Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

Manhattan Jazz Quintet หนึ่งในวงที่ประสบสำเร็จอย่างสูงในญี่ปุ่น แทนที่จะเป็นบ้านเกิดตัวเองเพราะอะไร ??

Soundscape

15/04/2017 20:20:53
124

หากคุณเป็นนักดนตรีที่ต้องดำรงชีพด้วยการเล่นในสิ่งที่ตนเองรัก “แจ๊ส” แต่ปรากฏว่าประเทศบ้านเกิดในสหรัฐอเมริกาที่เป็นดินแดนเสรีและเป็นต้นกำเนิดดนตรีชนิดนี้แล้วไม่ได้เปิดโอกาสให้คุณและวงได้เล่นและออกผลงานในแบบที่ตนเองปรารถนา หากเป็นเราก็อาจท้อและเลิกเล่นไปเลย แต่นี้ไม่ใช่สิ่งที่ขึ้นกับ David Matthews และวง Manhattan Jazz Quintet วงดนตรีที่แทบไม่มีใครรู้จักในสหรัฐอเมริกาฐานะวงที่เป็น Unit ที่เล่นตาม Club หรือเทศกาลแจ๊สใดๆ แต่กลับไปสร้างชื่อเสียงให้กับ David Matthews และวง Manhattan Jazz Quintet ภายใต้การนำของเขาให้เป็นที่รู้จักอย่าง Superstar ในประเทศญี่ปุ่น

David Matthews จริงๆแล้วเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง นักเปียโนและเป็น Staff Arranger ในทีมเดียวกับ Don Sebesky, Bob James ให้กับ Creed Taylorโปรดิวเซอร์และ A&R คนสำคัญแห่งค่ายเพลง CTI ในสไตล์ Soul Funk, Smooth Jazz ในยุค 70s กับศิลปินตำนานอย่าง Patti Austin, George Benson, Hank Crawford, Grover Washington Jr. หรือแม้กระทั่ง Nina Simone และโดยเฉพาะก่อนหน้านี้ที่เป็นหัวหน้าวงให้กับเจ้าพ่อ Soul Funk อย่าง James Brown ในต้นยุค 70s ซึ่งกระแสดนตรีในแบบ CTI นั้นกำลังเป็นที่นิยมและขายดิบขายดีมากแม้จะเป็นอัลบั้ม Jazz-based อาทิเช่นผลงานของศิลปินบราซิลเลี่ยน Eumir Deodato, Bob James, Grover Washington Jr. และอื่นๆอีกมากสร้างความั่งคั่งและชื่อเสียงให้กับ Creed Taylor และตัวค่าย CTI เป็นอย่างมาก David ก็ได้ออกผลงานหลายอัลบั้มเช่นกันแต่ภายใต้หลืบเงาและสไตล์เพลงที่วนเวียนอยู่ในแบบที่ตนเองก็ Arrange ให้คนอื่นเช่นกัน ชีวิตประจำวันก็คงวนเวียนเข้าออกสตูดิโอหายใจจนทุกอย่างคือสไตล์ที่ต้องขายและประสบความสำเร็จตลอดเวลา

จนกระทั่งในปี 1983 จากคำแนะนำของ Swing Journal Magazine นิตยสารดนตรีแจ๊สที่ทรงอิทธิพลที่สุดในญี่ปุ่นและค่ายเพลงเก่าแก่อย่าง King Records โดยโปรดิวเซอร์ Shigeyuki Kawashima ที่ทำหน้าจัดจำหน่ายผลงานให้กับ CTI ในญี่ปุ่นได้เสนอให้ David Matthews ออกผลงาน Straight-Ahead Jazz ในแบบที่เขาต้องการ David จึงได้รวบรวมนักดนตรีฝีมือดีที่พื้นเพเป็นคนนิวยอรค์เช่นนักทรัมเป็ต Lew Soloff ศิษย์เก่า Julliard School และมือทรัมเป็ตในอดีตวง Jazz-Rock ตำนานอย่าง Blood, Sweat & Tears และยังได้รับความไว้วางใจจาก Gil Evans จนถึงช่วงวาระสุดท้ายของ Gil ด้วยเช่นกัน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ Lew ได้จากเราไปด้วยโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อปี 2015 ด้วยวัย 71 ปี เป็นการสูญเสียเสียงทรัมเป็ตที่มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์ดนตรีไปอีกคนหนึ่ง

