บทความนี้ไปเอาของชาวบ้านมาครับ เพื่อเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อเพื่อนๆ ในบอร์นี้ครับ
[img]http://www3.pantown.com/data/28356/board4/4-20080724093100.jpg[/ img]
เรียกว่า วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก) คนออกแบบได้ต้องศึกษาเรื่องวงจรความถี่ต่างๆ การวงจรคัทออฟ วงจรกรองความถี่สูง วงจรกรองความถี่ต่ำ
หลักการ
ลำโพง จะสั่นเร็วหรือช้าขี้นอยู่กับความถี่ และเสียงจะดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดของสัญญาณไฟฟ้า ขนาดของลกำโพงมีความสำคัญมาก ไม่ใช่ว่าลำโพงตัวเดียวสามารถจะให้ความถี่ได้ออกมาทุกๆความถี่ ถ้าต้องการให้เหมือนกับเสียงธรรมชาติมากที่สุด ลำโพงจะต้องมีหลายขนาด เราจะแบ่งลำโพงโดยใช้ความถี่ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
วูฟเฟอร์
เป็นลำโพงที่มีขนาดใหญ่สุด ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่ต่ำ
มิดเรนส์
เป็นลำโพงขนาดกลาง ถูกออกแบบมาเพื่อให้เสียงในช่วงความถี่กลางๆ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำ
ทวีทเตอร์
เป็นลำโพงที่มีขนาดเล็กสุด ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่สูง
เรียกว่า วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก) คนออกแบบได้ต้องศึกษาเรื่องวงจรความถี่ต่างๆ การวงจรคัทออฟ วงจรกรองความถี่สูง วงจรกรองความถี่ต่ำ
หลักการ
ลำโพง จะสั่นเร็วหรือช้าขี้นอยู่กับความถี่ และเสียงจะดังหรือค่อยขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดของสัญญาณไฟฟ้า ขนาดของลกำโพงมีความสำคัญมาก ไม่ใช่ว่าลำโพงตัวเดียวสามารถจะให้ความถี่ได้ออกมาทุกๆความถี่ ถ้าต้องการให้เหมือนกับเสียงธรรมชาติมากที่สุด ลำโพงจะต้องมีหลายขนาด เราจะแบ่งลำโพงโดยใช้ความถี่ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
วูฟเฟอร์
เป็นลำโพงที่มีขนาดใหญ่สุด ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่ต่ำ
มิดเรนส์
เป็นลำโพงขนาดกลาง ถูกออกแบบมาเพื่อให้เสียงในช่วงความถี่กลางๆ คือไม่สูงหรือไม่ต่ำ
ทวีทเตอร์
เป็นลำโพงที่มีขนาดเล็กสุด ออกแบบมาเพื่อให้เสียงที่มีความถี่สูง
และ
ซับวูฟเฟอร์ คือลำโพงที่ทำหน้าที่ขับความถี่เสียงต่ำสุด มักมีตู้แยกต่างหาก และใช้วงจรขยายสัญญาณในตัว
ปกติเสียงที่คนเราสามารถได้ยิน อยู่ในช่วงความถี่ 20 Hz- 20000 Hz (20KHz)
ความถี่ 20 Hz หมายถึง เราต้อง สั่นลำโพง 20 ครั้ง ต่อวินาที
ความ ถี่ 20,000 Hz หมายถึงเราต้องสั่น ลำโพง 20,000 ครั้งต่อวินาที เราจึงจะสามารถ ผลิต สร้างเสียงให้ดังผ่านลำโพงออกมาได้ ยิ่งต้องการความดังมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะต้องให้การขยับสั่นของลำโพง ในแต่ละครั้ง นั้นมีความ รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
