Toggle Dropdown
ค้นหา
ค้นหาชื่อสินค้า
ค้าหารีวิวและบทความ
ค้นหาโปรโมชั่น
ค้นหาฟีดข่าว
ค้นหาไฮไลท์
TH
EN
หน้าแรก
สินค้า
เว็บบอร์ด
เกี่ยวกับเรา
สาขา
วิธีชำระเงิน
ติดต่อเรา
Guest
อีเมล์ / ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
หรือ
ค้นหาโดย Google
ค้นหาทุกคำ
ค้นหาชื่อกระทู้
ค้นหาชื่อผู้ตั้งกระทู้
เว็บบอร์ดจับฉ่าย
หูฟังมือสอง
ซื้อขายจิปาถะ
รีวิวและบทความ
กระทู้เฮีย
คลับ
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย
ช่องทางการติดต่ออื่น
All
5
10
15
เหน่งบาตัดแปะ....พระเจดีย์ยุทธหัตถีที่พนมทวน เมืองกาญจน์
Shared
ติดตามกระทู้นี้
แจ้งลบ
เหน่งบา
10/05/2016 00:38:25
1,866
ไป-กลับกาญจน์ ผ่านพนมทวนหลายครั้งหลายครา คราวนี้ได้เข้าไปถวายสักการะพระเจดีย์ยุทธหัตถีและพระบรมราชานุสาวรีย์ที่นี่เสียที ...ครั้งหนึ่งในชีวิต ^ ^ ในวันเสาร์ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1
เหน่งบา
10/05/2016 00:45:42
1,866
ดูรูปทรง ก็น่าจะใช่ครับ เพราะเป็นรูปทรงเจดีย์อยุธยาตอนกลางสอดคล้องกับหลักฐานอย่างอื่น รวมถึงตำแหน่งที่ตั้ง คือ เป็นเส้นทางที่พม่าจะยกมาด้านด่านเจดีย์สามองค์ (ไม่น่าใช่หนองสาหร่าย ซึ่งอยู่นอกเส้นทางเดินทัพที่เคยปะทะกันตลอดมา)
จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีขององค์พระนเรศเจ้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ไม่ใช่ไปรอรับศึกอยู่ในเมืองรอให้แม่พระคงคามาช่วยจัดการศึกในหน้าฝนอย่างแต่ก่อน แต่หลายครั้งจะยกทัพไปยันข้าศึกตั้งแต่ต้นทาง และใช้การรบแบบเคลื่อนที่เร็ว รวมถึงกระทั่งยุทธวิธีแบบจรยุทธ์(สงครามกองโจร)ใช้น้อยตีมาก...ตีฉาบแล้วถอยเร็ว
ดูรูปทรง ก็น่าจะใช่ครับ เพราะเป็นรูปทรงเจดีย์อยุธยาตอนกลางสอดคล้องกับหลักฐานอย่างอื่น รวมถึงตำแหน่งที่ตั้ง คือ เป็นเส้นทางที่พม่าจะยกมาด้านด่านเจดีย์สามองค์ (ไม่น่าใช่หนองสาหร่าย ซึ่งอยู่นอกเส้นทางเดินทัพที่เคยปะทะกันตลอดมา)
จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีขององค์พระนเรศเจ้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ไม่ใช่ไปรอรับศึกอยู่ในเมืองรอให้แม่พระคงคามาช่วยจัดการศึกในหน้าฝนอย่างแต่ก่อน แต่หลายครั้งจะยกทัพไปยันข้าศึกตั้งแต่ต้นทาง และใช้การรบแบบเคลื่อนที่เร็ว รวมถึงกระทั่งยุทธวิธีแบบจรยุทธ์(สงครามกองโจร)ใช้น้อยตีมาก...ตีฉาบแล้วถอยเร็ว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2
เหน่งบา
10/05/2016 00:49:13
1,866
ตัดแปะข้อมูลจากวิกิพีเดียครับ สำหรับเนื้อหาข้อมูลที่รวบรวมได้ครบสมบูรณ์ ในการแสดงเหตุผลว่านี่น่าจะเป็นพระเจดีย์ยุทธหัตถีที่แท้จริง
เจดีย์ยุทธหัตถี ตั้งอยู่ที่บ้านดอนเจดีย์ หมู่ที่ 2 ตำบล ดอนเจดีย์ อำเภอ พนมทวน จังหวัด กาญจนบุรี ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นเจดีย์ยุทธหัตถี ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา กษัตริย์แห่งพม่า ภายในมี อาคารนิทรรศการสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งจัดแสดงประวัติและแผนที่ ที่เกี่ยวกับการรบในครั้งนั้น องค์เจดีย์เป็นศิลปะแบบอยุธยา เป็นเจดีย์ทรงกลม ก่ออิฐฉาบปูน ส่วนยอดหักพังไปตามกาลเวลา จนปัจจุบันมีความสูงราว 3 เมตร เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่ในที่ดอน ล้อมรอบด้วยป่าละเมาะเป็นบริเวณกว้าง มีแม่น้ำทวนไหลผ่านในบริเวณ ปัจจุบันสร้างเป็นรูปวงเวียน มีถนนภายในแบ่งเป็น 8 ด้าน มีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรขณะกำลังประทับบนหลังช้างศึกอยู่ด้านหน้าองค์เจดีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