นอกจากนั้นวงก็ยังประกอบไปด้วยมือเบสตำนาน Eddie Gomez อดีตมือเบสของ Bill Evans Trio มือกลอง Steve Gadd มือกลองที่จัดว่าเป็น Studio Drummer ที่มีงานชุกที่สุดในยุคนั้นโดยได้รับการเรียกใช้บริการตั้งแต่ Paul Simon & Garfunkel, Steely Dan, Eric Clapton ไปจนถึงฝั่งแจ๊สอย่าง Grover Washington Jr., Chick Corea, Al Di Miola และศิลปินคนสุดท้ายในวงกับมือเทเนอร์แซ็ก และอัลโตแซ็กอย่าง George Young ซึ่งจัดเป็นนักดนตรีสตูดิโอชั้นนำที่ร่วมงานทั้งกับ Benny Goodman, Louis Bellson ไปจนถึง George Benson, Ron Carter, Jack DeJohnette โดย Dave ได้ตั้งชื่อวงและอัลบั้มว่า Manhattan Jazz Quintet ซึ่งประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัล Gold Disc Award of Swing ในปี 1984 ในญี่ปุ่น

นับแต่นั้นเป็นต้นมาวง MJQ (อย่าไปสับสนกับวง Modern Jazz Quartet ของ John Lewis-Milt Jackson นะครับเพราะมีอักษรย่อชื่อวงคล้ายกัน) ก็ได้เริ่มออกผลงานแทบจะทุกปีจนถึงปลายทศวรรษที่ 90 และได้ออกทัวร์ในญี่ปุ่นเป็นว่าเล่น สร้างชื่อเสียงให้กับวงและแฟนเพลงที่ต้องการผลงานของ MJQ ต้องหาซื้อเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นรวมทั้งตัวผมด้วย และในปี 2015 King Records ได้ทำการเฉลิมฉลองการเป็นนักดนตรีอาชีพครบรอบ 50 ปีของหัวหน้าวงอย่าง David Matthews ในซีรีย์ที่ชื่อว่า Celebrating 50th Year as a Professional Musician โดยมีผลงานภายใต้วง Modern Jazz Quintet และ Modern Jazz Orchestra ออกมา 23 อัลบั้ม แม่เจ้ายิ่งกว่าพี่เบิร์ดอีก 555 และหนึ่งในนั้นคือผลงานชุด Take Five ที่เป็นการทำงานร่วมกันของ MJQ และ The Century Orchestra Osaka Live at Symphony Hall ในปี 1995

ซึ่งหากจำไม่ผิดในปีนั้นเป็นปีเดียวกับที่ MJQ โดย Toyota Thailand ได้สปอนเซอร์มาเล่นที่ศูนย์ประชุมจุฬาลงกรณ์ในคอนเสิร์ตชื่อว่า A Dawn in Asia ผมเองก็ตื่นเต้นมากเพราะติดตามผลงานของ MJQ ก่อนทีจะมาทัวร์บ้านเรา เลยถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ชมโชว์ซึ่งในครั้งนั้นนำโดย David Matthews, Lew Soloff, George Young, Charnett Moffett ในตำแหน่งดับเบิลเบส และ Victor Lewis ในตำแหน่งกลอง ขาดแต่เพียงวง Orchestra เท่านั้น 555 ในอัลบั้ม Take Five live at Symphony Hall ต้นฉบับมี 5 เพลงกับความยาวราว 54 นาที ประกอบไปด้วยแพลง Caravan กับความยาวเกือบ 9 นาที เป็นผลงานคลาสสิคของ Duke Ellington และ Juan Tizol มือทรอบโบนคู่ใจของ Duke

