Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

เรื่องเกี่ยวกับหูครับ...

Collagen

17/06/2009 18:49:15
4
ผมได้บทความมาชิ้นฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องกลไกการได้ยิน ของคนเราครับ คือหลายๆ ท่านได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องทั้ง Source (บรรดา Players ทั้งหลาย), หูฟัง แต่ไม่ค่อยมีเรื่องราวเกี่ยวกับ "หู" เลย ผมก็ขออนุญาตรบกวนพื้นที่ของเว็บมั่นคง บรรยายเกี่ยวกับการได้ยินนะครับ.... ถ้าหากว่าผมขาด ตก บกพร่องประการใด ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้เลยครับ แล้ว ขออนุญาตรบกวนคุณอาหมอทัตเทพ และท่านผู้รู้อื่นๆ ช่วยเสริมในจุดที่ผมขาดไปด้วยนะครับ

จากความรู้สามัญสำนึกของคนเราว่า เราให้หูในการรับฟังเสียงต่างๆ และจากความรู้ในตอนเรียนวิชา สปช. ในชั้นประถม ก็รู้ว่า หูคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน... ในตอนนี้ผมขอบรรยายถึงกลไกการได้ยินของคนเราครับ....

หูของคนเรามีขีดความสามารถในการรับรู้ถึงเสียง (หรือความสั่นสะเทือน) ที่ความถี่ 20 - 20,000 Hz และระดับความดังของเสียงที่ต่ำที่สุดที่สามารถรับฟังได้ในแต่ละความถี่เรียกว่า ขีดจำกัดของการได้ยิน (Threshold of hearing) ซึ่งขีดจำกัดนี้มีความแตกต่างไปในแต่ละบุคคล เมื่ออายุมากขึ้นคนเราก็จะสูญเสียความสามารถในการได้ยินเสียงที่ความถี่สูงๆ ซึ่งเรียกอาการนี้ว่า Presbyacusis ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

Collagen

17/06/2009 18:49:58
4
หน้าที่หลักๆ ของหูแต่ละส่วนมีดังนี้ครับ....
หูชั้นนอก (External ear) มีหน้าที่ดักจับคลื่นเสียงในบรรยากาศ
หูชั้นกลาง (Middle ear) มีหน้าที่ในการส่งคลื่นเสียง ในรูปของการสั่นสะเทือน (Vibration)
หูชั้นใน (Inner ear) มีหน้าที่แปลงสัญญาณคลื่นเสียงไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า (Electrical Impulse) และส่งสัญญาณไฟฟ้านี้ไปยังสมอง ผ่านทางเส้นประสาทการได้ยิน (Auditory nerve)

ส่วนประกอบของหู ในแต่ละส่วนมีดังนี้ครับ...
หูชั้นนอก
ประกอบด้วยใบหู (Auricle หรือ Pinna), รูหู (Ear canal หรือ External auditory meatus) และเยื้อแก้วหู (Eardrum หรือ Tympanic membrane)
- ใบหู เป็นส่วนที่มองเห็นมีหน้าที่ไว้ดักจับเสียงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ว่ามาจากทิศทางใด นอกจากนี้ ยังมีไว้เพื่อถูกดึง ในกรณีที่ ผบ. จับได้ว่าแอบเอาเงินไปเล่นหูฟัง โครงสร้างของใบหูเป็นกระดูกอ่อนที่มีความยืดหยุ่นสูง (Elastic cartilage) ดังนั้นจึงเหมาะกับการถูกดึง และสามารถคืนรูปได้
- รูหู มีความยามประมาณ 25 - 30 มม. มีเส้นผานศูนย์กลางที่ 6.35 มม. ในช่วง 8 - 10 มม. แรกถัดจากใบหูมีโครงสร้างเป็นกระดูกอ่อนปกคลุมด้วยผิวหนัง ซึ่งผิวหนังในส่วนนค้จะมีขนและต่อมที่ผลิตไข (หรือ Wax หรือ Cerumen หรือเรียกว่าขี้หู) โดยปกติแล้วหูในส่วนนี้สามารถทำความสะอาดได้เองโดยกลไกของร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องหาอะไรแหย่เข้าไปครับ... ในส่วนถัดจาก 8-10 มม. โครงสร้างของรูหูก็จะเปลี่ยนไปเป็นโครงสร้างของกระดูก (Bone) ปกคลุมด้วยผิวหนังโดยไม่มีขนหรือต่อมใดๆ
หน้าที่ของรูหูคือป้องกันเยื้อแก้วหูจากอันตรายต่างๆ ซึ่งการป้องกันนี้ก็มีผลต่อคลื่นเสียงที่เข้ามาด้วย... เนื่องจากท่อของรูหู เป็นท่อที่ปลายข้างหนึ่งเปิดและอีกข้างเป็นปลายปิด ดังนั้นรูปแบบการสั่นของคลื่นเสียงในรูหูจะมีลักษณะคล้ายกับท่อออร์แกนปลายเปิด ซึ่งความถี่เสียงในช่วง 2,000 - 4,000 Hz จะมีการสั่นพ้อง (Resonance) ทำให้ความดังของเสียงเพิ่ม ประมาณ 20dB
- เยื่อแก้วหู มีรูปร่างเป็นทรงกรวยบางๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 มม. ทำมุมเอียง 55 องศากับพื้นของรูหู ในกรณีที่เยื่อแก้วหูได้รับอันตราย (มีรูหรือว่าฉีกขาด) ส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการได้ยินลงถึง 5 - 50 dB อนึ่งการสั่นของเยื่อแก้วหูนั้น เป็นไปตามจังหวะการเปลี่ยนแปลงของคลื่นเสียงที่ผ่านรูหู และสัญญาณคลื่นเสียงนี้จะถูกส่งต่อไปยังหูชั้นกลางต่อไป
ความคิดเห็นที่ : 2