ลำโพงทวีทเตอร์ เป็นลำโพงที่มีความถี่สูง แผ่นลำโพงมีขนาดเล็กและค่อนข้างแข็ง จึงสามารถสั่นด้วยความเร็วที่สูง
ส่วน ลำโพงแบบวูฟเฟอร์ แผ่นลำโพงจะมีขนาดใหญ่ และค่อนข้างนิ่ม จึงสั่นด้วยความเร็วต่ำ เพราะมีมวลมาก อย่างไรก็ตามเสียงทั่วไป มีความถี่กว้าง คือ มีความถี่จากสูงถึงต่ำ ซึ่งเราจะเรียกว่า มีความถี่ช่วงกว้าง ถ้าเรามีแต่ลำโพงทวีทเตอร์ และวูฟเฟอร์ เราจะได้เสียงอยู่ในย่านความถี่สูงกับต่ำเท่านั้น ความถี่ในช่วงกลางจะหายไป
เพื่อจะให้คุณภาพของเสียงออกมาทุกช่วง ความถี่ จึงจำเป็นจะต้องมีลำโพงมิดเรนส์ด้วย ภายในตู้ลำโพงตู้หนึ่ง จึงมักจะเห็นลำโพงทั้งสามชนิดประกอบเข้าด้วยกัน
สำหรับลำโพงแบบทวี ทเตอร์ เครื่องขยายเสียงจะส่งความถี่สูงให้ ลำโพงวูฟเฟอร์ จะส่งความถี่ต่ำ ส่วนความถี่ในช่วงที่เหลือเป็นของลำโพงแบบมิดเรนส์ ถ้าลองถอดฝาตู้ด้านหลังออก เราจะได้เห็น อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งเรียกว่า ครอสโอเวอร์ (Cross over) อุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัวแยกสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับให้ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนความถี่สูง ความถี่ต่ำ และความถี่ขนาดกลาง
การต่อ cross over มันจะช่วยตัดสัญญาความถี่ที่ไม่ต้องการให้ลำโพงตัวนั้นขับออกไปครับ เช่น ใน ลำโพง วูฟเฟอร์ เนี่ย ถ้าต่อ cross over มันจะช่วยตัดความถี่สูงที่ไม่ต้องการให้ วูฟเฟอร์ขับออกไปครับ ซึ่งจะทำให้วูฟเฟอร์ทำงานเฉพาะในย่านความถี่ที่เราต้องการ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้วูฟเฟอร์ทำงานได้ดีขึ้น ครับ
ครอ สโอเวอร์แยกออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ พาสซีพ (Passive) และ แบบแอคทีฟ (active) ครอสโอเวอร์แบบแอคทีฟ ไม่ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ แต่ใช้พลังงานจากสํญญาณเสียงแทน
หลักการพื้นฐานของครอสโอเวอร์นั้นประกอบขึ้นด้วย ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ และ ตัวเก็บประจุ ต่อขึ้นเป็นวงจรไฟฟ้า ทั้งตัวเก็บประจุและตัวเหนี่ยวนำจะเป็นตัวนำที่ดีภายใต้เงื่อนไขบางประการ ยกตัวอย่างเช่น ตัวเก็บประจุจะยอมให้ความถี่สูงที่เกินกว่าค่าที่กำหนดผ่านไปได้ แต่ถ้าเป็นความถี่ต่ำกว่าค่าที่กำหนดมันจะไม่ยอมให้ผ่านไป
ส่วน ตัวเหนี่ยวนำจะทำหน้าที่แตกต่างกัน คือจะเป็นตัวนำที่ดีเมื่อความถี่ต่ำ คือมันจะยอมให้ความถี่ต่ำกว่าค่าที่กำหนดผ่านไปได้ และจะไม่ยอมให้ความถี่สูงกว่าค่าที่กำหนดผ่านไป
สัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับที่ผ่านการขยายมาแล้ว จะถูกส่งผ่านไปยังครอสโอเวอร์แบบพาสซีฟ โดยเราจะต่อตัวเก็บประจุไว้ก่อนที่จะเข้าทวีทเตอร์ เพราะจะยอมให้แต่ความถี่สูงผ่านไปได้เท่านั้น ตัวเหนี่ยวนำจะต่อไว้ก่อนจะเข้าวูฟเฟอร์ ส่วนลำโพงมิดเรนส์ จะต่ออยู่กับ ตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนำ โดยต่อเป็นวงจรไฟฟ้า เรียกว่า วงจร L-C และเลือกค่าให้เหมาะสม เพื่อให้ความถี่ในช่วงกลางสามารถผ่านไปได้
