การออกผลงานดนตรีในปัจจุบันอาจดูมืดมนเพราะศิลปินไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนเองลงทุนไปนั้นจะสามารถกลับมาเป็นรายได้ที่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการทำผลงานหรือไม่ แต่ด้วยเทคโนโลยี่ที่ทำให้ศิลปินและผู้เสพย์สามารถพบเจอบนโลกไซเบอร์แล้วนำไปสู่การสนับสนุนทางการเงินหรือที่เรียกว่า Crowdfunding ที่ทำให้ศิลปินมีทางเลือกและกล้าที่จะออกผลงานผ่านการสนับสนุนทางการเงินของแฟนๆได้มากขึ้น Sara Gazarek ศิลปินสาวชาวอเมริกันจาก L.A. ได้เลือกที่จะใช้บริการของ Pledge Music เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสนับสนุนทางการเงินของ Duo Project ที่เธอและนักเปียโนคู่หู Josh Nelson ได้ตั้งเป้าไว้
โดยทั้งคู่ตั้งใจที่จะออกผลงานนำบทเพลงอมตะและที่แต่งเองสำหรับโปรเจกต์นี้ โดยได้ Producer Al Schmitt เจ้าของรางวัล Grammy มากกว่า 20 ตัวด้วยกันมาทำหน้าที่ Produce & Engineer การบันทึกเสียงทำใน Legendary Capital Studio, California สถานที่เดียวกับที่ Frank Sinatra, Nat King Cole, The Beach Boys, Carole King, Ray Charles ได้เคยย่างเท้าเข้าห้องอัดในตำนานเหล่านี้มาแล้ว และในที่สุดก็มีผู้ให้กับสนับสนุน Duo Project นี้ถึง 138% ของที่ตั้งเป้าไว้ มีผู้สนับสนับรวมกันถึง 422 หุ้นส่วนจากสินค้าหรือบริการที่เสนอให้กับหุ้นส่วนทางธุรกิจกว่า 15 รายการตั้งแต่ CD, LP, Signed Products, Live Performance on MP3, Japanese Signed Import CD (ของผมอันนี้ 555แต่ไม่มีลายเซ็นนะ) ส่งภาพเบื้องหลังทะเล้นๆพร้อมตอนบันทึกเสียงมาให้แฟนๆโดยเฉพาะ หรือเยี่ยมชม Capital Studios พร้อม Al Schmitt และคู่ศิลปินทั้งสอง, Cover ที่เลือกและบันทึกเสียงให้หุ้นส่วนโดยเฉพาะไปจนถึงให้ Credit ในเนื้อความขอบคุณใน Liner Note และสุดท้ายกับการเป็น Executive Producers เครดิตในอัลบั้ม
ความสำเร็จในการบันทึกเสียงผ่าน Pledge Music ครั้งนี้คงไม่ใช่เพราะความบังเอิญแต่เพราะ Sara และ Josh นั้นคร่ำหวอดในวงการดนตรีคู่กันมานาน โดยเธอมีประวัติที่น่าสนใจจากการที่ไม่มีความรู้เรื่องดนตรีแจ๊สแต่อย่างใดจนในช่วงมัธยมผู้อำนวยการโรงเรียนที่ชื่อว่า Scott Brown ได้เห็นพรสวรรค์ในการขับร้องในขณะที่อยู่ชั้นมัธยมปลายจึงได้แนะนำบทเพลงคลาสสิคแจ๊สจำนวนมากจนเธอเริ่มมีความสนใจถึงขนาดเรียน Private Class กับศิลปินชั้นนำอย่าง Tierney Sutton, Carmen Bradford และยอดมือเบส Grammy-winning John Clayton จนชื่อเสียงเริ่มปรากฏจากการเข้าแข่งขันในรายการ The Essential Ellington Competition จัดโดย Lincoln Center Jazz Orchestra ที่ในปีนั้นเป็นครั้งแรกที่อนุญาตให้มีนักร้องในวง Big Band และกลับไปด้วยรางวัลนักร้องยอดเยี่ยม The Ella Fitzgerald Charitable Foundation Vocal Soloist Award และยังคว้าตำแหน่ง The Downbeat Award ในตำแหน่ง Best Collegiate Jazz Vocalist ในปี 2003 หลังจากนั้นเธอก็ได้เข้าศึกษาใน Jazz Department ที่ University of Southern California จนสำเร็จการศึกษา
