ครั้งก่อนผมลงไว้ทีนึง แต่อ่านยากเพราะมีแต่ตัวหนังสือครับ
เลยลองลงใหม่ แบ่งๆกันอ่าน ผิดตกบกพร่องตรงไหนช่วยเสริมช่วยแก้ด้วยเน้อ
2 Series
MDR-E212/213/214/215/222: Japan เป็นซีรี่ส์ล่างสุด เสียงคล้ายๆกันหมด ใช้ไดรเวอร์ขนาด 13.5 มิลลิเมตร
ความแตกต่างของรุ่น 21 * และ 222 อยู่ที่สาย โดย 21 * จะใช้สายเดี่ยวราคาถูก ส่วน 222 ใช้สายคู่ที่คุณภาพดีกว่า
รุ่น 215 เป็นรุ่นกันน้ำของ 212 214 มักจะใช้เป็นหูแถมเครื่อง Walkman โดยรวมก็คือ 222 ดีกว่า 21 * อยู่เล็กน้อย
ซีรี่ส์นี้ถึงราคาจะถูกแต่เสียงก็ดีใช้ได้โดยเฉพาะเสียงสูงที่ดีมาก สะอาดและเวทีเสียงที่กว้างมาก แต่อย่างไรก็ตามด้วยไดรเวอร์ที่เล็กจึงทำให้เสียงต่ำๆไม่ค่อยดี
ตัวแปลกของซีรี่ส์นี้คือ 213 เป็นแบบโมโน ใช้แจ็ค 2.5mm
212/222
222
E213
215
MDR-E232/252/255: Japan 232 และ 252 มีรูปร่างที่เกือบจะเหมือนกัน
252 เป็นหูตัวแรกของ SONY ผลิตในปี 1982 ใช้ไดรเวอร์ 16mm มีรูปร่างพื้นๆ ขนาดค่อนข้างแบนบาง ใส่สบาย
เสียงเป็นธรรมชาติไม่ค่อยปรุงแต่ง ออกแนวหูฝั่งยุโรป เวทีกว้าง ตำแหน่งชัดเจน เบสลงลึกแต่ไม่เปิดนัก ความไวปานกลาง เหมาะกับแนวเพลงซิมโฟนี
แต่ก็ยังขาดอะไรอีกหลายอย่างประมาณว่าเสียงบางกลวง เสียงสูงกระด้างนิดหน่อย เสียงร้องไม่ค่อยดีและ เบสยังไม่สะอาดชัดเจนทำให้แยกชั้นดนตรีไม่ขาด
252 ใช้สายเดี่ยว 232 ใช้สายคู่ ตะแกรงไม่เหมือนกัน 232 เสียงด้อยกว่า แคบกว่า 252 อาจจะเนื่องจากสายที่ใช้ แต่โดยรวม 232 ก็ดีกว่า 212/222 ส่วน 255 เป็นเวอร์ชั่นกันน้ำ เสียงไม่ดีเท่าไหร่
252 (ซ้าย) / 232 (ขวา)
MDR-E242/245/262/265: Japan, 24 * และ 26 * ก็แตกต่างกันที่สายอย่างเดียวกับแบบกันน้ำ 245/265 242/265 ใช้ไดรเวอร์ขนาด 16mm และมีท่อเบสทำให้ได้เสียงที่ใหญ่ เต็ม ได้รูปร่างเสียงชัดเจนโดยเฉพาะความหนา ตำแหน่งชัดเจนและใกล้หูโดนเฉพาะเสียงนักร้องหญิง 262 เป็นตัวที่เสียงดี ผลิตในเดือนมกราคมปี 1984 เห็นว่าดีในเรื่องความสว่าง ชิ้นดนตรีเป็นรูปร่างพอๆกับ 484 แต่เสียงบางกว่าเล็กน้อย ส่วน 242 มักจะแถมกับเครื่องเล่น Walkman ไฮเอนด์
242 (ซ้าย) / 262 (ขวา)
245
265
MDR-E272/275: Japan, ออกแบบสไตล์ญี่ปุ่นและไม่ค่อยเหมือนซีรี่ส์ 2 ตัวอื่น จะค่อนไปทางซีรี่ส์ 4 มากกว่า
ใช้ไดรเวอร์ 16mm ท่อยาว เสียงเบสหนักแน่นฟังสนุกแต่ด้อยเรื่องเวทีและชั้นเสียงทำให้ตลาดไม่ค่อยนิยม เสียงดีกว่า 848 รุ่นนี้ทำมาหลายสี
272
MDR-E282: Japan สุดยอดตัวท็อปของซีรี่ส์ 2
ใช้ไดรเวอร์ 16mm วางขายเมื่อ 1 กันยายน 1985 มีสีดำ-ทอง, ดำ-เงิน เริ่มใช้ polymer film เป็นตัวแรก เป้าหมายคือถล่มคู่แข่งอย่าง AIWA V9
