Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

ชวนคุยเรื่องเพลงคลาสสิก (ต่อ)

unclepiak

01/06/2007 05:48:46
ขออนุญาตย้ายกระทู้มาต่อในหมวดใหม่นี้นะครับ ผมขอแปะลิงก์ไปยังกระทู้เก่า เผื่อว่าท่านใดเพิ่งคลิกเข้ามา จะได้ตามไปดูข้อความเก่า ๆ กันได้

เริ่มจาก ชวนลงแขก เพลง 100 Masterpieces ที่กระทู้นี้
http://www.munkonggadget.com/webboard.php?lang=th&cat_w=15025&id=404244&pn=0

แล้วก็มาเปิดประเด็นชวนคุยครั้งแรกที่กระทู้นี้
http://www.munkonggadget.com/webboard.php?lang=th&cat_w=15025&id=406088&pn=25
=====

ก็ขอพูดถึงจุดประสงค์จิ๊บ ๆ ของผม ที่เสนอหน้าตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เป็นเหตุผลส่วนตัวโดยแท้ เพราะการหันมาฟังเพลงคลาสสิกในฐานะคนไทย มักจะโดดเดี่ยวครับ หาเพื่อนฟังด้วยไม่ค่อยได้ และเพื่อน ๆ รอบตัว(รวมทั้งผมเองเมื่อก่อนนี้)ก็มักจะมองว่า เพลงแบบนี้ต้องปีนบันไดฟัง

อยากจะบอกให้ทราบว่า เพลงคลาสสิก ก็คือเพลงที่เหมือนกับเพลงชนิดอื่น พอเปิดใจทดลองฟังแล้ว ก็ฟังกันได้ไม่ยาก และถึงวันนี้ผมก็ยังไม่ได้ปีนบันได เชื่อเต๊อะ..

ปัญหาที่แท้จริงในการเริ่มฟังคลาสสิก น่าจะเป็นที่ไม่รู้จะเริ่มยังไงซะมากกว่า (ก็เหมือนกับแจ๊ซ บลูส์ หรือแม้แต่ร็อก หากไม่รู้ว่าเพลงมันแยกประเภทกันยังไง ก็ไม่รู้จะเริ่มยังไงเหมือนกัน)

กระทู้นี้จึงคิดว่า น่าจะเอาประสบการณ์ช่วงเริ่มต้น มาแชร์กัน เพื่อให้การเริ่มต้นมันง่ายขึ้น ผมจึงพยายามจะให้ข้อมูล โดยใช้ภาษาง่าย ๆ เพราะไม่รู้ว่าจะพูดให้มันยากไปทำบ๊องส์อะไร

ก่อนอื่น วันนี้ก็ต้องผายมือเชื้อเชิญคุณนิกร เข้ามาร่วมก๊วนด้วยความยินดี เข้ามาแล้วก็มาแชร์ประสบการณ์นะครับ ส่วนคุณสมัครเล่น ซึ่งดูแล้วน่าจะเก๋าที่สุด ก็ขออัญเชิญเป็นแอ็ดไวเซอร์ซะเลย

=============
ได้ลองฟัง 2 violin concerto no.1 ของบาคแล้วครับ พอดีว่าเพลงไวโอลินที่เล่นโดย Hilary hahn ผมมีอยู่ในกรุเยอะหน่อย

ฟังแล้วก็ชอบตามคุณสมัครเล่นครับ แรก ๆ ไม่ได้ฟังอย่างสังเกต เลยไม่ได้ติดใจว่ามีไวโอลินสองตัว รวมหัวกันประชันกับวงใหญ่ *: )

เมื่อตอนยังเป็นเด็ก ผมดูหนังในโรงภาพยนต์ จำได้ว่าหนังฝรั่งที่มีภาพมุมสูงแบบพาโนราม่า เป็นวิวธรรมชาติเขียว ๆ จะมีเสียงซาวน์ดแทร็กเป็นกลุ่มไวโอลินลอยอยู่ในบรรยากาศ พูดไปก็นึกขำครับ เพราะความเป็นเด็กทำให้ผมเข้าใจว่า ในท้องทุ่งจะมีเสียงแบบนั้นล่องลอยอยู่จริง ๆ

ทุกวันนี้ ย้ายบ้านมาอยู่ริมท้องนา มีแต่เสียงลมพัด เสียงนกร้อง แต่ไม่ยักมีเสียงไวโอลิน *: p

ซิมโฟนี่หมายเลข ๖ Pastorale ของเบโธเฟ่น เป็นเบอร์แรก ๆ ที่ผมหัดฟังเหมือนกันครับ เวลาไปยืนริมทุ่งตอนเย็น ๆ เอาเครื่องพกพาไปฟังเพลงนี้ด้วย ภาพที่เห็นตรงหน้า กับเสียงเพลงที่ดังมาจากหูฟัง จึงเหมือนกับได้กลับไปดูหนังเรื่องที่เคยดูตอนเป็นเด็ก (ดันจำชื่อเรื่่องไม่ได้)

มีเพลงในกลุ่มเครื่องสาย ที่อยากจะแชร์ครับ เพลงนี้เป็นงานเซราเนดของไชคอฟสกี้ ผมมีไฟล์ชื่อเพลงว่า Sérénade Mélancolique, Op.26 เป็นฝีมือไวโอลินของ Leonid Hogan บรรเลงโดย London Philharmonia Orchestra มี Kiril Kondrashin เป็นวาทยากร ความยาว ๙.๑๔ นาที

เป็นเพลงที่เปิดฟังบ่อยที่สุดเพลงหนึ่งครับ ชอบมาก และเชื่อว่าคุณนพพงษ์(พาดพิงอีกแล้ว ฮาๆ) ได้ฟังจะชอบมาก เพราะไม่มีผ่าง ๆ เป็นเพลงรักที่ออกจะเศร้าสร้อย เหมือนกำลังคิดถึงใครอยู่ครับ ถ้าใครสักคนเอานักดนตรีไปยืนเล่นเพลงนี้ท่ามกลางแสงจันทร์ ใต้หน้าต่างห้องนอนคนรัก ผมว่าคนนั้นได้แต่งงานแน่ ๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

unclepiak

01/06/2007 06:02:00
อ้าวโพสต์ไปแล้ว ชื่อเพลงกลายเป็นภาษามนุษย์ต่างดาวเลย ชื่อภาษาอังกฤษคือ Serenade Melancolique, Op. 26 for Violin and Orchestra ครับ

อ่านย้อนทั้งหมดแล้ว ก็นึกได้ว่าผมพาออกทะเลไปเยอะเลย เพราะเราคุยกันถึงเพลงในยุคบาโร้กอยู่แท้ ๆ