ตัวเก็บประจุ หรือ C
ตัวเหนี่ยวนำ หรือ L
ครอสโอเวอร์แบบแอคทีฟ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เหมือนกับครอสโอเวอร์แบบพาสซีฟ แต่ว่าออกแบบซับซ้อนกว่า จึงต้องมีแหล่งจ่ายไฟป้อนพลังงานให้ ครอสโอเวอร์แบบนี้จะแยกความถี่ออกก่อนที่จะเข้าเครื่องขยายเสียง ดังนั้นจึงต้องมีเครื่องขยาย 3 อัน แต่ละอันขยายความถี่ในช่วงที่แตกต่างกัน จึงเป็นข้อเสียที่สำคัญประการหนึ่ง แต่มีข้อดีมากเมื่อเทียบกับแบบพาสซีฟ และเป็นสิ่งที่เครื่องเสียงราคาเป็นแสนขาดเสียไม่ได้คือ คุณสามารถปรับแต่งความถี่ทุกๆช่วงได้ อย่างไรก็ตามมันมีราคาค่อนข้างแพงจึงใช้กับเครื่องเสียงราคาสูงเสียมากกว่า
วงจรมีหลายแบบ หลายระดับการตัดสัญญาณ ยิ่งระดับสูง จะยิ่งตัดสัญญาณได้เที่ยงตรงยิ่งขึ้น
ระดับที่ 1
ระดับที่ 2
ระดับที่ 3
ระดับที่ 4
วงจรครอสโอเวอร์บางตัวต้องซับซ้อน ก็เพื่อให้สอดรับกับดอกลำโพงที่นำมาใช้น่ะครับ....นอกจากนี้ วงจรครอสโอเวอร์ยังมีส่วนช่วยในการตัดแบ่งความถี่ที่จะส่งไปยังดอกลำโพงแต่ ละตัว ทั้งดอกทวีตเตอร์ ดอกเสียงกลาง และดอกเสียงต่ำได้แม่นยำและเที่ยงตรงถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ครอสโอเวอร์ทำอะไรให้คุณได้บ้าง ?
ครอ สโอเวอร์เป็นอุปกรณ์ที่จำกัดขอบเขตของความถี่ที่จะถูกส่งไปย ังลำโพง ความคิดเกี่ยวกับครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ค ที่เปรียบเหมือนตำรวจจราจร ที่ให้เสียงสูงผ่านไปยัง ทวีตเตอร์ เสียงกลางผ่านไปยัง มิดวูฟเฟอร์ และเสียงต่ำผ่านไปยัง ซับวูฟเฟอร์
ถ้าปราศจากครอสโอเวอร์แล้วคลื่น เสียงก็มีลักษณะเหมือนการจราจรที่ติดขัด มิดเรนท์ และ ซับวูฟเฟอร์จะพ้องเสียงไปในความถี่เดียวกัน และซับวูฟเฟอร์ในระบบก็จะพยายามส่งเสียงในย่านเสียงตัวโน๊ตสูงๆ ที่มันไม่สามารถทำได้ ก่อให้เกิดอาการ " สุมรวมกันอย่างรุนแรง " ( Fatal pile-up ) และทำลายเสียงแหลมด้วยลักษณะการแปรเปลี่ยนปัจจัยของโน๊ตเสียงเบ ส ซึ่งกระตุกต่อเนื่องในเปลายทางที่ผิดพลาด
ด้วยว่าเหตุเหล่านี้มี ความสำคัญอย่างยิ่ง คุณจึงต้องค้นหาครอสโอเวอร์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับลำโพงแต่ละตัว ถ้าเป็นการใช้ในลำโพงวางหิ้งในระบบเครื่องเสียงบ้านแบบ สองทาง 1 คู่ มันจะใช้ครอสโอเวอร์แบบ 2 ทาง ซึ่งในลักษณะของครอสโอเวอร์แบบนี้ ตัวกรองความถี่สูงผ่านจะขวางกั้นเสียงต่ำไว้ และผ่านเฉพาะย่านความถี่สูงไปให้กับทวีตเตอร์ ในขณะเดียวกันตัวกรองความถี่ต่ำผ่านจะขวางกั้นเสียงสูง และผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำไปยังวูฟเฟอร์
ทำไมต้องใช้แบบแอคทีฟ ?