Collagen

17/06/2009 18:50:29
4
หูชั้นกลาง
ประกอบด้วยกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้นที่มีชื่อว่า Ossicles ซึ่งก็คือ กระดูกรูปค้อน (Hammer หรือ Malleus) ซึ่งติดกับเยื่อแก้วหู ถัดมาคือกระดูกรูปทั่ง (Anvil หรือ Incus) และกระดูกรูปโกลน (Stirrup หรือ Stapes) ซึ่งติดกับหน้าต่างรูปไข่ (Oval Window) ซึ่งอยู่ในส่วนของหูชั้นใน หูชั้นกลางมีลักษณะเป็นช่องว่างรูหกล่อง มีขนาดประมาณเล็บของนิ้วชี้

กระดูกทั้ง 3 ชิ้นนำการสั่นสะเทือนจากเยื่อแก้วหูไปยังหน้าต่างรูปไข่ ซึ่งการสั่นสะเทือนนี้จะถูกขยายให้เพิ่มขึ้นจากเดิมราว 25 เท่่า ขึ้นอยู่กับการตอบสนองเชิงกลของ Ossicles และความแตกต่างของพื้นที่ระหว่างเยื่อแก้วหูและหน้าต่างรูปไข่ โดยการขยายนี้มีไว้เพื่อชดเชยการสูญเสียพลังงานเสียงประมาณ 40 dB ในระหว่างการส่งสัญญาณใน cochlea ในการส่งผ่านพลังงานเสียงในส่วนนี้ ช่วงของคลื่นเสียงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือช่วงความถี่เสียงในช่วง 1,000 - 4,000 Hz ถ้าหากว่า Ossicles ได้รับความเสียหายหรือไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการได้ยินถึง 60 dB

กลุ่มกระดูก 3 ชิ้นถูกยึดด้วยเส้นเอ็น (Ligaments) และกล้ามเนื้อเล็กๆ 2 ชิ้น คือ Tensor tympani muscle ซึ่งยึดกระดูกรูปค้อน และ Stapedius muscle ซึ่งยึดกระดูกรูปโกลน โดยกลุ่มกล้ามเนื้อ มีความต้านทานในการส่งสัญญาณความถี่ที่ตำกว่า 2,000 Hz และความเข้มของเสียงก็ลดลงประมาณ 10 - 30 dB เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับหูชั้นใน แต่ว่ากลไกการป้องกันนี้ไม่สามารถป้องกันได้ในระยะยาวเมื่อต้องเผชิญกับเสียงดังบ่อยๆ นอกจากนี้การตอบสนองของกล้ามเนื้อใช้เวลา 25 millisecond

ท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับจมูก โดยมีหน้าที่ในการควบคุมระดับความดันอากาศระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลางให้มีค่าเท่ากัน โดยปกติท่อยูสเตเชียนจะปิดแต่ก็จะเปิดในบางกรณีเช่น หาวหรือว่ากลืนอาหารครับ
ความคิดเห็นที่ : 3

Collagen

17/06/2009 18:50:58
4
หูชั้นใน
เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการได้ยิน ซึ่งโครงสร้างสามารถถูกทำลายได้โดยเสียงที่ดังมากๆ หูชั้นในประกอบด้วย Vestibule, ช่องครึ่งวงกลม (Semi-circular canals) 3 ช่อง และ Cochlea ซึ่ง Vestibule เป็นส่วนที่ติดกับหน้าต่างรูปไข่ Semi-Circularr canals เป็นส่วนในการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย และ Cochlea เป็นอวัยวะรูปก้นหอย (Spiral) มีความยาวประมาณ 35 มม. รูปร่างคล้ายขดเป็นวง 2 รอบครึ่ง ซึ่งใน Cochlea สัญญาณเสียง (การสั่นสะเทือนทางกล ที่ถูกส่งมากจากหูชั้นกลางจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณสื่อประสาท (Nerve Impulses) ไปยังสมอง