ปัจจุบันหูฟังไฮเอ็นด์ก็ยังใช้วัสดุนี้อยู่ อย่างเช่น Sennheiser HD600/650 โดยมีการเคลือบแผ่นไดอะแฟรมด้วยแซฟไฟร์ ตัวหลังๆที่มีใช้เช่น MDR-E575 , MDR-E868
การเคลือบนี้เพื่อความแข็งแรงของไดอะแฟรมและเน้นการตอบสนองต่อเสียงสูงๆ และเริ่มใช้สายทองแดงเกรดสูง (OFC) เสียงมีสีสันสดใสสไตล์ญี่ปุ่น
เริ่มใช้วงจร SONY NUDE TURBO II ที่พัฒนาจาก 262 โดย เสริมในเรื่องเสียงร้องและเบสทำให้ฟังสนุกขึ้น อธิบายง่ายๆคือใช้ผ้าบางติดตรงด้านหน้าไดอะแฟรมเพื่อปรับความถี่
ผ้านี้หน้าที่หลักไม่ได้ใช้กันฝุ่น แต่มีไว้กรองความถี่เสียงสูงที่ดีเยี่ยมของ 262 ให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมกับเสียงต่ำ โดยในรุ่น MDR-E262 จะมองเห็นชัดจากตะแกรงหน้าหูฟัง ส่วน MDR-E282 จะมองไม่เห็น
การออกแบบกรองเสียงสูง ปล่อยเสียงต่ำผ่านแบบนี้ หูฟังชั้นดีรุ่นใหม่ๆอย่าง HD600/650 ก็ใช้วิธีนี้ ถึงแม้การออกแบบเช่นนี้จะเป็นการบิดเบือนเสียงแต่ก็นับว่าคุ้มค่า
282 ถือว่าโดดเด่น มีผู้ชื่นชมมากมายและเป็นหูฟังที่ดีที่สุดของ SONY อีกตัวหนึ่ง
282G
282B gold handle and white handle contains two
4 Series
MDR-E414/424: Japan คล้ายๆ 212/222 คือเป็นตัวราคาถูกของซีรี่ส์ ใช้ ไดรเวอร์ 13.5mm.
MDR-E434/444: Japan, คล้ายๆ 212/222 434 และ 444 ต่างกันที่สาย 444 จะใช้สายดีกว่า 434 ใช้ไดรเวอร์ 13.5mm โดยรวมถือว่าดีใช้ได้ เสียงกลางดี
434
MDR-E454/464: Japan ท่อเบสคู่ 464 ใช้สายผิวละเอียดดูดี ส่วน 454 เป็นสายถัก 2 ชั้นคล้ายๆ Panasonic HV31 นุ่มและทน
ไดรเวอร์ 16mm เสียงออกแข็งแต่คุณภาพโดยรวมก็ถือว่าดีทั้งคู่
454
464
MDR-E472: Japan, ผลิตออกมาเยอะที่สุดในซีรี่ส์ 4 ใช้ไดรเวอร์ 16mm เป็นตัวแถม D350,701C,703C
เสียงค่อนข้างแตกต่างกัน เสียงดีที่สุดเป็นตัวสีดำ-เงิน เสียงคล้าย 484 ส่วนสีขาวรองลงมา
472 black silver bullion
701C/703C
472 white, yellow and black striped bar graph
MDRE-E484: Japan ตัวท็อปของซีรี่ส์ 4 วางตลาดปี 1988 ใช้ไดรเวอร์ 16mm เช่นเดียวกับ Aiwa HP-V99 ที่ใช้ไดอะแฟรมผลึกเพชรเป็นส่วนประกอบ (แปลถูกหรือเปล่าเนี่ย ทำไมมันเว่อร์จัง) รูปร่างเหมือน 472 ซึ่งเอามาเปลี่ยนแทนกันได้ และใช้สาย OFC แบบเดียวกับ 888 มีรุ่นย่อยคือ black LP (B), black pin plug (MP), gold (G ), white (W), silver (S), Gray (D) six versions รุ่น D ถือว่าเสียงดีที่สุดเนื่องจากใช้สายที่ดีกว่าตัวอื่น เสียงของ 484 ถือว่าดีมาก เสียงสูงชัดเจน กลางหวาน ทุ้มแน่นมีพลังและเปิดโปร่ง ทำให้ฟังได้นาน แยกชั้นชัดเจนและวางตำแหน่งเสียงแม่นยำ เวทีเสียงกว้าง ลื่นไหลต่อเนื่องและไดนามิคดี ถือว่าเป็นหูฟังที่ดีที่สุดของ SONY.