เส่นห์ของเพลงนี้กับกลิ่นอาย Arabian Music โดย Orchestra เข้ามาอย่างยิ่งใหญ่โหมเร้าเปิดฉากอลังการณ์เปรียบประดุจการเดินทางมาถึงของแสงอาทิตย์สาดสะท้อนบนผืนทรายในดินแดนอาหรับอันเวิ้งว้าง ก่อนที่ MJQ จะเข้ามาในเมโลดี้หลักที่คุ้นหูในเพลงสอดแทรกหล่อเลี้ยงด้วยเครื่องสายที่ต้องบอกว่าสุดๆกับการเรียบเรียงเสียงประสานและคอนดักต์โดย James Mack โดย Soloist คนแรกคือ George Young ตามด้วย Lew Soloff ทำหน้าที่ได้อย่างดุเดือดโดยเฉพาะ Soloff ที่ไต่ระดับเสียงสูงที่คมกริบ ไม่มีตก กระขากอารมณ์ผู้ฟังนับพันคนในฮอลล์ให้ตบมือเกรียวกราวทีเดียว ก่อนที่ Finale ของเพลงกลับมายัง Orchestra และจบด้วยวงกับ Repeat ทำนองที่เรียกว่าสวยงามมากต้องหามาฟังครับชุดนี้

เพลงถัดมา A Dawn In Asia ที่ String เริ่มเข้ามาแต่แฝงความเหงาเศร้าสร้อยประดุจ Soundtrack ภาพยนตร์สงครามที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ไม่นานเสียงใสๆของ Oboe เริ่มเข้ามาดั่งความหวังครั้งใหม่ภายใต้บรรยากาศที่หดหู่นั้นดำเนินไปกว่า 3 นาทีก่อนที่วง MJQ ได้จะกระโดดเข้ามาอย่างรื่นเริงในแบบ Hard Swing เป็นสิ่งที่ Contrast กันมากทำให้ผู้ฟังอย่างผมตื่นเต้นกับ Sound ที่อยู่ตรงหน้า Highlight อยู่ที่การดวลกลองของ Victor Lewis กับ Orchestra ในลักษณะ Call and Response ส่งและรับกันอยู่เป็นนาที ไม่นับรวม Solo ของ Young และ Soloff ที่ก็เลือดสาดเหมือนแทร็คแรก งานเครื่องสายที่มันสุดติ่งกระดิ่งแมวลืมไปเลยว่านี่คือวงที่มีผู้เล่นกว่า 50 ชีวิต แต่ประดุจหลอมรวมเป็นเครื่องดนตรีชนิดเดียวที่เรียกว่า Symphony Orchestra James Mack คือคอนดักต์เตอร์ที่หยุดโลกในบทเพลงนี้ครับ

และก็มาในแทร็คสุดฮิปอย่าง Take Five งานของ Paul Desmond ภายใต้จิตวิญญาณของ Dave Brubeck วงและเครื่องสายเล่นเข้ามาอย่างเคารพในต้นฉบับก่อนที่จะละให้ Soloff และ Rhythm Sectionเฉพาะเบสและกลอง เด่นเป็นพระเอกโดยที่ Soloff ใช้เทคนิค Muted Trumpet ที่ยาวมากแทบลืมหายใจเรียกเสียงปรบเกรียว ความยาวการโซโล่ระหว่าง Soloff และเบสกลองกว่า 3 นาทีก่อนจะส่งต่อให้ Young ในการโซโล่แซ็กที่ James Mack ดึงเอาเครื่องสายกับมาควบกับเทเนอร์แซ็กไล่เลียงกันอยู่ราว 2 นาทีโดยมี Young เป็น Lead เครื่องสายเล่นเลาะเกาะเกี่ยวได้อย่างน่าฟัง ก่อนจะไปที่เพลง Manteca ของ Dizzy Gillespie และ A Night in Tunisia ที่เป็นของ Gillespie เช่นกัน ซึ่งทั้งสองเพลงก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กับบทเพลงอื่นๆที่กล่าวถึง

