Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

มาฟังเพลงคลาสสิคกันเถอะจ้ะ

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 00:32:38
125
ณก กระทู้นี้ขอเปิดเพื่อคอเพลงคลาสสิค เขามาคุยสังสรรค์แลกเปลี่ยนความเห็นและความรู้รวมถึงความไม่รู้
และความรู้ที่ดูเหมือนไม่รู้ ตลอดจนความไม่รู้ที่เข้าใจผิดว่ารู้ พิมพ์ไปพิมพ์มาชักงง น้องคอลลาเจ็น คุณ Tidal ตลอดจนคนอื่น ๆ ที่รู้เรื่องเพลงคลาสสิคมาก รู้น้อย หรือไม่รู้เลย เรายินดีต้อนรับครับ โดยผมจะเป็นตัวกลางให้เอง ในฐานะแก่กว่าเพื่อน แต่รู้เรื่องเพลงคลาสสิคน้อยกว่าเพื่อน ไม่เป็นไรครับ ยิ่งแก่ยิ่งหน้าด้าน
ใครจะว่าอย่างไรก็ไม่เป็นไรครับ เฮียครับ แบนเนอร์ข้าง ๆ มันมาบังไม่ให้ผมเห็นที่ผมพิมพ์ครับ เลย
ต้องพิมพ์ออกมาแบบนี้ ยังไงฝากช่วยดูด้วยครับ และขอเสนอพิจารณาปักหมุดกระทู้นี้ด้วยจะเป็นพระ
คุณหลายครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

Elvis

22/09/2010 00:37:56
1
ขอเจิมกระทู้ครับ ^_^ รบกวนคุณหมอช่วยแนะนำเพลงคลาสสิคสำหรับมือใหม่หัดฟังหน่อยได้ไหมครับ?

คือบางทีผมฟังเพลงมาเนี่ย ยังแยกแนวไม่ค่อยจะออกเลย =w="
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 00:42:50
125
มือใหม่ ลองหาเพลงพวกรวมฮิตมาฟังดูก่อน เป็นดีวีดีเอ็มพีสามก็ได้ ดูเหมือนแผ่นละร้อยบาท มีราวแปดสิบเพลง เป็นเพลงบังคับของคอคลาสสิคละครับ และมีหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมได้มาจากเพื่อนแพทย์ด้วยกันเมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้ยังเก็บไว้เลยครับขอลอกคำแนะนำจากกระทู้ "คุณหมอครับ" นะครับ


ขอโฆษณาหนังสือของคุณต่อพงษ์ เศวตาร์ม สักหน่อยครับ ถ้าจำไม่ผิดชื่อ ABC in classics นะครับ ออกมาประมาณ4-5ปีแล้วครับ เขียนสนุกมาก จากผมที่ไม่เคยฟังเพลงคลาสสิคเลย ยังต้องไปซื้อแผ่นรวมฮิตมาฟัง จนพอจะพูดจาภาษาคลาสสิคกับเขาได้ ที่นี้พอจะรู้เรื่องบ้างก็พอจะหาซื้อพวกดีวีดี(ของจีน)ซึ่งราคาไม่แพงมาก(ราวแผ่นละสองร้อยบาท)มาฟังและดูได้ ผมว่าฟังเพลงคลาสสิคกับดูคอนเสิร์ทคลาสสิคมันได้อรรถรสคนละอย่างนะครับ ไม่เชื่อลองฟังดู
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

Mr.Burst

22/09/2010 00:48:47
3
ถ้าอย่างนั้น...

เริ่มทำความเข้าใจกับ "ดนตรีคลาสสิก" กันก่อนเลยก็แล้วกันครับ




http://th.wikipedia.org/wiki/ดนตรีคลาสสิก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

Collagen

22/09/2010 00:50:04
4
มาเจิมกระทู้ครับ คุณหมอ..... ถ้าหากว่ามีอะไรให้ช่วยผมก็ยินดีครับ แค่ในส่วนของการรีวิวเพลงคลาสสิค ผมก็มี รีวิวไว้ในกระทู้เก่าๆ มาแล้ว ถ้าหากว่า คุณหมอไม่ว่าอะไรผมก็อาจจะขออนุญาต ย้ายมาไว้ที่กระทู้นี้กระทู้ทีเดียวเลย (เนื่องจากว่ากระทู้เก่า มี Link แจกเพลงอยู่ ซึ่ง อาจจะขัดกับนโยบายการแจงเพลงครับ) ผมก็ขออนุญาตรวบรวมมาไว้ที่กระทู้นี้ทีเดียวเลยนะครับ แต่การดำเนินงานในส่วนนี้ ผมก็ขออนุญาตว่า ผมคงไม่สามารถดำเนินการได้ในทันทีครับ เนื่องจากช่วงนี้รายงานเยอะมากมาย ครับ ซึ่งผมก็ขอว่าเป็นช่วงประมาณเดือนหน้า (ต.ค.) จะดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยเลยครับ....

ถ้าหากว่ามีคำถามทางด้านเพลงคลาสสิคผมก็ยินดีตอบครับ และไขข้อข้องใจให้ครับ (ตราบเท่าที่ผมทราบครับ ^ ^)

ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณคุณหมอทัตเทพมากๆ ครับ.... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 00:50:58
125
ถ้าหาไม่ได้ยังไงก็ส่งข่าวมาครับ จะไรท์ส่งไปให้ครับ แต่ซื้อเลยดีกว่าเพราะชื่อเพลงมันเยอะครับ ถ้าไรท์มันจะได้แต่เพลง เพราะชื่อเพลงมันตัวเล็กสแกนส่งไปก็อาจอ่านไม่ออกครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

Elvis

22/09/2010 00:55:15
1
ผมก็เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าละครบรอดเวย์กับโอเปร่ารวมอยู่ในดนตรีคลาสสิคด้วย o_O ชอบ ๆ มาก ๆ แต่ไม่เคยรู้เลย ฮา

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

Mr.Burst

22/09/2010 00:56:49
3



แนะนำคนเพิ่งเริ่มฟังคลาสสิก..

ควรเริ่มจากผลงานของ Johann Sebastian Bach (บาค) และ Antonio Vivaldi (วิวัลดี้)ก่อนเลยนะครับ เพราะเป็นต้นกำเนิดของการเล่นดนตรีคลาสสิก

ก่อนที่จะมาพัฒนาวิธีการเล่นอย่างเป็นหลักสูตรและเป็นแบบแผนโดย Wolfgang Amadeus Mozart (โมสารท)

อ้อ...ใครที่เคยได้ดูภาพยนตร์เก่าๆ เรื่อง Amadeus นั่นก็คือภาพยนตร์สะท้อนชีวิตของโมสารทนั่นเองครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

Collagen

22/09/2010 00:59:14
4
ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ผมก็ขอคัดลอก จากกระทู้เก่าของผม.... เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของเพลงคลาสสิคมาก่อนดีกว่าครับ .... ^ ^
-------------
เพลงคลาสสิก (ดนตรีตะวันตก) แบ่งในแต่ละยุคได้ดังนี้ครับ (ผมขอเริ่มตั้งแต่ ยุคกลาง หรือ อาณาจักรโรมันล่มสลาย)

1. ยุคมืด หรือ ยุคกลาง (Dark Age or Medieval) ช่วงปี ค.ศ. 476 - 1450 หลังจากอาณาจักรโรมันล่มสลายใน ปี ค.ศ. 476 และอิทธิพลของคริสตศาสนา แผ่ปกคลุมเข้ายุโรป พวกชาวบ้านที่เคยได้รับความคุ้มครองจากอาณาจักรโรมัน ต่างตกอยู่ในภาวะหวาดกลัวจากการรุกรานของอนารยชน (พวกคนเถื่อน เช่น Saxon, Goth, Viking เป็นต้น) ซึ่งระบบการปกครองก็เปลี่ยนจากระบบจักรพรรดิ เป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudal) ซึ่งชาวบ้านจะอยู่ภายใต้การปกครองของชนชั้นขุนนาง ซึ่งดูแลโดยกษัตริย์ของแต่ละประเทศ และอำนาจการปกครองในส่วนของ ศาสนจักร ซึ่งอยู่ที่ กรุง Rome และ Constantinople (ปัจจุบันคือกรุง Istanbul ประเทศตุรกิ) ซึ่งอำนาจทางศาสนจักรมีมากกว่าอำนาจของกษัตริย์ และผู้กุมอำนาจของทางศาสนจักรก็คือ พระสันตปาปา ที่กรุงโรม ... (เอ๊ะ กลายเป็นวิชาประวัติศาสตร์ไปซะแล้ว เข้าเรื่องดนตรีดีกว่า) ในยุคนี้เครื่องดนตรี และการละเล่นดนตรีถือว่าเป็นการกระทำของพวกนอกรีต ที่ต่อต้านพระเจ้า ดังนั้นในยุคนี้ จนถึงช่วงศตวรรษที่ 9 - 10 จึงไม่มีเพลงใดๆ ที่มีการแต่ง (หรืออาจจะมีแต่ถูกเก็บเป็นความลับ) ซึ่งมีแต่บทสวดมนต์เท่านั้น ต่อมา St. Gregory ได้แต่งเพลงสรรเสริญพระเจ้าจากท่วงทำนองของบทสวด แต่ก็มีแต่เสียงร้อง (หรือที่เรียกว่า Chant เพลงแนวนี้ฟังแล้วหลอนๆ ครับ) และไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ (เพราะถือว่า เครื่องดนตรี เป็นเครื่องมือของพวกซาตาน) นอกเหนือจากเพลงสวดแล้ว ยังมีเพลงพื้นบ้านที่สืบต่อกันมา โดยเน้นความสนุกสนานตามประเพณี...

2. ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) ค.ศ. 1450 - 1600 ในยุคนี้ วิทยาศาสตร์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ความคิดที่ต่อต้านพระเจ้าแต่ถูกต้องในแนววิทยาศาสตร์ได้รับการยอมรับมากขึ้น ซึ่งยุค Renaissance ได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1450 โดยเริีมที่เมือง Florence ที่มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดนอกกรอบมากขึ้น ในส่วนของดนตรีในยุคนี้ก็ยังคงเป็นดนตรีในในโบสถ์ ซึ่งเป็นบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า เช่นเดิม แต่มีเครื่องดนตรีที่บรรเลงทำนองประกอบ เช่น พิณ Lute, Recorder ซึ่งในช่วงยุคนี้ เริ่มมีการเล่นดนตรีเป็นวง โดยใช้เครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน แต่จำนวนที่เล่นนั้นมีไม่มากนัก....

3. ยุค Baroque ค.ศ. 1600 - 1750
ในยุคนี้ ความหรูหรา มีบทบาทมากขึ้น อันเนื่องจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมๆ กับ การแสวงหาอาณานิคม และการติดต่อกับแถบตะวันออกไกล (แถบอินเดีย, จีน และ อุษาคเนย์) ความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความฟุ้งเฟ้อ และความร่ำรวย ก็มากขึ้น การแสวงหาความสำราญ ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดนตรีในยุคนี้ เริ่มต้นด้วยการกำเนิดของ อุปรากร (opera) ในปี 1600 แนวเพลงเริ่มเปลี่ยนเป็นแนวเพลงเพื่อความบันเทิงมากขึ้น แต่ก็ยังอยู่บนพื้นฐานของเพลงสวด และความสำคัญของเพลงก็ยังอยู่ที่เนื้อร้องมากกว่าทำนอง ถึงแม้ว่าในยุคนี้เครื่องดนตรีจะมีจำนวนมากขึ้น และมีชนิดและรูปแบบที่แตกต่างกันไป นักดนตรีส่วนมากได้รับการอุปถัมภ์จากโบสถ์ ราชสำนัก หรือผู้มีอันจะกิน ซึ่งส่งผลให้บทเพลงในยุคนี้มาจากความต้องการของผู้อุปถัมภ์มากกว่าแรงบันดาลใจของนักแต่งเพลง ไม่ว่าจะเป็นเพลงในศาสนพิธี, งานเฉลิมฉลองหรืองานโชว์ต่างๆ ในส่วนงานบรรเลงดนตรีต่อสาธรณชนที่เป็นชาวบ้านธรรมดาๆ นั้น ยังไม่มี แต่มีโรงอุปรากรเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมือง Venice ในปี 1637 (คาดว่าประมาณโรงหนังในยุคปัจจุบัน แต่ค่าบริการน่าจะแพงมหาโหด จึงไม่เป็นที่นิยมเท่าใด) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น Antonio Vivaldi, Johann Sebastian Bach, George Frederick Handel

4. ยุค Classic ค.ศ. 1750 - 1820
ในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายอย่าง เช่นการประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1776 การปฏิวัติฝรั่งเศสในการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในปี 1789 (แต่การปฏิวัติในทางศาสนาได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น การเกิดขึ้นของคริสตศาสนานิกาย Protestant โดยการนำของ Martin Luther ในปี 1530, นิกาย Church of England ในปี 1534) ซึ่งการปฏิวัติในส่วนของอาณาจักรนี้ ส่งผลให้นักดนตรีที่ได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักและบรรดาขุนนางต่างๆ ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีผู้สนับสนุน หรือให้ความสนับสนุนในส่วนนี้น้อยลง บรรดานักดนตรีเริ่มหาเลี้ยงชีพในเชิงธุรกิจมากขึ้น จากที่มีการเล่นดนตรีตามพระราชวัง คฤหาสน์ ต่างๆ ก็มีการเล่นในโรงมหรสพมากขึ้น จากเพลงที่เล่นให้กับบรรดาเจ้านาย ก็เปลี่ยนเป็นเพลงสำหรับชาวบ้านมากขึ้น แนวเพลงในยุคนี้เปลี่ยนจากเพลงแต่งตามใจเจ้านาย เป็นแนวเพลงสำหรับชาวบ้านมากขึ้น และเปลี่ยนแนวเพลงจากบทสวดในโบถส์ เป็นแนวเพลงเพื่อความบันเทิงมากขึ้นด้วย บทเพลงที่เขียนขึ้นในยุคนี้เน้นที่ความมีแบบแผน มีรูปแบบที่ชัดเจนและถูกต้อง มากกว่าที่จะแสดงความรู้สึกของศิลปิน อย่างไรก็ตามนักแต่งเพลงในยุคนี้มีความพยายามที่จะสร้างความสมบูรณ์แบบ บนความงานที่บริสุทธิ์ มีเหตุผลและมีโครงสร้างของเพลงที่ชัดเจน และแบบแผนการเขียนบทเพลงในรูปแบบต่างๆ เช่น Sonata, Concerto, Symphony หรือ Chamber Music มีความชัดเจนมากขึ้น ศูนย์กลางที่สำคัญของดนตรียุคนี้อยู่ที่ กรุงเวียนนา และเมือง Manheim โดยนักดนตรีที่สำคัญในยุคนี้ เช่น Franz Joseph Haydn, Wolfgang Amadeus Mozart

5. ยุค Romantic ค.ศ. 1820 - 1900
ในยุคนี้อิทธิพลทางการเมืองได้ต่อจากยุคที่แล้ว การแสวงหาความเป็นประชาธิปไตยและอาณานิคมมีมากขึ้น สิทธิเสรีภาพกระจายถึงบุคคลทุกคน ชนชั้นกลางในยุโรปมีส่วนร่วมทางเสรีภาพและภราดรภาพ นักคิด นักเขียน จิตรกร นักปรัชญา และนักดนตรีมีการแสดงความคิดและแรงบันดาลใจในผลงานอย่างเต็มที่ โดยไม่คำนึงถึงกฏเกณฑ์ต่างๆที่ได้วางไว้ อีกทั้งพัฒนาการของเครื่องดนตรี มีเพิ่มมากขึ้น ทำให้นักดนตรีสามารถสร้างสรรจินตนาการของตนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นในบทเพลงที่มีการเปลี่ยนอารมณ์ ความดังเบา หรือการเปลี่ยนจังหวะอย่างรวดเร็ว มีการใช้วงดนตรีที่มีขนาดใหญ่กว่ายุคที่ผ่านๆ มา ทำให้จำเป็นต้องมีผู้นำวงที่ชัดเจน จึงต้องมี วาทยกร (Conductor) ขึ้นสำหรับวงดนตรี (นอกจากเรื่องดนตรีแล้วในเรื่องศิลปะในยุคนี้ มีแนวการวาดที่สร้างสรรแรงบันดาลใจจากจิตรกร ในภาพที่เป็นแนว Impresion, Surrealism, Abstract) ในยุคนี้มีนักดนตรีที่มีชื่อเสียงมากมาย โดยเริ่มจาก Ludwig van Beethoven, Franz Schubert, Nicolo Paganini, Carl Maria von Weber, Hector Berlioz, Robert Schumann, Franz Liszt, Felix Mendelssohn, Peter Ilych Tchaikovsky, Richard Wagner เป็นต้น แต่อน่างไรก็ตามในยุคนี้ มีดนตรีอีกแนวเกิดขึ้นควบคุ๋กันไป คือแนวดนตรีชาตินิยม (Nationalism) แนวเพลงเป็นเพลงที่แสดงออกถึงความรักชาติและภูมิใจในประเทศของตน โดยมีการนำเพลงพื้นบ้าน สำเนียงดนตรีของชนเผ่าพื้นเมืองเข้ามาผสมผสาน โดยเพลงแนวนี้จะแต่งโดยนักแต่งเพลงแถบรัสเซียและยุโรปตะวันออก เช่น Alexandr Borodin, Mili Balakirev, Modest Petrovich Mussorgsky, Nokolai Andrevich Rimsky-Korsakov ซึ่งนักแต่งเพลงกลุ่มนี้ถือเป็นผู้จุดประกายในแนวดนตรีชาตินิยม และแพร่หลายไปยังกลุ่มอื่น เช่น Bedrich Smetana, Antonin Dvorak, Jean Sibelius, Edvard Grieg, Leos Janacek, Cesar Franck เป็นต้น

6. ยุคศตวรรษที่ 20
ในยุคนี้ มีแยวดนตรีที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Pop, Rock, Soul, Blue, Jazz, R&B, Rap, Hop-Hip แต่ในส่วนนี้จะขอกล่าวถึงดนตรีคลาสสิกนะครับ โดยแนวดนตรีคลาสสิกของยุคนนี้ ยังคงได้รับอิทธิพลมาจากแนวเพลงชาตินิยม (ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20) แต่โดยทั่วไป นักดนตรีหลายๆ คน แสวงหาหนทางที่จะหลุดพ้นทางแบบอย่างและธรรมเนียมในสมัยเก่า คือหลุกจากการร้องประสานเสียง รูปแบบทำนอง ซึ่งส่งผลให้แนวดนตรีมีรูปแบบที่ต่างกับดนตรีในยุคก่นอย่างมาก เช่น การกำหนดจังหวะให้เพลงมีหลายจังหวะผสมกัน การใช้คู่เสียงแปลกๆที่ฟังแล้ว ขัดๆ อารมณ์ผู้ฟัง การแต่งเพลงที่ไม่มีการลื่นไหลของโน้ตดนตรี การใช้การประสานเสียงจากทำนองที่เกิดจากบันไดเสียงที่แตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งแนวทางดังกล่าว ก่อให้เกิดรูปแบบดนตรีที่เรียกว่า Atonal Music คือดนตรีที่ไม่มีโน้ตสำคัญ ไม่มีโน้ตตัวใดที่มีอิทธิพลเหนือตัวอื่น ซึ่งคิดขึ้นโดย Arnold Schonberg และต่อมาได้พัฒนาเป็น Twelve note method ซึ่งเป็นแนวคิดทางดนตรีอันยิ่งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (แนวเพลงในยุคที่ผ่านๆ มา จะสังเกตได้ว่า จะเป็นเพลงและต่อด้วยชื่อบันไดเสียง เช่น Piano Concerto in E Major, Canon in D Major แต่ถ้าเป็น Atonal Music จะไม่มี) แต่ก็มีนักแต่งเพลงบางท่านที่ หวนกลับไปหารูปแบบของยุคคลาสสิก แต่ก็มีการปรับปรุงเครื่องมือหรือการประสานเสียงใหม่ นักแต่งเพลงกลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่ม Neoclassic เช่น Igor Stravinsky, Sergei Prokofiev เป็นต้น และยังมีกลุ่มที่เขียนเพลงในแนวทางตามยุค Romantic เช่น Gabriel Urbail Faure, Dmitri Shostakovich เป็นต้น และพวกที่แต่งเพลงตามสมัยนิยม ในแนวเพลง Pop, Rock, ฯลฯ

โดยสรุปแล้วเพลงคลาสสิกที่เป็นที่นิยมกันมากๆ ก็จะมาจากยุค Romantic (ถ้าไม่นับผลงานของ Mozart) ทีให้อารมณ์ทางดนตรีได้มากพอสมควร และเพลงเกิดจากแรงบันดาลใจของศิลปินอย่างแท้จริง ทำให้เพลงมีความหมายและคงามงดงานในสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้กับผู้ฟังครับ...

ในส่วนการแบ่งยุคก็อาจจะแตกต่างกันตามมุมมองและแนวคิดของแต่ละท่าน โดยผมอ้างอิงการแบ่งยุค จากหนังสือ ดนตรีแห่งชีวิต โดย คุณสุรพงษ์ บุนนาค ครับ
ขอบคุณครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 9

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 00:59:42
125
อีกแหล่งของเพลงคลาสสิคก็คือ youtube ครับ ลองเข้าไปฟังดู เพลงคลาสสิคส่วนมากจะอัดไม่ดีนัก เพราะเป็นการอัดยาวรวดเดียวเลย ไม่มีการอัดหลาย ๆ ทีแล้วมาเลือกท่อนดีที่สุดของแต่ละการอัดมาต่อกันอย่างเพลงทั่วไปครับ อนึ่งบางเพลงก็อายุมากมายแก่กว่าผมอีก สมัยนั้นอัดให้ฟังเป็นเพลงได้ก็เก่งแล้วครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 10

Collagen

22/09/2010 01:11:26
4
อารมณ์ค้างๆ นอนไม่หลับครับ.... ต่ออีกหน่อยนะครับ....ในส่วนของรูปแบบของดนตรีคลาสสิคในแต่ละยุคครับ...
---------

1. สมัยกลาง (Medieval Age)
1.1 ยุคกลางตอนต้น (ค.ศ. 400 - 800)
ลักษณะของเพลงเป็นดังนี้ครับ
- เริ่มแรกเป็นเพลงทางศาสนา (Church Music) เนื่องจากในช่วงนี้อาณาจักรโรมันล่มสลายและศาสนาคริสต์มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในทวีปยุโรป โดยแนวดนตรีเป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีกรีก และโรมันเข้าด้วยกัน
- ไม่มีเครื่องดนตรีหลักในการบรรเลง และเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องแนวเดี่ยว (Monophonic Music) อย่างไรก็ดีเพลงในช่วงนี้ก็มีการพัฒนาและปรับปรุงมาเป็นลำดับ เนื่องด้วยอิทธิพลทางศาสนา และเรียกเพลงร้องที่ใช้ในกิจการศาสนานี้ว่า Plain Song หรือ Plain Chant
- เพลงในยุคนี้ มีการวางรากฐานโดยพระสันตปาปาเกรกอรี่ที่ 1 (Gregory I, A.D. 504 - 604 ?) ได้กำหนดรูปแบบการแต่งทำนองของเพลงสวดอย่างเป็นแบบแผนและรวบรวมและบันทึกเพลง Plain Chant หรือ Plain Song ให้เป็นหมวดหมู่ (เช่น เพลงใช้ในวาระต่างๆ เพลงสวดศพ เพลงในงานแต่งงาน) ซึ่งต่อมาเรียกเพลงประเภทนี้ว่า Gregorian Chant

1.2 ยุคโพลีโฟนิคตอนต้น (Early Polyphonic, A.D. 800-1100)
- การพัฒนารูปแบบของดนตรียังคงเป็นไปตามอิทธิพลงของศาสนาคริสต์
- เริ่มมีการใช้โน้ตเพลง ซึ่งพระชาวอิตาเลียน ชื่อว่า Guido d'Arezzo (A.D. 990 - 1050) เป็นผู้คิดค้นขึ้น แต่เดินโน้ตเพลงมีเพียง 4 บรรทัด และนอกจากนี้ท่านยังกำหนดวิธีการอ่านโน้ตโดยฉับพลัน (Sight Reading) หรือที่เรียกว่า Neumatic Notation (ดังนั้นศัพท์ในทางดนตรีโดยมากจะเป็นภาษาละตินและภาษาอิตาเลียน)
- ลักษณะของเพลงในช่วงต้นของยุคนี้ยังคงเป็นเพลงร้องแนวเดียว (Monophonic)
- ต่อมาเริ่มมีการใช้ Polyphony Style ในการขับร้องเพลงศาสนา (เริ่มมีโน้ตเพลง) ซึ่งเพลงเหล่านี้เรียกว่า Organum เช่น Parallel Organum (เพลงในแนวนี้ร้องกันเป็นคู่ๆ 4 - 5 คู่ ร้องขนานกันไปกับทำนองหลัก) Free Organum เป็นต้น
- มีเพลงทีขับร้องนอกโบสถ์ (ที่ไม่ได้ใช้ในกิจการของทางศาสนา) เกิดขึ้นเรียกว่า Secular Song หรือ Secular Music

1.3 ยุคศิลปะโบราณ (A.D. 1100-1300)
ในยุคนี้การพัฒนาในส่วนของดนตรีไม่ค่อยมีการพัฒนาไปจากยุคก่อนมากนัก การขับร้อง การบรรเลงเพลงยังคงเป็นแบบเดียวกับยุคก่อนหน้า แต่ Polyphony Style ได้รับการพัฒนามากขึ้นและเห็นได้อย่างชัดเจนในบทเพลง Organum และ Motet

1.4 ยุคศิลปะใหม่ (A.D. 1300 - 1400)
- ในยุคนี้ ระบบศักดินาสวมิภักดิ์ (Feudalism) เริ่มเสื่อมลง
- อำนาจของอาณาจักรมีมากขึ้น ในขณะที่อำนาจของศาสนจักร (โดยสันตปาปาที่กรุงโรม) เริ่มลดน้อยลง รวมทั้งวิทยาศาสตร์ (Science) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น (ศาสนาไม่ใช่คำตอบของทั้งหมด)
- ในปี ค.ศ. 1348 - 1350 เกิดกาฬโรคระบาดในทวีปยุโรป
- เริ่มมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศสและอิตาลี ซึ่งส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเป้นอย่างมาก และแนวเพลง Motet เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก
- เกิดเพลงศาสนารูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Mass ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ Plainsong Mass, Castus Firmus Mass และ Freely Composed Mass

2. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือ Renaissance (หรือแปลว่า Rebirth ในภาษาอังกฤษ) คือช่วงเวลาประมาณ ค.ศ. 1400 - 1600
ในช่วงนี้มีเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น
- ปี 1453 กรุง Constantinople (หรือ Istanbul ตุรกี ในปัจจุบัน) ได้ถูกพวก Turk ยึดครอง ถือเป็นจุดสิ้นสุดของอาณาจักรโรมันตะวันออก (มีการเปลี่ยนถ่ายศาสนาจากคริสต์ไปเป็นอิสลาม)
- ปี 1492 Christopher Columbus เดินเรือไปถึงทวีป America

การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ได้เริ่มจากหัวเมืองทางภาคเหนือของอิตาลี โดยเฉพาะเมือง Florence (หรือ Firenze), Venice (หรือ Venecia), Pisa, Genoa, Tuscany (หรือ Toscana) และแคว้น Lombardy และได้ขยายต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส, เยอรมัน, เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
เข้าเรื่องของเพลงหละครับ
- การปฏิรูปทางด้านดนตรีนั้น เริ่มจากทางภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์
- รูปแบบของเพลงโดยมากจะนำเพลงในยุคกลางมาปรับปรุง มากกว่าที่จะทำเพลงสมัยกรีกและโรมันมาเรียบเรียงขึ้นใหม่
- แนวดนตรีเป็นแนวของ Polyphony Style
- มีสำนักคีตกวีด้านดนตรีเกิดขึ้นหลายแห่ง และที่มีชื่อเสียงเช่น Burgundian (ดังเช่นเดียวกับไวน์) ซึ่งแนวเพลงจะมีลักษณะรูปแบบการแต่ง 3 - 4 แนวพร้อมกัน และใช้คอร์ด (Chord) ประสานกัน ซึ่งในแนวเสียงที่พลิ้วไหว และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่แต่งโดยใช้คู่ 4 หรือคู่ 5
- หลังจากสำนักคีตกวี Burgundian เริ่มหมดความนิยม สำนักคีตกวี Felmish ได้มีชื่อเสียงขึ้นมาแทน โดยพัฒนาเพลงร้องโดยให้มีการขับร้องทุกแนวมีความสำคัญเท่ากันและมีการนำเทคนิค Counterpoint (แต่ละแนวของเพลงผลัดกันทำหน้าที่เป็นทำนองหลักของเพลง) มาใช้
- เพลงบรรเลงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นและในบางโอกาส เพลงบรรเลงมีความสำคัญมากกว่าเพลงขับร้อง
- มีการให้ความสำคัญกับเพลงในด้านการพักผ่อนมากขึ้น โดยเฉพาะ มีเพลงประเภท Madrigral และ Chanson เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเพลงขับร้องเพื่อความรื่นรมย์
- ในขณะที่เพลงขับร้องในด้านการศาสนาก็มีการพัฒนาไปเช่นเดียวกัน โดยเพลงในแนว Mass และ Motet ยังคงเป็นเพลงขับร้องทางศาสนาที่สำคัญ
- เครื่องดนตรีประเภท Keyboard โดยเฉพาะ Organ มีบทบาทมากขึ้น ซึ่งเพลงประเภท Fantasy, Toccata และ Ricercar เป็นเพลงที่มีความสำคัญและบรรเลงโดยใช้ Organ
- ในขณะที่เครื่องดนตรีประเภท แตร (Horn) ก็มีเพลงประเภท Fanfare ในการบรรเลง ซึ่งใช้ในการบรรเลงในกิจกรรมของทหารและพิธีในราชสำนัก


ในส่วนของเครื่องดนตรี ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มีดังต่อไปนี้
- กลุ่มเครื่องสาย เช่น ซอ Viole ในขนาดต่าง (ซึ่งซอประเภทนี้ตค่อมาได้พัฒนาเป็น Viola, Violin, Cello, ฯลฯ), ซอ Rebec, พิณ Lute, Clavichord, Harpsichord
- กลุ่มเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย Recorder (ยังคงได้รับการพัฒนาต่อ), ปี่ Shawm, ปี่ Cornet, Trumpet, Trombone
- และกลุ่มเครื่อง Keyboard ที่ยังเป็นที่นิยมยังคงเป็น Organ ซึ่งมีการพัฒนาต่อจากช่วงยุคกลาง

คีตกวีในยุคนี้ ที่มีชื่อเสียง เช่น
- Giovanni Pierluigi da Palestrina (A.D. 1525 - 1594) เป็นชาวอิตาเลียน (ดูชื่อก็รู้) ซึ่งชื่อ Palestrina มาจากชื่อเมืองเล็กๆ ใกล้ๆ กรุงโรม ท่านนี้ได้ทำงานเป็นนักร้องประสานเสียงในโบสถ์ มาตั้งแต่เด็ก (ทำอยู่งานเดียว) และเมื่ออายุมากขึ้น (แก่) ได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้ากลุ่มนักร้องที่โบสถ์ St. Peter (หรือ San Petro) ในกรุงโรม อิตาลี (ปัจจุบันอยู่ในนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระสันตปาปา)

3. ยุคบาโรค (Baroque) ประมาณช่วงปี ค.ศ. 1600 - 1750
ช่วงนี้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ คือ
- โลกเข้าสู่ยุคแสวงหาอาณานิคม ความเชื่อเรื่องโลกแบนได้ถูกลบล้าง ประเทศที่เป็นผู้นำในการแสวงหาอาณานิคมเช่น โปรตุเกส (เริ่มจาก Vasgoda Gama ล่องเรือผ่านแหลง Good Hope ที่แอฟริกาใต้ และไปถึงทวีปเอเชียเป็นผลสำเร็จ) สเปน (ประเทศนี้ไปหาอาณานิคมทางฝั่งอเมริกา หลังจาก Columbus ค้นพบทวีปอเมริกา) และ เนเธอร์แลนด์ (มาทางด้าน เอเชียเช่นกัน แต่ล่องมาทางตะวันออกไกล และอุษาคเนย์)
- ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ในขณะที่ความเชื่อทางด้านศาสนายังคงมีอิทธิพลอยู่
- Galileo, Kepler และ Copernicus เปลี่ยนแนวความเชื่อทางศาสนาที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็น พระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบจักรวาล (ซึ่งภายหลังทั้ง 3 ท่านก็โดนขึ้นศาลศาสนา)
- Isaac Newton ค้นพบทฤษฎีด้านกลศาสตร์ (Mechanics) แรงโน้มถ่วงและแคลคูลัส (Calculus) (แต่จริงๆ ผมและหลายๆ ท่านต้องมาปวดหัวเพราะทฤษฎีของตานี่แหละ)

