Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

ส่วนหนึ่งของหนังสือที่ผมแต่ง

Dr. สมเจตน์

26/08/2010 16:16:45
2
ขุดจิต ปลุกพลังจิตใต้สำนึก

จิต คำคำนี้เมื่อเราได้ยิน เรามักจะจินตนาการไปถึงความคิด ความรู้สึกตัว หรือแม้แต่ความรู้สึก คำว่าจิต สำหรับผมคือ ตัวตนที่แท้จริงของเราในระดับลึก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสภาพทางกายภาพของเราด้วย จิตเปรียบเสมือนเป็นตัวรับรู้ทางนามธรรม มันสามารถแสดงอาการได้จากการกระตุ้นโดยสภาวะภายนอก

เช่น เมื่อเราผิดหวังจากเรื่องที่เราคิดว่าสำคัญมากๆกับตัวเรา เรามักจะได้ยินคำพูดว่า จิตตก หรือสภาวะซึมเศร้าระดับต่างๆ ที่เราเคยเห็นจากคนที่ผิดพลาดทางธุรกิจ หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และสามารถแสดงอาการได้จากสภาวะภายในของผู้ครองจิตนั้นๆได้เอง เราอาจเคยเห็นเด็กเล็กที่มีลักษณะที่มีนิสัย น่ารังเกียจ เอาแต่ใจตัวเอง หรือในด้านที่ดี

เช่น อารมณ์สดใส โอบอ้อมอารีย์ ทั้งๆที่เพิ่งเกิดมาได้ไม่นาน ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ที่จะทำให้เป็นคนที่มีลักษณะเช่นนั้นได้ ผมเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นสมบัติที่ติดตัวมาจากจิตวิญญาณที่ลงมาเกิด บรรดาหนังสือที่เกี่ยวกับทางศาสนามีการพูดถึงจิต และการทำสมาธิเพื่อบำบัดจิตไว้มากมาย บางคนอ่านแล้วสามารถนำมาปฏิบัติได้ในช่วงแรกๆเท่านั้น พอนานๆไป ลืมบ้าง มีเรื่องมากระทบจิตใจบ้าง ก็สลัดอารมณ์แห่งจิตที่ดีที่ได้ฝึกมาทิ้งไป คำถามคือ เพราะอะไร และทำอย่างไร เราถึงจะคงสภาวะจิตเหล่านั้นให้คงอยู่ได้ตลอดไป

นับว่าเป็นเรื่องยากทีเดียวที่เราจะควบคุมจิตของเราให้เป็นไปตามความต้องการได้ตลอดเวลา เพราะจิตของเรานั้นไวยิ่งกว่าแสงอีกครับ เราสามารถคิดเรื่องต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกันแวบไปแวบมาได้นับครั้งไม่ถ้วน แค่ควบคุมให้คิดหรือมีสมาธิกับเรื่องๆเดียวยังทำได้ยากเลย ประสาอะไรกับการควบคุมให้คิดแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นความคิดบวก

หากเราลองสังเกตตัวเราเอง เราจะเห็นว่าวันๆหนึ่ง เราคิดเรื่องลบ มากกว่าเรื่องบวกเสียอีก ยิ่งหากเราหมุนไปตามกระแส สภาวการณ์ของโลกและสังคมทุกวันนี้ ยิ่งทำให้เราคิดลบขึ้นไปใหญ่ หากยังไม่เห็นภาพ ลองถามตัวเองดูสิครับว่า เรายัง หมั่นไส้เพื่อนร่วมงาน เบื่อหน่ายเจ้านาย หงุดหงิดคนที่บ้าน โมโหคนขับรถคันหน้า กลัวเรื่องไม่ดีจะเกิดขึ้นกับคนที่คุณรัก ทั้งๆที่จริงๆแล้วยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือแม้กระทั่งเบื่อนิสัยตัวเองอยู่รึเปล่า เหล่านั้นแหละครับคือ การคิดลบ

จิต ของคนเรา จะดำรงในอยู่ 3 สภาวะนี้เสมอ คือ คิดบวก เฉยๆ และ คิดลบ หากเราสามารถทำให้จิตของเราคิดแต่เรื่องบวกได้ จิตใจของเราจะร่าเริง แจ่มใส มีพลังชีวิตในการดำรงชีวิตให้มีความสุขได้ แต่หากวันๆหนึ่งเรามัวแต่คิดในแง่ลบ จิตของเราจะส่งพลังแห่งความขุ่นมัวออกมาทางร่างกาย ใบหน้าหมองคล้ำ ตาคล้ำ หงุดหงิดง่าย ใครพูดอะไรไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ไปหมด

คนประเภทนี้น่าสงสารครับ เพราะแทบจะหาความสุขในชีวิตไม่ได้เลย ส่วนการมีจิตแบบ เฉยๆนั้น แม้ว่าจะไม่มีผลร้ายอะไร แต่ก็จะเหมือนเรา ปล่อยตัวเองไหลไปกับสายน้ำ ใช้ชีวิตไปวันๆ ไม่มีจุดมุ่งหมายใดๆเลย คนประเภทนี้ไม่ชอบการคิดค้นอะไรเลย ไม่ชอบพัฒนาตัวเอง ถึงแม้จะไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น ถามว่าเราอยากเป็นคนประเภทไหนครับ

หากเราต้องการเป็นมนุษย์คิดบวก แบบถาวร เราจะทำอย่างไร เราต้องทำการขุดจิตครับ ขุดมันขึ้นมาจากจิตที่ตกอยู่ในเหวของการคิดลบ แต่ก่อนจะขุดได้ เราต้องมีสติมากพอสมควร มากพอที่เราจะรู้ตัวได้ ว่าตอนนี้นะ เราคิดลบอยู่รึเปล่า การฝึกในขั้นต้นนั้น เราต้องเอาจิตมาผูกอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวันก่อนครับ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพ ก็คือการรู้ตัวตลอดเวลาว่า ตอนนี้เราเดินอยู่นะ เดินไปไหน ตอนนี้ก้าวขาข้างไหน พูดอะไรกับใคร กินข้าวกับอะไร เสียงอะไรดังเข้ามาในหู ทุกๆเรื่องๆครับ

กำหนดจิตให้อยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แล้วคอยดูจิตของเราว่าจิตของเราสั่นสะเทือนไปในทางไหน มันก็จะมีทั้งสั่นสะเทือนไปในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี ทีนี้พอเรากำหนดจิตรับรู้การเป็นไปของจิตเราเองไปเรื่อยๆเราจะเห็นว่า การสั่นสะเทือนของจิตมันเกิดขึ้นและมันก็สามารถกลับคืนสู่สภาวะเดิมๆ ของมันได้เอง เป็นธรรมชาติของมนุษย์ นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับเรื่องที่มากระทบว่าเราตค่ามันว่าสำคัญระดับไหน เช่น หากวันนี้เราถูกลอตเตอรี่ รางวัลที่หนึ่ง อารมณ์ดีใจ มีความสุข

ก็อาจประทับอยู่ในจิตเรานานกว่า การเก็บเงินได้สิบบาท หรือหากเราสูญเสียคนที่เรารักไป เราคงต้องเสียใจจากการจากไปของเขามากกว่าการที่แมวเราโดนรถชนตาย หากเราไม่รู้อาการของจิตในตัวเรา เราก็จะปล่อยให้อาการ “จิตคิดลบ” นั้นการกัดกินใจเราไปนานแสนนาน