คุณสมัครเล่น ช่วยพากลับมาที่เดิม แล้วต่อเลยนะครับ *: )
ความคิดเห็นที่ : 2

Mr.K

01/06/2007 06:04:23
ชอบครับ ลุงเปี๊ยกมาโม้ให้อ่านบ่อย ๆ นะ
ส่วนตานพน่ะ ปล่อยแกตามเรื่องตามราวไป 5555
ความคิดเห็นที่ : 3

nopphong

01/06/2007 08:26:15
นี่คุณ unclepiak ดีแต่บอกว่าเพลงนั้นเพราะเพลงนี้เพราะ ไม่เห็นอัพมาแบ่งกันฟังบ้างเลยครับ อย่างนี้จะเห็นภาพได้ยังไงล่ะครับ อัพมาเลยครับเป็นเพลงๆเดี่ยวๆก็ได้โหลดเร็วดีครับ
ความคิดเห็นที่ : 4

nopphong

01/06/2007 08:28:38
เมื่อวานดาวโหลดเพลงมาชุดนึง เป็นเพลงที่ richard clayderman บรรเลงเพลงคลาสสิค นี่ยังไม่ได้ลองฟังเลยครับ
ความคิดเห็นที่ : 5

สมัครเล่น

01/06/2007 10:33:06
ไวโอลินคู่ คอนเชอโตของบาคนั้น
ที่ผมมีเป็นสีมือของ ไอแซค สเติน+กิล ชาแฮม
เล่นได้สุด ๆ สมบารมีรุ่นเก๋า
ส่วนฮิลลาลี ฮาน ก็มีชื่อเสียงกับงานของบาคมากเหมือนกันครับ มีรีวิวยกย่องฝีมือไว้เยอะ
แต่ที่สำคัญ คนอะไรก็ไม่รู้ ส้วย สวย......
ตกลงออกจากยุคบาโรคนะครับ จะได้ไปต่อ 5555

เรื่องอัพเพลง ผมเกรงใจเฮียเขา กลัวจะโดนว่าเรื่องละเมิดครับ
ลองมาเล่นแบบ PIF ก็ได้ครับ(ส่งแผ่นแลกกันฟัง)
ความคิดเห็นที่ : 6

nopphong

01/06/2007 10:58:20
ไม่ต้องกลัวหรอกครับ ขนาดเฮียยังเปิดหมวดมิตรรักนักเพลงให้โพสเพลงได้เลยครับ ห้ามอย่างเดียวคือห้ามโพสเพลงของไทยน่ะครับ
ความคิดเห็นที่ : 7

นิกร

01/06/2007 11:06:57
ขอบคุณครับลุงเปี๊ยก ที่ยอมรับผมเข้าชมรม เท่าที่ติดตามผลงาน ผมว่าลุงนี่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของ ชัยคอฟสกี้ แน่ๆเลย เพราะว่าเพลงแนะนำ เป็นเพลงของ คุณชัย ทั้งนั้น เลย 555 ลุงไม่ชอบของ mozart หรือ
beethoven บ้างเหรอครับ ของ struss ก็ ฟังสนุกดีนะครับ จังหวะ waltz เนี่ย มันส์ดี
:166:
ความคิดเห็นที่ : 8

unclepiak

01/06/2007 11:12:43
เอาแล้วไหมละคุณนพฯ มีเพลงดี ๆ 100 Masterpieces ท่านก็ลบทิ้งไปซะงั้น พอตอนนี้ร้องจะเอาอีก ๆ มันน่าส่งไปให้ตำรวจดีดไข่ซะให้เข็ด

ผมน่ะ ดาวน์โหลด 100 Masterpieces ยังไม่สำเร็จเลย 87.5% มาสองอาทิตย์แล้ว อิจฉาคนที่มีเน็ตเร็ว ๆ จริง

ก็กะว่า จะชวนคุยใน 100 เพลงนั้นแหละ เขาไล่ตามปี ค.ศ. สะดวกดี คุยกันไปฟังกันไปพร้อม ๆ กัน

สำหรับสองเพลงที่โม้ไปแล้ว ก็จะอัพโหลดไว้ให้เอาไปฟังครับ กำลังอัพฯด้วยสปีดนินจาเต่าอยู่

ชื่อไฟล์ Examine01.rar ขนาดไฟล์ 42.8 Mb.

มีเพลง Serenade Melancolique, Op. 26 for Violin and Orchestra ของ Tchaikovsky 1 ไฟล์

และ Double Violin Concerto in D minor BWV 1043 ของ J.S.Bach ทั้งสามมูฟเม้นท์ คือ
1. Vivace (ท่วงทำนองมีชีวิตชีวา)
2. Largo ma non tanto (ค่อนข้างช้ากว่า agadio แต่ไม่มาก)
3. Allegro (ท่วงทำนองเร็ว)

ทั้ังหมดเป็นฟอร์แมต MP3 vbr ครับ เดี๋ยวอัพโหลดเสร็จจะมาทำลิงก์ให้อีกที
ความคิดเห็นที่ : 9

unclepiak

01/06/2007 12:02:31
ดาวน์โหลดได้จากลิงก์นี้ครับ

http://noknoi.com/mem/Classical/Examine01.rar
ความคิดเห็นที่ : 10

nopphong

01/06/2007 12:10:59
เดี๋ยวค่ำๆกลับมาโหลดครับ ตอนนี้ขอไปบ้านหม้อก่อน อิอิ
ที่ลบไปคราวที่แล้วเพราะที่เต็มแล้วครับ จะคัดทีละเพลงก็ทนฟังไม่ค่อยไหว เพราะเพลงนึงมีหลายจังหวะต้องฟังทั้งเพลงถึงจะรู้ว่าจะเก็บไว้ไหม
ตอนนี้เลยอาศัยทางลัดให้คุณ unclepiak คัดเพลงให้ฟังนี่ไงครับฮ่าๆๆ
ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ : 11

นายมั่นคง

01/06/2007 18:21:58



5555

ตกลงให้เฮียเปี๊ยกเป็นท่านผู้นำฝ่ายคลาสสิคก็แล้วกัน

ดีครับเฮีย อย่างน้อยเฮียจะได้เป้นแรงบันดาลใจให้กับคนที่ไม่เคยฟังเพลงคลาสสิคมาก่อน ได้มีข้อมูลหรือรู้ว่าควรจะเริ่มจากตรงไหนดี 5555


ส่วนตัวผมนั้นคงต้องปล่อยไปตามยถากรรมแล้ว สมมุติว่าผมจะหัดฟังคลาสสิคเป็นชุดแรก

ผมควรจะฟังจากชุดไหน ชุดไหนคือโคตรฮิตที่ต้องเริ่มต้น ????