Cochlea แบ่งได้เป็น 3 ห้อง (Chamber) ตามความยาว ซึ่งมีชื่อเรียกดังนี้
Scala Vestibuli ส่วนนี้มีหน้าต่างรูปไข่ที่ฐาน
Scala Tympani
Scala Media ประกอบด้วยโครงสร้างประสาทรับรู้การได้ยิน ที่เรียกว่า Organ of Corti
โดยแต่ละห้องมีเยื่อบางๆ (Membrane) กั้นเรียกว่า Basilar Membrane และ Reissner\'s Membrane

Organ of Corti ประกอบด้วยเซลล์รับรู้การได้ยิน (Sensory hearing cell) ซึ่งอยู่บน Basilar membrane ใน Scala media ซึ่งมีของเลวที่เรียกว่า Endolymph fluid อยู่ ในขณะที่ Scala vestibuli และ Scala tympani เชื่อมกันที่ยอดของ Cochlea ในช่องที่เรียกว่า helicotrema โดยใน 2 ห้องนี้มีของเลวที่เรียกว่า Perilymph fluid อยู่

ในส่วนของ Scala media จะมีความต่างศักย์มากกว่าอีก 2 ห้องอยู่ราว 80 mV ซึ่งความแตกต่างนี้มีความจำเป็นในการแก้ไขการทำงานของ Cochlea

Organ of Corti การสั่นสะเทือนของกระดูกรูปโกลนและหน้าต่างรูปไข่ จากนั้นสัญญาณเสียงจะถูกส่งผ่าน Perilymph fliud ใน scala vestibuli และ Scala tympani ซึ่งส่งผลให้หน้าต่างกลม (Round window) และ Basilar membrane เคลื่อนไหว โดยการเคื่อนไหวนี้จะขึ้นอยู่กับความดังของเสียงที่เข้ามา การเคลื่อนที่ของ Round window และ Basilar membrane จะถูกตรวจจับโดย Sensory hair cell ใน Organ of Corti ซึ่งเซลล์ขน (Hair cell) มีอยู่ประมาณ 30,000 เซลล์ เรียงตัวเป็น 4 แถว แบ่งเป็น 3 แถวของเซลล์ด้านนอก (Outer) และ อีก 1 แถวสำหรับเซลล์ด้านใน (Inner) โดยสิ่งที่แบ่งขอบเขตระหว่างภายในกับภายนอก คือเส้นประสาทการได้ยิน (Auditory nerve) ในกรณีที่ Hair cell ได้รับอันตราย เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังจนเกินไป ส่งผลให้เซลล์ขนด้านนอก ชินต่อการฟังเสีงและไม่สามรรถดักจับคลื่นเสียงที่เข้ามาได้ครับ

Auditory Nerve
เป็นเส้นประสาทที่นำสัญญาณจาก Hair cell ไปยังสมอง เพื่อแปลและวิเคราะห์สัญญาณที่เข้ามาว่าเป็นเสียงอะไร ครับผม….

ที่ผมพล่ามมาก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาครับ ส่วนรูปผมจะทยอยๆ ลงให้ครับ…
ความคิดเห็นที่ : 4

Collagen

17/06/2009 19:07:52
4



รูปที่ 1 ย่านความถี่เสียงที่หูของคนเราสามารถรับฟังได้
ความคิดเห็นที่ : 5

Collagen

17/06/2009 19:08:23
4



รูปที่ 2 โครงสร้างของหู
ความคิดเห็นที่ : 6

Collagen

17/06/2009 19:08:54
4



รูปที่ 3 โครงสร้างของหูชั้นนอก
ความคิดเห็นที่ : 7

Collagen

17/06/2009 19:09:57
4



รูปที่ 4 โครงงสร้างของหูชั้นกลาง
ความคิดเห็นที่ : 8

Collagen

17/06/2009 19:10:42
4



รูปที่ 5 โครงสร้างของหูชั้นใน
ความคิดเห็นที่ : 9

Collagen

17/06/2009 19:11:46
4



รูปที่ 6 Cochlea
ความคิดเห็นที่ : 10

Collagen

17/06/2009 19:13:54
4



รูปที่ 7 Organ of Corti
ความคิดเห็นที่ : 11

เบียส

17/06/2009 19:17:45
11
555 ห่างหายไป นานครับ สำหรับ กระทู้ดี มีสาระ ตามแบบฉบับ ของนาย Collagen 555 เอ้า ว่า กันต่อ เลยย ครับ สาระ ล้วน ล้วน .........อิ อิ อิ

ปล.