ในทางตรงกันข้าม หากเราเลือกจดจำการสะเทือนไปในทางที่ดี ซ้ำๆ พิมพ์มันลงไปในจิต โดยใช้จิตสำนึกของเราเอง ทำไปเรื่อยๆ เรื่องดีๆเหล่านั้น มันก็จะถูกส่งต่อไปในระดับจิตใต้สำนึก ซึ่งจิตใต้สำนึกของคนเรานั้นมันทำหน้าที่ของมันตลอดเวลา ทั้งยามหลับและตื่น มันจะทำตามสิ่งที่เราคิดตราตรึงลงไปทุกวัน ให้เราลองทำแบบฝึกหัดนี้ดูนะครับ

แบบฝึกหัดที่หนึ่ง “ตราตรึงสิ่งที่ดีลงไปในจิตใต้สำนึก”

เมื่อเราตื่นขึ้นมาให้เรายิ้มให้กว้างที่สุด นึกถึงสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขมากที่สุด โดยต้องเป็นเรื่องที่ดี ถูกต้องตามหลักศีลธรรมนะครับ นึกถึงแล้วยิ้มอย่างมีความสุข สักหนึ่งนาที จากนั้นหลังจากอาบน้ำเสร็จ ให้ยืนหน้ากระจก ยิ้มให้ตัวเองหนึ่งที แล้วพูดถ้อยคำที่เราอยากให้เราเป็น ผมขอยกตัวอย่างว่า เราโชคดี เราอารมณ์ดี และเรามีสุขภาพแข็งแรง เอาแค่ 3 คำ ใช้เวลาพูดคำเหล่านี้ 10 นาที เวลาพูดให้มองเข้าไปในดวงตาของเรา มองให้ทะลุไปถึงตัวตนของเราจริงๆที่อยู่ในร่างกายนี้ แล้วสิ่งที่เรียกว่า มหัศจรรย์จะเกิดขึ้นกับตัวคุณ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

Mr.Burst

26/08/2010 16:35:44
3
"อย่าค่ะ...คุณ..ฉันยังไม่พร้อม"
หล่อนแสดงสีหน้าหวาดวิตก น้ำเสียงแผ่วเบา เป็นเชิงเย้ายวล

"ผมขอเถอะนะ ผมก็รักคุณมานานมากแล้ว ให้โอกาสผมได้พิสูจน์ความเป็นชายในค่ำคืนนี้เถอะ" ชายหนุ่มพยายามปลอบประโลม สองมือลูบไล้เรือนผมอย่างแผ่วเบาราวกับปลอบลูกแมวช่างตระหนก..

"เอ่อ...ก็ได้ค่ะ...แต่สัญญานะคะ ว่าคุณจะรับผิดชอบ".... ฯลฯ

^
^
และนี่คือ..ส่วนหนึ่งของหนังสือที่ผมแต่งครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

Dr. สมเจตน์

26/08/2010 16:39:25
2
ขอสมัครเป็นสมาชิก รายปีครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

Focus

26/08/2010 16:48:38

Dr. สมเจตน์ ครับ มองอีกแง่หนึ่ง การคิดบวกพร่ำเพรื่อนี่จะเป็นการลอยตัวอยู่เหนือปัญหา
หรือไม่ ใครทำตัวไม่ดี หลอกลวง ฉ้อฉล เอารัด เอาเปรียบผู้อื่น หรือ ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น
เราก็ไม่ควรไปวิพากษ์วิจารณ์เขา ให้เลือกมองแต่ข้อดีของเขาอย่างนั้นหรือ แบบนี้พวก
นักการเมือง ข้าราชการ และ พ่อค้า ก็ชอบน่ะสิ เพราะพวกนี้ชอบคนหัวอ่อน เชี่อคนง่าย
ไม่ชอบวิพากษ์วิจารณ์ เพราะกลัวคนเกลียดหรือหมั่นไส้ จะได้ไม่มีก้างขวางคอ

โปรดแยกแยะระหว่างการคิดเชิงลบ กับการคิดเชิงวิพากษ์(critical thinking)
ด้วย เพราะพวกวัวสันหลังหวะที่กลัวการตรวจสอบทางสังคมมักจะพยายาม
บิดเบือนเอาสองสิ่งนี้มาปนกันเสมอ

ลองหาหนังสือ เรื่อง
Bright-sided :
How Positive Thinking is Undermining America
ของ Barbara Ehrenreich

มาอ่านดู อาจทำให้โลกทัศน์กว้างขึ้น


ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

Mr.Burst

26/08/2010 16:49:29
3
^
^
^
โห...ตัวจริงครับ...น้องเจตน์ จดไว้ครับ..
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

นายมั่นคง

26/08/2010 16:53:13
4,294
เดี๋่ยวๆๆ มาอ่านต่อ 555 ผมจะแก้ย่อหน้าให้นิดนึงเน้อ จะได้อ่านง่ายขึ้นจ้า 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

Dr. สมเจตน์

26/08/2010 16:57:23
2
อ่า ขอบคุณครับ คุณ Focus ได้อีกแง่มุมหนึ่ง ประดับสมองแล้วครับ ที่ผมแต่งคงไม่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกสถานการณ์หรอกครับ เป็นการมองอีกแง่มุมหนึ่งเช่นกันครับ น่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ชิวิตเศร้าหมอง หาทางออกไม่เจอ ประมาณว่าปลุกกำลังใจมากกว่าจ้า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

Dr. สมเจตน์

26/08/2010 16:58:04
2
ขอบคุณครับ เฮีย ผมลงกระทู้แล้วเปิดมาอ่านยังไม่อยากอ่านเลย 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

.

26/08/2010 17:21:03
ความคิดเห็นที่ : 9

ByTonG

26/08/2010 17:30:52
0
ขออนุญาติ ปริ๊นไปอ่านละกันนะคับ ^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 10

The แพะ

26/08/2010 17:46:12
39
อยากอื่นหนังสือพี่ Burst แฮะ ให้อารมณ์คุณอากังฟูมากๆๆ...แบะๆๆๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 11

มนุษย์แฮม

26/08/2010 17:53:39
0
พี่เบิร์ด ครับ ขอสมัคร ราย ตลอดชีวิตเลยได้ไหมครับ หนังสือพี่ 5555

ปล. ได้ของยัง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 12

Dr. สมเจตน์

26/08/2010 19:20:54
2
ขอบคุณสำหรับ link นะครับ คุณจุด 555

ใครจะปริ๊น จะจด จะเอาไปทำอะไร ก็ได้เน้อ หากมันจะมีประโยชน์ต่อคนที่ต้องการ เอาได้เลยจ้า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 13

Guzzo

26/08/2010 19:41:56
0
จิตคือนาย กายคือบ่าว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 14

เฮียหมี

26/08/2010 19:46:48
2
ขอบคุณ Dr. สมเจตน์ มากครับ สัปดาห์ที่ผ่านมาผมค่อนข้างเป็นคนจิตตก มองโลกในแง่ร้ายบ่อยเลย เพราะกำลังเผชิญกับปัญหาชีิวิต

ผมจะลองเอาวิธีดังกล่าวไปปฏิบัติดูนะครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 15

Kai

26/08/2010 20:41:33
2
ขอบคุณ DRJย์ มากๆเลยครับ ผมหล่ะตกเป็นประจำ ฺฺเฮ้อ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 16

