Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

เหน่งบาตัดแปะ....ปราสาทเมืองสิงห์...ที่มาของ นิทรานคร ในเพชรพระอุมา

เหน่งบา

03/04/2013 07:52:58
0
ข้อมูลจากหนังสือ เจาะลึก เพชรพระอุมา โดย พนมเทียน สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม
และ วิกิพีเดีย

จินตนาการ 'แฟนตาซี' อันเพริดพลิ้วของนักเขียนชื่อพนมเทียน

มีภาคที่เกี่ยวกับ 'แฟนตาซี' อยู่ภาคหนึ่ง คือตอน 'อาถรรพ์นิทรานคร' เกี่ยวกับเรื่องราวของ
'นิทรานคร' อันเป็นอาณาจักรที่ถล่มทลายแล้ว โดยไม่สามารถจะบอกถึงอายุของมันได้ว่า นครแห่งนี้
เกิดขึ้นเมื่อใด ยุคใด สมัยไหน
และก็ได้ผูกขึ้นให้เป็นเรื่องราวอัศจรรย์ดังได้ปรากฎอยู่ในท้องเรื่อง

สาเหตุก็มาจากที่ครั้งหนึ่ง ผมได้นำนักโบราณศาสตร์อเมริกัน เข้าไปสำรวจถิ่นมนุษย์ยุคหิน
เมืองกาญจน์ทางเขาเขียว ด้านหลังของน้ำตกเอราวัณขึ้นไป

ยอดเขาที่ผมนำฝรั่งไต่ขึ้นไปสูงกว่าระดับน้ำทะเลตามลำดับ ลูกแล้่วลูกเล่านั้น แต่ละลูก มีป่าซ้อนป่า
มีเขาซ้อนเขา มีทุ่งซ้อนทุ่ง คือเราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า เหนือยอดเขาลูกนั้นลูกนี้ที่บ่่่ายหน้าไต่ขึ้นไปนั้น
มันจะมีสภาพเป็นป่าพื้นที่โล่งกว้างไม่ผิดอะไรกับป่าชั้นล่างที่ผ่านมาแล้ว จนทำให้เราลืมไปเสียแล้วว่า
ก่อนที่เราจะมาพบป่าใหญ่เข้าอีกนั้น เราได้ไต่ระดับขึ้นมาช่วงหนึ่งแล้ว

ครั้นพอทิ้งระดับเดิม เริ่มไต่ต่อไปอีก พอสุดทางของมัีน ก็ไปพบทุ่งโล่งและดงทึบเข้าอีก
เป็นอยู่เช่นนี้นับครั้งไม่ถ้วน

และเป้าหมายแหล่งสุดท้ายนั้นเอง ผมได้ไปพบเข้ากับบริเวณเนินอันกว้างใหญ่มากแห่งหนึ่ง
มีพยานวัตถุหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงสภาพที่เคยเป็นอาณาจักรมาก่อนในอดีต ลักษณะของมัน
มีคูเมือง มีตัวเมือง ปราการมีสิ่งก่อสร้างซึ่งส่วนใหญ่จมหายไปใต้พื้นดิน บางส่วนอันเป็น
ลักษณะกำแพงเมืองและสิ่งก่อสร้าง ลักษณะป้อมค่ายมันผุดโผล่ขึ้นมาให้เห็น เป็นบ้านเมือง
ของใครในสมัยไหน ผมก็ไม่อาจจะเดาได้เหมือนกัน

ระหว่างที่พวกฝรั่งกำลังเพียรพยายามที่จะหาเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสมัยหิน
โดยไม่สนใจกับอาณาจักรรกร้างที่พบนั้น ผมก็พิจารณาพิเคราะห์ไปอีกลักษณะหนึ่ง
ผมไม่สนใจเรื่อง 'ขวานหิน' หรือซากเรือโบราณที่พบอยู่ในถ้ำบริเวณใกล้เคียงกัน
อันแสดงให้เห็นว่า เป็นสมบัติของมนุษย์ยุคหิน แต่ผมกลับสนใจในอาณาจักรรกร้าง
ลักษณะประหลาดที่ไปพบเห็นจมดินอยู่บนเนินเขากว้างใหญ่ลูกนั้น