5555


--------------------------------------------------------
เพลงสากล เราแลกเปลี่ยนกันแบบไม่ประเจิดประเจ้อนัก เจียมเนื้อเจียมตัวแบบหน่อมแน้ม คงไม่มีใครสนใจหรอกครับ 555


แต่เพลงไทยไม่ได้จริงๆ ครับ เพราะผมเองรู้สึกว่ามันไม่สมควรจริงๆ เหมือนกันจ้า 5555 เอาเป็นว่าเราช่วยกันดูแลอย่าให้ใครโพสเพลงไทยในนี้ก็แล้วกัน บอร์ดจะได้อยู่ไปนานๆ อ่ะ 5555
ความคิดเห็นที่ : 12

unclepiak

01/06/2007 18:49:43
สมมุติว่า คมช. ประกาศว่าประชาชนไทย ห้ามมีเพลงคลาสสิกไว้ในไอพอดเกินกว่าหนึ่งเพลง

ถูกตัดสิทธิ์เลือกมาก ให้เพลงเดียว ผมคงจะเก็บ piano conceerto no.1 in E minor, Op.11 ของโชแปงครับ

ผมแนะนำเพลงนี้ให้เฮียมั่นคงครับ ฟังมันเพลงเดียวพอ ไม่ต้องฟังเพลงอื่นใด เพลงนี้ครบเครื่อง มีทุกรสชาติ ขอให้ฟังซ้ำ ๆ ฟังหลาย ๆ หน ฟังแล้วฟังเล่า ฟังจนจำท่วงทำนองให้ได้ แล้วเฮียจะรู้เองแหละว่า เพลงคลาสสิกที่ไพเราะนั้นเป็นยังไง

เพลงนี้มันเหมาะกับหูฟังกราโด้ด้วยครับ ลองดูเถอะ ไม่ผิดหวังแน่ ผมรับรอง !!!
ความคิดเห็นที่ : 13

โอ้เอ้

01/06/2007 21:22:56
piano concerto no.1 in E minor, Op.11 ของโชแปง ท่อนที่2 Romanze. Larghetto
ชอบมากๆครับ เสียงเปียนโนประสานกับเสียงจากเครื่องสาย(ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล) ชวนให้รู้สึกเหงาเศร้า แต่ก็แฝงไว้ด้วยความอุบอุ่น เอ๊ะยังไง ๕๕ เอาเป็นว่าลองหาฟังดูครับ ฟังไปเรื่อยๆจะหลับไม่รู้ตัว้
ความคิดเห็นที่ : 14

นายมั่นคง

01/06/2007 22:05:05



โห ช้าไม่ได้แล้ว ต้องรีบฟัง 555
ความคิดเห็นที่ : 15

pp

01/06/2007 23:27:43
แนะนำ 1812 ของไชคอฟกี้ สะใจดี
ความคิดเห็นที่ : 16

unclepiak

02/06/2007 04:37:26
อ้าว.. คุณสมัครเล่น กับคุณนิกร แจมเข้ามาตั้งนานแล้วผมเพิ่งเห็น ขออภัยครับ เมื่อวานบอร์ดมันแปลก ๆ คลิกเข้ามาเจอแต่หน้าขาว ๆ

ผมเลยโพสต์ข้ามไปไม่ได้อ่านซะงั้น

คุณสมัครเล่นชวนแลกแผ่น ผมน่ะอยากเล่นมากเลย แต่ผมดันเป็นพวก pirate ไม่เคยมีแผ่นจริง ๆ กับเค้าเลยครับ อีกอย่างอยู่ไกลและไปรษณีย์ไว้ใจไม่ได้ครับ ส่งไปส่งมา แผ่นหายละยุ่งเลย

เอาเป็นว่าเราคุยกัน เพื่อเติมประสบการณ์ เพลงไหนพอจะทำเป็นไฟล์แบ่ง ๆ กันฟังได้ ก็ส่งให้กันผ่านทางบอร์ดนี้แหละครับ อย่างมากเจ้าของบอร์ดก็รับผิดชอบไป ฮาๆๆ

ผมก็พยายามใช้ชื่อไฟล์ที่ไม่ประเจิดประเจ้อ

ออกจากบาโร้กเลยก็ได้ครับ พูดคุยไปเรื่อย ๆ นึกอะไรออกก็เล่าออกมา พอสุดทางแล้วก็ย้อนกลับมาต่อช่วงเวลาที่คุยค้างเอาไว้ ดีไหมครับ.. *: )

=====
คุณนิกรครับ จริงดังว่า คือผมชอบเกย์ เอ้ย.. ผมชอบไชคอฟสกี้ เพราะเพลงเค้าคร่ำครวญสุดติ่ง จะเศร้าก็เศร้าแทบน้ำตาเป็นเลือด จะฮึกเหิมก็กระหน่ำจนหนำใจ ฟังติดหูง่ายดี จะว่าไปอารมณ์เพลงแบบนี้ก็คล้าย ๆ เพลงร็อคครับ ถ่ายทอดอารมณ์จากก้นบึ้งกันไปเลย ไม่มีกั๊กดี..

แต่ก็ชอบแนวอื่นด้วยครับ อย่างโชแปงที่แนะนำเฮียมั่นฯไปนั้น จะเศร้าแบบน้ำตาตกใน ไม่ได้โหยหวน คร่ำครวญแบบไชคอฟสกี้..

เดี๋ยวพอคุณสมัครเล่น พูดไปถึงยุคคลาสสิก ก็คงเข้าทางโมสาร์ท เบโธเฟ่นยุคต้นเองแหละครับ ค่อย ๆ ไล่ไปทีละยุค

อ้อ.. สำหรับผู้ที่เพิ่งแวะมาอ่าน ที่นี่ไม่ได้เป็นชมรมจริงจังอะไรนะครับ ยินดีต้อนรับผู้สนใจเพลงคลาสสิกทุกระดับ เข้ามาแจมกันได้ ไม่ต้องสมัครสมาชิก เพราะไม่มีนายทะเบียน ฮาๆๆ

======
อยากจะโม้ต่อเรื่องเปียโนคอนแชร์โต้เบอร์หนึ่งของโชแปง ผมน่ะรักเพลงนี้ เพราะความสง่างามของเสียงเปียโนครับ คอนแชร์โต้นั้น จะมีเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่่งเป็นพระเอก สำหรับเพลงนี้ โชแปงเปิดตัวพระเอกอย่างสง่างามมาก

ในท่อนแรกซึ่งมีความยาวเกือบยี่สิบนาทีนั้น กว่าโชแปงจะยอมปล่อยตัวเอกคือเปียโนออกมา มีช่วงอินโทรยาวถีงนาทีที่ โน่นเลย

เรียกว่า กว่าจะอิติปิโสฯ ก็ต้องตั้งนะโมสามจบ พร้อมกับไตรสรณคมกันให้ครบถ้วนก่อน

เสียงแกรนด์เปียโนในเพลงนี้ เด่น เท่ หล่อ และสง่างามมาก เรียกว่าโรเบิร์ตเรดฟอร์ดกับแบรดพิทรวมกัน จึงจะหล่อเท่ากับท่วงทำนองเปียโนของโชแปงเพลงนี้ครับ

จิตวิญญานของแกรนด์เปียโน ถูกถ่ายทอดออกมาโดยคีตกวีที่ถือกันว่า เขาเป็นนักเปียโนที่เก่งที่สุดคนหนึ่งในโลกด้วย