แผ่นได้รับ แล้ว ครับ แต่ยังไม่ได้ฟังเลย จ้า ขอบคุณ หลาย หลาย เด้อ .......อิ อิ อิ
ความคิดเห็นที่ : 12

เหมียวคุง

17/06/2009 19:26:31
0
หูเรา มหัศจรรย์กว่าหูฟังตัวใดๆในโลกเลยครับ...

ว่าแต่อินเอีย มันเลียนแบบแก้วหูเรารึปล่าวนะ เสียงดีจริงๆบางตัว...
ความคิดเห็นที่ : 13

Collagen

17/06/2009 19:26:45
4
ขอบคุณครบ พี่เบียส...
ในส่วนของแผ่น ผมรบกวนพี่เบียส ครับว่า แผ่นชุดนึงรบกวนฝากให้พี่ นพพงษ์ครับ แล้วก็อีกชุดให้กับคุณอาหมอทัตเทพครับ... ^ ^
ส่วนที่เขียนๆ เรื่องนี้มาก็ตั้งใจไว้ว่าจะเขียนนานแล้วครับ (แต่ไม่มีเวลา จนเวลาล่วงเลยมาถึงตอนนี้ ก็หวังว่าไม่ช้าจนเกินไปนะครับ) แล้วก็อีกเหตุผลนึงคือผมได้คุยๆ กับน้องนำแข็งครับว่าจะลองเขียนดูครับ

ขอขอบคุณมากๆ เลยครับ ^ ^
ความคิดเห็นที่ : 14

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

17/06/2009 20:01:15
0
สุดยอดครับ น้อง Collagen นี่เป็นการฟื้นฟูวิชาการให้ผมเลยนะนี่ บอกตรง ๆ ว่าบางอย่างผมก็ลืมเลือนไปแล้วครับ(ตามวัย...)
ความคิดเห็นที่ : 15

max 120 GB

17/06/2009 20:14:58
0
สุดยอดมากครับ
พี่เขาตั้งใจทำโครด
เมื่อวาน คุยอยุ่ครับ

ความรู้ล้วนๆครับ


ความคิดเห็นที่ : 16

นายมั่นคง

17/06/2009 20:26:37
0
เอ้า จัดไปเลยจ้า 555
ความคิดเห็นที่ : 17

Collagen

17/06/2009 20:53:13
4



แล้วผมก็ลืมครับ.... ขาดไปอีกรูป คือ รูปใบหูครับ...

ในส่วนของใบหู ช่วงคลื่นเสียงความถี่ที่ 8,000 - 10,000 Hz การรับรู้ช่วงคลื่นในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับรูปร่างของ Cavum, Cymba และ Crus helas ครับ ที่สามารถสะท้อนเสียงในย่านนั้น เข้าหูเราได้ครับ

ปล. เพื่อสุขภาพหูที่ดี อย่ายัดหูฟัง in ear ลึกเกินไปนะครับ... ^ ^
ความคิดเห็นที่ : 18

แพะ

17/06/2009 21:17:57
39
ตาคนนี้มาตั้งกระทู้ทีไร ยาวๆ ทุกที อิอิ สาระอีกแล้ว แบะๆ

ปล.เพลงเพื่อการปลงอย่าลืมนะจ๊ะ แบะๆ
ความคิดเห็นที่ : 19

Collagen

17/06/2009 23:06:50
4
เตรียมเพลงไว้ให้แล้วนะครับคุณแพะ... หลายแผ่นครับ ^ ^

แล้วก็ ฝากถึงเฮียเบียสครับ... ผมพล่ามเกี่ยวกับเพลง The Seasons ของ Haydn เสร็จแล้วนัครีบ อยู่ที่กระทู้เดิมครับผม... ^ ^
ความคิดเห็นที่ : 20

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

18/06/2009 07:57:45
0
เยี่ยมมากครับ เดี๋ยวมีรางวัลให้ ถ้ามาเมืองไทยแล้วมาหาผมนะ จะให้กล้วย...เอ้ย!..ที่แขวนกล้วย 1อัน
ความคิดเห็นที่ : 21

เบียส

18/06/2009 09:40:46
11
ได้ เลย ตครับ เรื่องแผ่น เดี๋ยวผมเก็บไว้ ให้ พี่ นพพงษ์ กะ อาหมอ เอง ครับ .........อิ อิ อิ
ความคิดเห็นที่ : 22

podchong

18/06/2009 15:11:38
0
เข้ามาดูดความรู้ครับ
อึก... สุดยอด
ความคิดเห็นที่ : 23

Collagen

19/06/2009 11:00:29
4
อา ขอบคุณครับคุณหมอ และทุกๆ ท่านที่ยอมสละเวลามาอ่านครับ... แล้วก็ขอขอบคุณเฮียเบียสเป็นอย่างมากครับ ที่ให้ความอนุเคราะห์ และให้ผมรบกวนอยู่เป็นประจำเลยครับ

