Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

ขอคำแนะนำเรื่องการอัพระบบเพิ่มเติม

Hsung

04/05/2014 12:46:23
346
ถ้าเราชอบเสียงที่เน้นความต่อเนื่อง ลื่นไหล มากกว่า มิติ และ รายละเอียด ควรอัพอะไรก่อนหลังครับ

1. สายไฟ > RCA > USB

2. ยี่ห้อ รุ่น ที่แนะนำ ด้วยครับ

ปล. งบ ไม่เกินหมื่นในแต่ละตัว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

wat12

04/05/2014 16:19:10
1
ระบบไฟ AC ,Ground Rod/ gnu. wire ,Wall Plug ....... ทำแล้วใช่ไหมครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

Hsung

04/05/2014 18:44:20
346
Ground Rod/ gnu. wire ไม่สะดวกทำครับ เพราะบ้านเป็นทาวเฮาส์

ส่วน wall plug ยังสงสัยว่าต้องทำมั้ยเพราะ อันแรกไม่ได้ทำ

ปลั๊กปัจจุบันพ่วงเยอะ อาจจะแยกวงจร ถ้าจำเป็น

แนะนำได้มั้ยครับว่าเบื้องต้นควรทำอะไรก่อนดี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

wat12

04/05/2014 19:34:03
1
ทำพื้นฐานก่อนครับ.
แบบอิสระคือ
10sqmm L,N ลากจากมิเตอร์หน้าบ้าน ร้อยท่อมาต่างหาก.....

.....แล้วติดตั้งเบรคเกอร์ 40Aแบบมี เอิร์ธลีค(ไฟรั่ว ไฟดูด 30mA ตัด)

หาจุดเหมาะๆ หน้าบ้าน หลังบ้านไม่ว่า ขอให้ไม่ไกล
ตอกแท่งกราวนด์ เกรดสื่อสาร (ทองแดงหนา หุ้มเหล็กกลึงปลาย ย้ำหัว) ยาว สองถึงสามเมตรยิ่งดี

สายกราวนด์็ขนาดเดียวกันคือ 10sqmm ลากมาฝากที่กล่องเบรคเกอร์


จากกล่อง Breaker จะลากสายไฟทำปลั๊กผนัง หรือจะใช้สายไฟสามแกน ทำกล่องปลั๊กพ่วง แล้วใช้ปลั๊กผนังดีๆที่จุดนี้

หรือจะใช้เครื่องกรองไฟ(ดีๆหาไม่ง่าย) ก็สุดแล้วแต่


ถึงจุดนี้ก็คือพื้นฐานระบบไฟ แบบบ้านๆ ง่ายๆ โล่งๆ จร้า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

Hsung

04/05/2014 21:53:43
346
ขอบคุณครับ มีเวลาจะลองทำเองดู ปัญหาคือแท่งทองแดงจะตอกยังงัยเท่านั้นแหละ

เพราะผมเป็นวิศวกรไฟฟ้า เรื่องเดินสายเลือกอุปกรณ์ดีๆ พอทำเองได้ แต่จะมาให้ฝังกราวน์

แหะๆ ไม่รู้จะออกหัวหรือก้อย แต่กำลังคิดว่าถ้าเดินระบบแบบนี้คงต้องป้องกัน surge ให้ดีๆ

เพราะถ้ากราวน์ดี สัญญาณไฟฟ้าภายนอกจะเข้ามาง่ายกว่าบ้านที่ระบบกราวน์ไม่ดีครับ

อุตะ อย่าบอกใครนะ เดี๋ยวการไฟฟ้าจะงอนเอา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

นายมั่นคง

04/05/2014 22:09:41
4,294
จริงๆแล้ว ปราการด่านแรกที่เราน่าจะอัพเกรด ควรมองที่ระบบไฟครับ มันเหมือนอาหารที่ป้อนให้กับชุดเครื่องเสียงทุกชิ้นเลยล่ะครับ เครื่องเสียงนั้น ยิ่งหลายชิ้น ยิ่งเล่นร่วมจากแหล่งไฟเดียวกัน มันแย่งอาหารกันกินครับ 555

วิธีอัพเกรดสายไฟนั้น ลองทำตามกระทู้ได้เลยครับ http://www.forum.munkonggadget.com/detail.php?id=36061