484D
484G
484MP
5 Series
MDR-E505: Japan รุ่นล่างสุดของซีรี่ส์ 5 ใช้ไดรเวอร์ 13.5MM
505
MDR-E515/525/535: Japan รูปร่างและเสียงเหมือนๆกัน (แล้วแยกรุ่นทำไม) ใช้ไดรเว่อร์ 13.5MM เสียงโดยรวมไม่โดดเด่นนักยกเว้นความดัง
515/525/535
MDR-E545/551/552/555/557: Japan E545/551/552/555 ไดรเวอร์ 13.5mm ส่วนรุ่น 557 ใช้ขนาด 16mm รุ่น 545 ใช้สายคู่ ออกแบบกันเสียงออกด้านนอก ใส่สบาย ให้เสียงที่ใส เสียงสูงดีแต่เสียงต่ำไม่ดีเท่าไหร่
รุ่น 55 * มักจะแถมมากับเครื่องเล่นกำลังขับสูงๆ อย่าง Discman D-202 จะแถมรุ่น 552 ส่วน D-211 จะแถมรุ่น E551
รุ่น 557 ที่ไดรเวอร์ใหญ่กว่ารุ่นอื่นจะให้เสียงที่ดีกว่า
E555V
E557
MDR-E560/562/565: Japan 562/565 จะเป็นรุ่นรองท็อป หน้าตาเหมือนกัน ใช้ไดรเวอร์ 16mm ส่วนรุ่น 560 ใช้ 13.5mm เป็นแบบกันน้ำ เสียงค่อนข้างธรรมดาๆ
บางคนก็ถือว่า 562/565 เป็นหู SONY ที่สวยสะดุดตาที่สุด และให้เสียงต่ำได้ดีกว่า 848 แต่เสียงสูงจะออกแข็ง ไม่เป็นธรรมชาติ ออกแนวมืดๆ ถ้าหาได้ให้เลือกรุ่น MP เสียงจะดีกว่า LP
รุ่น 560 แถมมากับเครื่อง D-421, WM-SX77, WM-WX88 รุ่น 562 แถมมากับ WM-DX100 เสียงไม่ค่อยต่างกับ 565
ผิววัสดุ 565 จะเป็นแบบกำมะหยี่เหมือน 575B ซึ่งโลโก้ SONY จะหลุดง่ายกว่าแบบผิวเรียบอย่าง 562
560
562/565
565LP
MDR-E575: Japan ตัวท็อปของซีรี่ส์ 5 ใช้ไดรเวอร์ 16mm และไดอะแฟรมเคลือบแซฟไฟร์เหมือน E868/ED268 ตัวนี้จะมีท่อคู่ TURBO ใช้สาย OFC
575 มี 6 สีได้แก่ : ดำ (B), ขาว (W), เงิน (S), เทา (D), ทอง (G) แลเขียว ไม่มีโค้ด ว่ากันว่าสีดำให้เสียงที่ดีกว่าเพื่อน
เสียงแน่น อบอุ่น ชัดเจน เบสหนักแน่นมีแรงปะทะ เสียงกลางหวาน เสียงสูงไปไกล แต่อาจจะขาดเรื่องแยกรายละเอียดไปบ้าง เสียงกลางจะอยู่ด้านหน้าซึ่งต่างกับ 484 ที่จะอยู่ไกลกว่า นักร้องจะอยู่ชิดหู
เป็นตัวเสียงดีที่ค่อนข้างหายาก 565 สีดำจะเป็นตัวแถมมากับเครื่องเล่นเทป SONY DD9
575B
575W
575S
575 Gold
7 Series
MDR-E717/727: Japan ใช้ไดรเวอร์ 13.5mm รูปร่างคล้ายๆ 515/525/535 รวมทั้งเสียงด้วย
717
MDR-E737: Philippines เหมือน E818
MDR-E741/742: 741 Japan กับ China 742 ทำใน Japan ใช้ไดรเวอร์ 16mm
741 จะเป็นหูแถม มีเฉพาะรุ่น MP กับ LP เรียกว่าเป็นรุ่น the classic of classics เพราะมีช่วงการผลิตนานถึง 8 ปี เป็นหูแถมกับเครื่องต่างๆนับไม่ถ้วน ให้เสียงกลางๆ เหมาะกับพวก classic, rock หรือ pop ตอนแรกๆ SONY Walkman จะแถมหูฟังคุณภาพต่ำอย่าง 805 แต่หลังๆก็จะใช้ 741 เป็นตัวแถม
