Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

ธรรมะวันละคำครับ

Close_Up

28/06/2010 21:07:07
0
นับวันเว็บนี้ ชักออกทะเลไปเรื่อยๆครับ ผมเลยหักมุมกลับมาเรื่องดีๆเจริญหูเจริญตาบ้าง
เริ่มด้วยหัวข้อนี้เลยครับ เรื่องการฆ่าตัวตายบาปอย่างไร

การฆ่าตัวตายบาปมากแค่ไหนมาดูกัน
ฆ่าตัวตายเค้าว่าจะต้องตามไปฆ่าตัวเองอีก 500 ชาติ เคยมีเรื่องราวสมัยพุทธกาลเล่าว่า มีพระรูปหนึ่งจะมาลาพระพุทธเจ้าไปเผยแผ่ศาสนา ก่อนไปพระพุทธเจ้าถามพระองค์นั้นว่า
ตถาคต: ถ้ามีคนมาว่าท่านหละ
ภิกษุ: เขามามาว่าเราก็ดีกว่าเขาเอาก้อนดินมาปา
ตถาคต: ถ้าเขาเอาก้อนดินมาปาท่านหละ
ภิกษุ: เขาเอาก้อนดินมาปาก็ดีกว่าเขาเอาไม้มาตี
ตถาคต: ถ้าเอาไม้มาตีท่านหละ
ภิกษุ: เขาเอาไม้มาตีก็ดีกว่าเขาเอามีดมาฟันให้บาดเจ็บ
ตถาคต: ถ้าเขาทำให้ท่านบาดเจ็บหละ
ภิกษุ: เขาทำให้บาดเจ็บก็ดีกว่าเขาฆ่าเราให้ตาย
ตถาคต: ถ้าเขาฆ่าท่านให้ตายหละ
ภิกษุ: เขาฆ่าเราให้ตายก็ดีกว่าเราฆ่าตัวตาย
พระพุทธเจ้าจึงอนุญาติให้พระองค์นั้นไปตามแคว้นอื่นได้

โทษของการฆ่าตัวตาย

คน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในวัฏสงสารนั้น เมื่อตายแล้วจะเกิดใหม่เป็นอะไร หรือจะไม่ต้องเกิดอีกนั้น ก็ขึ้นกับสภาวะจิตตอนใกล้จะตาย ที่เรียกว่า มรณาสันนวิถี เป็นสำคัญ คือถ้าขณะนั้นจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี คือ สุคติภูมิ แต่ถ้าขณะนั้นจิตเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส เพราะถูกกิเลส หรืออุปกิเลสครอบงำแล้ว (ดูเรื่องอุปกิเลส 16 ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ) ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ไม่ดี คือ ทุคติภูมิ (คือจะไปเกิดในภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับจิตในมรณาสันนวิถีมากที่สุดนั่นเอง) และถ้าขณะนั้นจิตหมดความยินดีพอใจ หรือหมดความยึดมั่นถือมั่นในภพภูมิใดๆ รวมทั้งในสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็จะหมดเหตุให้ต้องเกิดอีก (ดูเรื่องปฏิจจสมุปบาท ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ)

ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ดังนี้
พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์ วัตถูปมสูตร
[๙๒] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมภู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น

ผ้าที่บริสุทธิ์สะอาด ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมภู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมดี มีสีสด ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของบริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น

คนทั่วไปก่อนฆ่าตัวตายนั้น จิตจะน้อมไปในทางโทสะอย่างแรงกล้า (ความโกรธ เศร้า หดหู่ หมดหวัง กลัว ความทุกข์ทางใจทั้งหลาย) เพราะธรรมดาแล้ว ชีวิตของตนย่อมเป็นที่รักยิ่งของคนทั่วไป คนทั่วไปนั้นเมื่อรู้ตัวว่าความตายกำลังจะมาถึง จะมีความหวาดหวั่น พลั่นพลึง กลัวตาย และจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ แม้จะต้องอยู่อย่างยากลำบาก ก็ยังดีกว่าจะต้องตายไป แม้สัตว์ทั้งหลายก็ยังดิ้นรนเพื่อหนีความตาย