Dr. สมเจตน์

26/08/2010 21:12:47
2
ผมว่าเรื่องจิตตกเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ธรรมดา สามัญชน กินข้าวแกง แหละครับ แต่ที่สำคัญคือ เราจะใช้เวลาในการรู้ตัวเองเมื่อไหร่ครับ แล้วจะหาวิธีแก้ไขได้ยังไง

เมื่อก่อนตอนเรียนเอก ผมจิตตกเป็นประจำ แล็ปก็พัง เปเปอร์ก็ไม่ได้ซะที หลังๆทำใจได้ พิจารณาดูแล้ว คิดตกว่า

อะไรที่เราทำได้ทำให้เต็มที่ สิ่งที่นอกเหนือจากการควบคุมของเราคิดมากไปก็เท่านั้น คิดให้ตาย หากมันเป็นเรื่องที่เราแก้ไม่ได้ มันก็คือไม่ได้

อีกเรื่อง เวลาเราเจอใครทำอะไรให้ไม่พอใจ ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ เมื่อก่อนด่าในใจ บางครั้งก็หลุดพูดแรงๆใส่เค้า หลังๆคิดได้ว่า เราไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล ที่ใครๆจะต้องมาทำให้เราพอใจ ต้องทำให้ถูกใจเรา เราก็แค่สิ่งสิ่งหนึ่งในจักรวาลนี้ สิ่งเล็กๆ หากเราตายไป โลก สังคม ก็ยังดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ อย่าเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง เพระาคนอื่นก็มีตัวตนเช่นกัน

ตอนนี้ ผมแทบจะไม่เคยหลุดเลยครับ พอหลุดปุ๊ป แป๊ปเดียวก็รู้ตัว คิดแบบนี้เป็นสุขกว่าครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 17

Kai

26/08/2010 22:35:15
2
ต้องทำแบบ DRJย์ ให้ได้แล้วหล่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 18

คนค้นขยะ

26/08/2010 22:37:43
จิต ของคนเรา จะดำรงในอยู่ 3 สภาวะนี้เสมอ คือ คิดบวก เฉยๆ และ คิดลบ เกิดมาก็เพิ่งเคยได้ยินอะไรตลกๆแบบนี้เป็นครั้งแรก งั้นขอถามคำถามง่ายๆและต้องการคำตอบจาก...ผู้รู้...หน่อยสิว่าทำไมมนุษย์บางประเภทถึงไม่รู้จักพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ มีความอยากได้อยากมีกันชนิดที่เรียกได้ว่าไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณตน มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุดจนกลายเป็นการหมกมุ่นกับตัวเองและบางสิ่งอย่างน่าสมเพช สภาพแบบนี้จะอนุมานว่าเป็นจิต...คิดบวก เฉย หรือลบอย่างที่ว่ามา อยากรู้จริงๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 19

jomjomjom

26/08/2010 23:00:58
5
ในทางทฤษฎี (จากไหนก็ไม่รู้ครับ) การไม่รู้จักพอในสิ่งที่มีอยู่นั้น ... เป็นเพียงสัญชาตญาณพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตระดับพื้นฐานทุกชนิดครับ ... สัตว์ และ พืช (และ อื่นๆที่มีชีวิต คนเรียกว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งนะครับ)

สิ่งมีชีวิต ที่มีพัฒนาการขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง จะสามารถเรียนรู้ในสัญชาตญาณของเผ่าพันธุ์ตัวเองได้ จนสามารถความคุมสัญชาตญาณพื้นฐานที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ดี ไม่ให้แสดงออกมาได้ สิ่งมีชีวิตในระดับนี้จะเรียกว่าอะไรดีครับ ....

ถูกแล้วครับ เราเรียกสิ่งมีชีวิตในระดับนี้ว่า สิ่งมีชีวิตอันประเสริฐ .. ซึ่งจะเหลืออยู่สิ่งเดียว นั่นคือ .. สัตว์ประเสริฐ .. ครับ (พืชตัดไปครับ)

ลองนั่งคิดนอนคิดกันเล่นๆนะครับ ว่า แท้ที่จริงแล้ว คำว่า จิต คืออะไรกันแน่ การคิด เกิดขึ้นจากอะไร ...

ผมกำลังคิดอยู่ครับ 5555ย์




ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 20

Mr.Burst

26/08/2010 23:04:32
3
จิต..ที่หงุดหงู...คือจิตที่งุ่นง่านที่สุดนะ...

ปล.ตาแพะย์รู้จักอากังฟูด้วยเหรอเนี่ย...โอ้ววว..
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 21

jomjomjom

26/08/2010 23:34:11
5
ผมชอบอ่าน "แอบดู เล่าสู่กันฟัง" 5555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 22

Deeppix

27/08/2010 01:20:36
0
ถ้าสนใจจิตด้านลึก ต้องลองดูการสอนด้านจิตของพระพุทธเจ้านะครับ
เอาแค่ อิทัปปัจยา หรือ ปฏิจจสมุปบาท ครับ
พยามยามหาข้อแย้งหรือโต้เถียงแล้ว หาไม่เจอจริงๆ
ยิ่งศึกษาวิชาของพระพุทธเจ้าแล้ว เลิกสนใจการเรียนต่อ
ทางโลกเลยครับ ไร้สาระทุกสาขาเลย

ทุกสิ่งในโลก ไม่มีสิ่งใดไม่เกิดแต่เหตุ เข้าใจที่ต้นของเหตุ ทุกอย่างก็จบ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 23

Deeppix

27/08/2010 01:22:33
0
เสนอความคิดเชิงวิพากษ์(critical thinking)
ไม่ใช่คิดเชิงลบนะครับ แหะ แหะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 24

Dr. สมเจตน์

27/08/2010 08:01:23
2
โหคุณ Deeppix ท่าทางจะชอบอ่านหนังสือธรรมะ นะครับนี่ ดีครับๆ

ขอตอบคุณ คนค้นขยะ นะครับ แต่ไม่ใช่ในฐานะผู้รู้ นะครับ เพราะผมก็ไม่ใช้ผู้ที่รู้ไปซะทุกเรื่องแน่นอน แค่เขียนไปตามความเข้าใจของตัวเองจ้า
เรื่องการอยากได้อย่างไม่เพียงพอ ผมว่าเป็นคำที่ขาดการขยายไปนิดหนึ่งครับ ต้องมีเหตุการณ์ เหตุผลของการอยากได้ มาประกอบด้วย ถ้าความต้องการนั้นมีความมุ่งหมายถึงสื่งที่ดี ก็เป็นการคิดบวก แต่หากอยากได้เพื่อมาสร้างเป็นประโยชน์ ให้แก่ตัวเอง แต่ไม่ทำร้ายใคร ผมว่าเป็นอารมณ์คิดบวกสำหรับตัวเอง แต่เป็นอารมณ์เฉยๆสำหรับคนอื่น คือไม่ได้ทำประโยชน์แก่คนอื่นและสังคมแต่ก็ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนครับ แต่หากคิดอยากได้เพื่อเป็นการเอาเปรียบคนอื่น สร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นและสังคม ความอยากได้นี้ก็มีแก่นมาจากความคิดลบครับ

ทุกอย่างที่ผมตอบไป เป็นความเห็นส่วนตัวของผมครับ หากต้องการวิพากษ์ ผมว่าก็ดีครับ สนุกดีจ้า แต่ผมก็ยืนยันนะครับว่า ไม่ใช่ผู้รู้มากอะไร แค่เขียนจากความคิดและจากสิ่งที่เคยเจอมาจ้าาาา