ตัวนี้จะให้เวทีเสียงกว้างพอประมาณแต่เสียงต่ำและการแยกชั้นของเสียงไม่ดีนัก แยกรายละเอียดได้กลางๆ
ช่วงหลังๆที่ทำในจีนจะเป็นสีเงิน เสียงไม่ค่อยดีเท่าไหร่ 741มีสามแบบคือ ตะแกรงสีทอง, ดำ และเงิน เรียงตามคุณภาพเสียง แต่รุ่นนี้ปลอมกันเยอะมาก เป็นหูแถม D-22 และ D141 (DISCMAN)
741
MDR-E743: Japan เวอร์ชั่นปรับปรุงของ 741 ไดรเวอร์ 16mm ปรับเสียงให้ฟังสนุกขึ้นในแนวคอนเสิร์ท เป็นหูแถมของ D-626
743
MDR-E747: Japan เป็นตัวอัพเกรดของ 741 ใช้ไดรเวอร์ 16mm มีรุ่น MP กับ LP เสียงออกนุ่มๆ เวทีเสียงแนว 848
รุ่น MP มักจะแถมมากับ Walkman DAT ระดับ hi-end ส่วน LP จะเป็นรุ่นขายแยก เสียงค่อนข้างดีและราคาไม่สูง ถือว่าคุ้มค่า
747LP
MDR-E757: Japan ตัวท็อปของซีรี่ส์ 7 ไดรเวอร์ 13.5mm รูปร่างคล้ายลูกอ๊อดหรืออะไรก็แล้วแต่จะคิด ราคาไม่สูง
เสียงไม่เหมือนตัวไหนในซีรี่ส์เลย ออกธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่ง แถมมากับวิทยุ high-end อย่าง SONY WM-52
757
8 Series
MDR-E801/805/806/807: Japan and China E805 มีไว้เป็นหูแถม ใส่ไม่ค่อยสบายนัก เบสเยอะ แต่โดยรวมเมื่อเทียบกับราคาก็ถือว่าดี
E801 เหมือน 805 ใช้ไดรเวอร์ 13.5mm เหมือนรุ่นอื่นๆในซีรี่ส์
807
MDR-E802/803/E808/809: E809 ค่อนข้างหายาก ผลิตในจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น
808 จะเห็นได้ง่ายกว่าเพราะเป็นหูแถม (เครื่อง EX921, EX2000 Japan จะแถม E803) โดยรวมแล้วคุณภาพเสียงใช้ได้
แต่คุณภาพการผลิตไม่ค่อยดี เจอเสียงดับบ่อยๆ
803/808
811: มีตัวตนแต่ไม่ค่อยมีข้อมูล รู้แต่ว่าใช้ไดรเวอร์ 13.5 mm
811
MDR-E817 / 818/819: Philippine เสียงดีกว่า E808 เล็กน้อย ส่วนมากส่งขายในยุโรป ท่อเบสใหญ่ เบสเยอะ มีรุ่น 818V ที่เป็น Volume control
ใช้ไดรเวอร์ 13.5mm
818
MDR-E821/823: สำหรับตลาดล่างคล้ายๆ 805, 821 V มี Volume ใช้กล่องเก็บคล้าย Sennheiser MX500
E821V
MDR-E827/828/829: Philippine (แต่ที่ผมมีเป็นรุ่น Thailand) และ MDR-E817 / 818/819 รูปร่างเหมือนกันเป๊ะ ต่างกันแค่สี 828/829 เป็นสีเทา ส่วน 827 สีทอง
828 เสียงจะดีกว่า 818 เบสลึกนุ่มแน่นคล้ายรุ่น ED ปลายเสียงกลางพอๆกับ 838 เสียงสูงสะอาดใสแต่รายละเอียดยังไม่ดีนัก โดยรวมก็ใกล้เคียงกับ 838
827
828
MDR-E832: Japan ตัวแถมของ SONY 20 Anniversary Edition EX20 เสียงเหมือน 838
MDR-E837/E838: E837 เป็นเวอร์ชั่น Japan ส่วน E838 จาก จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ถึงจะดูเหมือนกันแต่จริงๆแล้วก็แตกต่างกันพอสมควร
E838 ใช่ไดรเวอร์ 16mm ส่วน E837 ใช้ 13.5mm ทำให้เบส 838 เยอะกว่า 838 จะให้เสียงที่อิ่มกว่า ในขณะที่ 837 จะเล็กบาง
