Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

ไรท์ไฟล์ audio พวก lossless ลงแผ่น คุณภาพจะเท่าต้นฉบับ 100% เสมอไปมั้ยครับ

nn

29/12/2009 08:08:40
- เคยอ่านว่าเวลาไรท์ audio cd คุณภาพจะไม่ได้เท่าต้นฉบับ 100% ขึ้นกับคุณภาพแผ่น เครื่อง และความเร็วในการไรท์
(...อันนี้ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ ในเมื่องมันเป็นดิจิตอล ไม่ 0 ก็ 1
ทำไมคุณภาพจะไม่ได้ 100%)

- ตอนนี้ผมจะไรท์เพลง lossless เป็นไฟล์ flac เก็บลงแผ่น dvd เลยสงสัยว่าจะเกิดปัญหาเดียวกับการไรท์ audio cd รึเปล่า

การไรท์ไฟล์ flac จำเป็นต้องใช้แผ่นดีๆ ไรท์ที่ความเร็วต่ำๆแบบเดียวกับไรท์ audio cd รึเปล่าครับ

...เหมือน หรือไม่เหมือนกัน เพราะอะไรครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

บังอาจชาชัก

29/12/2009 15:10:39
ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า Audio CD กับ Data CD มันเป็นคนละประเภทกัน
ถ้าคุณจะทำ Data CD ก็ไม่จำเป็นต้องไปสนใจเรื่อง Audio CD ครับ

ผมขี้เกียจพิมพ์อธิบาย จะตอบคำถามเลยละกันครับ

คุณจะไรท์เพลง lossless เป็นไฟล์ flac เก็บลงแผ่น dvd นั่นหมายความว่าคุณกำลังเขียน Data DVD ครับ
สามารถเบิร์นแผ่นที่ความเร็วตามใจชอบได้เลยครับ คุณภาพข้อมูลเหมือนกันครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

29/12/2009 16:00:40
0
ยังงงอยู่เลยจ้า (แอบเข้ามาอ่านน่ะครับ).....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

nn

29/12/2009 16:14:13
ขอบคุณครับ เรื่อง flac คิดว่าพอเข้าใจ แต่ยังไม่ค่อยกระจ่างเรื่อง audio cd

จากที่คห.1 ตอบมา ผมเดาว่า audio cd มันไม่ใช่การเขียน data แบบดิจิตอล
(จะบอกว่ามันเป็นอนาลอก จะได้มั้ย???) ดังนั้นมันจึงไม่เหมือนต้นฉบับ 100% ???

รอผู้รู้มาช่วยอธิบายต่อด้วยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

เบียส

29/12/2009 16:16:10
11
เอ้า ผู้ เยี่ยวนาน เอ๊ย !! ผู้ เชี่ยวชาญอยู่ ไหน ครับ ช่วยหน่อย เร๊ว ............อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

Nack

29/12/2009 17:11:00
มารู้จัก jitter
สัญญาณไฟฟ้าทุกชนิดจะประกอบด้วย 2 ตัวประกอบ คือ Amplitude หรือความแรงของสัญญาณ (ทั้ง + / -) และ Time หรือ ความถี่ นั่นเอง (Freq = 1 / Time เพราะฉะนั้น 2 ค่านี้เป็นเรื่องเดียวกัน) ในที่นี้เราจะไม่พูดถึง Amplitude จะกล่าวถึงเรื่อง Time เท่านั้นนะครับ

Jitter เป็นภาษาเทคนิคหมายถึง ค่าผิดพลาดทางเวลา ครับ (Time-base error) ใช้กับ Digital Electronics เท่านั้นนะครับ นัดแฟนแล้วไปไม่ทันจะอ้างว่า พอดีตัวผม Jitter เยอะไปหน่อยนี่ ตัวใครตัวมันเด้อ

ปริมาณของ Jitter เราจะใช้หน่วย Second ในการวัด แต่หน่วย Second เป็นหน่วยที่ใหญ่เกินไปสำหรับการบอกปริมาณ Jitter ซึ่งด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน อยู่ระหว่าง 1 ส่วนพันล้าน ถึง 1 ส่วนล้าน-ล้านของวินาที เราจึงใช้หน่วย nano-SEC, nS และ pico-SEC, pS แทน แต่อันที่จริงผมว่าเค้าขี้เกียจเขียน 0 หลายๆ ตัวมากกว่าเช่น 0.0000000001 = 100pS (อันนี้เล่นครับ )