ปล. อย่าทำให้เป็นกระทู้ร้อนนักเน้อ 5555 คิดต่างยังไงก็ว่ามาได้เลยจ้า ขอสุภาพๆละกันจ้า 55
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 25

Focus

27/08/2010 13:37:34
Book Excerpt

Bright-sided
How the Relentless Promotion of Positive
Thinking Has Undermined America
by Barbara Ehrenreich

Table Of Contents

Introduction 1

Smile or Die: The Bright Side of Cancer 15

The Years of Magical Thinking 45

The Dark Roots of American Optimism 74

Motivating Business and the Business of Motivation 97

God Wants You to Be Rich 123

Positive Psychology: The Science of Happiness 147

How Positive Thinking Destroyed the Economy 177

Postscript on Post-Positive Thinking 195

Introduction

Americans are a “positive” people. This is our reputation as well as our self-image. We smile a lot and are often baffled when people from other cultures do not return the favor. In the well-worn stereotype, we are upbeat, cheerful, optimistic, and shallow, while foreigners are likely to be subtle, world-weary, and possibly decadent. American expatriate writers like Henry James and James Baldwin wrestled with and occasionally reinforced this stereotype, which I once encountered in the 1980s in the form of a remark by Soviet émigré poet Joseph Brodsky to the effect that the problem with Americans is that they have “never known suffering.” (Apparently he didn’t know who had invented the blues.) Whether we Americans see it as an embarrassment or a point of pride, being positive—in affect, in mood, in outlook—seems to be engrained in our national character.

Who would be churlish or disaffected enough to challenge these happy features of the American personality? Take the business of positive “affect,” which refers to the mood we display to others through our smiles, our greetings, our professions of confidence and optimism. Scientists have found that the mere act of smiling can generate positive feelings within us, at least if the smile is not forced. In addition, good feelings, as expressed through our words and smiles, seem to be contagious: “Smile and the world smiles with you.” Surely the world would be a better, happier place if we all greeted one another warmly and stopped to coax smiles from babies—if only through the well-known social psychological mechanism of “mood contagion.” Recent studies show that happy feelings flit easily through social networks, so that one person’s good fortune can brighten the day even for only distantly connected others.1

Furthermore, psychologists today agree that positive feelings like gratitude, contentment, and self-confidence can actually lengthen our lives and improve our health. Some of these claims are exaggerated, as we shall see, though positive feelings hardly need to be justified, like exercise or vitamin supplements, as part of a healthy lifestyle. People who report having positive feelings are more likely to participate in a rich social life, and vice versa, and social connectedness turns out to be an important defense against depression, which is a known risk factor for many physical illnesses. At the risk of redundancy or even tautology, we can say that on many levels, individual and social, it is good to be “positive,” certainly better than being withdrawn, aggrieved, or chronically sad.

So I take it as a sign of progress that, in just the last decade or so, economists have begun to show an interest in using happiness rather than just the gross national product as a measure of an economy’s success. Happiness is, of course, a slippery thing to measure or define. Philosophers have debated what it is for centuries, and even if we were to define it simply as a greater frequency of positive feelings than negative ones, when we ask people if they are happy we are asking them to arrive at some sort of average over many moods and moments. Maybe I was upset earlier in the day but then was cheered up by a bit of good news, so what am I really? In one well-known psychological experiment, subjects were asked to answer a questionnaire on life satisfaction—but only after they had performed the apparently irrelevant task of photocopying a sheet of paper for the experimenter. For a randomly chosen half of the subjects, a dime had been left for them to find on the copy machine. As two economists summarize the results, “Reported satisfaction with life was raised substantially by the discovery of the coin on the copy machine—clearly not an income effect.”2

In addition to the problems of measurement, there are cultural differences in how happiness is regarded and whether it is even seen as a virtue. Some cultures, like our own, value the positive affect that seems to signal internal happiness; others are more impressed by seriousness, self-sacrifice, or a quiet willingness to cooperate. However hard to pin down, though, happiness is somehow a more pertinent metric for well-being, from a humanistic perspective, than the buzz of transactions that constitute the GDP.

Surprisingly, when psychologists undertake to measure the relative happiness of nations, they routinely find that Americans are not, even in prosperous times and despite our vaunted positivity, very happy at all. A recent meta-analysis of over a hundred studies of self-reported happiness worldwide found Americans ranking only twenty-third, surpassed by the Dutch, the Danes, the Malaysians, the Bahamians, the Austrians, and even the supposedly dour Finns.3 In another potential sign of relative distress, Americans account for two-thirds of the global market for antidepressants, which happen also to be the most commonly prescribed drugs in the United States. To my knowledge, no one knows how antidepressant use affects people’s responses to happiness surveys: do respondents report being happy because the drugs make them feel happy or do they report being unhappy because they know they are dependent on drugs to make them feel better? Without our heavy use of antidepressants, Americans would likely rank far lower in the happiness rankings than we currently do.

When economists attempt to rank nations more objectively in terms of “well-being,” taking into account such factors as health, environmental sustainability, and the possibility of upward mobility, the United States does even more poorly than it does when only the subjective state of “happiness” is measured. The Happy Planet Index, to give just one example, locates us at 150th among the world’s nations.4

How can we be so surpassingly “positive” in self-image and stereotype without being the world’s happiest and best-off people? The answer, I think, is that positivity is not so much our condition or our mood as it is part of our ideology—the way we explain the world and think we ought to function within it. That ideology is “positive thinking,” by which we usually mean two things. One is the generic content of positive thinking—that is, the positive thought itself—which can be summarized as: Things are pretty good right now, at least if you are willing to see silver linings, make lemonade out of lemons, etc., and things are going to get a whole lot better. This is optimism, and it is not the same as hope. Hope is an emotion, a yearning, the experience of which is not entirely within our control. Optimism is a cognitive stance, a conscious expectation, which presumably anyone can develop through practice.

The second thing we mean by “positive thinking” is this practice, or discipline, of trying to think in a positive way. There is, we are told, a practical reason for undertaking this effort: positive thinking supposedly not only makes us feel optimistic but actually makes happy outcomes more likely. If you expect things to get better, they will. How can the mere process of thinking do this? In the rational explanation that many psychologists would offer today, optimism improves health, personal efficacy, confidence, and resilience, making it easier for us to accomplish our goals. A far less rational theory also runs rampant in American ideology—the idea that our thoughts can, in some mysterious way, directly affect the physical world. Negative thoughts somehow produce negative outcomes, while positive thoughts realize themselves in the form of health, prosperity, and success. For both rational and mystical reasons, then, the effort of positive thinking is said to be well worth our time and attention, whether this means reading the relevant books, attending seminars and speeches that offer the appropriate mental training, or just doing the solitary work of concentration on desired outcomes—a better job, an attractive mate, world peace.

There is an anxiety, as you can see, right here in the heart of American positive thinking. If the generic “positive thought” is correct and things are really getting better, if the arc of the universe tends toward happiness and abundance, then why bother with the mental effort of positive thinking? Obviously, because we do not fully believe that things will get better on their own. The practice of positive thinking is an effort to pump up this belief in the face of much contradictory evidence. Those who set themselves up as instructors in the discipline of positive thinking— coaches, preachers, and gurus of various sorts—have described this effort with terms like “self-hypnosis,” “mind control,” and “thought control.” In other words, it requires deliberate self-deception, including a constant effort to repress or block out unpleasant possibilities and “negative” thoughts. The truly self-confident, or those who have in some way made their peace with the world and their destiny within it, do not need to expend effort censoring or otherwise controlling their thoughts. Positive thinking may be a quintessentially American activity, associated in our minds with both individual and national success, but it is driven by a terrible insecurity.