ขั้น ตอนการใช้งานของพาสซีฟ ครอสโอเวอร์จะต่อในช่วงสัญญาณหลังผ่านเพาเวอร์แอมป์ โดยทั่วไปจะใช้คาปาซิเตอร์หรือคอยส์ที่มีค่าเหมาะสมวางไว้ในระหว่างทางของ สายลำโพง ดังนั้นมันจึงปรุงแต่งเฉพาะเสียงที่ผ่านการขยายกำลังแล้วเท่านั ้น การใช้พาสซีฟ ครอสโอเวอร์ จะต้องมีกำลังเสียงพอเพียง จุดตัดครอสโอเวอร์จะแปรเปลี่ยนไปตามอิมพีแดนซ์ของลำโพง เพราะความถี่จะถูกกำหนดโดยปฎิกริยาของโหลดลำโพง เมื่อคุณเปลี่ยนลำโพงจาก 4 โอห์มไปเป็น 8 โอห์มจุดตัดความถี่จะเปลี่ยนไปครึ่งหนึ่ง เช่น 100 Hz ก็จะเปลี่ยน 50 Hz
ในทางกลับกัน แอคทีฟครอสโอเวอร์จะมีการกระทำโดยตรงกับสัญญาณเสียงก่อนที่จะถูกป้อนเข้า เพา เวอร์แอมป์ ดังนั้นมันจึงไม่มีผลกระทบจากอิมพีแดนซ์ของลำโพง และทำให้ระบบเสียงนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก การติดตั้งในระดับสัญญาณปรีแอมป์ ทำให้เพาเวอร์แอมป์ได้รับสัญญาณที่เข้มข้นเพื่อการขับขยายที่เต็มพละกำลัง ใน ช่วงความถี่นั้นๆ เพื่อผ่านต่อไปยังชุดลำโพง
ข้อด้อยของมันมีแค่ เพียงเรื่องของความต้องการไฟ +12 โวลท์ , กราวด์ และสายควบคุมการ เปิด/ปิด อีเล็คโทรนิคครอสโอเวอร์ อาจมีส่วนใรการเพิ่มเสียงรบกวนให้กับระบบ แต่ด้วยงานติดตั้งคุณภาพสูงๆในปัจจุบันไม่น่าเกิดปัญหานี้ (นอกจากงานติดตั้งห่วยๆ ) แต่ข้อได้เปรียบของอิเล็คทรอนิคครอสโอเวอร์นั่นคือ การให้ความสะอาดชัดของเสียงแม้ว่าจะเปิดฟังความดังของระบบเสียง
ทีนี้มาดูกันว่า ต้องใช้อะไรบ้าง
อันดับแรก ดูความต้องการของเราก่อนว่าอยากได้อะไร คุณภาพ แบบไหน ความดังเท่าไร
อันดับสอง หลายทาง ลำโพงที่ใช้ มีน้ำเสียงที่เหมาะสม ระหว่างลำโพง ที่จะมาร่วม ผลิตเสียง เข้ากันได้หรือไม่
อันดับสาม crossover ที่จะใช้ กับ power amp จะเป็น ระบบไหน (มีผลต่อสตางค์มาก)
อันดับสี่ หาความรู้เยอะๆ เรื่อง crossover และ เรื่อง phase การกำนดจุดตัดแบ่งความถี่เป็นเรื่อง ซับซ้อนพอสมควร
จุดตัด crossover นั้น ต้องดู ค่าการตอบสนองความถี่ ของดอกลำโพงแต่ละดอก เป็นหลักเลยครับ
ลำโพง MID-HI 50Hz-20KHz
ลำโพง LOW 30Hz-350Hz
ควรตั้งจุดตัดไว้ที่เท่าไหร่ครับ สอบถามเพื่อเป็นแนวทางครับ
มันต้องแล้วแต่เราอะครับ ว่า ใช้ตู้แบบไหน อยากได้แนวเสียงแบบไหน มันตอบยาก
การคำนวณ
http://sound.westhost.com/lr-passive.htm
http://www.diyaudioandvideo.com/Calculator/XOver/Help.aspx
ตัวอย่าง
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง แก้ไขข้อความแก้ไข ลบข้อความลบทิ้ง แยกหัวข้อแยกหัวข้อ