เข้าเรื่องของดนตรีคลาสสิคดีกว่า....
- คำว่า Baroque ถูกนำมาใช้โดย Jakob Burckhandt โดยตานี้ใช้เรียกสถาปัตยกรรม และจิตรกรรม ซึ่งมีความหมายว่า ศิลปะที่เต็มไปด้วยการตกแต่งรายละเอียดให้มีความลึกซึ้งและให้ความรู้สึกที่อ่อนไหว ซึ่งรวมถึงศิลปะของดนตรีด้วย
- ผลงานดนตรีในยุคบาโรคที่ฟังแล้วให้กลิ่นอายของศิลปะแบบบาโรค จะเด่นชัดในเพลงของ Handel และ Bach
- ในยุคบาโรคตอนต้นดนตรีที่เป็นที่นิยม คือนแนวคีตกวี แนว Monody Style (เพลงร้องทำนองเดี่ยวและมีดนตรีเสียงต่ำคลอประกอบ) ในส่วนของ Polyphony Style ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ยังคงได้รับความนิยมอยู่ตลอดทั้งยุคนี้ ซึ่งปรากฏในบทเพลงประเภท Fugue และ Toccata (อย่างเช่นเพลง Fugue & Toccata ของ Bach)
- แนวดนตรีเริ่มมีการใช้แนวดนตรีที่ดีความนัดกัน (Contrasting) ในส่วนของความช้า-เร็ว, ดัง-เบา ในการบรระลงเพลงเดี่ยว หรือบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งรวมอยู่ในเพลงเดียวกัน โดยเพลงเหล่านี้พบในเพลงประเภท Concerto Grosso, Sinfonia และ Cantata
- เพลงในยุคนี้เริ่มมีความยืดหยุนมากขึ้น ผู้บรรเลงเพลงสามารถใช้ทักษะในการเปลี่ยนแปลงบทเพลง บางส่วน โดยยังคงทำนองหลักของผู้แต่งเพลงไว้ โดยการดัดแปลงนี้เรียกว่า Ornamentation หรือการประดิษฐ์เม็ดพรายตกแต่งทำนอง (แปลไทยแล้วแปลกๆ ดีแฮะ) รวมทั้งดนตรีสามารถบรรเลงเดี่ยวแบบสดๆ ได้ (หรือที่เรียกว่า Improvization)
- ในส่วนของเพลงบรรเลงยังคงได้รับความนิยมเช่นเดียวกับเพลงร้อง
- ในปี ค.ศ. 1637 ได้เกิดดนตรี (และละคร) แนวใหม่ขึ้นที่อิตาลี เรียกว่า Opera หรือ อุปรากร
- เพลงโหมโรง (หรือ Overture) ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้เช่นกัน โดยในช่วงแรกๆ ได้เป็นเพลงบทนำเข้าสู่การแสดงอุปรากร ซึ่งบรรเลงด้วยวง Orchestra ประจำโรงละคร (ตัวอย่างที่หาง่ายๆ ก็ ภาพยนตร์เรื่อง The Phantom of The Opera ครับ เป็นตัวอย่างถึงระบบโรงละครอุปรากรได้ดีเลยครับ) โดยต่อมาเพลงโหมโรง (หรือ Overture) ได้นำมาใช้กับการแสดง Ballet เช่น Swan Lake หรือ 1812 (ผลงานเด่นๆ ของ Tchaikovsky) และได้นำมาใช้กับการแสดงคอนเสิร์ต
- การประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมแต่งเพลงในแนว Contrapunal Style ซึ่งหมายถึง การสลับทำนองจากสูงไปต่ำและต่ำไปสูง ซึ่งมีจดเริ่มมาจากยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (แต่ยังไม่เป็นที่นิยม)
- เริ่มมีการใช้ Major Scale ในแนวเพลงสดใส และ Minor Scale ในแนวเพลงเศร้า ซึ่งในยุคก่อนใช้คำว่า Mode
- เริ่มมีการกำหนดอัตราความเร็วของจังไวะไว้แน่นอน เช่น Allegro (เร็ว), Moderato (ค่อนเข้างเร็ว), Andante (ความเร็วปกติ) และ Largo (ช้า) แต่ในปัจจุบันยังมีอีกหลายคำครับ เช่น Allergetto ซึ่งทางผมจะพยายามหามาเสริมให้ครับ
- เริ่มมีการประพันธ์เพลงลูกผสมระหว่าง Polyphony Style และ Modody Style คือเพลงบรรเลงและมีเสียงต่ำคลอประกอบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรียกเพลงลูกผสมนี้ว่า Basso Continuo โดยเครื่องดนตรีที่เป็นพระเอกของเพลงแนวนี้คือ Harpsichord (ได้รับความนิยมอย่างสูงและเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีชนิดนี้)
- Johann Sebastian Bach ได้กำหนดมาตรฐานความห่างของเสียง และได้ประพันธ์ The well-tempered Clavier ประกอบด้วยชุดเพลง Prelude 24 บท และ Fugues 24 บท โดยเพลงที่แต่งขึ้นมีครบทุกบันไดเสียง...

ในส่วนของเครื่องดนตรีในยุคนี้นะครับ
- เกิดเครื่องดนตรีที่สำคัญคือ เครื่องสีตระกูล Violin (Violin Family) ซึ่งพัฒนามาจากซอ Rebec และ ซอ Vielle
- โดยเครื่องดนตรีในตระกูล Violin ที่เป็นที่นิยมได้แก่ Violin Viola Cello และ Double Bass
- เครื่องดนตรีในตระกูล Violin นี้ ที่ถือว่าเป็นสุดยอดของโลกก็ประดิษฐ์ในยุคนี้เช่นกัน ซึ่งมีอยู่ 3 เจ้า คือ
1. Stradivarius (หลายๆ ท่านก็ได้ยินชื่อนี้ แต่ผมก็ยังไม่เคยได้ยินเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรียี่ห้อนี้เลย)
2. Guarnerius (เจ้านี้ เจ้าของเป็นญาติกับเจ้าแรก คาดว่าให้อารมณ์ประมาณ Grado กับ Alessando ครับ ซึ่งทั้ง 2 เจ้าอยู่ที่อิตาลีครับ)
และ 3. Stainer เจ้านี้เป็นของเยอรมัน (หรือไม่ก็ออสเตรีย) ไม่แน่ใจครับ และเจ้านี้ก็ไม่เป็นที่ติดตลาดเท่า 2 เจ้าบนครับ แต่ยี่ห้อมั่นคงก็ติดตลาดครองใจไปนานแล้วครับ ^ ^
- เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Instrument) ได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะ Oboe, Bassoon และ Flute (ต่อมากลายเป็นเครื่องลมทองเหลือง หรือ Brasswind Instrument)
- สุดยอดเครื่องดนตรีอีกชินดก็ได้ประดิษฐ์ในยุคนี้เช่นกันครับ โดยชาวอิตาลีที่ชื่อว่า Bartolomeo Cristofori ได้ประดิษฐ์ Piano-Forte ในช่วงปลายยุคบาโรค ซึ่งเครื่องดนตรีนี้มีชื่อมาจากคำว่า Piano (แปลว่า เบา) และ Forte (แปลว่า ดัง) ซึ่งใช้หลักการ ของเครื่องดนตรีนี้ใช้หลักการเคาะ (หรือตี) สาย มนขณะที่ Harpsichord ในหลักการดีดสาย) ซึ่งเครื่องดนตรีนี้ก็คือ Piano ในปัจจุบันครับ

คีตกวีที่สำคัญๆ ในยุคนี้ ผมคงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณอะไรมากนะครับ ได้แก่
- Johann Sebastian Bach - ผลงานเด่น Toccata & Fugues in D Minor, Brandenburg Concerto, Air in G-String และ The Well-Tempered Clavier
- Johann Pachelbel - ผลงานเด่น Canon in D
- George Frederick Handel - ผลงานเด่น Water Music, Firework Music
- Antonio Vivaldi - ผลงานเด่น Four Seasons
- Arcangelo Corelli - ผลงานเด่น ผลงานชุด Concerti Grossi

ยุคคลาสสิค (Classical) ค.ศ. 1750 - 1820
ในยุคนี้มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ ดังนี้
- เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส โค่นล้มระบอบกษัตริย์ ใน ค.ศ. 1789 ซึ่งการปฏิวัตินี้ถือเป็นแม่แบบของการปฏิวัติรูปแบบการปกครองทั้งในจีนและรัสเซีย
- การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีบทบาทในสังคมมากขึ้น
- โลกเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม


ลักษณะของดนตรีในยุคคลาสสิค
- เพลงบรรเลงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในขณะที่เพลงร้องเข้าสู่ภาวะถดถอย
- เกิดรูปแบบการบรรเลงเพลง Symphony Orchestra ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่ม ได้แก่ เครื่องสาย (เช่น Violin, Viola), เครื่องเคาะจังหวะ (เช่น กลอง, ฉาบ), เครื่องลมไม้ (เช่น Oboe, Bassoon) และเครื่องทองเหลือง (เช่นแตร)
- แนวเพลงที่เป็นที่นิยมคือ Solo Concerto (คือการบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีเดี่ยวประชันกับวง Orchestra) ซึ่งเพลงแบ่งเป็น 3 ท่อน
- การประพันธ์เพลง Concerto หรือ Orchestra มีการนำแบบแผน Sonata-Allergro Form เป็นมาตรฐานในการแต่งเพลง
- รูปแบบดนตรีบริสุทธิ์ (Pure Music หรือ Absolute Music) ได้ถือกำเนิดในยุคนี้ ซึ่งดนตรีบริสุทธิ์มีเจตนารมณ์ในการแสดงเทคนิค การบรรเลงดนตรีที่ไพเราะ การสอดประสานของท่วงทำนอง การรับ-ส่งระหว่างทำนอง การล้อเลียนเสียงจากท่วงทำนองหนึ่งไปยังอีกท่วงทำนอง แนวเสียงเน้นเสียงตามหลักทฤษฎี และมาตรฐานการแต่งเพลง ทั้งนี้เพื่อคุณค่าทางศิลปะแห่งดนตรี หรือที่เรียกว่า ศิลปะเพื่อศิลปะ (Art for Art)
- การบรรเลงเพลงเปลี่ยนไปใช้การบรรเลงแนว Homophony Style ซึ่งก็คือ การบรรเลงดนตรีที่มีการเล่นดนตรีคลอประกอบเป็นช่วงๆ
- ความวิจิตรบรรจง และความพริ้วไหวของดนตรีมีความพริ้วน้อยกว่าดนตรีในยุคบาโรค
- ในยุคนี้นักประพันธ์มีความเป็นเอกเทศมากขึ้น โดยไม่ต้องยึดติดกับต้นสังกัด (เช่น โบสถ์ หรือชนชั้นปกครอง) ดังนั้นนักแต่งเพลงจึงมีความคิดที่เป็นอิสระและสามารถแสดงอารมณ์ของตนเองลงในบทเพลงได้อย่างเต็มที่
- แนวเพลง Basso Continuo และ Improvization (หรือ Improvisation) ไม่ได้รับความนิยมเฉกเช่นในยุคบาโรค
- มีการจัดระเบียบแนวเพลงอุปรากรใหม่ โดย Christoph Willibald Gluck นักแต่งเพลงชาวเยอรมัน ซึ่งจัดรูปแบบของเพลงอุปรากรให้เป็นแบบแผน ต่อมา ท่าน Gluck ผู้นี้ได้รับสมญานามว่าเป็น บิดา (หรือผู้ปฏิวัติ) แห่งอุปรากร


ในส่วนของเครื่องดนตรี
- Piano มีบทบาทมากขึ้น ในขณะที่ Harpsichord แทบจะเก็บเข้ากรุ
- Charl Philip Emmanuelle Bach (Bach อีกแล้ว) เป็นผู้วางรากฐานการกำหนดมาตรฐานของการบรรเลง Piano


คีตกวีในยุคนี้มีหลากหลายมากมาย เช่น
- Wolfgang Amadeus Mozart
- Ludwig van Beethoven
- Franz Joseph Haydn
- Franz Liszt
- Franz Seraph Peter Schubert
- Nicolo Paganini
- Frederic Chopin
และอื่นๆ อีกมากมายครับ

ดังนั้นแล้วจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยครับว่า ทำไมเพลงบรรเลงที่ฟังๆ กันอยู่นี้ ถึงได้เรียกว่าเพลงคลาสสิค...

ปล. อธิบายศัพท์
Cantata - เพลงศาสนา
Concerto - การบรรเลงเครื่องดนตรีเครื่องเดียวประชันกับวง Orchestra เช่น Violin Concerto หรือ Piano Concerto
Concerto Grosso - การบรรเลงเพลงในวง Orchestra โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มเล่นประชันกัน
Sinfonia - หรือที่เรียกว่า Symphony - การบรรเลงเพลงในวง Orchestra ร่วมกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 11

Collagen

22/09/2010 01:27:34
4
แล้วก็ขอปิดท้ายด้วย ศัพท์ในเพลงคลาสสิคนะครับ....
---------
คำเหล่านี้ให้ความกระจ่างได้ดีพอสมควรเลยครับว่าชื่อเพลงในชุดของเพลงคลาสสิคแต่ละเพลงมีความหมายว่าอย่างไรบ้างครับ

Accelerando - เพิ่มความเร็วของเพลงขึ้น (With increasing speed)
Adagio - ช้า (Slowly)
Agigato - รูปแบบการบรรเลงแบบปั่นป่วน (In an agatated manner)
Allergretto - จังหวะเร็วปานกลาง หรือกระฉับกระเฉง (Fairly quickly or briskly)
Allergro - เร็ว, จังหวะสนุกสนาน (Quickly, in a brisk, lively manner)
Amoroso - จังหวะรักโรแมนติค (Lovingly)
Andante - จังหวะช้าปานกลาง (At a moderately slow tempo)
Andantino - จังหวะช้าปานกลางแต่เร็วกว่า Andante เล็กน้อย (Slightly faster than andante)
Animato - รูปแบบร่าเริงสดใส (In a lively manner)
Appassionato - รูปแบบเผ็ดร้อน รุนแรง (Impassioned)
Assai - มาก ((in combination) very)
Calando - ค่อยๆลดโทนเสียงและความเร็ว (With gradually decreasing tone and speed)
Canatbile - ในรูปแบบเสียงร้อง (In a singing style)
Con - ด้วย ((in combination) with)
Con affeto - ด้วยอารมณ์เบาๆ (With tender emotion)
Con amore - รักโรแมนติค (Lovingly)
Con anima - ด้วยอารมรณ์ที่องอาจ สง่างาม (With spirit)
Con brico - เปี่ยมด้วยพลัง (Vigorously)
Con fuoco - ด้วยความรู้สึกแรงกล้า (With fire) -- อาจจะแปลว่าด้วยอารมณ์เร่าร้อนก็ได้นะครับ ^ ^
Con moto - เร็ว (Quickly)
Cresendo - ค่อยๆ เพิ่มความดัง (Gradual increase in loudness)
Diminuendo - ค่อยๆ ลดความดัง (Gradual decrease in loudness)
Dolce - เบาๆ และหวานๆ (Gently and Sweetly)
Doloroso - ในรูปแบบเศร้าโศก
Energico - เปี่ยมด้วยพลัง (Energetically)
Espressivo - ลึกซึ่ง, เปี่ยมด้วยความหมาย (Expressively)
Forte - ดัง (Loud or Loudly)
Fortissimo - ดังมาก (Very loud)
Furioso - รูปแบบจังหวะยุ่งเหยิง (In a frantically rushing manner)
Giocoso - สนุกสนาน (Merry)
Grave - ช้าและน่าขนลุก (Solemn and slow) --> บรรยากาศเหมือนในป่าช้า
Grazioso - นิ่มนวล (Graceful)
Lacrimoso - จังหวะเศร้าและอาลัย (Sad and mournful)
Largo - ช้าและบรรเลงแบบหยาบๆ (Slowly and broadly)
Larghetto - ช้าและบรรเลงแบบหบายๆ แต่น้อยกว่า Largo (Slowly and broadly but less so than largo)
Legato - บรรเลงจังหวะเรียบๆ และต่อเนื่อง (Smoothly and connectedly)
Leggiero - จังหวะเบาๆ (Light)
Lento - ช้า (Slowly)
Maestoso - จังหวะที่เปี่ยมด้วยอำนาจและความองอาจ (Majestically)
Marziale - จังหวะฮึกเหิม (Martial)
Mezzo - กลางๆ ((In combination)Moderately)
Moderato - จังหวะกลางๆ (At a moderate tempo)
Molto - มาก ((In combination) very)
Non troppo หรือ Non tanto - ไม่มาก ((In combination) not too much)
Pianissimo - เงียบมาก (Very quietly)
Piano - จังหวะนุ่มๆ (Softly)
Piu - มากกว่า ((In combination) more)
Pizzicato - การบรรเลงเครื่องสายโดยใช้นิ้วดีดแทนการใช้คันชักในการสี ((In music for stringed instrument) be plucked with the finger)
Poco หรือ Un poco - เล็กๆ น้อยๆ ((In combination) little)
Pomposo - รูปแบบหรูหราเอิกเกริก (In a pompous manner)
Presto - จังหวะเร็วมาก (Very fast)
Prestissimo - จังหวะเร็วกว่า Presto (Faster than presto)
Quasi - เกือบๆ ((In combination) almost, as if)
Rallentando - เปลี่ยนจังหวะให้ช้าลง (Becoming slower)
Rubato - จังหวะยืดหยุ่น (With a flexible tempo)
Scherzando - รูปบแบบรื่นเริง (In jocular style)
Sciolto - ง่ายและอิสระ (Free and easy)
Semplice - ง่ายและไม่บังคับ (Simple and unforced)
Sforzando - บรรเลงช่วงแรกอย่างแรง (With strong initial attack)
Smorazando - (Dying away)
Sospirando - จังหวะโหยหวน ('Sighing', plaintive)
Sostenuto - รูปแบบเรียบๆ (In a smooth and sustained manner)
Sott voce - เงียบมากๆๆ (Extremely quiet)
Staccato - ในหมายเหตุ สั้นๆ และแยกจากกัน ((Of notes) short, clipped and separate)
Stracinando - ยืดขยาย be long (Stretched out)
Strepitoso - ดัง, อึกทึก (Noisy)
Stringendo - เพิ่มความเร็วมากขึ้น (With increasing speed)
Tanto - มากเกินไป ((In combination) too much)
Tardo - ช้า (Slow)
Troppo - มากเกินไป ((In combination) too much)
Vivace - รูปแบบเร็วกระฉับกระเฉง (In a brisk lively manner)
Volante - เร็วและเบา ('flying', fast and light)

ตัวอย่างเช่น...
บทเพลงของ Tchaikovsky Symphony No.6 in B Minor Op.74 "Pathetique" (ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง B Minor ผลงานลำดับที่ 74 "Pathetique")
เพลงที่ 1 Adagio. Allegro non troppo >>> หมายถึง เพลงบรรเลงช้า ในช่วงแรก และบรรเลงเร็วแต่ไม่มากในช่วงหลัง ครับ

ท้ายนี้หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ


แล้วก็ต้องขออภัยมากเลยครับ ที่ Post เสียยืดยาว ในส่วนที่เป็นทฤษฎีของดนตรีคลาสสิค ซึ่งถ้าหากว่า อ่านแล้วรู้สึกว่าเกะกะ รกๆๆ ก็บอกได้เลยนะครับ ผมจะได้แจ้งกับทางเฮียมั่น ให้เอาออกครับ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 12

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 02:04:12
125
ยอดเยี่ยมครับน้องคอลลาเจน ผมเองก็มาแนวลูกทุ่ง ไ่ม่ได้มีระบบแบบแผนอะไร รู้ไว้ก็ดีครับ จะได้คุยกันรู้เรื่อง ส่วนมากเพลงคลาสสิคที่เปิดฟังบ่อย ๆ ผมคิดว่าเป็นยุคโรแมนติกครับ เพราะทั้งโมซาร์ทและบีโธเฟ็นก็เป็นคีตกวีคนแรก ๆ ที่เริ่มยุคนี้ เพลงของท่านทั้งสองนี้จะชินหูพวกเรามาก บางเพลงฮัมได้สบาย ๆ เลย เพียงแต่เราไม่ค่อยรู้เท่านั้นเองว่านี่คือท่อนหนึ่งของเพลงที่แต่งโดยบรรดาบิ๊ก ๆ ในโลกแห่งเพลงคลาสสิคใบนี้ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 13

vichien

22/09/2010 02:11:45
0
โหย....นี่ขนาดมาตอนดึกๆ แฟนคุณหมอยังออกมาต้อนรับกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งขนาดนี้...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 14

Mr.Burst

22/09/2010 02:16:57
3
ฟังแต่ฝรั่ง...แล้วอย่าลืม คีตกวีชายไทย อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ด้วยนะครับ



http://www.13yui.management202rmutl52.net/page9.html
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 15

มนัส

22/09/2010 02:44:08



ขออนุญาติแจมครับ ชุดนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนต์ใช้วงใหญ่เล่นครับฟังเพลินดี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 16

มนัส

22/09/2010 02:48:43



ชุดนี้มีเป็น CD ครับกีต้าร์ไฟฟ้าปะทะวงออร์เครสตร้าสร้างสรรค์ได้ดี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 17

maxmaster001

22/09/2010 03:08:18
0
yngwie นี่เทพมากเลยครับ ขวัญใจมือกีต้าร์สายนีโอคลาสสิคเขาแหละ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 18

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 10:24:44
125
อิงวี่นี่เคยอ่านเลา ๆ ว่า เขาลำลือกันว่าแกมีปีศาจ(ถ้าเป็นแบบไทย ๆ คงเป็นกุมารทอง)สิงอยู่ทำให้สามารถเล่นกีต้าร์ได้เหมือนไม่ใช่คนเล่นครับ แต่คุณต่อพงศ์ไปถามเจ้าตัวดูตอนเจอกันที่ต่างประเทศแล้ว แกหัวเราะชอบใจบอกว่าไม่ใช่ผีปีศาจอะไรหรอกครับ อยู่ที่การฝึกซ้อมถึงวันละสิบชั่วโมงต่างหาก.......
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 19

กุ๊ดจี่

22/09/2010 11:00:45
กระทู้ดี ๆ มีมาให้อ่านอีกแล้ว ^^


เป็นอีกคนนึงครับที่ชอบฟังเพลงคลาสสิค แต่ก็ไม่ค่อยมีความรู้อะไรเท่าไหร่ แหะ ๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 20

สมัครเล่น

22/09/2010 11:03:58
0
ฟังคลาสสิค อย่าคิดมากครับ
เดี๋ยวจะฉี่เหลือง
เพลงไหนฟังเพราะ ก็เริ่มต้นฟังจากเพลงนั้น
ส่วนเรื่องรายละเอียดอื่น ๆ ค่อยตามมาทีหลัง

จริง ๆ แล้วเพลงคลาสสิค มันแทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน
ของหลาย ๆ คน เพียงแต่ไม่ได้สังเกต/รับรู้กันเท่านั้นเอง



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 21

petrasong

22/09/2010 11:33:07
กระทู้นี้น่าติดตามค่ะ save เป็น Bookmark ไว้แล้วค่ะ
ขอบคุณ คุณหมอทัตเทพ และผู้รู้ทุกๆท่านนะคะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 22

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 12:22:30
125
สาเหตุหนึ่งที่ผมมาตั้งกระทู้นี้ก็เนื่องจากมีคนคิดว่าผมเป็น "กูรู" ทางด้านเพลงคลาสสิค เลยโพสต์เข้ามาคุยในกระทู้"คุณหมอครับ" ผมก็บอกท่านไปว่าผมหาได้เป็นกูรูไม่ อย่างมากก็เป็นแต่เพียง"กูพอจะรู้" เท่านั้น เพราะจริง ๆ ผมฟังเพลงคลาสสิคน้อยมาก แต่อ่านหนังสือเอามากกว่า ซึ่งที่จริงก็อ่านอยู่เพียงเล่มสองเล่มเท่านั้นครับ ดังนั้นกรุณาอย่าคิดว่าผมเป็นกูรูเลยนะครับ....ขอร้องงงง...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 23

Mr.Burst

22/09/2010 13:25:27
3





exellence!!
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 24

Noize

22/09/2010 13:32:40
2
แบบนี้เก๊าะคล้ายกับผมเลยครับพี่หมอ

ผมเป็นพวก บางเรื่องกูรู แต่บางเรื่องกูไมรู(เว๊ยยย) 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 25

aor

22/09/2010 19:29:29
8
แต่เรื่องคลาสสิคผมไม่รู้จริงๆเลยครับป๋าน้อยเลยต้องเข้ามาหาความรู้หน่อยครับ ถ้าเป็นแบบของคุณมนัสนะพอจะรู้จักบ้างครับ อิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 26

Purple Haze

22/09/2010 19:45:17
Mozart:
A little night music หรือ Eine Kleine Natchmusik
Symphony No.25 ท่อน Allegro เพลงเปิดตัวหนังเรื่อง Amadeus
Overture จากหลาย ๆ อุปรากรก็ฟังสนุก อย่าง Marriage of Figaro และ Don Giovanni
Pachelbel:
Canon in D มีหลายเวอร์ชัน
แนะนำ เพลงประกอบหนัง My Sassy Girl ที่เดี่ยวเปียโนโดย George Winston
และเวอร์ชันที่ Conduct โดย Herbert Von Karajan
Beethoven:
Symphony No.9 กระบวนที่ 4 สุดยอดของบทเพลงทั้งปวง ไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่ไปกว่านี้แล้ว 555 ขอเว่อร์หน่อย แม้ผมจะชอบงานของ Mozart มากกว่าก็ตามที
Symphony No.5

สนับสนุนคุณ "สมัครเล่น" ครับ
เพลงคลาสสิคฟังแล้วอย่าคิดมาก ไม่ต้องไปขวนขวายดิ้นรนจนเกินตัวครับ

"ดนตรี...เป็นสิ่งสวยงาม"
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 27

Collagen

22/09/2010 21:39:22
4
ผมขออนุญาตเสริมเกี่ยวกับ Symphony No.9 (Choral) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Ode to joy (หรือ An die Freude) ของ Beethoven หลังจากที่คุณ Purple Haze ได้กล่าวไว้นะครับ....
----------

Ode to Joy ผลงานของ Ludwig van Beethoven เป็น Symphony ลำดับที่ 9 ในบันไดเสียง D Minor (ซึ่งเป็นผลงาน Symphony ชิ้นสุดท้ายของ Beethoven) ซึ่งเป้นเพลงที่มีเสียงร้อง (Choral) ประกอบ โดยเสียงร้องเป็น บทกวีในภาษาเยอรมันที่ประพันธ์โดย Friedrich Schiller (ซึ่งเป็น สุดยอดกวีชาวเยอรมันอีกคนหนึ่งนอกจาก Goethe) บทกวีที่ใช้ใน Ode to joy (หรือที่เรียกว่า to joy) ประพันธ์เสร็จในปี 1785 และ Beethoven ได้ประพันธ์ทำนอง ซึ่งแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 1824 และนำออกแสดงครั้งแรกในกรุงเวียนนาในเดือนพฤษภาคม 1824 ท่ามกลางปัญหาของนักร้องที่ไม่สามารถร้องได้ (เนื่องจากโน้ตเสียงสูงเกินไปและมีความซับซ้อนสูง) ซึ่งส่วนหนึ่งของเพลงนี้ (Movement ที่ 4) ในส่วนหนึ่งเป็นท่วงทำนองที่เป็นที่นิยมกันมาก และนำมาใช้ประกอบภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง แต่ที่น่าจะเคยได้ยินมากที่สุด นำมาใช้ประกอบโฆษณาเบียร์ ยี่ห้อ Mittweida (ตอนนี้หายไปแล้ว) เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว..

การแต่ง Symphony ชุดนี้ ทาง Beethoven ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีของ Schiller และ การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 ซึ่งเป็นแนวคิดในเรื่องของ เสรีภาพ อิสรภาพ และ ภราดรภาพ
เพลงนี้มีอยู่ 4 ท่อน (Movement)
1. Allegro am Non Troppo, Un Poco Maestoso - เป็นบทเริ่มต้นของ Symphony ซึ่งได้กล่าวถึง โชค-เคราะห์
2. Molto Vivace - (ช่วงแรกๆ ของเพลงจะเป็นเสียงกลอง ตุ้มๆ ซึ่งผมว่าหลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยินมาก่อนแล้ว) ในส่วนนี้ได้กล่าวถึง การใช้กำลัง และอำนาจ
3. Adagio Molto E Cantabile - ส่วนนี้ให้จังหวะที่อ่อนหวาน นุ่มนวล ซึ่งกล่าวถึง ความรัก
4. Presto - Allegro Assai (ซึ่งเป็น Final Chorus) - ในส่วนนี้ กล่าวถึง รื่นเริงยินดีแห่งความผูกพันของมนุษยชาติ

ท่อนที่แนะนำและเป็นที่นิยมกันมากก็เป็น Movement ที่ 4 เช่นกัน ซึ่งมีแนวดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงท้องทุ่งอันกว้างใหญ่ ของเยอรมัน โดยมีท่วงทำนองที่สื่อให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ และ ท่วงทำนองความสุขของในฐานะมนุษย์ร่วมโลกด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพลงนี้มีความผสมผสานทั้งดนตรีชาวบ้านและวง Orchestra ที่ยิ่งใหญ่ แนวเพลงที่ให้ความยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับ Symphony No.3 (ที่คุณลุงเปี๊ยกได้เกริ่นนำไว้) ดนตรีของเพลงมีทั้งช่วงที่บรรเลงอย่างเดียวกันตอนต้น และค่อยๆ หายไปจนกระทั่งเป็นการร้องเพียงอย่างเดียว และจบด้วยการบรรเลงดนตรีและเสียงร้อง ที่สื่อถึงความสนุกสนาน เอิกเกริก ที่แฝงด้วยความวุ่นวายอยู่นิดๆ โทนเสียงเพลงนี้นับว่าค่อนข้างครบเลยครับ ตั้งแต่เสียงทุ้มจากเครื่องดนตรี ไปจนถึงเสียงสูง (Soprano) ของนักร้องที่ขับร้องบทกวี ซึ่งใช้ทดสอบหูฟังได้ดีอีกเพลงหนึ่งครับ อนึ่งเพลงนี้ความยาวประมาณ 23-24 นาที ซึ่งในช่วงแรก เป็นการบรรเลงเพลงเบาๆ อาจจะยังไม่ค่อยได้ยิน หรือรู้สึกถึงความอลังการ แต่พอฟังไปประมาณ 3-5 นาที ผู้ฟังจะได้รู้สึกถึงความอลังการเลยครับ...

----------

ผมก็ขออภัยด้วยนะครับ ที่กล่าวทางด้านทฤษฎีเสียยืดยาวขนาดนั้น เนื่องจากว่าวิวัฒนาการของดนตรีคลาสสิคครอบคลุมหลายยุค หลายช่วง มาก ซึ่งแต่ละช่วงมีเหตุการณ์สำคัญหลายๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อรูปแบบทางดนตรี เพื่อที่ผู้ฟังจะสามารถเข้าถึงบรรยากาศของยุคสมัยนั้นๆ รวมทั้งอารมณ์เพลงที่นักแต่งเพลงได้ถ่ายทอดลงในตัวโน้ตครับ.....