หลักฐาน 10 ประการที่สรุปว่าเป็นเจดีย์ยุทธหัตถีองค์จริง
๑.ในพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถี และ บริเวณใกล้เคียง ชาวบ้านพบ กระดูกช้าง กระดูกม้า กรามช้าง กะโหลกช้าง และกระดูกคน มากมาย ซึ่งแสดงว่า สถานที่แห่งนี้ จะด้องเป็นสถานที่กระทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่ หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วคงไม่มีกระดูกมากมายเช่นนี้
๒.ชาวบ้านดอนเจดีย์ พบ เครื่องศาสตรวุธ เครื่องม้า เครื่องช้าง ซึ่งประกอบด้วย หอก ดาบ ยอดฉัตรโกลนม้า ขอสับช้าง โซ่ล่ามช้าง แป้นครุฑจับนาค ปัจจุบันสิ่งของเหล่านี้แสดงไว้ที่ ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
๓.ชาวบ้านดอนเจีย์ส่วนใหญ่ ใช้นามสกุล คชายุทธ มาลาพงษ์ และ ดอนเจดีย์ นามสกุลเหล่านี้มีความหมายเกี่ยวข้องกับองค์เจดีย์แห่งนี้ และการตั้งนามสกุลได้ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มในการค้นหาเจดีย์ยุทธหัตถี
๔.ชื่อตำบล ตะพังตรุ หนองสาหร่าย ที่ระบุใน พระราชพงศาวดารเป็นสถานที่ ที่มีอยู่ใน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งแต่เดิมขึ้นอยู่กับแขวง เมืองสุพรรณบุรี ต่อมาภายหลังได้มีการแบ่งเขตการปกครอง โดย อำเภอพนมทวน มาขึ้นอยู่กับ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อสมัยรัชกาลที่ 3
๕.เส้นทางการเดินทัพของ พม่า-ไทย โดยทัพ พม่า จะข้ามมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านทุ่งลาดหญ้า ผ่านเขาชนไก่ผ่านเมืองกาญจนบุรีเก่า ผ่านปากแพรก ผ่านบ้านทวน ผ่านอู่ทอง สุพรรณบุรี ผ่านป่าโมก เข้า อยุธยา จะเห็นได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตองค์นี้ตั้งอยู่ในเส้นทางการเดินทัพ คือ ที่อำเภอ พนมทวน
๖.เจดีย์ยุทธหัตถีองค์นี้ มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์วัดช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เจดีย์องค์นี่น่าจะสร้างในสมัย อยุธยา
๗.ในพงศาวดาร ได้กล่าวไว้ว่าช้างศีกได้กลิ่นน้ำมันคชสารก็ ตกมัน ตลบปะปนกันเป็นอลหม่านพลพม่ารามัญ ก็โทรมยิงธนู หน้าไม้ ปืนไฟระดมเอาพระคชสารสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวทั้งสองพระองค์ และ ธุมาการตลบมืด เป็นหมอกมัวไป แสดงว่าที่ทรงกระทำยุทธหัตถีพื้นที่จะด้องเป็น ดินปนทราย จึงมีฝุ่นคลุ้งไปทั่ว จากพงศาวดารที่กล่าวมาทำให้สอดคล้องกับพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถีแห่งนี้ เนื่องจากบริเวณรอบองค์เจดีย์ เป็นที่ดอน และดินปนทราย ซึ่งมีหลักฐานประจักษ์คือ หมู่บ้านที่ติดกับองค์พระเจดีย์ ชื่อว่า หมู่บ้านหลุมทราย แสดงว่าพื้นทีแถบนั้นต้องมีทรายมาก