การคำนวณ
http://sound.westhost.com/lr-passive.htm
http://www.diyaudioandvideo.com/Calculator/XOver/Help.aspx
ตัวอย่าง
เว็บสำหรับเอาไว้คำนวณเล่นๆ
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=55#first
ค่าอุปกรณ์ ค่า C หรือตัวเก็บประจุนั้นอาจต้องต่อแบบขนานเพื่อเพิ่มค่าให้ได้ตามการคำนวณ
ส่วนค่าเหนี่ยวนำหรือ L ต้องพันเอง และใช้เครื่องมือวัดค่า
ตัวอย่างการต่อจริง
2-Way Crossover Network
Low-Pass (LP) Filter: 2nd-Order Butterworth, Corner Frequency: 4000 Hz
High-Pass (HP) Filter: 2nd-Order Butterworth, Corner Frequency: 4000 Hz
อุปกรณ์
C1 = 3.3 uF, Polypropylene,
C2 = 8.2 µF, Polypropylene
C3 = 15 µF, Polypropylene,
L1 = 0.27 mH, Air Core(ลวดเบอร์ #18),
L2 = 0.13 mH, Air Core(ลวดเบอร์ #18),
Req = 2.4 ohms
Ce = 25 uF
Rp1 = 0.51 ohms
Rp2 = 5.1 ohms
จุดตัดความถี่
วงจรจริง
การต่อ
สรุป
มีขายทั่วไปครับ ที่บ้านหม้อและร้านขายเครื่องเสียง ทั้งแบบ 2 ทางและ 3 ทาง
ราคาตั้งแต่หลักสิบบาท จนถึง หลายหมื่น หากซื้อแนะนำว่าเอาราคาหลักไม่เกิน 1 พัน
มาต่อเล่นก่อน เดี๋ยวราคาวงจรจะแพงกว่าราคาลำโพงเอา
แอมป์ไม่ดี ลำโพงดี เสียงก็ย่อมไม่ดี
แอมป์ดี วงจรตัดเสียงดี ลำโพงเสียงไม่ดี เสียงที่ได้ก็ไม่ดี
แอมป์ดี วงจรตัดเสียงดี ลำโพงดี เสียงย่อมดี
หากต้องการเสียงดี ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายส่วน แหล่งของเสียง แอมป์ สายลำโพง ลำโพง ตู้ วงจรตัดเสียง มันต้องไปด้วยกัน
และของพวกนี้ ราคาค่าตัวมีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักล้าน แล้วแต่ฐานะ
นักเล่นเครื่องเสียง ประเภทเห่อ เสียเงินไปมากมายกับการทำตาม ซื้อตาม พวกหากินกับเสียง พวกหูทอง
เช่นก้อนอิฐราคา 3 หมื่น เมื่อมาวางบนเครื่องเสียงจะทำให้เสียงดีขึ้น โอ้ประเจ้า....มีคนซื้อด้วย รวยอย่างเดียวทำไม่ได้ ต้อง...ด้วย ฮา
มันไม่มีเงื่อนไข อะไรแน่นอน นอกจากทดลองต่อเอง และฟังตามความชอบ
พวกหูทองว่าเสียงดี เราฟังว่างั้นๆ ก็เป็นได้.... ขึ้นอยู่กัีบความชอบของเราเอง....จริงไหม
เพิ่มเติม
คุณสมบัติของ C
หากต่ออนุกรมจะกรองความถี่สูงผ่าน
หากต่อขนานจะกรองความถี่สูงทิ้ง
หากค่ามาก จะตอบสนองต่อความถี่ต่ำ
หากค่าน้อยจะตอบสนองกับความถี่สูง
เช่น
ค่ามาก เสียงกลางก็ปนไปบ้าง
ค่าน้อย ก็ยิ่งแหลม ซิ้ป ๆ
ก็อยู่ที่เกรด คุณภาพของ C ที่ว่านี้ด้วย ว่าเสียงจะสากหู หรือ ชัดใส...