ผมก็เห็นด้วยกับคุณสมัครเล่นครับ..... ฟังดนตรีสบายๆ ครับ Just sit back, relax and enjoy the music ครับ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 28

นายมั่นคง

22/09/2010 21:57:29
4,294
ด้วยความยินดีครับคุณหมอ เริ่มกระทุ้แจ่มๆ แบบนี้ได้เลยครับ ดีสุดๆๆ เลยล่ะครับ

ผมเองว่าแบนเนอร์ทางขวามือจะเอาไว้ทำแบนเนอร์ที่คนคลิกอ่านกันแบบข้ามปี คนมาใหม่จะได้แจมกันได้ถนัดๆๆๆ

แต่ตอนนี้ปัญหาคือเรื่องเว็บบอร์ดยังไม่ลุล่วงดีครับ ผมไม่ไ้ดนิ่งนอนใจแน่นอนครับ รับรองว่าลุยยิกๆๆ เต็มที่จ้า ช่วงนี้ต้องทำใจรอกันอีกหน่อยล่ะครับ เพราะเห็นเค้าบอกผมว่า ถ้าจะเอาแบบนี้อาจจะต้องรื้อโครงสร้างเว็บกันล่ะ

วันนี้ตอนคุณหมอโทรมา ผมขับรถอยู่พอดีครับ แต่ผมโทรกลับสงสัยคุณหมอติดธุระพอดีล่ะครับ แต่เรื่องนี้ผมติดตามให้แน่ๆๆ เพราะลำบากกันถ้วนหน้าเรื่องแบนเนอร์บังนี่ล่ะครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 29

Collagen

22/09/2010 22:08:51
4
ผมก็ขออนุญาต ขยายความของประเภทของเพลง ในดนตรีคลาสสิค เพิ่มเติมหน่อยๆ นะครับ...
-------

Ballade = บทเพลงที่มีท่วงทำนองไพเราะ อ่อนหวาน โดยมากใช้ Piano บรรเลง

Cantata = บทเพลงที่ประกอบด้วย เสียงร้อง (Vocal), ลูกคู่ (Chorus), การบรรเลงเดี่ยว (Solo) และการเปลี่ยนบทพูดเป็นการร้อง (Recitative)

Chamber Music = บทเพลงที่แต่งขึ้นสำหรับบรรเลงในห้องเล็กๆ มากกว่าโรงมหรสพ ซึ่งประกิบด้วยเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น และมีชื่อเรียกสำหรับสำหรับวงที่บรรเลงเพลงต่างกันตามจำนวนและประเภทเครื่องดนตรีที่ใช้ เช่น String Quartet, Pianoforte Quartet, String Quintet เป็นต้น

Chant = บทเพลงสวดที่ใช้ในโบสถ์ หรือบทเพลงสั้นๆ ที่มีโทนเสียงเดี่ยว (Monophonic) หรือทั้งเพลงมีเสียงโน้ตเพียง 1 ตัว ในการบรรเลง (ใช้โน้ตตัวนั้น เล่นซ้ำไปซ้ำมา)

Choir = บทเพลงร้องประสานเสียงในโบสถ์ หรือ เพลงที่บรรเลงโดยกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเดียวกัน เช่น String Choir คือ กลุ่มเครื่องสายที่ประกอบด้วย Viola, Violin, Cello, Double Bass

Concerto = บทเพลงที่แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีหนึ่งหรือสองชิ้นเพื่อบรรเลงร่วมกับวง Orchestra (บางที่ใช้คำว่า เล่นประชันกัน) หากเครื่องดนตรีที่นำมาเล่นใช้ชิ้นเดียวมักใช้ชื่อเครื่องดนตรีนำหน้าคำว่า Concerto เช่น Piano Concerto, Violin Concerto เพลง Concerto โดยมากจะมี 3 ท่อน (Movement)

Operetta (Light Opera) = จุลอุปรากร หรือ อุปรากรขนดเล็ก หรือ การแสดงอุปรากรที่เป็นแนวตลก สนุกสนาน

Opera = บทละครร้อง ซึ่งมีการบรรเลงดนตรีประกอบการแสดง ซึ่งผู้แสดงจะร้อง โดยมีแนวเสียง 2 ประเภทคือเสียง Tenor หรือเสียงทุ้มต่ำ โดยมากนักแสดงชายจะรับบทในส่วนนี้ และอีกประเภทคือ Soprano หรือเสียงแหลม ซึ่งจะเป็นเสียงของนักแสดงหญิง (บางคนเสียงแหลงจนบาดหูก็มี)

Oratorio = บทเพลงร้องเกี่ยวกับเรื่องราวอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา โดยเป็นการร้องเพียงอย่างเดียว (ไม่มีการแสดงท่าทางและท่วงทำนองประกอบ)

Orchestra = การบรรเลงดนตรีในวงใหญ่ ที่มีเครื่องดนตรีหลายชิ้น และหลายประเภท โดยประเภทเครื่องดนตรีประกอบด้วย เครื่องสาย (String) เครื่องเป่าไม้ (Woodwind) เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass wind) เครื่องเคาะจังหวะ (Percussion เช่น กลอง ฉาบ Triangle) และมี Contuctor ควบคุมวง

Requiem = บทเพลงที่ใช้บรรเลงในพิธีศพในคริสตศาสนานิกาย Roman Catholic

Sonata = เพลงที่เล่นโดยใช้เครื่องดนตรี 1 - 4 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย 3 - 4 การเคลื่นไหวของท่วงทำนอง (Movement), จังหวะ/ความเร็ว (Tempo), และอารมณ์ (Mood) ที่แตกต่างกันและเป็นเอกเทศ (Independent) ของการเล่นเพลง เช่น Piano Sonata คือเพลงเดี่ยว Piano (Piano Solo), Violin Sonata คือเพลงที่ Violin เล่นร่วมกับเครื่องดนตีที่มีแป้นกด (เช่น Piano, Organ)

Suite = ชุดของบทเพลงเต้นรำที่เขียนในบันใดเสียงเดียวกัน และนำมาบรรเลงต่อกัน ในช่วงแรกแต่เพื่อใช้ในงานเต้นรำเพียงอย่างเดียว แต่ในช่วงหลังแต่งเพื่อการอย่างอื่น จึงทำให้จังหวะเปลี่ยนแปลงไป

Symphony = บทเพลงที่แต่งเพื่อให้บรรเลงโดยวง Orchestra โดยมากจะมี 4 ท่อน (Movement) ซึ่ง 2 คำนี้มักจะอยู่ด้วยกัน Symphony Orchestra

Waltz = เพลงเต้นรำแบบบอลรูม (ห้องใหญ่ๆ) ซึ่งพัฒนามาจากเพลงเต้นรำของเยอรมนีและออสเตรีย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในศตวรรษที่ 19

-------------------------
เสริมจาก Chamber Music
String Quartet = วงเครื่องสายที่ประกอบด้วยเครื่องสาย 4 ชิ้น ได้แก่ Violin 2 ตัว Viola 1 ตัว และ Cello 1 ตัว

Pianoforte Quartet = วงดนตรที่ประกอบด้วย Piano 1 หลัง, Violin 1 ตัว, Viola 1 ตัว และ Cello 1 ตัว

String Quintet = วงดนตรีที่ปรกอบด้วยเครื่องสาย 5 ชิ้น โดยมีประเภทเครื่องดนตรีเช่นเดียวกับ String Quartet แต่ จำนวนชิ้นมีการเปลี่ยนแปลง (โดยมากจะใช้ Violin 2 ตัวในการบรรเลง)

นอกจากนี้ยังมีวงแบบอื่นๆ ด้วยเช่น วงที่มีการล่นโดยใช้ เครื่องเป่าประกอบกับเครื่องสาย หรือประกอบกับ Piano
-------------------------------
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 30

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 22:52:37
125
ดีครับน้องเจ้น ทะยอยเสริมทฤษฎีออกมาเรื่อยๆ คนไม่ค่อยชำนาญทฤษฎีอย่างผมจะเป็นลูกคู่เสริมนิดตอดหน่อยให้เข้ารูปลักษณ์เฉพาะของเวปมั่นคงของเราเองครับ.....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 31

Collagen

22/09/2010 22:58:18
4
ทฤษฎีด้านเพลงคลาสสิค หมดแล้วครับ คุณหมอ ^ ^

ที่เหลือก็เพลงแล้วครับ...แต่ก็อาจจะมีเสริมๆ มานิดหน่อยครับ ผเพราะบางส่วนไม่รู้ว่าจะวางลงตรงไหนดีครับ... ^ ^)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 32

Kai

22/09/2010 23:03:47
2
สงสัยผมต้องหัดฟังเพลงclassic บ้างแล้วหล่ะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 33

AscoGenetic5

22/09/2010 23:07:28
175
วุฒิ เก่งมากครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 34

นายมั่นคง

22/09/2010 23:12:57
4,294
555 งานนี้ต้อง Collagen เจ้าเก่าเล่ายี่ห้อล่ะครับ อ่านเพลินดีเหมือนกันครับ ผมเองอ่านไปเมื่อหลายปีก่อน แต่ตอนนี้ลืมไปหมดแล้ว

งวดนี้ต้องมาเริ่มไล่อ่านกันใหม่ล่ะครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 35

Collagen

22/09/2010 23:16:33
4
ขอบคุณค้าบ พี่หลุ่ง..... ข้อมูลพวกนี้ผมเขียนไว้ในกระทู้เก่าครับ เอามารวบรวมเขียนใหม่ครับ... ^ ^

ถ้าตอนนี้เขียนขนาดนี้ คงไม่ไหวครับ จมกองรายงานอยู่ครับ.... T-T (เลยแทบจะไม่มีเวลาไปตอบกระทู้เลยครับ...)

พี่ไก่ย์ ที่เคารพ (รัก?)ครับ ถ้าสนใจฟัง แต่ว่าไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน ก็บอกมาได้นะครับ ผมยินดีจัดให้ครับ ...^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 36

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 23:17:19
125
ดีครับน้องเจ้น ทะยอยเสริมทฤษฎีออกมาเรื่อยๆ คนไม่ค่อยชำนาญทฤษฎีอย่างผมจะเป็นลูกคู่เสริมนิดตอดหน่อยให้เข้ารูปลักษณ์เฉพาะของเวปมั่นคงของเราเองครับ.....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 37

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/09/2010 23:27:18
125
เรียนเชิญคุณ DNA ผู้จุดประกายให้เกิดกระทู้นี้เข้ามาร่วมแจมเรื่องคอเดียวกันด้วยครับ (อ่านความคิดเห็นเรื่องเพลงคลาสสิคจากคุณ DNA ได้ใน คคห.ท้าย ๆ ของกระทู้ "คุณหมอค รับ" จ้า...) รับรองว่าลึกซึ้งมาก.....ขอบอก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 38

Deawy

22/09/2010 23:57:16
0
ลองฟังจาก fm ก่อนก็ได้ครับ คลื่นวิทยุจุฬา 101.5 เวลา 21:35-24:00 ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 39

Progressivepigg

23/09/2010 02:26:46
0
บังเอิญมากๆครับ วันนี้อยู่ดีๆ เบื่อ Progressive เบื่อ metal เลยเปิดเพลงคลาสสิคฟังเล่นๆ เเล้วก้อปิดเวปเฮียมาเจอกระทู้นี้พอดี 55 อ่านไปฟังไป เพลินดีครับคุณหมอ

เดี๋ยวต้องหามาฟังจริงจัง กับดนตรีคลาสคิค

ขอบคุณอีกทีสำหรับความรู้ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 40

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

23/09/2010 13:17:35
125
ีดันจ้า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 41

Tanan

23/09/2010 13:29:24
0
เข้าร่วมวงด้วย .... ตอนนี้อยากได้ Carmen มีใครแนะนำได้บ้างไหมครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 42

te

23/09/2010 13:50:03
8
ขอแจมด้วยครับ ขอบคุณคุณหมอ และวุธด้วยครับ
ผมชอบงานของ Antonio Vivaldi มากเป็นพิเศษ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 43

aor

23/09/2010 14:44:21
8
ไม่ธรรมดาเลยนะครับฟังเพลงหลากหลายแนวดีจริงๆครับน้องte
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 44

23/09/2010 16:26:45
เล่าเรื่อง W.A.Mozart จากหนังที่เบิร์ดนำเสนอแล้วกัน
หนังเรื่องนี้ บางคนก็ดูแล้ว บางคนก็ยังไม่ดู
สร้างมานานมากแล้วครับ จำได้ว่าครั้งแรกที่ดู
ยังเป็นวิดิโอเทปเลยแล้วก็ไม่มีภาษาไทย

คนที่ดูไปแล้วก็มาถามกันว่า
ตกลง สเลียรี่ คือใคร (อันโตนิโอ สเลียรี่ รับบทผู้ร้ายในเรื่องนี้)
สเลียรี่ ก็คือคีตกวีชื่อดังอีกคนในสมัยนั้น
บทภาพยนต์ของเรื่องนี้ ก็ยกให้สเลียรี่เป็นแพะซะนั่น
โดยกว่าหาว่า อิจฉาความสำเร็จของ มทสาร์ท
แล้วก็อยากได้ผลงานของตัวเองไว้อวด
จึงปลอมตัวเป็นชายนิรนาม ไปจ้าง มทสาร์ท เขียน Requiem
ส่วน พ่อตัวดีของเราก็กลัวว่า เขียนไปเขียนมา ตกลงจะเขียนเพลงสวดศพของตัวเอง
แต่ก็รับจ้างเขามาแล้ว ก็ต้องทำให้เสร็จ
ส่วนเพลงนี้ จริงๆ แล้ว มทสาร์ท ก็เขียนไม่เสร็จจนได้ครับ
เท่งทึงไปเสียก่อน ตอนหลัง ๆ ที่เขียนจนจบ
ว่ากันว่า เป็นสีมือของ ซุสไมเออร์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์
แต่ผมว่า ก็น่าสงสารสเลียรี่ครับ เพราะจริง ๆ แล้วก็มีความดีเยอะครับ
อย่างน้อยก็เป็นอาจารย์ของ Schubert

จริง ๆ แล้วไปกล่าวหาสเลียรี่ตามบทภาพยนต์ ผมว่าก็ไม่น่าจะถูกนะครับ
แต่เพื่อสีสันของภาพยนตร์ เข้าใจว่า คงต้องเขียนบทแบบนี้
หนังเรื่องนี้ คนที่รักมทสาร์ท ก็ดูกันแล้ว วิจารณ์กันต่าง ๆ นาๆ
บ้างก็ว่า เว่อ กล่าวหาคีตกวีสุดเลิฟของเขา
บ้างก็ว่า อัจริยบุคคล กับคนบ้า ๆ บอ ๆ
จริง ๆ แล้วมีเส้นบาง ๆ คั่นอยู่
เพราะในหนังนั้น ตัวมทสาร์ทเองก็มีบุคลิกต๊อง ๆ อยู่เหมือนกัน

ในหนังมีอยู่ตอนหนึ่ง
ที่สเลียรี่ แอบไปเห็นโน้ตเพลง
ที่มทสาร์ทเขียนไว้ เมื่อมองไปที่โน้ต
ก็จะได้ยินทำนอง ของเพลงนั้น
ทำให้เขาตกอยู่ในภวังค์ทันที ว่าช่างไพเราะเสียนี่ยิ่งกระไร
(คุณสมบัติอย่างหนึ่งขอผู้เล่นดนตรีก็คือ ได้ยินด้วยตา มองเห็นด้วยหู
หมายความว่า เมื่อตามอง score เพลง ก็นึกได้ทันทีว่า
โน้ตแต่ละตัวมีเสียงอย่างไร และในทางกลับกัน
เมื่อหูได้ยินเสียงดนตรี ก็จะนึกภาพออกว่า โน้ตอะไรกำลังเล่นอยู่
ซึ่งลักษณะนี้ ถ้าแม่นยำมากถึงระดับ absolute pitch ก็จะบอกได้เลยว่า
โน้ตอะไร อยู่ตำแหน่งไหน ซึ่งคุณสมบัตินี้ conductor ส่วนใหญ่ต้องทำได้
คือมีหูที่สามารถแยกแยะได้อย่างแม่นยำ จะเห็นได้ว่าเป็น conductor นี่
ไม่ใช่ขี้ไก่เลย)

กล่าวถึงมทสาร์ทตัวเองของเรื่อง
จะหาคนแบบไหนที่สามารถทำอะไรเช่นนี้ได้ ชาตินี้และชาติหน้าคงไม่มีแล้วครับ
อายุไม่กี่ขวบ ก็เขียนเพลงได้ เขียนอุปรากร full scale ได้เมื่ออายุ 12 ปี หรือยังไง
(ซึ่งอายุขนาดนี้ บ้านเราก็เป็นเด็กเพิ่งเห่อ ว่าของเล่นประจำตัวแข็งได้นั่นเอง)
ความจำก็เป็นเยี่ยม ไปดูอุปรากรเรื่องไหนมา
กลับมาบ้าน ก็เขียน score มันทั้งเรื่องจากความจำ
ซึ่งในกรณีนี้ ผมว่า เป็นความจำเหมือนเครื่องบันทึกเสียงครับ

เพลงที่มทสาร์ทประพันธ์ในชั่วชีวิต มีมากมายมหาศาล
นี่ยังไม่นับไอ้ที่ตกหล่น ๆ หายไปในช่วงเวลาที่ผ่านมาอีก
เข้าใจว่า มีตัวโน้ตแล่นอยู่ในหัวตลอดเวลา
และพร้อมที่จะเขียนลงกระดาษได้ตลอดเวลา
แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า เลโอโปลด์ มทสาร์ท (พ่อ)
จะได้สอนวิทยายุทธทั้งหลายในด้านดนตรีให้ลูกอย่างยอดเยี่ยม
แต่สิ่งที่พ่อลืมสอนไป ก็คือ การใช้ชีวิต การจัดการชีวิต
ทำให้สุดท้าย มทสาร์ท ต้องประสบภาวะปัญหาครอบครัว
ชักหน้าไม่ถึงหลัง นำพามาซึ่งความเจ็บป่วย และเสียชีวิต
ในเวลาก่อนวัยอันควร (35 ปี)

ลองหามาชมดูครับ เป็นหนังที่ดูแล้วได้สาระดี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 45

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

23/09/2010 16:28:00
125
ผมมีดีวีดีของวง Berlin Philharmoniker ชุด The tribute of Carmen เดี๋ยวถ้าหาเจอจะไรท์ส่งไปให้นะครับคุณ Tanan อาจนานหน่อย เพราะห้องรกมากและไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน แถมมันเป็นดีวีีดี 9 ด้วย ต้องไปหาแผ่น 9 ด้วยกันมาไรท์อีกครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 46

Tanan

23/09/2010 16:55:47
0
จริงๆหรือครับ...... ขอบคุณมากๆครับ

ตอนแรกผมจะซื้อมาแล้วจาก Amazon แต่ไม่รู้รู้เลือกอันไหนดีหลายคณะไปหมด
แต่ถ้าของ Berlin Philharmoniker คงดีมากๆใช้ไหมครับ

ถ้าหา DVD9 ไม่ได้เดี๋ยวผมส่งไปให้ได้ครับ
รบกวนด้วยครับ

habanera จร๊าาาาาา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 47

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

23/09/2010 19:32:10
125
เดี๋ยวดูก่อนครับคุณ Tanan ดูเหมือนจะเหลือหนึ่งแผ่น แต่มันอยู่ไหนหว่า.......???
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 48

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

23/09/2010 19:38:28
125
เอ้อ....ตัวดีวีดีต้นฉบับยังหาไม่เจอเลยจ้า......
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 49

We Are Kamilia

23/09/2010 20:12:52
0
FI 3 คงฟังคลาสสิค สนุกแน่เลยอาหมอไม่ยอมติดต่อผมเลย

ว่าแต่นิยามง่ายๆๆของคลาสสิคคืออะไรอะครับ เช่นพวกเพลงบรรเลง จัดเป็นคลาสสิคหมดไหมอะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 50

23/09/2010 20:17:03



เพิ่งจะมีเวลาแวะมาเยี่ยมชมกระทู้ใหม่ของคุณหมอ ก็ปาเข้าไปช่วงดึกๆ ของวันเลยครับ

เปิดกระทู้ได้ไม่ถึง 2 วัน แต่มีเพื่อนๆ ให้สนใจมากมายทีเดียว นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีครับ รวมทั้งผู้ที่ต้องการเริ่มฟัง หรือสนใจดนตรีคลาสสิคอย่างจริงจัง ยังได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายจากท่านผู้รู้มากมาย (โดยเฉพาะคุณ Collagen ครับ)

DVD-The tribute to Carmen ที่คุณหมอพูดถึง น่าจะหมายถึงชุดตามรูปนี้ใช่มั้ยครับ

ชุดนี้หน้าปก เป็น Violinist ชื่อดัง Gil Shaham (เกิดที่อเมริกา แต่ย้ายกลับบ้านเกิดที่อิสราเอลตอน 2 ขวบ และเริ่มเรียนดนตรีที่ Jerusalem ก่อนย้ายกลับมาที่ New York อีกครั้งตอนอายุ 11) ลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวเวลาที่ Gil โชว์ไวโอลิน จะเน้นใช้เทคนิคการหายใจทางปากช่วย สังเกตุได้จากกระพุ้งแก้มที่พองออกในขณะเล่นได้อย่างชัดเจน เรียกได้ว่าโน้ตแต่ละตัวที่ Gil ถ่ายทอดออกมา เน้น articulation และ dynamic เป็นพิเศษ

DVD อีกแผ่นหนึ่งของ Gil ที่อดพูดถึงไม่ได้ คือชุดที่ Gil เล่น Violin Concerto ของ Brahms กับวง BPO (Berlin Philharmonic Orchestra) ทีกำกับโดย Abbado (เช่นเดียวกับชุด The tribute to Carmen ชุดนี้) ต้องบอกว่า Gil เป็นนักไวโอลินที่จริงจังและ serious กับตัวโน้ตทุกตัว เราจะเห็นอาการเหงื่อไหลไคลย้อยในขณะที่เล่นจนเลอะไวโอลินในแทบทุก concert ที่ Gil แสดง

คร่าวๆ เกี่ยวกับ Violin Concerto (in D major Op. 77) ของ Brahms ว่ากันว่าเพลงนี้มีฉายาว่า Do or Die ครับ หมายถึงว่า นักไวโอลิน ถ้าฝีมือไม่แน่จริง อย่าฝึกเพลงนี้ครับ เนื่องจากโครงสร้างตัวโน้ตซับซ้อนมาก (แต่ไม่ถึงกับเน้นเทคนิคมากมายเหมือนของ Paganini) เต็มไปด้วยอารมณ์เพลงที่หลากหลายครับ ถ้าฝึกไม่ถึงขั้น แล้วไปเล่นกับวงใหญ่ พาลจะพาวงล่มเอาครับ เพราะ Brahms นั้นท่านเขียน Violin Concerto แบบเน้นๆไว้เพียงบทเดียวเท่านั้น (เช่นเดียวกับ composer ชื่อดังท่านอื่น เช่น Beethoven, Tchaikovsky, Schumann, Mendelssohn, Sibelius,... ที่ส่วนใหญ่เขียนไว้แค่บทเดียว ในขณะที่ Mozart แต่งไว้ถึง 5 บท ส่วน Bach แต่งไว้ 2 บท รวมถึง Paganini นักไวโอลินจอมเทคนิค แต่งไว้ถึง 6 บท ถ้าผมจำไม่ผิด)

ถ้าเผื่อคุณหมอ หา The tribute to Carmen แผ่นนี้ไม่เจอ ผมรับอาสา write ให้คุณ Tanan แทนได้นะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 51

DNA

23/09/2010 20:19:12
0
โทษทีครับ ผมลืม log-in ตอนตอบ คคห.50 ครับ

ผม DNA แวะมาเยี่ยมเยียนตามคำเชิญครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 52

Collagen

23/09/2010 20:48:56
4
ว่าแต่นิยามง่ายๆๆของคลาสสิคคืออะไรอะครับ เช่นพวกเพลงบรรเลง จัดเป็นคลาสสิคหมดไหมอะครับ
----------------

ถ้าจะกล่าวถึงนิยามของดนตรีคลาสสิค ก็น่าจะได้ประมาณว่าเป็นดนตรีที่เล่นอย่างมีระเบียบแบบแผนตามมาตรฐานที่มีการกำหนนดไว้ โดยมากมักจะเป็นเพลงที่แต่ในช่วง ค.ศ. 1750 - 1830 แต่อย่างไรก็ตาม เพลงคลาสสิคโดยมากเป็นเพลงบรรเลง แต่เพลงร้องก็มีด้วยเช่นกัน.....

นอกจากนี้เพลงคลาสสิคร่วมสมัย (Contemporary Classical Music) ในปัจจุบันก็มีการแต่งและบรรเลงกันอยู่ครับ

ดนตรีคลาสสิคไม่จำเป็นต้องใช้วงใหญ่ๆ ในการบรรเลง หลายๆ บทเพลงก็สามารถบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเพียงเครื่องเดียวได้ อย่างเช่น Piano หรือว่า Organ หรือใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นในรูปแบบของ Chamber Music ก็มีครับ.....

ดังนั้นแล้ว นิยามของดนตรีคลาสสิค นความเห็นของผม ผมว่าไม่ตายตัวครับ..... อธิบายลำบากครับ... ^ ^
------

ถ้าพูดถึง Brahms จัดได้ว่าเป็นนักแต่งเพลงที่มีความโรคจิตนิดๆ กล่าวคือ ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบมากเกินไป บทเพลงไหนที่ประพันธ์ออกมาแล้ว ถ้าหากว่ายังไม่ดีพอก็จะทำการแก้แล้วแก้อีก ซึ่งในผลงานบางชิ้นใช้เวลาประพนธ์รวมทั้งแก้ไขเป็นเวลากว่า 10 ปี และถ้าหากว่าไม่พอใจอย่างมาก บางบทเพลงก็จะนำไปเผาทิ้งก็มีครับ

ยินดีต้อนรับครับทุกๆ ท่าน.... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 53

Collagen

23/09/2010 20:57:35
4
ไหนๆ ก็ไหนๆ ครับ.... ผมก็ขอกล่าวถึงบทเพลงสุดท้ายของ Mozart ครับ....นั่นคืิอ Requiem ครับ
---------

Requiem Mass ครับ เพลง (หรือบทสวด) นี้ เป็นผลงานชิ้นสุดท้าย (ที่ไม่สมบูรณ์ของ Mozart) ซึ่งเป็นผลงานต่อจากอุปรากรอันเลื่องชื่อ The Magic Flute ที่แต่งเสร็จในปี 1791 โดยผลงานชิ้นนี้ Mozart ได้ใช้เวลาแต่เพียง 18 วัน และได้นำออกแสดงใน วันที่ 30 กันยายน ซึ่งในระหว่างที่ Mozart รับงานในการแต่งอุปรากร The Magic Flute ทาง Mozart ยังมีงานในการแต่งเพลง Requiem ซึ่ง Count Walsegg เป็นผู้ว่าจ้างให้ทาง Mozart แต่งเพลงนี้ เพื่อใช้บรรเลงให้กับภรรยาของท่าน Count ผู้ล่วงลับ โดยทางท่าน Count ยินดีที่จะจ่ายอย่างเต็มที่ และนอกจาก Requiem แล้ว ทาง Mozart ยังมีผลงานอุปรากรอีกชิ้นคือ La Clemenza di Tito เพื่อใช้ในการเฉลิมฉลองการครองราชย์ของพระเจ้า Leopold จักรพรรดิแห่งแคว้น Bohemia...

เมื่อ Mozart แต่งอุปรากรเรื่อง The Magic Flute เสร็จแล้ว (และได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับผลงานชิ้นนี้) ทาง Mozart ได้ลงมือ แต่งเพลง Requiem ต่อไป (ในช่วงเดือนกันยายนทาง Count Walsegg ได้ส่งคนมาตามผลงานของ Mozart ซึ่งทำให้ความเครียดมีมากขึ้น) ซึ่งในระหว่างการแต่งบทเพลง (หรือบทสวด) Requiem ต่อทาง Mozart อยู่ในสภาวะที่จิตไม่ค่อยปกติเท่าใด โดยทาง Mozart มีอาการเพื้อฝัน ประสาทหลอน ในบางครั้งนึกว่าถูกวางยาพิษและคิดว่าแต่งเพลงนี้เพื่องานศพของตัวเอง และบางครั้งก็รู้สึกงุนงงกับงานที่ทำอยู่ แต่ทาง Mozart ก็ยืนยันที่จะแต่งเพลงนี้ต่อไป เพราะดีกว่าที่จะอยู่เฉยๆ (เนื่องจากในช่วงนี้ฐานะทางการเงินของ Mozart ย่ำแย่ อีกทั้งโรงอุปรากรและนายหน้าที่จัดพิมพ์บทเพลงของ Mozart ไม่ได้แบ่งส่วนแบ่งที่ Mozart พึงจะได้จากบทเพลงของเขา) ต่อมา Mozart รู้ตัวดีว่าวาระสุดท้ายในชีวิตได้ใกล้เข้ามาแล้ว ทาง Mozart ก็รีบเร่งที่จะแต่งเพลง Requiem ให้เสร็จโดยไม่ต้องการให้ค้างคา

เมื่อทาง Constanze ผู้เป็นภรรยา กลับจากการรักษาตัวที่เมือง Baden (ในช่วงนั้น Mozart พำนักอยู่ที่กรุง Vienna) ก็พบกับสภาพของ Mozart ในสภาพที่ย่ำแย่ ทรุดโทรม ในขั้นวิกฤติ จึงได้ตามหมอมาดูอาการ พร้อมทั้งขอให้ Mozart หยุดเขียนเพลง Requiem แต่ทาง Mozart ไม่ยอมและยืนยันที่จะทำต่อไป ต่อมาในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1791 ทาง Mozart ได้รู้ตัวแล้วว่า เขาจะมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกไม่นาน แต่ก็ยังคงแต่งเพลงนี้ต่อไป และในบางครั้งได้บอกแนวเพลงและเค้าโครงของบทเพลงนี้กับ Süssmayr ผู้เป็นลูกศิษย์ และต่อมาในวันที่ 4 ธันวาคม 1791 Mozart ได้ขอร้องให้เพื่อนบางคนมาขับร้องเพลงนี้ในบางช่วงร่วมกับเขา เมื่อร้องไปได้สักพักก็หยุดลงทันที และ Mozart รู้ตัวแล้วว่าเขาไม่มีทางที่จะแต่งเพลงนี้ได้สำเร็จ จากนั้นเขาก็ร้องไห้ และหันไปพูดกับภรรยา และได้เริ่ม ฮัมเพลง Bird-Catcher's song โดยเพื่อนของเขาได้บรรเลง Piano ประกอบ และในเช้าของวันรุ่งขึ้น Mozart ก็ได้จากโลกนี้ โดยไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิต บ้างก็ว่า ตายด้วยโรค ไข้รากสาดใหญ่ (Thyphus) บ้างก็ว่า ด้วยไข้รากสาดน้อย (Thyphoid) บ้างก็ว่าด้วยโรคไต บ้างก็ว่าด้วยความเครียด ฯลฯ

หลังจากที่ Mozart เสียชีวิตทางลูกศิษย์ Süssmayr ได้แต่งเพลงต่อจาก Mozart ในช่วงท้ายตามที่ Mozart ได้บอกไว้ และได้รับความสำเร็จอีกชิ้นหนึ่งครับ

แนวเสียงของเพลงนี้ให้แนวเสียงที่ฟังแล้วหดหู่ เหมือนอยู่ในขุมนรก และบางครั้งให้ภาพเหมือนกับกำลังอยู่ในอุ้งมือของปีศาจ) แนวเสียงออกแนวทุ้ม และมีเสียงร้องประกอบ เนื่องจากระหว่างที่ Mozart แต่งเพลงนี้ Mozart เหมือนกับว่ามีแรงกระตุ้นจากโลกอื่นมาขับดันในการแต่งเพลงนี้ด้วย ครับ... เพลงนี้ ฟังบางครั้งก็รู้สึกขนลุกขึ้นมาเฉยๆ ก็มีครับ ^ ^

เสริมอีกนิดนึง เพลงแนว Requiem เป็นเพลงที่ใช้ในงานศพ ที่ชึ้นชื่อก็เป็นของ Mozart นี้หละครับ แต่ก็มีของนักแต่งเพลงอื่นๆ ด้วย เช่น Fauré และDuruflé ครับ
----------

ปล. บทความนี้ ผมแก้ไขจากกระทู้เก่าของผมครับ ซึ่ง ผมใคร่ขอขอบคุณ คุณลุงเปี๊ยก (Unclepiak) ผู้ที่ชี้แนะทางด้านดนตรีคลาสสิคให้ผม ในช่วงที่ผมเข้ามาที่บอร์ดเฮียมั่นคงใหม่ๆ ครับ.... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 54

Kai

23/09/2010 21:23:03
2
ขอบคุณมากๆๆๆเลยเน้อตาวุฒิย์

เดี๋ยวถ้าจะหัดฟังเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อไหร่ จะรีบติดต่อไปเลยจ้า..55555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 55

Tidal

23/09/2010 21:30:51
0
โอ้ พึ่งจะได้เห็นกระทู้นี้ครับ
จริงๆแล้วคุณหมออย่าเรียกผมว่าคุณ Tidal เลยครับ อายุผมพอจะเป็นรุ่นลูกคุณหมอได้แล้วครับ และที่สำคัญที่สุดคือผมเองก็ไม่ได้รู้เรื่องเพลงคลาสสิกเท่าไหร่ครับ อาศัยฟังไปเรื่อยๆมาปีสองปี เส้นทางยังอีกไกลเลยล่ะครับ

อืม แต่นอกเหนือจาก Mozart และ Beethoven มีอีกคนที่อยากจะแนะนำครับ (จริงๆมีมากกว่านี้ แต่ขอคนนี้ก่อน) คนนั้นก็คือ Johannes Brahms หรือที่เราเรียกว่าบรามส์นั่นล่ะครับ ช่วงหลังๆนี้ผมแทบไม่ได้ฟังผลงานของท่านอื่นเลย ก็มีแต่แผ่นนี้ล่ะครับ ที่ฟังมาตลอด






เป็น Piano Concertos ของ Brahms ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดสองหมายเลข คือหนึ่งกับสอง ซึ่งไพเราะ Romantic และที่สำคัญ ฟังง่าย ไม่ต้องมีประสบการณ์มากก็ฟังได้ หมายเลขหนึ่งจะฟังง่ายกว่า แต่หมายเลขสองก็ไม่ได้ฟังยาก แนะนำจริงๆควรจะเป็นแผ่นนี้ ผมไปเปิด youtube ดูท่านอื่นเล่น ก็ดีครับ แต่ส่วนตัวชอบ และคิดว่า Concertos นี้น่าจะต้องคนนี้เท่านั้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 56

AstroMotion

23/09/2010 21:35:49
0
ขอบคุณครับ ผมฟังเพลงคลาสสิคล้วนๆมาตั้งแต่ 12 ขวบ เพลงแนวอื่นไม่ค่อยได้ฟังเลย 55 ส่วนใหญ่เพลงคลาสสิคเพราะๆไม่ค่อยชอบฟังครับ ชอบฟังแนวหลอนๆระทึกใจเหมือนวิ่งไล่ล่ากันมากกว่า ตอนนี้เริ่มฟังมาได้ 3 ปีแว้วครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 57

Collagen

23/09/2010 21:39:17
4
ขอบคุณครับ ผมฟังเพลงคลาสสิคล้วนๆมาตั้งแต่ 12 ขวบ เพลงแนวอื่นไม่ค่อยได้ฟังเลย 55 ส่วนใหญ่เพลงคลาสสิคเพราะๆไม่ค่อยชอบฟังครับ ชอบฟังแนวหลอนๆระทึกใจเหมือนวิ่งไล่ล่ากันมากกว่า ตอนนี้เริ่มฟังมาได้ 3 ปีแว้วครับ
----------------

ยินดีต้อนรับครับผม..... ^ ^ เพลงคลาสสิคมันมีเยอะครับ ตั้งแต่หลอนยัยหลับเลยครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 58

AstroMotion

23/09/2010 21:41:34
0


ประเดิมเพลงแรกเลยครับ เพลงนี้ชอบมาก เมื้อก่อนฟังก่อนนอนเกือบทุกวันเลย (หลับไปได้ยังไง ==)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 59

Collagen

23/09/2010 21:54:17
4
^
^
เอ่อ ผมขออนุญาต แนะนำว่าลองหาเพลง.....
1. Ride of Valkyrie ของ Richard Wagner
2. Fire bird ของ Igor Stravinsky
3. Sabre dance ของ Kuchaturian
4. Mars, the bringer of war ของ Gustav Holst

ลองฟังดูครับ....คาดว่าเข้ากันกับแนวที่ชอบครับ (ครบเครื่องดีครับ)

ปล. ส่วนรีวิวของเพลง Ride of Valkyrie กับ Mars, the bringer of war ผมจะจัดการมาลงให้ครับ... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 60

Collagen

23/09/2010 21:57:20
4
ผมขอเริ่มที่เพลง Mars, the bringer of war ก่อนนะครับ
------------
กล่าวคือ ผมได้อ่านหนังสือ The Planets - ประวัติย่อของดวงดาว ก็ได้อ่านๆ ไป ทางผู้เขียน (ดาวา โซเบล) ได้แนะนำบทเพลง Classic มาบทหนึ่ง ชื่อเดียวกับหนังสือเล่มนี้ ชื่อว่า The Planets โดย Gustav Holst นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ (1874 - 1934) ซึ่งเพลงชุดนี้ถือว่าอยู่ในยุคของ Neoclassic ครับ เพลงชุด The Planets นี้ แต่ขึ้นในปี 1914 - 1916 ถือว่าเป็นผลงานลำดับที่ 32 ของ Holst ครับ...

