อ้างอิง http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=5874.0
หวังว่าจะไม่ทำให้อรรถรสในการฟังเพลงของพี่ๆเสียนะครับ
นักวิจัยจากสหรัฐเตือนภัยวัยรุ่นที่นิยมใส่หูฟังติดหูตลอดเวลาอาจเสี่ยงหูดับโดยไม่รู้ตัว ระบุฟังได้แต่ไม่ควรเกินวันละชั่วโมง พร้อมแนะนำให้หลีกเลี่ยงไม่ไปข้องแวะในสถานบันเทิงที่ก่อเสียงดังโดยไม่จำเป็น
โรเบิร์ต โนวัค ผู้อำนวยการด้านโสตศึกษา มหาวิทยาลัยเพอร์ดิว ในสหรัฐ บอกว่า แนวโน้มความนิยมในเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา และอุปกรณ์อื่นๆ ชนิดที่ต้องยกมาแนบหู อย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่มีส่วนทำให้ผู้ใช้สูญเสียการได้ยินเร็วก่อนวัยอันควร
จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมผูกติดกับการฟังเครื่องเล่นเพลงเอ็มพี 3 ด้วยสายหูฟังกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในสังคมปัจจุบัน แม้แต่ขณะวิ่งจ๊อกกิ้งก็ยังเสียบหูฟังเพลงไปด้วย หลายคนนิยมฟังเพลงผ่านหูฟังเพื่อคลายความเครียด และต้องการหลบลี้สภาพแวดล้อมอันอึกทึกรอบๆ ตัว และจากการสำรวจพบว่า มีหนุ่มสาวจำนวนมากที่เริ่มมีปัญหาด้านการได้ยิน และแนวโน้มดังกล่าวสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่มีการเปิดตัวเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา ตั้งแต่เมื่อสองทศวรรษที่แล้ว
ทีมวิจัยได้สุ่มตรวจสอบนักศึกษาเพื่อยืนยันผลสำรวจ พบว่าอัตราการสูญเสียการได้ยินจากเสียงอันดัง กำลังทวีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น พวกเขาไม่สามารถได้ยินเสียงในช่วงคลื่นความถี่สูงได้ โดยเฉพาะการสนทนาในสถานที่มีเสียงดังอื้ออึง อย่างไรก็ตาม สาเหตุของการหูหนวกมีหลายประการ ทั้งจากเสียงดังของการฟังคอนเสิร์ต การเข้าไปรื่นเริงในสถานบันเทิงที่เปิดเพลงเสียงดังมากเกินไป หรือแม้แต่การได้ยินเสียงปืนในระยะประชิด ตลอดจนเสียงจากเครื่องจักรกลต่างๆ
สำหรับสัญญาณบอกเหตุว่าคุณอาจเสี่ยงต่อการหูหนวกแล้ว ก็คือหลังออกมาจากสถานที่ที่มีเสียงดังแล้ว หูที่อื้ออึงยังไม่สามารถฟื้นสภาพคืนมาได้ นั่นแสดงว่าเซลล์ขนของหูชั้นใน ซึ่งมีผลต่อการได้ยินอาจถูกทำลายลงแล้วก็เป็นได้
ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำว่า หากอยากฟังเพลงจากเครื่องเล่นเพลงพกพาด้วยระดับความดังราว 60% ของปริมาณเสียงที่มีอยู่ ควรฟังไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรไปยืนอยู่ใกล้ลำโพงตามงานต่างๆ หรือหากต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักร ก็ควรหาอุปกรณ์มาอุดหูด้วย