ลำโพงเสียงแหลม
เอา C มาต่ออนุกรมกับลำโพงเสียงแหลม
C ทำหน้าที่ HIGH Pass Filter คือยอมให้ความถี่สูงผ่าน (เสียงแหลมอยู่ในช่วงความถี่สูงครับ) จะผ่านได้แค่ไหนก็ อยู่ที่ค่า C ครับ ถ้า C ค่า น้อยๆความถี่ที่จะผ่านไปยัง ลำโพงนั้นก็จะต้องสูง ตามไป และเสียงจะออกมาเบา ส่วนจะใช้ค่าเท่าไร ต้องลองฟังดูครับ แล้วแต่ ความไว ชอง Tweeter
แนะนำว่าให้ หาซื้อ C ถูกๆขำๆ มาลองก่อนว่าค่าไหนเหมาะกับหูเรา (เรื่องเสียงต้องฟังเองครับ) จ
ากนั้นค่อยไปซื้อ C เทพๆ มาใส่ เช่น Cของยี่ห้อWIMA หรือ ยี่ห้อ Hovland
การใช้ C ต่อ อนุกรม ก็จะเป็น 1st order hi pass filter
จุดตัดความถี่ = จุดที่ค่า impedance ของ C มีค่าเท่ากับ impedance ของลำโพง
impedance ของ C = 1 / (2 x pi x f x c)
pi = 3.14159
f = ความถี่ เนื่องจากค่า impedance ของ C จะเปลี่ยนไปตามความถี่ที่เปลี่ยนแปลง
c = ค่าความจุ หน่วยเป็น farad ถ้าเป็น micro farad ก็คือ 1/1,000,000
แทนค่าสมการ แล้วปรับให้ง่ายต่อการคำนวณ
c = 1,000,000 / ( 2 x 3.14159 x f x z ) หน่วยเป็นไมโครฟารัด
f = จุดตัดที่ต้องการ
z = impedance ของลำโพง
เช่น z = 4 โอห์ม ต้องการจุดตัดที่ 3000 Hz
c = 1,000,000 / (2 x 3.14159 x 3000 x 4)
= 1,000,000 / ( 75398.16 )
= 13.26 ไมโครฟารัด
เลือกแรงดันไฟฟ้าที่ C ตัวนั้นทนได้ด้วยครับ เช่น 10 uF/250V, 10 uF/ 630V เป็นต้น
และค่าที่ถูกต้องจาการคำนวน อาจไม่ใช่ค่าที่ทำให้เสียงออกมาอย่างที่เราต้องการ
อย่างบางคนคำนวนไว้ได้ประมาณ 10 ไมโคร แต่ก็ใช้ตัว 6.8 เสียงจึงจะได้ตามที่ชอบ
ลำโพงเสียงกลาง
ต้องการใช้ C มาต่อคร่อมสัญญาณของเสียงกลาง ก็คือไม่ต้องการให้เสียงต่ำ Low ผ่านเข้าดอกเสียงกลาง
แต่ท่านต้องกำหนดว่าต้องการไม่ให้ผ่านได้ตั้งแต่ความถี่ที่เท่าไหร่
แล้วใช้สูตรสำเร็จในการคำนวณตามนี้เลยครับ
C = 112556 / ( OhmZ x จุดตัดความถี่)
โดยที่
Ohm Z = อิมพีแดนซ์ของลำโพงที่จะใช้งาน x 1.414
ดังนั้น
ลำโพง 8 Ohm จะ = 11.31 Ohm Z
ลำโพง 4 Ohm จะ = 5.66 Ohm Z
จุดตัดความถี่ หน่วยเป็น Hz
ค่า C หน่วยเป็นไมโครฟารัด uF