หากใช้สมาธิ ไล่ฟังโน้ตแต่ละตัวของคอนแชร์โต้เพลงนี้ โดยเฉพาะการไล่พรมนิ้วบนลิ่มคีย์บอร์ด นอกจากท่วงทำนองต่อเนื่อง แช่มช้า และรัวเร็วอย่างน่าทึ่งแล้ว โชแปงยังแทรกความว่าง หรือจังหวะการหยุดชั่วขณะ(pause) หรือการทอดเว้นตัวโน้ตว่าง ๆ เพื่อให้อารมณ์ความเหงา เดียวดายให้ประทับลงในใจคนฟัง ซึ่งหาฟังอะไรแบบนี้ได้ยากมาก

เหมือนศิลปะญี่ปุ่น ที่มักจะเอาความว่างเปล่า มาเติมลงบนชิ้นงาน มันเกิดความสมดุลที่ประหลาด และงามจับหัวใจ

โชแปงนอกจากจะเชี่ยวชาญเปียโนอย่างยิ่งแล้ว เขายังเป็นนายของเสียงดนตรีอื่น ๆ ที่สามารถบงการ หยิบเสียงที่เหมาะเหม็งมาจัดวาง แทรกสอดในเพลงได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งมีการวนท่วงทำนองหลักกลับมาตอกย้ำหัวใจคนฟังตลอดเพลง

ถ้าเลือกได้ควรหาเวอร์ชั่นที่ Authur Rubinstein เป็นเปียโนลิสต์นะครับ เพราะเขาว่ากันว่ารูบินสไตน์ เป็นผู้แตกฉานและเก่งกาจที่สุดในงานคีตกวีของโชแปง
ความคิดเห็นที่ : 17

unclepiak

02/06/2007 04:40:34
ขออภัย เขียนตกไปหน่อยครับ ดังนี้

"ในท่อนแรกซึ่งมีความยาวเกือบยี่สิบนาทีนั้น กว่าโชแปงจะยอมปล่อยตัวเอกคือเปียโนออกมา เขาปล่อยให้มีช่วงอินโทรยาวถีงนาทีที่ ๓.๕๐ โน่นเลย..."
ความคิดเห็นที่ : 18

สมัครเล่น

02/06/2007 09:01:08
พูดถึงโชแปง ก็ต้องพูดถึงเปียโน
โชแปงแต่งคอนเชอโตทั้งสองเบอร์เวลาไล่เลี่ยกันมาก ข้อมูลบางที่ระบุว่า แต่งพร้อม ๆ กันนั่นล่ะ เพียงแต่อันไหน นำเสนอก่อนเท่านั้นเอง
ท่อนที่สองของหมายเลข 2 ว่ากันว่า เป็นความรู้สึกของโชแปงที่ตกหลุมรักสาว ลูกศิษย์แสนสวย ความรู้สึกเหล่านั้นแสดงออกในท่วงทำนองในท่อนนี้นี่เอง ลองฟังดูก็ได้ครับ อาจจะชอบมากกว่าเบอร์ 1 ก็ได้
แต่เพลงคอนเชอโตของโชแปง มีผู้วิจารณ์กันว่า พาร์ทในส่วนของวงออร์เคสตร้านั้น ไม่โดนเด่นเท่าที่ควร เนื่องจากว่าโชแปง เป็นนักเปียโน ไม่ได้เป็นนักประพันธ์ที่มุ่งแต่งเพลงประเภทซิมโฟนี หรือเพลงวงใหญ่ ไม่ถนัดจัดเจนในการแยกเสียง หรือภาษาดนตรีเรียกกันว่า Orchestration (การกำหนดแจกแจงเสียงว่า เครื่องดนตรีไหนควรเล่นอย่างไร)
แต่การที่ part เปียโนที่โดดเด่นมาก ก็ลบข้อด้อยดังกล่าวนี้ไป
แผ่นที่ผมแนะนำ ก็ขอแนะนำของ Mercury บรรเลงโดย Gina Bachauer แผ่นบันทึกมาหลายปีแล้วครับ คนบรรเลงก็เท่งทึงไปนานแล้ว แต่กรรมวิธีในการบันทึกยังเป็นเยี่ยมอยู่ เสียงเปียโน อิ่มกังวาลเต็ม ๆ เลยครับ โดยเฉพาะหมายเลข 1 ที่ป๋าเปี๊ยกชอบ ๆ อยากรู้เหมือนกันครับ ว่าได้แอมป์ดีดี + หู 650 จะเป็นยังไงหนอ....
สงสัยต้องเสียตังให้เฮียอีกแล้ว .....เฮ้อ
ความคิดเห็นที่ : 19

เอาเพลงมาฝาก

02/06/2007 21:26:58
เอาเพลงมาฝากครับ four season ของ vivaldi ที่มีการใส่ลูกเล่น เช่นเสียงผิวปากเข้าไปด้วยฟังสนุกดี

Vivaldi - The Four Seasons (great version!)[mp3@320][scans] by Tony

http://www.mininova.org/get/706403
ความคิดเห็นที่ : 20

unclepiak

03/06/2007 08:11:37
ขอบคุณที่เอาเพลงมาฝากครับ... *: )

คุณสมัครเล่น เข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลโชแปงคอนแชร์โต้ ได้ครบถ้วนขึ้น ขอบคุณครับ

เดี๋ยวต้องออกไปข้างนอก ฝากให้คุณสมัครเล่น โพสต์แนะนำต่อนะครับ เดี๋ยวค่ำ ๆ จะกลับเข้ามาดูอีกที
ความคิดเห็นที่ : 21

nopphong

03/06/2007 11:10:51
ตัว crossfeed ของคุณ unclepiak เสร็จแล้วครับ ยังไงรบกวนส่งเมลที่อยู่มาที่ [email protected] ด้วยครับจะได้ส่งไปให้ลองครับ:132:
ความคิดเห็นที่ : 22

สมัครเล่น

03/06/2007 17:37:23
ในยุคคลาสสิคนั้น ผู้ที่มีความสำคัญมากที่สุด คงจะหนีไม่พ้น มทสาร์ท ผู้ที่พระเจ้าประทานอานุภาพอันยิ่งใหญ่ในการประพันธ์เพลงมาให้ แต่อาภัพในการดำเนินชีวิต (ลองหาหนังเรื่อง Amadeus มาดูครับ)

ว่ากันว่า มทสาร์ทนั้น หลงใหลอุปรากรอิตาเลียน จนกระทั่งเพิ่มคำว่า Amadeus ลงไปในชื่อของตนด้วย มีความหมาว่า ผู้ที่พระเจ้ารัก ก็คงรักจริง ๆครับ อายุ 35 ปี ก็เอากลับไปคืนซะแล้ว

เพลงของมทสาร์ทนั้น มีมากมายจริง ๆ สุดที่จะเชื่อว่า คนที่อายุขนาดนั้น สามารถแต่งเพลงอะไรได้มากมายขนาดนี้
แนะนำ Eine Kleine Nacthmusik ครับ นี่คือเพลงที่ฟังง่าย ไพเราะ ทำนองติดหูง่าย มทสาร์ทแต่งเพลงนี้เมื่ออายุ 17 ปี!!!