ตั้งคำถามว่า มันเป็นอาณาจักรอะไรในยุคสมัยใดกันแน่

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่เคยบันทึกไว้ก่อน

ผู้คนที่จะผ่านไปมาในละแวกนี้ ก็ยากนักที่จะมีได้ นอกจากกะเหรี่ยงเดนตาย
ที่หาของป่าเพียงไม่เกินสองสามคน ที่เคยหนีโขลงช้างดุเตลิดพลัดเข้ามาติดอยู่
ในบริเวณนี้โดยบังเอิญ

ไม่มีร่องรอยของมนุษย์หรือชาวป่าอื่นๆใดจะใช้เป็นเส้นทางผ่านไปมาเลย
เพราะมันเปลี่ยวกันดารและรกทึบจริงๆ สาเหตุแห่งการพบซากเมืองร้าง หาที่มาไม่ได้
กลางป่าลึกในครั้งนั้นเอง ทำให้เกิดเรื่องราวของ 'นิทรานคร' และ 'ผีดิบมันตรัย' กับ
'นางพญาพันธุมวดี' ขึ้น...

******************************
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

เหน่งบา

03/04/2013 07:54:53
0
นักอ่านหัวเหน่งอย่างเหน่งบา มาลองค้นเทียบเคียงกับข้อมูลโบราณสถานปัจจุบัน โบราณสถานของขอมที่มีอยู่ในเขตกาญจนบุรี และมีแหล่งโบราณคดีที่พบหลักฐานของชุมชนมนุษย์โบราณ ก็จะเป็นที่นี่ครับ...ปราสาทเมืองสิงห์

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์
อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ 800 เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง
ยาวประมาณ 850 เมตร และกำแพงสูง 7 เมตร มีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ
ภายในเมืองมีสระน้ำ 6 สระ

ประวัติ

ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุด
ตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. 2478 แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2517
แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2530 จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้ ปราสาทเมืองสิงห์นี้
กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1720 - 1780)
กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูป
นาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ นางปรัชญาปารมิตา และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
เปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้

จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย พระวีรกุมาร พระราชโอรสของ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7[ต้องการอ้างอิง] จารึกชื่อเมือง 23 เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ
ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นี่เอง และยังมีชื่อของเมือง
ละโวธยปุระ หรือ ละโว้ หรือลพบุรี ที่มีพระปรางค์สามยอด เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย

แต่ในเรื่องดังกล่าวรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เห็นว่าการที่นำเอาชื่อเมืองที่คล้ายคลึงกันในลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยาไปเปรียบเทียบกับบรรดาเมืองในเส้นทางคมนาคม ในจารึกปราสาทพระขรรค์อย่างง่ายๆ โดย
ไม่คำนึงถึงหลักภูมิศาสตร์ เท่ากับเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างมักง่าย เพราะบรรดาปราสาทขอมที่เรียกว่า
อโรคยาศาลนั้นมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีพบบ้างในบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งปัจจุบันได้แยก
เป็นจังหวัดสระแก้ว) และมีรูปแบบแตกต่างจากปราสาทขอมที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสิ้นเชิงตรงข้ามกับ
บรรดาปราสาทของที่พบบนเส้นทางคมนาคมจากละโว้ถึงเพชรบุรีและปราสาทเมืองสิงห์ แต่ละแห่งก็มีรูปแบบที่
แตกต่างออกไป จะมีความคล้ายคลึงกันแต่รูปเคารพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตาที่บ่งชี้ว่า
น่าจะแพร่หลายมาจากเมืองละโว้ และพระโพธิสัตว์บางองค์นำมาจากเมืองพระนครก็มี แต่หลักฐานทั้งหมดก็มิได้
ปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งสังคมและวัฒนธรรมระหว่างละโว้กับเมืองพระนครในกัมพูชา

ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมืองสิงห์เป็นเมืองหน้าด่าน รัชกาลที่ 4 โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์
แต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงยุบเมืองสิงห์เหลือแค่ตำบล


