สวัสดีครับ วันนี้เป็นอีกวันที่พวกเรามั่นคงมีความภูมิใจที่ได้นำเสนอเรื่องราวใหม่ๆในสิ่งที่เราไม่เคยทำ และไม่เคยสัมผัส นั่นก็คือแง่มุมของงานศิลปะ การตีความ การเข้าถึงจุดประสงค์ที่ศิลปินได้ใส่ลงไปในชิ้นงาน การถ่ายทอดความเจ็บปวดและความทุกข์ที่ฝังลึกอยู่ในใจลงในชิ้นงานที่ใช้เวลาคิด และวางแนวคิดให้ผู้ที่ได้เข้าชมได้คิดตาม คล้อยตาม รวมถึงตระหนักถึงความจริงของอริยสัจ 4 ในโลกมนุษย์ใบนี้
ผมได้ถ่ายทำรายการในรูปแบบของคลิปวีดีโอ ซึ่งคาดว่ามีความยาวเกินกว่า 2 ชั่วโมงอย่างแน่นอน โดยแบ่งออกเป็นไตรภาค
ภาคแรก - ศิระ สุวรรณศร คือใคร ทำอะไร มานั่งอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร แง่มุมการมองงานศิลป์ รวมถึงแง่คิดถึงผู้ปกครองและเด็กที่ไม่ได้เกิดมาเพื่อเรียนเลข เรียนวิทย์ แล้วเด็กพวกนี้จะไปทางไหน เรียนศิลปะมันดีพอที่จะใช้ประกอบอาชีพได้หรือ
ภาคสอง - คุยถึงงานวิทยานิพนธ์ที่เป็นหัวใจหลัก นั่นคืองานปฏิมากรรมในนามว่า "บทกวีแห่งความสิ้นหวัง" ที่มาที่ไป แรงจูงใจ แนวคิด ความมุ่งหวัง และความผิดหวังหลังจากผ่านชีวิตและเก็บเกี่ยวได้เพียงความเจ็บปวด แล้วทางออกคืออะไร
ภาคสาม - อีกมุมหนึ่งที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งหย่อนใจสำหรับชายที่ทุกข์ระทมกับภาระที่หนักอึ้งมาเกินกว่า 10 ปี เขาสนใจอะไร แรงจูงใจและอะไรคือแรงบันดาลใจให้เลือกของเล่นที่มีมุมมองลึกซึ้งน่าสนใจ
เป็นไงบ้างครับ ผมเกริ่นนำคลิปวีดีโอ ที่ผมสัมภาษณ์ไว้ และพยายามจะนำขึ้นก่อนวันที่ 12 กรกฏาคม เวลา 16:00 น. ให้ได้ เพราะวันเวลาดังกล่าวจะเป็นวันที่เป็นช่วงสำคัญที่สุดของอาจารย์ศิระอีกครั้ง ที่จะมีโอกาสได้กล่าวมุมมองที่งดงามในขณะที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดให้กับทุกท่านฟังในหอประชุมของวิทยาลัยเพาะช่างครับ