Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

"หูฟังโอมห์ต่ำขับง่าย...ไม่จริง!" - คำตอบ

Windows X

06/09/2017 18:23:45
337



อันนี้เป็นเรื่องที่ผมเขียนอธิบายให้รุ่นน้องที่น่ารักคนหนึ่งแต่เห็นว่าดูมีประโยชน์ดีเลยนำมาแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านกันในบอร์ดมั่นคงด้วยครับ

เรื่องหูฟัง ohm ต่ำขับง่ายนั้นมากจะเป็นเรื่องที่นักเล่นมือใหม่เข้าใจผิดกันเยอะ earbud ผมยกตัวอย่างง่ายๆล่าสุดก็ Audio Technica ATH-EC7 SV ที่เพิ่งขายไปละกันครับ 16 ohm เอง แต่โทษนะครับ sensitivity อยู่ที่ 100db จ้า ต่อตรงแล้วเห่ยมากๆ แต่ถ้าต่อ amp หูฟังตั้งโต๊ะดีๆนี่แจ่มเลย
สาเหตุที่เป็นแบบนี้คือ impedance จะมากจะน้อยไม่มีผลกับกำลังขับครับ ถ้า impedance สูงขึ้นก็ต้องการแรงดัน (voltage) มากขึ้น กระแส (current) ลดลง กำลังขับของหูฟังอยู่ที่เท่าเดิมครับ การเพิ่ม ohm ไม่ได้ทำให้กำลังขับต้องการจ่ายมากขึ้นและการลด ohm ลงก็ไม่ได้ทำให้ต้องการกำลังขับน้อยลงแต่อย่างใด
แต่เดี๋ยว ถ้างั้นทำไมถึงมีคนทำสายหูฟัง ohm สูงออกมาล่ะ  สาเหตุก็ตามสมการ P = I^2 * R ครับ ถ้าค่า impedance ต่ำก็ต้องจ่ายกระแสมาก เครื่องที่จ่ายกระแสสูงๆได้พอมีน้อย เลยต้องเพิ่ม impedance เพื่อลดการจ่ายกระแสและชดเชยด้วยแรงดันที่มากขึ้นแทนครับ
อย่างลำโพงบ้านเมื่อก่อนก็จะใช้ลำโพง 8 ohm กันเพราะ amp ไม่สามารถป้อนกระแสสูงๆได้ แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยีพัฒนาไปเยอะก็เริ่มมีลำโพง 4 ohm มาสำหรับ amp ที่จ่ายกระแสไหว เครื่องเสียงบ้านเขาเข้าใจตรงกันหมดว่าลำโพง 4 ohm ขับยากกว่าลำโพง 8 ohm ครับ
แล้วทำไมไม่เล่นลำโพง 8 ohm ไปเลยล่ะครับ จะมาฝืนใช้ 4 ohm ให้ได้ทำไม สาเหตุก็เพราะการจ่าย current สูงๆได้ดีทำให้สัญญาณได้ dynamics ที่ทรงพลัง เข้มข้น หรือฟังดีกว่าครับ แต่เครื่องเสียงบ้านไม่สามารถแปลงไฟจาก AC มา DC ได้ current มากพอเลยทำไม่ได้เมื่อก่อน อันนี้คือพูดถึงลำโพงบ้านนะครับ
แต่กับหูฟังนั้นแนวคิดนี้จะคิดไม่เหมือนกันเพราะในกลุ่มหูฟังนั้นจะใช้กระแสไฟจาก battery เป็น DC current มาตรงๆสามารถป้อนกระแสได้ไว อย่างในเครื่องเสียงรถยนต์ก็ใช้ดอก 4 ohm กันได้สบายๆ
แต่เพราะเครื่องพกพาไม่สามารถจ่ายแรงดันสูงๆได้เพราะแบตมีแค่ 3.7V กันส่วนใหญ่ไม่เหมือนเครื่องเสียงรถที่ใช้ไฟ 12V ไหนจะต้องประหยัดไฟอีกเลยทำให้ audio output จ่ายแรงดันได้ต่ำ การใช้หูฟัง ohm ต่ำก็จะลดความต้องการของแรงดันลงมาทำให้ต่อตรงได้ง่ายขึ้น พอจ่ายกระแสไม่นิ่งพอก็ทำสายเพิ่ม ohm มาคุม load ลด noise ให้ดีขึ้นดังเช่นโปรเจ็ค Tiamat ของคุณตั้ม G-7 นี้
ดังนั้นจะเพิ่มหรือลด ohm ก็ไม่ได้ทำให้หูฟังขับง่ายหรือยากขึ้นครับ ส่วนเรื่องกำลังขับที่ต้องการจริงๆจะดูที่ sensitivity เป็นหลักมากกว่าครับ ซึ่งถ้าน้อยไปก็ต้องการกำลังขับที่สูงเน้นแรงดีเข้าว่า ถ้ามากไปก็ต้องการกำลังขับนิดเดียวเน้นคุณภาพในการควบคุมไม่ให้มี noise มากวนครับ
สุดท้ายแล้วการตัดสินใจก็มาจากการทดลองฟังแล้วเลือกซื้อตามความพอใจของเราอยู่ดีครับ ทุกวันนี้สินค้ามีมาก mix and match กันเต็มไปหมด ยิ่งสินค้า budget specs ต่างๆอาจจะเชื่อไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน ขนาด sensitivity เองก็ยังมีที่ +- 5db ทำให้เสียงไวต่างกันได้ถึง 10db เลยทีเดียวครับ
ผมก็ไม่รู้ว่าข้อมูลเชิงวิชาการนี้จะมีประโยชน์กับใครได้บ้างแต่สำหรับผมเองก็ช่วยได้เยอะในการทำความเข้าใจว่าทำไมเสียงถึงออกมาเป็นแบบนั้นรวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงชุดให้ถูกต้องตามหลักการณ์ที่ควรจะเป็น ใครนำไปใช้ประโยชน์ได้ผมก็ยินดีครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 15
ความคิดเห็นที่ : 1

