Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

อธิบายimpedance, sensitivity, efficiency

อ๊ากกกกกกกก

20/11/2013 12:51:55
0
กระทู้นี้จะมองศัพท์ด้านบนในเชิงฟิสิกส์กับเลขก่อน แล้วผมจะพยายามอธิบายเป็นภาษาคนตรงด้านล่างครับ
ใช้ความสัมพันธ์ทางไฟฟ้าเบื้องต้น2สมการ
-V=IR ไอ้นี่เรียกว่า"กฎของโอห์ม" เพราะนายโอห์มเป็นคนเสนอ
-P=VI; P=V^2/R

สมการโบนัส(ช่างม่างไปเลยก็ได้ ใส่ให้ดูครบๆไปงั้นแหละ)
-ระดับความเข้มเสียง(SPL)dB= 20log(p2/p1)

V=แรงดันไฟฟ้าVolt(V) ผมเรียกว่าเป็นพระเอกของอิเล็กทรอนิกส์ละกัน
I=กระแสไฟฟ้าAmpere(A) ระวังอย่าสับสนกับAmp(lifier)
R=ความต้านทานOhm(อักษรโอเมก้า)
P=กำลังWatt(W) ถ้าในกลศาสตร์การเคลื่อนที่จะเรียกJ/Sก็ได้
pในที่นี้แทนความดัน
รู้แค่สองตัว=รู้หมด

โอเค ความสัมพันธ์ด้านบนอธิบายทุกอย่างกระจ่างหมดแล้ว กระทู้นี้จบแค่นี้ครับ
///////meโดนถีบ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

อ๊ากกกกกกกก

20/11/2013 12:52:20
0
เข้าเรื่อง
-sensitivity=SPL dB/mV คือระดับความเข้มที่ปล่อยออกมาเทียบแรงดันไฟฟ้า
-efficiency=SPL dB/mW อันนี้เทียบกำลังไฟฟ้าแทน
ง่ายๆคือถ้าค่าสูง เทียบสภาวะเดียวกัน(W,V)จะได้ยินเสียงดังกว่า จบ.
อ้อ 2ตัวนี้มักวัดที่ความถี่เสียง1kHz
คล้ายกัน แต่ไม่สอดคล้องกันเสมอไป ตัวที่สังเกตง่ายกว่าคือefficiency
หลายครั้งจะเจอใช้คำว่าsensitivityแทนคำว่าefficiencyก็มี
-impedance เจ้านี่คือความต้านทาน(ซึ่งต้องเทียบกับเครื่องเล่นหรือแอมป์เป็นตัวๆไป)
วัดที่ความถี่เสียง1kHzเช่นกัน
ปล.เจ้าค่านี่ไม่เกี่ยวกับคุณภาพเสียงนะ
เนื่องจากตัวแอมป์และเครื่องเล่นเองก็มีค่าค.ต้านทานเหมือนกัน จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าDamping Factor
ตัวนี้ ยิ่งสูงยิ่งได้เสียงที่ถูกบิดเบือนน้อยกว่า
ระดับที่นับเป็นมาตรฐานทั่วไปคือ คุณควรใช้หูฟังที่มีค.ต้านทานอย่างน้อยเป็น8เท่าของเครื่องเล่นหรือแอมป์
(เพราะงี้ AK100ถึงมีปัญหาไงล่ะ)
เอาเป็นว่า ทุกคนอยากได้หูฟังความต้านทานสูงมากๆมาต่อกับแอมป์ที่ความต้านทานเข้าใกล้0
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

อ๊ากกกกกกกก

20/11/2013 12:53:50
0
Q&A ภาษามนุษย์

ถ้างั้นทำไมในโลกอุปกรณ์พกพา เราจึงไม่ค่อยชอบหูฟังที่ค.ต้านทานสูง?
เข้ามาในสนามคือผู้กำหนดทิศทางเกมชื่อ"แบตเตอรี่"ครับ
แบตเตอรี่ในอุปกรณ์พกพาจำกัดแรงดันไฟที่จ่ายได้
จากV=IR เมื่อVเป็นค่าคงที่ เจอกับหูฟังRสูงๆ กระแสIจะจ่ายได้น้อยมากๆ
ผลคือเสียงในบางย่านมันออกมาไม่เต็มหรือเรียกว่าขับไม่ออก(ไม่ใช่เสียงไม่ดังนะ)
การเร่งvolumeจะเพิ่มแรงดันไฟV แต่อันนี้ก็โดนจำกัดด้วยค่าsensitivityของอุปกรณ์อีก
ถ้าเร่งมากเกิน เสียงจะดังจนเป็นอันตรายต่อหู ตรงนี้เราจะเรียกฮีโร่ชื่อแอมป์ภายนอกมาช่วย