เพลงชุด The Planets นี้ถือว่าเป็นบทเพลงเกี่ยวกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล (Solar System) ที่บรรยายและพรรณา ลักษณะของดาวเคราะห์ดวงต่างๆ ตามคติความเชื่อของคนในสมัยโบราณผนวกกับความรู้ดาราศาสตร์ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ได้อย่างค่อนข้างลงตัวครับ มาถึงจุดตรงนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจจะนึกสงสัยว่า เพลงของนักแต่งเพลงท่านอื่นๆ ก็ได้พรรณาถึงดาวดวง และดาวเคราะห์ต่างๆ ไว้ก่อนหน้าแล้ว แต่บำเพลงเหล่านั้นได้บรรยายอารมณ์ของศิลปินต่อดวงดาวแต่ละดวงครับ ไม่ครบทั้งชุด (เต็มระบบเหมือนของ Gustav Holst ครับ) โดยตัวอย่างของเพลงที่บรรยายถึงดวงดาว ของกวีก่อนหน้า ตัวอย่างเช่น
Moonlight Sonata ของ Beethoven (Opus 27 No. 2)
Clair de Lune ของ DeBussy
ซึ่งทั้ง 2 เพลงนี้ได้บรรยายถึงดวงจันทร์... นอกจากนี้ยังมี
Mercury ของ Haydn (Symphony No. 43 in E Flat Major)
Jupiter ของ Mozart (Symphony No.41 in C K.551)

ในเพลงชุด The Planets, Suite for Orchestra ของ Holst ประกอบด้วย 7 บทเพลงดังนี้ครับ
1. Mars - The bringer of war (allegro) ดาวอังคารผู้นำการสงคราม
2. Venus- The bringer of peace (adagio) ดาวศุกร์ผู้ส่งมอบสันติภาพ
3. Mercury - The winged messenger (vivace) ดาวพุธผู้ส่งสาร
4. Jupiter - The bringer of jolity (allegro giocoso) ดาวพฤหัสบดีนำความสุข
5. Saturn - The bringer of old age (adagio) ดาวเสาร์ผู้นำความชราภาพ
6. Uranus - The magician (allegro) ดาวยูเรนัสผู้วิเศษ
7. Neptune - The mystic (andante) ดาวเนปจูนผู้ลี้ลับ
มีทั้งหมด 7 เพลง... และดาวเคราะห์ 7 ดวง... ที่หายไปอีก 2 คือ โลก และดาวพลูโต (ซึ่งในปัจจุบันนี้ถูกปลดจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสถานภาพของดาวพลูโตเป็นเพลงดาวเคราะห์แคระเท่านั้น) เหตุผลที่บทเพลงนี้ไม่มี "โลก" เนื่องจากว่า Holst นอกจากมีอาชีพเป็นนักแต่งเพลง แล้วยังมีอาชีพเป็นหมอดู ดังนั้น ในความเชื่อทางโหราศาสตร์ ดาวโลก ถือว่าไม่ใช่ดาวเคราะห์ทั่วไป ดังนั้นจึงไม่มีการแต่งบทเพลงที่สื่อถึง "โลก" ไว้ด้วยครับ... ส่วนในกรณีของดาวพลูโต ในขณะนั้น (ปี 1914-1916) ยังไม่มีการค้นพบดาวพลูโต (ดาวพลูโตถูกค้นพบเมื่อปี 1930) ดังนั้นบทเพลงของ Holst ในชุด The Planets นี้จึงมี 7 เพลงครับ...

ในส่วนของเสียงของชุดเพลงนี้... ที่ผมได้ฟังผมได้ฟังจากแผ่น 20th Century Masterpieces - 100 years of classical music ซึ่งมีผู้อนุเคราะห์ ได้โหลดมาให้ผมได้ลองฟังสนองตัณหาตัวเอง (หลังจากการอ่านหนังสือ) ชุดเพลงนี้บรรเลงในจังหวะที่ความเร็วค่อนข้างเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีการบรรเลงในจังหวะ Adagio หรือบรรเลงช้าแล้ว แต่เมื่อฟังแล้วก็ถือว่าไม่ช้ามากจนทำให้ผู้ฟังหลับได้ครับ... โดยในส่วนของเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงฮิตของเพลงชุดนี้ก็คือเพลง Mars - The bringer of war ครับ เสียงของเครื่องเป่าทองเหลือง (Brasswind) และเครื่องตี (Percussion) ได้บรรเลงได้อย่างถึงอารมณ์ของคำว่า การออกศึกและสงครามครับ โดยเพลงนี้ได้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ด้วยครับ... นอกจากนี้เพลง Jupiter - The bringer of jolity ก็ได้รับความนิยมอีกเช่นกันครับ เพลงนี้ออกทำนองแนวสนุกสานาน ใสๆ ครับ เสียงออกโทนกลางๆ ไม่ออกแนวจัดๆ เหมือนเพลง Mars ครับ ในส่าวนของเพลงอื่นก็มีหลากหลายทำนองครับ แต่โดยรวมแล้ว ไม่ค่อยมีเสียงแหลมที่ออกแนวบาดหูเหมือนกับเพลง Classic ในหลายๆ เพลงครับ...

แนวอารมณ์ของเพลงชุดนี้ ในความเห็นของผม ผมว่าออกมาหลายแนวที่สอดประสานกันได้อย่างดีครับ และจบบทเพลงชุดนี้โดยการบรรเลงแบบค่อยๆ ให้เสียงจางหายไปในตอนจบโดยไม่มีการสะดุดของเสียงครับ...

นอกจาก Holst แล้ว ยังมีผู้ประพันธ์ท่วงทำนองแห่งจักรวาลไว้ก่อนหน้า Holst ด้วย คือ Johannes Kepler นักดาราศาสตร์ ผู้สานต่อแนวคิดปฏิวัติความเชื่อด้านดาราศาสตร์ของคนทั้งโลกว่า โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และโลกเป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยในหนังสือ Harmonice Mundi (การประสานเสียงของโลก) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 1619 ได้มีการบรรยายถึงการตีความการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์มาเป็นบทเพลง ครับ...

ปล. ชื่อเต็มๆ ของหนังสือที่ผมอ่านและได้นำเนื้อหา บางส่วนมาอ้างอิง คือ The Planets เดอะ แพลเนต ประวัติย่อของดวงดาว ชมความอัศจรรย์ของระบบสุริยะ ผ่านมุมมองวัฒนธรรมดาราศาสตร์ (หนังสือแนวประวัติศาสตร์ ครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 61

Collagen

23/09/2010 22:02:35
4
ตามด้วย... the ride of valkyrie ครับ....
-----------

The Ride of the Valkyries ของ Richard Wagner
ถ้าหากว่าพูดถึง Richard Wagner นักประพันธ์ชาวเยอรมันท่านนี้ ก็จะนึกถึงการแสดงอุปรากร ที่เกี่ยวกับ เทพเจ้า เทพธิดา ยักษ์ กษัตริย์ ราชินี อัศวิน โดยมากจะเน้นไปทางด้าน เทพปกรณัม ของชาวเหนือ (Norse Mythology) เช่น เทพ Odin, Loki, Freya, Thor, Balder (Baldur), และเหล่านางฟ้า Valkyrie (ถ้าหากท่านใดสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของเทพของชาวเหนือ ก็สามารถหาหนังสืออ่านได้ครับ แต่หายากสักหน่อย) อุปรากรของ Wagner โดยมากมาจากนิยายโบราณซึ่ง Wagner แต่งให้มีชีวิตจิดใจและปลุกผู้ฟัง (และชม) ด้วยเพลงอันเร้าใจ นอกจากเรื่องราวเทพนิยาย แล้วอุปรากรของ Wagner ยังได้แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนในยุคกลางของประเทศเยอรมนีอีกด้วย ในส่วนของเพลงที่โม้นี้ เป็นส่วนหนึ่งของอุปราเรื่อง Die Walküre หรือ The Valkyrie ซึ่งเป็น 1 ใน 4 อุปรากรชุด Der Ring des Nibelungen หรือ The Ring of Nibelung ซึ่งอุปรากรชุดนี้เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งของ J.R.R Tolkien แต่งมหากาพย์การผจญภัยเรื่อง The Lord of the Ring อุปรากรชุด The Ring of Nibelung นอกจากอุปรากร Die Walküre (ซึ่งเป็นเรื่องที่ 2) ยังมีอุปรากรเรื่อง Das Rheingold หรือ The Rhinegold, Siegfried และ Götterdämmerung หรือ Twilight of the Gods พูดเกี่ยวกับ Wagner มาเสียยืดยาว ก็เข้าเรื่องของเพลงนี้ดีกว่า... เพลงนี้เมื่อฟังแล้วให้ความรู้สึกถึงยามที่มีแสงแดดอยู่ริมขอบฟ้า (คือมองเห็นรำไรๆ) พร้อมกับเหล่าทหาร (ในที่นี้คือนางฟ้า Valkyrie) กำลังจะออกศึก หากจินตนาการไปด้วยจะรู้สึกถึง เหล่าทหารกำลังเดินออกจากค่ายอันเป็นที่มั่น ผ่านประตูค่ายไปเพื่อที่จะไปออกศึก ซึ่งเสียงให้เสียงในแนวปลุกใจพร้อมกับบรรยากาศที่รู้สึกหเศร้าหม่นเนื่องจากสงคราม แนวเสียงของเพลงนี้ เน้นเครื่องเป่าทองเหลือง ที่ให้เสียงทุ้มใหญ่ ประกอบกับเครื่องสายที่ให้เสียงแหลมเล็กประกอบ พร้อมเสียงเครื่องตี แต่ไม่เด่นชัดเท่าเสียงจากเครื่องเป่า (แต่จะเด่นในช่วงท้ายๆ) และในช่วงท้ายเพลงจะมีเสียงแหลมจากเครื่องเป่าไม้มาประกอบด้วย เพลงนี้ให้เสียงที่กว้าง อึกทึก ฟังแล้วรู้สึกอยู่ท่ากลางการออกศึก ดังนั้นจึงเป็นอีกเพลงที่เหมาะสำหรับการทดสอบหูฟัง หรือลำโพงได้ดีเพลงหนึ่งครับว่า เสียงที่ได้นั้นครบถ้วนทุกรสชาติ ทั้งเบสและแหลมว่าครบหรือไม่ครับ... (เพลงนี้ให้เสียงที่กว้างมากครับ แต่เสียงแหลมนั้น ก็ค่อนข้างแหลงได้ที่จริงๆ แต่ไม่ถึงกับบาดหูจนทนไม่ได้ และเสียงทุ้มก็ไม่ทุ้มหนักจนบวมครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 62

te

23/09/2010 22:17:53
8
ไม่ธรรมดาเลยนะครับฟังเพลงหลากหลายแนวดีจริงๆครับน้องte
------------------
ขอบคุณมากครับพี่อ้อ ที่จริงผมชอบงานที่เป็นเครื่องสายทุกประเภทครับ แม้กระทั่งกู่เจิ้งของจีนผมชอบมากเลยครับ
อย่าง vivadi เวลาฟังงานของท่านนี้แล้วมันรู้สึกเบิกบานใจยังไงบอกไม่ถูกครับ เสียงจากเครื่องสายไวโอลินนี่เพราะจริงๆครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 63

AstroMotion

23/09/2010 22:17:59
0
ขอบคุณครับ ไม่น่าล่ะครับฟังตอนแรกผมก็นึกว่าเพลง Star wars ที่แท้ก็ Star wars จริงๆ (ซึ่งผมก็มีอยู่)

เอ.. เพลงของ Star wars นี้ Gustav Holst ร่วมกันแต่งกับ John william ใช่รึปล่าวครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 64

Collagen

23/09/2010 22:24:10
4
เอ.. เพลงของ Star wars นี้ Gustav Holst ร่วมกันแต่งกับ John william ใช่รึปล่าวครับ
-----------------

ไม่ใช่ครับ.... คือในส่วนของเพลง Star wars เป็นการนำส่วนหนึ่งของเพลง ไปประกอบครับ....

คือนักแต่งเพลง ได้รับแรงบันดาลใจ (Inspiration) จากบทเพลงนี้ ก็เลยนำไปประยุกต์ใช้ครับ.... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 65

Collagen

23/09/2010 22:25:53
4
ขอบคุณมากครับพี่อ้อ ที่จริงผมชอบงานที่เป็นเครื่องสายทุกประเภทครับ แม้กระทั่งกู่เจิ้งของจีนผมชอบมากเลยครับ
อย่าง vivadi เวลาฟังงานของท่านนี้แล้วมันรู้สึกเบิกบานใจยังไงบอกไม่ถูกครับ เสียงจากเครื่องสายไวโอลินนี่เพราะจริงๆครับ
--------------------

นับถือพี่เต้ครับ...ปกติฟังเพลงของ Vivaldi โดยเฉพาะ Four seasons ฟังไม่เคยจบเพลงเลยครับ...หลับก่อนทุกที.... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 66

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

24/09/2010 10:13:43
125
แหะ ๆ ถึงตอนนี้ก็ยังหาไม่เจอครับ เจอแต่แผ่นดีวีดี 9 เปล่า ๆ หนึ่งแผ่น แผ่นต้นฉบับ(แผ่นจีนนะครับ) ไม่รู้หายไปไหน สงสัยต้องรบกวนคุณ DNA ช่วยสงเคราะห์ไรท์ให้คุณ Tanan หน่อยแล้วละครับ รอผม อาจนานจนเบื่อฟังเพลงคลาสสิกไปเลยทีเดียว ในดีวีดีชุดนี้ นอกจากจะมีนักไวโอลินชื่อดังตามที่คุณดีเอนเอกล่าวขวัญถึงอย่างละเอียด(ถึงกึ๋น)ไปแล้ว ยังมีนักเปียนโนชาวรัสเซีย(หรือเปล่าหว่า)อีกคน ที่เล่นเพลง Rhapsody in the Theme of Paganini ของรัคมานินอฟ คอมโพเซอร์คนโปรดของผม(ยาวยี่สิบนาที) คนนี้ก็น่าดูครับ คุณดีเอนเอถ้ารู้ข้อมูลกรุณาขยายต่อด้วยครับ เปียนนิสคนนี้ก็อยู่ในดีวีดีชุด Piano extravagenza ด้วยครับ

อ้อ...คุณดีเอ็นเอครับ ผมอยากขอนำความเห็นเรื่องเพลงคลาสสิคในความคิดเห็นที่คุณดีเอนเอโพสต์ในกระทู้คุณหมอครับมาลงไว้ในกระทู้นี้เลยนะครับ เพราะคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อชาวเราคอเพลงคลาสสิคด้วยกันครับ

ตามความเห็นของผม เริ่มฟังเพลงคลาสสิค ควรเริ่มฟังจากที่เราคุ้นก่อน แต่ส่วนมากเราจะคุ้นเพียงท่อนสั้น ๆ ที่เขามักตัดมาำทำเพลงประกอบหนังหรือเพลงแบ็กกราวน์ พอเราฟังได้จบทั้งเพลง(โดยไม่หลับไปเสียก่อน)ได้อย่างรู้สึกไพเราะแล้ว ก็ค่อยหาเพลงฮิตอื่น ๆ มาฟัง อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ และอยากให้เริ่มดูดีวีดีคอนเสิร์ทไปพร้อมกันด้วยครับ ดีวีดีที่ช่างกล้องเก่ง ๆ (อย่างชุดสองชุดที่แนะนำมา) ดูสนุกครับ เพราะเขาจะถ่ายให้เห็นถึงเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น ๆ ในขณะที่ชิ้นนั้น ๆ ออกเสียงนำอยู่ครับ
ในขณะเดียวกันก็จะได้เห็นลีลาของคอนดักเตอร์แต่ละคนครับ บางคงผึ่งผายแบบผู้ดี บางคนอารมณ์ดียิ้มแย้มแถมร้องเพลงตามไปด้วย บางคนคอนดักเหมือนเล่นกังฟู บางคนใช้อวัยวะทุกส่วนในร่างกาย(ยกเว้นกะปู๋)คอนดักเพลง(อาจารย์ไซโจ้ โอซาวะ)เป็นต้นครับ ท่านใช้ทุกส่วนจริง ๆ และไม่ได้ใช้ไม้บาตองเหมือนคอนดักเตอร์คนอื่น ๆ เข้า ท่าใช้มือแขนขา สายตา ตลอดจนบางทีใช้ลิ้นคอนดักเพลงครับเชื่อไหม?? ซึ่งอันนี้ผมพึ่งจะได้พบความจริงว่า คนที่ไปดูคอนเสิร์ทสดจะไหม่เห็นนะครับ เพราะคอนดักเตอร์มักจะหันหลังให้เรา แต่ดูจากดีวีดีเห็นชัดเจนเพราะกล้องจะโคลสอัพให้เห็นชัด ๆ จะ ๆ ถึงกึ๋นกันเลยทีเดียวครับ.....(ผมประสพการณ์และความรู้ไม่มากเลยต้องอาศัยลูกเล่นที่ได้รับการถ่ายทอดจากเฮียมั่นแบบครูพักลักจำมาใช้ครับ ถ้าไม่ถูกใจอย่างไรก็ต้องขออภัยด้วยครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 67

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

24/09/2010 10:26:34
125
ขออนุญาตคัดลอกความเห็นเรื่องเพลงคลาสสิคบางส่วนจากกระทู้คุณหมอครับมารวมไว้ในที่นี้เลยนะครับ


เรียนท่านเจ้าของกระทู้ 790 ตัวผมนั้นพึ่งจะมาฟังเพลงคลาสสิคได้ไม่กี่ปีหรอกครับ และก็ไม่ค่อยได้ฟังจนจบสักกี่เพลง ส่วนใหญ่ก็รู้จักเพลงที่ดัง ๆ อยู่แล้ว (พวกที่อยู่ในรวมฮิตน่ะครับ) เรียกว่ามีความรู้เพียงผิวเผินเท่านั้น(ไม่ได้เป็นกูรูครับ เป็นเพียงกูพอจะรู้เท่าันั้นเองครับ) แต่ที่ทำให้คนอื่น ๆ คิดว่าผมรู้เยอะก็เพราะผมขยันคุยเรื่องนี้ และมีหนังสือของคุณต่อพงษ์ เศวตาร์ม ซึ่งเป็นหนังสือรวมคอลัมน์ที่ท่านเขียนลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ(ถ้าผมจำไม่ผิด) ท่านเขียนได้สนุกสนานอ่านง่าย เลยทำให้อยากลองฟังเพลงคลาสสิค ซึ่งก็เป็นสาเหตุหลักที่ผมเข้ามาเป็นสมาชิกฟังเพลงคลาสสิคน่ะครับ ส่วนท่าน Brahm นั้นผมยังหยั่งไม่ถึงความซับซ้อนของท่าน รู้จักเพลงของท่านอยู่สองเพลงเอง คือ Hungarian Dance กับ Lullaby (เพลงกล่อมเด็ก) ซึ่งทั้งสองเพลงนี้คนก็รู้จักหรือคุ้นหูกันราวครึ่งโลกละครับ ผมว่าถ้าจะคุยแลกเปลี่ยนกันเื่ัรื่องนี้ เดี๋ยวไปตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่าครับ กระทู้หมอนี่มันยาวมาก จนผมเองยังไ่ม่ค่อยอยากเข้าเลยครับ บางทีโหลดนานเป็นชาติเลยครับกว่าจะถึงความคิดเห็นสุดท้ายที่เ้ข้ามาถามปัญหา ยังไงก็ยินดีที่ได้รู้จักคนคอใกล้เคียงกันครับ


ขอโฆษณาหนังสือของคุณต่อพงษ์สักหน่อยครับ ถ้าจำไม่ผิดชื่อ ABC in classics นะครับ ออกมาประมาณ4-5ปีแล้วครับ เขียนสนุกมาก จากผมที่ไม่เคยฟังเพลงคลาสสิคเลย ยังต้องไปซื้อแผ่นรวมฮิตมาฟัง จนพอจะพูดจาภาษาคลาสสิคกับเขาได้ ที่นี้พอจะรู้เรื่องบ้างก็พอจะหาซื้อพวกดีวีดี(ของจีน)ซึ่งราคาไม่แพงมาก(ราวแผ่นละสองร้อยบาท)มาฟังและดูได้ ผมว่าฟังเพลงคลาสสิคกับดูคอนเสิร์ทคลาสสิคมันได้อรรถรสคนละอย่างนะครับ ไม่เชื่อลองฟังดู ส่วนคุณเจ้าของความคิดเห็นที่790ถ้าเป็นไปได้ก็เมล์ที่อยู่มาให้ผมนะครับ จะส่งแผ่น The Piano Extravaganza ไปให้ลองฟังครับ อีเมล์ผม thattboแอดจีเมล์.คอม ครับ

อันนี้ของคุณดีเอ็นเอครับ
เรียนคุณหมอ

ต้องขออภัยที่เข้ามาตอบช้าครับ ผมเป็นผู้บริหารอยู่ Broker แห่งหนึ่ง งานค่อนข้างยุ่งพอควร แต่ก็ยังอยากหาเวลามาสื่อกับโลกภายนอก เพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานที่มีอยู่ทุกวี่ทุกวัน

The Piano Extravaganza ผมมีแล้วครับ DVD แม่สาย หรือที่คุณหมอเรียกว่าดีวีดีจีน ผมมีอยู่พอสมควร ไว้ว่างๆ จะทำ lists ออกมา เผื่อคุณหมออยากดูแผ่นไหน จะส่งไปให้ยืมหรือ write แผ่นให้ (....เดี๋ยวว่ากันอีกที)ครับ

ซึ่งชุดนี้มี pianist ที่เป็นขวัญใจผมอยู่ 2 คน คือ

1)Martha Argerich Pianist สาวชาวอาร์เจนไตล์ และเป็นอดีตภรรยาของ conductor ชื่อดัง Charles Dutoit กับ

2)Evgeny Kissin หรือ Child prodigy (เด็กอัจฉริยะ) เชื้อสายรัสเซียนกับผมทรงเท่ห์แบบฟูฟู ซึ่งผมชอบอัลบัมที่แกเล่น Piano sonata ของ Shumann เป็นพิเศษ

สุดยอดทุกเพลงครับ โดยเฉพาะช่วงหลังที่ แจม piano กันถึง 8 หลัง โดยเฉพาะเจ้าหลาง หลาง ตัวแทนชาวเอเซียของเรา ออกลีลาน่ารักเชียวครับ...

ส่วนหนังสือที่คุณหมอแนะนำ ผมเคยอ่านนานมาแล้วครับ แต่ไม่ได้ซื้อเก็บไว้ ตั้งใจจะไปซื้อไว้เหมือนกัน เผื่อลูกชายผมจะชอบอ่านบ้าง

ยังงัยก็แล้วแต่ ต้องขอขอบคุณ คุณหมอที่แสดงน้ำใจมา ณ ที่นี้

อีกอันของคุณดีเอนเอครับ

บ่ายนี้ผมมีเวลานิดหน่อย เลยขอย้อนกลับไปพูดถึง Beethoven Symphony No.9 หรือที่เรารู้จักกันอีกชื่อว่า Choral อีกครั้ง โดยจะขอหยิบเอา Choral บาง version ที่ผมมีพร้อมความคิดเห็นเล็กน้อยจากการสดับฟัง เพื่อเป็นข้อมูลแลกเปลี่ยนกันเล็กน้อยครับ

ขอเริ่มด้วย Choral ใน version ของ Ferenc Fricsay กับ วง Berlin Philharmonic Orchestra (BPO)

อันนี้ก็ถือเป็นแผ่นสุดโปรดที่ฟังค่อนข้างบ่อยอีกแผ่น ว่ากันว่าเป็นหนึ่งในแผ่น Choral ที่ต้องมีสำหรับนักสะสมตัวยง เยี่ยมยอดในแง่พลังการถ่ายทอดทุกสรรพสำเนียงได้อย่างลึกซึ้ง งดงาม รู้สึกได้ถึงความลึกล้ำ เริ่มต้น Movement 1 ได้อย่างสง่าผ่าเผย บันทึกเสียงในปี 1958 โน่นแน่ะครับ จากข้อมูลน่าจะเป็น version แรกที่บันทึกเสียง Choral ในแบบ stereo ส่วน Fricsay เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปี 1963 ด้วยวัยเพียง 48 ปี (….ถ้าท่านยังอยู่ต่อล่ะก้อ Karajan ต้องทำการบ้านหนักขึ้นแน่….แฟน Karajan อย่าว่ากันนะคร๊าบบบบบบบ)

อันนี้อันสุดท้ายครับ(ของคุณดีเอนเอ)

สำหรับผม Bohm ทำอะไรก็เนียนละเมียดไปหมด ชุดนี้เป็น Choral ชุดที่ 2 ที่ Bohm บันทึกเสียงกับ VOP โดยได้ Placido Domingo (ชื่อคุ้นมั้ยละครับ ก้อหนึ่งใน 3 Tenor งัยครับ) มากู่ก้องในโทนเสียง Tenor สไตล์พระเอก (…เนื่องจากเฮียแกมีผลงานเป็นพระเอกจากงาน Opera มากมายหลายชุด) นอกจากนั้นยังมี Jessey Norman ที่คุ้นชื่อกันดี มาเปล่งเสียงในโทน Soprano ชุดนี้ Bohm ค่อยๆ บรรจงให้ดนตรีบรรเลงใน tempo ที่ค่อนข้างช้าแบบค่อยเป็นค่อยไป นุ่มนวลแต่หยั่งได้ถึงการตีความแบบอนุรักษ์นิยมสุดๆ ตามสไตล์ของ Bohm เวลารวมของ version นี้ เลยล่อไปเกือบ 80 min. Bohm ทำงานชุดนี้ก่อนที่ตัวเองจะสิ้นลมหายใจในอีกไม่กี่เดือนถัดมา

อาจงงๆ หน่อย เพราะคุณดีเอ็นเอมีรูปภาพประกอบด้วย ถ้าอยากเห็นก็ลองเ้ข้าไปดูในความเห็นท้าย ๆ ของกระทู้คุณหมอครับนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 68

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

24/09/2010 10:35:17
125
เพลง the ride of valkyrie ถ้าใครอยากฟังเวอร์ชั่นแปลก ๆ (บรรเลยโดยแกรนด์เปียโนแปดตัว) ลองฟังดูจากดีวีดีแผ่นที่ผมเคยแนะนำนะครับ (Piano Extravaganza) ได้อรรถรสไปอีกแบบหนึ่ง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 69

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

24/09/2010 10:46:28
125
หรือหาดูได้จาก youtube ตามลิ้งค์นี้ครับ
http://www.youtube.com/watch?v=EQd2pse-psU
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 70

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

24/09/2010 10:50:42
125
นึกแล้วก็ขำตัวเอง ผมหลงคิดว่า valkyrie เป็น cavalry ที่แปลว่าทหารม้ามาตั้งนาน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 71

Uthen

24/09/2010 11:27:59
17
ผมมี Scottish Chamber Orchestra (SCO) - Beethoven Piano Concertos 3, 4 & 5 (192-24)

ได้มาไม่นานแต่ก็ฟังทุกวันครับ ก็เลยอยากขอคำแนะนำอัลบั้มอื่นๆ ด้วยครับ เริ่มจากฟังง่ายๆ ก่อนก็ได้ครับ และช่วยชี้เป้าแหล่งซื้อแผ่นให้ด้วยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 72

te

24/09/2010 11:48:04
8
ขอบคุณมากครับพี่อ้อ ที่จริงผมชอบงานที่เป็นเครื่องสายทุกประเภทครับ แม้กระทั่งกู่เจิ้งของจีนผมชอบมากเลยครับ
อย่าง vivadi เวลาฟังงานของท่านนี้แล้วมันรู้สึกเบิกบานใจยังไงบอกไม่ถูกครับ เสียงจากเครื่องสายไวโอลินนี่เพราะจริงๆครับ
--------------------