๘.ที่ดอนเจดีย์แห่งนี้มีต้นข่อย ขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นข่อยที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อยู่ห่างจากเจดีย์ประมาณ 100 เมตร ดังพระราชพงศาวดาร กล่าวไว้ว่าครั้งเหลือบไป ฝ่ายทิศขวาของพระหัตถ์ ก็เห็นช้างเศวตฉัตรหนึ่งยืนอยู่ ณ ฉายาข่อย มีเครื่องสูงและทหารหน้าช้างมากก็เข้าพระทัยถนัดว่า ช้างมหาอุปราชา พระเจ้าอยู่หัวทั้งสอง ก็ขับพระคชสารตรงเข้าไป ทหารหน้าข้าศึกก็วางปืนจ่ารงคมณฑกนกสับตระแบงแก้ว ระดมยิง มิได้ต้องพระองค์และคชสาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า ”พรเจ้าพี่ เราจะยืนอยู่ในร่มเล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็น เกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิดภายหน้าไป ไม่มีกษัตริย์ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว” พระมหาอุปราชา ได้ฟังดังนั้นแล้วละอายพระทัย มีขัตติยราชมานะก็ป้ายพระคชสารออกรบ
๙.เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฟันพระมหาอุปราชา ขาดคาคอช้างแล้ว ทัพไทยได้ไปทันพอดี จึงไล่ฆ่าฟันทหารพม่าอย่างหนัก จาก ตะพังตรุ ถึง กาญจนบุรี คาดว่า ทหารไทยฆ่าทหารพม่า ประมาณ 20,000 คนจับช้างใหญ่สูง 6 ศอก ได้ 300 เชือก ช้างพลายพัง 500 เชือก ม้าอีก 2,000 เศษจะเห็นได้ว่า จากเจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์ไปกาญจนบุรี มีระระทางประมาณ 20กิโลเมตรจึงเป็นไปได้ที่ทหารไทยจะไล่ฆ่าฟันทหารพม่าในวันเดียวถึงเมืองกาญจนบุรีซึ่งระยะทางห่างกันไม่มากนัก
๑๐.ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ วันวลิต ได้กล่าวไว้ว่า ในการกระทำยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาได้ กระทำใกล้กับวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งจะตรงกับสภาพพื้นที่เจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์แห่งนี้ยังมีวัดร้าง อยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันคือ วัดบ้านน้อย และยังมีเจดีย์ โบสถ์เก่าแก่ให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้จากหลักฐานดังที่ได้กล่าวอ้างมานี้ น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตถีบ้านดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นเจดีย์องค์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาเมื่อปี พ.ศ. 2135
ตัดแปะข้อมูลจากวิกิพีเดียครับ สำหรับเนื้อหาข้อมูลที่รวบรวมได้ครบสมบูรณ์ ในการแสดงเหตุผลว่านี่น่าจะเป็นพระเจดีย์ยุทธหัตถีที่แท้จริง
เจดีย์ยุทธหัตถี ตั้งอยู่ที่บ้านดอนเจดีย์ หมู่ที่ 2 ตำบล ดอนเจดีย์ อำเภอ พนมทวน จังหวัด กาญจนบุรี ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นเจดีย์ยุทธหัตถี ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา กษัตริย์แห่งพม่า ภายในมี อาคารนิทรรศการสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งจัดแสดงประวัติและแผนที่ ที่เกี่ยวกับการรบในครั้งนั้น องค์เจดีย์เป็นศิลปะแบบอยุธยา เป็นเจดีย์ทรงกลม ก่ออิฐฉาบปูน ส่วนยอดหักพังไปตามกาลเวลา จนปัจจุบันมีความสูงราว 3 เมตร เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่ในที่ดอน ล้อมรอบด้วยป่าละเมาะเป็นบริเวณกว้าง มีแม่น้ำทวนไหลผ่านในบริเวณ ปัจจุบันสร้างเป็นรูปวงเวียน มีถนนภายในแบ่งเป็น 8 ด้าน มีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรขณะกำลังประทับบนหลังช้างศึกอยู่ด้านหน้าองค์เจดีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
หลักฐาน 10 ประการที่สรุปว่าเป็นเจดีย์ยุทธหัตถีองค์จริง