ดังนั้น คนที่จะสามารถฆ่าตัวตายได้นั้น ขณะนั้นจะต้องถูกความทุกข์ทางใจ (ทุกทางใจทุกชนิด เป็นจิตที่มีโทสะเป็นมูล) ครอบงำอย่างรุนแรง จึงจะสามารถทำลายชีวิตอันเป็นที่รักยิ่งของตนลงได้ ซึ่งความทุกข์ทางใจ หรือโทสมูลจิตนี้ อาจจะมีสาเหตุจากเรื่องทางใจ หรือเรื่องทางกายก็ได้ เช่น อกหัก ผิดหวัง เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ความล้มเหลวในชีวิต ฯลฯ

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว หลังจากตายไปก็ย่อมจะต้องไปเกิดในทุคติภูมิอย่างไม่ต้องสงสัย และด้วยความรุนแรงของไฟโทสะที่ครอบงำจิตใจนั้น ทุคติภูมิที่ว่าก็คงไม่พ้นนรกอย่างแน่นอน เพราะเป็นภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับโทสะที่สุดนั่นเอง

ดังนั้น ผู้ที่คิดสั้นจะยุติปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายนั้น ขอให้คิดดูให้ดี เพราะนอกจากจะต้องไปพบกับทุกข์ครั้งใหม่ในนรก ซึ่งเป็นทุกข์ที่รุนแรงกว่าแล้ว ยังเป็นการสร้างทุกข์ สร้างปัญหาให้กับคนอื่นๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ต้องรับความทุกข์ที่เขาไม่ได้ก่ออีกด้วย กรุณาให้ความเป็นธรรมกับเขาเหล่านั้นด้วย

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

The แพะ

28/06/2010 22:04:54
39
สาธุ....แบะๆๆ
ความคิดเห็นที่ : 2

ping_seksan

28/06/2010 22:54:29
25
มีประโยชน์มากๆ เลยครับ

ธรรมะ สวัสดีครับ
ความคิดเห็นที่ : 3

เฮียหมี

28/06/2010 23:01:46
2
ตอนผมเด็กๆ ผมไม่เห็นความสำคัญของศาสนาเท่าไร พอขึ้นชั้นม.ต้น ถึงได้เห็นความสำคัญ ยิ่งเวลาไม่มีที่พึ่งทางใจอื่นแล้ว รู้ซึ้งเลยว่าศาสนาก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต ไม่ต่างไปจากน้ำเลย

น้ำเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตทางกายฉันใด
ศาสนาก็เป็นปัจจัยในการดำรงชีิวิตทางจิตใจฉันนั้น
ความคิดเห็นที่ : 4

นายมั่นคง

28/06/2010 23:01:57
4,294
สาธุครับ มีข้อคิดให้คิดตามดีๆ จังครับ
ความคิดเห็นที่ : 5

Collagen

28/06/2010 23:09:12
4
สาธุ....

ขอขอบคุณสำหรับ ธรรมะดีๆ ครับ ^ ^
ความคิดเห็นที่ : 6

Close_Up

28/06/2010 23:42:17
0
อยากให้พี่ๆในบอร์ดช่วยเอาบทความแบบนี้มาลงอีกนะครับ ในกระทู้นี้แหละครับ แล้วขอให้กระทู้นี้อยู่บนบกเน้อ(ไม่ออกทะเล)
ความคิดเห็นที่ : 7

jomjomjom

28/06/2010 23:51:15
5
ถ้าทำเต็มที่แล้ว ... มันสุขไม่ได้ ... ก็ขอแค่ ให้มันทุกข์น้อยลง ก็พอนะ... แล้วก็ให้สุขกับที่ได้ทุกข์น้อยลง นั่นแหละ.