Peerasak

06/09/2017 21:19:32
6
แล้วหูฟัง sensitivity เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าขับง่ายหรือขับยากครับ เพราะอย่างลำโพงบ้านที่ผมเข้าใจคือถ้าต่ำกว่า 90dB ก็ถือว่าเริ่มขับยากแล้วครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

Peerasak

06/09/2017 21:19:32
6
แล้วหูฟัง sensitivity เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าขับง่ายหรือขับยากครับ เพราะอย่างลำโพงบ้านที่ผมเข้าใจคือถ้าต่ำกว่า 90dB ก็ถือว่าเริ่มขับยากแล้วครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

MaxxIE

06/09/2017 21:41:46
107
ผมว่าลองใช้เว็บนี้คำนวนเป็นแนวทางดูครับ

https://www.headphonesty.com/headphone-power-calculator/
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 1
ความคิดเห็นที่ : 4

Salek

06/09/2017 22:00:14
187
ผมเคยสังเกตุและรู้(แต่ไม่ลึก)มานานแล้วครับว่าหูฟังที่มีค่า sensitivity สูงๆมันจะขับง่าย ต่อให้มีค่า ohm สูงๆก็ตาม
เช่น shure e5c ที่มีค่าโอห์มสูงถึง 110 ohms และมีค่าความไวที่ 122 db แต่ขับง่ายกว่า etymotic er6i ที่มีค่าโอห์มแค่ 16 ohm และค่าความไว 108 db
และเมื่อเอาหูทั้งสองตัวนี้มาฟังผ่านแอมป์ er6i จะมีความต่างของเสียง(ระหว่างต่อตรงกับผ่านแอมป์)มากกว่า e5c
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 2
ความคิดเห็นที่ : 5

natnikon

07/09/2017 11:43:16
7

คิดถึงหูฟัง SHP2000 ของ ฟิลลิ่ง 32 OHM สบายแล้ว เรา

สรุปมาลองกับ Com หรือ DAP ตัวเล็ก ไม่รอดครับ Max ยังไม่ดัง ลายฃะเอียดมาน้อย

spec ระบบเสียง

เปิด
การตอบสนองต่อความถี่
15 - 22 000  เฮิร์ตซ์
ความต้านทาน
32  โอห์ม
กำลังไฟฟ้าสูงสุด
50  mW
ความไว
96  dB
เส้นผ่านศูนย์กลางของลำโพง
40  มม.
การตอบสนองต่อความถี่
10 - 23 000  เฮิร์ตซ์
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 1
ความคิดเห็นที่ : 6