จากการที่เธอมุ่งมั่นในการฝึกฟังดนตรีในกลุ่ม Bebop จาก Miles Davis, Charlie Parker, Sonny Rollins, Hank Mobley ทำให้เธอเข้าถึงจิตวิญญาณทางดนตรีนี้ส่งผลต่อไหวพริบปฏิภาณในการนำเสนอถ่ายทอดบทเพลง Standard ได้อย่างถึงแก่นจนเป็นที่กล่าวขวัญจากศิลปินชั้นนำและนักวิจารณ์ในสหรัฐ อาทิเช่น Larry Goldings พ่อมดออร์แกนและเปียโนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ James Taylor, Madeleine Peyroux, Tracy Chapman, Norah Jones, Melody Gardot และได้ร่วมออกผลงานและโปรดิวซ์อัลบั้มให้เธอในชุด Blossom & Bee ได้กล่าวว่า “I quickly learned that there is very little that Sara was unable to sing…..whether it was odd-metered arrangements, songs with challenging intervals, feel-good swingers, or emotionally charged ballads.” หรือ Don Heckman จาก L.A Times กล่าวว่า “ Sara is the next important jazz singer” และอีกมากเกินกว่าจะกล่าวถึง
ในส่วนของ Josh Nelson นักเปียโนคู่หุทางดนตรีในทุกอัลบั้มของเธอก็มีประวัติที่น่าสนใจไม่น้อยจากการที่เข้ารอบ 12 คนสุดท้ายในการแข่งขันที่หินที่สุด Thelonious Monk International Jazz Piano Competition ในปี 2006 มีผลงานในด้านฟิลม์ภาพยนตร์ ทีวีโชว์จำนวนมากโดยร่วมเล่น Back Up ให้กับศิลปินระดับโลกทั้ง Natalie Cole, Jeff Hamilton, Anthony Wilson, George Mraz, Benny Golson, Richard Galliano, Sheila Jordan, Dave Koz, Peter Erskineเป็นต้น โดยการร่วมงานกับ Sarah Gazarek มากกว่า 10 ปีกลายเป็นส่วนผสมทางดนตรีที่กลมกล่อมเฉกเช่นการจับคู่ศิลปินนักร้องนักเปียโนในอดีตที่แทบจะแยกกันไม่ออกส่งผลให้งานเพลงมีความสมบูรณ์ทางด้านเนื้อหา ไม่ต้องลองผิดถูกเพราะเข้าขาระหว่างปากกับเปียโนไปแล้ว 555 ยกตัวอย่างเช่น Frank Sinatra กับ Bill Miler, Ella Fitzgerald กับ Paul Smith (ไม่ใช่ Designer ที่มาเอาดีทางแจ๊สนะ 555) Kurt Elling กับ Laurence Hobgood