ลองยกตัวอย่างให้เห็นปริมาณของ Jitter นะครับ สมมุติความถี่สัญญาณค่าหนึ่ง 100kHz นั่นหมายความว่าทุก 1 วินาที Amplitude ของสัญญาณจะเปลี่ยนแปลงครบรอบ 100000 ครั้ง หรือจะบอกว่า เปลี่ยนแปลงครบ 1 รอบ ทุกๆ 0.00001 วินาทีก็ได้ Jitter ก็คือปริมาณเวลาที่ผิดพลาดไปเช่น สัญญาณลูกที่ 1 ควรจะครบรอบตอน 0.00001 วินาทีพอดี แต่กลับครบรอบตอน 0.000011 วินาที ช้ากว่าที่ควรจะเป็นไป 0.000001 วินาที พอสัญญาณลูกที่ 2 ตามมา แทนที่จะครบรอบตอน 0.00002 วินาที กลับไปครบที่ 0.000019 วินาที เร็วกว่าที่ควรจะเป็นไป 0.000001 วินาที เหตุการณ์เหล่านี้แหล่ะครับ Jitter แต่ค่า Jitter ที่เราเห็นกันบ่อยๆ จะเป็นค่า RMS / Root Mean Square ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อช่วง 1 วินาทีของสัญญาณ เช่น สัญญาณนี้มี Jitter 300pS (rms) ก็หมายความว่าทุกลูกคลื่นของสัญญาณนี้จะมี Error ปนอยู่ในทุกลูกคลื่น เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 300pS หรือ 300 ส่วนล้าน-ล้านของวินาทีนั่นเอง

!! ล้าน-ล้านของวินาที!! ฟังดูเหมือนไม่เยอะ แมลงวันที่ว่าบินเร็วแล้ว ยังไปไม่ถึง 1mm เลย :p แต่กลับส่งผลต่อระบบ Digital Audio อย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะการแปลงสัญญาณ analog-digital และกลับกัน ลองดูรูปข้างล่างก่อนครับ

นี่คือผลเสียของ Jitter ในการเปลี่ยน Digital เป็น Analog ครับ แทนที่รูปสัญญาณจะ Smooth เหมือน Sine wave ธรรมดา (เส้นแดง) กลับได้เป็นเส้นขยุกขยุยสีน้ำเงินแทน ลองดูรูปขยายข้างล่างนี้นะครับ

จะเห็นชัดขึ้นว่า แทนที่เวลาจะลงตัวเป๊ะ กลับเลื่อนไปซ้ายที-ขวาที ทำให้สัญญาณเสียรูปไป

กลับมาเข้าใจกับความยิ่งใหญ่ของ ส่วนล้าน-ล้านของวินาที อีกทีนะครับ ระบบการแปลงสัญญาณ A-D และ D-A จะใช้การ Sampling เป็นหลัก เช่น 44100Hz หมายความว่าทุกๆ 1 วินาที มันจะทำการเปลี่ยนสัญญาณ 44100 ครั้ง การที่ระบบมี Jitter อยู่ด้วย ระบบจะแปลงสัญญาณผิดเวลาทั้ง 44100 ครั้งเลย ซึ่งก็จะได้รูปคลื่นอย่างข้างบนนั้นไงครับ ยิ่ง Oversampling หรือ Upsampling มากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสในการผิดพลาดก็จะมากขึ้นไปด้วย (ถือโอกาส ปูทางให้กับ Non-Oversamplng Concept ครับ ไว้วันหลังจะเขียนให้อ่านนะครับ)