zatanic

08/09/2017 11:24:42
40
อ้างอิง : ความคิดเห็นที่ 5 - natnikon

คิดถึงหูฟัง SHP2000 ของ ฟิลลิ่ง 32 OHM สบายแล้ว เรา

สรุปมาลองกับ Com หรือ DAP ตัวเล็ก ไม่รอดครับ Max ยังไม่ดัง ลายฃะเอียดมาน้อย

spec ระบบเสียง

เปิด
การตอบสนองต่อความถี่
15 - 22 000  เฮิร์ตซ์
ความต้านทาน
32  โอห์ม
กำลังไฟฟ้าสูงสุด
50  mW
ความไว
96  dB
เส้นผ่านศูนย์กลางของลำโพง
40  มม.
การตอบสนองต่อความถี่
10 - 23 000  เฮิร์ตซ์
ผมก็มีตัวนึงครับ น่าจะต้องแอมป์ตั้งโต๊ะถึงจะขับหมด
ขนาด earbud อย่าง SHE1360 149 บาท ความต้านทาน 16 โอห์ม ความไว 100 dB
ต่อตรงไม่รอด เสียงออกมาแห้งกร้าน มิติกับโฟกัสแย่ เบสไม่มี
ผมจับไปต่อแอมป์ Ibasso D2+ เสียงหนาเนียนนุ่ม เบสมาเลยครับ
แต่โฟกัสยังไม่โอเคเลยลองยัดสำลีตรงรูเบสโฟกัสเลยดีขึ้นมาพอสมควร
กลายเป็นหูฟังคุ้มราคา 149 บาทไปเลยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

Artnoi

10/09/2017 02:44:06
425
คอนเฟิร์มครับ
HD800 300Ohm เสียงดังกว่า DT880 250Ohm แบบชัดเจน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

Hsung

10/09/2017 13:12:51
346
ถ้าอ่านสเปคหูฟังเป็น จะเข้าใจหัวข้อกระทู้ของคุณ windows X  ครับ

โอห์ม กับ sensitivity มันไม่เกี่ยวกัน แค่เป็นสเปคตัวหนึ่งที่มีในหูฟัง

ซึ่งมีอีกหลายค่าที่ระบุในหูฟัง  ตามตัวอย่างที่ คห. 5 โพสให้ดู

โอห์ม เป็นหน่วย ความต้านทานของหูฟัง ขับง่ายไม่ง่าย ขึ้นอยู่กับค่าความต้านทานของแอมป์ที่เอามาขับหูฟังด้วย

หลักการส่งผ่านพลังงาน (วัตต์) ที่ดีที่สุดคือ ค่าโอห์มของแอมป์ เท่ากับ ค่าโอห์มหูฟัง

ดังนั้นถ้าค่าความต้านทานแอมป์กับหูฟังห่างกันก็ส่งผ่านพลังงานได้น้อย เสียงก็จะเบา

ซึ่งโดยทั่วไปแอมป์หูฟังมักจะออกแบบให้มีค่าใกล้เคียงค่า 32 โอห์ม ที่เป็นค่าความต้านทานทั่วไปของหูฟัง

นอกจากนี้ บางผู้ผลิตยังได้เพิ่มสเปคค่าพลังงาน (วัตต์) ในหลายๆ ค่าความต้านทานของหูฟังด้วย

อย่าง schiit LYR จะขับหูฟัง 32 โอห์ม ได้ที่ 6 วัตต์ และ จะขับหูฟัง 50 โอห์ม ได้ที่ 4 วัตต์เป็นต้น

ส่วน sensitivity เป็นหน่วยของสัดส่วนการเปลี่ยนรูปพลังงานจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง

คือถ้าพลังงานไฟฟ้าที่ส่งผ่านมีค่าคงที่ หูฟังที่มีค่า sensitivity สูง จะดังกว่า หูฟังที่มีค่า sensitivity ต่ำ ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 7
""หูฟังโอมห์ต่ำขับง่าย...ไม่จริง!" - คำตอบ"