Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

ค่ายดนตรีที่ผลิตแผ่นที่นักฟังทั่วโลกต่างต้องการเสาะแสวงหาในครอบครองซักอัลบั้มในชีวิต Th

Soundscape

08/04/2017 10:19:03
124

เมื่อราว 25 ปีที่แล้วหลังจากทำงานไปได้ซักพักก็เริ่มใช้เวลาว่างในการเสาะแสวงหาดนตรีแจ๊สจากต่างประเทศจนได้มีโอกาสรู้จักค่ายเพลงญี่ปุ่นที่ชื่อว่า  Three blind Mice หรือชื่อย่อว่า “TBM” ที่มีสัญลักษณ์เป็นหนูตัวเดียวที่มีหูขนาดใหญ่เกินตัว.”oversized” ใส่แว่นดำ (แทนที่จะมี 3 ตัว 555) ที่เปรียบเสมือนมีความ Coolness ในเรื่องรสนิยมอันแตกต่างจากคนทั่วไปโดยเฉพาะการได้ยินที่ลึกล้ำโดย TBM ก่อตั้งขึ้นเดือนมิถุนายน 1970 หรือเมื่อเกือบ 48 ปีที่แล้ว (โอ้แม่เจ้า) โดย Producer Takeshi “Tee” Fuji ซึ่งแน่นอนชื่อค่ายของเขาได้รับอิทธิพลจากอัลบั้มในชื่อเดียวกันของยอดมือกลองในตำนาน Art Blakey and the Jazz Messengers ในปี 1962 เพราะนอกจากตัวเค้าแล้วยังมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีก 3 คนในการก่อตั้งครั้งแรกคือตัวเขาเอง Ben Nishizawa ที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทางอัลบั้มในตำแหน่ง Art Director และ Sound Engineer โดย Yoshihiko Kannari

 
โดย Tee  Fuji ได้รับอิทธิพลทางดนตรีแจ๊สจากการได้ฟังงานเพลงของ Glenn Miller, Benny Goodman และ Louis Armstrong ในยุค Swing Era เฟื่องฟูในช่วงทศวรรษที่ 30-40 จนเกิดความฝันที่จะมีค่ายเพลงเป็นของตัวเอง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นได้เป็นประเทศที่แพ้สงครามและฐานทัพเรือสหรัฐได้เข้ามาควบคุมทางทหาร แต่ในทางวิถีชีวิตได้นำเอา American Cultures  มาถ่ายทอดให้คนญี่ปุ่นที่ได้มีโอกาสเป็นคนงาน ผู้รับจ้างในฐานทัพที่ตั้งอยู่ตลอดจนการร่วมปฏิสัมพันธ์สังสรรค์กันตลอดเวลาเกินกว่าครึ่งศตรวรรษ รสนิยมด้านดนตรี ศิลปะ เครื่องแต่งกายและกีฬาจึงอยู่ในสายเลือดซามูไรผ่านทางเหตุการณ์ทางการเมืองนี้

 จากความดื่มด่ำในดนตรีแจ๊สอย่างเข้าเส้น และได้เห็นว่าในช่วงเวลานั้นค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง Columbia, King, Victor, Trio Kenwood นั้นล้วนแต่ให้ความสำคัญกับศิลปินที่มีชื่อเสียงและดนตรีในแบบ Pop, Pop Jazz จากอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังไม่มีศิลปินญี่ปุ่นที่จะได้รับการผลักดันให้เป็นที่ยอมรับนัก จนกระทั่งเมื่อเขาได้ย่างเข้าวัยรุ่นและได้ฟังงานในลักษณะ Bebop โดยเฉพาะแผ่น The Quintet : Jazz at Massey Hall (1953) โดยศิลปินแจ๊สระดับโลกที่เป็นการรวมตัวในครั้งเดียวกันที่สำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์ดนตรีแจ๊สประกอบไปด้วย  Dizzy GillespieCharlie ParkerBud PowellCharles MingusMax Roach โดยเป็นครั้งแรกที่ดนตรีแนวใหม่นี้ (ในขณะนั้น) ได้จุดไฟฝันให้เด็กหนุ่มปรารถนาที่จะมีค่ายเพลงให้จงได้