เพราะงั้นเราจึงชอบหูที่มีค.ต้านทานต่ำๆรึเปล่า?
ก็ยังไม่ใช่ครับ เพราะติดที่ค่าDamping Factor คือถ้าค.ต้านทานต่ำเกินไปจะเกิดปรากฏการณ์
กระแสไหลย้อนกลับมากเกินไปจนเกิดความบิดเบือนในระดับที่คุณแม่รับไม่ด้ายยยยย

อธิบายเรื่องแอมป์ภายนอกทีดิ
เอาเป็นว่าแอมป์ช่วยเพิ่มกำลังขับPละกัน (ไม่ช่วยเลยเฟ้ย!!!) ก็คือเพิ่มแรงดันไฟVและกระแสI
แต่แอมป์ก็มีข้อจำกัด(ตามที่ผู้ผลิตระบุไว้)
ทีนี้ถ้าเราเอาหูฟังค.ต้านทานต่ำเกินกำหนดมาต่อแอมป์ที่ไม่เหมาะ หูฟังจะได้รับVมากเกินจนเสียหายได้
(สมมติดันทะลึ่งเอาหูฟังimpedanceต่ำมากๆๆๆไปต่อแอมป์ในสตูดิโอ)
หรือแอมป์จะส่งกระแสIได้ไม่พอที่หูฟังต้องการ=ขับไม่หมด
เพราะงั้นพวกไดรเวอร์BAจึงเป็นอะไรที่เรื่องมากสุดๆ
ถ้าเป็นหูฟังที่ค.ต้านทานสูงเกิน ก็จะติดปัญหาที่จากแอมป์Vต่ำไป ขับออกไม่หมดอีก

สถานการณ์อุดมคติคืออะไร?
หูฟังimpedanceสูงๆ+แอมป์กำลังขับสูงๆที่มีimpedanceต่ำๆ
ซึ่งที่ใกล้เคียงสุดคือในสตูดิโอครับ

อะไรคือกินแบตเตอรี่?
อันนี้ที่ถูกที่สุดต้องดูจากค่าPครับ แต่หลายท่านจะชอบดูจากIเพราะมักเป็นสเปคที่ผู้ผลิตเอามาโฆษณา

บ้าน่ะ จะซื้ออุปกรณ์ทีต้องรู้เยอะขนาดนี้เลยหรอ(วะเฮ่ย!!!)? ยุ่งยากชิบบบบบ
ถ้าเป็นสตูดิโอหรือโฮมเธียร์เตอร์ ผมคิดว่าจำเป็น ไม่งั้นก็ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญ
พวกที่จริงจังเรื่องเสียงมากๆ เค้าก็คำนวณกันจริงจังครับ
ส่วนแบบเราๆท่านๆ เอาเป็นว่าชอบเสียงอันไหนก็เอาอันนั้น
และใช้อุปกรณ์ตามสเปคที่ผู้ผลิตเค้าคิดมาให้เสร็จสรรพก็โอเคแล้วครับ
เรื่องแอมป์พกพา ถ้าตังเหลือและไม่รำคาญเรื่องการพกพา มีไว้ก็ดี แต่อย่าลืมดูสเปคด้วยล่ะ

มาถึงตรงนี้ บอกได้เลยว่าการจะดูว่าหูฟังต้องการแอมป์เพิ่มรึเปล่าดูจากค่าimpedanceอย่างเดียวไม่ได้แน่ๆ
และนอกจากพวกนี้แล้ว ยังมีปัจจัยที่ต้องดูอีกเยอะแยะครับ และนี่ยังไม่ได้ดูเรื่องแนวเสียงด้วยซ้ำนะ!
เพราะงั้นสตูดิโอจึงต้องการAcoustic EngineerและElectric Engineerทำงานร่วมกัน

ไม่เก็ตเฟ้ย! เอาให้ง่ายกว่านี้อีกกกกก
ถ้าลบข้างบนทิ้งให้หมด แล้วสรุปให้ดูง่ายกว่านี้อีก
เอาเป็นว่าถ้าใช้อุปกรณ์พกพาทั่วๆไป คุณจะอยากได้หูฟังที่โอห์มต่ำๆ
ส่วนค่าsensitivityอะไรนั่นไม่ต้องสนใจ จบ.

ปล.ผิดพลาดตรงไหน บอกได้เลยนะครับ
ปล.จริงๆควรเปรียบเทียบค่าต่างๆกับPมากกว่า แต่ผมขี้เกียจ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

Archibald

20/11/2013 15:36:20
4
ขอบคุณสำหรับความรู้น่ะครับ ช่วยได้เยอะเลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"อธิบายimpedance, sensitivity, efficiency"