ไม่สะดวกทำเอง แนะนำให้จ้างช่างไฟครับ ตกลงราคาให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเค้าเลยว่าจะเอาอะไรบ้าง ถ้าซื้อของเองได้จะยิ่งถูกลง ผมแนะนำให้เสียเวลามาแถวสี่แยกวัดตึก ใกล้ๆกับเยาวราช ที่นี่จะขายสายไฟราคาส่ง รวมถึงแท่งกราวด์ด้วยครับ

แท่งกราวด์ขนาดเล็กที่น่าจะตอกลงดินได้ที่เค้ามีขายกันดาษดื่น น่าจะมีความยาวประมาณ 6 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 หุ่น สายไฟให้เลือกเบอร์ 6 ส่วนสายกราวด์เบอร์ 4 ก็พอไหวครับ

ส่วนปลั๊กผนัง ขอให้เลือกซื้อออดิโอเกรดซักตัว งบ 3-4000 บาท รับรองว่าเปลี่ยนปุ๊บ เห็นผลเดี๋ยวนั้นปั๊บครับ อันนี้ไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องตั้งสมาธิ เพราะเสียงมันต่างกันเป็นปี๊บเลยครับ เราจะรู้สึกถึงกำลัง ไดนามิก ความต่อเนื่อง และอาการที่สังเกตุได้คือความพรั่งพรูของดนตรี

สายไฟขนาดโตกว่า เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมันไม่มีการอั้นครับ ออกมาพรวดๆ เหมือนท่อประปาขนาดโตๆเลยล่ะครับ ลงทุนตรงนี้อีกหน่อย จะทำให้รักและอยากเล่นเครื่องเสียงเพิ่มขึ้นไปอีกครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

wat12

09/05/2014 14:45:15
1
ขอบคุณครับ มีเวลาจะลองทำเองดู ปัญหาคือแท่งทองแดงจะตอกยังงัยเท่านั้นแหละ
เพราะผมเป็นวิศวกรไฟฟ้า เรื่องเดินสายเลือกอุปกรณ์ดีๆ พอทำเองได้ แต่จะมาให้ฝังกราวน์
แหะๆ ไม่รู้จะออกหัวหรือก้อย แต่กำลังคิดว่าถ้าเดินระบบแบบนี้คงต้องป้องกัน surge ให้ดีๆ
เพราะถ้ากราวน์ดี สัญญาณไฟฟ้าภายนอกจะเข้ามาง่ายกว่าบ้านที่ระบบกราวน์ไม่ดีครับ
อุตะ อย่าบอกใครนะ เดี๋ยวการไฟฟ้าจะงอนเอา

...............................

มีเรื่องปรึกษาท่านวิศกรจร้า

พอดีว่า สนใจอยากทำN+GND = ให้มันดีๆ รวมจุด หย่อนลงลึกๆ ระดับเรฟเฟอเร้นซ์แบบโรงงานหรือการไฟฟ้าไปเลย จะได้หมดเรื่องหมดราว ๕๕๕ (มีคนทำเป็นตัวอย่างแล้วด้วย)


คือเจาะขุด ลงไประดับที่มีความชื้นตลอดปี/ตลอดไป (เช่น 20m) แล้วหย่อนสายทองแดงใหญ่ๆ ทำเป็นสายN/GND ของทั้งบ้าน (หลังมิเตอร์/ก่อนเข้าตู้เมนเบรคเกอร์)

แบบนี้ ระบบไฟบ้านเรา จะครบวงจร สุดๆ คงามต่างศักย์ ของN/GND ก็จะแทบไม่มีเลย ใช่ไหมครับ


ขอบคุณมากครับพ๊ม
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

Hsung

09/05/2014 21:09:57
346
ถ้าในเรื่องระบบไฟฟ้าแล้ว การต่อหลักดินก็เพื่อให้ในกรณีไฟฟ้าลัดวงจรมันเด่นชัด เพิ่อให้ระบบป้องกันทำงานได้ไวขึ้นครับ เพราะจุด N ที่หม้อแปลงมันอยู่ไกล มันมีความต้านทานที่สายไฟฟ้าทำให้กระแสลัดวงจรมีค่าต่ำ (ระบบป้องกันกระแสเกินโดยทั่วไปเวลาทำงานขึ้นกับขนานกระแสไฟฟ้าลัดวงจร คือกระแสต่ำทำงานช้า กระแสสูงทำงานไว)