ส่วนรางวัลผมเกรงใจครับคุณอาหมอ... แค่รับผมเป็นคนไข้ก็พอแล้วหละครับ (โรคเยอะครับ)

แล้วก็ ถ้าผมขาดตกบกพร่อง ประการใดก็ Comment มาได้ตามสบายเลยนะครับ...
ความคิดเห็นที่ : 24

Tanan

19/06/2009 14:27:16
0
wow ..... มันลึกซึ้งกว่าที่คิดเยอะเลย
ความคิดเห็นที่ : 25

jinchat

23/06/2009 21:45:38
0
อ่านแล้วไม่กล้าใช้ in ear เลย เพราะชอบเปิดเสียงดังๆ กลัวหูฟังก่อนเวลาอันควร
สงสัยจะใช้แต่ K420 แล้วหล่ะ
ความคิดเห็นที่ : 26

Jee

23/06/2009 22:59:47
สรปว่าใช้ in ear ไม่ดีหรือครับ
ความคิดเห็นที่ : 27

ซิลเวอร์

24/06/2009 08:31:24
0
กระทู้ดีมีสาระครับ
ความคิดเห็นที่ : 28

Tokiotorr

24/06/2009 08:52:57
2
วุธ นี่ เรียนหมอป่าวเนี่ย

รู้สึกเหมือนอ่านกระทู้พี่หมออยู่เลย ฮ่าๆๆ

ว่าแต่ report ไม่เยอะเหรอน้องชาย

ว่างๆออนคุยกันมั่งดีก่า เน๊อะ
ความคิดเห็นที่ : 29

Collagen

24/06/2009 20:25:25
4
ถึงพี่ต่อครับ.... ผมไม่ได้เรียนหมอครับ.. ผมเรียนด้านวิศวฯ ครับ... ^ ^

ส่วนเรื่องรายงานและ Assignment ช่วงนี้ยังไม่มีมาให้เป็นกังวลครับ เนื่องจากปิดเทอมแอยู่ครับ (แต่ก็จะเปิดประมาณ กลางๆ เดือนหน้าแล้วครับ)

ปกติผมก็ ออน M บ่อยแล้วครับ แต่ไม่ค่อยได้เจอพี่ต่อเลยครับ (สงสัยเวลาไม่ตรงกัน ^ ^)

แล้วก ขอขอบคุณท่านอื่นๆ ด้วยครับ ที่มา Comment ให้ครับ...
ความคิดเห็นที่ : 30

เด็ก ป.4

10/09/2009 18:51:57



ผู้อ่านหลายๆ ท่านคงเคยประสบกับปัญหา หูอื้อ หรือปวดหู เวลาที่เครื่องบินกำลังลดระดับเพดานบิน เพื่อลงจอด บางครั้งอาการเป็นรุนแรงมาก โดยเฉพาะเมื่อเราเป็นหวัดคัดจมูก จนต้องไปพบแพทย์ด้วยอาการหูอื้อ หลังจากการบินใช่ไหมครับ

วันนี้เราจะคุยกันถึงปัญหาเรื่องหูอื้อที่เกิดขึ้นว่ามี สาเหตุจากอะไรและควรจะป้องกันอย่างไรนะครับ ก่อนอื่นเรามาดูว่าลักษณะทางกายวิภาคของหูเรา ประกอบด้วยอะไรบ้างก่อนก็แล้วกัน

หู แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะทางกายวิภาค คือ
1. หูชั้นนอก ประกอบด้วย ใบหู รูหู จนถึงเยื่อแก้วหู
2. หูชั้นกลาง ประกอบด้วย เยื่อแก้วหู กระดูกค้อนทั่งโกลน และเส้นประสาทบางส่วน รวมไปถึงโพรงอากาศที่หูบริเวณดังกล่าว และท่อยูสเตเชี่ยน (Eustachian Tube) ซึ่งต่อระหว่างหูกับบริเวณหลังโพรงจมูก
3. หูชั้นใน ประกอบด้วย อวัยวะสำคัญที่เป็นระบบประสาท 2 ด้าน คือ cochlear และ Semicircular canal ซึ่งจะทำหน้าที่รับการได้ยินและการทรงตัวตามสำคัญ

ear11.jpg

เจ้าตัวปัญหามันก็เกิดจาก ท่อยูสเตเชี่ยน (Eustachian Tube) นี่แหล่ะครับ โดยที่หูชั้นกลางของเราจะสามารถปรับความดันให้เท่ากับบรรยากาศภายนอกร่างกาย ได้ โดยผ่านท่อยูสเตเชี่ยน ซึ่งเป็นท่อที่กล้ามเนื้อโดยรอบ ไอ้เจ้าท่อนี้ปกติจะปิด แต่มันจะเปิดเมื่อเราหาว กลืนน้ำลาย หรือขยับกราม