โบราณสถาน

ปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย พื้นที่โดยรอบโอบรอบด้วยภูเขา
ขนาดไม่สูงมากนัก บริเวณโบราณสถานจะมีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ แนวกำแพงดังกล่าวมีลักษณะเกือบ
เป็นรูปสี่เหลี่ยม คือแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้ ด้งนั้นพื้นที่ด้านนี้จึงขยายออกไปตามแนวแม่น้ำ
สำหรับด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แนวกำแพงต่อกันเป็นรูปสีเหลี่ยม รอบนอกกำแพง
จะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่ โดยเฉพาะด้านตะวันตกปรากฏซากคันดินอยู่ถึง 7 ชั้น กำแพงและคูดินนี้
จะล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานหมายเลข 1 - 4 กำแพงและประตู คูคันดิน
สระน้ำ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สามารถแบ่งได้เป็นเช่นนี้

โบราณสถานหมายเลข 1
ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถาน องค์โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและประกอบด้วย
สิ่งสำคัญคือ ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลา และกำแพงแก้ว ปรางค์ประธานเป็นศูนย์กลาง
ของโบราณสถานมีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวทรงหอสูงคล้ายฝักข้าวโพด องค์ประธานตั้งอยู่บนฐานย่อมุมไม้ 20
ขนาดกว้างและยาวด้านละ 13.20 เมตร มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขด้านในของโคปุระทั้งสี่ทิศ โดยมุขด้านตะวันออก
ยาวกว่าด้านอื่นๆ และระหว่างปรางค์ปรานกับโคปุระด้านตะวันออกมีลานศิลาแลงเชื่อมเป็นลานกว้าง ระเบียนคด
เป็นอาคารที่ล้อมรอบองค์ปรางค์ประธาน ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 42.50 เมตร ด้านตะวันออกและ
ด้านตะวันตกยาวด้านละ 36.40เมตร ตามมุมของระเบียนคดจะมีซุ้มทิศอยู่สี่มุม โคปุระหรือซุ้มประตูเข้า
เป็นอาคารอยู่ระหว่างระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับซุ้มขององค์ปรางค์ และมีทางเข้าเฉพาะ
ซุ้มด้านทิศตะวันออกเท่านั้น

บรรณศาลาหรือบรรณาลัยเป็นอาคารเล็กๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4.50เมตร ยาว 5.50 เมตร
ตั้งอยู่ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์ปรางค์ประธานประตุบรรณศาลามีประตูเดียวอยู่ทางตะวันตก
สันนิษฐานว่า บรรณลัยนี้เป็นที่เก็บตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา กำแพงแก้ว
เป็นส่วนที่ล้อมรอบตัวปราสาทมีประตูเข้าทางตะวันออก กำแพงแก้วประกอบด้วยฐานกว้าง 2.40 เมตร
มีด้านกว้าง 81.20 เมตร และยาว 97.60เมตร
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

เหน่งบา

03/04/2013 07:55:59
0



ภาพปรางค์ประธาน และรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีที่ประดิษฐานอยู่กึ่งกลาง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

เหน่งบา

03/04/2013 07:56:19
0



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

เหน่งบา

03/04/2013 07:56:38
0



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

เหน่งบา

03/04/2013 07:57:20
0



ภาพ โคปุระ(ซุ้มประตู)ด้านทิศตะวันตกที่สภาพยังสมบูรณ์ที่สุด
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

เหน่งบา

03/04/2013 07:58:44
0



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

เหน่งบา

03/04/2013 07:59:21
0



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

เหน่งบา

03/04/2013 07:59:57
0



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 9

เหน่งบา

03/04/2013 08:00:25
0



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 10

nicky

03/04/2013 08:00:44
0
ขอบคุณครับ เพชรพระอุมาเป็นหนังสือที่ทำให้ผมไม่ได้ทำอะไรเกือบสองเดือน
นอกจากอ่าน ติดมากครับ ครบเครื่องมากสำหรับผม มีทั้งผจญภัยในป่าสัตว์ร้ายนานาชนิด อาถรรพ์ต่างๆในป่า ไปจนถึงรบกันแบบเป็นกองทัพ มีกระทั่งพญานาค ถ้ามีเวลาว่างๆนานๆอีก ผมอยากกลับมาอ่านแบบงอมแงมอีกครั้ง คงจะสนุกไม่น้อย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 11