ความคิดเห็นที่ : 23

unclepiak

04/06/2007 03:37:33
เห็นคำว่า มทสาร์ท (มดสาด)แล้วคิดถึงคุณจิ๋ว บางซื่อ ผู้เขียน "บรรเลงรมย์" หนังสือที่ผมหยิบมาอ่านซ้ำหลายรอบ ครั้งแรกสุดนึกว่า สำนักพิมพ์จะพิมพ์ผิดซะีอีก *: p

ผมมีโอกาสได้ดูเรื่อง Amadeus แล้วครับ คนเขียนบทเก่งมาก เพลงที่ใช้เปิดฉากแรก คือ piano concerto no.20 in D เป็นฉากเปิดที่ชวนติดตามมาก

ประวัติโมสาร์ทนั้น น่าทึ่งมาก จะขอโม้สักเล็กน้อยให้ผู้มาใหม่ตื่นเต้นซะหน่อย ส่วนท่านที่ติดตามงานเพลงคลาสสิกมานาน ย่อมเคยได้ยินเรื่องที่ผมกำลังจะโม้ต่อไปนี้หลายรอบแล้ว

โมสาร์ทเป็นเด็กอัจฉริยะ เกิดมาได้แค่ ๔ ขวบก็แต่งเพลง ที่พ่อแต่งค้างเอาไว้บนโต๊ะจนจบได้ และพูดถึงซิมโฟนี่ที่ซับซ้อน เขาแต่งไว้ทั้งหมดถึง ๔๑ เพลง ซิมโฟนี่แรกแต่งเสร็จเมื่ออายุเพียง ๘ ขวบ

โมสาร์ทแตกต่างจากยอดคีตกวีท่านอื่น ตรงพรสวรรค์ที่พระเจ้าประทานมา เขาเขียนเพลงได้เร็วมาก ว่ากันว่าซิมโฟนี่สามเพลงสุดท้าย (เบอร์ ๓๘, ๔๐, ๔๑) เขาใช้เวลาเขียนแค่สองเดือน

ในทัศนะผม ผลงานของโมสาร์ทจะมีความไพเราะโดยธรรมชาติ คือเพราะตั้งแต่ต้น ไม่ได้วิจิตรบรรจง มิไดตัดแต่งพันธุกรรมให้เลิศหรูอลังการ เป็นเพลงที่ด้นออกมาจากภายในแล้วใช้ได้เลย

เวลาฟังเพลงโมสาร์ทส่วนใหญ่ จึงรู้สึกผ่อนคลาย และไม่เครียดเลย

ความเก่งระดับนี้ ทำให้เขาได้ทำงานรับใช้ราชนิกูลหลายวัง ทั้งออสเตรีย และฝรั่งเศส เล่ากันว่าตอนเป็นเด็กเติบโตและเล่นหัวอยู่กับแมรี่อังตัวเน็ต โมสาร์ทเคยบอกว่า ถ้าฉันโตขึ้น ฉันจะแต่งงานกับเธอ..

แต่เขาดันตายซะตั้งแต่ยังหนุ่ม ไม่ทันได้เห็นสิ่งที่เรียกกันว่า Bloody Mary
ความคิดเห็นที่ : 24

unclepiak

04/06/2007 03:43:20
แก้คำผิดครับ ดังนี้ "เขาเขียนเพลงได้เร็วมาก ว่ากันว่าซิมโฟนี่สามเพลงสุดท้าย (เบอร์ ๓๙, ๔๐, ๔๑) เขาใช้เวลาเขียนแค่สองเดือน"

Symphony No. 39, 40, 41 ครับ

ซิมโฟนี่ชิ้นที่ถือว่าเป็นที่สุดของโมสาร์ทคือเบอร์ 41 ที่มีชื่อเรียกว่า &squot;Jupiter&squot;
ความคิดเห็นที่ : 25

สมัครเล่น

04/06/2007 09:06:09
ในหนังเรื่อง Amadeus ผมชอบตอนที่ มทสาร์ทไปไล่จับสาว ปล้ำสาว แล้วได้ยินเสียงเพลงของเขาดังมา แล้วก็อุทานว่า เพลงของฉัน เล่นโดยไม่มีฉันได้ยังไง แล้วก็รีบวิ่งไปคุมวง เพลงนั้นคือ Wind serenade K.361 ท่อน Adagio ท่อนนี้เพราะดีครับ ตัวมทสาร์ทเอง ชอบ Woodwind เป็นพิเศษ มากกว่าเครื่อง Brass เป็นอันมาก
อีกเพลงที่ถือว่าเป็นมงกุฎประจำเครื่อง woodwind เลย คือ Clarinet Concerto มีเบอร์เดียวครับ เพลงนี้เป็นเพลงโปรดของผมเลย ฟังมาหลายปี ฟังทีไรก็ยังเพราะจับใจ โดยเฉพาะท่อนที่สอง ถึงกับโดนเอาไปทำ theme ของหนังเรื่อง Out of Africa ..
ความคิดเห็นที่ : 26

zaiouar

04/06/2007 19:29:40
ขอบคุณพี่เปี๊ยกค่ะ
ความคิดเห็นที่ : 27

unclepiak

05/06/2007 07:27:01
อ่า.. น้องไส้อั่วเข้ามาอ่านด้วยนิ *: )

--------
มาคุยกันต่อดีกว่า วันนี้อยากจะฝอยเรื่องของไฮเดิลมั่งครับ เพราะโมสาร์ทกับไฮเดิลออกจะมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ไม่น้อย ไฮเดิลเกิดปี ค.ศ.1732 เกิดก่อนโมสาร์ท ๒๔ ปี (โมสาร์ท ค.ศ. 1756 - 1791) ตอนอายุ ๕๒ ไฮเดิลได้เจอกับโมสาร์ทที่เวียนนา สองอัจฉริยะกลายเป็นเพื่อนซี้แหง๋ต่างวัยกันโดยง่าย เพราะเป็นยอดนักแต่งเพลงหัวไวด้วยกันทั้งคู่ คบหากันได้แค่เจ็ดปี ไฮเดิลผู้เฒ่ากลับต้องรับฟังข่าวการตายของเพื่อนรัก

ไฮเดิลอายุยืนครับ เขาตายเมื่อ ค.ศ. 1809 สิริรวมอายุได้ ๗๗ ปี

จากที่โม้ไว้ครั้งก่อน ที่ว่าซิมโฟนี่เป็นเพลงใหญ่ คนจะแต่งซิมโฟนี่ได้ ต้องรู้ไวยกรณ์ หรือฉันทลักษณ์ของดนตรีอย่างแตกฉาน ต้องรู้จักเครื่องดนตรีทุกชนิด คือต้องร่ำเรียนกันนานกว่าจะเริ่มลงมือแต่งซิมโฟนี่ได้ แต่โมสาร์ทแต่งได้ตั้งแต่แปดขวบซะงั้น