นับถือพี่เต้ครับ...ปกติฟังเพลงของ Vivaldi โดยเฉพาะ Four seasons ฟังไม่เคยจบเพลงเลยครับ...หลับก่อนทุกที.... ^ ^
-------------------
ที่จริงผมก็ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรมากครับวุธ แต่ผมฟังเพลงทุกประเภทครับ แต่เอาเข้าจริงความลึกซึ้งแค่หางอึง
ดนตรีเหมือนยาเสพติดครับ ฟังอันไหนเพราะก็คือเพราะ แม้กระทั้ง HipHop House Dance ทั้งหลาย
เมื่อก่อนสมัยวัยสะรุ่นผมยังเคยประกวดเต้น Brake Dance นึกถึงยังตลกตัวเองเลยครับ 5555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 73

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

24/09/2010 18:06:18
125



วันนี้ค้นหาแผ่นซีดี พอดีไปเจอแผ่นนี้เข้า ไม่รู้เกี่ยวกับเพลงคลาสสิคไหมนะครับ เป็นการบรรเลงเพลงโดยใช้ปากแทนเครื่องดนตรี (Acappella) น่าจะไปหามาลองฟังดูนะครับ มันน่าทึ่งมากพอสมควรเลยทีเดียว วงของไทยก็มีดูเหมือนชื่อวง Acappella 7 ครับ ไม่รู้ว่าตอนนี้ยังรวมตัวเป็นวงอยู่หรือเปล่า ยังไงลองไปหาดูใน youtube นะครับถ้าสนใจ ถ้าอยากได้ดีวีดีก็เมล์มาบอกผมนะครับ จะพยายามไรท์ส่งไปให้เท่าที่เวลาจะอำนวยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 74

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

24/09/2010 18:11:37
125
พอดีลองค้นในเวปดูได้ลิ้งฟังเพลงของวง Acappella 7 เลยเอาเพลงโปรดของผมมาให้ลองฟังดูครับ ที่นี่เลยครับ http://www.365jukebox.com/script/play.cgi?songid=2703#
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 75

Collagen

24/09/2010 22:21:30
4
เรียนคุณหมอครับ...นอกจากเพลงในแนว Acapella ที่มีการใช้จังหวะจากการร้อง (Human beat) ก็ยังมีเพลงในแนวของเพลง Chant ที่แทบจะไม่มีเครื่องดนตรีมาประกอบเลยครับ.... (โดยเฉพาะในยุคแรกๆ ของดนตรีคลาสสิคครับ)....
-----------
เพลง Chant ถือว่าเป็นเพลงตะวันตกยุคแรกๆ (หลังจากอาณาจักรโรมันล่มสลาย) จากการศึกษาของนักโบราณคดี คาดว่าเพลงแนว Chant มีการแต่งขึ้นเป็นครั้งแรกในราว ศตวรรษที่ 8 - 9 โดย นักบุญ Gregory ซึ่ง ดัดแปลงจากบทสวดและเสียงขันของนก (จำไม่ได้ว่าเป็นนกประเภทใด) ซึ่งถือว่าเป็นเสียงศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้า (God) ดังนั้น เพลง Chant ที่ถือว่าเป็น Chant ในยุคแรกๆ จะเรียกว่า Gregorian Chant ครับ ซึ่งเพลงกลุ่มนี้ จะร้องในศาสนพิธี โดยมากจะเป็นคณะบาทหลวงเป็นผู้สวด (ขับร้อง) ในยุคแรกๆ เพลงนี้ใช้การสวด เพียงอย่างเดียว ต่อมามีการใช้เครื่องดนตรี (โดยเฉพาะ Organ) ประกอบ และได้เพิ่มประเภทเครื่องดนตรีในยุคต่อๆ มา แต่บทเพลงในแนวนี้ที่ฟังแล้วให้ความรู้สึก ว่าอยู่ในโบสถ์มากที่สุดก็จะเป็นเพลงที่ร้องเพลงอย่างเดียว และเพลงที่มีการบรรเลง Organ ประกอบ... แนวเสียงของเพลง Chant อย่างที่ผมได้กล่าวไว คือเป็นแนวเสียง Monophonic ดังนั้น Sound Stage จะไม่กว้าง ประกอบกับผู้ร้องโดยมากเป็นบาทหลวง แต่ก็มี แม่ชี และกลุ่มเด็กร้องประกอบด้วย จึงให้แนวเสียง ทุ้มต่ำ แต่หากเป็น กลุ่มแม่ชี หรือเด็กขับร้องเพลงแนวนี้ เสียงก็จะสูง บางครั้งบาดหูด้วยครับ... ซึ่งเพลงเหล่านี้ ถือว่าเป็นกลุ่มของเพลงศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Vocal) ซึ่งใช้ภาษาละตินเป็นเนื้อเพลง (บทสวดภาษาละติน)
--------

โดยเพลง Chant อาจจะจัดอยู่ในกลุ่มของ Monophonic Music หรือ เพลงร้องแนวเดียวครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 76

Deeppix

25/09/2010 00:56:32
0
ยาวไปครับ กำลังเพลินเลย
เอาประวัติมาให้อ่านนี่ทำให้เข้าใจที่มาที่ไปมากขึ้นมาก

ถ้าเป็นไปได้ถ้าคำบางคำเป็นภาษาต่างประเทศที่ไม่คุ้นเคยนี่
อยากให้ช่วยเขียนคำอ่านไว้ให้ด้วยน่ะครับ
เช่น พวกภาษาอิตาลีetc,.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 77

Collagen

25/09/2010 12:07:18
4
ขอบคุณมากครับ พี่ Deeppix สำหรับ ข้อเสนอแนะ....

ผมขอกล่าวแก้ตัวหน่อยๆ ครับ...^ ^

คือศัพท์หลายๆ คำ ผมไม่ทราบเลยว่าอ่านว่าอย่างไร โดยเฉพาะพวกภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และละติน ซึ่งถ้าหากว่าผมใส่คำอ่านเข้าโดยอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือผิดพลาดโดยจงใจ ก็อาจจะทำให้ผู้อ่านนำไปใช้อย่างผิดๆ ได้ครับ.....

ขอบคุณมากๆ ครับ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 78

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

25/09/2010 18:21:57
125
เมื่อคืนเอามาลองดูอีกรอบแล้ว เป็นนักร้องชาวฝรั่งเศสหกคน ใช้เสียงของตัวเองออกเสียงร้องและเสียงประสาน ฟังแล้วก็น่าสนใจดี เพียงแต่เป็นภาษาฝรั่งเศสทั้งแผ่นเลยครับ เลยฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง(มีพื้นฐานภาษาฝรั่งเศสบ้างแต่ไม่ได้ใช้มาหลายสิบปีเลยลืมหมดแล้วครับ) แต่ฟังนาน ๆ เมื่อยหูเหมือนกันครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 79

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

26/09/2010 11:36:09
125
อ้า......ไม่มีใครมาเสนอความคิดเห็นเพิ่มบ้างเลยหรือครับนี่ ดัน.....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 80

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

26/09/2010 19:31:54
125
ดันอีกทีครับ......
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 81

figaro

26/09/2010 19:47:04
0
ได้ข่าวมา : http://trisdee.wordpress.com/

จริงเท็จแค่ไหนครับ : บัณฑิต อึ้งรังษี กับ ซีดีเจ้าปัญหา

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 82

Collagen

26/09/2010 20:40:37
4
อ่านแล้ว อึ้ง.... เลยครับ คุณหมอ ไม่อยากเชื่ออย่างแรงครับ.....

ผมรู้สึกว่ากระทู้เงียบๆ เนื่องจากช่วงวันหยุดด้วยกระมังครับ (อีกอย่างดนตรีคลาสสิคอาจจะดึงดูดกลุ่มผู้ฟังได้ยากครับ... ^ ^)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 83

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

27/09/2010 06:37:19
125
โลภ โกรธ หลง มันไม่เข้าใครออกใคร ต้องทำจิตให้นิ่งเสียก่อน ผมค่อนข้างแน่ใจว่าผมเอาชนะตัวแรกได้บ้างแล้ว แต่ตัวที่สองและที่สามนี่สิ ยังไม่เคยเอาชนะมันได้เลยสักหน......เฮ้อ!!!!
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 84

DNA

27/09/2010 17:02:29
0
คุณ Tanan ครับ

พอดีผมมีแต่แผ่น D5 รบกวนส่ง D9 ให้ผม 1 แผ่นที่

ชัยฤทธิ์ ปวีณเมธา
989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 15
ถ. พระราม 1 เขตปทุมวัน แขวงปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330

สำหรับ DVD-The tribute to Carmen ครับ

รบกวนแจ้งที่อยู่จัดส่งกลับให้ด้วยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 85

DNA

27/09/2010 18:54:28
0



Weekend ที่ผ่านมา ผมไม่มีโอกาสเข้า net เลยครับ เนื่องด้วยทุกเสาร์-อาทิตย์ ต้องกลับไปอยู่บ้านแถบบางบัวทอง ส่วนวันทำงานจะพักในเมือง ซึ่งที่บ้านไม่ได้ต่อ net ไว้เพราะอยู่แค่สองวัน ส่วนใหญ่มักจะขลุกกับ Vinyl ที่สะสมไว้แล้วก็เพลงคลาสสิค เสียส่วนใหญ่ เลยไม่ได้ค่อยได้มาแจมในกระทู้ กลับเข้ามาอ่านอีกที มีข้อมูลดีๆ เต็มไปด้วยสาระมากมาย

คุณ Collagen ครับ

งาน Requiem ของ Mozart เป็นงานที่ผมยังไม่ได้เริ่มสะสมในรูปแบบซีดีสักที เนื่องจากว่า ยังไม่สามารถ concentrate กับการฟังงานชิ้นนี้ตั้งแต่ต้นจนจบได้ เพราะหลับทุกที ที่มีอยู่ปัจจุบัน เป็น DVD ที่ Karl Bohm กำกับ Vienna Symphony Orchestra (คนละวงกับ Vienna Philharmonic Orchestra หรือ VOP นะครับ) และ Vienna State Opera Chorus บันทึกเมื่อ December 1971 ในช่วงบั้นปลายชีวิตของ Bohm ซึ่งก่อนหน้านั้น Bohm เคยบันทึกงาน Requiem 2 ครั้งในปี 1956 กับค่าย Philips และอีกครั้งในปี 1970 กับค่าย DG (ว่ากันว่า Bohm กับงานของ Mozart ถือเป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร เพราะ Bohm นั้นแตกฉานงานสาย Mozart พอสมควร)

โดยส่วนตัว ยอมรับครับว่าดู DVD แผ่นนี้แล้วหดหู่ บรรยากาศเศร้ามากๆ สมกับเป็นเพลงที่ใช้ประกอบพิธีกรรมงานศพ ตามที่คุณ Collagen กล่าวไว้ในกระทู้ก่อนหน้า ผมเองยังไม่สามารถเข้าถึงแก่นแท้ของบทเพลงได้ เป็นอันต้องหลับทุกครั้ง เลยขอ drop ไว้ก่อนสำหรับงานชิ้นนี้ ปัจจุบัน ผมจะสะสมงานของ Mozart เฉพาะ ซิมโฟนี เบอร์ดัง เช่น

- No. 35 (Haffner)
- No. 36 (Linz)
- No. 38 (Prague)
- No. 40
- No. 41 (Jupiter)

นอกจากนั้นยังเน้นสะสมงานประเภท Piano Concerto และ Sonata ที่มีหลายเบอร์ที่น่าสนใจให้เลือกฟัง ซึ่งหากมีโอกาสคงได้กล่าวถึงอีกทีครับ

อย่างไรก็ตาม ผมเองยังตั้งใจว่า อยากจะเก็บงาน Requiem สักแผ่น มีใครช่วยแนะนำแผ่น Requiem อัดเสียงดีๆ ที่ฟังแล้วไม่หลับ รบกวนช่วยบอกด้วยนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 86

Collagen

27/09/2010 19:13:56
4
ผมขออนุญาต เรียก พี่ DNA นะครับ...
เพลง Requiem ของ Mozart ผมก็ยังไม่สามารถหาได้ครบครับ ผมมีเป็น MP3 ท่อนเดียวเองครับ... แต่ ถ้าของ Faure หรือ Durufle ก็มีอขง EMI Record อยู่ครับ....

ส่วนสายทางด้านเพลงของ Mozart ผมไม่ค่อยสันทัดเท่าใดครับ เนื่องจากว่าไม่ค่อยได้ฟัง (หรืออีกนัยหนึ่ง อาจจะไม่ค่อยชอบด้วยกระมังครับ)

ท้ายนี้ผมขอขอบคุณพี่ DNA มากครับ สำหรับข้อมูลเพลงในส่วนของ Mozart ครับ....

ตอนนี้ผมก็คงต้องจมกับการทำรายงานต่อครับ.... ถ้าหากว่ามีโอกาสก็จะลองหาโอกาสไปร้านขาย CD เพลง ดูครับ เผื่อว่าจะได้ Requiem ติดมือกลับมาบ้างครับ...

ปล. ผมมีแผ่นชุดผลงานเพลงจากการกำกับของ Bohm ครับ ในชุดของ Quardromania ซึ่ง...บันทึกเสียงเมื่อนานมาแล้ว และเปิดที Noise เพียบเลยครับ.... ถ้าหากว่ามีโอกาสจะลองตั้งใจฟังอีกครั้งหนึ่งครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 87

Collagen

27/09/2010 19:27:04
4
ขอแก้ไข ข้อมูลใน Post ที่แล้วครับ...คือ จากที่ผมลองค้นๆ ไฟล์ที่ rip มาใส่ใน External Harddisk ดูครับ ในส่วนของ Requiem ของ Mozart (ตามที่ปกอัลบั้มได้อ้างอิง) ผมมีอยู่ 12 ท่อน ครับ คือ
1. Inroitus-Kyrie-Requiem
2. Sequenz_Dies-Irae
3. Tuba Mirum
4. Rex Tremendae
5. Ricordare
6. Confutatis
7. Lacrimosa
8. Offertorium Domine - Jesu Christ
9. Hostias
10. Santus
11. Benedictus
12. Agnus Dei

ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า ทั้ง 12 ท่อนนี้เป็นส่วนของเพลงในชุด Requiem ด้วยหรือไม่ครับ นอกจากนี้เพลงทั้ง 12 ท่อนนี้ บันทึกเสียงในปี 1939 (กว่า 70 ปีมาแล้ว) ซึ่งคุณภาพเสียงก็ไม่ค่อยจะดีนัก (ทั้งเสียงดนตรีและเสียงร้อง) ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 88

สมัครเล่น

27/09/2010 20:31:48
0



Requiem มีการตีความของ norrington
ผมฟังแล้วก็น่าสนใจดีครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 89

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

28/09/2010 08:24:44
125
Requiem นี่ถือเป็นยาขมหม้อใหญ่ของผมเลยทีเดียวเชียวครับ ไม่กล้าฟัง กลัวว่าจะเลิกฟังเพลงคลาสสิคไปเลย(ทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยจะได้ฟังอยู่แล้ว ตอนนี้ฟังแต่เพลง Vocal ของนักร้องจีน ซึ่งคุณชิมใส่ไว้ในเครื่องไอพ็อดทีซื้อต่อจากแกมา อัดดีมากมายครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 90

DNA

28/09/2010 17:20:55
0



จากที่คุณหมอถามไว้ใน คคห.66 ว่า

....ในดีวีดีชุดนี้ (A Tribute To Carmen) นอกจากจะมีนักไวโอลินชื่อดังตามที่คุณดีเอนเอกล่าวขวัญถึงอย่างละเอียด(ถึงกึ๋น)ไปแล้ว ยังมีนักเปียนโนชาวรัสเซีย(หรือเปล่าหว่า)อีกคน ที่เล่นเพลง Rhapsody in the Theme of Paganini ของรัคมานินอฟ คอมโพเซอร์คนโปรดของผม(ยาวยี่สิบนาที) คนนี้ก็น่าดูครับ คุณดีเอนเอถ้ารู้ข้อมูลกรุณาขยายต่อด้วยครับ เปียนนิสคนนี้ก็อยู่ในดีวีดีชุด Piano extravagenza ด้วยครับ

------------------

ต้องขออภัยที่มาตอบคุณหมอช้าไปนิด

Pianist ท่านนี้ คือ Pletnev หรือชื่อเต็มๆ ว่า Mikhail Vasilievich Pletnev เป็นนักเปียนโนสัญชาติรัสเซียตามที่คุณหมอว่าครับ

Pletnev เริ่มต้นมีชื่อเสียงโด่งดังจากการบันทึกเสียงผลงานในตระกูล Russian works เป็นหลัก เช่น Piano Concerto และ Rhapsody in the Theme of Paganini (ที่คุณหมอชอบ) ของ Rachmaninov, Pictures at an exhibition (Piano version) ของ Mussorgsky, Piano concerto ของ Prokofiev เป็นต้น ต่อมาจึงเริ่มบันทึกเสียงงานในยุคบาโรค, คลาสสิค และ โรแมนติค ได้แก่ Beethoven, Mozart, Bach, Chopin, Schumann, Scarlatti … ตามมาในภายหลัง เท่าที่ผมค้นหาข้อมูล Pletnev ไม่ยักจะมีงานสาย Brahms ออกมา โดยเฉพาะ Piano Concerto ทั้ง 2 เบอร์ ที่ผมชอบมากๆ เอ......หรือว่า Pletnev แกไม่ถนัดงานของ Brahms กระมัง

ปี 1990 Pletnev อยากลองของยกระดับตัวเองเป็น conductor โดยเริ่มร่วมงานกับวง Russian National Orchestra และเริ่มบันทึกเสียงในรูปแบบ CD โดยเริ่มจากงานของ Tchaikovsky ในบทเพลงที่คุ้นหูกันดี อาทิ The Sleeping Beauty, Swan Lake, The Nutcracker, Symphony No.6 (Pathetique), Manfred Symphony, ปี 2007 กับงาน Beethoven Symphonies แบบ complete ทั้ง 9 เบอร์กับค่าย DG เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Pletnev ก็ไม่ได้ละทิ้งการบันทึกเสียงงานด้าน Piano โดยยังคงมีผลงานอยู่เรื่อยๆ ในปีเดียวกัน (2007) Pletnev มีผลงาน Beethoven Piano Concerto แบบ complete ทั้ง 5 เบอร์ เป็นครั้งแรก กับวง Russian National Orchestra โดยมี Christian Gansch เป็น conductor ซึ่งผมเองก็ว่าจะหางานชุดนี้มาฟังอยู่เหมือนกันครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 91

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

28/09/2010 18:56:58
125
โหย.....ห้องสมุดชัด ๆ คุณดีเอนเอนี่......ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 92

DNA

28/09/2010 19:55:51
0



มิบังอาจครับ คุณหมอ ตอบได้เท่าที่พอรู้ครับ....

เห็นคุณหมอพูดถึงยาขมหม้อใหญ่ (Requiem ของ Mozart) อดนึกยาขมอีกหม้อเบ้งๆ อีกใบ ที่ต่อให้ผมปีนบันไดฟังแล้ว ยังเข้าไม่ถึงสักที ผมหมายถึงงาน Symphony 9 เบอร์ของ Anton Bruckner น่ะครับ ผมมีอันต้องหลับทุกเบอร์ หลับทุกรอบ ที่ฟังเลยครับ

Bruckner-คนซื่อ คือฉายาที่ท่านได้รับ เป็นคนที่มีความเป็นอยู่เรียบง่าย ถ่อมเนื้อถ่อมตัว มักจะแต่งตัวง่ายๆ ไม่พิถีพิถัน ไว้ผมเกือบจะเป็น skin head แต่เทิดทูน Wagner อย่างยิ่ง ว่ากันว่า เมื่อครั้งที่ได้พบกัน Wagner ยื่นมือมาให้ Bruckner จับ แต่ Bruckner ดีใจมากจนต้องคุกเข่าลงพร้อมจูบมือ ซึ่งแสดงถึงความเคารพในตัว Wagner เป็นอย่างสูงครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 93

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

28/09/2010 20:31:09
125
ชอบ ๆ ครับคุณดีเอ็นเอ เอาอีก ๆ ครับ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยนี่อ่านสนุกครั
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 94

Collagen

28/09/2010 20:52:53
4
สวัสดีครับ คุณหมอและคุณ DNA ครับ..... ถ้าพูดถึงยาขมแล้ว...เพลงคลาสสิคโดยมากก็ยาขมสำหรับผมเลยครับ มีหลายเพลงที่ไม่ว่าฟังกี่รอบก็หลับตลอด หรือไม่ค่อยเข้าใจในความลึกซึ้ง จนผมต้องกดเปลี่ยนเพลงไปเลยก็มีครับ...
------------------
ในส่วนของเพลง Rhapsody in the Theme of Paganini ผมก็ขอยกมากล่าว นิดๆ ครับ...

เพลงนี้เป็นเพลงชนิด Fantasy สำหรับ Piano กับวงดนตรีในแบบ Variation โดยอาศัยทำนองเพลงของ Nicolo Paganini (นักไวโอลินชาวอิตาลี) เพลง Rhapsody on a theme of Paganini ได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่เมือง Baltimore ในประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน 1934 โดยวง Philadelphia ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างงดงาน และเพลงนี้ยังเป็นที่นิยมจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

เพลงนี้เครื่องดนตรีหลักเป็น Piano เล่นกับวง Orchestra โทนเสียง นอกจาก Piano ก็จะมีพวกเครื่องสายและเครื่องเป่าอยู่บ้างแต่ไม่เด่นเท่า Piano ซึ่งเป็นลักษณะของเพลงของ Rachmaninoff กล่าวคือ เพลงของ Rachmaninoff มีอยู่ลักษณะเดียวคือ Piano Concerto in C Minor แต่ผลงานเพลงในช่วแรกๆ มีโทนหลากหลาย เช่น Symphony in D Minor ซึ่งได้รับคำวิจารณ์แย่ๆ จนทำให้ Rachmaninoff หมดกำลังใจ แทบจะหันหลังให้กับการแต่งเพลง แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาเพื่อนๆ ญาติ ของ Rachmaninoff ได้เชิญ Dr. Nikoli Dahl ซึ่งเป็นผู้ชำนาญด้านจิตวิทยา ทำการรักษา Rachmaninoff โดยการสะกดจิต ซึ่งทำให้ Rachmaninoff กลับมามีความเชื่อมั้นในการแต่งเพลงอีกครั้ง โดยผลงานชิ้นแรกหลังจากการรักษาคือ Piano Concerto No. 2 in C Minor, Op. 18 เพลงนี้ นำออกเล่นครั้งแรกที่กรุง Moscow ซึ่งได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ต่อมาได้เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ซึ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์ เป็นระบอบคอมมิวนิสต์ทำให้ Rachmaninoff ต้องหนีภัยไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยผลงานเด่นในช่วงนี้ได้แก่ Piano Concerto No.4, Varaitions on a theme of Corell และ Rhapsody on a Theme of Paganini (โม้ประวัติ ยาวไปนิด)
จังหวะของเพลงนี้มีทั้งเร็ว-ช้าสลับกันไปและให้ห้วงอารมณ์ที่หลากหลาย ทั้งความรัก ความห่วงหาอาทร ความคิดถึง ความสมหวัง ซึ่งเป็นรูปแบบของดนตรีแนว Fantasy และ Variations ที่สื่ออารมณ์อย่างหลากหลายครับ...

ปล. ผมสงสัยว่า กระทู้นี้จะกลายเป็นแบบห้องสมุดแล้วหละครับ เงียบๆ อัดแน่นๆ ครับ ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 95

นายมั่นคง

28/09/2010 21:20:42
4,294
โอว นี่ถ้าคอคลาสสิคเข้ามาอ่าน มีหวังติดหนึบทุกคนเลยครับคุณ DNA 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 96

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

28/09/2010 21:38:38
125



พูดถึงเพลง Rhapsody in the Theme of Paganini นี้แล้ว ตอนผมฟังครั้งแรกไม่ได้ฟังจากแผ่นเพลงคลาสสิคครับ แต่ฟังจากแผ่นนี้ครับ (ตอนต้นเพลงฟังคล้าย ๆเพลงแขกแต่ลงท้าย โรแมนติคสุด ๆ) ผมมีดีวีดีด้วย(แต่ยังหาไม่เจอ...) แผ่นนี้เป็นงานของคุณเม็กซิมตามภาพข้างบน ตะแกดูเหมือนจะเป็นชาวโครเอเทีย(มั๊ง) เคยอ่านประวัติของตะแกแล้วทึ่ง เพราะฝึกฝนเปียนโนท่ามกลางเสียงปืนและระเบิด!!!! แต่ดูจากดีวีดีแล้ว แกเล่นเปียนโนเก่งสุด ๆ ในดีวีดีซึ่งเป็นการแสดงครั้งแรกของคุณแม็กซิมนี้ มีเพลงเพราะ ๆ หลายเพลงรวมทั้งเพลง Rhapsody in the Theme of Paganini ที่กล่าวถึงตอนต้นด้วย เพลงที่ผมชอบมากในนี้คือ Hungarian Rhapsody no2 ฟังแล้วคิดถึงเพลงประกอบในหนังการ์ตูน ทอมกับเจอรี่เลยครับ เอาไว้ผมหาต้นฉบับ(จีน)เจอแล้วจะมาบอกไว้เผื่อมีใครอยากฟังจะได้ไรท์ส่งไปให้(ไ่ม่ได้ขายคงไม่ผิดกฎหมายสิทธิบัตรนะครับ) อนึ่ง คุณแม็กซิมแกไม่ใช่นักดนตรีคลาสสิค(แกว่าของแกอย่างนั้น) เพราะตะแกแต่งตัวเหมือนพวก Heavy Metal มากกว่าครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 97

We Are Kamilia

28/09/2010 21:58:26
0
มาเฝ้าก็นานและแต่ไม่รุจะพิมพ์อะไร

คือถ้าจะเริ่มฟังนี้น่าจะเริ่มที่ไหนอะครับ ที่ฟังแล้วไม่อึดอัด ไม่ลุ้น ไม่เหนื่อยอะครับคือแบบว่าฟังแล้วเพลิน คืออีกอย่างจริงๆๆคือผมฟังเพลงเพราะหลีกหนีโลกภายนอกในบางเวลาอะครับ

แล้วก็มาทำดีประจบอาหมอ เพื่ออาหมอจะปล่อยFi3ไห้
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 98

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

28/09/2010 22:06:41
125
Fi3 นี่ตั้งแต่ได้มายังไม่เคยฟังจนจบเพลงสักครั้งเดียวเลย เชื่อไหมครับ สนใจแผ่นคุณแม็กซิมไหม ถ้าหาเจอแล้วจะไรท์ส่งไปให้(อาจแถม Fi3 ไปด้วยเลย!!!)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 99

We Are Kamilia

28/09/2010 22:33:37
0
เหอะๆๆ เหมือนจะดีเลยแหะ

อาหมอครับคือมีเรื่องจะถามนิดหน่อย คือหูผมฟังสองข้างได้ยินเท่ากันนะครับ สลับกันฟังก็น่าจะได้ยินเท่ากัน แต่มันมีปัญหาคือเวลาฟังสองหูพร้อมกันเหมือนหูขวาจะได้ยินดีกว่าหูช้ายเหมือนเป็นเสียงประกอบ คือโฟกัสของเสียงมันไปอยู่ที่หูขวาอะครับ ทั้งๆๆที่หูก็ดังเท่ากัน เป็นเพราะตรรกะหรือผมน่าจะมีปัญหาอะไรป่าวอะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 100

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

28/09/2010 22:43:18
125
อาหมอครับคือมีเรื่องจะถามนิดหน่อย คือหูผมฟังสองข้างได้ยินเท่ากันนะครับ สลับกันฟังก็น่าจะได้ยินเท่ากัน แต่มันมีปัญหาคือเวลาฟังสองหูพร้อมกันเหมือนหูขวาจะได้ยินดีกว่าหูช้ายเหมือนเป็นเสียงประกอบ คือโฟกัสของเสียงมันไปอยู่ที่หูขวาอะครับ ทั้งๆๆที่หูก็ดังเท่ากัน เป็นเพราะตรรกะหรือผมน่าจะมีปัญหาอะไรป่าวอะครับ
--------------------------------------------------------------
อันนี้คงต้องมาตรวจดูละครับ ว่าหูและการได้ยินมีอะไรผิดปกติหรือเปล่าครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 101

Collagen

28/09/2010 22:50:28
4
คือถ้าจะเริ่มฟังนี้น่าจะเริ่มที่ไหนอะครับ ที่ฟังแล้วไม่อึดอัด ไม่ลุ้น ไม่เหนื่อยอะครับคือแบบว่าฟังแล้วเพลิน คืออีกอย่างจริงๆๆคือผมฟังเพลงเพราะหลีกหนีโลกภายนอกในบางเวลาอะครับ
---------------------

ขออนุญาตตอบแทนคุณหมอนะครับ ถ้าจะลองฟัง แนวๆ ตามที่กล่าวมาก็น่าจะลองฟังเพลงของ Bach ดูครับ จังหวะพริ้วๆ เรื่อยๆ ครับ ฟังสบายๆ เรื่อยๆ ครับ....

อย่างเช่น Prelude in C Major BVW 846 ครับ...



หรือไม่ก็เพลง Traumerei ของ Schumann ครับ... (บรรเลงดดย Lang Lang ครับ ^ ^)

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=dKZJWePidEo[/youtube]
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 102

DNA

29/09/2010 11:43:16
0



เห็นคุณ Collagen พูดถึง Traumerei ของ Schumann

ผมนึกถึงหนังเกาหลีเรื่องหนึ่ง ชื่อ MY PIANO : วัยน่ารัก อัจฉริยะดนตรี ออกประมาณปี 2551 โดยมีเพลง Traumerei ของ Schumann เป็น theme เด่นของเรื่อง ปกติผมจะเฉยๆ กับหนังแดนโสม แต่เรื่องนี้ มีผู้ปกครองที่โรงเรียนที่ลูกชายผมเรียน piano แกเล่น write แจกและแนะนำให้ผมดูพร้อมลูก ดูจากปกเหมือนว่าหนังน่ารักคิขุ แต่ปรากฏว่า เนื้อเรื่องงดงามมาก เนื้อหากินใจ เศร้าพอควร พร้อมเพลงประกอบไพเราะ ตอนจบซึ้งมีน้ำตาปริ่ม

เนื้อเรื่องย่อ (ดัดแปลงเพิ่มเติมจาก Boomerang.co.th)…

คิม จิ-ซู สาวโสดวัย 31 มีปมด้อยเพราะไม่อาจสานฝันที่จะเป็นนักเปียนโนที่โด่งดัง เหมือน Vladimia Horowitz วลาดิมีร์ โฮโรวิตซ ได้ เธอจึงเปิดสตูดิโอสอนเปียนโนในเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง ต่อมามีเด็กชายกำพร้าแปลกหน้า ชื่อ ยุน กุง-มิน แอบเข้ามาก่อกวนการสอนของเธอ สร้างความรำคาญ แต่วันหนึ่งเธอกลับค้นพบโดยบังเอิญว่า กุง-มิน นั้นเป็นอัจฉริยะด้านดนตรี สามารถเล่นเพลงที่มีโน๊ตเขบ็ต 6 ชั้นได้ในเวลาอันสั้น เธอจึงเริ่มก่อความใฝ่ฝันใหม่ที่จะได้โด่งดังในฐานะครูผู้ค้นพบเพชรเม็ดงาม ทว่า กุง-มิน เป็นเด็กที่มีแผลเป็นในใจ เขาไม่อาจทำตามความคาดหวังของครูผู้กระตือรือร้นของเขาได้รวดเร็วทันใจ ขณะเดียวกัน จิ-ซู ก็เริ่มไม่มั่นใจในการสอนเด็กอัจฉริยะในวัยนี้ กุง-มิน จึงต้องย้ายไปเรียนในสถาบันที่มีชื่อในต่างประเทศ ทำให้ทั้งสองต้องพลัดพรากจากกัน ตอนจบของเรื่อง ทั้งสองได้พบกัน ตอนที่ กุง-มิน ในวัยหนุ่มกลับมาแสดง concert ที่ จิ-ซู ตั้งใจมาชมศิษย์รัก แสดงเพลง Piano Concerto ของ Rachmaninov สร้างความประทับใจในท้ายเรื่องอย่างยิ่ง

ดูหนังเรื่องนี้เสร็จ อยากเล่น Traumerei ของ Schumann เลยลองหาโน้ตมาหัดเล่นดู เล่นไป 10 กว่าห้อง ไม่จบสักที ยากเหมือนกัน เพราะผมเพิ่งหัดเล่นเปียนโน ปกติจะเล่น Guitar solo เป็นหลัก ตั้งใจว่าวันนึงต้องเล่นเพลงนี้ให้จบให้ได้ครับ.....