ยกตัวอย่างเช่นท่านต้องการไม่ให้ความถี่ที่ต่ำกว่า 120Hz ผ่านเข้าดอกลำโพงเสียงกลางที่มีอิมพีแดนช์ 8 Ohm จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
ค่า C ที่ได้จะเท่ากับ = 112556 / (11.31 x 120) = 82.93 uF
ค่า C ที่มีขายตามร้านขายอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ อาจไม่ตรงเปะกับค่าที่ท่านคำนวณได้ ก็ให้หาที่ค่าใกล้เคียงที่สุดแทนได้ครับ
ผมไปไล่อ่านในเว็บเขาบอกว่าถ้าอยากได้เสียงทุ้ม
ต้องใส่ 47-100 uF
แล้วถ้าแหลมยิ่งเบอร์น้อยยิ่งแหลม
แล้ว C คืออะไรครับ
ไม่ค่อยรู้เรื่อง
จริงๆ ก็ไม่อยากมาลงมาโพสเท่าไหร่
แต่ในกรณี ถามเรื่องความรู้พื้นฐานมากๆ คุณควรมีหนังสือความรู้พื้นฐานไว้อ่านสักเล่มนะครับ
หาซื้อได้ตามร้านหนังสือ เช่นซีเอ็ด
ไม่งั้นคนตอบ คงเขียนกันยาว
ซี หรือ c หรือ ตัวเก็บประจุ หรือคาปาซิเตอร์ ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้าไว้ที่ตัวมัน นี่คือหน้าที่หลักของมัน แต่เมื่อมีสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับ ที่มีความถี่เข้ามา มันจะมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีค่าความต้านทานภายในเกิดขึ้น ยิ่งความถี่สูงค่ามันจะน้อยลง
ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านดีขึ้น
ประโยชน์ของมัน ตามคุณสมบัตินี้คือการกรองความถี่ นิยมเอาไปใช้จูนความถี่วิทยุ ความถี่ไฟฟ้า และความถี่เสียง
คือจะให้ผ่านหรือตัดออกนั่นเอง
และขอสรุปข้อมูลที่ทางชมรมห้องสมุดมาปล่อย นะครับ
ธรรมดาตู้ลำโพงจะแบ่งออก 2 ทาง กับ 3 ทาง
2 ทาง คือมีเสียงแหลม กับเสียงทุ้ม
3 ทาง คือทุ้ม กลาง แหลม
การ ต่อซีหรือค่าเก็บประจุ ในเสียงแหลม นั้น เพื่อให้ทำหน้าที่กรองเอาความถี่สูง ให้ผ่านอกไป เนื่องจากลำโพงเสียงแหลม จะตอบสนองได้ไดีที่ความถี่สูง
ลำโพงบางชนิด ก็ตอบสนองได้ทุกย่าน ทั้งทุ้ม กลาง และแหลม แต่ในการผลิตจริงพบว่า ตอบสนองไม่ได้ทั้งหมด
คนออกแบบเครื่องเสียง เลยต้องผสมลำโพงหลายๆแบบมาทำเป็นตู้ เพื่อให้เสียงที่ออกมาครบทุกความถี่ ที่มนุษย์ได้ยิน
ออกมา เป็น 2 ทางและ 3 ทาง นั้น เพื่อแบ่งการทำงาน ในการตอบสนองความถี่ให้ได้ดีที่สุด
