Toggle Dropdown
ค้นหา
ค้นหาชื่อสินค้า
ค้าหารีวิวและบทความ
ค้นหาโปรโมชั่น
ค้นหาฟีดข่าว
ค้นหาไฮไลท์
TH
EN
หน้าแรก
สินค้า
เว็บบอร์ด
เกี่ยวกับเรา
สาขา
วิธีชำระเงิน
ติดต่อเรา
Guest
อีเมล์ / ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
หรือ
ค้นหาโดย Google
ค้นหาทุกคำ
ค้นหาชื่อกระทู้
ค้นหาชื่อผู้ตั้งกระทู้
เว็บบอร์ดจับฉ่าย
หูฟังมือสอง
ซื้อขายจิปาถะ
รีวิวและบทความ
กระทู้เฮีย
คลับ
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย
ช่องทางการติดต่ออื่น
All
5
10
15
เหน่งบาตัดแปะ....มหาเลลา
Shared
ติดตามกระทู้นี้
แจ้งลบ
เหน่งบา
03/07/2016 18:32:53
1,866
จากปืนใหญ่ใต้อ่าวปัตตานี สู่ตำนาน มหาเลลา ที่ถูกลืม
อาวุธปืนโบราณที่ถูกขุดพบระหว่างการลอกร่องน้ำแม่น้ำปัตตานี คืออีกหนึ่งความภาคภูมิของคนปัตตานีในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งมีมาอย่างช้านาน
ทั้งนี้ ประวัติราชอาณาจักรมลายูปตานี โดย ฮิบรอฮิม ซุกรี บันทึกไว้ภายหลังสยามยึดปัตตานีได้แล้วตอนหนึ่งว่า “(ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สยามได้ทำสงครามกับปตานี และสยามเป็นฝ่ายมีชัย)เมื่อได้วางกฎหมายการปกครองเรียบร้อยแล้ว แม่ทัพสยามจึงมีคำสั่งให้ทหารสยามลงเรือรบกลับ พร้อมกับกวาดต้อนเชลยชายหญิงและทรัพย์สมบัติที่ยึดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปืนใหญ่สมัยรายาบีรูได้นำกลับเมืองสยาม ปัจจุบันปืนใหญ่กระบอกนั้นยังตั้งสง่าอยู่หน้ากระทรวงกลาโหมที่กรุงเทพฯ และอีกกระบอกหนึ่งตกลงในทะเลที่ปากอ่าวปตานี”
นอกจากนั้น ครั้งที่นำปืนใหญ่พญาตานีเข้าสยาม มีจารึกสั้นๆ เป็นบทกลอนสะท้อนความรู้สึกของ “ประแดะ” มเหสีของท้าวประดู่ หญิงผู้ซึ่งเป็นบุคคลมีชื่อเสียงในกลุ่มของครัวแขกที่ถูกพ่วงมาด้วย
นางก็ไร้ญาติวงศ์พงศา หมายพึ่งบาทาพระโฉมศรี
โคตรพ่อโคตรแม่ก็ไม่มี อยู่ถึงเมืองตานีเขาตีมา
เพราะภาวะที่ทุกคนต่างอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ตึงเครียดกับเหตุการณ์ความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การขุดคุ้ยตำนานความเป็นมาของปืนโบราณจึงเปรียบเสมือนจุดเทียนความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวขึ้นมาอีกครั้ง
นอกจาก “ปืนพญาตานี” ซึ่งวันนี้ตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานครแล้ว น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ยังมีปืนพี่ปืนน้อง “ศรีนครา” และ “มหาเลลา” ที่หายไปอย่างไร้ร่องรอย
และทำให้มหากาพย์หน้าหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ปัตตานีนั้น ยังคงมีเศษเสี้ยวที่เป็นความลับซ่อนอยู่
หากอ้างอิงตำนานการสร้างปืนใหญ่พญาตานี ที่มาจากฐานข้อมูลอันหลากหลาย แม้จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่สิ่งหนึ่งที่ยืนยันแน่ชัดคือ มีการสร้างปืนใหญ่ที่เมืองปัตตานี
