เข้าใจว่าเพื่อนๆคงเคยได้ยินคำว่าพังแป้น และพอทราบความหมาย
ว่าใช้เชิงเปรียบเทียบกับอะไร แต่พังแป้นเป็นใคร อ่านเจอในหนังสือ ช้างในชีวิตของผม งานเขียนของ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปรา่โมช ก็เลยเอามาเล่าสู่กันฟังครับ
'.....ผู้ที่ถูกกระทบกระเืทือนจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ มากที่สุด ก็เห็นจะได้แก่ช้างหลวง
ซึ่งยืนโรงอยู่ที่หลังโบสถ์วัดพระแก้ววังหน้านั่นเอง
พังแป้นเป็นช้างหลวงซึ่งขึ้นระวางมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อถึงปี ๒๔๗๔ นั้น
มีอายุร้อยปีเศษแล้ว และเป็นที่นิยมนับถือของประชาชนทั่วทั้งกรุงเทพฯ ใครมีลูกอ่อนแอไม่แข็งแรง
ก็เอาไปลอดใต้ท้องพังแป้น และให้พังแป้นเอางวงลูบไล้ตามเนื้อตัว บางทีพังแป้นก็เอางวงดูดน้ำแล้วพรมน้ำมนต์ให้
เด็กนั้นก็มักจะหายไข้เจ็บเลี้ยงง่ายและแข็งแรงดีต่อไป
พังแป้นเป็นช้างรักเด็ก เด็กเข้าไปเล่นด้วยได้อย่างใกล้ชิดเสมอ ผมเองตกบ่ายกลับจากโรงเรียน ก็มักจะไถล
แวะเข้าไปเล่นกับพังแป้นอยู่บ่อยๆ สู้อุตส่าห์เก็บค่าขนมไว้ซื้ออ้อยให้พังแป้นก็เคยทำ
เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา ก็มีคำสั่งให้เอาช้างหลวงทั้งปวง
รวมทั้งพังแป้นออกไปทำงานป่าไม้ในต่างจังหวัด
เมื่อช้างซึ่งมีอายุถึงร้อยปีเศษต้องรับเคราะห์กรรมอย่างนั้น ความทารุณของระบอบประชาธิปไตย
ก็ประจักษ์แก่คนทั้งปวง
สิทธิและเสรีภาพได้เกิดขึ้นแล้ว ความเสมอภาคได้เกิดขึ้นแล้ว
แต่ความเมตตากรุณานั้นหายไป
เมื่อถึงวันที่จะต้องออกจากพระนคร พังแป้นก็เดินออกจากโรงมุ่งหน้าไปยังจังหวัดนนทบุรี
พังแป้นเดินไปก็ร้องไห้ไป น้ำตาไหลอาบหน้า
แต่พังแป้นก็มิได้ขัดขืน เพราะพังแป้นคงจะมีชีวิตอยู่มานานพอที่จะเข้าใจได้ว่า
ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกาลตามสมัย
แต่ที่เขตจังหวัดพระนครนั้นมีประชาชนชาวกรุงเทพฯ ไปรอส่งพังแป้นอยู่เนืองแน่น
พอพังแป้นไปถึง ประชาชนก็เข้ามาล้อมหน้าล้อมหลังด้วยความสงสารและความอาลัย
พ้งแป้นก็ร้องไห้ร่ำลาประชาชน เอางวงจับมือจับแขนคนที่เข้าไปหา หรือมิฉะนั้น
ก็เอางวงโอบหลังกอดรัดแสดงความอาลัย
ประชาชนเห็นดังนั้นก็เกิดเข้าใจในสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของตนขึ้นมาเฉยๆ
คือสิทธิืที่จะแสดงความเมตตากรุณาต่อสิ่งที่ตนรัก
และสิทธิที่จะแสดงประชามติกำหนดการให้เป็นไปตามใจตน โดยไม่ต้องคำนึงว่า
พระยาพหลฯ หรือรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นลูกของพระยาพหลฯ นั้น จะสั่งว่าอย่างไร
เมื่อรู้ดังนั้นแล้ว ประชาชนก็เข้ากั้นขวางพังแป้นไว้ มิให้ออกไปจากกรุงเทพฯ
พัีงแป้นก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น
รัฐบาลพระยาพหลฯ ได้ทราบถึงประชามติอันรุนแรงของประชาชนนี้เข้า ก็เปลี่ยนความคิด
และถอนคำสั่ง อนุญาตให้นำตัวพังแป้นกลับเข้ามายืนโ๋รงต่อไปตามเ่คย
พังแป้นก็อยู่ในกรุงเทพฯ ต่อมาจนสิ้นอายุขัย มาล้มเอาเมื่อระหว่างสงคราม
มหาเอเชียบูรพานี้เอง
เพราะตอนนั้นดูเหมือนหญ้าที่จะเลี้ยงช้างขาดแคลน เนื่องจากการคมนาคม
ขนส่งไม่สะดวก เจ้าพนักงานต้องเอาทางมะพร้าวให้ช้างหลวงกิน
พังแป้นผู้ซึ่งสูงอายุอยู่แล้ว ต้องกินทางมะพร้าวเป็นอาหารทุกวัน ก็ท้องผูกทนไม่ได้
มาล้มเอาตอนนั้น ดูเหมือนจะอายุร้อยห้าสิบปีเศษ....'