มาดูอัจฉริยะท่านอื่นบ้าง เบโธเฟ่น แต่งซิมโฟนี่แรกสำเร็จเมื่ออายุ ๓๐ ปี และตลอดทั้งชีวิต (๕๗ ปี) แต่งซิมโฟนี่ไว้เพียง ๙ เพลง บราห์มยิ่งแล้วไปใหญ่ กว่าจะแต่งซิมโฟนี่เบอร์แรกสำเร็จ ก็ต้องคั่วกลิ้งเคี่ยวเข็ยกันจนอายุปาเข้าไป ๔๓ ปีโน่นเลย และทั้งชีวิตบราห์มเขียนซิมโฟนีไว้แค่ ๔ เบอร์

แต่โมสาร์ทแต่งซิมโฟนีไว้ ๔๑ ซิมโฟนี ทั้งที่อายุสั้นแค่ ๓๕ ปี

ที่ร่ายยาวมาหลายย่อหน้า เพราะต้องการบอกว่า ไฮเดิลคนเดียวโด่เด่ แต่งซิมโฟนี้ไว้ถึง ๑๐๔ เบอร์ (แถมยังมีประเภทซิมโฟนีในชื่ออื่นอีก ๔ เบอร์) เขาเป็นคอมโพเซอร์คนเดียวในโลกใบนี้ที่เขียนซิมโฟนี่เกินกว่า ๑๐๐ เบอร์

เพลงของ Joseph Haydn ที่ควรจะหามาฟัง รอท่านสมัครเล่นมาแนะนำอีกที ผมเปิดวิกิพีเดียเพื่อนำมาโม้ให้ฟังเฉย ๆ *: ) แฮ่ม!!
ความคิดเห็นที่ : 28

สมัครเล่น

05/06/2007 10:09:40
ผมไม่มีแผ่นของไฮเดินเลยครับ 5555
แต่จริง ๆ แล้วผมก็ฟังเพลง composer ไม่หลากหลายมากครับ ต้องให้ท่านอื่น ๆ ที่พอจะรู้ช่วยเหมือนกัน
ความคิดเห็นที่ : 29

unclepiak

05/06/2007 13:20:29



ฮาๆ ๆ โยนกลับมาทางผมอีกเลยจิ

Joseph Haydn - ไฮเดิล หรือไฮเดน
กะ
George Frideric Handel - เฮนเดล

J.Haydn กะ G.F.Handel สองชื่อนี้ทำผมงงเป็นประจำ ด้วยความที่ธรรมชาติผมออกจะเป็นคนห่วย ๆ ในเรื่องการออกเสียง พอเห็นตัวอักษรคล้าย ๆ กันผมก็จะนึกว่าเป็นคนเดียวกันทุกที

เวลาอ่านนิยายกำลังภายในก็เหมือนกันครับ ผมดูชื่อตัวละครเป็นภาพ เอี้ยงเอี๊ยะซือ ไซมึ้งชวยเสาะ อี่จับซา(xiii) พวกนี้ ผมไม่เคยอ่านออกเสียงเลย ใช้มองเป็นกลุ่มตัวอักษรภาพนึง

พอมีหนังซีรี่ส์กำลังภายใน จึงค่อยรู้ว่า อ้อ.. ตัวนี้ชื่อนี้ ลีม๊กโช้ว ออกเสียงแบบนี้ เป็นต้น

ฉันใดฉันนั้น Haydn กับ Handel จึงถูกผมมองเป็นคนเดียวกันเป็นประจำ แฮ่ๆ.. ห่วยไหมละผม

ตะกี้ไปรื้อดูครับ พบว่าผมมีเพลงที่ชอบของไฮเด้นอยู่เหมือนกัน เป็นเชลโลคอนแชร์โต้ครับ ทำไมต้องไปรื้อถึงจะรู้ว่าชอบว่ะ ไอ้ลุงเปี๊ยกมันมั่วแหง๋ม

ฮาๆ ไม่ได้ชอบมั่ว ๆ ครับ แต่ที่ต้องไปรื้อดู เพราะผมดันเป็นคนประเภทเปิดฟังไปเรื่อย ๆ ไม่ได้เจาะจง เลือก genre เป็น classical แล้วก็เปิิดไล่ไปเรื่อยเปื่อย ฟังแล้วก็ไม่ได้จำว่าชื่อเพลงอะไร ถ้าจะจำก็จำได้ตามธรรมชาติ

พอไปค้นเรียงตามชื่อ composer ก็พบว่าผมมี Haydn อยู่สองอัลบั้ม และที่ฟังบ่อยจนติดหูคือ Cello Concerto สองเบอร์ คือ No.1,2 in C,D ตามลำดับ

จะว่าไปแล้ว เสียงเชลโล มีเสน่ห์มากนะครับ ให้อารมณ์เศร้าแบบปลงแล้วแม่จำเนียร ฟังแล้วสงบจิตใจได้ดี

ปล. ยิ่งค้นข้อมูลของไฮเดิล ยิ่งทึ่งว่า พ่อมหาจำเริญไฮเดิล ทำไมถึงได้สร้างผลงานออกมาได้เยอะแยะ เยอะจริง ๆ เยอะโคตร ๆ เลยครับ ทั้งซิมโฟนี่ร้อยกว่าชิ้นอย่างที่บอก ยังมีคอนแชร์โต้สำหรับเครื่องดนตรีหลายชนิด มีโอเปร่าอีกหลายเรื่อง ยังไม่นับพวก piano trio และ string quartets อีก

คีตกวีท่านอื่น มีลิสต์ผลงานในวิกิพีเดียแค่หน้าเดียวจบ แต่ของไฮเดิลมีทั้งหมดหกหน้าครับ อย่างนี้้ต้องยอมเขา !!
ความคิดเห็นที่ : 30

unclepiak

05/06/2007 16:50:47
จะเชื่อไหมว่า ผมเพิ่งจะ"ดูด" Top 100 Masterpieces สำเร็จ

วู๊.. ดีใจจริง

http://noknoi.com/mem/Top_100_Masterpieces.torrent
ความคิดเห็นที่ : 31

unclepiak

06/06/2007 06:55:45
ส่งยิ้มหวานโปรยมาก่อนเลยครับ ขอเรียนว่าถูกใจมาก กับเพลงชุดหนึ่งร้อยมาสเตอร์พีช ในชุดนี้มีหลายเพลงที่อยากฟังมานาน อย่างเช่น

Dance of the Bumble Bee ของ Rimsky

พี่เขียว (สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์) เคยเขียนไว้นานแล้ว เกี่ยวกับเสน่ห์ของกลุ่มเครื่องสาย โดยเฉพาะไวโอลิน เพลงของริมสกี้เพลงนี้ จะได้ยินเสียงเครื่องสายบรรเลงออกมา เหมือนกับเสียงผึ้งฝูงใหญ่ มีเทคนิคการใช้คันชักหลาย ๆ อย่างผสมกัน ให้ลองหามาฟังดู