ดังที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่า ในยุคที่ ปาตานีดารุสสลาม อยู่ภายใต้การปกครองของ 4 ราชินี คือ ราชินีฮิเญา( หรือ มัรฮูม ตัมบังงัน),ราชินีบีรู ราชินีอูงู และราชินีกูนิง ระหว่างปี 2159-2268
โดยระบุว่า ปืนใหญ่พญาตานี ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัย ราชินีบีรู เพื่อเตรียมรับมือกับการโจมตีของกรุงศรีอยุธยา
“อาณาจักรปตานียุครายาบีรูนั้น มีกระแสข่าวเสมอว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามกำลังตระเตรียมทัพใหญ่เพื่อยาตราทัพมาโจมตีอาณาจักรปะตานี...เพราะเหตุว่ากองกำลังชาวสยามนั้นมีความพร้อมยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนใหญ่ที่มีพิษสงร้ายแรง ตรงกันข้ามกับกองทัพอาณาจักรปตานีไม่มีความพร้อมที่จะใช้อาวุธ...เมื่อทรงมองเห็นภัยอันตรายและจุดอ่อนดังกล่าว รายาบีรูจึงทรงปรึกษาหารือกับเสนาบดีผู้ใหญ่เพื่อหาทางเตรียมอาวุธให้ครบครัน...บรรดาเสนาบดีผู้ใหญ่ต่างยอมรับข้อเสนอของรายา และจากบัดนั้นเป็นต้นมานายช่างก็ลงมือหล่อปืนใหญ่...การหล่อปืนใหญ่ดังกล่าวสำเร็จผลเป็นอย่างดี เพราะนายช่างหล่อปืนนั้นเป็นชาวจีนชื่อ ลิ่มโกเคี่ยม ต่อมาเข้ารีตเป็นมุสลิมด้วยความสมัครใจและมีนามว่า โต๊ะเคี่ยม อาศัยอยู่กับเสนาบดีผู้ใหญ่ของรายา เนื่องจากอัธยาศัยอันดีงามจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้เก็บภาษีเข้าออกที่ท่าเรือปากอ่าวนครปตานี”
ในครั้งนั้นมีการหล่อปืนใหญ่ขึ้น 3 กระบอก คือศรีปาตานี,ศรีนาฆารา และมหาเลลา โดย 2 กระบอกแรกมีความยาวเท่ากันที่ 3 วา 1 ศอก 1 คืบ 2 นิ้วครึ่ง กระสุนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 นิ้ว ส่วนกระบอกสุดท้ายที่สั้นที่สุดและไม่รู้ว่า ณ วันนี้อยู่ที่ไหน สร้างเสร็จหรือไม่มีบันทึกไว้ว่ายาว 5 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว กระสุนเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว
ปืนพญาตานีเป็นปืนเด่นที่สุดด้วยความเป็นมาที่มีสีสันกว่าปืนกระบอกอื่น เอกสารทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงประวัติของปืนกระบอกนี้ว่า ครั้งนั้นหล่อปืนขึ้นทั้งหมด 3 กระบอก สองกระบอกแรกสำเร็จด้วยดี เหลือแต่กระบอกที่สามพยายามหล่ออยู่หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงตั้งโต๊ะเซ่นไหว้เอาชีวิตของตนถวายถ้าหล่อปืนได้สำเร็จ ปรากฏว่าเมื่อหล่อได้แล้วนายช่างหล่อปืนจึงไปยืนหน้ากระบอกปืนแล้วจุดทดลองยิง เมื่อปืนลั่นก็พาร่างของเขาลอยหายไปในอากาศ นอกจากนั้นปืนกระบอกนี้ยังมีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในบรรดาปืนที่จัดวางไว้ที่นี่ ใช้วัสดุสำริด ส่วนท้ายปืนเป็นรูปสังข์ปลายงอน ที่เพลามีรูปราชสีห์ บนกระบอกปืนมีจารึกว่า ”พญาตานี” มีห่วงสำหรับยก 4 ห่วง มีรูชนวนบริเวณท้ายปืน ความยาว 6.82 เมตร ตั้งอยู่บริเวณสนามฝั่งทิศใต้
เพราะฉะนั้น การค้นพบปืนโบราณที่บริเวณปากอ่าวปัตตานีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา จึงสร้างความปลื้มปีติให้แก่คนปัตตานีเป็นอย่างมาก