Americans did not start out as positive thinkers— at least the promotion of unwarranted optimism and methods to achieve it did not really find articulation and organized form until several de cades after the founding of the republic. In the Declaration of Independence, the founding fathers pledged to one another “our lives, our fortunes, and our sacred honor.” They knew that they had no certainty of winning a war for independence and that they were taking a mortal risk. Just the act of signing the declaration made them all traitors to the crown, and treason was a crime punishable by execution. Many of them did go on to lose their lives, loved ones, and fortunes in the war. The point is, they fought anyway. There is a vast difference between positive thinking and existential courage.

Systematic positive thinking began, in the nineteenth century, among a diverse and fascinating collection of philosophers, mystics, lay healers, and middle-class women. By the twentieth century, though, it had gone mainstream, gaining purchase within such powerful belief systems as nationalism and also doing its best to make itself indispensable to capitalism. We don’t usually talk about American nationalism, but it is a mark of how deep it runs that we apply the word “nationalism” to Serbs, Russians, and others, while believing ourselves to possess a uniquely superior version called “patriotism.” A central tenet of American nationalism has been the belief that the United States is “the greatest nation on earth”—more dynamic, democratic, and prosperous than any other nation, as well as technologically superior. Major religious leaders, especially on the Christian right, buttress this conceit with the notion that Americans are God’s chosen people and that America is the designated leader of the world—an idea that seemed to find vivid reinforcement in the fall of Communism and our emergence as the world’s “lone superpower.” That acute British observer Godfrey Hodgson has written that the American sense of exceptionalism, which once was “idealistic and generous, if somewhat solipsistic,” has become “harder, more hubristic.” Paul Krugman responded to the prevailing smugness in a 1998 essay entitled “American the Boastful,” warning that “if pride goeth before a fall, the United States has one heck of a come-uppance in store.”5

But of course it takes the effort of positive thinking to imagine that America is the “best” or the “greatest.” Militarily, yes, we are the mightiest nation on earth. But on many other fronts, the American score is dismal, and was dismal even before the economic downturn that began in 2007. Our children routinely turn out to be more ignorant of basic subjects like math and geography than their counterparts in other industrialized nations. They are also more likely to die in infancy or grow up in poverty. Almost everyone acknowledges that our health care system is “broken” and our physical infrastructure crumbling. We have lost so much of our edge in science and technology that American companies have even begun to outsource their research and development efforts. Worse, some of the measures by which we do lead the world should inspire embarrassment rather than pride: We have the highest percentage of our population incarcerated, and the greatest level of inequality in wealth and income. We are plagued by gun violence and racked by personal debt.

While positive thinking has reinforced and found reinforcement in American national pride, it has also entered into a kind of symbiotic relationship with American capitalism. There is no natural, innate affinity between capitalism and positive thinking. In fact, one of the classics of sociology, Max Weber’s Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, makes a still impressive case for capitalism’s roots in the grim and punitive outlook of Calvinist Protestantism, which required people to defer gratification and resist all pleasurable temptations in favor of hard work and the accumulation of wealth.

But if early capitalism was inhospitable to positive thinking, “late” capitalism, or consumer capitalism, is far more congenial, depending as it does on the individual’s hunger for more and the firm’s imperative of growth. The consumer culture encourages individuals to want more—cars, larger homes, television sets, cell phones, gadgets of all kinds—and positive thinking is ready at hand to tell them they deserve more and can have it if they really want it and are willing to make the effort to get it. Meanwhile, in a competitive business world, the companies that manufacture these goods and provide the paychecks that purchase them have no alternative but to grow. If you don’t steadily increase market share and profits, you risk being driven out of business or swallowed by a larger enterprise. Perpetual growth, whether of a particular company or an entire economy, is of course an absurdity, but positive thinking makes it seem possible, if not ordained.

In addition, positive thinking has made itself useful as an apology for the crueler aspects of the market economy. If optimism is the key to material success, and if you can achieve an optimistic outlook through the discipline of positive thinking, then there is no excuse for failure. The flip side of positivity is thus a harsh insistence on personal responsibility: if your business fails or your job is eliminated, it must because you didn’t try hard enough, didn’t believe firmly enough in the inevitability of your success. As the economy has brought more layoffs and financial turbulence to the middle class, the promoters of positive thinking have increasingly emphasized this negative judgment: to be disappointed, resentful, or downcast is to be a “victim” and a “whiner.”

But positive thinking is not only a water carrier for the business world, excusing its excesses and masking its follies. The promotion of positive thinking has become a minor industry in its own right, producing an endless flow of books, DVDs, and other products; providing employment for tens of thousands of “life coaches,” “executive coaches,” and motivational speakers, as well as for the growing cadre of professional psychologists who seek to train them. No doubt the growing financial insecurity of the middle class contributes to the demand for these products and services, but I hesitate to attribute the commercial success of positive thinking to any particular economic trend or twist of the business cycle. America has historically offered space for all sorts of sects, cults, faith healers, and purveyors of snake oil, and those that are profitable, like positive thinking, tend to flourish.

At the turn of the twenty-first century, American optimism seemed to reach a manic crescendo. In his final State of Union address in 2000, Bill Clinton struck a triumphal note, proclaiming that “never before has our nation enjoyed, at once, so much prosperity and social progress with so little internal crisis and so few external threats.” But compared with his successor, Clinton seemed almost morose. George W. Bush had been a cheerleader in prep school, and cheerleading— a distinctly American innovation— could be considered the athletically inclined ancestor of so much of the coaching and “motivating” that has gone into the propagation of positive thinking. He took the presidency as an opportunity to continue in that line of work, defining his job as that of inspiring confidence, dispelling doubts, and pumping up the national spirit of self-congratulation. If he repeatedly laid claim to a single adjective, it was “optimistic.” On the occasion of his sixtieth birthday, he told reporters he was “optimistic” about a variety of foreign policy challenges, offering as an overview, “I’m optimistic that all problems will be solved.” Nor did he brook any doubts or hesitations among his close advisers. According to Bob Woodward, Condoleezza Rice failed to express some of her worries because, she said, “the president almost demanded optimism. He didn’t like pessimism, hand-wringing or doubt.” 6

Then things began to go wrong, which is not in itself unusual but was a possibility excluded by America’s official belief that things are good and getting better. There was the dot-com bust that began a few months after Clinton’s declaration of unprecedented prosperity in his final State of the Union address, then the terrorist attack of September 11, 2001. Furthermore, things began to go wrong in a way that suggested that positive thinking might not guarantee success after all, that it might in fact dim our ability to fend off real threats. In her remarkable book, Never Saw It Coming: Cultural Challenges to Envisioning the Worst, sociologist Karen Cerulo recounts a number of ways that the habit of positive thinking, or what she calls optimistic bias, undermined preparedness and invited disaster. She quotes Newsweek reporters Michael Hirsch and Michael Isikoff, for example, in their conclusion that “a whole summer of missed clues, taken together, seemed to presage the terrible September of 2001.”7 There had already been a terrorist attack on the World Trade Center in 1993; there were ample warnings, in the summer of 2001, about a possible attack by airplane, and flight schools reported suspicious students like the one who wanted to learn how to “fl y a plane but didn’t care about landing and takeoff .” The fact that no one—the FBI, the INS, Bush, or Rice—heeded these disturbing cues was later attributed to a “failure of imagination.” But actually there was plenty of imagination at work—imagining an invulnerable nation and an ever-booming economy—there was simply no ability or inclination to imagine the worst.

