Mozdzer/Danielsson/Fresco trio คือวงดนตรีที่บทเพลงของพวกเขาอยู่เหนือกาลเวลาอย่างแท้จริง ก่อตั้งเมื่อปี 2005 จนถึงปัจจุบันโดยออกอัลบั้มแรก The Time ก็ทำยอดขายถล่มทลายไปถึง 20,000 แผ่น (มันเยอะมากนะกับดนตรีบรรเลงที่ไม่มีสื่อโปรโมต ซื้อกันปากต่อปากซึ่งปัจจุบันจำหน่ายมากกว่า 30,000 อัลบั้ม) ภายใน 2 สัปดาห์เท่านั้น ในบ้านเกิดของ Leszek Mozdzer นักเปียโนชาวโปแลนด์ จนได้ Double Platinum to Diamond Award และรางวัลต่างๆมากมายทั้งก่อนหน้านี้และหลังจากนั้นเป็นต้นมา
ยุโรปตะวันออกมีชื่อเรื่องดนตรีคลาสสิคที่ซึมลึกมาอย่างยาวนาน และด้วยเหตุผลนี้เมล็ดพันธุ์ทางดนตรีได้ก่อเกิดศิลปินยุคใหม่จำนวนมากในแถบนี้ ซึ่งจากการติดตามมีหลายประเทศเช่นโปแลนด์ ฮังการี ออสเตรีย สาธาราณรัฐเชก เอสโตเนีย อาร์เมเนีย รวมถึงกลุ่มประเทศที่แตกออกจากรัสเซียเดิมและอื่นๆที่มีศิลปินที่บ้านเราไม่รู้จักแต่โด่งดังในแถบประเทศดังกล่าวและข้ามไปญี่ปุ่น สหรัฐในภายหลัง
ผมเองก็ซุกซนจากการที่คลุกคลีกับศิลปินมามากหน้าหลายตาเลยไปเตะหู (จะตาก็ใช่เรื่องเนอะ ดีนะไม่ก้านคอ 555) ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เราเห็นโลกดนตรีที่เปิดกว้างกว่านักฟังหรือศิลปินทั่วไป เพราะเราไม่ต้องไปจดจ่อกับกระแสอันดับเพลงฮิตในแท่นชาร์ต เอ้ยชาร์ตเพลงแต่เราฟังอย่างที่เราอยากฟังเพราะเราต้องควักเงินซื้อเอง จริงไหม555
ผลคือได้เรื่อง Leszek Mozdzer และวงทริโอของเขาจึงได้มาอยู่ในมือในราวปี 2006 หลายอัลบั้มซึ่งต้องยอมรับว่า Packaging ของค่าย Outside Music ที่ก่อตั้งขึ้นโดย Mozdzer สวยและดูแพงตั้งแต่ยังไม่ฟังที่มี 3 อัลบั้มสำคัญผลิตในโปแลนด์และขายในประเทศนี้เท่านั้นคือ The Time (2005), Between Us and The Light (2006), Mozdzer/Danielsson/Fresco Live (2007) แต่น่าเสียที่ค่ายนี้ไม่มีการดำเนินการต่อแล้ว ไม่ใช่เพราะเจ๊งนะแต่เนื่องจากศิลปินเป็นเจ้าของเอง เล่นเอง และขายเองมันไม่มีทาง work ครับเพราะศาสตร์ในทางศิลปะกับศาสตร์ทางธุรกิจมันแตกต่างกัน
ศิลปินมีหน้าที่ในการสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ หากมัวมานั่งทำค่ายเพลงเองส่วนใหญ่ไปไม่รอด เพราะหน้าที่หลักคือการสร้างสรรค์นั้นถูกทดแทนในการวิ่งรอกติดต่อ บันทึกเสียง จัดจำหน่ายประชาสัมพันธ์ ออกทัวร์ หาแรงบันดาลใจใหม่ๆในระหว่างการเดินทาง การแสดง หากเล่นไม่มากพอในหลากหลายบริบท สุดท้ายผลงานก็จะย่ำอยู่กับที่ ไม่คืบ คนฟังก็เริ่มไม่แน่ใจที่จะติดตาม ซื้อเสพย์ผลงานเราอีก Mozdzer ฉลาดพอที่จะรู้ว่าจุดพีคทางอาชีพเค้าคงไม่ถึงแน่หากมัวมานั่งทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่เราเอง
ไม่เช่นนั้นมันจะมีค่ายเพลงไว้ทำไม มี A&R ที่ดูแลดั่งแมวมองสอดส่องศิลปินที่น่าสนใจ แนะนำชี้แนะ Material ใหม่เพื่ออะไร โปรดิวเซอร์ที่เจนจัดรวมถึง Sound Engineer ที่เรียกว่ารู้ใจและไว้ใจได้ว่าบันทึกเสียงที่ออกมาต้องมีมาตรฐานที่ผู้ฟังคาดหวังเท่านั้น รวมไปถึง PR ที่คอยทำหน้าที่ดูแลส่ง Press Kit ไปให้สื่อระดับโลกที่เป็นผู้เขียนและมีอิทธิพลต่อผู้อ่านทั่วโลก Management ที่ดูแลการบริหารประสานงานทางธุรกิจ ภาพลักษณ์ ไปจนถึงสุดท้าย Booking Agent ที่ช่วยหาสถานที่แสดง เฟสติวัลสำคัญๆระดับโลกที่มีรอบการเล่นในแต่ละช่วงฤดูกาลอย่างไร
Mozdzer สำเร็จการศึกษาจาก Academy of Music in Gdanskในปี 1996 โดยเริ่มเล่นเปียโนตั้งแต่ 5 ขวบกับดนตรีคลาสสิคก่อน แต่มาให้ความสนใจในดนตรีแจ๊สในวัยที่เรียกว่าค่อนข้างสายเมื่อเทียบกับศิลปินในรุ่นเดียวกันตอนอายุ 18 ปี แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคเพราะหลังจากพบตัวตนของตัวเองแล้วเขาก็ได้รับเชิญในการเล่นให้กับศิลปินมากมายในระดับโลกเช่น David Friesen, Pat Metheny, Archie Shepp, Buster William, Dave Liebman, Joe Lovano, Lester Bowie, Marcus Miller etc