837 เหมาะกับเพลงคลาสสิค ไลท์มิวสิค และเสียงร้อง แต่ถ้าเป็นป็อปหรือร็อค 838 จะเข้าท่ากว่า
838 มี 4 สี น้าเงิน, เงิน, ส้มและดำ ตัวสีดำที่แถม MINI DISC เป็นตัวที่ดีมาก ทำในญี่ปุ่น เป็นสายเดี่ยว มีรุ่นแจ็คเข็มด้วย หลังๆมาจะเป็นสายคู่ ตัวนี้ของปลอมมีเยอะ
838
รุ่นแจ็คเข็ม
838MINI DISC EDITION
MDR-E847/E848: Japan E847 เสียงโดยรวมถือว่าดีโดยเฉพาะเสียงสูงอย่างเสียงเครื่องบิน เสียงโลหะกระทบกันนี่แทบจะจับต้องได้ แต่เบสแบบ SONY ไม่ค่อยมี เสียงค่อนข้างพุ่งและให้รายละเอียดสูง
E848 ถือว่าเป็นหูฟัง high-end ของ SONY high-end อีกตัวหนึ่ง ให้เบสลึก ,แหลมดีมาก มีรายะเอียดดีและไม่สากเสี้ยน แต่ปลายเสียงกลางไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่
848
Rare 848V
MDR-E868: มีเฉพาะ Japan เป็นตัวรองท็อปของซีรี่ส์ 8 รองจาก E888 แต่ราคาถูกกว่าเยอะ
เป็นตัวที่รุ่นเก่ากับรุ่นใหม่เสียงมีความแตกต่างกันมากๆ รุ่นเก่าของ 868 ให้เสียงกลางที่หวานมากถึงจะไม่เท่า 888 (แต่เหมาะกับเสียงนักร้องหญิงกับเครื่องสายเท่านั้น)
โดดเด่นที่เบสลงได้ลึกมาก ไดอะแฟรมของ 868 เคลือบด้วยแซฟไฟร์ เสียงแหลมจะสะอาดใสมาก การแยกซ้ายขวาเด็ดขาด
เบสลึกแต่ไม่กระฉับกระเฉงนัก ที่โดดเด่นเป็นเยี่ยมคือ ปลายเสียงแหลมที่ทอดไกลมาก สว่างสดใส เบสเต็มและเป็นธรรมชาติ ถ้าเทียบกับ E848 เสียงต่ำของ E868 จะดีกว่า
E868 ไม่มีปัญหาที่เรียกว่า bottleneck ที่แหลมดีแต่ปลายเสียงกลางคม
ถ้าเทียบว่า E848 เสียงออกโทนอุ่น E868 ก็จะเป็นโทนเย็น E868 เหมาะกับเสียงร้องและ light music แต่จะลำบากตอนหาเครื่องเล่นดีๆมาให้มันนี่แหละ
868
MDR-E888: 888G และ MP มีแต่ Japan เท่านั้น และยังมีอีก 3 เวอร์ชั่นคือ SP/LP/MP1 ผลิตที่ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และจีน (จริงๆแล้วมีไทยด้วย) ที่เห็นอยู่ส่วนมากผลิตในจีนและฟิลิปปินส์ ส่วนที่ทำในญี่ปุ่นไม่ค่อยมีแล้ว เป็นหูฟังที่มีการวิจารณ์กันมากที่สุดอีกตัวหนึ่ง บางคนว่าเสียงดีมาก เสียงสูงสดใสมาก ฟังสบายหู บางคนก็ว่าสีสันเยอะเกินไป
ใช้สาย OFC และ biological diaphragm 888 ให้เสียงที่หวานละมุน แหลมทอดยาวไกลมาก รายละเอียดของเบสดี (ผู้เขียนแนะนำการเบิร์นเร็วโดยให้เบิร์นโดยใช้เสียงวิทยุช่องเปล่า 72 ชั่วโมงต่อเนื่อง)
การใช้ biological diaphragm ก็เป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของ 888 คือมันบอบบาง ไม่ค่อยทนต่อเสียงความถี่ต่ำปริมาณมากๆ
การซื้อต้องระวังเพราะนี่ก็เป็นตัวที่ปลอมเยอะมากๆอีกตัวหนึ่ง
888G