A similar reckless optimism pervaded the American invasion of Iraq. Warnings about possible Iraqi resistance were swept aside by leaders who promised a “cakewalk” and envisioned cheering locals greeting our troops with flowers. Likewise, Hurricane Katrina was not exactly an unanticipated disaster. In 2002, the New Orleans Times- Picayune ran a Pulitzer Prize–winning series warning that the city’s levees could not protect it against the storm surge brought on by a category 4 or 5 hurricane. In 2001, Scientific American had issued a similar warning about the city’s vulnerability.8 Even when the hurricane struck and levees broke, no alarm bells went off in Washington, and when a New Orleans FEMA official sent a panicky e-mail to FEMA director Michael Brown, alerting him to the rising number of deaths and a shortage of food in the drowning city, he was told that Brown would need an hour to eat his dinner in a Baton Rouge restaurant.9 Criminal negligence or another “failure of imagination”? The truth is that Americans had been working hard for decades to school themselves in the techniques of positive thinking, and these included the reflexive capacity for dismissing disturbing news.

The biggest “come-uppance,” to use Krugman’s term, has so far been the financial meltdown of 2007 and the ensuing economic crisis. By the late first decade of the twenty-first century, as we shall see in the chapters that follow, positive thinking had become ubiquitous and virtually unchallenged in American culture. It was promoted on some of the most widely watched talk shows, like Larry King Live and the Oprah Winfrey Show; it was the stuff of runaway best sellers like the 2006 book The Secret; it had been adopted as the theology of America’s most successful evangelical preachers; it found a place in medicine as a potential adjuvant to the treatment of almost any disease. It had even penetrated the academy in the form of the new discipline of “positive psychology,” offering courses teaching students to pump up their optimism and nurture their positive feelings. And its reach was growing global, first in the Anglophone countries and soon in the rising economies of China, South Korea, and India.

But nowhere did it find a warmer welcome than in American business, which is, of course, also global business. To the extent that positive thinking had become a business itself, business was its principal client, eagerly consuming the good news that all things are possible through an effort of mind. This was a useful message for employees, who by the turn of the twenty-first century were being required to work longer hours for fewer benefits and diminishing job security. But it was also a liberating ideology for top-level executives. What was the point in agonizing over balance sheets and tedious analyses of risks—and why bother worrying about dizzying levels of debt and exposure to potential defaults—when all good things come to those who are optimistic enough to expect them?

I do not write this in a spirit of sourness or personal disappointment of any kind, nor do I have any romantic attachment to suffering as a source of insight or virtue. On the contrary, I would like to see more smiles, more laughter, more hugs, more happiness and, better yet, joy. In my own vision of utopia, there is not only more comfort, and security for everyone— better jobs, health care, and so forth—there are also more parties, festivities, and opportunities for dancing in the streets. Once our basic material needs are met—in my utopia, anyway—life becomes a perpetual celebration in which everyone has a talent to contribute. But we cannot levitate ourselves into that blessed condition by wishing it. We need to brace ourselves for a struggle against terrifying obstacles, both of our own making and imposed by the natural world. And the first step is to recover from the mass delusion that is positive thinking.

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 26

เฮียหมี

27/08/2010 23:40:58
2
"เมื่อเราตื่นขึ้นมาให้เรายิ้มให้กว้างที่สุด นึกถึงสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขมากที่สุด โดยต้องเป็นเรื่องที่ดี ถูกต้องตามหลักศีลธรรมนะครับ นึกถึงแล้วยิ้มอย่างมีความสุข สักหนึ่งนาที จากนั้นหลังจากอาบน้ำเสร็จ ให้ยืนหน้ากระจก ยิ้มให้ตัวเองหนึ่งที แล้วพูดถ้อยคำที่เราอยากให้เราเป็น ผมขอยกตัวอย่างว่า เราโชคดี เราอารมณ์ดี และเรามีสุขภาพแข็งแรง เอาแค่ 3 คำ ใช้เวลาพูดคำเหล่านี้ 10 นาที เวลาพูดให้มองเข้าไปในดวงตาของเรา มองให้ทะลุไปถึงตัวตนของเราจริงๆที่อยู่ในร่างกายนี้ แล้วสิ่งที่เรียกว่า มหัศจรรย์จะเกิดขึ้นกับตัวคุณ"

คุณ Dr.สมเจตน์ ครับ มหัศจรรย์เกิดขึ้นกับตัวผมแล้วครับ แค่วันนี้วันเริ่มต้นที่จะยิ้มตั้งแต่ตื่นนอน พยายามยิ้มมันทั้งวัน แล้วเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นจริงๆครับ

ปัญหาเกือบทุกอย่างของผม คลี่คลายภายในวันนี้เลยครับ เมื่อกี้นี้เอง

ผมรู้สึกเหมือนเกิดใหม่เลยครับ พายุที่ใหญ่ที่สุดในชีิวิต มันผ่านไปแล้วครับ ในวันที่ผมเริ่มต้นยิ้ม เริ่มยิ้มที่ปาก ยิ้มที่ตา แล้วมายิ้มที่ใจ ตอนเช้าอาจฝืนๆหน่อย แต่พออะไรๆมันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ คราวนี้ยิ้มจากก้นบึ้งของหัวใจเลยครับ

ผมก็ไม่ทราบได้เหมือนกันว่า ปัญหาของผมมันน้อยลงเพราะผมยิ้มหรือเพราะอะไรก็แล้วแต่ แต่ตอนนี้ผมอยากขอบคุณจริงๆ

ขอบคุณครับ ขอบคุณจริงๆ ^_^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 27

นายมั่นคง

27/08/2010 23:49:38
4,294
เฮียหมี พอยิ้มแล้ว ก็มาหัวเราะต่อนะครับ 5555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 28

Dr. สมเจตน์

28/08/2010 07:12:17
2
อ้ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ดีใจที่สุดเลยครับบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

ดีใจที่เฮียหมีสามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ครับ จริงๆแล้วผมอยากจะบอกว่า ไม่มีอะไรมหัศจรรย์มากมายครับ เคล็ดลับมันอยู่ที่ เรามองเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตมุมไหน หากเรามองในแง่บวก เรื่องที่มันร้ายๆ มันก็ทำอะไรเราไม่ได้ เราจะได้มีสมาธิในการแก้ไขปัญหา ดีกว่ามัวมามองในแง่ลบ ให้สูญเสียพลังใจ พลังชีวิตครับ

อยากจะเตือนคุณเฮียหมี นิดหนึ่งว่า คนเราจะเจอทั้งเรื่องดีและร้าย ตอนนี้อารมณ์เราเป็นบวกมากๆ พอเจอเรื่องที่เริ่มไม่ดีเข้ามาบ้าง หากไม่มีสติมันจะฉุดจิตเราให้ลงต่ำได้อีก ฉะนั้น ตั้งรับให้ดีครับ พอเจอเรื่องไม่ดี ให้คิดว่า เรื่องนี้ถ้าเราผ่านไปได้ จะทำให้เราแกร่งขึ้น พยายามมองหาด้านที่ดีของสถานการณ์ มันจะช่วยให้เรามีกำลังใจที่จะแก้ไขมันครับ เอาใจช่วยนะครับ สู้ๆครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 29

