นักโทษคนหนึ่งเขียนจดหมายถึงคนรักของเขาว่า เขากำลังจะพ้นโทษ หลังจากใช้ชีวิตในคุกนานสามปี เขาอยากรู้ว่าเธอยังรอเขาอยู่หรือไม่ เธอจะให้อภัยเขาไหม จากคุกเขานั่งรถบัสกลับบ้าน หวังจะได้กลับไปหาเธอ หากเธอยังรักเขาอยู่ ก็ให้แขวนริบบินสีเหลืองเส้นหนึ่งรอบต้นโอคหน้าบ้าน หากเขานั่งรถบัสผ่านไปแล้วไม่เห็นริบบินสีเหลือง เขาก็จะไม่ลงจากรถ และจากไปตลอดกาล ยอมรับคำตัดสินของเธอโดยดุษณี ระหว่างทาง เขาขอให้คนขับรถบัสช่วยมองหาริบบินสีเหลืองที่คาดรอบต้นโอค เพราะเขากลัวว่ามองหาแล้วไม่เห็น
นี่เป็นเนื้อหาของเพลง Tie a Yellow Ribbon ’Round the Old Oak Tree แต่งโดย เออร์วิน ลีไวน์ กับ แอล. รัสเซลล์ บราวน์ มีเค้ามูลจากเรื่องจริงของชายนักโทษคนหนึ่งในรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา มันกลายเป็นบทความ หนังโทรทัศน์ และเพลง
I’m comin’ home, I’ve done my time
Now I’ve got to know what is and isn’t mine
If you received my letter telling you I’d soon be free
Then you’ll know just what to do
If you still want me...
ในศตวรรษที่ 19 ริบบินสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงหรือการรอทหาร ผู้หญิงหลายคนคาดริบบินสีเหลืองบนเส้นผมเพื่อบอกว่าพวกเธอกำลังรอคนรักซึ่งไปรับใช้ชาติอยู่ในสมรภูมิ
ในยุค 1970 สัญลักษณ์ริบบินสีเหลืองนี้ขยายออกไปนอกวงการทหาร มีความหมายถึงการจากไปของคนรัก ไม่ว่าจะไปสงครามหรือติดคุก การติดริบบินสีเหลืองหมายถึงใครคนนั้นยังรอคนที่จากไปอยู่ บางครั้งก็ผูกรอบต้นไม้หน้าบ้าน
Tie a yellow ribbon ’round the old oak tree
It’s been three long years
Do you still want me...
.……………….
ความผิดของมนุษย์ในโลกมีสองประเภท ทำผิดโดยไม่ตั้งใจกับโดยตั้งใจ
การทำผิดโดยไม่ตั้งใจก็มีสองประเภทคือ ทำผิดแล้วหลาบจำ ไม่ทำผิดอีก กับทำผิดแล้วทำซ้ำอีก
โดยหลักการ การทำผิดแล้วหลาบจำ รู้จักเรียนรู้จากสิ่งที่ทำ ก็เป็นเรื่องที่น่าให้อภัย แต่โดยการปฏิบัติ สังคมมักไม่ค่อยเปิดโอกาส โอกาสที่สองให้คนทำผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโทษและอาชญากร
นี่อาจเป็นสาเหตุของการกลับเข้าคุกรอบที่สอง รอบที่สามของคนจำนวนมาก ด้วยทัศนคติแบบนี้ของสังคม สร้างคุกเท่าไรก็ไม่เคยพอ
การเปิดโอกาสที่สองแก่คนทำผิดที่รู้สำนึกไม่เพียงยกระดับจิตใจของคนที่รู้จักให้อภัย ยังช่วยแก้ปัญหารวมของสังคมในระยะยาวซึ่งยั่งยืนกว่า
คัมภีร์คริสต์ศาสนา The Gospel of John บทที่ 8:1-11 บันทึกว่า เช้าวันหนึ่ง เมื่อพระเยซูเสด็จไปถึงภูเขามะกอก พระองค์ดำเนินไปถึงวัดแห่งหนึ่ง พบเห็นผู้หญิงคนหนึ่งกำลังจะถูกประชาทัณฑ์ เนื่องจากนางประพฤติผิดในกาม โทษของนางตามกฎแห่งโมเสสคือต้องถูกขว้างด้วยก้อนหินจนตาย
พระเยซูตรัสกับชาวบ้านผู้หมายจะลงทัณฑ์ว่า “ขอให้ผู้ที่ปราศจากบาปเป็นคนแรกที่ขว้างก้อนหินใส่นางเถิด” ไม่นานฝูงชนก็ค่อยๆ หายไปทีละคนสองคน ในที่สุดก็เหลือแต่พระองค์กับหญิงคนนั้น องค์เยซูตรัสกับสตรีนางนั้นว่า “เราเองก็ไม่อาจประกาศว่าเจ้าทำผิด จงไปเสียเถิด และอย่าทำบาปอีก”
ไม่เคยมีใครไม่ทำผิด ไม่มีคนบริสุทธิ์ผุดผ่องเต็มร้อยในโลกใบนี้ แม้แต่พระพุทธองค์ยังทรงให้โอกาสที่สองแก่โจรใจบาป องคุลิมาล
การให้อภัยจึงเป็นทานชั้นสูง เพราะมันยกระดับจิตใจของคนให้
สำนวนจีนว่า “เมื่อวางดาบ ก็เป็นอรหันต์”
มหาตมะ คานธี กล่าวว่า “คนอ่อนแอไม่สามารถให้อภัยได้ การให้อภัยเป็นคุณสมบัติของคนเข้มแข็ง”
อิสรภาพที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อใจเป็นอิสระ
I’m really still in prison
And my love, she holds the key
A simple yellow ribbon’s what I need to set me free
.……………….