๑.ในพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถี และ บริเวณใกล้เคียง ชาวบ้านพบ กระดูกช้าง กระดูกม้า กรามช้าง กะโหลกช้าง และกระดูกคน มากมาย ซึ่งแสดงว่า สถานที่แห่งนี้ จะด้องเป็นสถานที่กระทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่ หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วคงไม่มีกระดูกมากมายเช่นนี้
๒.ชาวบ้านดอนเจดีย์ พบ เครื่องศาสตรวุธ เครื่องม้า เครื่องช้าง ซึ่งประกอบด้วย หอก ดาบ ยอดฉัตรโกลนม้า ขอสับช้าง โซ่ล่ามช้าง แป้นครุฑจับนาค ปัจจุบันสิ่งของเหล่านี้แสดงไว้ที่ ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
๓.ชาวบ้านดอนเจีย์ส่วนใหญ่ ใช้นามสกุล คชายุทธ มาลาพงษ์ และ ดอนเจดีย์ นามสกุลเหล่านี้มีความหมายเกี่ยวข้องกับองค์เจดีย์แห่งนี้ และการตั้งนามสกุลได้ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มในการค้นหาเจดีย์ยุทธหัตถี
๔.ชื่อตำบล ตะพังตรุ หนองสาหร่าย ที่ระบุใน พระราชพงศาวดารเป็นสถานที่ ที่มีอยู่ใน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งแต่เดิมขึ้นอยู่กับแขวง เมืองสุพรรณบุรี ต่อมาภายหลังได้มีการแบ่งเขตการปกครอง โดย อำเภอพนมทวน มาขึ้นอยู่กับ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อสมัยรัชกาลที่ 3
๕.เส้นทางการเดินทัพของ พม่า-ไทย โดยทัพ พม่า จะข้ามมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านทุ่งลาดหญ้า ผ่านเขาชนไก่ผ่านเมืองกาญจนบุรีเก่า ผ่านปากแพรก ผ่านบ้านทวน ผ่านอู่ทอง สุพรรณบุรี ผ่านป่าโมก เข้า อยุธยา จะเห็นได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตองค์นี้ตั้งอยู่ในเส้นทางการเดินทัพ คือ ที่อำเภอ พนมทวน
๖.เจดีย์ยุทธหัตถีองค์นี้ มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์วัดช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เจดีย์องค์นี่น่าจะสร้างในสมัย อยุธยา
๗.ในพงศาวดาร ได้กล่าวไว้ว่าช้างศีกได้กลิ่นน้ำมันคชสารก็ ตกมัน ตลบปะปนกันเป็นอลหม่านพลพม่ารามัญ ก็โทรมยิงธนู หน้าไม้ ปืนไฟระดมเอาพระคชสารสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวทั้งสองพระองค์ และ ธุมาการตลบมืด เป็นหมอกมัวไป แสดงว่าที่ทรงกระทำยุทธหัตถีพื้นที่จะด้องเป็น ดินปนทราย จึงมีฝุ่นคลุ้งไปทั่ว จากพงศาวดารที่กล่าวมาทำให้สอดคล้องกับพื้นที่บริเวณเจดีย์ยุทธหัตถีแห่งนี้ เนื่องจากบริเวณรอบองค์เจดีย์ เป็นที่ดอน และดินปนทราย ซึ่งมีหลักฐานประจักษ์คือ หมู่บ้านที่ติดกับองค์พระเจดีย์ ชื่อว่า หมู่บ้านหลุมทราย แสดงว่าพื้นทีแถบนั้นต้องมีทรายมาก
๘.ที่ดอนเจดีย์แห่งนี้มีต้นข่อย ขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นข่อยที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อยู่ห่างจากเจดีย์ประมาณ 100 เมตร ดังพระราชพงศาวดาร กล่าวไว้ว่าครั้งเหลือบไป ฝ่ายทิศขวาของพระหัตถ์ ก็เห็นช้างเศวตฉัตรหนึ่งยืนอยู่ ณ ฉายาข่อย มีเครื่องสูงและทหารหน้าช้างมากก็เข้าพระทัยถนัดว่า ช้างมหาอุปราชา พระเจ้าอยู่หัวทั้งสอง ก็ขับพระคชสารตรงเข้าไป ทหารหน้าข้าศึกก็วางปืนจ่ารงคมณฑกนกสับตระแบงแก้ว ระดมยิง มิได้ต้องพระองค์และคชสาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า ”พรเจ้าพี่ เราจะยืนอยู่ในร่มเล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็น เกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิดภายหน้าไป ไม่มีกษัตริย์ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว” พระมหาอุปราชา ได้ฟังดังนั้นแล้วละอายพระทัย มีขัตติยราชมานะก็ป้ายพระคชสารออกรบ