โดยเฉพาะใน Manteca ที่ Victor Lewis นั่นควบกลองเป็นพระเอกในจังหวะ Latin ชวนให้ต้องกระดิกเท้าตลอดทั้งเพลงและ Charnett Moffet มือเบสเพี่งจะได้มาโชว์ในแทร็กนี้ละเลยรัวเบสประดุจปีนกลไปให้หายอยากซะ ก่อนจะจบด้วย A Night in Tunisia ที่เครื่องสายกลับมาเป็นพระเอกใน Intro ตามด้วย Soloff รับหน้าที่ First Solo ที่สะกดคนดูอีกแล้วในระดับเดียวที่ Young ก็เด่นเล่นลืมหายใจหรือเปล่าก่อนที่หัวหน้าวงจะมี Solo ครั้งแรกในแทร็คสุดท้าย 555 กลัวแฟนๆลืมว่ามาด้วย 555 จบลงด้วย String ที่ทำหน้าที่ช้อยเก็บฉากสุดท้ายก่อนแยกย้ายกลับบ้าน ต้องบอกว่าเป็นอัลบั้มที่มีความ Unity ในวงและมี Individuality ที่ฉายเอกลักษณ์ของวงแต่ละคนโดยเฉพาะภาคการเรียบเรียงของ David Matthews และภาคเครื่องสายโดย James Mack และเด่นสุดคงหนีไม่พ้น Soloff และ Young Front ทั้งสองคนที่ทำให้เราต้องกลับมานั่งฟังใหม่อีกหลายสิบรอบ เพราะจำไม่ได้ว่าฟังอะไรไป นี่ละมันคุ้มตรงนี้ละ 555

ตลอดเวลากว่าหลายทศวรรษ MJQ มีการเปลี่ยนแปลงเข้าออกอาทิการมาของ John Patitucci, Dave Weckl ในช่วงที่ Gomez และ Gadd ลาวงไปและแทนที่ด้วย Charnett Moffett กับ Victor Lewis ในช่วงต่อมา และล่าสุดการเสียชิวิตของ Lew Soloff และการออกจากแบนด์ของ George Young ทำให้ Manhattan jazz Quintet ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแม้จะมี Andy Snitzer มาแทนในตำแหน่งเทเนอร์แซ็ก เป็นความทรงจำที่ผมและแฟนคงไม่อาจลืมเลือนว่าครั้งหนึ่งมีวง Combo Jazz Quintet ที่มาสร้างความรื่นเริงให้กับเราให้ตระหนักว่าดนตรีดีและเยี่ยมยังมีอยู่จริงครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

Soundscape

15/04/2017 20:23:56
124
กับแทร็คที่ david matthews เล่นกันในแบบ Trio  ภาคบันทึกเสียงของญี่ปุ่นนี่มันกระจายจริงๆครับ กับงานคลาสสิกแจ๊ส When You Wish Upon A Star ในการ์ตูนระดับโลก Pinnochio ในอดีตครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

Soundscape

15/04/2017 20:24:57
124
ติดตามบทความแจ๊สจากทั่วทุกมุมโลกได้ที่ "แจ๊สชวนชิม"ครับ https://www.facebook.com/jazzchuanchim/?fref=nf

ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

Soundscape

15/04/2017 20:24:59
124
ติดตามบทความแจ๊สจากทั่วทุกมุมโลกได้ที่ "แจ๊สชวนชิม"ครับ https://www.facebook.com/jazzchuanchim/?fref=nf

ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"Manhattan Jazz Quintet หนึ่งในวงที่ประสบสำเร็จอย่างสูงในญี่ปุ่น แทนที่จะเป็นบ้านเกิดตัวเองเพราะอะไร ??"