HITMAN

28/08/2010 08:36:46
ในความเห็นผมอาจจะแตกต่างนะครับ ผมว่าการทำจิตให้อยู่ตรงกลางระหว่างบวกกับลบผมคิดว่าน่าจะดีที่สุด(ไม่ใช่เฉยนะครับ) หมายความว่ารู้เท่าทันจิตที่เป็นบวกเป็นลบและเฉยนะครับ
คล้ายๆกับรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง แต่โดยมากจิตของคนเรามักไหลไปทางบวกบ้างทางลบบ้าง ยากมากครับที่จะให้มันที่จะให้มันอยู่ตรงกลางได้ ลองสังเกตุดูได้ครับ
ถ้าใครทำได้ผมว่าสบายไปร้อยแปดพันประการเลยละครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 30

Dr. สมเจตน์

28/08/2010 08:48:56
2
อ่า ขอบคุณครับคุณ HITMAN น่าจะหมายถึง อุเบกขา ในทางศาสนาพุทธใช่มะครับ รับรู้ว่ามีเกิด มีดับ แล้วมองเป็นเรื่องธรรมชาติ อย่าเอาใจไปยึดติด ถ้าทำได้จะสุดยอดมากๆครับ แต่หากเรายังไม่ถึงขั้นนั้น ยังต้องใช้ชีวิต ไปตามกระแสโลก ไม่มีสมาธิมากพอขนาดนั้น เอาแค่ไม่คิดลบ พยามยามคิดแต่เรื่องดีๆ ก็ได้นะครับ อันนี้ความเห็นส่วนตัวจ้า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 31

HITMAN

28/08/2010 14:44:35
ไม่ใช่อุเบกขานะครับ Dr.สมเจตน์ จริงๆแล้วม้นก็คือความมีสติ หรือตัวสตินั่นแหละครับ
ใช้ได้กับกระแสโลกปัจจุบันเลยละครับ ไม่ต้องฝึกสมาธิอะไมากมายแค่มีสติรู้ทันอารมณ์ทั้งดีและไม่ดีก็มีความสุขสบายได้ในความวุ่นวาย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 32

เฮียหมี

28/08/2010 22:26:35
2
ผมพยายามที่จะตามจิตและอารมณ์ให้ทันอยู่ครับ พยายามระลึกเสมอว่า เรารู้สึกอย่างไร พอคิดได้อย่างงี้แล้วทุกข์มันลดลงเยอะ แล้วก็พยายามยิ้มให้กับตัวเอง ให้กับคนอื่น แม้แต่ตอนดีใจก็ไม่ดีใจมากจนเกินไปครับ เดินทางสายกลางครับ

นั่งรถว่างๆก็กำหนดลมหายใจเข้าออก สมองมันปลอดโปร่งขึ้นเยอะ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 33

teerapon

28/08/2010 23:02:50
เรื่องราวของถ้อยคำ ภาษาการสื่อสาร นี่หากเข้าใจไม่ตรงกันแม้เขียนเหมือนกันก็เถียงกันได้ไม่รู้จบครับ
เข้าใจว่า คุณ Dr.สมเจตต์ คงจะอยากสื่อเรื่องของจิตที่ในแง่ของความรู้สึกในแต่ละวันว่ามีทั้งจิตที่ไปคิดดี คิดไม่ดี หรือเฉยๆ และอยากจะบอก รวมทั้งแนะ ให้คนทั่วไปว่าเราสามารถช่วย หรือ กระตุ้นให้ตัวเราเองรู้สึกคิดบวกได้เลย ให้กำลังใจกับตัวเอง ... หากจะสื่อในทางนั้นอย่างเดียวอยากให้ขัดเจนไปเลย ว่าจะแนะเรื่องการคิด การทำใจ ในทิศทางไหนถึงเหมาะถึงควร เดี๋ยวคนอ่านจะสับสนเกี่ยวกับจิต อย่างโน้นจิตอย่างนี้ ไปอ่านอีกเล่มหนึ่งบอกเรื่องจิตก็อีกอย่างหนึ่ง ทุกวันนี้มีหนังสือเรื่องจิตเรื่องใจเยอะ คนละมุมมองว่านักเขียนจะเสนออะไร.... เอาใจช่วยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 34

คนค้นขยะ

29/08/2010 02:27:57
ความจริง ...เนื้อแท้ของมนุษย์คือความกลวงความว่างเปล่า มนุษย์ถึงได้ดิ้นรนแสวงหาสิ่งต่างๆมาเติมเต็ม ทั้งสุขหรือทุกข์ก็คือสิ่งที่จิตซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของมนุษย์รับรู้สัมผัสได้หลังจากเอาตัวเองไปผูกติดยึดโยงกับสิ่งเหล่านั้น ผูกกับสุขก็ย่อมว่าสุข ผูกกับทุกก็ต้องทุกข์ ผูกกับการดีใจก็ต้องดีใจ ผูกกับสิ่งที่ทำให้เสียใจก็ต้องเสียใจ ผูกกับการนั่งหลับตาที่อุปมาเอาว่านั่นคือสมาธิก็ต้องเรียกว่ามีสมาธิ การพยายามทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากความทุกข์หรือปราศจากทุกข์ด้วยวิธีการหรือพิธีกรรมตามรูปแบบของความเชื่อต่างๆประดามี ก็เป็นแค่การกระทำที่เสียเวลาและแค่ทำให้ตัวเองพึงพอใจอย่างนึงของมนุษย์ หาใช่คำตอบที่จะเป็นการนำไปสู่การพ้นทุกข์หรือหลุดพ้นได้แต่อย่างใด เพราะเนื้อแท้ของมนุษย์นั้นก็คือ...ความกลวงความว่างเปล่า ไม่มีสารัตถะใดๆเลยนั่นเอง ฉะนั้นมนุษย์ไม่จำเป็นต้องหาวิธีการหลุดพ้นหรือพ้นทุกข์ ก็แค่มีชีวิตต่อไปแล้ววันหนึ่งก็ต้องตายลงเปลี่ยนสภาพกลายเป็นวัตถุที่ไม่มีความต้องการใดๆอีกต่อไป

ความจริง ณ ปัจจุบัน......ในยุคสมัยทุนนิยมมนุษย์ยิ่งต้องการการเติมเต็มความกลวงให้ตนเองมากทวีคูณเพื่อที่จะได้ไหลรวมไปกับกระแสได้โดยไม่รู้สึกแปลกแยกหรือโดดเดี่ยว โดยมีเป้าหมายก็คือกลายเป็นพวกสุขนิยมสมบูรณ์แบบเท่านั้นเอง การคิดบวกก็คือวาทะกรรมใหม่ที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยลัทธิสุขนิยมเพื่อรับใช้เฉพาะลัทธิสุขนิยมนั่นเอง แต่เชื่อเถอะว่ามันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้มนุษย์หายกลวงได้แน่นอน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 35

Dr. สมเจตน์

29/08/2010 07:01:36
2
ขอบคุณ คุณ teerapon และคุณ คนค้นขยะเน้อ ที่เอาใจช่วยและมาให้ข้อคิด ถ้อยคำดีๆครับ
ผมว่าการเขียนอะไรสักอย่าง ก็คงมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยครับ แต่ผมดีใจนะครับที่มีคนอ่านและแสดงความเห็น ผมอ่านที่ท่านๆตอบมาแล้วนำไปคิดเช่นกันนะครับ อย่างที่คุณ คนค้นขยะเอามาให้อ่าน ผมก็ว่า เออ คนเรามันก็เป็นอย่างงั้นจริงๆนั่นและ แต่สำหรับผม การปล่อยชีวิตไปเรื่อยๆรอวันตาย ผมคิดว่า มันไม่คุ้มค่ากับการที่เราเกิดมาครับ ผมว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อมีภาระอันหนึ่ง ซึ่งผมก็ตอบไม่ได้เช่นกันครับ 555

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 36

HITMAN

29/08/2010 08:15:19
แนะนำหนังสือคู่มือมนุษย์ ของท่านพุทธทาส ครับ
แล้วจะได้รู้ว่าเราเกิดมาทำไม

คติผมคือ ทำอะไรก็ตามตัวเองไม่เดือดร้อนคนอื่นไม่เดือดร้อนถือว่าใช้ได้แล้วครับ
สำหรับการเกิดมาเป็นคน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 37

Mr.Burst

29/08/2010 20:14:04
3
ดีใจกับเฮียหมีด้วยครับ...

