทั่งอาจารย์สอนดนตรี ไม่ว่าจะตรี โท เอก ถ้าจับผิดกันจริงๆ ส่วนใหญ่ อธิบายเรื่องนี้ไม่เคลียร์หรอก ถ้าซักกันหนักๆ มีเคืองแน่
3.การแบ่งยุคทางดนตรี "เพื่อการจดจำนำไปสอบ" ข้อนี้ต้องดูว่าเรียนกับใคร เขาใช้ตำราเล่มไหนของใครประกอบ ก็ดูเล่มนั้นเป็นหลัก ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า ทุกตำราล้วนชัดเจนในรอบปี ของการแบ่ง แต่เนื้อหาล้วนคลุมเครือ ถ้าสอบบรรจุราชการ ต้องดูของณิชฌาเป็นหลัก
สรุป สามารถใช้วิธียูเนียนของเซ็ตรวมการแบ่งยุคจากตำราต่างๆมาใช้อธิบายได้ แต่นั่นเพื่อการสื่อสารกับผู้เรียนดนตรี แต้ถ้าจะเอาเพิ้อความเข้าใจจริงๆ ต้องยึด "จุดแบ่ง" ความเปลี่ยนแปลง จะเลือกอะไรมาใช้ก็ได้ เช่น เทคโนโลยีการผลิตเครื่องดนตรี การผลิตสาย ซึ่งมักสัมพันธ์กับ การปฏิบัติเครื่่องดนตรี การบันทึกโน้ตสากล และเครื่องหมาย ถ้าสามารถทำได้ "นี่คือนวัตกรรมใหม่" ในการอธิบายการแบ่งยุคทางดนตรีเลยละ
ถ้ายังไปไม่ถึงก็อาจเลือก ฉบับใดฉบับหนึ่งมาเป็นหลัก ที่เนื้อหาการแบ่งครอบคลุม จากนั้นขยายความองค์ประกอบที่สำคัญ ที่แต่ละฉบับยังขาดเพิ่มเข้าไป ก็จะเกิดความเข้าใจมากขึ้นแน่นอน