รศ.ดร.ครองชัย หัตถา นักวิชาการด้านภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) ผู้ทำรายงานการศึกษาสำรวจเพื่อขยายฐานความรู้ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในพื้นที่ ต.ตันหยงลุโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี กล่าวว่า
“ปืนที่พบไม่น่าจะเป็นปืนมหาเลลา เพราะมีลวดลายวิจิตรประณีต และยังมีล้อที่บ่งบอกว่าสามารถหมุนตัวกระบอกปืนได้ โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นปืนประจำเรือที่ติดอยู่กับสำเภามากกว่า เนื่องจากปืนรบอย่างศรีนคราหรือมหาเลลานั้น เป็นปืนที่สร้างมาเพื่อศึกสงคราม ไม่มีลวดลาย”
“และเนื่องจากไม่พบประวัติการสูญหายทำให้ตีความยาวกว่าใครเป็นผู้ผลิต สร้างเมื่อไร อีกทั้งปืนฝังอยู่ใต้พื้นดินกว่า 5 เมตรนั้น คาดการณ์ได้ว่าน่าจะมีอายุประมาณ 2-3 ร้อยปี แต่คงจมมาได้สัก 100 ปี นอกนั้นหลักฐานที่พบไม่สามารถบอกประวัติได้เลย แต่ก็สามารถพิสูจน์ประวัติศาสตร์ได้ว่าปัตตานีในอดีตนั้นมีความเจริญรุ่งเรือง มีการค้าขายทางเรือ และผลิตปืนใหญ่ส่งออกด้วย”
ถึงกระนั้น อ.ครองชัย ให้ความเห็นว่า สิ่งที่สำคัญในการพบปืนใหญ่โบราณคือลวดลายบนกระบอกปืนที่ผสมผสานศิลปะมลายูท้องถิ่น จีน อาหรับ ลายไทยและตะวันตก (ฮอลันดา)
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้หล่อปืนพญาตานีจำลอง เพื่อนำกลับมาไว้ที่ จ.ปัตตานี แล้ว เพียงแต่ว่ายังไม่ได้เริ่มต้น ผมหวังว่าหากมีการค้นหาปืนใหญ่ศรีนคราที่ทางตำนานบอกว่าจมอยู่ในทะเลปัตตานีกว่า 500 ปี รวมถึงปืนโบราณต่างๆที่คาดว่าน่าจะมีอีกมากที่อยู่ใต้พื้นทะเล จะสร้างความภูมิใจให้กับคนปัตตานี และทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อไปได้” นักวิชาการด้านภูมิศาสตร์กล่าว
และเมื่อย้อนดูขนาดของปืนมหาเลลาที่บันทึกไว้ว่ามีความยาว 5 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว กับ ความยาวกว่า 2 เมตรของปืนใหญ่กระบอกนี้ อีกทั้งลวดลายที่คล้ายคลึงกับปืนใหญ่พญาตานี ซ่อนประวัติศาสตร์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในยุคปัตตานีดารุสสลามไว้อย่างน่าค้นหา
จากหนังสือ ฮิกายัตปาตานี ระบุว่า ตอนที่พวกปาเล็มบัง มาโจมตีปาตานีทั้งสองครั้งนั้น พวกปาเล็มบังไม่สามารถเข้าประชิดกำแพงเมืองได้เลย เพราะบนกำแพงเมืองปาตานีมีปืนใหญ่วางเรียงรายเป็นแถว ห่างกันกระบอกละ 1 วาเท่านั้น
“ตอนที่ฝรั่งชนชาติฮอลันดามาถึงปาตานีใหม่ๆนั้น บางคนได้รายงานเปรียบเทียบวังปาตานีกับวังเมืองอัมสเตอร์ดัมในฮอลันดาว่า วังของเมืองปาตานียาวกว่าวังของเมืองอัมสเตอร์ดัม แต่ในด้านกว้าง วังอัมสเตอร์ดัมกว้างกว่าวังเมืองปาตานี ส่วนปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้าประตูเมืองปาตานีนั้นใหญ่กว่าปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้าประตูวังที่อัมสเตอร์ดัม”