เสียดายที่เรื่องนี้ out of stock ไม่มีขายที่ Boomerang แต่ผมมีแผ่น write เก็บไว้ หากคุณ Collagen หรือคุณหมอ สนใจ ยินดีจัดให้ครับ.....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 103

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

29/09/2010 11:47:24
125
และก็เป็นจริงดังคาด หลังจากปรึกษาลุงกู(เกิ้ล)ของผมแล้วก็ได้ลิ้งค์เพลง Hungarian Rhapsody no2 ที่ประกอบหนังการ์ตูนเรื่อง Tom and Jerry ที่ผมเคยดูตั้งแต่ยังอยู่ชั้นประถมจริง ๆ ครับ http://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&cd=3&ved=0CB4QtwIwAg&url=http%3A%2F%2Fwww.metacafe.com%2Fwatch%2F2162208%2Ftom_jerry_hungarian_rhapsody_no_2_liszt%2F&ei=hMGiTPOSHofsvQPksK3qAw&usg=AFQjCNE_MsbI6-JkhHJNVm8N6amorjty-w
อันนี้ของคุณแม็กซิมครับ ลองดูนะครับว่ามันพริ้วแค่ีไหน(ผมหมายถึงนิ้วมือแกน่ะครับ)
http://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&cd=2&ved=0CBsQtwIwAQ&url=http%3A%2F%2Fwww.youtube.com%2Fwatch%3Fv%3DbyGI1mDi3no&ei=hMGiTPOSHofsvQPksK3qAw&usg=AFQjCNGr7q5eekT7G0Z4duS4sRXr4s3XwQ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 104

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

29/09/2010 11:56:17
125
เรียนคุณดีเอนเอ ผมน่ะสนใจอยู่แล้วครับ ไรท์เตรียมไว้ได้เลยครับ แต่อย่าพึ่งส่งมาครับ มันเปลืองค่าส่ง เอาไว้ครบสักสิบแผ่นค่อยส่งก็ได้ครับ ผมเป็นคนใจเย็น (ครบสิบแผ่นในที่นี้ผมมองการณ์ไกลไปว่า คุณดีเอนเออาจจะมีอะไรดีดีมาเสนออีก ถ้าส่งแล้วส่งอีก เปลืองค่าส่งแย่ เกรงใจครับ.....)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 105

Collagen

29/09/2010 12:40:44
4
เรียนคุณ DNA ครับ.... เรื่องแผ่น เดี๋ยวผมไปขอไรท์ต่อจากคุณหมอก็ได้ครับ...^ ^ (ผมไม่รีบครับ)

เห็นคุณหมอพูดถึง Tom & Jerry แล้ว ในการ์ตูนเรื่องนี้ยังมีเพลงคลาสสิคหลายๆ เพลง ที่ดีๆ เลยครับ จากที่คุณหมอได้แนะนำเพลง Hungarian Rhapsody No. 2 ของ Liszt ในการ์ตูนเรื่องนี้ ผมก็ขอแนะนำเพลงในชุด Carmen ของ Bizet ครับ....



ส่วนของรายละเอียดเพลงในชุดของ Carmen ก็มีแค่ Intermezzo ครับ
Intermezzo จากอุปรากรชุด Carmen Suite No. 1 (อุปรากร Carmen มี 2 ชุด) ของ George Bizet หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Alexandre César Léopold Bizet ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส ผลงานอุปรากร (หรือที่เรียกว่า Opera) นี้เป็นเรื่องของความรักที่เป็นโศกนาฏกรรมของหญิงชาวยิปซี (Gypsy) ที่ชื่อ Carmen กับนายทหารชาวสเปนชื่อ Don José แต่ในตอนท้าย Carmen ได้ทิ้งนายทหาร Don José เพื่อไปหานักสู้วัวกระทิงนาม Escamillo ซึ่งอ้างอิงบนพื้นฐานของนวนิยายของ Prosper Mérimée โดยอุปรากรเรื่องนี้ แต่งเสร็จในปี 1875 แต่เป้นที่น่าเสียดายที่ อุปรากรเรื่องนี้กว่าจะเป็นที่ยอมรับ ทาง Bizet ก็ลาโลกไปเสียแล้ว ในส่วนของเพลงนั้นฟังแล้วรู้สึกเย็นๆ ใจและพลิ้วไหวในท่วงทำนองเบาๆ และเปิดโล่ง ซึ่งผู้ฟังจะเคลิ้มไปตามท่วงทำนองที่ให้ความรู้สึกเปิดโล่งและเย็นใจได้ดีเลยครับ และแนวเสียงของเพลงนี้ เครื่องดนตรีหลักจะเป็นขลุ่ยฟลู้ต (Flute) และขลุ่ยพิคโคโล (Piccolo) เป็นเครื่องดนตรีนำ ซึ่งให้เสียงที่ค่อนข้างสูงครับแต่ก็ไม่เสียดหูจนเกินไปครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 106

Collagen

29/09/2010 13:06:52
4
แล้วก็ขอต่ออีกตอนครับ...ตอนนี้เกี่ยวกับ Johann Strauss ครับ.... มีเพลงจังหวะ Waltz ประกอบ แต่ผมไม่แน่ใจว่ามีเพลงอะไรบ้างครับ



เมื่อพูดถึง Johann Strauss ก็ต้องนึกถึงเพลง Blue Danube ครับ

เพลงนี้ Strauss ผู้ลูกได้แต่งขึ้น และถือว่าเป็นเพลงในจังหวะ Waltz ที่โด่งดังที่สุดเพลงหนึ่ง เพลงนี้ ก็ให้ท่วงนำนองที่เรื่อยๆ เฉกเช่นแม่น้ำ Danube ที่ไหลผ่านกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยแม่น้ำ Danube เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรป เพลงนี้ได้นำแสดงเป็นครั้งแรกในปี 1867 ซึ่งประสบความล้มเหลวอย่างงดงาม แรงบันดาลใจของ Strauss ในการแต่งเพลงนี้ได้มาจากบทกวีของ คาร์ล อิชิดอร์เบ็ค ซึ่งในบรรทัดหนึ่งได้ระบุไว้ว่า ริิมแม่น้ำ Danube แม่น้ำ Danube อันงดงาม"
การเริ่มต้นของเพลงเริ่มต้นด้วยเสียงเบาๆ ซึ่งเป็นการเปิดฉากของเพลง Symphony มากกว่าเพลง Waltz ซึ่งผู้ฟังจะได้รู้สึกถึงสายน้ำไหลและไหลต่อไปด้วยทำนองของดนตรี โดยเพลงนี้ก่อให้เกิดความประทับใจอย่างสุดซึ้งต่อแม่น้ำ Danube ถึงแม้ว่าสายน้ำในแม่น้ำ Danube จะมีสีน้ำตาลปนเทา แต่ความสวยงานที่ได้บรรเลงในเพลง Blue Danube นี้แล้วแสดงให้เห็นถึงความสุดยอดในการแต่งเพลงของ Johann Strauss ...
เพลงนี้ ส่วนมากจะใช้ในงานเต้นรำ ซึ่งให้จังหวะที่กลางๆ ซึ่งเริ่มต้นเพลงจะเน้นในส่วนของเครื่องเป่า และเครื่องสาย จากนั้นมีเครื่องตี (พวกกลอง) ประกอบจังหวะบ้าง โทนเสียง ก็อยู่ในแนวกลางๆ ไม่แหลมจนแสบหู และไม่ทุ้มตำมากนัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวาของแม่น้ำ Danube และกรุงเวียนนา ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 107

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

29/09/2010 14:29:35
125
"เพลงนี้ได้นำแสดงเป็นครั้งแรกในปี 1867 ซึ่งประสบความล้มเหลวอย่างงดงาม" ผมงงกับคำว่า"ล้มเหลวอย่างงดงาม" ครับคุณวุฒิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 108

We Are Kamilia

29/09/2010 15:41:28
0
เพลง Waltz นี่หมายถึงเพลงที่เล่นยังไงก็วนมาที่เดิมรึเปล่าอะครับ พอดีมันรู้สึกคุ้นคำคำนี้

ส่วนเรื่องหาหมอคงยากและครับ บ้านผมเป็นโรคกลัวหมอกันทั้งบ้าน

แล้วเรื่องFi3 ถ้าอาหมอเบื่อก็ติดต่อผมหน่อยละกันครับ พูดตรงๆๆคือผมอ่านแล้วไม่รู้อาหมอทีเล่นหรือทีจริงอะครับ (จริงๆๆก็แอบหวังและ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 109

DNA

29/09/2010 16:42:09
0
เรียนคุณหมอ
ผมลองค้นข้อมูลดู ยืนยันว่าการแสดงเพลง The Blue Danube ครั้งแรกนั้นประสบความล้มเหลวจริงตามที่คุณ Collagen กล่าวไว้ครับ แต่ใช้คำว่า \"น่าประหลาดใจที่การแสดงนั้นประสบความล้มเหลวอย่างไม่น่าเชื่อโดยสิ้นเชิง\" ครับ

-------------------------------------

ตอบคุณ We Are Kamillia

เพลง Waltz เป็นเพลงที่มีจังหวะโยนตัวสามจังหวะ ต่างจากเพลงทั่วไปที่มักใช้ Time Signature สี่จังหวะต่อ 1 ห้อง ง่ายสุดเลย ลองนึกถึงเพลงนางฟ้าจำแลงที่ร้องว่า "โฉมเอย โฉมงาม อร่ามแท้ แลตะลึง..." ของครูเอื้อสุนทราภรณ์ แล้วลองตบเท้านับจังหวะ 123 123 123 มันจะลงตัวพอดี นั่นแหละครับเป็นโครงสร้างของเพลง Waltz

เพลง Waltz นั้น มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณแถบป่าเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นที่พักคนเดินทาง ตั้งอยู่บนไหล่เขา ซึ่งแหล่งดังกล่าว จะมีคนมาชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนชั้นสูง และเชื้อพระวงศ์ ที่มักจะปะปนกับคนธรรมดา เพื่อมาลองชิมไวน์ที่ออกใหม่ๆ ทีนี้ก็จะมีกลุ่มนักดนตรีอาชีพ เดินทางมาแวะพักที่นี่ แล้วก็เลยถือโอกาสเล่นเพลงแนวชนบทของออสเตรีย ที่เรียกว่า Landler ให้คนที่นี่เต้นรำกัน อันเป็นที่มาของเพลง Waltz ซึ่ง โจฮันน์ สเทราสส์ (ผู้พ่อ) ก็เติบโตที่นี่ตั้งแต่วัยเด็ก และครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของที่พักสำหรับคนเดินทางเล็กๆ แห่งหนึ่งในแถบนี้ด้วย จึงทำให้ สเทราสส์ (ผู้พ่อ) ซึมซับกับแนวดนตรี waltz ตั้งแต่เด็ก

เล็กน้อยพอสังเขปครับ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 110

ย์ย์ย์ย์ย์

29/09/2010 18:59:14
อยากฟังเพลงคลาสสิคย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์

จะได้เข้าสมาคม ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์ย์
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 111

DNA

29/09/2010 19:45:45
0



ตอบ คคห.110

ผมเกรงว่าฟังอย่างเดียว คงไม่พอ ต้องศึกษาหาความรู้ควบคู่ไปตลอดอย่างต่อเนื่อง เพราะมันอิงกับประวัติศาสตร์ ศาสนา อารยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี ปรัชญา วิถีความเป็นอยู่ เป็นต้น

เพราะฉะนั้น อาจต้องขยันหาหนังสือมาอ่าน หาข้อมูลใน internet ควบคู่กันไปถึงจะได้อรรถรส และเข้าใจตัว composer ว่าในช่วงเวลานั้นๆ ทำไมถึงแต่งเพลงออกมาเป็นแบบนี้ เป็นต้น การหา DVD มาดูอย่างที่คุณหมอแนะนำ จะช่วยให้เราเข้าใจ เข้าถึง และมีอรรถรสในการฟังเพลงแนวนี้มากขึ้นด้วยครับ

อย่างผมเองที่มาแจมในกระทู้นี้ ก็เพราะต้องการศึกษาอะไรเพิ่มเติมในส่วนที่ผมยังไม่รู้อีกมากครับ

แต่สิ่งแรกที่ต้องเริ่มทำก่อนเลย คือสร้างแรงบันดาลใจ หรือ inspiration ว่าอยากจะฟัง เพลงแนวนี้อย่างจริงจัง อาจต้องมีความมุ่งมั่นในบางครั้งบางครา ขึ้นอยู่กับแต่ละคนนะครับ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 112

ิbankung

29/09/2010 21:18:48
แนะนำ dvd set- mahler symphonies ของ bernstein ครับ 8 แผ่น แถม rehearsal 1 แผ่น

เป็น mahler ที่มี video ครบชุดที่ดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาครับ

สำหรับคอคลาสสิกน่าจะมีไว้ประดับห้องฟังเพลงนะครับ ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 113

DNA

30/09/2010 12:25:58
0



คุณ bankung คงหมายถึง DVD boxset ชุดนี้

ผมเองก็ไม่พลาดตอนพี่จีนปั๊มออกมา เพราะเห็นว่าของมีน้อย เลยรีบคว้าไว้

แต่นานๆ ทีจะหยิบมาดู เฉพาะเบอร์ดัง No. 2, 5, 6, 7, 9 ครับ ถือเป็นน้องๆ ยาขมอีกหม้อของผม เนื่องจากงาน Symphony ของ Mahler ถ้าเทียบกับแนว Rock แล้ว ถือเป็น Progressive Rock ของสาย Classical music ก็ว่าได้

สำหรับผู้เริ่มต้นฟังดนตรี Classic อย่าเพิ่งรีบฟัง Mahler นะครับ เดี๋ยวจะพาลเลิกฟังเพลง Classic ไปตลอด ใจเย็นๆ ค่อยๆ ศึกษาตามยุค อย่างที่คุณ Collagen ให้ข้อมูลไว้ใน คคห. 8 ก็ไม่เลวครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 114

Collagen

30/09/2010 14:53:21
4
ก่อนอื่น ผมก็ขอขอบคุณ คุณ DNA มากครับ ที่แก้ไขข้อความของผม, ความรู้เรื่องดนตรี Waltz และอื่นๆ อีกมากมายครับ...

ส่วนบทเพลงของ Mahler ผมก็ยังไม่เคยได้ลองฟังเลยครับ (มีแผ่น CD อยู่ 2-3 แผ่น แต่ไม่มีโอกาสได้ฟังเลยครับ)

ขอบคุณมากๆ ครับ... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 115

Tanan

30/09/2010 15:07:02
0
คุณ DNA ผมได้ทำการส่ง DVD9 ไปให้แล้วครับเป็น EMS เลขที่ EH934721940TH
ยังไงคงต้องรบกวนด้วยครับ
ส่วนที่อยู่ที่จะส่งกลับผมส่งไปทาง E-mail แล้วครับ(Gmail)
ขอบคุณมากๆครับ

และต้องขอขอบคุณ พี่หมอด้วยครับที่ลงแรงรื้อบ้านทิ้งเพื่อหาแผ่นให้ผม อิอิ
ขอบคุณทุกท่านครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 116

Tanan

30/09/2010 15:37:17
0
ผมจำได้ว่าเริ่มฟังแรกๆเลยคือ Video Fantasia ของ Walt Disney
ดูแล้วสนุกมาก ชอบมากๆก็เริ่มฟังตั้งแต่นั้นมา เริ่มมาตั้งแต่จำความได้
ช่วงนี้ชอบ giuseppe verdi, Beethoven
ผมว่า verdi ออกหวานๆ ส่วน Beethoven กระชากอารมณ์..มันส์มากๆ เหมือน Metal สมัยใหม่

ไม่นานมานี้ผมก็ได้ไปดู Concert Symphony Number 9 ของ Beethoven
Novosibirsk Symphony Orchestra, Russia
Conductor: Teodor Currentzis
ของงาน Bangkok's 12th international Festival if Dance and Music




ตั๋ว 500 บาท สุดจะคุ้ม
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 117

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

30/09/2010 16:42:27
125
เรียนคุณดีเอนเอ ผมใคร่ขอความรู้เรื่องดนตรีร็อคหน่อยครับ ว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้าง เพราะผมรู้เรื่องร็อคน้อยมาก โดยเฉพาะ Progressive Rock ที่คุณดีเอนเอกล่าวถึงน่ะครับ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 118

lek_chiangrai

30/09/2010 17:41:49
0
คุณอาหมอทัตเทพ ผมขอมาโผล่ด้วยนะครับ ขอความรู้ด้วยครับ คุณอาหมอเป็นผู้่ชำชองเพลงคลาสสิค ท่านหนึ่งเลยของเว็บเราเลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 119

lek_chiangrai

30/09/2010 17:44:44
0
ว่าแต่มีวิธีเซพไว้ดูแบบoff line ไหมครับเนี่ย แบบดูในมือถือผมใช้โอเปร่า มินิ ดูเซฟกระทู้ได้ทั้งหน้าเยย แงๆๆๆทำกับคอมพ์ม่ายเป็น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 120

DNA

30/09/2010 18:36:37
0
เรียนคุณหมอ

คำถามสั้นๆ แต่ตอบยากครับ ผมขอรวบรวมข้อมูลสักระยะหนึ่ง แล้วจะมาโพสต์อีกทีครับ พรุ่งนี้ผมลาพักร้อน กลับบ้านพักตากอากาศที่บางบัวทอง ไม่มี net ใช้ ไว้จะมาแจมอีกทีวันจันทร์นะครับ

เรียนคุณ Tanan
รับทราบครับ ได้รับแผ่นแล้วจะดำเนินการให้ครับ

เรียนคุณ Collagen
ด้วยความยินดีครับ ข้อมูลผม อาจไม่ค่อยเข้มข้นมากเท่าไร ผมเองก็ได้ความรู้ใหม่ๆ มากมายจากคุณ Collagen พอควร ผมอาจเน้นข้อมูลที่ ตัว conductor, Solo Artist, วงที่เล่น ว่าในภาพรวมมีจุดด้อย จุดแข็ง มีความแตกต่างกันอย่างไร ก็เลยสะสม CDs ค่อนข้างเยอะหน่อย ส่วนข้อมูลก็ใช้วิธีศึกษาไปเรื่อยๆ ครับ

ส่วน Mahler เจอแผ่นดีๆ ต้องซื้อตุนครับ ยังงัย at the end ผมเชื่อว่า ต้องกลับมาฟังจนได้ เพราะฟังคลาสสิคทั้งที ถ้าไม่ฟัง Mahler มันเหมือนขาดอะไรไปอย่าง เค้าว่ามางั้นครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 121

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

30/09/2010 19:23:18
125
คุณเล็กใช้เวปเบลาเซอร์ตัวไหนอยู่ล่ะครับ ถ้าใช้ IE ก็เข้าไปที่ file และ กด save as พอมันขึ้นมา(มันจะเป็นโฟลเดอร์ my documen) เราก็เปลี่ยนชื่อให้เป็นที่เราตั้งใจไว้ เช่น "กระทู้คลาสสิค" เป็นต้น จากนั้นก็กด save มันก็จะเข้าไปอยู่ในไฟล์ชื่อ กระทู้คลาสสิค ในโฟลเดอร์ my documen ซึ่งถ้าเราอยากอ่านเมื่อไรก็เข้าไปอ่านได้เลยครับ โดยไม่ต้องเข้าอินเตอร์เน็ตอีก และเมื่อกระทู้ยาวขึ้น เราก็ทำแบบเดิมอีก มันก็จะเซฟส่วนที่ยาวขึ้นลงไปด้วยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 122

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

30/09/2010 20:44:21
125
ืคุณเล็กอย่าเรียกผมว่า 'ผู้ช่ำชอง' เลยครับ อย่างที่เคยบอกไว้ในความคิดเห็นก่อน ๆ ว่าผมไม่ได้เป็น 'กูรู' แต่อย่างใด อย่างเก่งก็เป็นเพียง 'กูพอจะรู้' เท่านั้นเองครับ (อันนี้เรื่องจริงนะครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 123

lek_chiangrai

01/10/2010 10:46:43
0
สวัสดีครับ คุณอาหมอ ผมใช้IEนั่นแหละครับ ผมลองSAVEดูแล้วครับ เดี๋ยวลองไปเปิดดูซิ อิอิ
แต่ว่าคุณอาหมอเรียกผมว่าเจ้าเล็กแทนได้ไหม หรือ เรียกเป็นอย่างอื่นก็ได้ครับผม เรียกคุณเล็กแล้วมันยังไงก็ไม่รู้คร๊าบ ^^
คุณหมอสนใจเพลงแนวMETAL ด้วยหรือครับ ผมมีรวมๆเป็นจับฉ่ายเมทัลอยู่95GBกว่าๆ แถมเรื่องผีผีด้วย คุณอาหมอสนใจไหมครับ แต่แนว โดยเฉพาะ Progressive Rock ผมมีแต่วง Dream thaeter ครับผม ผมมีแต่death,speed,melodic,emo-metal ก็พี่ๆเพื่อนๆใจดีแบ่งปันกันฮับ
ผมจะส่งEXhdd ไปที่กทมอยุ๋ครับ(ส่งทางไปรษณีย์ครับ) ไม่เกินวันที่5 ตุลาคมเนี่ย ลงนู้น นั่น นี่ ถ้าคุณอาหมอสนใจบอกผมเน้อ คุณอาหมอเอาอะไรไปจิ้มดูดเข้าคอมพ์
ช่วงหลังฟังmetal แล้วง่วง ฟังคลาสสิคแล้วตื่นเฉยเลยอิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 124

lek_chiangrai

01/10/2010 10:53:46
0
คุณอาหมอ saveได้แล้วครับ ขอบคุณมากๆเลยครับที่แน่นำ มือใหม่อย่างผม
แต่ว่าไม่มีรูปน่าเสียดาย ต้องไปไล่เซฟรูปอีก ใช่ไหมครับ อิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 125

Uthen

01/10/2010 10:55:35
17
สวัสดีครับทุกท่าน
สวัสดีครับคุณเล็ก ยังไม่ได้ทักซักทีครับ happy happy ครับผม

ตอนนี้ผมก็เป็นมือใหม่เพลงคลาสสิคล่ะครับ แอบๆ มานั่งอ่านเรื่อยๆครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 126

นายมั่นคง

01/10/2010 11:12:02
4,294
คุณหมอทัตเทพครับ ผมกำลังเร่งแจ้งและบีบคอหอยคนเขียนเว็บ

เรืื่องการกรอกรหัสแล้วส่งไม่ผ่านข้อความหายหมดอยู่นะครับ 555


ตัวผมเองยังเซ็งสุดๆๆ เองเลยล่ะจ้า 55
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 127

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

01/10/2010 12:41:17
125
คุณเล็กลองดาวน์โหลด Gloogle Chrome มาใช้ดูสิครับ มันเซฟได้ทั้งหน้าเว็บเลยครับ ลองดูแล้วจะติดใจครับ ( Gloogle Chrome เป็นเว็บเบลาเซอร์ที่ผมใช้เป็นประจำครับ ใช้ง่ายมาก ๆ เลยครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 128

Collagen

01/10/2010 15:01:40
4
สวัสดีครับทุกๆ ท่าน....

เรียนคุณ DNA ครับ... ผมแทบจะไม่มีความรู้ทางด้านวงที่เล่น Conductor พวกนี้เลยครับ ผมก็คงต้องขอรบกวนคุณ DNA ในส่วนนี้เพิ่มเติมครับ ส่วนมากผมก็เน้นด้านทฤษฎีมากกว่าครับ ^ ^

คุณเล็กครับ ถ้าหากว่าขาดเหลืออะไร หรือว่าต้องการบทเพลงไหนเป็นพิเศษก็บอกได้เลยนะครับ... ^ ^

ยินดีต้อนรับครับ พี่อู๊ด....

แล้วก็ขอขอบคุณคุณหมอมากๆ ครับ....^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 129

lek_chiangrai

01/10/2010 16:05:12
0
สวัสดีครับ พี่Uthen ผมโฟสต์ข้อความหาพี่ตอนก่อนเที่ยงมันไม่ขึ้นอ่ะ
ยินดีที่ได้รู้จักพี่Uthenเช่นกันครับผม อิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 130

lek_chiangrai

01/10/2010 16:14:40
0
กราบขอบพระคุณครับคุณอาหมอ ผมไปหาโหลดในอากู๋ได้เลยใช่ไหมครับ Gloogle Chrome เนี่ยเย้ๆๆ เดี๋ยวผมจะรีบไปโหลดครับผม /// สวัสดีครับคุณวุธ เรียกผมเล็กเลยก็ได้ครับหรือไอ้เจ้าตี๋เล็ก อิอิ ไว้คุณวุธ Welcome to home มาไทยเมื่อไหร่ผมจะโทรไปรบกวนนะครับ อิอิ จัดเป็นชุด ที่สุดของที่สุด คุณวุธCollagen นะครับอิอิหน้าด้านจริงๆเรา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 131

Collagen

01/10/2010 16:19:15
4
ยินดีเลยครับคุณเล็ก..... ^ ^ อีกไม่ถึง 2 เดือนก็กลับไทยแล้วครับ ^ ^

แต่ชุดที่สุดของที่สุดคงจะเป็นแบบว่า เพลงอะไรก็ไม่รู้จับฉ่ายไปหมดเลยครับ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 132

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

01/10/2010 19:23:02
125
โหลดเอาจากกูเกิ้ลได้เลยจ้า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 133

AstroMotion

01/10/2010 20:25:08
0


วันนี้ผมมีเพลงจะมาแนะนำทุกท่านคร้าบบ เพลงนี้ชื่อว่า In the Hall of the Mountain King เป็นเพลงที่ติดหูคนทุกรุ่นมานานครับ บางคนเคยฟังแต่อาจจะไม่รู้จักชื่อ เพลงนี้นับเป็นอีกเพลงหนึ่งในใจผมเลยครับ เสนห์คือการเร่งจังหวะของเพลงและเอกลักษ์ของดนตรีครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 134

01/10/2010 21:45:13
^
^
หายไปเป็นอาทิตย์เลยนะครับ คุณ AstroMotion ^ ^

ไหนๆ ก็พูดถึงเพลงของ Edvard Grieg ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงชาวนอร์เวย์ .... ก็ยังมีอีกเพลงหนึ่งที่อยู่ใน Peer Gynt Suite ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันก็คือ Morning Mood

เพลงนี้ให้ท่วงทำนองถึงแสงอาทิตย์ทอประกายยามเช้า ที่ให้ความรู้สึกสดชื่น พร้อมที่จะตื่นจากนิทราอันยาวนาน เมื่อหลับตา ทอดอารมณ์ไปเรื่อยๆ จะรู้สึกถึงแดดยามเช้าที่ทอประกายมายังทุ่งหญ้าสีเขียวอันกว้างใหญ่ครับ โดยเครื่องดนตรีจะเน้นทางเครื่องเป่าที่ไม่ค่อยให้ความรู้สึกที่หวือหวาเท่าใดแต่ให้ความรู้สึกที่เรื่อยๆ สบายๆ ในยามเช้าที่สดใสครับ...

เพลงนี้เป็นผลงานลำดับที่ 46 แต่งขึ้นในปี 1888 ครับ โดย Peer Gynt Suite No.1 ประกอบด้วยเพลง 4 เพลงคิอ

Morning Mood (Morgenstemning)
Aase's Death (Åses død)
Anitra's Dance (Anitras dans)
In the Hall of the Mountain King (I Dovregubbens hall)

แต่เพลงที่ไดรับความนิยมก็คือ Morning Mood และ In the Hall of the Morning King ครับ...

โดยเพลง Morning Mood นิยมนำไปประกอบภาพยนตร์การ์ตูนหลายๆ เรื่องครับ เช่น Shrek 3 ครับ...

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 135

Collagen

01/10/2010 21:46:31
4
^
^
หายไปเป็นอาทิตย์เลยนะครับ ^ ^

ไหนๆ ก็พูดถึงเพลงของ Edvard Grieg ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงชาวนอร์เวย์ .... ก็ยังมีอีกเพลงหนึ่งที่อยู่ใน Peer Gynt Suite ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันก็คือ Morning Mood

เพลงนี้ให้ท่วงทำนองถึงแสงอาทิตย์ทอประกายยามเช้า ที่ให้ความรู้สึกสดชื่น พร้อมที่จะตื่นจากนิทราอันยาวนาน เมื่อหลับตา ทอดอารมณ์ไปเรื่อยๆ จะรู้สึกถึงแดดยามเช้าที่ทอประกายมายังทุ่งหญ้าสีเขียวอันกว้างใหญ่ครับ โดยเครื่องดนตรีจะเน้นทางเครื่องเป่าที่ไม่ค่อยให้ความรู้สึกที่หวือหวาเท่าใดแต่ให้ความรู้สึกที่เรื่อยๆ สบายๆ ในยามเช้าที่สดใสครับ...

เพลงนี้เป็นผลงานลำดับที่ 46 แต่งขึ้นในปี 1888 ครับ โดย Peer Gynt Suite No.1 ประกอบด้วยเพลง 4 เพลงคิอ

Morning Mood (Morgenstemning)
Aase's Death (Åses død)
Anitra's Dance (Anitras dans)
In the Hall of the Mountain King (I Dovregubbens hall)

แต่เพลงที่ไดรับความนิยมก็คือ Morning Mood และ In the Hall of the Morning King ครับ...

โดยเพลง Morning Mood นิยมนำไปประกอบภาพยนตร์การ์ตูนหลายๆ เรื่องครับ เช่น Shrek 3 ครับ...