ในอัลบั้มทื่ชื่อ Duo (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Dream in The Blue เพื่อวางจำหน่ายทั่วโลกหลังจากนั้น) ที่จำหน่ายในญี่ปุ่นมีทั้งหมด 12 แทร็คพร้อมมี Bonus Track Behind Me (ญี่ปุ่นใช้ไม้นี้ประจำหากมีการออกในประเทศโดยศิลปินต่างชาติก็เตรียมตัวทำ Bonus Track ได้เลยเพื่อให้ดูมัน Exclusive) ต้องบอกว่าเมื่อเปิดอัลบั้มนี้ครั้งแรกต้องรู้สึกเหมือนล่องลองอยู่บนสรวงสวรรค์ยังไงยังงั้นเพราะเสียงเปียโนของ Josh Nelson มันพริ้วไหวและขับเคลื่อนได้อย่างน่าสนใจ ประกอบกับ Al Schmitt ที่เป็น Sound Engineer ระดับโลกทำให้อัลบั้มนี้มีความสวยงามของเส้นเสียงของเปียโนกับความก้องกังวาลในเนื้อเสียงของ Sarah อย่างน้ำพริกปลาทู หรือข้าวเหนียวมะม่วงซะ 555 All Again เป็นtrack แรกที่ออกไปในทำนอง Folk Pop ดั่ง Soundtrack ในภาพยนตร์รักโรแมนติกทีเดียว ก่อนที่จะเข้าสู่ Highlighted ในเพลงของ The Beatles คือ Blackbird เล่นควบโดยปราศจากรอยต่อ (Seamless) กับเพลง Bye Bye Blackbird ที่เป็นเพลง Standard เกือบ 80-90 ปีที่แล้วและมาโด่งดังจากงานของ John Coltrane ที่คัฟเวอร์เพลงนี้มาก่อน ตามด้วย O Pato งานบราซิลเลียนคลาสสิคแจ๊สที่ Josh ใช้เทคนิคการกดสายเปียโนให้บอดในขณะที่ดีดคีย์เปียโนไปเสมือนเป็น Percussion ในตอนต้นเพื่อรองรับการเข้าของ Sarah ทำให้ดูมีความขัดและสวยในเวลาเดียวกันก่อนที่ Josh จะเริ่มคลี่คลายตัวลงสู่ Syncopation ที่โดดเด้งฟังแล้วสนุกมาก การร้องในภาษาโปรตุเกสของ Sarah มีมิติและน้ำเสียงทีสดใสชวนฟังมาก การ Improv ไต่ระดับในเพลงเพลินจะบรรยายเป็นคำพูดได้จริงๆ
On Sunny Side of The Street หรือที่เรียกกันในบ้านเราว่า “รักไม่รู้จบ” แท้จริงแล้วทำนองมากจากเพลง Standard Jazz เพลงนี้ ไม่ใช่ของไทยนะครับ ในอัลบั้มนี้ออกทำนอง blues ที่เปียโนมีจังหวะยกให้รู้สึกเหมือนเพลงมันไม่เศร้าสร้อยเกินไปสอดรับกับการปล่อยเสียงของ Sarah ที่ร้องเอื้อน สไลด์สวยๆ ไปจนถึง Scat ตอนท้ายเพลงให้ดูเพลงมีความ Modern มากเป็นอะไรที่ยากที่จะมีการร้องในแบบนี้สำหรับนักร้องทั่วไป เป็นเทคนิคที่ทำให้ต้องบอกยอมเธอเลย 555 ก่อนทีจะกลับมาสู่สิ่งธรรมดาสามัญในเพลง Pop จาก Bonnie Raitt ในเพลง I Can’t Make You Love Me ที่จริงๆแล้วมีหลายคนนำมาร้องจนดังหนึ่งในนั้นคือ Adele แต่ในเวอร์ชั่นนี้ก็ดีพอตัว และที่ชอบก็มี Mood Indigo ของ Ellington และ No Moon At All สองงาน standard jazz ที่ทำให้ดูเหมือนเราไม่รู้จักเพลงทั้งสองมาก่อนเลยเกือบจะ Deconstruct โครงสร้างของเพลงมีการแตะๆ Melody หลักๆให้พอเห็นของเก่าบ้างแต่โดยรวมมันฟังแล้วสดใหม่แตกต่าง Version ที่มีการคัฟเวอร์กันทั่วไปอยู่มากเป็นไอเดียที่น่าสนใจของคู่นี้
ที่เหลือก็เป็นงานที่แต่งเองอีกสองสามแทร็คทีเปรียบเสมือน Long Journey ให้เราได้เดินทางไปกับทั้งคู่จนต้องฟังแล้วฟังอีกหลายรอบ All About Jazz เว็บไซต์บทความแจ๊สระดับโลกโดย Dan Bilawsky สรุปสั้นๆว่า “one of the best modern day piano-voice matches in action” อย่างนี้คงต้องรีบหามาฟังเต็มอัลบั้มแล้วครับ