เพราะฉะนั้น หากปืนใหญ่ที่พบหน้าปากอ่าวปัตตานีไม่ใช่ปืนใหญ่มหาเลลา ก็อาจจะเป็นปืนใหญ่โดยทั่วไปที่วางเรียงรายเป็นแถวห่างกันกระบอกละ 1 วา หรืออาจจะเป็นแค่สินค้าส่งออกเท่านั้น
ในขณะที่บางตำนาน เล่าขานกันว่าปืนมหาเลลาสร้างไม่เสร็จบ้าง กระบอกปืนแตกบ้าง หรือเป็นปืนที่โดนสาปบ้าง
แต่ถึงกระนั้น ตำนานปืนใหญ่ไม่ว่าจะถูกจารึกบันทึกขีดเขียนแตกต่างกันมากน้อยตามความเข้าใจอย่างไรนั้น ยังไม่สำคัญเท่าประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานีที่มี เรื่องราวของราชินีผู้ยิ่งใหญ่ และสัมพันธภาพระหว่างปัตตานีกับสยาม
ซึ่งไม่ว่าปืนที่ขุดพบคือมหาเลลาหรือไม่ ที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นใด คือปืนใหญ่ได้กลับมาแล้ว 1 กระบอก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1
Draco
04/07/2016 00:18:00
424
ประวัติศาสตร์ที่มารวมเป็นชาติไทย อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่าผมรู้น้อยมาก เราไม่ค่อยได้รับรู้กันเลยถึงส่วนอื่นๆนอกจากอยุธยากับธนบุรี
ประวัติศาสตร์ที่มารวมเป็นชาติไทย อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่าผมรู้น้อยมาก เราไม่ค่อยได้รับรู้กันเลยถึงส่วนอื่นๆนอกจากอยุธยากับธนบุรี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2
history
04/07/2016 00:45:15
ถ้าเราไม่อคติ และยอมรับ เปิดใจ เรียนประวัติศาสตร์ไทย นอกเหนือจากการบันทึกประวัติศาสตร์ ของ "ผู้ชนะ" เราจะรู้อะไรหลายอย่าง
ผมทำงานเกี่ยวกับภาควิชาประวัติศาสตร์ไทย ระดับชั้น ป.โท ศึกษา พงศาวดาร พม่า รัฐปัตตานี ลาว กัมพูชา
ทำให้รู้ว่า
1.ประเทศไทย แท้จริงไม่ใช่ สุโขทัย> อยุธยา >รัตนโกสินทร์ (โดยเฉพาะช่วงเวลาสุโชทัยมาถึงอยุธยา)
2.ไทยไม่ได้รักสงบมาแต่โบราณ
3.เพื่อนบ้านไม่ได้รักเราอย่างที่เขาสอนกันมา
4.เราขโมยอะไรมาเยอะจากเพื่อนบ้าน
และอีกมากมายจริงๆ ซึ่งน่าเสียดาย เพราะคงไม่ได้เผยแพร่ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ ในระดับอุดมศึกษา ของไทย ด้วยเหตุผล ทางการปกครองของบ้านเรา ที่หลายๆคนน่าจะรู้เบื้องลึกกัน
ว่า ทำไม เหตุใด และ เพราะอะไร
ประเทศใดจะพัฒนาได้ต้องรู้ว่าตนเคยเลวร้าย หรือทำอะไรมาผิดพลาดมาบ้าง และเรียนรู้จากมัน แก้ไข ไม่ใช่หมกไว้ใต้พรม
ถ้าเราไม่อคติ และยอมรับ เปิดใจ เรียนประวัติศาสตร์ไทย นอกเหนือจากการบันทึกประวัติศาสตร์ ของ "ผู้ชนะ" เราจะรู้อะไรหลายอย่าง
ผมทำงานเกี่ยวกับภาควิชาประวัติศาสตร์ไทย ระดับชั้น ป.โท ศึกษา พงศาวดาร พม่า รัฐปัตตานี ลาว กัมพูชา
ทำให้รู้ว่า
1.ประเทศไทย แท้จริงไม่ใช่ สุโขทัย> อยุธยา >รัตนโกสินทร์ (โดยเฉพาะช่วงเวลาสุโชทัยมาถึงอยุธยา)
2.ไทยไม่ได้รักสงบมาแต่โบราณ
3.เพื่อนบ้านไม่ได้รักเราอย่างที่เขาสอนกันมา
4.เราขโมยอะไรมาเยอะจากเพื่อนบ้าน
และอีกมากมายจริงๆ ซึ่งน่าเสียดาย เพราะคงไม่ได้เผยแพร่ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ ในระดับอุดมศึกษา ของไทย ด้วยเหตุผล ทางการปกครองของบ้านเรา ที่หลายๆคนน่าจะรู้เบื้องลึกกัน