เหน่งบา

03/04/2013 08:01:04
0
โบราณสถานหมายเลข 2
ยังมีปรางค์ประธาน โคปุระ 4 ด้าน แต่พังลงมามาก บูรณะได้น้อย สถานที่ขุดพบเทวรูป
โบราณสถานหมายเลข 2 โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถาน
หมายเลข1และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ตัวโบราณสถานตั้งอยู่บนฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
กว้าง 33.90 เมตร ยาว 54.20 เมตร และสูง 80 เมตร โบราณสถานหมายเลข 2 ตั้งหันหน้า
ไปทางทิศตะวันออก และประกอบด้วยปรางค์ประธาน ระเบียงคดโคปุระ และกำแพงแก้ว ซึ่งมีลักษณะ
คล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า โบราณสถานกลุ่มนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย

โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถาน
ที่สำคัญ มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและ เป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย
การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญ วัสดุอืนๆที่ใช่ ประกอบอาคารคือ กระเบื้องดินเผา ไม้
ศิลาทราย เหล็ก และอิฐ เป็นต้น การตกแต่งตัวอาคารใช้ปูนฉาบและประดับด้วยลายปูนปั้นตาม
ปรางค์ประธานและซุ้มทิศ ปูนปั้นใช้หินปูนและเปลือกหอยเผาบดแล้วผสมด้วยกาวหนังสัตว์หรือ
ส่วนผสมที่มีความข้นเหนียวและคลุกเคล้ากับน้ำอ้อยเพื่อให้ปูนแข็งตัวช้าทำให้ง่ายต่อการปั้นแต่ง
เป็นลวดลาย เทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างปรางค์ประธาน ซุ้มทิศ ระเบียง ล้วนใช้สิลาแลง
และเรียงซ้อนขึ้นไปโดยมิได้ใช้ปูนสอ แต่บางแห่งก็ใช้เหล็กรูป ตัวไอ หรือ ตัวที ช่วยยึดระหว่างก้อนศิลา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 12

เหน่งบา

03/04/2013 08:02:05
0



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 13

เหน่งบา

03/04/2013 08:02:48
0
โบราณสถานหมายเลข 3
ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง
โบราณสถานหมายเลข3 โบราณสถานแห่งนี้อยู่บริเวณนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ของโบราณสถานหมายเลข 1 องค์โบราณสถานมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กสร้างด้วยอิฐ
และศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานของเจดี ดังที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่า
เป็นเจดีย์ 2 องค์ ฐานแรกมีขนาด 5.20 คูณ 5.20 เมตร เป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง 1.43 เมตร
ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม ก่อขึ้นไปเป็นฐานปัทม์(บัวคว่ำหงาย) ทั้งหมดนี้ก่อสร้างด้วยอิฐ
โดยใช้เทคนิคการเรียงอิฐแบบ Header Bond คือใช้ด้านสันของอิฐโผล่ออกมาด้านนอก
ชั้นบนของฐานปัทม์ขึ้นไปใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานเขียงอีกชั้นหนึ่ง...ฐานเจดีอีกองค์หนึ่ง
ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือใช้แลงก่อเป็นฐาน...ฐานเจดีอีกองค์นี้สภาพชำรุดมาก
จึงไม่สามารถบอกขนนาดและลักษณะที่แน่นอนได้

โบราณสถานหมายเลข 4
โบราณสถานหมายเลข 4 อยู่ใกล้หมายเลข 3 ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
โบราณสถานหมายเลข4โบราณสถานแห่งนี้เป็นอาคารรูปสี่เหลียมผืนผ้าแบ่งเป็นส่วน
เรียงเป็นแถวแนวเหนือใต้ แต่ละส่วนมีขนาดกว้าง 3.90 เมตร และยาว 6.65 เมตร
โดยเว้นระยะห่าง กัน 0.50 เมตรในแต่ล่ะส่วนทำเป็นขอบสูงขึ้นมาประมาณ 40 เซนติเมตร
บนฐานส่วนที่สองจากทิศของประติมากรรมตั้งอยู่ การก่อสร้างอาคารใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 14