การทำ GND ของการไฟฟ้าถ้าเป้นในสถานีไฟฟ้า จะเป็นระบบ grid ครับ เพราะเน้นการป้องกันอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ใน grid ได้ทั้งหมด ส่วนที่อยู่ภายนอกจะเป้นการแท่งทองแดงครับ

ค่า GND resistance โดยทั่วไป มีตัวแปรหลักๆ คือค่าความต้านทางของดิน ความลึกของดินครับ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่ายิ่งลึกยิ่งดีเสมอไป เพราะในคู่มือคำแนะนำ เค้าให้วัดจุดที่ปัก GND ก่อนครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

Hsung

09/05/2014 21:33:41
346
ต่อเลยนะครับ

จุดที่ปักแต่ละที่มีค่า Soil resistivity หรือค่าคุณสมบัติของดินที่แตกต่างกัน ดินที่ข้างล่างเป็นหิน
ก็จะมีค่า Soil resistivity สูงกว่าดินทราย หรือดินเหนียว ดังนั้นในบางกรณีการปักลงไปลึกๆ บางครั้งไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าค่า Soil resistivity ที่จุดนั้นมีค่าสูงมากๆแต่อย่างไร การปักให้ลึกก็มีข้อดีกว่าปักตื้นครับ (ถ้าดินมีความชื้นตลอดปีอย่างที่ว่า ก้ไม่มีปัญหาครับ สบายใจได้)

ส่วนค่าความต่างศักย์ที่ว่า จริงๆ แล้ว มาตรฐานการไฟฟ้ากำหนดให้เชื่อมต่อที่ตู้ load center ที่ติดตั้งภายในบ้านครับ ดังนั้นค่าความต่างศักย์ในกรณีที่สาย N ไม่มีกระแสไหลผ่าน จึงมีค่าเท่ากับ GND ครับ

ที่ต้องบอกเรื่องกระแสก็เพราะสายไฟ ยังงัยก้มีความต้านทานเมื่อมีกระแสไหลก็จะทำให้มีค่าความต่างศักย์เกิดขึ้น แต่อย่างไปซีเรียสมากค่าความต่างศักย์ดังกล่าวโดยทั่วไปต่างกันหลักๆ ไม่เกิน 1-2 โวลท์เท่านั้นครับ

ส่วนแบบที่เฮียแนะนำ ผมมีความเห็นต่างนิดหน่อยครับ คือการแยกวงจรออกตั้งแต่จุดต่อสายมิเตอร์ มีข้อควรระวังนิดนึงนะครับ

โดยทั่วไปสายไฟ หรือสายตัวนำที่อยู่ในที่โล่งแจ้งมีโอกาสที่จะมีการเหนี่ยวนำกระแส และ แรงดันจากแหล่งพลังงานภายนอกไฟฟ้าได้ง่าย (โดยทั่วไปจะเรียก Surge)

ดังนั้นการต่อสายจากมิเตอร์ตรงเข้ามาที่อุปกรณ์เครื่องเสียงเราโดยตรง จึงจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน Surge ที่อาจจะวิ่งตามสายไฟด้วยนะครับ

มิฉะนั้น อิ อิ อิ เครื่องเสียงราคาแพงของเราอาจพังยับเยิน ซึ่งโดยทั่วไปอุปกรณ์ป้องกัน Surge ที่นิยมใช้กันมีชื่อเรียกว่า Surge arrester ครับ

ซึ่ง Surge arrester โดยทั่วไป หน่วยที่เราใช้กันจะแปรตามพลังงาน Surge ที่มันรับได้ครับ มีหน่วยเป็น kA ถ้ามีความรู้นิดก็ซื้อตัว Surge arrester มาต่อเอง ถ้าไม่มีก็ซื้อชุดสำเร็จที่เค้าขายกัน

นอกจากนี้ ถ้ามีทุนทรัพย์มากขึ้นก็ติดวงจร AC Filter อีกชุดด้วยยิ่งดีครับ แต่ตัว AC Filter นั้นมันแปรตามพลังงานที่เราใช้ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"ขอคำแนะนำเรื่องการอัพระบบเพิ่มเติม"