เขาได้ออกผลงานในนามตัวเองและร่วมกับผู้อื่นในฐานะ Sideman มากกว่า 100 อัลบั้ม ไม่นับรวมการประพันธ์ Theatrical and film scores project จำนวนมากในบ้านเกิด จนได้รับรางวัลอาทิเช่น Pianist of The Year ที่ยาวนานนับแต่ปี 1994-2008 จากการโหวตของผู้อ่านจากนิตยสารขั้นนำของโปแลนด์ Jazz Forum เรียกว่าแทบไม่มีใครโค่นบัลลังก์ของเขาได้เลย และรวมถึงรางวัลจากรัฐบาลในฐานะเป็นทูตทางวัฒนธรรมอันเนื่องด้วยความสามารถยอดเยี่ยมที่ปรากฏต่อสายตาแฟนๆทั่วยุโรป
Lars Danielsson มือupright bass และอดีตมือ Classical cello, piano ที่โดดเด่นรวมถึงในฐานะนักประพันธ์ โปรดิวเซอร์ขาวสวีเดนที่มีผลงานนับแต่ปี 1986 ในสังกัด Dragon Records ของสวีเดนก่อนที่จะปักหลักกับค่ายมิวนิคเบสอย่าง Act Music มาอย่างยาวนานและมีโปรเจกต์มากมายรวมถึงแกนหลักในวง Mozdzer /Danielsson /Fresco trio เกินกว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา
Danielsson ได้ชื่อว่าเป็นคนให้ความสำคัญกับดนตรีที่เรียกว่า “Chamber Jazz” ที่เป็นการรวมเอาลักษณะดนตรี European Classical Chamber Music เข้ากับ Jazz ได้อย่างลงตัวมากที่สุดคนหนึ่ง ทำให้บทเพลงของเขามีรูปแบบที่นุ่มนวลเสนาะหู แต่มีภาค Improvise ที่จับต้องได้และรู้ทันทีว่าเป็นผลงานของ Danielsson ซึ่งจะสัมผัสได้จากงานในสังกัดปัจจุบันของเขาอย่างชัดเจนเช่นอัลบั้ม Libera Me และ Liberetto ที่ออกมาถึง 3 ชุดแล้ว
ส่วน Zohar Izhak Fresco มือ percussionist ชาวยิวสืบทอดเชื้อสายจาก Composer คนสำคัญของตุรกียิวในศตวรรษที่มีชีวิตอยู๋ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 Tamburi Izhak Fresco ตัว Fresco รุ่นเหลนเองเป็นคนที่นำเครื่องดนตรีโบราณของยิวที่เรียกว่า Miriam Drum ที่ใช้ในการเฉลิมฉลองในทางศาสนา งานแต่งงานมายาวนาน 3000 กว่าปีมาแล้ว (คล้ายๆ Tambourine ของอเมริกาหรือ Pandeiro ของบราซิล แต่ไม่มีแผ่นโลหะที่สร้างเสียงกรุ๊งกริ๊ง แต่เป็นแผ่นกลมมีหนังขึงตรงกลาง) มาเป็นอุปกรณ์หลักในการเล่นร่วมกับเครื่อง Percussion อื่นๆซึ่งเขาพัฒนาเทคนิคการเล่น Palming and fingering technique ขึ้นมาเองที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ฟังในทุกครั้ง จน Fresco ได้รับเชิญจาก Conservatory ชั้นนำในการถ่ายทอดการเล่นอุปกรณ์และทฤษฎีดนตรีที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของ Arab, Jewish, Mediterranean อย่างลงตัว
ดังนั้นการถือกำเนิดของวงทริโอนี้นับแต่ปี 2005 จากอัลบั้ม The Time ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของวงที่มีความ Unique และ Outstanding ในแบบ European Jazz กระเดียดไปทาง Classical และ World music ได้อย่างน่าฟังกับ 12 บทเพลงประพันธ์ขึ้นใหม่หมดและแถม Smell Like Teen Spirit ของNirvana ที่สงบเงียบพลิกความคาดหมายของแฟนๆทีเดียว ภาคบันทึกเสียงที่ละเอียดไปทุกรูขุมขนเหมาะสำหรับหูฟังจากเฮียมั่นคงอย่างมาก อิๆ ลองไปฟังผลงานจากอัลบั้มดังกล่าวดูครับ
Danielsson ที่เป็นอดีตมือ Classical Cellist มาก่อนใช้เทคนิคการเล่น Pizzicato หรือการใช้นิ้วในการดีดสาย Cello แทนที่จะเป็น Arco หรือการสีในแบบ Classical ทำให้ได้อรรถรสในแบบที่นักดนตรีแจ๊สที่เล่น Cello มักจะในเทคนิกในการนำเสนอ ในตอนกลาง Danielsson เริ่มเปลี่ยนมา Slap Cello ก่อนจะหยิบ Bow มาสี เรียกว่าใช้ครบทุกเทคนิค จริงๆ ส่วน Fresco โชว์การเล่นบน Miriam Drum ได้อย่างสละสลวยทีเดียว แทร็คนีมีคนดู 8 แสนกว่าวิว กับ 4 พันกว่า Comments ไม่ธรรมดาครับ