แอบเสียใจกับตัวเอง...

เรื่องที่ไม่ได้ไปกินข้าววันเสาร์กับพี่ๆ..T_T
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 38

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

29/08/2010 21:11:12
125
โอ้.....บัดนี้เวปมั่นคงแห่งนี้ก็ได้มีกระทู้ระดับ อภิปรัชญาห แล้วละครับพี่น้อง นับว่าจับฉ่ายยังน้อยไป อย่างนี้มันรวมตั้งแต่พระกระโดดกำแพงยังแกงโฮะร้านอาหารใช้หาชายห้าที่เชียงใหม่สมัยผมเป็นนักศึกษาเลยนะนี่
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 39

เฮียหมี

29/08/2010 21:43:42
2
ขอบคุณครับคุณเบิร์ด ^_^

อุปสรรคของชีวิตมันทำให้เราเข้มแข็งขึ้นจริงๆ

เดี๋ยวจะลองหา "คู่มือมนุษย์" ของท่านพุทธมาอ่านดูครับ ขอบคุณครับ ^_^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 40

kanit106

30/08/2010 08:57:20
3
เอ่ออออออออออ

ผมเผลอเข้ามาครับ

ผมไปดีกว่าครับ

ขอโทษคร้าบบบบบบ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 41

คนค้นขยะ

30/08/2010 15:56:04
อันความอยากจะระงับดับลงได้ นั่นมิใช่เพราะเราตามสนอง
สิ่งที่อยากให้ทันดั่งมั่นปอง แต่เพราะต้องฆ่ามันให้บรรลัย

ให้ปัญญาบงการแทนร่านอยาก ความร้อนไม่มีมากอย่าสงสัย
ทั้งอาจผลิตกิจการงานใดๆ ให้ล่วงไปด้วยดีมีสุขเย็น..

ธรรมในกลอนโดย พุทธทาส อินทปัญโญ

....ความเป็นมนุษย์ของบุคคลนั้น มีความกลวงโพรง คือมีความเป็นมนุษย์แต่ซีกกาย ส่วนภายใน คือ ซีกใจนั้นปราศจากความเป็นมนุษย์เพราะขาดอาหารทางใจ จึงทำให้มีความเป็นมนุษย์เพียงครึ่งเดียว หรือมีความเป็นมนุษย์ที่กลวงเป็นโพรงดังกล่าวแล้ว..

จากวิถีแห่งการบรรเทาทุกข์โดย พุทธทาส อินทปัญโญ

อยากรู้คำตอบจากคนที่เคยอ่านคู่มือมนุษย์มาบ้างแล้วหน่อยสิว่า ตกลงแล้วเราเกิดมาทำไมกัน!! และคติที่ทำอะไรโดยที่ตัวเองและคนอื่นไม่เดือดร้อน ในทรรศนะเห็นว่าเป็นความคิดแบบพวกปัจเจกนิยมคิดบวกสมบูรณ์แบบ ชอบแสวงหากระพี้ความสุข เลือกที่จะไม่ตั้งคำถามหรือไม่ชอบการวิพากษ์วิจารณ์ คนจำนวนไม่น้อยในสังคมปัจจุบันก็ตกปลักอยู่ในกระแสที่ว่านี้แหละ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 42

Dr. สมเจตน์

30/08/2010 16:05:14
2
ในทัศนคติของข้าพเจ้า

หากคนเราจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เราไม่ควร "ตัดสิน" และ "คาดหวัง" คนอื่น หากตัดสองข้อนี้ไปได้ โลกเราคงสงบขึ้นเยอะ เราไปตัดสินคนอื่น ตัวเราดีแค่ไหน ไม่เคยทำผิดพลาดหรืออย่างไร เราไปคาดหวังคนอื่น เราทำได้ทุกอย่างที่ตัวเองคาดหวังต่อตัวเองรึยัง...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 43

HITMAN

30/08/2010 17:50:40
ในศาสนาแต่ละศาสนาต่างก็มีจุดมุ่งหมายที่สูงสุด
ในพุทธศาสนาก็มีจุดหมายที่ว่านี้ นั่นก็คือพระนิพพานหรือการไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้อีก(รวมทั้งไม่ต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์อะไรทั้งนั้น)หรือความหมดกิเลส สงบเย็น ดับไม่เหลือเชื้อ
นี่คือจุดหมายของการเกิดมาเป็นคนหรือมนุษย์ละครับ แต่อย่างว่าละครับในโลกนี้มีคนอยู่4ประเภท หรือบัวสี่เหล่า ประเภทแรกฟังธรรมแล้วเข้าใจแจ่มแจ้ง อีกประเภทต้องใช้เวลา
หน่อย ประเภทที่สามอาจมีโอกาสถ้าตั้งใจ ประเภทสุดท้ายหมดสิทธิ์คงเพราะมีอัตตาตัวตนมากไปไม่พยายามลดละอคติก็ต้องจมปลักอยู่ในเเง่คิดของตนว่าถูกต้องที่สุดก็ต้องปล่อยไปตามยถากรรมละครับ นิ้วมือคนเราสั้นยาวไม่เท่ากันเพราะมันมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน นิ้วชี้เอาไว้ชี้ แต่ถ้าเอานิ้วกลางไปชี้เดี๋ยวก็เป็นเรื่อง คนเราก็เหมือนกันครับทำหน้าที่ให้ถูกต้องตามที่โลกสมมุติ
ก็พอแล้วครับ ในการเกิดมาเป็นมนุษย์(ถ้ายังไม่อยากไปนิพพาน) เอวัง อิอิ


ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 44

คนค้นขยะ

30/08/2010 18:05:52
สังคมนี้ยังมีอะไรให้คาดหวังได้อีกหรือ ส่วนนิยามของความดีก็ไม่ได้เป็นสิ่งตายตัว ดีสำหรับคนบางกลุ่มบางคนแต่อาจเป็นสิ่งที่ไปทำร้ายคนอื่นอีกจำนวนมากที่ไม่ใช่พวกตัวเอง ฉะนั้นความดีความเลว ความจริงความเท็จ มันยึดถือเป็นสิ่งตายตัวไม่ได้หรอก เพราะมันขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนพูดและพูดกับใคร
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 45

Dr. สมเจตน์

30/08/2010 19:09:47
2
อิอิ เห็นด้วยกับคุณ HITMAN ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"ส่วนหนึ่งของหนังสือที่ผมแต่ง"