เมื่อคุณได้ชื่อว่าเป็นนักเปียโนที่สร้างรายได้มากที่สุดในโลกคนหนึ่ง และมีอัลบั้มรวมกว่า 100 อัลบั้มนับแต่ออกผลงานในทศวรรษที่ 60 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่ยังคงมีรายได้มหาศาลจากการเล่น Concert แต่ละครั้ง มีการปรากฏตัวทั่วทุกทวีป เป็นแรงบันดาลใจของนักดนตรีรุ่นใหม่ รุ่นเก่า มีคนนับพันรอซื้อตั๋วที่ Sold Out แทบทุก Concert และเรื่องมากที่จะลอง Grand Piano ของ Steinway & Sons ขนาด 9 ft ที่ต้องหยิบมาให้พร้อมกันไม่น้อยกว่า 3 ตัวเพื่อทดสอบเสียงก่อนเล่นจริง และเป็นวงที่มีการรวมตัวเล่นด้วยกันยาวนานที่สุดในโลกจะครบ 35 ปีในอีกปีสองปีนี้ใ่ช่ละครับคงเป็นคนอื่นไปไม่ได้นอกจาก Keith Jarrett
ผมเองติดตามผลงานของ Keith Jarrett ราวๆสามสิบที่แล้วจากการบังเอิญไปยืนฟังแผ่นเพลงอะไรก็ไม่รู้ที่หน้าตาผู้ชายมัน Hippie ผมฟูเป็นฝอยขัดหม้อ นั่งก้มหน้าไปที่เปียโนเสมือนจะหลับกับแบบปกที่เชยบรม แต่เมื่อเปิดฟังในวินาทีแรก "โลกผมหยุดหมุน" มาที่เสียงเพลงจากอัลบั้ม Koln Concerts ในปี 1975
นับแต่นั้นมาโลกดนตรีของผมก็เปลี่ยนไปเพราะชายที่ชื่อ Keith Jarrett เขาและเพื่อนร่วมวงอย่าง Gary Peacock, Jack DeJohnette (ทีเป็นคนเห็นแววของ Keith Jarrett และชักชวนมาเล่นใน Charles Lloyd Quartet ในปลายยุค 60's) ก่อนที่จะสร้างชื่อเสียงกับ Miles Davis ที่เป็นยุค Electric Fusion
อย่างไรก็ดี Jarrett ในใจลึกๆไม่ได้ชื่นชอบเครื่องดนตรีที่เป็น Electric หรือแนวดนตรีที่เกี่ยวข้องกับเสียง Electric มากนัก ปรากฏการณ์ Piano Solo ที่กลายเป็นจุดที่สร้าง Keith Jarrett นับแต่ยุค 70's ตอนต้นได้สร้างกระแสให้แฟนๆแจ๊สที่อาจจะลดน้อยถอยลงไปเนื่องจากกระแสนดนตรีร๊อคที่เติมโตนับแต่ยุค Elvis, The Beatles, The Rolling Stone และอีกมากในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เริ่มได้กลับมาเฟื่องฟู แถมยังส่งผลต่อแนวดนตรีอีกแขนงอย่าง "New Age" ที่เริ่มมีรูปร่างขึ้นมาหลังจาก Jarrett Fever
ว่ากันว่าผลงาน Koln Concert กลายเป็น one of best-selling jazz albums ตลอดกาลจนสร้างค่ายเพลง ECM ให้แข็งแกร่งจนถึงยุคนี้และกลายเป็นค่ายเพลงที่มีผลงานต่อเนื่อง สร้างศิลปินจาก Europe และ America ให้กลายเป็นสตาร์ไม่ว่าจะเป็น Mal Waldron, Paul Motian, Charlie Haden, Jan Garbarek, Terje Rypdal, Pat Metheny, Paul Bley, Carla Bley, Steve Swallow etc.
ช่วงนี้ไล่ฟังงานเก่าๆของ Jarrett ซึ่งไม่ได้ฟังมานานแล้วโดยเฉพาะ Bregenz Concert ในปี 1980 แต่กลับมา Re-issued ใหม่ในแบบ 3 อัลบั้มภายใต้ชื่อ Concerts Bregenz, Munchen (Munich) ซึ่งเป็นงาน Free Improvise ทั้งหมดโดย Munchen album มีการรวมมาให้ใหม่โดยไม่ได้ออกในช่วง 80's
แม้การเล่นโซโล่ของ Jarrett มักจะออกเสียงร้องครางฮือๆไปกันโน๊ตทีเล่นจนหลายคนรำคาญ แต่สำหรับผมแล้ว หากไม่มีเสียงเหล่านี้ผลงานของ Jarrett ก็คงดูไม่สุดจนถึงทุกวันนี้ ก็ไม่ต่างจากนักดนตรีท่านอื่นที่อาจส่งเสียงครางเมื่อถึงจุดสุดยอด (อย่าคิดไกล) ทางดนตรีอย่าง Thelonius Monk, Oscar Perterson หรือ Glen Gould ก็เช่นเดียวกัน
Search ไปมาไปเจองาน Bootleg ทีบันทึกเสียงได้ดีมากเป็นงานบรรเลง Free Improvise อีกเหมือนกันในปี 1975 ที่ Bremen ความยาวกว่า 60 นาทีเศษ ความยอดเยี่ยมของอัลบั้มนี้ ในความคิดผมว่ามันมี Dynamic ไม่แห้งหรือนิ่งไป มี Movement ตลอดเวลาที่ฟัง และน่าจดจ่ออย่างมาก ลองไปฟังดูครับ เพิ่งเจอเหมือนกันฟังแล้วอยากได้อัลบั้มขึ้นมาจริงๆ
คำเตือน "การฟังงาน Jarrett มากๆจะติดครับ ให้เลิกฟังตั้งแต่ได้ยินจะดีที่สุด" 5555