จุ๊บๆ
ความคิดเห็นที่ : 8

Close_Up

28/06/2010 23:57:59
0
เอาไปอีกหนึ่งบทความดีๆคับ


เกิดเป็นคนต้องพัฒนาตัวเอง
คนไทยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ ๙๐ นับถือพระพุทธศาสนา แต่จะมีสักกี่คนในร้อยคนที่ศึกษาและเข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง คงนับถือศาสนาตามพ่อแม่และทะเบียนบ้าน จึงเป็นการประมาทอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงควรหันมาศึกษาศาสนาที่ตนนับถืออย่างจริงจัง อย่าเพียงนับถือศาสนาตามทะเบียนบ้านอยู่เลย เมื่อศึกษาก็รู้แจ้งเห็นจริงจะได้พูดได้เต็มปากว่านับถือศาสนาพุทธอย่างจริงใจ โดยเริ่มจากกล่าวคำถวายตัวเป็นพุทธมามกะและขอถึงพระรัตนตรัยเป็นอุบาสกอุบาสิกาตามลำดับ รักศีลห้าอันเป็นศีลปรกติของมนุษย์ และเริ่มศึกษาคำสั่งสอนให้เข้าใจถึงหลักและแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา สิ่งที่ควรศึกษายิ่งคือ พระไตรปิฎกซึ่งจดจารถ่ายทอดสืบต่อพระพุทธศาสนา ๒,๕๐๐ กว่าปี ยังคงหลักการสำคัญอันสมควรเชื่อถือ การศึกษาขั้นนี้เรียกว่า “ปริยัติ” แล้วน้อมนำมาปฏิบัติด้วยกายและใจที่น้อมโยนิโสมนสิการเรียกว่า “ปฏิบัติ” ให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง เรียกว่า “ปฏิเวธ” อันเป็นแนวทางดำรงชีวิตในสังคมอยู่อย่างเป็นสุข ไม่ทุกข์อย่างที่ประสบพบเจอในสังคมอยู่ทุกวันนี้
หัวใจของพระพุทธศาสนามีหลักสำคัญให้ปฏิบัติเรียกว่า โอวาท
๓ คือ
๑. ละเว้นความชั่ว
๒. ทำความดี
๓. ทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส
ย่อลงมาเหลือเพียงหนึ่ง คือ “ความไม่ประมาท” ดังปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่สงฆ์สาวก ก่อนเสด็จปรินิพพานว่า
“หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิโว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
วะยะธัมมา สังขารา สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา นี่เป็นพระวาจาครั้งสุดท้ายของตถาคตเจ้าฯ”
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงย่อคำสอนทั้งหมดของพระองค์ (พระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ได้แก่ พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) ลงมา ซึ่งถือว่าเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา ๓ประการ คือ
๑.ศีล ได้แก่ พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยหรือศีล เป็นอธิศีลสิกขาคือข้อศึกษาเกี่ยวกับศีลขั้นสูง เป็นวีติกกะมะปหาน คือเครื่องละกิเลสอย่างหยาบ
๒.สมาธิ ได้แก่พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วๆไปเป็นอธิจิตตะสิกขา คือข้อศึกษาเกี่ยวกับสมาธิขั้นสูงเป็นปริยุฏฐานะปหาน คือเครื่องละกิเลสอย่างกลางอันรัดรึงจิตได้แก่ นิวรณ์ คือกิเลสอันกั้นจิตมิให้เป็นสมาธิ
๓.ปัญญา ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมอันยิ่ง ธรรมะล้วนๆ หรือธรรมะที่สำคัญเป็นอธิปัญญาสิกขา คือข้อศึกษาเกี่ยวกับปัญญาขั้นสูง เป็นอนุสยะปหาน คือเครื่องละกิเลสอย่างละเอียด อันได้แก่กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานเหมือนตะกอนนอนก้นตุ่ม ไม่มีอะไรมากวนก็ไม่แสดงอะไรออกมา

"ธรรมะวันละคำครับ"