ผมได้ฟังแล้วครับ ถึงต้องส่งยิ้มหวานไง ฟังแล้วคิดถึงสมัยเด็ก เคยดูซีรีส์ดังทางทีวีชื่อ "หน้ากากแตน" เด็กรุ่นหลัง ๆ คงไม่คุ้น แต่ถ้าอายุเกินสี่สิบ ผมว่าต้องเคยดูกันทุกคน

Dance of the Bumble Bee เป็นเพลงที่ควรลองฟังสักครั้งครับ เพราะเป็นเพลงที่มีเอกลักษณ์ ความไพเราะและแปลกหูดีโดยเฉพาะคนที่กำลังฝึกสีไวโอลินไม่ควรพลาดเชียว
ความคิดเห็นที่ : 32

ช่างโชค

06/06/2007 07:47:54
ท่านใดใจร้อน อยากฟังแบบไม่ต้องปีนบันไดเชิญที่นี่ครับ


http://213.188.106.66/mozart00.htm

จัดไปอย่าให้เสีย
ความคิดเห็นที่ : 33

nopphong

06/06/2007 10:12:45
อ่า...เคยได้ยินแต่ flight of the bumble bee น่ะครับ ไม่รู้เพลงเดียวกันหรือเปล่า ผมมันก็ไม่ใช่คอคลาสสิคเสียด้วย อิอิ
ความคิดเห็นที่ : 34

unclepiak

06/06/2007 11:58:45
อืม.. คงจะเป็น The Flight of the Bumble Bee จริง ๆ ครับ ผมไปพลิกใน "ดนตรีที่รัก" ก็เจอว่าเป็นไฟท์ติ้ง ไม่ใช่ด้านซิ่ง... ค้นกับกูเกิ้ลก็ได้ผลเหมือนกัน

ความที่ไม่ได้สอบทานครับ ลอกชื่อเพลงมาจาก 100 Masterpieces ด้วยเชื่อว่าเขาคงไม่ได้มั่ว สรุปว่า เขามั่วมา ผมเลยพลอยมั่วตามไปอย่างน่าอาย..

ขออภัย และขอบคุณที่ทักท้วงครับ
ความคิดเห็นที่ : 35

nopphong

06/06/2007 13:01:52
เพลงนี้ผมก็ชอบครับเลยจำได้ เสียงมันปวดหูดีฮ่าๆๆ ทำได้เหมือนเสียงแมลงมันบินๆๆข้างๆหู จังหวะก็สนุกดีครับ
ความคิดเห็นที่ : 36

Az

06/06/2007 17:09:29
คุณ unclepiak มี ของ Liszt บ้างไหมครับ

ชุด Etudes de virtuosite กับ Grandes Etudes de Paganini แบบ loseless น่ะครับ เพราะผมมีแต่เป็น ไฟล์ AAC ประมาณ 200kbps+ ผมอยากได้เป็นไฟล์ตัวoriginal

ผมเองมีเพลงคลาสสิคอยู่หลายชุด เช่น Bach, Beethoven, Mozart, Chopin, Liszt, Pachelbel, Vivaldi, Haydn, Schubert, Schumann, Tchaikovsky, Handel, Stravinsky ถ้าเกิดคุณ unclepiak สนใจ เด๋วผมมาอัพแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

ปล. เพลงของ Haydn ผมแนะนำ London Symphonies กับ Paris Symphonies ครับ ถือเป็นจุดสูงสุดของ Haydn เลยทีเดียว
ความคิดเห็นที่ : 37

แมน

06/06/2007 18:06:19
อยากได้ moonlight sonata แบบกีต้าคลาสสิกอะครับ><
ความคิดเห็นที่ : 38

unclepiak

06/06/2007 20:12:06
เพลงของลิสซ์ผมมีสี่เพลง เป็น mp3 vbr ทั้งหมดครับ คำแนะนำงานของไฮเด้นขอบคุณครับ ส่วนเรืื่องอัพโหลดไฟล์ ผมไม่ค่อยจะสู้ครับ เน็ตทางผมช้าเกินแกง

คุณแมน อยากฟังแปลก ๆ มูนไลท์โซนาต้า เขาเปล่งประกายเปียโนได้เลิศล้ำมาก ไม่เคยฟังแบบเป็นกีตาร์คลาสสิกเลยครับ

ผมมีกีตาร์คลาสสิกที่แนะนำได้ ก็คืออัลบั้ม A Touch Of Romance โดย Angel Romero (ซึ่งคนที่เป็นคอกีตาร์คลาสสิก ก็คงจะรู้จักกันหมดแล้ว)

ปล. คุณสมัครเล่นไปไหนแล้ว
ความคิดเห็นที่ : 39

สมัครเล่น

07/06/2007 08:58:14



ช่วงนี้ไม่ค่อยว่างครับ แฮ่ๆๆ
เพลงของลิสท์ ผมไม่มีเลยครับ
จริง ๆ แล้วชอบฟังเครื่องสายมากกว่าเปียโน

อัลบั้มที่แนะนำมา Angel Romero มีสองชุดครับ
เจ้าตัวเล่นกับลูกชาย นำเพลงมาเรียบเรียงใหม่

ถ้าจะฟังกีตาร์คลาสสิคแนะนำแผ่นนี้ครับ
แล้วจะมารีวิวให้อ่านอีกครั้งนะครับ
ความคิดเห็นที่ : 40

สมัครเล่น

09/06/2007 08:43:58
คอนเซียโต เดอ อารานคเวซ
ถ้าฟังกีตาร์คลาสสิค แล้วไม่ได้ฟังเพลงนี้
ก็คงเรียกว่านักฟังกีตาร์คลาสสิคไม่ได้เด็ดขาด
Rodrigo นักประพันธ์ชาวสเปน ผู้สายตาพิการ ประพันธ์เพลงนี้เมื่อปี 1939 ตัวของ Rodrigo เอง ไม่ได้เป็นนักกีตาร์ แต่ก็ประพันธ์เพลงนี้ให้กีตาร์ได้แสดงถึงอานุภาพของเครื่องดนตรีชนิดนี้ ที่เมื่อก่อนในยุคคลาสสิค และยุคโรแมนติค มองว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการร้องรำทำเพลงเท่านั้น
จะหาบทประพันธ์ใดที่ไพเราะ และเปี่ยมไปด้วยวิญญานสเปน เช่นนี้ คงไม่มีอีกแล้ว
Naciso Yepes นักกีตาร์ชาวสเปนผู้เลื่องชื่อ เล่นบทประพันธ์นี้ได้ลึกซึ้ง เข้าถึงอารมณ์อย่างยิ่ง
ผมฟังบทประพันธ์ชุดนี้ โดยนักกีตาร์หลาย ๆ ท่าน
แต่ก็ชอบ Naciso Yepes มากที่สุดครับ
ความคิดเห็นที่ : 41

เทมส์ 75

09/06/2007 14:13:00
ผมก็ฟังนะครับ ฟังได้เรื่อยๆ 4season ไม่เคยฟังจย เพราะใช้ฟังตอนนอนไม่เคยตื่นอยู่ตอนท่อนสุดท้ายสักที...:132: 100 เพลง ก็โหลดมาแล้ว ยังฟังไม่ครบ...ลุงเปี๊ยกไปมีทติ้ง TAF หรือเปล่าครับ...เดี๋ยวไปนั่งฟังด้วยนะก็ได้นะครับ...ว่าแต่ผมมี Symphony ที่ลุงเปียกอาจไม่เคยฟังอ่ะครับมันชื่อ Symphony X เดี๋ยวเอาไปให้ลองฟังครับ ฟังเอามันดีครับ....