ทีนี้เวลาเรานั่งเครื่องบินขึ้นไป ความดันอากาศรอบๆ ตัวในห้องโดยสารก็จะลดลง ทำให้อากาศในหูชั้นกลางจะไหลผ่านท่อยูสเตเชี่ยนออกมาภายนอก

ear2.jpg

ทีนี้พอเครื่องบินลดเพดานบินลง ความดันบรรยากาศภายในห้องโดยสารจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ความดันในหูเป็นลบ เมื่อเทียบกับภายนอก ทำให้หูอื้อ

ear3.jpg

เราต้องพยายามเปิดท่อยูสเตเชี่ยน เพื่อให้ความดันในหูชั้นกลางเท่านกับภายนอก จึงจะหายหูอื้อ เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรก็ตามไปขัดขวางการเปิดของท่อยูสเตเชี่ยนก็จะทำให้เรา ไม่สามารถปรับสภาพของหูชั้นกลางได้ อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บและหูอื้อได้

คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงเรื่องที่ว่าอะไรเป็นปัจจัยทึ่ขัดขวางการเปิดของท่อยูสเตเชี่ยนและจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรนะครับ
ความคิดเห็นที่ : 31

เด็กน่ารัก

10/09/2009 18:56:39
ขอบคุณหลายๆเด้อ
ความคิดเห็นที่ : 32

เด็กน่ารัก

10/09/2009 18:59:33
0
ขอบคุณหลายๆเด้อ
ความคิดเห็นที่ : 33

คน

10/09/2009 19:01:42
0

หูเป็นอวัยวะที่ช่วยให้คนเราได้ยินเสียงต่างๆ และเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับการทรงตัวของร่างกายขณะร่างกายเคลื่อนไหว

ส่วนประกอบของหู

หูของคนเราแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
1.หูชั้นนอก ประกอบไปด้วย
1.1 ใบหู เป็นกระดูกอ่อนที่หุ้มด้วยผิวหนังบางๆ ทำหน้าที่ดักและรับเสียงเข้าสู่รูหู
1.2 รูหู เป็นท่อคดเคี้ยวเล็กน้อย ลึกประมาณ 2.5 ซม. ผนังของรูหูบุด้วยเยื่อบาง และใต้เยื่ออ่อนนี้เต็มไปด้วยต่อมน้ำมัน ทำหน้าที่ขับไขมันเหนียวและเหลว มาหล่อเลี้ยงรูหู ไขมันเหล่านี้เมื่อรวมกับสิ่งสกปรกต่างๆก็จะกลายเป็น ขี้หู ซึ่งจะช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทางรูหูไม่ให้เข้าถึงเยื่อแก้วหูได้ ง่าย
1.3 เยื่อแก้วหู เป็นเยื่อบางๆ อยู่ลึกเข้าไปในส่วนของรูหู กั้นอยู่ระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง ทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงที่เดินทางเข้ามาทางรูหู

2.หูชั้นกลาง อยู่ถัดจากเยื่อแก้วหู มีลักษณะเป็นโพรงอากาศบรรจุกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้นติดต่อกัน คือกระดูกค้อน อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลางจะมีท่อยูสเตเชี่ยน (Eustachian tube) ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องอากาศแคบๆ และยาวต่อไปถึงคอ ทำหน้าที่ปรับความกดอากาศ ข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เราไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือกลืนอาหาร


3.หูชั้นใน อยู่ถัดจากกระดูกโกลนเข้ามา หูชั้นนี้ประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
3.1 ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ที่ขดเป็นวงซ้อนกันอยู่หลายชั้นคล้ายหอยโข่ง ภายในมีท่อของเหลวบรรจุอยู่ ตามผนังด้านในของท่อมีอวัยวะรับเสียงอยู่ทั่วไป
3.2 ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว มีลักษณะเป็นรูปท่อโค้งครึ่งวงกลมเล็กๆ 3 วง วางเรียงติดต่อกันตั้งฉากกับผนังภายใน ปลายของครึ่งวงกลมทั้ง 3 นั้น อยู่ติดกัน ท่อครึ่งวงกลมทั้ง 3 นี้บุด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ที่มีประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวกระจายอยู่ ส่วนที่เป็น ส่วนที่เป็นช่องว่างภายในท่อครึ่งวงกลมนี้ บรรจุด้วยของเหลว เมื่อเราเคลื่อนไหว ศ๊รษะ หูย่อมเอนเอียงไปด้วย ของเหลวที่บรรจุภายในท่อทั้ง 3 นี้ ก็จะเคลื่อนที่ตามทิศทางการเอียงของศีรษะ ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวแล้วส่งความรู้สึกไป ยังสมองจึงทำให้เรา ทราบว่าร่างกายของเราทรงตัวอยู่ในลักษณะใด ของเหลวที่บรรจุในท่อครึ่งวงกลมนี้จะปรับไปตามความกดดันของอากาศ ถ้าความกดดันอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหันของเหลวปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้เรามี อาการวิงเวียน ศีรษะเมื่อขึ้นไปอยู่ที่สูงๆอย่างรวดเร็วเป็นต้น