Post แล้ว Error ขอลองใหม่ครับ... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 136

AstroMotion

01/10/2010 21:57:42
0
ขอบคุณครับ เพราะมากๆเลย นอกจากผมจะฟังแนวหลอนๆแล้ว เพลงแนวนี้ก็ชอบไม่แพ้กันครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 137

Collagen

01/10/2010 22:21:43
4
คุณ Astro Motion ของฟังแนวๆ Chant หรือไม่ก็ Requiem ดูสิครับ... ติดหลอนๆ นิดๆ ครับ

อย่างแนว Chant ก็เพลงนี้ครับ (แต่ว่ามีแบบหลอนกว่านี้ครับ)


ส่วนเพลงนี้เป็นแนว Requiem ครับ...
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=AxAOHez4meA[/youtube]
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 138

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

01/10/2010 22:27:33
125
เสียดาย เน็ตผมเต่า ดูคลิปไ่ม่ได้เลย เน็ตของที่ทำงานซึ่งไวกว่ามากก็ถูกล็อคไม่ให้รับคลิปเหมือนกันครับ คงต้องหาฟังแต่เสียงอย่างเดียวแล้วครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 139

AstroMotion

01/10/2010 22:32:31
0
ขอบคุณครับ เพลงที่2เพราะมากๆ ผมคงต้องหาเพลงคลาสสิคเก่าๆมาฟังบ้างแล้ว ^^ ส่วนเพลงแรกผมรู้สึกแหม่งๆ ครับ == คงเป็นเพราะผมไม่ค่อยชอบเสียงคอรัส.... ผมชื่นชอบดนตรีแนวหลอนที่เน้นเครื่องสายเป็นหลักครับ แนวที่ไวโอลินสีกันแบบที่ฟังไม่เป็นเพลง

เพลงที่ชื่นชอบอีกเพลงก็คือเพลงนี้ครับ



แต่ก่อนนี้ฟังตอนกลางคืนไม่ได้เลย แต่เดี๋ยวนี้ชินแล้วครับ (อย่าว่าผมนะครับ ว่าเอาเพลงอะไรมาให้ฟัง 555)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 140

Collagen

01/10/2010 22:39:37
4
ไปๆมาๆ กลับไปชอบ Requiem ซะแล้ว... ^ ^ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงระดับ "ยาขม" เลยครับ.... ^ ^

ถ้าอย่างไร ผมขออนุญาต Add M ไปนะครับ.... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 141

lek_chiangrai

02/10/2010 13:30:05
0

ขอบคุณครับคุณวุธยินดีเลยครับ ชุดที่สุดของที่สุดของคุณวุธ ต้องเป็นจับฉ่าย รสดีเลิศระดับแม่ช้อย เปิบพิสดาร + เชลล์ชวนชิม ต้องยกให้เป็นสุดยอดของยอดสุดจับฉ่าย แน่ๆเลยอิอิ ขอทำเนียนรอจับฉ่ายคุณวุธนะครับ อิอิ
เมื่อวานเมลล์คุยกับคุณBurst ได้รับแผ่นที่คุณวุธ และรอส่งให้กับผมเนื่องจากช่วงนี้คุณBurstกำลังติดงานยุ่งมากมายเลย คงได้ส่งอาทิตย์หน้าต้องขอโทษคุณBurstด้วยนะครับรบกวนตลอด อิอิ
ผมก็ขอกราบขอบคุณในน้ำใจที่คุณวุธมสละเวลา และ เสียเงินซื้อแผ่นส่งให้จากAUSให้ผมอีกอบให้กับผม และ กราบขอโทษ คุณวุธนะครับ ไม่น่าเสียสตางค์เลยครับ ไว้รอคุณวุธรวมไฟล์เพลงเป็นmp3หรือไฟล์อย่างอื่นลงในแผ่นDVD ก็ได้ผมไม่แน่ใจว่าคุณวุธส่งเป็นcdเพลงคลาสสิคเลยหรือเปล่า
ไว้ผมรู้ว่าคุณวุธกลับมาผมก็จะทำเนียนๆติดต่อไปอยู่แล้ว อิอิ ขอบคุณจากใจมากๆเลย
ครับเรียกว่าติดหนี้เพียบทั้งคุณอาหมอ คุณวุธ และพี่ๆท่านอื่นเพียบเลย
มีโอกาสขอส่งของเล็กๆน้อยๆตอบแทนบ้างนะครับ นิดหนึ่งก็ยังดีครับ อิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 142

Collagen

02/10/2010 18:16:21
4
ไม่เป็นไรหรอกครับคุณเล็ก.... (จริงๆ ต้งเรียกว่าพี่เล็กครับ ^ ^) ฟังจากแผ่นดีกว่าฟังจากที่ Rip ออกมาแล้วครับ....จับฉ่ายของผม ไม่รู้ว่าจะอร่อยหรือเปล่าครับ เละเทะไปหมดเลย.... ^ ^

แล้วก็ผมรบกวนคุณ (พี่) เล็กกด Accept Friend ชื่อผมใน Facebook ด้วยนะครับ....^ ^

แล้วก็เมื่อคืนผมได้คุยกับน้องบิล (AstroMotion) ครับ ก็พูดถึงเพลง 1812 Overture ชอง Peter Ilych Tchaikovsky ผมก็ขออนุญาต ยกรีวิวและประวัติของเพลงนี้มาไว้ ณ ที่นี้นะครับ.... โดยรีวิว เพลงนี้มีส่วนทั้งที่ผมเขียน (ส่วนน้อย) และอีกส่วนเขียนโดยคุณ Unclepiak ครับ.... โดยส่วนแรกเป็นรีวิวที่คุณ Unclepiak ได้เขียนไว้ครับ....
-------------------
1812 Overture, Op.49 - Tchaikovsky

812 เป็นเพลงประเภทโหมโรงความยาว ๑๕.๔๒ นาที ไชคอฟสกี้ แต่งเพลงนี้เพื่อสดุดีวีรกรรมของชาวรัสเซีย ที่สามารถต่อสู้ทำลายกองทัพนโปเลียน โบนาปาร์ตอันเกรียงไกรได้ในปี ค.ศ. 1812

ในปีนั้นเป็นปีที่มีอากาศหนาวจัด นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ยาตราทัพเข้ายึดครองเมืองเซ็นต์ปีเตอร์เบิร์ก เมืองหลวงของรัสเซียในสมัยนั้น และพบว่าทั้งเมืองกลายเป็นเมืองร้าง กองทัพรัสเซียและชาวเมืองทั้งหมดพากันละทิ้งบ้านช่อง แยกย้ายไปวางกำลังดักซุ่มอยู่ตามที่ต่าง ๆ ด้วยความที่คุ้นเคยกับภูมิอากาศอันหนาวเย็น ประกอบกับเลือกวางกำลังในชัยภูมิที่ได้เปรียบกว่า ทำให้รัสเซียสามารถดักทำลายล้างกองทัพฝรั่งเศสซึ่งจัดได้ว่าเป็นกองทัพบกที่ดีที่สุดในขณะนั้นแตกกระจาย กองทัพถูกทำลายย่อยยับ มีทหารตายนับแสนคน ตัวนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากแนวรบตามลำพัง กระเซอะกระเซิงหมดสภาพ และถือว่าเป็นการพ่ายแพ้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของนโปเลียน

ไชคอฟสกี้ เปิดฉากเพลงด้วยเสียงเครื่องเป่าทองเหลือง ประสานกับหมู่เครื่องสายด้วยท่วงทำนองเนิบช้า ได้บรรยากาศความสงบสุขของรัสเซีย ก่อนจะถูกรุกราน แล้วเพลงก็ค่อยเพิ่มจังหวะและความเร้าใจด้วยเสียงกลองทิมปานี ฟลุต ไวโอลินเล่นนำวิโอล่าสอดรับตามด้วยเครื่องเป่าทองเหลืองและฉาบน่าระทึกใจ

เพลงนี้มีการใช้ท่วงทำนองเพลงชาติฝรั่งเศส (La Marseillaise) มาแทรกไว้ประหนึ่งเป็นตัวแทนกองทัพผู้รุกราน โดยผู้ประพันธ์เริ่มบรรยากาศความสงบสุขของชาวเมืองก่อน

ต่อมาเครื่องเป่าทองเหลืองจะแสดงบทนำหมู่อย่างยิ่งใหญ่ จนเกิดความรู้สึกฮึกหาญด้วยพลานุภาพ แล้วขึ้นเครื่องสายด้วยทำนองและลีลาไพเราะมีเสน่ห์เร้าใจ รับด้วยเครื่องเป่าลม เครื่องตีประกอบจังหวะทั้งหมดสะท้อนบรรยากาศแบบรัสเซีย

ฉับพลันท่วงทำนองเพลง La Marseillaise ในลีลาแกร่งกร้าวของเครื่องเป่าทองเหลืองและเครื่องสายที่สอดรับด้วยเสียงกลองทิมปานีและฉาบ เข้ามารุกรานขับไล่บรรยากาศสงบสันติออกไป และตามด้วยเสียงกัมปนาทของปืนใหญ่และเครื่องดนตรีทุกชิ้นก็แผดก้องขึ้น บรรยากาศแห่งการสู้รบแซมด้วยเสียงระฆังราวดังระงม แล้วเสียงปืนใหญ่ก็ดังขึ้นเป็นชุด ๆ สอดรับด้วยเครื่องสายที่มีท่วงทำนองอาจหาญ เร่งเร้าเพิ่มขึ้นด้วยเสียงดนตรีทุกกลุ่ม พร้อมกับสัญญานระฆังราวปิดท้าย คล้ายกับเสียงระฆังตามโบสถ์ทุกหลังในเมือง ที่ระดมตีกันขึ้นเพื่อเป็นสัญญานแห่งชัยชนะต่อผู้รุกราน

ตอนท้ายเครื่องดนตรีทุกชิ้นจะแผดเสียงดังสุดขีดแล้วยุติลงในทันใด เกิดความรู้สึกสงบสันติอย่างบอกไม่ถูก สันติภาพได้กลับคืนสู่ประชาชนอีกครั้งหนึ่งแล้ว ผู้ฟังจะรู้สึกปลอดโปร่งสบายใจเป็นที่สุด

ที่มา: ดนตรีที่รัก, สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ สนพ.มูลนิธิโกมลคีมทอง, ก.ค. ๒๕๓๑
----
ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี (PeterIlich Tchaikovsky,1840-1893)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียคนแรกที่เป็นที่รู้จักในวงการนานาชาติ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คน ของ อิลยา เปโตรวิช ไชคอฟสกี (Ilya Petrovititch Tchaikovsky) และ อเลกซานดรา (Alexandra) เกิดที่เมืองว็อทกินสค์ (Voltkinsk) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1840 เป็นผู้ประพันธ์เพลงยอดนิยมคนหนึ่งในบรรดาผู้ประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกดนตรี

ไชคอฟสกีเป็นคีตกวีที่แปลกไปกว่าท่านอื่น ๆ กล่าวคือทุกๆคนมักจะเรียนและเล่นดนตรีเก่งชนิดอัจฉริยะตั้งแต่อายุยังน้อย ส่วนไชคอฟสกีมาเริ่มเรียนดนตรีจริงจังก็เมื่ออายุ 21 ปี เนื่องจากเขาต้องเรียนกฎหมาย ตามความต้องการของพ่อจนกระทั่งจบปริญญาตรีทางกฎหมาย และออกมาทำงานรับราชการในกระทรวงยุติธรรม แต่ด้วยความสนใจและความชอบซึ่งมีเป็นทุนอยู่แล้วไชคอฟสกีจึง หันเหชีวิตมาเรียนดนตรีอย่างจริงจังในสถาบันดนตรีแห่งเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในวิชาการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) เทคนิคการเล่นเปียโนและออร์แกน

ชีวิตของไชคอฟสกีก็คงเหมือน ๆ กับคีตกวีคนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป กล่าวคือมีทั้งสุขและทุกข์ระคนกันไปชีวิตเหมือนนิยายมากกว่าชีวิตจริง เพราะยามที่ตกอับจะมีกินก็เพียงประทังความหิว และมีที่อยู่อาศัยเพียงแค่ซุกหัวนอน ในยามเมื่อคนอื่นไม่เห็นคุณค่าผลงานของเขาก็ไม่มีค่าอะไร

แต่ยังดีที่มีผู้ที่เห็นความสำคัญและคอยจุนเจือค้ำจุนเสมอมาอย่างแทบไม่น่าเชื่อเธอผู้นั้นก็คือ มาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) เศรษฐีนีหม้ายผู้มั่งคั่ง เธอให้เงินสนับสนุนไชคอฟสกีโดยไม่เคยหวังผลตอบแทนใด ๆ

เธอมีความสุขที่ได้มีโอกาสสนับสนุนผู้อื่นให้ทำงานที่เธออยากทำแต่ทำไม่ได้ เพราะเธอเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักประพันธ์ดนตรีแต่ไม่สามารถทำได้ ด้วยใจรักดนตรีในยามว่างจากภาระกิจเธอมักจะนั่งฟังดนตรีเสมอ ดั้งนั้นเธอจึงทดแทนส่วนนี้ด้วยการสนับสนุน

ไชคอฟสกีผู้ซึ่งในระหว่างที่มีชีวิตอยู่เขาไม่เคยได้รับเกียรติอย่างจริงจังจากชาวรัสเซียเลยตรงกันข้ามกับทางยุโรปและอเมริกานิยมชมชื่นในตัวเขามากขณะที่ชื่อเสียงกำลังโด่งดังอยู่นั้นเขาก็ด่วนจบชีวิตลงเสียก่อนซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่มากที่พยายามสร้างงานมากมาย

บัดนี้เขาเป็นคีตกวีที่ชาวรัสเซียภูมิใจมากที่สุด

ไชคอฟสกีถึงแก่กรรมด้วยโรคอหิวาต์ซึ่งเกิดจากความไม่เฉลียวใจหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จไชคอฟสกีไปเปิดน้ำประปาที่ก๊อกมาดื่มโดยไม่ได้นำมาต้มเสียก่อน เพราะขณะนั้นที่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบริ์กมีโรคระบาดพอดีและมีคนคอยเตือนแล้ว ในที่สุดก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893

ที่มา: ประวัติดนตรีตะวันตก, สมัยโรแมนติก http://classroom.psu.ac.th/users/wkomson/data/western-musuc/Chapter4/chap4-7.htm
-----------------
เพลงนี้ทาง Tchaikovsky แต่งขึ้นเนื่องจากเขาได้รับคำสั่งให้เขียนเพลงสำหรับงานแสดงในกรุง Moscow ในปี 1880 ครับ แต่ข้อมูลที่ผมได้มาสำหรับเพลงนี้ค่อนข้างแตกต่างกับของคุณลุงเปี๊ยกพอสมควรครับ ดังนี้
เพลงนี้กล่าวถึงสมรภูมิที่ Borodino (ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่ห่างจากรุง Moscow ไปทางตะวันตกเล็กน้อย) ระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซียในวันที่ 7 กันยายน 1812 และจบลงที่กองทัพของจักรพรรดินโปเลียนถอยทัพจากกรุง Moscow ภายหลังจากที่ได้สั่งให้เผากรุง Moscow

ความหมายของเพลงนี้ทาง Tchaikovsky ได้ใช้เพลงชาติฝรั่งเศส (ตามที่คุณ unclepiak ได้กล่าวไว้) และเพลงสรรเสริญพระเจ้า Tsar ของรัสเซีย (เพลงชาติรัสเซีย) เป็นแนวเพลงหลักของเพลงนี้ และผสมผสานกับเพลงของชาว Cossacks และ Novgorod เพลงนี้ให้ความรู้สึกที่ชวนให้นึกถึงเสียงอาวุธที่กำลังประหัตประหารจากทั้งฝ่ายฝรั่งเศสและรัสเซีย (รวมทั้งเสียงปืนใหญ่) ในขณที่ฝ่ายฝรั่งเศสรุกคืบไป และฝ่ายรัสเซียได้ต่อต้านอย่างเต็มความสามารถ และในที่สุดเมื่อฝรั่งเศสยึดกรุง Moscow ได้ เพลงชาติฝรั่งเศสได้ก้องกังวานขึ้น แต่ในท้ายที่สุดกองทัพฝรั่งเศสได้จุดไฟเผากรุง Moscow อย่างโชติช่วง การถอยทัพของฝรั่งเศสเป็นไปอย่างเศร้าใจ และจบลงด้วยชัยชนะของฝายรัสเซีย

เพลงนี้ทางผู้แต่ง (Tchaikovsky) ได้กล่าวถึงผลงานของตัวท่านเองไว้ว่า "เต็มไปด้วยเสียงอึกทึก ปราศจากคุณค่าอันยิ่งใหญในทางศิลปะ เพียงแต่แสดงความสำคัญในการรักชาติเท่านั้น"

ที่มา: สุรพงษ์ บุนนาค, "ดนตรีแห่งชีวิต", สำนักพิมพ์สารคดี, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ, 2549
------------------

อเสริมอีกนิดครับ
- สงครามนี้ เป็น การรบระหว่างจักรพรรดินโปเลียน และพระเจ้า ซาร์ อเล็กซานเดอร์ ที่ 1(Tsar Alexander I) แห่งจักรวรรดิรัสเซีย ครับ
- เพลงนี้มีเสียงปืนใหญ่ทั้งสิ้น 16 นัด
- เพลงชาติของฝรั่งเศส Le Marseillaise และเพลงชาติรัสเซีย God save the Tsar! ได้ใช้ประกอบเพลงนี้
- เครื่องดนตรี ที่ใช้เล่นเพลงนี้สำหรับวง Orchestra ประกอบด้วย
ขลุ่ย Piccolo, ขลุ่ย Flute 2 ตัว, Oboe 2 ตัว, ขลุ่ย cor anglais 2 ตัว, คลาริเน็ตในโทนเสียง B flat 2 ตัว (Clarinet in B flat), บาสซูน 2 ตัว, แตรในโทนเสียง B 4 ตัว (horns in F), แตรคอร์เน็ตในโทนเสียง B 2 ตัว (cornets in B flat), ทรัมเป็ตในโทนเสียง E Flat 2 ตัว (trumpets in E flat), ทรอมโบน 3 ตัว, แตร Tuba, กลองทิมปานี (timpani), Triangle (เครื่องเคาะจังหวะรูปสามเหลี่ยม), กลอง Tambourine (นึกชื่อภาษาไทยไม่ออก), กลองสแนร์ (snare drum), ฉาบ (cymbals), กลองเบส (bass drum), ระฆัง หรือที่เรียกว่า carillon (แต่บางครั้งเล่นโดยใช้ tubular bells), และที่สำคัญที่สุดคือ ปืนใหญ่ (cannon) (แต่โดยมากมักใช้ กลองเบส หรือ กลองใหญ่ หรือเสียงปืนใหญ่ที่เตรียมไว้ล่วงหน้า มากกว่าครับ)

- สรุปจาก http://en.wikipedia.org/wiki/1812_Overture ครับ..... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 143

AstroMotion

02/10/2010 22:17:11
0
ขอบคุณมากครับ เพลงนี้ผมมารู้จักก็เพราะพี่วุธนี้ล่ครับ ^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 144

นายมั่นคง

02/10/2010 22:39:19
4,294
ห้องนี้เหมือนที่เก็บคัมภีร์เพลงเลยล่ะครับ 55
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 145

Collagen

02/10/2010 22:51:05
4
เรียน คุณ (พี่) เล็กครับ เรื่องแผ่น "จับฉ่าย" ก็น่าสนใจดีครับ แต่อย่างไรก็ตามผมคงต้องรบกวนปรึกษาหลายๆ ท่านหละครับ โดยเฉพาะคุณหมอทัตเทพ กับคุณ DNA ครับ ว่าจะใส่เพลงอะไรลงไปบ้างครับ (ในแผ่น DVD 1 แผ่น)

คาดว่าช่วงกลับไทยไปแล้วน่าจะเป็นรุ)ร่างมากขึ้นครับ... รอความเห็นจากทุกๆ ท่านด้วยครับ... ^ ^

ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 146

lek_chiangrai

03/10/2010 13:18:07
0
คุณวุธครับ เรียกผมเล็กเลยก็ได้เลยครับสนิทดี ไม่ต้องพี่หรอกครับ
ผมต้องขอบคุณเหล่าผู้ใหญ่ในเว็ปทั้งหลาย และพี่ๆเพื่อนๆที่ให้เกียรติ
ไม่รังเกียจคนอย่างผม
เรื่องเพลงเอาเป็นเพลงคลาสสิคที่คุณวุธชื่นชอบแหละครับไม่ยุ่งยากกับคุณวุธดี (จริงๆแล้วรบกวนคุณวุธทำให้ยุ่งยากอยู่ดี อิอิ ) ผมจะได้รู้ว่าคุณวุธ และพี่ๆเพื่อนๆที่เขาฟังและรักในแนวเพลงคลาสสิคนั้น ชอบฟังอย่างไรนะ ผมก็กดโหลดตามลิงค์ยูทูปดู ไม่เกิน8วินาทีสะดุดซะเพียบเลย
ว่าแต่วินโดวสนับถอยหลังจะรีสตาร์ทเครื่องแล้วผมไปก่อนนะครับเดี๋ยวมาใหม่ได้เปล่าไม่รู้ ขอบคุณมากๆครับทุกๆท่าน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 147

lek_chiangrai

03/10/2010 17:14:09
0
ใช้แล้วครับเฮียมั่น ผมเองยังเกรงว่ามาแจมเขียนกระทู้เค้าเนี่ย จะทำให้กระทู้เค้าเปื้อนหรือเปล่าเลย ครับอิอิ พวกพี่ๆต่างก็เป็นผู้มอบแสงสว่างทางดนตรีคลาสสิค ที่ผมฟังแล้วเหมือนได้ฟังดนตรีจากสวรรค์เลยนะครับ ครับเมทัลเหมือนฟังดนตรีจากนรกแต่ไม่ใช่ผมไม่ชอบเพลงเมทัลนะครับชอบมากๆๆๆ สงสัยอมายไปนรก^^ แต่ผมว่าทุกๆบทเพลงที่ถูกรังสรรค์ขึ้นนี้ ทำให้มนุษย์อย่างเราอยู่ได้่อย่างมีความสุขในหัวใจเมื่อได้ยิน ไม่ว่ายังไง...จะทุกข์ใจจากอะไร
เมื่อเมฆหมอกแห่งความทุกข์ ผ่านใจเราไป เมื่อได้ยินดนตรีที่เรารัก มันมีความสุขมากมายแล้ว สำหรับผมเนี่ย อิอิ เขียนไรอีกเนี่ย กระทู้เปื้อนหมด ออกทะเลแล้ว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 148

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

03/10/2010 19:52:55
125
ไม่ออกทะเลหรอกครับน้องเล็ก เพลงคือความรู้สึกทุกๆ อย่างที่ผู้ฟังจะจินตนาการไปได้ ดังนั้นในกระทู้นี้ หากจะกล่าวถึงความรู้สึกเช่น ความสุข ความทุกข์ ความกลัว ความเจ็บปวด ความเหงา ความซาบซึ้งใจหรือแม้แต่ความรัก ก็ย่อมมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับดนตรีอยู่แล้วโดยนัยยะของมันตามธรรมชาติครับ ผมคิดอย่างนั้นนะครับ......
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 149

Collagen

03/10/2010 20:06:52
4
ไม่หรอกครับ คุณเล็ก...ผมเกรงว่าชุดที่ผมชื่นชอบ อาจจะกลายเป็นว่าผมชอบคนเดียว ซึ่งอาจจะรู้สึกว่า "ยัดเยียด" ให้ฟังหรือเปล่าครับ ^ ^ ผมก็กะว่ารวบรวมเป็นชุดเพลงคลาสสิคจากหลายๆ ท่านดีกว่าครับ (ได้อารมณ์หลายๆ แบบที่แตกต่างกันออกไปครับ)

ไม่ทำให้เปื้อนหรอกครับ คิดว่าเป้นการแต่งเติมสีสัน ครับ.... จะได้ดูมีอะไรมากขึ้นครับ.... ^ ^
--------------

คุณหมอครับ.....คำพูดซึ้งมากมายครับ...(สุดยอดๆๆๆ)

--------------

แต่จะว่าไปกระทู้นี้เหมือนห้องเก็บคัมภีร์ครับ.... มีแต่หนังสือ ข้อมูลมากมาย และเงียบๆ ครับ ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 150

moobin

03/10/2010 23:45:12
ขอร่วมวงด้วยคนนะครับ
จะขอเริ่มด้วยเรียบเรียงกระทู้ "หูหาเรื่อง" จาก web - Thai Audio/Video Club
มาให้อ่านก็แล้วกันเพราะในกระทู้นี้เฉียดเฉียดเทพกันทั้งนั้น
เป็นกระทู้ต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ปี 2006
มาปีนี้ก็ร้างราไปมากแล้ว
เรียบเรียงเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และเห็นว่าให้ความเชิงลึก มีวิจารณ์ และชี้แหล่งข้อมูลได้ดี
แม้การวิจารณ์บางครั้งจะรุนแรงบ้าง แต่ก็ตรงไปตรงมาและซื่อสัตย์ดี ได้เปิอโลกทรรศน์
_______________________
ถ้าไม่ชอบก็บอกได้นะครับ
-----------------

1

http://www.aaronrosand.com/discography.htm
link สำหรับไปลองฟังง่ายๆ ส่วนที่เป็นวิดีโอก็น่าดูนะครับ แต่ต้องรอนานหน่อย

นักซอแบบนี้ เดี๋ยวนี้เฉาตายหมดแล้วครับ เหตุผลก็ง่ายนิดเดียวครับ
คุณเคยเห็นแกรมหมี หรืออาเอ๊ดดดด์คบศิลปินใหมครับ
ค่ายเพลงยักษ์ระดับโลกก็เดินสันดานเดียวกันครับ เอาของห่วยต้นทุนต่ำมาหลอกขาย กำไรเต็มเม็ดเต็มหย่วย
แล้วก็สั่งได้

คุณว่าใครสั่งบ๊อบ ดีแล่นได้มั่งล่ะ

ในความเห็นของผม โรแซนด์นี่เป็นสกุลโณแมนติคแท้คนสุดท้ายแล้วครับ

สังเกตจังหวะที่แกใช้ จะไม่ตรงกับมาตรฐาน คร่อมบ้าง หน่วงบ้าง กระตุกบ้าง เป็นไปตามสัญชาติญาน
จะเทียบไปก็เหมือนนักซอนอกสถาบัน (แต่แกเป็นโปรเฟสเสอร์ที่เคอร์ติสนะครับ)
ไม่สนใจว่าตำราสอนยังไง กูจะสีแบบนี้แหละ ไม่ชอบก็ไม่ต้องมาฟัง

จะขอเทียบกับอีซาค เพิร์ลมันหน่อยนะครับ อาจจะขัดใจท่านทั้งหลายบ้าง
แต่เฮียคนนี้แสดงชัดเลยว่า เพิร์ลมันแกล้งหวาน ดัดจริตใส่อารมณ์ และฝีมือไม่แก่กล้าพอจะเป็นตำนานเดินดิน
อันนี้ถ้าพูดตรงเกินไปก็ต่อวาได้นะครับ แฟนแกมีมากทั่วโลก ผมก็ดันย้อนศรเสียนี่
แต่มันต้องชี้กันอย่างนี้แหละครับ จะได้รู้ว่าผมนี่คบได้ไม๊ได้ ไม่ชอบอมพะนำครับ  แหะ...แหะ

อย่างโรซานด์นี่ ก็ยังไม่ใช่ที่สุดของนักซอในทัศนะของผม แต่ผมรักที่แกไม่ทรยศสัญชาติญาน
ฝีมืออย่างนี้ หาจุดขายเสียหน่อย เติมประวัติให้มีสีสรรค์ และสวามิภักดิ์ต่อค่ายเพลง
ยอมสีซอให้ควายฟัง ...เอ้ย ให้นักวิจารณ์ฟังเสียหน่อย
ป่านนี้รวยเละกว่าโญโญโญโญโญโญโญมาหลายเท่า
ขานั้น ถ้าโปรดิวเซ่อร์สั่งให้ทุบเชลโล่แบบที่พีท เทาเช่นด์ทำกับกิตาร์
คุณเชื่อหรือไม่ ว่าแกจะทำ หรือไม่ทำ

ผมยังมีซอสาวแสนสวย จะส่งประกวดอีกหนึ่งราย เล่นดีกว่าโรซานด์อีก
ปีนี้เพิ่งจะสามสิบ แต่ผมเอาหัวเป็นประกัน
ว่าเธอเก่งที่สุดในบันดาคนที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันครับ
เอาหน่ะ เผื่อผืดพลาด มีเก่งกว่าเธอ 2 คนละกัน

ใครอยากรู้จัก ยกมือขึ้น

----------------------
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 151

moobin

03/10/2010 23:48:16
2

ไวโอลินของเพิร์ลมัน ไม่มี "ทาง" ครับ มันออกมาจากกระบอกไม้ไผ่
มันเหมือนเครื่องแปลงโน๊ตเป็นเสียงที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น
ฟังเขาสีไชค๊อฟสกี้ ปะกานินี หรือเบโธเฟ่น เหมือนๆ กันหมด

สาวสวยของผมคนนี้
สีซอได้ดีกว่าหน้าตามากๆ ครับ
เจ็มุตเตอร์จะกลายเป็นหุ่นยนตร์ไร้ชีวิตไปเลย
ส่วนหนูฮาห์นนั้น ผมยังไม่นับเธอเป็นอะไรทั้งนั้น นอกจากสินค้าชิ้นหนึ่ง

ต้องดูเธอไปอีกสิบปีครับ

ส่วนคนนี้ เพิ่งได้ลูกปีก่อน ดังนั้นความเป็นแม่ จะทำให้เธอเก่งขึ้นอีกเท่าไหร่ เราต้องคอยลุ้น


ผมเริ่มฟังเพลงคลาสสิคต่างจากพวกพี่ๆ ผมหาเพลงที่ชอบก่อน เริ่มด้วยไชก็อฟสกี้
แล้วจึงมาหาคนที่ชอบ ทำอย่างนี้วนเวียนไปมา
โชคดีที่สมัยเริมฟัง แผ่นมีขายไม่มาก เราก็เลยฟังตามที่เซนทรัลสั่งมาขาย
มีเงินก็ซื้อเก็บไว้ ไม่มีเงินก็จำหน้าตาแผ่น พอเป็นบุญตา

เมื่อแก่กล้าขึ้นมา ผมก็รู้สึกละว่า ไวโอลินคอนแชรโตที่ผมชอบมากที่สุดคือบราห์มส
ตั้งแต่นั้นการหาแผ่นก็แน่วแน่ขึ้น เพราะรู้แล้วว่าไม่มีเงินซื้อได้อย่างใจคิด ก็ซื้อตามเงินที่มี
จึงมีบราห์มสมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นซิมโฟนี่ คอนแชรโต เปียนโนเดี่ยว แชมเบอร์ เอาเป็นว่า
122 โอปุสของท่านผู้นี้ ตัดเพลงร้องออกไปหนึ่งในสี่ เพราะฟังไม่เป็น
ที่เหลือเคยผ่านหูเบอร์ละนับสิบศิลปิน อย่างไวโอลินก็เห็นจะถึง 30 คน บางคนก็ฟัง 5-6 รุ่น
จึงพอจะบอกได้ว่า บราห์มสที่ดีตามความคิดเห็นส่วนตัวเป็นอย่างไร

ยักษ์ใหญ่คนอื่นๆ ตั้งแต่บั๊ค มาถึงเบิร์นสตีน ก็ฟังบ้างไปตามโอกาสครับ

รายชื่อที่ยกมา ผมรู้จักดีอยู่คนเดียวครับ คือมิลสไตน์ ถ้าเชื่อผมก็แทงหมดตัวครับ คนนี้เก่งไม่มีใครเทียบได้
แต่ไม่ใช่เก่งที่สุดนะครับ คนอย่างนั้นไม่มีอยู่ในโลก
ตำนานระดับนี้มีอยู่สัก 2 โหล ค่อยๆสะสมไป ก็เป็นความสุขที่น่าอิจฉา
ยิ่งมีหนังตัวอย่างให้ดูในลิงค์ที่แนะนำมา ต้องบอกว่าขอบคุณมากๆครับ
ได้เปิดหูเปิดตาออกจากระลาครอบ แต่ก็ทำให้หงุดหงิดความจนอยู่เหมือนกัน....555555

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 152

moobin

04/10/2010 00:07:55
3

สาวสวยของผม ชื่อแพททริเชีย โฆปัชชิ่นสกายครับ เป็นชาวเบลารูส

--------------------------

อ่านที่สาวกมิลสไตน์เขาเทิดทูน ได้ที่นี่
http://www.andromeda.at/mus/mil/aufn_e.html

มิลสไตน์เล่นบราห์มสได้สดสุดๆ ผมมี 3 เวอร์ชั่น(มั้ง) ชอบหมด ฟังจบไปรอบ
กลับมาฟังรอบสอง เอ๊ะ......ไครสเลอร์ มี 2 ชุด เหมือนนั่งโรสรอยส์ไปหัวหินครับ ไม่มีที่ติ ขานี้เขาสนิทกับบราหมส์
คนเวียนนาด้วยกัน

ซีเกตตี้ เด็กอัจฉริยะ เพื่อนบราหมสเคยชวนมาเป็นลูกศิษย์(เป็นเกียรติสุดๆนะครับ) โยอาคิมนี่คือมือหนึ่ง ต่อจากปะกานืนี่ครับ
ไอ้หนุ่มบอก ขอบพระคุณครับ ม่ายละ เดี๋ยวมือผมเสีย....
มันบอกอย่างนั้นจริงๆ เพ่ มันบอกว่าคุณลุงเก่งจนยังไงผมก็หนีคุณลุงไม่ออก ผมขอแสวงหาด้วยตัวเองดีกว่า ฟังแล้วเหมือนขี่ฮาเล่ย์มีสาวกอดหลัง ไปหัวหินครับ

ฮูเบอรมัน คนนี้เจ็ดขวบไปเล่นให้บราหมสฟัง เป็นคอนเสิร์ตยักษ์ ทุกคนในเวียนนาไปหมด เสร้จเรื่อง ปู่บราหมสกอดไอ้หนู
มอบรูป มอบลายเซนต์ให้ หยอดคำหวานว่า หนูอย่าลืมปู่นะ เวลาหนูดังแล้วน่ะ
ฟังแล้ว โอยอย่าฟังดีฝ่า ทำคนอื่นจืดหมด เอ้า เหมือขี่ปอร์เช่ไปหัวหินละกัน

คนต่อมา มิลสไตน์ แกต้องเป็นพ่อมดอัจฉริยะครับ ไวโอลินในมือแก มันไหวย้วยไปตามแขน
คนนี้ไปหัวหินไม่นั่งพาหนะของใคร แกสั่งสร้างรถสปอร์ตตามสเปคของแก ขี่ไปเองง่ะ

ออยสตารค คนนี้ไปหัวหิน.....เดินไปครับ

ไฮเฝท คนนี้ให้หัวหินมาหา เชอะ หยั่งข้าหรือ จะขยับพระวรกายไปหาใคร หมอนี่จอมหยิ่ง
ผมไม่ชอบเขาเป็นที่สุด ตรงที่เลวแล้วเสือกเก่ง เก่งบัดซบเลยครับ
ถ้าจะมีใครสักคนที่สีไวโอลินจนไฟแล็บได้ โดยไม่ผิดแม้แต่หนึ่งโนต ก็หมอนี่แหละ
แต่ความชั่วเขานะคุณ
ไอ้เพื่อนักเปียนโนที่จับคู่เล่นกันมา 24 ปีน่ะครับ คงเคยเห็นหัวล้านท้วมๆหน่อย อย่าไปรู้ชื่อคนอาภัพคนนี้เลย
ออกงานด้วยกันมาเป็นร้อย ออกแผ่นด้วยกันมาเป็นหลายโหล
เป็นแท่นประติมากรรมให้ไอ้ยิวจอมแอ๊กขึ้นไปยืนเด่นเป็นสง่า