 ในที่สุด TBM ได้ออกผลงานแจ๊สภายใต้นโยบายทีเคร่งครัดในการคัดเลือกศิลปิน บทเพลงและบันทึกเสียง และด้วย Motto เพื่อให้ทุกอัลบั้มมีความ Swinging, Joyful, Creative และ Original ให้มากที่สุด อัลบั้มแรกของค่าย TBM โดย Kosuke Mine นักแซ็กโซโฟนหนุ่มที่กลับจาก New York ไม่นานในชุด “Mine” ในปี 1970 และหลังจากนั้นเรื่อยมาจนถึงช่วงทศวรรษที่ 90 กับผลงานกว่า 130 อัลบั้ม  กวาดรางวัลในประเทศในฐานะ Jazz Disc Award กว่า  5 ครั้ง เชื่อไหมครับว่าในอัลบั้มของค่าย TBM ได้กลายเป็นค่ายเพลงแจ๊สขนาดเล็กที่มียอดส่งออกไปยังทั่วโลกกว่า 60-65% ด้วยเพราะว่าคุณภาพการบันทึกเสียงนั้นได้ชื่อว่าเป็นแผ่น Audiophile ที่มีคุณภาพเสียงที่ยอดเยี่ยมมากทั้งๆที่บันทึกเสียงในช่วงทศวรรษที่ 70 ในรูปแผ่นเสียงก่อนที่จะมีมีการ Digital transfer สู่แผ่น Compact Disc ในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 80 ก็ยังคงถ่ายทอดซุ่มเสียงในแบบ Analog สู่ Digital ได้อย่างไม่มีที่ติ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องยอมรับว่าหัวเรือใหญ่ในการทำหน้าที่ Sound Engineer ให้กับ TBM คือ  Yoshihiko Kannari ที่ถูกเรียกกันในวงการบันทึกเสียงว่าเป็น  “Recording Genius” เลยทีเดียวเขาเปรียบเสมือนลมหายใจของค่ายและใส่ใจในรายละเอียดการบันทึกเสียงทีต้องใช้อุปกรณ์ที่ดีที่สุดในตำแหน่งการจัดวางที่จะถ่ายทอด Sonic Sound Quality ให้ใกล้เคียงกับบรรยากาศที่เหมือนการเล่นดนตรีของศิลปินแต่ละอัลบั้มนั้น Live At Home โดยในทุกอัลบั้มจะมีการเขียน Chart ตำแหน่งการวางของเครื่องดนตรีพร้อมกำกับตำแหน่งของ Microphone ว่าใช้รุ่นไหนอย่างไรบ้างเพื่อให้การขับเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นในแบบเก็บครบทุกเส้นเสียงเท่าที่มีในอากาศ โดยส่วนใหญ่ไมค์ที่ใช้ก็เป็น Neumann, AKG, Electro-Voice ระดับท๊อปของยุคนั้น

 ในขณะที่ Takeshi “Tee” Fuji เปรียบดังร่างกายที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับค่ายเพลงแจ๊สในญี่ปุ่นขนาดเล็กไซส์ SME นี้ได้กลายเป็นที่รู้จักของนักฟังทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นที่น่าเสียดายที่ค่ายเพลงแห่งนี้ได้ยุติบทบาทในการผลิตไปแล้วในปี 1994และถูกซื้อกิจการไปโดย Sony Music และได้มีการ  Reissue ในรูป Hybrid Super Audio  CD (SACD) มาครั้งหนึ่งในช่วงปี  2006 แต่ล่าสุดให้ Think Records ในสังกัดทำการ Remastering อัลบั้มขึ้นใหม่ในรูป Blu-Spec CD กับตัว Jacket แบบ Mini-LP CD ที่เลียนแบบปกแผ่นเสียงในอดีตเมื่อสองสามปีที่แล้วในราคา  2,500 JPY ซึ่งไม่ถือว่าแพงมาก แต่เนื่องจากตัวผมมีสะสมอยู่จำนวนกว่า 50 อัลบั้มในอดีตในยุค First Pressing จึงยังไม่ได้ติดตามกลุ่มใหม่ๆที่ออกมาชุดหลังนี้

 วันนี้ผมขอหยิบชุดหนึ่งคือ  Kunihiko Sugano Trio+1 ในอัลบั้ม Love Is  A Many Splendored Thing จากการบันทึกแสดงสดของค่ายเพลง TBM ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในชื่อคอนเสิร์ตว่า  Live in “5 Days in Jazz 1974” โดยประกอบไปด้วย  Kunihiko on Piano,  Yoichi Kobayashi on Bass, Teruhiko Takada on Drums และที่บวกหนึ่งในตำแหน่ง Conga คือ Yoichi Ogawa เป็นวง Combo Jazz ที่กลมกล่อมมาก Producer Tee  Fuji ได้กล่าวว่า Kunihiko Sugano  เป็นหนึ่งในนักเปียโนที่สำคัญที่สุดในวงการดนตรีของญี่ปุ่น แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะบันทึกเสียงผลงานของเขาในรูปสตูดิโอเพราะเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวอย่างมากดังเครื่องเคลือบดินเผาที่พร้อมจะแตกจากการกระทบกระแทก นอกเสียจากในบรรยากาศที่  Relaxed เช่น Small Jazz Club เขาได้ก่อตั้งวงร่วมกับยอดมือเบสและเชลโล่อย่าง Isao Suzuki และมือกลองตำนาน George Otsuka ในช่วงต้นทศวรรมที่ 60 และได้รับการยกย่องจาก Modern  Clarinetist Tony Scott (Bill Evans, Sarah Vaughan) ที่อยู่ในญี่ปุ่นช่วงเวลาดังกล่าว จนได้ร่วมออกทัวร์กับวง Tony Scott เป็นเวลากว่า  2 ปีด้วยกัน Kunihiko ได้ย้ายไปอยู่บราซิลและต่อมากับ 9 ปีใน New York และ Monte Carlo ก่อนที่จะกลับ Tokyo ในปี 1984