การได้ยินเสียง

เสียง ที่เกิดขึ้นทุกชนิดมีลักษณะเป็นคลื่นเสียง ใบหูรับคลื่นเสียงเข้าสู่รูหูไปกระทบเยื่อแก้วหู เยื่อแก้วหูถ่ายทอดความสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงไปยังกระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ซึ่งอยู่ในหูชั้นกลางและเลย ไปยังท่อรูปครึ่งวงกลม แล้วต่อไปยังของเหลวในท่อรูปหอยโข่ง และประสาทรับเสียงในหูชั้นในตามลำดับ ประสาทรับเสียงถูกกระตุ้นแล้วส่งความรู้สึกไปสู่สมองเพื่อแปลความหมายของ เสียงที่ได้ยิน



โรคและความผิดปกติของหู


หู เป็นอวัยวะที่บอบบางและมีลักษณะเป็นช่องเปิดจากภายนอกเข้าไป จึงอาจทำให้เป็นโรคหรือเกิดอาการผิดปกติขึ้นในส่วนต่างๆของหูได้ง่าย โรคของหูที่พบได้บ่อยคือ หูน้ำหนวก แก้วหูทะลุ และเชื้อราในช่องหู
1.หูน้ำหนวก พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งมักจะเป็นหวัดบ่อยๆ
สาเหตุ โรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุจากน้ำเข้าหูตามที่เข้าใจกันแต่เกิดจากเป็นหวัด เรื้อรังแล้วมีเชื้อโรคเล็ดลอดจากบริเวณลำคอผ่านท่อยูสเตเชี่ยนเข้าสู่หู ชั้นกลาง โดยเฉพาะการสั่งน้ำมูกแรงๆ ก็ทำให้เชื้อเข้าสูหูชั้นกลางได้
อาการ หูอื้อ ฟังไม่ค่อยได้ยินและปวดหูมาก เนื่องจากเกิดการอักเสบในหูชั้นกลางแล้วมีหนองขังอยู่ภายใน ถ้าหนองดันทะลุผ่านเยื่อแก้วหูออกมา อาการปวดจึงจะทุเลาลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นหนองไหลออกมาจาก รูหูอยู่เรื่อยๆ กลายเป็นโรคหูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง ซึ่งอาจลุกลามเข้าสมอง เกิดฝีในสมองจนเสียชีวิตได้

การป้องกันและการรักษา
1. ควรป้องกันไม่ให้เป็นโรคหวัด และเมื่อเป็นหวัดก็ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ
2. หากมีอาการของโรคหูน้ำหนวกควรปรึกษาแพทย์
3. ในกรณีที่แพทย์รักษาจนหนองแห้งแล้ว ควรพยายามไม่ให้น้ำเข้าหู เพราะแก้วหูยังทะลุอยู่ ถ้าน้ำไม่สะอาดเข้าหูชั้นกลาง อาจทำให้เกิดการอีกเสบขึ้นไปอีก
4. ควรรับการผ่าตัดปะแก้วหูที่ทะลุให้เป็นปกติ

2. แก้วหูทะลุ
สาเหตุ เกิดจากการที่แรงอัดสูงๆ ในรูหู เช่น ถูกตบที่ข้างหูหรืออาจเกิดจากการใช้ของแข็ง เช่น กิ๊บติดผมแคะหู ซึ่งอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด
อาการ รู้สึกปวดหูในระยะแรก และทำให้หูข้างนั้นได้ยินเสียงไม่ชัดเจน หรือหูอื้อ
การป้องกันและการรักษา
1.ไม่ควรใช้ไม้หรือของแข็งอื่นๆ แคะหู
2.หากมีอาการปวดหู หูอื้อ ควรปรึกษาแพทย์
3. เชื้อราในช่องหู
สาเหตุ เกิดจากรูหูสกปรกและเปียกชื้น
อาการ คันมากในรูหู ทำให้อยากแคะหู ถ้าใช้วัตถุแข็งๆ เข้าไปปั่นหรือเกา จะทำให้เกิดการอักเสบลุกลามมากขึ้น
การป้องกันและการรักษา
1. ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู
2. ไม่ควรใช้กิ๊บ ไม้ หรือวัตถุอื่นใดแคะหรือเกาหู เพราะของดังกล่าวอาจสกปรกทำให้มีการติดเชื้อได้
การดูแลรักษาหู