วงจรครอสโอเวอร์เน็ทเวิร์ก ง่ายที่สุดคือเอาซี หรือ ค่าเหนี่ยวนำ (L) มาต่อเข้ากับลำโพง ตามตัวอย่างข้างบน แต่ความถี่ที่ได้จะตัดไม่ขาด เช่นกำหนดไว้ที่ช่วง 8KHz -20KHz อาจตัดจริงที่ 5KHz ก็ได้
ทำให้การขับที่ความถี่คลาดเคลื่อน
จึงจำเป็นต้องมีวงจรที่ซับซ้อนขึ้นเป็นระดับที่ 2 ที่ 3......ซึ่งจะใช้อุปกรณ์หลายชั้นขึ้น
ธรรมดานิยมใช้ซี กับลำโพงเสียงแหลม เมื่อใช้ค่าน้อยความถี่สูงจะผ่าน ทำให้เสียงออกมาแหลม หากใช้ค่ามากเสียงจะแหลมน้อยลง แต่ไม่ใช่ทำให้เสียงทุ้ม เพราะลำโพงเสียงแหลม จะให้เสียงแหลมอย่างเดียว
กรณีลำโพงตัวเดียว ที่ตอบสนองได้ตลอดย่าน ซึ่งการต่อซีไปนั้น จะทำให้ความถี่ช่วงหนึ่งหายไปเลย
ดังนั้นจึงไม่นิยมต่อกับลำโพงทางเดียว (ตัวเดียวออกทุกย่าน)
และเช่นกัน ก็จะใช้ L ซึ่งมีคุณสมบัติยอมให้ความถี่ต่ำผ่าน กับลำโพงเสียงทุ้ม
วงจรอย่างง่ายการต่อแบบ 2 ทาง
จากรูปจะเห็นว่า ใช้ซีกับลพโพงเสียงแหลม และใช้ L กับลำโพงเสียงทุ้ม
ส่วน จะใช้ค่าเท่าไหร่นั้น นอกจากลองต่อและฟังเสียง ก็ต้องมีการคำนวณ หรืออาจต้องเข้าห้องแลบเพื่อวัดการตอบสนองความถี่ของลำโพงแต่ละตัวก่อน จึงจะมาหาค่า ซีและ L
หรืออาจดูจากสเปคกราฟการตอบสนองความถี่ของลำโพงแต่ละตัว
ชุดตู้ลำโพงที่ดี ต้องมีกราฟที่ต้องสนอง ความถี่เสียงของมนุษย์ที่ได้ยินได้ทั้งหมดคือ 20Hz-20KHz
ตัวอย่างกราฟ
ากราฟจะเห็นว่า ตัวนี้ตอบสนองได้ในช่วง 30Hz-5KHz แต่ช่วงที่ดีที่สุดคือ 50Hz-2KHz ตัวนี้จึงเหมาะทำเสียงกลาง ในกรณีค่อแบบ 3 ทาง หรือเสียงทุ้มต่ำในกรณีต่อแบบ 2 ทาง
การดูสเปค จากที่บริษัทให้มา อาจไม่ตรงนัก เนื่องจากผู้ขายย่อมเขียนให้เลิศหรู จะได้ขายของได้
การทดสอบในห้องแลบ จะใช้สัญญาณรบกวนขาวและชมพูซึ่งจะมีความถี่ผสมกันตั้งแต่ย่าน 20 Hz- 20KHz ปล่อยออกลำโพงที่ทดสอบ แล้วใช้ไมโครโฟนเป็นตัวรับ ไปเข้าเครื่องแสดงแถบย่านความถี่
เรื่องของอุปกรณ์ คุณต้องพยายามศึกษาเยอะนะครับ เพราะเมื่อเอาอุปกรณ์มาต่อเป็นวงจร ก็จะมีการทำงานแตกต่างไปอีก
และจะได้อ่านสัญลักษณ์อุปกรณ์ บนวงจรได้เข้าใจ
ที่มา link: http://www.basiclite.com/web/index.php?topic=207.0