๙.เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฟันพระมหาอุปราชา ขาดคาคอช้างแล้ว ทัพไทยได้ไปทันพอดี จึงไล่ฆ่าฟันทหารพม่าอย่างหนัก จาก ตะพังตรุ ถึง กาญจนบุรี คาดว่า ทหารไทยฆ่าทหารพม่า ประมาณ 20,000 คนจับช้างใหญ่สูง 6 ศอก ได้ 300 เชือก ช้างพลายพัง 500 เชือก ม้าอีก 2,000 เศษจะเห็นได้ว่า จากเจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์ไปกาญจนบุรี มีระระทางประมาณ 20กิโลเมตรจึงเป็นไปได้ที่ทหารไทยจะไล่ฆ่าฟันทหารพม่าในวันเดียวถึงเมืองกาญจนบุรีซึ่งระยะทางห่างกันไม่มากนัก
๑๐.ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ วันวลิต ได้กล่าวไว้ว่า ในการกระทำยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาได้ กระทำใกล้กับวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งจะตรงกับสภาพพื้นที่เจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์แห่งนี้ยังมีวัดร้าง อยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันคือ วัดบ้านน้อย และยังมีเจดีย์ โบสถ์เก่าแก่ให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้จากหลักฐานดังที่ได้กล่าวอ้างมานี้ น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า เจดีย์ยุทธหัตถีบ้านดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นเจดีย์องค์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นหลังจากที่พระองค์ ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาเมื่อปี พ.ศ. 2135
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3
เหน่งบา
10/05/2016 00:49:37
1,866
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4
เหน่งบา
10/05/2016 00:49:51
1,866
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5
เหน่งบา
10/05/2016 00:50:13
1,866
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6
เหน่งบา
10/05/2016 00:55:51
1,866
เป็นการจบวันด้วยความปิติ และอิ่มอกอิ่มใจอย่างยิ่งครับ ที่ได้บรรลุความหวังเสียที
ที่จริง วันนั้นเดินทางไกลไปดูงานเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจด้วยความมึนหัวและหนักใจ แต่ปิดท้ายวันด้วยการไปที่พระเจดีย์กับพระบรมราชานุสาวรีย์นี่ก็ทำให้แช่มชื่นขึ้นบ้างครับ
มีเกร็ดข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับช่วงแรกๆที่ค้นพบพระเจดีย์นี้ ตัดแปะมาจากเว็บผู้จัดการครับ
ในปี ๒๕๑๕ นสพ.รายวันลงข่าวกันเกรียวกราวว่า พบพระเจดีย์ยุทธหัตถีองค์จริงอยู่ที่พนมทวน กาญจนบุรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาและเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรพระเจดีย์และพระปรางค์ที่อยู่ห่างไปราว ๒๐๐-๓๐๐ เมตรเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๑๕
ต่อมาวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาและเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ได้เสด็จมาแวะขณะกลับจากพระราชกรณียกิจที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