ว่า ทำไม เหตุใด และ เพราะอะไร
ประเทศใดจะพัฒนาได้ต้องรู้ว่าตนเคยเลวร้าย หรือทำอะไรมาผิดพลาดมาบ้าง และเรียนรู้จากมัน แก้ไข ไม่ใช่หมกไว้ใต้พรม
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3
nan79
04/07/2016 11:32:48
2
อย่าเอาอะไรมากกะการรับรู้ประวัติศาสตร์ไทย อย่างคุณหญิงโมเนี่ยก็เคยมีเคสมาแล้ว แล้วก็ตัวบุคคลหลายคนเหมือนกันที่พิสูจน์กันแล้วหาหลักฐานตัวตนไม่ได้ แต่ดันมีคนทรง ประเทศเราไม่ได้เรียนรู้กันด้วยข้อเท็จจริง แต่เรียนรู้กันด้วยความเชื่อ
อย่าเอาอะไรมากกะการรับรู้ประวัติศาสตร์ไทย อย่างคุณหญิงโมเนี่ยก็เคยมีเคสมาแล้ว แล้วก็ตัวบุคคลหลายคนเหมือนกันที่พิสูจน์กันแล้วหาหลักฐานตัวตนไม่ได้ แต่ดันมีคนทรง ประเทศเราไม่ได้เรียนรู้กันด้วยข้อเท็จจริง แต่เรียนรู้กันด้วยความเชื่อ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4
เหน่งบา
04/07/2016 12:09:50
1,866
ผมไม่หวังไกลขนาดประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศหรอกครับ คุณhistory
เอาแค่ประวัติศาสตร์ของเราไม่กี่สิบปีก่อนก็ยังโดนปกปิดบิดเบือนเลยครับ
ถ้าเราเรียนรู้บางอย่างแม้เพียงเล็กน้อยจากประวัติศาสตร์ให้รู้จักตัวเอง รู้จักคนรอบข้างเพื่อดำเนินชีวิตให้เป็นไปได้ดีขึ้น ก็น่าจะเป้นเรื่องที่ดีครับ
ถึงที่เอามาลงกระทู้ก็เป็นแค่สีสันของประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งเล่าสู่กันฟังสนุกๆเท่านั้นครับไม่ได้คิดอะไรมาก(คิดดูสิครับ นครรัฐที่ก่อร่างสร้างตัว ผ่านการเปลี่ยนแปลงหลากหลาย แล
ะมี "กษัตริยา"...คือ ผู้ครองแผ่นดินที่เป็น"สตรี"ในยุคสมัยโบราณ(ซึ่งสถานภาพของผู้หญิงย่อมด้อยกว่าผู้ชาย) ติดต่อกันถึงสี่พระองค์(เรียกว่ายุคสี่ราชินี) ท่ามกลางการต่อสู้แก่งแย่งที่มีการใช้กำลังรบกันตรงๆของยุคสมัยโน้น แค่นึกตามก็น่าตื่นเต้นแล้วครับ)
ส่วนหนึ่งคือ เห็นอาจารย์Ahuraเล่าเรื่อง Layla ได้อย่างพิจิตรพันลึก ผมเองไม่มีอะไรแบบนั้น และไม่มีฝีมือจะบรรยายได้อย่างอาจารย์ เลยตัดแปะเอามหาเลลามาสู้ครับ 555
(ที่จริงมีเกร็ดหลังบันทึกอีกนิดกับมหาเลลา แต่...เล่าไม่ได้ครับ ถ้าเป็นเรื่องก็เรื่องใหญ่แน่ ใครอยากรู้แจ้งซองเหลืองมาละกันครับ ^ ^)
หมายเหตุ ข้อความตอนต้นกระทู้ ย่อหน้าที่ ๖ จากล่างขึ้นมา พวก ปาเลมบัง ที่ว่า คือ อินโดนีเซียในสมัยโน้นนะครับ
ผมไม่หวังไกลขนาดประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศหรอกครับ คุณhistory
เอาแค่ประวัติศาสตร์ของเราไม่กี่สิบปีก่อนก็ยังโดนปกปิดบิดเบือนเลยครับ
ถ้าเราเรียนรู้บางอย่างแม้เพียงเล็กน้อยจากประวัติศาสตร์ให้รู้จักตัวเอง รู้จักคนรอบข้างเพื่อดำเนินชีวิตให้เป็นไปได้ดีขึ้น ก็น่าจะเป้นเรื่องที่ดีครับ
ถึงที่เอามาลงกระทู้ก็เป็นแค่สีสันของประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งเล่าสู่กันฟังสนุกๆเท่านั้นครับไม่ได้คิดอะไรมาก(คิดดูสิครับ นครรัฐที่ก่อร่างสร้างตัว ผ่านการเปลี่ยนแปลงหลากหลาย แล