สาเหตุของ Jitter ในระบบ Digital Audio มีหลายส่วน ผมแยกให้ฟังดังนี้ครับ
- ระบบฐานเวลาหรือที่เรามักจะเรียก Clock กัน
ระบบฐานเวลาเป็นตัวสร้างความถี่หลักในการควบคุมการถอดรหัสของ DAC ถ้าฐานเวลานี้ผิดพลาดหรือมี Jitter ทั้งระบบก็จะมี Jitter ไปด้วย ยิ่งระบบซับซ้อนหรือมีขั้นตอนเยอะเพียงใด Jitter ก็จะสะสมเป็นเงาตามตัวครับ (เข้าเรื่อง Non-Oversampling อีกแล้ว) เพื่อนๆ บางคนคงรู้จัก S-clock หรือ L-clock ซึ่งก็คือภาคฐานเวลาที่มี Jitter น้อยนั่นเอง โดยมากไม่เกิน 5pS ครับ ลองเทียบกับระบบ Jitterbug ของ Sonic Frontier ซึ่งให้ Output มี Jitter ประมาณ 20-50pS (ถือโอกาส Quick Attack ครับ )
- ภาคจ่ายไฟ
สัญญาณในภาคจ่ายไฟเป็นต้นเหตุหนึ่งของ Jitter เช่นกัน เนื่องจากระบบฐานเวลาและระบบ Digital อื่นๆ ล้วนใช้ไฟจากภาคจ่ายไฟ ถ้าภาคจ่ายไฟมีการสัญญาณรบกวน มันก็จะไปปนเปื้อนออกไปกับ Product ของระบบเหล่านั้นด้วย และเช่นเดิมครับ ยิ่งวงจรซับซ้อนก็ยิ่งพอกพูน Jitter ในระบบ
- ระบบส่งสัญญาณ
สาย Digital และอุปกรณ์รับส่งทุกชนิดมีความเป็น R-L-C แฝงอยู่ ค่าเหล่านี้จะไปเปลี่ยนค่า \\\\\\\"เวลา\\\\\\\" ของสัญญาณที่ส่งผ่าน ซึ่งเป็นการเพิ่ม Jitter ในระบบนั่นเองครับ
- สัญญาณรบกวนจากภายนอก (Radio Freq)
RF ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของ Jitter สัญญาณ Digital ต่างๆ ในระบบ Digital Audio จะมีช่วงความถี่ตั้งแต่ 100kHz ขึ้นไปถึง 40-50MHz คลื่นวิทยุเช่น AM สามารถที่จะเพิ่ม Jitter เข้าไปในระบบได้ ไม่เชื่อ ก็เอาชุดสุดรักไปเปิดฟังข้างสถานี AM ดูสิ
- ระบบแปลงสัญญาณ
DAC แบบ Multi-bit จะไวกับ Jitter น้อยกว่า DAC แบบ 1-bit

จบแค่นี้แหล่ะครับ ไว้นึกออกว่าขาดเหลืออะไรแล้วจะมา post ต่อนะครับ

credit dy thaiavclub.org
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

YUTH

29/12/2009 17:23:17
0
แวะมาปักป้าย เดี๋ยวมาอ่าน
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

nn

29/12/2009 18:26:27
ยังอ่านไม่จบ แต่ถ้าบอกว่า audio cd เป็นการแปลงกลับไปมาระหว่าง digital - analog
ซึ่งการแปลงกลับไปมานี่แหละทำให้เพี้ยน

ยังงี้จะถูกมั้ยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

บังอาจชาชัก

30/12/2009 01:05:32
มาอธิบายเพิ่มครับ
คือ Audio CD กับ Data CD เป็นข้อมูลแบบดิจิตอลเหมือนกันครับ
แต่เป็นคนละประเภทกัน

Audio CD คุณสามารถเอาใส่เครื่องเล่นซีดีเพลงทั่วไป (เครื่องเล่นซีดีในรถ, มินิคอมโป, เครื่องเพลย์สเตชั่น, วอล์กแมน) ให้เล่นได้ด้วยครับ
(เพราะมาตรฐานของ Audio CD มันเหมือนกันคือไฟล์ WAV 16bit 44.1kHz ครับ
ถ้าคุณเอาเพลง MP3 ไปเบิร์นเป็น Audio CD ก็คือ ไฟล์ MP3 ของคุณจะถูกแปลงไฟล์ให้เป็น WAV 16bit 44.1kHz ก่อนแล้วเบิร์นเป็น Audio CD ครับ)

แต่ Data CD คุณต้องใช้กับเครื่องเล่นซีดีที่รองรับฟอร์แมตเดียวกับที่คุณเบิร์นด้วย ถึงจะเล่นได้
(อย่างเช่น เครื่องเล่นซีดีบางเครื่องที่รองรับ MP3 ก็ให้เราเบิร์น MP3 เป็น Data CD เพื่อเล่นได้เลย ไม่ต้องแปลง)
..
พูดเรื่องการเบิร์นแผ่น Audio CD
คือปัญหาที่เกิดจากการเบิร์น Audio CD เนี่ย ปัญหาหลักๆที่ผมเจอก็จะเป็นกรณีที่ว่า
\"ปัญหาเกิดจากเครื่องเล่นซีดีเพลงทั่วๆไปมันอ่านแผ่น Audio CD ที่เราเบิร์นไม่ได้ (หรือได้ แต่มีปัญหา สะดุด ขาดๆหายๆ)\" ครับ