“หลังจากนั้น ตอนที่ในหลวงท่านมาประทับที่เขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนแม่กลองในปัจจุบัน) ท่านก็ขับรถมาด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครติดตามมาเลย”
มนูญ เสริมสุข ชายวัยราว ๔๐ คนพื้นที่ ซึ่งตอนนั้นมาเปิดซุ้มโคคาโคล่าขายเครื่องดื่มและไอศกรีมอยู่ข้างวงเวียนเจดีย์ ให้ข้อมูลกับผู้เขียนเมื่อปี ๒๕๔๒ และรายงานข่าวพิเศษที่ นสพ.ไม่ได้รายงานว่า
“ท่านมาจอดรถถามคนที่ทุ่งสมอว่า เจดีย์ยุทธหัตถีไปทางไหน เขาก็ชี้ทางให้ พอท่านไปแล้วไอ้คนที่ถูกถามก็มองตามไปอย่างงงๆ ว่าหน้าเหมือนพระเจ้าอยู่หัวในแบงก์(ธนบัตร) ท่านมาถึงก็เดินดูพระเจดีย์และคุยกับเด็กที่เลี้ยงควายอยู่แถวนั้น คุยกันซักพักพอไอ้หมอนั่นจำได้ว่าเป็นในหลวง ก็ทรุดลงนั่งพูดอะไรไม่ออกเลย ตอนนี้เด็กเลี้ยงควายนั่นเป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ที่นี่”
เป็นการจบวันด้วยความปิติ และอิ่มอกอิ่มใจอย่างยิ่งครับ ที่ได้บรรลุความหวังเสียที
ที่จริง วันนั้นเดินทางไกลไปดูงานเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจด้วยความมึนหัวและหนักใจ แต่ปิดท้ายวันด้วยการไปที่พระเจดีย์กับพระบรมราชานุสาวรีย์นี่ก็ทำให้แช่มชื่นขึ้นบ้างครับ
มีเกร็ดข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับช่วงแรกๆที่ค้นพบพระเจดีย์นี้ ตัดแปะมาจากเว็บผู้จัดการครับ
ในปี ๒๕๑๕ นสพ.รายวันลงข่าวกันเกรียวกราวว่า พบพระเจดีย์ยุทธหัตถีองค์จริงอยู่ที่พนมทวน กาญจนบุรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาและเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรพระเจดีย์และพระปรางค์ที่อยู่ห่างไปราว ๒๐๐-๓๐๐ เมตรเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๑๕
ต่อมาวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาและเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ได้เสด็จมาแวะขณะกลับจากพระราชกรณียกิจที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
“หลังจากนั้น ตอนที่ในหลวงท่านมาประทับที่เขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนแม่กลองในปัจจุบัน) ท่านก็ขับรถมาด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครติดตามมาเลย”
มนูญ เสริมสุข ชายวัยราว ๔๐ คนพื้นที่ ซึ่งตอนนั้นมาเปิดซุ้มโคคาโคล่าขายเครื่องดื่มและไอศกรีมอยู่ข้างวงเวียนเจดีย์ ให้ข้อมูลกับผู้เขียนเมื่อปี ๒๕๔๒ และรายงานข่าวพิเศษที่ นสพ.ไม่ได้รายงานว่า
“ท่านมาจอดรถถามคนที่ทุ่งสมอว่า เจดีย์ยุทธหัตถีไปทางไหน เขาก็ชี้ทางให้ พอท่านไปแล้วไอ้คนที่ถูกถามก็มองตามไปอย่างงงๆ ว่าหน้าเหมือนพระเจ้าอยู่หัวในแบงก์(ธนบัตร) ท่านมาถึงก็เดินดูพระเจดีย์และคุยกับเด็กที่เลี้ยงควายอยู่แถวนั้น คุยกันซักพักพอไอ้หมอนั่นจำได้ว่าเป็นในหลวง ก็ทรุดลงนั่งพูดอะไรไม่ออกเลย ตอนนี้เด็กเลี้ยงควายนั่นเป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ที่นี่”
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ตอบกระทู้ :
"เหน่งบาตัดแปะ....พระเจดีย์ยุทธหัตถีที่พนมทวน เมืองกาญจน์"
รายละเอียด :
ชื่อ :
รหัสความปลอดภัย :
ตกลง
ตั้งค่าใหม่
แจกหูพิเศษ :
แจ้งลบกระทู้ / ข้อความ
สาเหตุ :
โพสที่แจ้งลบ
แจ้งโดย
เหตุที่แจ้ง
สถานะ