เขาได้รับอิทธิพลจากงานของ Erroll Garner, Wynton  Kelly ที่เรียกได้ว่าเป็น  Modern  Swinging  Pianist ในยุค 40-50 และมักเลือกที่จะ Warm Up  ด้วย Intro ของเพลงในแบบคาดเดายากว่าเพลงที่เล่นคืออะไรก่อนที่จะเข้าตัว Melody หลักของเพลงนั้นๆ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาต้องการที่จะให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายในสิ่งที่เล่นและไม่จดจ่อกับตัวโน๊ตมากเกินไปจนเมื่อ Build อารมณ์ได้ถึงจุดหนึ่งก็จะรู้สึกว่าสบายใจพร้อมที่จะปล่อยของอย่างตัวเพลงที่นำเสนอในคลิ๊ปด้านล่างนี้ อัลบั้ม Love Is A Many Splendored  Thing มีความยาวราว 40 นาทีกับแค่ 4 เพลง โดย Original version ในแผ่นเสียง SIDE A ประกอบไปด้วยเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม Autumn Leaves บทเพลงอมตะที่ไม่มีใครไม่รู้จักของ Joseph Kosma และ Blues for  Wynton  Kelly ที่แต่งโดย Sugano และใน SIDE  B มีอยู่แทร็คเดียวคือ Perdido ของ Juan Tizol นักทรอบโบนคนสำคัญในวง Duke Ellington และเป็น Co-writer ในเพลงอมตะอย่าง Caravan ซึ่ง Perdido นี้มีความยาวกว่า 18:35 นาทีเป็นเรื่องที่ในวงการเพลงทั่วไปไม่สามารถมีเพลงที่ยาวแบบนี้ได้ในยุคนั้น หรือแม้กระทั่งยุคนี้ก็ตามที แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของ Tee Fuji เราจึงได้ฟังอะไรที่อยู่ในรูป Musical Art Form ในยุคนี้ครับ

 การบรรเลงโดยรวมของวงมี Dynamic ที่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นไปจนถึงเศร้าสร้อยจากปลายนิ้วของ  Sugano แล้วด้วย Rhythm Section ที่แน่นปั๊กกับเสริมลีลาสวยๆของ  Conga ทำให้จังหวัดขัดของวงมีความซับซ้อนและเพลิดเพลินมากขึ้นไปอีก ภาคบันทึกเสียงที่คมกริบ บรรยากาศของคอนเสิร์ตฮอลล์ที่มีโทนที่อบอุ่นและเสียงปรบมือพอประมาณของผู้ชมทำให้อัลบั้มมีจุดที่ให้ติตตามตลอดเวลา ฟังดูผู้เล่นแต่ละท่านมีความสุขที่จะถ่ายทอดงานศิลป์ทีใจรักแทบจะรู้สึกว่าเราอยู่ในคคอนเสิร์ตครั้งนี้ด้วยจะจริงเท็จประการใดลองเชิญฟังแทร็ค Autumn Leaves กับความยาม 8:10 แล้วคุณลองนั่งในห้องที่เงียบสนิท มันคงเป็นช่วงเวลาที่พิเศษสุดและผ่อนคลายไปกับการบรรเลงของ Kunihiko  Sugano Trio ครับ

 

                                                                         

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 1
ความคิดเห็นที่ : 1

Soundscape

08/04/2017 10:25:41
124
สามารถติดตามเนื้อหาดนตรีแจ๊สจากทั่วทุกมุมโลกในเพจ "แจ๊สชวนชิม" ครับ https://www.facebook.com/jazzchuanchim/
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"ค่ายดนตรีที่ผลิตแผ่นที่นักฟังทั่วโลกต่างต้องการเสาะแสวงหาในครอบครองซักอัลบั้มในชีวิต Th"