เฮ่อ...ตั้งแต่ได้เจ้า koss75 มา ก็ฟังประเภทAcoustic เยอะครับ เพลงใน D2 ก็หนักไปทางนั้น ถ้าป๊อปก็แบบ bodyslam in love Endophine ...ชอบเสียงที่กระหึ่ม กระพือ ของ 75 ครับ:164:
ความคิดเห็นที่ : 42

unclepiak

09/06/2007 15:52:20
ตะกี้ลองเข้าไปค้นที่อเมซอน โดยใช้คีย์เวิร์ดว่า Rodrigo

โอ.. ผลงานเยอะเลยครับ ผมก็เพิ่งเคยได้ยินชื่อโรดริกโกจากท่านสมัครเล่นนี่แหละ

ท่านสมัครฯ ช่วยเล่าประวัติของป๋าโรดริกโกให้ฟังโดยละเอียดหน่อยครับ ผมรู้สึกว่า นักประพันธ์ท่านนี้ดูท่าจะไม่ใช่ธรรมดา ๆ

การได้พูดคุยกัน มันมีดีตรงนี้ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น ยิ่งมีผู้รู้จริง อยู่ในวงสนทนาด้วย ถือว่าโชคดีมาก ๆ

หมายเหตุ คุณเทมส์ เอ่ยถึงซิมโฟนี่เอ็กซ์ หมายถึงซิมโฟนี่เบอร์สิบ(โรมัน)หรือว่า เอ็กซ์แบบเรทติ้งสยึ๋มกึ๋ยครับ ฮาๆ
ความคิดเห็นที่ : 43

สมัครเล่น

14/06/2007 10:10:00
รายละเอียดเรื่องประวัติ
อ่านได้ที่นี่เลยครับ
http://www.joaquin-rodrigo.com/bioce.html
Rodrigo เป็นอะไรที่แปลกมาก จริง ๆ แล้วแต่งเพลงไว้หลายหลากเครื่องดนตรีพอสมควร แต่ที่โด่งดังสุด ๆ ก็คือ กีตาร์คอนเชอร์โต
แล้วก็ที่แปลกอีกก็คือ ทั้งนักกีตาร์ ช่างทำกีตาร์ ต่างพากันไปอยากพบปะเจอ ขอถ่ายรูปด้วย คงเห็นว่าเป็นปูชนียบุคคลของวงการกีตาร์มั้งครับ ทั้ง ๆ ที่เจ้าตัวเองก็ไม่ได้เป็นนักกีตาร์แต่ประการใด
แต่ในความเห็นผมก็คือ
แต่งเพลงนี่เพลงเดียว ก็ดังแล้วครับ
เหมือน George Bizet แต่งอุปรากรเรื่อง Carmen เรื่องเดียว ก็ดังระเบิดแล้วครับ
อ้อ......
ได้ดู Series เรื่อง Nodame Cantabile แล้ว
เยี่ยมมากครับ เรื่องนี้
ดูแล้วไม่อยากแลลิเกลาวหลังข่าวเลยครับ
ความคิดเห็นที่ : 44

unclepiak

14/06/2007 13:48:30
มีผู้พูดถึง Nodame Cantabile เยอะมาก ทำเอาผมอยากไปด้วย เข้าเมืองคราวหน้า จะแวะไปหาซื้อมาดูกะเขาบ้างครับ

ส่วน Guitar concerto ชิ้นสำคัญของโรดริกโก ผมควานเจอแล้ว กำลังต่อเลโก้อยู่ครับ คงได้ฟังเร็ว ๆ นี้
ความคิดเห็นที่ : 45

ชุมนุมคนรักดนตรีคลาสิค

09/04/2010 17:47:53
สวัสดีครับทุกคน รวมถึงเจ้าของบล็อกด้วยครับอิๆ

คือ ตอนนี้เราพยายามรวบรวมคนที่ใจรักและชอบฟังเพลงคลาสสิค

ย้ำนะครับ เราอยากเปิดโอกาสให้เพื่อนๆคนอื่นได้รู้จักกับดนตรีคลาสสิคมากขึ้น เราจึงอยากรวมคนที่ชอบฟังและมาร่วมแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่นๆ ใครที่สนใจจะร่วมเป็นเครือข่ายสมาชิกชุมนุมคนรักดนตรีคลาสสิค

add mail ไปหาผมหน่อย
[email protected]

และกรุณาเข้าไปที่

http://sites.google.com/site/thailandclassicalmusicfanclub/home

และช่วยวางชื่อเว็บเราไว้ในเว้บ/บล็อกคุณ เพื่อรวมกลุ่มเครือข่าย
ช่วยโพสด้วยว่า คุณ คือ
สมาชิกเครือข่ายชุมนุมคนรักดนตรีคลาสิค
ขอบคุณครับ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้างชุมนุมคนรักดนตรีคลาสสิค เรารอทุกคนอยู่ ^__^
ความคิดเห็นที่ : 46

ชุมนุมคนรักดนตรีคลาสสิค

09/04/2010 18:28:40
สวัสดีครับทุกคน รวมถึงเจ้าของบล็อกด้วยครับอิๆ

คือ ตอนนี้เราพยายามรวบรวมคนที่ใจรักและชอบฟังเพลงคลาสสิค

ย้ำนะครับ เราอยากเปิดโอกาสให้เพื่อนๆคนอื่นได้รู้จักกับดนตรีคลาสสิคมากขึ้น เราจึงอยากรวมคนที่ชอบฟังและมาร่วมแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่นๆ ใครที่สนใจจะร่วมเป็นเครือข่ายสมาชิกชุมนุมคนรักดนตรีคลาสสิค

add mail ไปหาผมหน่อย
[email protected]

และกรุณาเข้าไปที่

http://sites.google.com/site/thailandclassicalmusicfanclub/home

และช่วยวางชื่อเว็บเราไว้ในเว้บ/บล็อกคุณ เพื่อรวมกลุ่มเครือข่าย
ช่วยโพสด้วยว่า คุณ คือ
สมาชิกเครือข่ายชุมนุมคนรักดนตรีคลาสิค
ขอบคุณครับ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้างชุมนุมคนรักดนตรีคลาสสิค เรารอทุกคนอยู่ ^__^
ความคิดเห็นที่ : 47

bigcat

08/06/2011 20:55:29
ไปกันหมดแระหรอ คุยตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปี 2010 ก็จะเลิกคุยกันเสียดายจังเนอะ
"ชวนคุยเรื่องเพลงคลาสสิก (ต่อ)"