ะมี "กษัตริยา"...คือ ผู้ครองแผ่นดินที่เป็น"สตรี"ในยุคสมัยโบราณ(ซึ่งสถานภาพของผู้หญิงย่อมด้อยกว่าผู้ชาย) ติดต่อกันถึงสี่พระองค์(เรียกว่ายุคสี่ราชินี) ท่ามกลางการต่อสู้แก่งแย่งที่มีการใช้กำลังรบกันตรงๆของยุคสมัยโน้น แค่นึกตามก็น่าตื่นเต้นแล้วครับ)
ส่วนหนึ่งคือ เห็นอาจารย์Ahuraเล่าเรื่อง Layla ได้อย่างพิจิตรพันลึก ผมเองไม่มีอะไรแบบนั้น และไม่มีฝีมือจะบรรยายได้อย่างอาจารย์ เลยตัดแปะเอามหาเลลามาสู้ครับ 555
(ที่จริงมีเกร็ดหลังบันทึกอีกนิดกับมหาเลลา แต่...เล่าไม่ได้ครับ ถ้าเป็นเรื่องก็เรื่องใหญ่แน่ ใครอยากรู้แจ้งซองเหลืองมาละกันครับ ^ ^)
หมายเหตุ ข้อความตอนต้นกระทู้ ย่อหน้าที่ ๖ จากล่างขึ้นมา พวก ปาเลมบัง ที่ว่า คือ อินโดนีเซียในสมัยโน้นนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5
Ahura
04/07/2016 14:02:02
1,663
มหาเลลาที่เรือธงตอนนี้ของหมดชั่วคราวนะครับ 555
มหาเลลาที่เรือธงตอนนี้ของหมดชั่วคราวนะครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6
gb.jg
04/07/2016 15:30:20
ไม่ใช่อย่างนั้นครับคุณพี่เหน่งบา
ผมเห็นพี่สนใจเลยอยากให้ศึกษาต่อเพิ่มเติม
เพราะมันมีผลสืบเนื่องถึงระบบการเมืองที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
เพราะสิ่งเหล่านี้แหละครับ ที่ชนชั้นปกครองของไทยพยายามรักษาปดปิดมันมาตลอด เป็นร้อยๆปีสืบจากอยุธยามาถึงปัจจุบัน ไม่เช่นนั้นก็จะทำให้คนเข้าใจผิดๆ เหมือนสมัยที่คนบอกกันว่า "ปรีดีย์ (พนมยงค์) ฆ่า...." ซึ่งทุกวันนี้ยังมีคนเชื่อแบบนี้อยู่เลย
ไม่ใช่อย่างนั้นครับคุณพี่เหน่งบา
ผมเห็นพี่สนใจเลยอยากให้ศึกษาต่อเพิ่มเติม
เพราะมันมีผลสืบเนื่องถึงระบบการเมืองที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
เพราะสิ่งเหล่านี้แหละครับ ที่ชนชั้นปกครองของไทยพยายามรักษาปดปิดมันมาตลอด เป็นร้อยๆปีสืบจากอยุธยามาถึงปัจจุบัน ไม่เช่นนั้นก็จะทำให้คนเข้าใจผิดๆ เหมือนสมัยที่คนบอกกันว่า "ปรีดีย์ (พนมยงค์) ฆ่า...." ซึ่งทุกวันนี้ยังมีคนเชื่อแบบนี้อยู่เลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7
เหน่งบา
04/07/2016 16:42:31
1,866
เกรงจะสร้างความผิดหวังให้คุณ history ครับ
ผมไม่ได้มีความสนใจใฝ่รู้ ไม่ได้มีข้อมูลความรู้อย่างที่คุณว่าหรอกครับ
รู้โน่นนิดนี่หน่อยพออ่านนิยายสนุกเท่านั้นแหละครับ = =*
ไม่ใช่นักวิชาการหรือแม้แต่นักศึกษาด้วยซ้ำ
เกรงจะสร้างความผิดหวังให้คุณ history ครับ
ผมไม่ได้มีความสนใจใฝ่รู้ ไม่ได้มีข้อมูลความรู้อย่างที่คุณว่าหรอกครับ
รู้โน่นนิดนี่หน่อยพออ่านนิยายสนุกเท่านั้นแหละครับ = =*
ไม่ใช่นักวิชาการหรือแม้แต่นักศึกษาด้วยซ้ำ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ตอบกระทู้ :
"เหน่งบาตัดแปะ....มหาเลลา"
รายละเอียด :
ชื่อ :
รหัสความปลอดภัย :
ตกลง
ตั้งค่าใหม่
แจกหูพิเศษ :
แจ้งลบกระทู้ / ข้อความ
สาเหตุ :
โพสที่แจ้งลบ
แจ้งโดย
เหตุที่แจ้ง
สถานะ