เหน่งบา

03/04/2013 08:03:29
0



หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
หลุมขุดค้นทางโบราณคดี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งขุดค้นพบทั้งโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้
ภาชนะสำริด ดินเผา เครื่องมือเหล็ก สร้อยคอทำด้วยลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว ซึ่งชี้ชัดว่า
ชุมชนเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่จะสร้างเมืองสิงห์ เพราะเป็นศพของคนที่ตายมา 2,000 ปีแล้ว
คงจะยุคเดียวกับคนในชุมชนบ้านเก่า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 15

เหน่งบา

07/04/2013 21:39:15
0
ขออนุญาตดันครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 16

bigtoro1

07/04/2013 22:05:24
68
แวะมาอ่านครับ ขอบคุณที่หาเรื่องดีๆมาให้อ่านครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 17

JOKER_THX

08/04/2013 00:47:01
7
เยอะมากครับ เด๋วมาต่อ ต่อโพรก (ภาษาใต้แปลว่า พรุ่งนี้) ขอบคุณคราบบ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 18

Deeppix

10/04/2013 12:27:19
0
อีกอย่างที่ชอบเพชรพระอุมา เพราะคนแต่งเป็นเซียนปืนตัวยง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 19

เอกเรื่องมาก

10/04/2013 12:34:51
23
ผมอ่านภาคแรกแล้วค่อดติดเลย ชอบมากๆ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในเรื่องเกี่ยวกับป่า ปืน อาถรรพ์ต่างๆ ส่วนภาคสองอ่านไม่จบอ่ะ อ่านได้นิดเดียวเอง อ่านแล้วไม่รู้สึกติดเหมือนกับภาคแรก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 20

เอกเรื่องมาก

10/04/2013 12:41:45
23
อ่านแล้วยังนึกๆว่า มันจะยังมีเมืองตกสำรวจ แยกตัวเป็นเอกเทศในโลกเราเหมือนอย่างเมืองของ แงซายอยู่เปล่าหว่า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 21

TEE_InSE

10/04/2013 12:57:56
0
ไม่เอาตำนานญ่าโมมาตัดแปะบ้างละครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 22

veedemort

10/04/2013 20:37:33
58
ผมอ่านจบแค่ภาคแรกคับ แต่อ่านไป 3 รอบแล้ว 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 23

fencerman

11/04/2013 20:43:26
0
มันครับ. สองรอบแล้ว รอไปรอบที่3อยู่ครับ. แต่ถ้าจับใจความดีๆจะเห็นความความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยได้เลย อย่างเช่นภาคแรกกับภาคที่2ในหนังสือห่างกันไม่กี่ปีเอง. แต่พัฒนาการอาวุธหรือการพูดของตัวละครดูเหมือนนานมาก เพราะเวลาจริงๆมันเกือบ20ปี คนแต่งประมาณเหมือนทิ้งเศษขนมปังแห่งเวลาไว้ตามหน้า นั่งอ่านไปนั่งคิดไป จะเห็นว่าบางตอนไม่ค่อยเชื่อมกัน เพราะเนื้อหายาวเกินท่านพนมเทียนอาจจะงงเอง หรือภาค2ที่คนเขียนพยายามจะปูให้มรว.ดาริน เป็นนักเดินป่าตัวยง ทั้งที่ภาคแรกจนเกือบจะจบเรื่องแล้ว คุณหญิงดารินยังไม่ค่อยเก่งเลย. ไหนจะเรื่องภาคแรก รพินทร์เองปฏิเสธเรื่องไสยศาสตร์นักหนา. แต่ภาค2กลับเดินเรื่องไปแนวนั้นซะเยอะ. แต่ก็สนุกมากครับ มีพวกนี้แหละถึงสนุก คอยขบคิด บางทีก็อยากจะปาหนังสือทิ้ง เพราะหมั่นไส้ความหัวแข็งของพรานรพินทร์. ย้ำว่ารพินทร์นะ ไม่ใช่มรว.ดาริน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"เหน่งบาตัดแปะ....ปราสาทเมืองสิงห์...ที่มาของ นิทรานคร ในเพชรพระอุมา"