รถบัสแล่นไปถึงที่หมาย คนในรถบัสส่งเสียงร้องเชียร์ดังลั่น ชายอดีตนักโทษมองเห็นริบบินสีเหลืองจำนวนนับร้อยเส้นแขวนบนต้นโอคใหญ่ ปลิวไสวไปตามแรงลม
.……………….
วินทร์ เลียววาริณ
นี่เป็นเนื้อหาของเพลง Tie a Yellow Ribbon ’Round the Old Oak Tree แต่งโดย เออร์วิน ลีไวน์ กับ แอล. รัสเซลล์ บราวน์ มีเค้ามูลจากเรื่องจริงของชายนักโทษคนหนึ่งในรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา มันกลายเป็นบทความ หนังโทรทัศน์ และเพลง
I’m comin’ home, I’ve done my time
Now I’ve got to know what is and isn’t mine
If you received my letter telling you I’d soon be free
Then you’ll know just what to do
If you still want me...
ในศตวรรษที่ 19 ริบบินสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงหรือการรอทหาร ผู้หญิงหลายคนคาดริบบินสีเหลืองบนเส้นผมเพื่อบอกว่าพวกเธอกำลังรอคนรักซึ่งไปรับใช้ชาติอยู่ในสมรภูมิ
ในยุค 1970 สัญลักษณ์ริบบินสีเหลืองนี้ขยายออกไปนอกวงการทหาร มีความหมายถึงการจากไปของคนรัก ไม่ว่าจะไปสงครามหรือติดคุก การติดริบบินสีเหลืองหมายถึงใครคนนั้นยังรอคนที่จากไปอยู่ บางครั้งก็ผูกรอบต้นไม้หน้าบ้าน
Tie a yellow ribbon ’round the old oak tree
It’s been three long years
Do you still want me...
.……………….
ความผิดของมนุษย์ในโลกมีสองประเภท ทำผิดโดยไม่ตั้งใจกับโดยตั้งใจ
การทำผิดโดยไม่ตั้งใจก็มีสองประเภทคือ ทำผิดแล้วหลาบจำ ไม่ทำผิดอีก กับทำผิดแล้วทำซ้ำอีก
โดยหลักการ การทำผิดแล้วหลาบจำ รู้จักเรียนรู้จากสิ่งที่ทำ ก็เป็นเรื่องที่น่าให้อภัย แต่โดยการปฏิบัติ สังคมมักไม่ค่อยเปิดโอกาส โอกาสที่สองให้คนทำผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโทษและอาชญากร
นี่อาจเป็นสาเหตุของการกลับเข้าคุกรอบที่สอง รอบที่สามของคนจำนวนมาก ด้วยทัศนคติแบบนี้ของสังคม สร้างคุกเท่าไรก็ไม่เคยพอ
การเปิดโอกาสที่สองแก่คนทำผิดที่รู้สำนึกไม่เพียงยกระดับจิตใจของคนที่รู้จักให้อภัย ยังช่วยแก้ปัญหารวมของสังคมในระยะยาวซึ่งยั่งยืนกว่า
คัมภีร์คริสต์ศาสนา The Gospel of John บทที่ 8:1-11 บันทึกว่า เช้าวันหนึ่ง เมื่อพระเยซูเสด็จไปถึงภูเขามะกอก พระองค์ดำเนินไปถึงวัดแห่งหนึ่ง พบเห็นผู้หญิงคนหนึ่งกำลังจะถูกประชาทัณฑ์ เนื่องจากนางประพฤติผิดในกาม โทษของนางตามกฎแห่งโมเสสคือต้องถูกขว้างด้วยก้อนหินจนตาย
พระเยซูตรัสกับชาวบ้านผู้หมายจะลงทัณฑ์ว่า “ขอให้ผู้ที่ปราศจากบาปเป็นคนแรกที่ขว้างก้อนหินใส่นางเถิด” ไม่นานฝูงชนก็ค่อยๆ หายไปทีละคนสองคน ในที่สุดก็เหลือแต่พระองค์กับหญิงคนนั้น องค์เยซูตรัสกับสตรีนางนั้นว่า “เราเองก็ไม่อาจประกาศว่าเจ้าทำผิด จงไปเสียเถิด และอย่าทำบาปอีก”
ไม่เคยมีใครไม่ทำผิด ไม่มีคนบริสุทธิ์ผุดผ่องเต็มร้อยในโลกใบนี้ แม้แต่พระพุทธองค์ยังทรงให้โอกาสที่สองแก่โจรใจบาป องคุลิมาล
การให้อภัยจึงเป็นทานชั้นสูง เพราะมันยกระดับจิตใจของคนให้
สำนวนจีนว่า “เมื่อวางดาบ ก็เป็นอรหันต์”
มหาตมะ คานธี กล่าวว่า “คนอ่อนแอไม่สามารถให้อภัยได้ การให้อภัยเป็นคุณสมบัติของคนเข้มแข็ง”
อิสรภาพที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อใจเป็นอิสระ
I’m really still in prison
And my love, she holds the key
A simple yellow ribbon’s what I need to set me free
.……………….
รถบัสแล่นไปถึงที่หมาย คนในรถบัสส่งเสียงร้องเชียร์ดังลั่น ชายอดีตนักโทษมองเห็นริบบินสีเหลืองจำนวนนับร้อยเส้นแขวนบนต้นโอคใหญ่ ปลิวไสวไปตามแรงลม
.……………….
วินทร์ เลียววาริณ