หู เป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย เพื่อป้องกันมิให้หูได้รับอันตรายจากเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ควรปฏิบัติดังนี้
1. ไม่ควรแคะขี้หูด้วยวัตถุแข็ง เช่นไม้ หรือโลหะเพราะอาจเป็นอันตรายต่อหูได้ โดยแท้จริงแล้ว ขี้หูเป็นสิ่งที่ขับออกมาตามธรรมชาติ ซึ่งมีกลิ่นพิเศษที่ป้องกันไม่ให้แมลงเข้าหูได้ จึงไม่จำเป็นต้องแคะออก การทำความสะอาดหู ควรใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดๆ เช็ดบริเวณใบหูและรูหูเท่าที่นิ้วมือจะสอดเข้าไปได้ แต่หากมีขี้หูมากและแข็งจนทำให้การได้ยินไม่ชัดเจน ก็อาจใช้น้ำยากลีเซอรีนหยอดเข้าไปในรูหูวันละ 2 ครั้ง ก็จะทำให้ขี้หูนุ่มและละลายไหลมาเอง
2. เวลาเป็นหวัดไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เกิดแรงอัดดันให้เชื้อโรคเข้าสู่หูชั้นกลางได้
3. หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังเกินไป เช่นเสียงปืน เสียงพลุ หรือเสียงที่ดังตลอดเวลา เช่น เสียงเพลงจากหูฟัง เสียงเครื่องจักรทำงานในโรงงานต่างๆ เป็นต้น ถ้าจำเป็นจะต้องใช้สำลีหรือเศษผ้าอุดหูไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหูตึง
4.เมื่อมีแมลงเข้าหู อย่าพยายามแคะออก ควรใช้น้ำมันพืชหยอดลงในรูหู แล้วทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้แมลงตาย แล้วจึงเอียงหูให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับแมลงและใช้สำลีเช็ดให้แห้ง
5. ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู เช่นเด็กเล็กๆ ที่ชอบใส่เศษวัสดุลงในรูหู ไม่ควรเอาออกเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหู ควรไปพบแพทย์
6. ถ้ามีอาการผิดปกติของหู เช่น ปวดหู หูอื้อ ได้ยินไม่ชัดเจน ควรปรึกษา
พอไหมคะ
ความคิดเห็นที่ : 34

คนมันน่ารัก

10/09/2009 19:02:48
0



อยากแสดงมั่ง แค่นั้นเอง
ความคิดเห็นที่ : 35

TOON

10/09/2009 20:17:18
0
จากรูปที่ 1 Threshold of feeling
แสดงให้เห็นว่าช่วงเบสหรือความถี่ต่ำนั้น กว่าคนเราจะรู้สึกได้ (กราฟอยู่ใน boundary) ต้องเปิดดังกว่า (dB) มากกว่าย่านอื่น
ดังนั้นคนที่ฟังเพลงเบสมากๆ หูอาจพังได้

ถูกป่าว 5555 มั่ว

ผมเคยรู้สึกว่าย่านเบสมันทำลายหูกว่าย่านอื่นมานานแล้วแหละ ในระดับที่เรารู้สึกว่าความดังมันเท่าๆกันกับย่านอื่น
จากรูปที่1 ก็ทำให้ผมคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น จริงๆ
ความคิดเห็นที่ : 36

TOON

10/09/2009 20:21:50
0
โปรดระวังการฟังเพลงด้วย in ear มภิมหาเบสทั้งหลาย อาจทำให้หูพังได้
อินเอีย มักจะไม่มี ฟองน้ำ กรองเสียง ระหว่างแหล่งกำเนิด กับ หูเรา ทำให้อันตรายกว่าปกติ
มีรุ่นเดียวที่เห็นที่ฟองน้ำกรองเสียงคือ Sony Ex ทั้งหลาย
ความคิดเห็นที่ : 37

Collagen

10/09/2009 20:31:54
4
เห็นด้วยกับคุณ TOON นิดๆ แฮะ...

ในความเห็นส่วนตัวนะครับ... เวลาใส่ หูฟัง In Ear ผมรู้สึกอึดอัดครับ โดยเฉพาะเวลาร้อนๆ ...
แล้วบางครั้ง ในการใส่ จะร๔้สึกคันในรูหูครับ อาจจะเป็นไปได้ว่าผิวหนังในรูหูของผม แพ้พวกยางที่ทำเป็นจุกของหูฟังครับ...

ผมเกรงว่า หูผมอาจจะพังเนื่องจากอาการคันก่อนที่จะพังจากเสียงเพลงครับ ^ ^
ความคิดเห็นที่ : 38

ชิดชนก

02/03/2010 12:46:27



หวาดดีค่ะ
ความคิดเห็นที่ : 39

ชิดชนก

02/03/2010 12:50:32



อิอิอิ5555555

บาย
ค่ะ

ความคิดเห็นที่ : 40

(^ w ^) v

04/03/2010 12:45:21
ขอบคุนสำหรับสาระหน้ารู้เกี่ยวกับหูมากๆนะคะ
"เรื่องเกี่ยวกับหูครับ..."