คือถ้าเบิร์น Audio CD ด้วยความเร็วสูงๆแล้ว ดีวีดีไดรฟ์จากคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะยังอ่านข้อมูลบนแผ่นได้เหมือนเดิม 100% อยู่
แต่ถ้าเอาไปให้เครื่องเล่นซีดีเพลงทั่วไปเล่น มักจะมีปัญหาเรื่องการอ่านข้อมูลบนแผ่นนั้นครับ

ถ้าจะถามว่าควรจะเบิร์น Audio CD ที่ความเร็วเท่าใหร่ดี ถึงจะไม่มีปัญหา?
ผมก็จะแนะนำให้เบิร์นที่ความเร็ว 12x หรือ 16x ครับ เพราะส่วนมากจะใช้ความเร็วนี้และไม่มีปัญหา
แต่บางคนที่ใช้ความเร็ว 48x เบิร์นแล้วให้เครื่องเล่นซีดีเพลงทั่วไปเล่นแล้วไม่มีปัญหาอะไรเลยก็มีนะครับ
..
แต่เพราะคุณไม่ได้อยากจะเบิร์น Audio CD ตั้งแต่แรก ผมเลยไม่อยากอธิบายเพราะไม่รู้จะอธิบายยาวๆไปทำไมครับ
ตอบคำถามไปตรงๆเลยดีกว่า ง่ายดี ตรงประเด็นและเสียเวลาน้อยกว่าด้วย

คุณจะไรท์เพลง lossless เป็นไฟล์ flac เก็บลงแผ่น dvd นั่นหมายความว่าคุณกำลังจะทำเป็น Data DVD ครับ
สามารถเบิร์นแผ่นที่ความเร็วตามใจชอบได้เลยครับ คุณภาพข้อมูลเหมือนกันครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 9

nn

30/12/2009 07:51:49
ขอบคุณทุกท่านที่มาช่วยให้ความรู้ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 10

Jack

30/12/2009 07:55:24
0
Audio CD ไรท์ออกมาเป็น .cda
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 11

Win

30/12/2009 15:13:23
0
ขอบคุณทุกท่านสำหรับความรู้ครับ

แต่คุณ Nack ข้อมูลให้เครดิตมาเป็น

credit dy thaiavclub.org


มันยังไงๆอยู่น้า thai av club หุหุ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 12

nopphong

30/12/2009 16:14:01
5
- เคยอ่านว่าเวลาไรท์ audio cd คุณภาพจะไม่ได้เท่าต้นฉบับ 100% ขึ้นกับคุณภาพแผ่น เครื่อง และความเร็วในการไรท์
(...อันนี้ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ ในเมื่องมันเป็นดิจิตอล ไม่ 0 ก็ 1
ทำไมคุณภาพจะไม่ได้ 100%

คำตอบคือตอนไรท์มันพลาดดันได้ครับ ข้อมูลเป็นล้านๆไบท์ ผิดพลาดกันได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการเขียนด้วยสปีดสูงๆ แทนที่จะเขียน 1 กลับเขียน 0 ลงไปก็เป็นได้
ทีนี้ในเครื่องเล่นมันจะมี data correction ช่วยได้นิดหน่อย แต่เนื่องจากมันแก้ด้วยการเฉลี่ยสัญญาณ มันก็เลยคล้ายๆการลบรายละเอียดที่ควรจะมีอยู่ออกไป เสียงเลยดรอบได้ครับ



- ตอนนี้ผมจะไรท์เพลง lossless เป็นไฟล์ flac เก็บลงแผ่น dvd เลยสงสัยว่าจะเกิดปัญหาเดียวกับการไรท์ audio cd รึเปล่า
การไรท์ไฟล์ flac จำเป็นต้องใช้แผ่นดีๆ ไรท์ที่ความเร็วต่ำๆแบบเดียวกับไรท์ audio cd รึเปล่าครับ


การไรท flac ลง dvd เป็น data cd ครับ มีระบบแก้ไขและตรวจสอบข้อมูลที่เขียนลงไปในตัวอยู่แล้ว จึงสามารถไรท์ที่สปีดสูงได้ ส่วนคุณภาพแผ่นที่ใช้ นั้นแค่ต้องดีในระดับนึงไม่ต้องใช้ดีมากก็ได้เพราะเครื่องจะมีการใช้ระบบแก้ไขความผิดพลาดอยู่แล้วครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"ไรท์ไฟล์ audio พวก lossless ลงแผ่น คุณภาพจะเท่าต้นฉบับ 100% เสมอไปมั้ยครับ"