ตายจากกันโดยย๊าชช่า ไม่ยอมให้เรียกชื่อตัว
ทั้งคู่เรียกหากันว่า มิสเตอร์.....
แต่ยอมรับครับ ว่าเขาเก่ง....ยกเว้นเมื่อมาเล่นบราหมส


ดีกว่ารอบแรกแฮะ

มีไม่กี่คนที่ทำให้ฟังได้อย่างนี้

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 153

moobin

04/10/2010 00:12:42
4

ดังนั้น ลองมาไล่คนที่เคยสีให้บราห์มสฟังก่อนละกัน
คนแรก kreisler 1875-1962
คนต่อมา Bronislav Hubermann (1882-1947)
คนที่สาม Enescu 1881-1955
Ysaye 1858-1931
Carl Flesch (1873-1944)


Adolf Busch (1891-1952)
Zino Francescatti (1902-1991)
Arthur Grumiaux (1921-1986)
Mischa Elman (1891-1967)
Jascha Heifetz (1901-1987)
Herman Krebbers (1923- )
Fritz Kreisler (1875-1962)
Gidon Kremer (1948- )
Jan Kubelik (1880-1940)
Yehudi Menuhin (1916-1999)
Nathan Milstein (1903-1992)
Anne-Sophie Mutter (1963- )
Ginette Neveu (1919-1949)
Gidon Kremer (1948- )
Nigel Kennedy (1956- )
David Oistrakh (1908-1974)
Igor Oistrakh (1931- )
Itzhak Perlman (1945- )
Gil Shaham (1971- )
Isaac Stern (1920-2001)
Henryk Szeryng (1918-1988)
Jacques Thibaud (1880-1953)
Maxim Vengerov (1974- )
Frank Peter Zimmermann (1965- )
Pinchas Zukerman (1948- )
Salvatore Accardo (1941- )
Eugene Fodor (1950- )

*************************
มีความเห็นอย่างหนึ่งจะเสริมค้วยครับ
คอนแชร์โตของบราหมสนี่ ภาคออเครสตร้ามีความสำคัญเท่ากับภาคเดี่ยวเครื่องดนตรี
อันนี้เป็นต้นแบบของแนวนี้เลยนะครับ
หมายความว่า วงและคอนดัคเตอร์ถ้าไม่ถึงละก้อ ข้ามไปเลยครับ ไปหาผ่นอื่นฟังดีกว่า
อย่างเมนูฮินนี่ ลองสังเกตดูนะครับ ถ้ากับคอนดัคเตอร์มืออ่อน งานก็อ่อนตาม
แต่ที่แกเล่นให้เคล็มเปอเรอร์ หรือฟรู๊ตเวงเลอร์ เจ๋งจริงๆ ให้ตายเหอะ

เมื่อมองตามแนวนี้ ผมก็นึกถึงคอนดัคเตอร์ 2 ชื่อ ที่เป็นนายวงคอนแชรโตได้ยอกเยี่ยมกระเทียมดอง
หนึ่งคือยอร์จ เซล จอมเฮี๊ยบ อีกหนึ่งคืออูยีน โจฆุ่ม จอมเนี๊ยบ
นึกอะไรไม่ออกเห็นสองคนนี้คุมวงให้คอนแชรโตอะไร หยิบฟังได้เลย ภาคดนตรีก็คุ้มแล้วครับ
นี่ยังได้ภาคเดี่ยวแถมมาอีก....55555

บราหมสที่เจ๋งตามแนวนี้ น่าแปลกที่ผมยกให้การร่วมมือของสองพ่อลูกออยสตร๊าค
อิกอร์สีซอ เดวิดสีวง
น้อยคนที่รู้ว่าเดวิดเป็นยอดคอนดัคเตอร์งานของบราหมส เรียกว่าเป็นบราหมเชี่ยนอันดับหนึ่งของรัสเซีย
เมื่อแกมาคุมวงให้มือซอ แกจึงรู้ทะงุทุกตัวโนต ยิ่งมือซอคือลูกชาย คนที่แกฝึกมาเอง
แผ่นนี้เยี่ยมยอดอย่างเหลือเชื่อ แต่หน้าปกเห่ยรับประทาน เป็นกางเกงยีนของพ่อ เห็นแตาขาจูงลูกตัวกระจิ๋ว
ถ้าไม่รู้นี่ นึกว่าโฆษณาผ้าอ้อมเลยเชียวแหละ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 154

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

04/10/2010 12:19:37
125
โหย....อันนี้มันบรมเอกอัครมหาเทพแล้วครับ ผมอ่านดูแล้วไม่รู้เรื่องเลยครับ(กลายเป็นเด็กอนุบาลไปเลยจ้า) อย่างนี้ต้องพูดคำเดียวครับ นับถือ ๆ ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 155

สมัครเล่น

04/10/2010 12:36:27
0
ขอบคุณครับ
PATRICIA KOPATCHINSKAJA
ลองเข้าไปฟังดูแ้ล้ว
กำลังภา่ยในบูลิ้มดีครับ
มันดีเหมือนกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 156

04/10/2010 14:02:36
/// สวัสดีครับคุณอาหมอ ขอบคุณนะครับที่เข้าใจ และไม่ว่าผมออกทะเล อิอิ /// >>> คุณวุธชุดที่คุณวุธชื่นชอบ ไม่เรียกว่ายัดเยียดหรอกครับ เรียกว่าผมจะได้เข้าไปในโลกคุณวุธด้วยคนครับ <<<
--- สวัสดีครับพี่สมัครเล่น ขอบพระคุณเรื่องเมลล์นะครับ ว่าแต่บูลิ้มยังไงครับเนี่ย ---
@@@ ความรู้จากคุณ moobin นี่เยี่ยมมากๆเลยนะครับ จริงๆแล้วความรู้ทั้งกระทู้เลย^^ เปิดโลกการเรียนรู้ของผมเลย @@@
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 157

Collagen

04/10/2010 14:53:50
4
โอ้โห.....สุดยอดครับคุณ moobin รายละเอียดลงลึกมากๆ ผมแทบจะไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เลยครับ.... สุดยอดๆๆ ครับ ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 158

ผู้หวังดี

04/10/2010 15:09:25

เด็กหนุ่มๆระวังประตูหลังไว้ให้ดี

ใครชวนไปฟังเพลงที่บ้านก็อย่าหลวมตัวไปนะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 159

moobin

04/10/2010 20:34:50
ขอแถลงอีกครั้งเพื่อความเข้าใจอีกครั้งนะครับ
ที่ผมเอามาลงนี่ ไม่ใช่ความคิดความเห็นของผม
แต่ตัดตอน เรียบเรียงมาจากความในกระทู้ /web ที่บอกไปแล้ว
โดยจะเรียงมาเป็นเลขหัวข้อตามลำดับเวลา
เช่น

-------------
1
xxxxxxxxxxxxx
-------------

หากจะมีความคิดความเห็นของผม จะอยู่นอกกรอบเส้นขีดนะครับ

ที่เอามาเพราะเห็นว่าจะทำให้ผู้อยากศึกษาเพลงคลาสสิคจะได้ร่วมรับความรู้ด้วยกัน

แต่ก่อนผมสงสัยมานานแล้วว่าเราพูด เราฟังเพลงคลาสสิค
ก็โดยสนใจแต่ว่าเป็น เพลงอะไร เพลงของใครแต่ง
แต่เจ้าตัวคนแต่งล้มหายตายจากไปนานแล้ว
แต่คนเล่นดนตรี และคอนดักเตอร์ จะมักไม่ค่อยสนใจ (สำหรับนักฟังระดับต้น)

เพิ่งจะมาพอจะเข้าใจได้บ้างในระยะ 6 - 7 ปีหลังนี่เองว่า
เพลงเดียวกัน แต่วงที่เล่นต่างกัน นักดนตรีต่างกัน คอนดักเตอร์ต่างกันนี่
มันทำให้เพลงต่างกันได้ขนาดนี้

มี score เล่นตาม score ก็จริง
แต่ก็มีหลายอย่างที่ score กำหนดตายตัวไม่ได้
บอกโนต บอกทำนอง บอกจังหวะ บอกระดับเสียง
แต่ก็ยังทิ้งเรื่องนำ้หนักเสียง ความช้า-เร็ว หนัก-เบา ไว้ให้รุ่นหลังตีความเอาเองอยู่ดี

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงว่าเครื่องดนตรีสากลนั้นมีการพัฒนาเปลี่ยนมาตลอด
ระดับเสียงของไวโอลินสมัยแรกไม่ได้เป็นอย่างนี้
เปียโนนั้นเป็นเครื่องดนตรีเกิดใหม่
สมัยยุดแรกเริ่มของเพลงคลาสสิคยังไม่มีเปียโน
อาจจะใช้ฮาร์ปซิคอร์ดบรรเลง ซึ่งเสียง ความก้อง ความก้าวร้าว กระแทกกระทั้น ไม่มีเหมือนเปีนโน
แต่ทุกวันนี้เพลงเหล่านั้นใช้เปียโนเล่นหมดแล้ว
ถึงได้สงสัยกันว่าเพลงนั้นเพลงนี้ เมื่อแรกแต่งแรกบรรเลงจริงจริง คนแต่งกะว่าจะให้ม้นออกเสียงยังไงแน่

คนถึงด่า Karajan ที่คนไทยฮิตนักฮิตหนาว่าทำลายเพลงของ Beethoven
เพราะตีความเพลงของ Beethoven ตามใจชอบ เน้นแนวอึกทึก สนั่นหวั่นไหวจนเกินเหตุ

เลือกเรียบเรียงความในกระทู้ที่ว่าเพื่อเป็นแหล่งศึกษาอีกทางหนึ่งของสมาชิกแฟนคลับเฮียมั่น
ที่สนใจเพลงคลาสสิค
จะได้ร่นระยะการศึกษา ได้หาของดีมาฟัง ไม่ต้องตามกระแสตลาดอย่างเดียว

ยกตัวอย่างเช่นเปียโนของมาร์ธา แอเกอร์ริช นั้นบางเพลงก็โอเคอยู่
แต่โดยเหตุที่แกเป็นพวกบ้าพลัง ชอบโชว์พลังการกระแทกเปียโนเป็นอันมาก
บางเพลงที่แกเล่นผมรับไม่ได้เลย โดบเฉพาะเมื่อได้ฟังเพลงเดียวกันที่เทพตัวจริงเล่น
เช่นโฮโรวิทซ์เป็นต้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 160

moobin

04/10/2010 20:37:17
มาต่อกันเลยนะครับ

----------------------------
5


ผมมีแผ่นของริคคี่ แต่มัทซี่มีซีดี เล่นพอไปวัดไปวาได้
แต่ยังแพ้เจเนต เนอฟู หรือ เชอริง ซึ่งผมจัดที่ให้พวกท่านอยู่แถวสอง
พวกแถวแรกกำลังพรรณาอยู่ขอรับ แต่มันเป็นไปตามอำเภอใจผมนะครับ แล้วก็โปรดอย่าลืมว่าผมมันหูตะกั่วเอ็มพี 3
ฟังอะไรก็มีจุดชอบไม่ตรงกับชาวบ้าน
อย่างเช่นผมไม่ฟังเฮียคารายานเลย เพราะเชื่อวินิจฉัยของฟรู๊ตเวงเล่อร์ ทั้งๆที่แกออกหล่อ
อย่างเบิร์นสไตน์นี่ ผมว่าแกกำลังเกาเห็บอยู่หน้าโพเดียมมากกว่า เลยแทบไม่มีเลย
ยกเว้นบราห์มที่ไปเล่นฉลอง 150 ปีกับวงเวียนนา แกยังต้องหัดอีกนานครับกว่าจะเอาชนะใจผมได้
แหม...ขนาดแกกำกับเวสต์ไซด์ สะตอรี่ ผมยังไม่รับประทานเลย

ผมชอบแน่วนิ่งเป็นท่อนไม้อย่างมราวินสกี้ครับ แค่ปรายตา นักดนตรีก็หยุดหายใจแล้ว....555555

ทั้งคู่เล่นดีทีเดียวครับ  แต่เจ้มัทซี่ได้คอนดัคเตอร์ที่ไม่ถนัดบราหมสนัก คือเคล็ทสกี้(คิดว่าใช่) ขานั้นเขาพวกมาหะเลอเรี่ยน
ชอบโอ่อ่าราคาแพง ไม่สามารถนำวงรองรับความพริ้วไหวของเจ๊แกได้พอดี สองส่วนก็เลยไปด้วยกันไม่แนบเนียน
ถ้าฟังแต่ซอก็พอรับได้ครับ แม้ว่าจะออกหวานจัด ก็ยังไม่เฝคเหมือนเพิรลมัน
(เอาอีกและ ผมนี่แย่จัง ชอบแวะที่นี่เรื่อย พอดีมันนึกออกนะครับ ใครชอบพี่อิสซาคก้ต้องขอรบกวนความรู้สึกอีกครั้ง)
ตรงท่อนคาเด็นซ่า เธอใช้บทของโยอาคิม ซึ่งแปลกมาก โยอาคิมใช้สำเนียงผู้ชาย ห้าวหาญ ลุ่มลึก
เธอมาทำให้พริ้วหวาน น่าฟังเหมือนกั แต่ปู่บราหมสอาจจะเลิกคิ้วนิดหน่อย
แล้วหันไปปรึกษาโยอาคิมว่า ออกแนวนี้ก็ได้หรือ.....
เพราะปู่แกออกหวานแบบน้ำตาลสด หวานแบบน้ำผึ้งนี่ไม่ใช่ทางแก
ท่อน 3 ผมไม่ถูกหูที่สุดครับ เห็นชัดว่าเคล็ทสกี้ทำโครงสร้างเสียหายมาก
เพลงนี้ไม่เหมาะกับคนมือหนัก

ตอบเสร็จก็ไปงัดเนอฟูมาฟังอีกรอบ สมควรครับที่เธอชนะออยสตราค
ถ้าเทียบงานในปีนั้น เสียงซอของเธอมีเสน่ห์มาก และสมาธิในการนำเสนอก็นิ่งเหมือนเป็นผู้ใหญ่
เธอไม่เล่นกับหางเสียง ซึ่งผมตกหลุมรักสไตล์นี้ครับ รำคาญพวกเลี้ยงหางเสียง ไม่รู้มันมีอะไรดีนักหนา
ไวโอลินของเธอเสียงแข็งแรง และบุคลิกของเธอก็รับกันดี
ผมจึงยินดีเชิญเธอยืนนำหน้าแถวสองในทำเนียบ
เธอเล่นท่อนสามได้ดีมากๆครับ ดีกว่าท่อนคาเด็นซ่าที่ดีอยู่แล้วขึ้นไปอีก

ส่วนเฮียเดวิดน่ะ แกเป็นพวกเรียนรู้ตลอดชีวิตครับ ราว 1940 แกอาจจะไม่เก่งที่สุดในโลก
แต่พอ 1960 นี่ กลายเป็นอีกคนครับ ยิ่งแก่ยิ่งเก่ง ลองไปหาเบโธเฟน โซนาต้าที่แกเล่นกับโอเบริน คู่หูมาฟังดู
ผมกล้าเอาเวบคุณพจน์เป็นประกันว่า ไม่มีที่ดีกว่านี้อีกแล้วครับ...ฮิฮิ
ยกเว้นที่ไครสเลอร์เล่นกะรัคมานินอฟ ซึ่งถูกใจผมมากกว่าอยู่นี๊ดดดดเดียว
คู่อาวุโสนี่เขาเล่นกันเหมือนกำลังเขียนโน๊ตครับ เสียดายผมมีเบอร์เดียว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 161

moobin

04/10/2010 20:39:57
---------------------
6



วันนี้ขอแนะนำคนไม่ค่อยปกติสักคน

วงออร์เคสตร้าประจำประเทศนั้น เขาแข่งกันยิ่งกว่าบอลล์โลก บางประเทศก็แต่งตั้งเป็นทางการ
อย่างดัชท์ก็มีคอนเสิร์ตเกเบาน์ อิตาลีแม้ไม่ประกาศแต่ก็ยอมรับกันกลายๆ ว่าคือลา สกาล่า
ของอังกฤษนี่ เพิ่งตั้งมาไม่นาน ไม่น่าเชื่อนะครับ ประเทศนี้ ไม่มีวงหลวง อายเขาแย่เลย
แล้วที่ประหลาดก็คือ ต้องไปขอวงส่วนตัวของคนอื่นมาสถาปนา
เป็นวงของ Sir Thomas Beecham

คนนี้เป็นมนุษย์ประหลาดครับ จู่ๆ แกก็ควักกระเป๋าตั้งวงส่วนตัวขึ้นมา บอกว่า
กูไม่มีวันง้อไอ้พวกนักการเมืองสถุล รสนิยมต่ำมาโอบอุ้มศิลปะของประเทศกูดอก
(เอ่อ...เขาพูดถึงประเทศอังกฤษนะครับ ไม่ได้หมายฟามถึงประเทศเสียมแลนด์แถวพม่าข่าระเดว
ที่มีลูกเต๋าจอมแหลเป็นทั่นผู้นำนะครับ)
เป็นเงินมหาศาลแค่ใหนก็คิดเอาเอง ทุกอย่างชั้นหนึ่งหมด ทั้งนักดนตรี เครื่องดนตรี เงินเดือน
ค่าเดินทาง เบี้ยเลี้ยงซ้อม ค่าตัวนักเดี่ยวเจ๋งๆ ....ฯลฯ บีชั่มรับเข้าในอ้อมอก
จ่ายคนเดียว ทุกบาททุกสตางค์

เห็นแผ่นของคนนี้เมื่อไหร่ ลองหิ้วเข้าบ้านมาลองฟังดู แล้วจะร้องว่า ทำไมกูไม่เหมามาหมดร้านวะ

แกเก่งแค่ใหน ไม่มีใครบอกได้ เพราะอัดแผ่นไม่มากนัก
และเล่นเพลงอยู่กลุ่มเดียว
เป็นเพลงไฮเอ็นด์ทั้งสิ้นนะครับ เหมาะกับซิสเต้มระดับ 300K up

เอาเป็นว่า แกอัดเพลงใหนไว้แล้ว ก็จะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากของคนรุ่นหลังละครับ
ไม่มีทางที่จะทำให้ดีกว่าบีชั่มได้อีกแล้ว

โชคดีที่แกไม่โปรดบราห์มส ทั้งชีวิต อัดแค่ซิมโฟนี่เบอร์ 2 op. 73
ซึ่งเป็นปริศนามาจนทุกวันนี้ เพราะแกอัดเสียงถึง 2 ครั้ง (แปลกมากๆ .....สำหรับพ่อคนนี้)
ครั้งหนึ่งเป็นโมโน อีกครั้งเป็นสเตริโอ
คุณภาพหรือครับ.....ไม่บอกฮ่า คุณๆต้องไปหามาลองเอง
ถ้าฟังแล้วไพเราะ ผมก็ดีใจด้วย แต่มันเป็นเพราะหูของคุณนะครับ ไม่ใช่ตัวหนังสือของผม

บอกตามตรง ว่าผมมันครูพักลักจำ
ถือคติว่า ของอะไรถ้าเชียร์กันนัก ให้สงสัยไว้ก่อน
ตอนที่เริ่มเล่นเพลงพวกนี้ เห็นแต่ออร์มันดี้กับวงฟิลาเดลเฟีย เต็มแผง ผมก็หมายหัวเลยว่าหมอนี่ต้องไม่เก่งแหง็มเลย
คนอะไรมันจะว่างงานถึงกับอัดแผ่นมันทุกเพลงที่มีในแผง แล้วยังเก่งขนาดเพลงอะไรก็เล่นได้
หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่เอาด้วยละครับ

ไปเจอเวบเพลงเก๋ากึกกกกก คราวนี้เป็นค่ายยี่ปุ่น นัยว่าจะตีตลาด ทำของดีออกมามั่ง
ความจริงประเทศนี้เขาบ้าเพลงคลาสสิคกว่าเยียระมันเสียอีก คราวที่คารายานเสด็จไปเหวยปลาดิบ
คนที่นั่นแทบจะปูพรมแดงทั่วเกาะที่เฮียแกเด็จไปเลย เฮียแกไปหลายหนด้วย

http://www.opuskura.com/index_e.htm
ลองเข้าไปฟังตัวอย่างดูนะครับ ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่ทางยุโรปเขาทำมาหากินนานแล้ว
แต่พี่ยุ่นกลุ่มนี้น่าจะมีดีในการทรานสเฟอร์ข้อมูล จึงกล้าทำสู้

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 162

moobin

04/10/2010 20:41:46
------------------
7


อันว่านักดนตรีที่เจ๋งนั้น ตำรา(แหะ..แหะ...อ้างไปงั้นแหละ ความจริงคือตำราตูเอง ฮิฮิ) ท่านว่า มีสองพวก
คือพวกตามบทกับพวกตามใจ หรือเรียกเป็นภาษาต่างด้าวว่า พวกมิวสิกั้ล กะพวก เฟอร์จูโอโส้
พวกแรกน่าเบื่อ พวกหลังนี่น่ารำคาญครับ เอาคนที่ผมไม่รำคาญก่อนละกัน
1 ฟริตส์ ไคร้ส์เลอร์ คนนี้สีไวโอลินเหมือนเกี้ยวสาว ประเคนให้แต่ของดีที่สุด โน๊ตสักตัวที่ต่ำทรามอย่าหวังว่าแกจะสร้างออกมา
เป็นไอ้หนุ่มชาวกรุง รสนิยมดี ฝีมือเลิศ และไม่ยอมทำเรื่องที่ตัวเองไม่ถนัดครับ ใครได้เป็นแฟนละก้อ
เชิดดดดดดหน้า หาคนเทียบยาก
สำเนียงซอหวนละมุน โรแมนติคสุดแสน (แต่เป็นแบบห้องแอร์เย็นฉ่ำนะครับ) แสงเทียนสลัว ไวน์รสเลิศ บ๋อยรู้ใจ
โอ๊ยยยย ดีไปหมดครับ เก่งทั้งบุ๋นและบู๊ คือเล่นเดี่ยวก็ดี เล่นคู่นี่ไม่มีใครสู้ได้ครับ แล้วยังเก่งคอนแชร์โต้ด้วย
ในคอนแชร์โต้ของบราห์มส์นั้น หลังจากเปิดตัวด้วยวงมหึมาเล่นครบกระบวลไปสักห้านาทีแล้ว จะเป็นจังหวะที่ซอเข้าแทรก แล้วจะนำทางอย่างทีละเล็กละน้อยจนเข้าควบคุมสาระทั้งหมด ตรงนี้ ไครส์เลอร์ทำได้ดีเลิศครับ ลีลาซอค่อยๆขโยกวงทั้งหลายสิบชิ้นให้ลดหน้าที่
การส่งผ่านตรงนี้ต้องใช้สมาธิกับพลังงานมาก ผมใช้เป็นตัววัดความยิ่งใหญ่ในสีมือครับ
คนนี้เป็นมิวสิกั้ลลล์

แต่พอมาถึงเฮียอูเบอร์มันน์นะคุณเอ๋ย วงทั้งวงน่ะ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ แกไปเดี่ยวได้อยู่แล้ว ซำบาย ซำบาย
คนนี้เป็น virtuoso

รอหน่อยนะครับ กำลังทำบัญชีของชอบมาเสนอ....เอ แต่ผมไม่ได้พูดถึงชนาเบลเลยนี่นา พี่ท่านไปงัดมาแต่ใหนกัน คนนี้เขาเป็นมือเปียนโนจอมสร้างลูกศิษย์ สมัยหลังสงครามโลก แทบทั้งนั้นต้องไปเรียนกับแก ถึงจะออกศึกได้
ลูกศิษย์คนที่แกสร้างได้เจ๋งสุดก็คือ คลิฟเฟิร์ด เกอร์ซอง อันดับหนึ่งของอังกฤษ คนเดียวที่ไม่เคยลงชื่อในสัญญาอัดเสียง แต่ไม่เคยเปลี่ยนสังกัด เป็นทรัพย์สินอันมีค่าของค่ายเดคค่าเขา แล้วแกก็ใจเ้ยมจริงๆครับ อัดเสียงเสร็จ อย่างยอดเยี่ยมเลย แกฟังตอนเล่นกลับแล้วบอกว่า ผมยังเล่นได้ดีกว่านี้ว่ะ ขอไม่ผลิต วงแตกสิครับ ลงทุนไปตั้งแยะแล้ว แถมคอนดัคเตอร์ก็เบอร์ใหญ่ด้วย เบ็นยามิน บริตเต้น แสดงว่าเกอร์ซองนี่มีอิทธิพลมากจริงๆ
หาแผ่นของเขาได้เมื่อไหร่ ให้ซื้อไว้ 2 ชุดนะครับ คุณจะไม่มีวันได้ยินสำเนียงเปียนโนที่งามดังเพชรแวววาวเท่านี้มาก่อน
โดยเฉพาะในบราห์มส โอปุสที่ 5 และโซนาตา 3 เบอร์ท้ายของชูเบิรต
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 163

moobin

04/10/2010 20:44:04
8


ถ้าเหลือคอนดัคเตอร์ในประวัติศาสตร์ให้เลือกเพียง 5 คน หนึ่งในนั้นต้องเป็นฟรุทเวงเลอร์
ถ้าลดเหลือ 3 ก็งต้องมีเขาอยู่ในบัญชี
มีคนเดียวที่เหนือกว่าเขาก็คือ ทอสกานีนี่ แต่เหนือกว่าเพราะทอสกานีนี่แกอาวุโสเหลือเกินครับ
แกทันเสวนากับแวร์ดี้ คืออ่อนวัยกว่าอาเธอ่ร์ นิคิชเพียงไม่กี่ปี เริ่มงานเมื่อปี 1885
ตอนนั้นบราห์มสกำลังแต่งซิมโฟนี่เบอร์สี่ และดับเบิลคอนแชรโตอยู่เลย
แล้วยังตายหลังฟรุทฯอีก คอนเสิร์ตครั้งสุดท้าย เป็นวากเนอร์ทั้งรายการ นั่นน่ะบันทึกเป็สเตริโอแล้วด้วย อายุงาน เกือบ 70 ปีครับ

แต่ฟรุทเวงเลอร์อายุไม่ยืนยาวเท่าครับ ปีที่อาตูโร ทอสกานินี่จับไม้บาตอง ฟรุทฯยังไม่เกิดครับ แล้วตายก่อนตั้งเกือบสิบปี
อายุงานก็เลยมีแค่ 50 ปี

ทั้งคู่เป็นหยิน-หยางทางดนตรีครับ
อาตูร์โร่นั่นเป็นคนที่ไม่เคยรู้จักกับความเพี้ยนครับ ถ้าคุณได้ดูหนังที่บันทึกการคุมวง ดูปลายไม้บาตองของเขานะครับ
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับบทเพลง ปลายของมันจะยังคงแน่วแน่มั่นคง ถูกต้อง เป็นที่พึ่งให้กับอีกร้อยชีวิตที่กำลังคร่ำเคร่งกับตัวโน๊ต
มีอาร์ตูโร่คุมวง นักดนตรีไม่มีวันหลงทาง และโน๊ตทุกตัว จะถูกปลดปล่อยออกมา ไม่มีแม้แต่รอยซีดจาง ไม่ชัดเจน
ผมเปรียบอย่างนี้ละกัน คุณเอาโน๊ตซิมโฟนี่ ใส่ลงในมือของเขา มันจะกลายเป็นเสียงสำเนียงที่ควรจะเป็น ตรงตามที่คุณคิดฝัน

กลับกัน ถ้าเป็นฟรุทฯนะครับ กำลังกำกับอยู่ รับรองว่าคนแต่งต้องเดินมาดูที่สกอร์ เพราะสงสัยว่า เอ...กูแต่งไว้อย่างนี้เหรอฟะ
แล้วเล่นสองหน ไม่เหมือนกันครับ มันต้องมีอะไรงอกเงยออกมาซำเหมอ
คิดดูเถอะ แกเก่งบราห์มสมาตั้งแต่หนุ่ม ก่อนตายสองปี ยังบอกว่า นึกออกแล้ว ซิมโฟนี่เบอร์สาม ต้องเล่นแบบนี้....
ตั้งแต่เด็ก ที่หนูน้อยวิลเฮล์ม ฟรุทเวงเล่อร์ จะมีโนตของบีโธเฟ่นติดกระเป๋า เอาไว้อ่านแทนนิยาย......
ถือว่าเป็นยอดของนักตีความเบโธเฟ่น แต่....ไม่เคยบันทึกเสียงหมายเลขแปด (ตอนอีเอ็มไอทำชุด 1-9
ต้องไปเอาเบอร์แปดมาจากการเล่นสด

เห็นที่ใหนนะครับ ตบคนข้างๆให้สลบหมด เราจะได้กวาดเอาไว้คนเดียว
มีสมาคมฟรุทเวงเลอร์อยู่ในเมืองหลักหลายเมือง แผ่นของเขามีมาก แต่เมื่อยี่สิบปีก่อนลงไป เป็นแผ่นผีแทบทั้งนั้น
พอมายุคซีดี เลยเปรมผมครับ ไม่มีใครสามารถอ้างลิขสิทธืได้ เพราะต้นฉบับมันกระจัดกระจายมั่วซั่วไปหมด
ขนาดกองทัพโซเวียตบุกเบอร์ลิน หนึ่งในสมบัติที่ขนกลับ คือบันทึกการแสดงของตำนานคนนี้
หลังสงคราม เขาถูกแบน ดูเหมือนจะห้าปี ระหว่างสอบสวนว่าเป็นนาซีหรือไม่
ช่วงนั้น เซกุย เซลิบิดาเก้มานำวงแทน แต่พอฟรุฯตาย คนที่เขาเกลียดที่สุด ได้มานำวงเบอร์ลินฟิลาโมนิคแทน
เซกุยหรือเรียกกันอย่างหนิดหนมว่าเจลี่ อกหักไปบุกเบิกวงอื่น และไม่กลับมาเบอร์ลินอีกเลย

ถ้าคุณชอบฝีมือเขาละก้อ สะบายไปอย่าง เพราะไม่ต้องซื้อของคนอื่นอีก เสียเวลา
แต่แนวสมัยใหม่ เขาไม่สนนะครับ พวกเดบูชี่ สะตราวินสะกี้อะไรเทือกนี้ แกไม่แตะให้เสียมือ
มันไม่เป็นเยียระมันครับ....55555

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 164

moobin

04/10/2010 20:45:21
9

ผมก้อขี้โม้เกินเหตุ ไม่ถึงกับว่าฟรุทเวงเลอร์ไม่เล่นเดบูชี่ดอกนะครับ แต่ไม่เน้นเป็นหลัก
ลองเข้าไปดูที่ http://www.furtwangler.org/ เขาทำบัญชีเอาไว้ละเอียดแทบจะวันต่อวันกระมัง
มีออกเป็นหนังสือเล่ม เกี่ยวกับการอัดเสียงลงแผ่นทุกครั้งทุกยี่ห้อ สำนักพิมพ์ Amadius ผมอยากได้แต่เมืองไทยไม่สั่งมาขาย
ชื่อฝรั่งว่า the record of Furtwangler ประมาณนี้แหละครับ
ของทอสกานีนี่ก็มีบัญชีอย่างนี้เหมือนกัน ทำละเอียดขนาดบีโฟ่นเบอร์ใหน เล่นกี่ครั้ง เมื่อไหร่กับใคร...อ่านแล้วเกิดกิเลศ

มีแผ่นญี่ปุ่น ทำของสองคนนี้อย่างดีเยี่ยมออกมาตั้งแต่เมื่อสามสิบปีก่อน
อยากจะบอกว่า ผมเริ่มเล่นซีดีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ก็เพราะเขาเอางานของฟรุทฯ มาแปลงเป็นดิจิตัล
เลยสติแตกครับ แต่ก่อนต้องนั่งรอว่าเมื่อไหร่ดอยช์กราโมโฟน จะรีอิชชุ๋งานแกออกมา แล้วก็ไม่ครบอีก
เพราะอย่างที่บอก แกแสดงไปทั่วยุโรป อิตาลี่ ฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกัน ...แม้แต่ตามสถานนีวิทยุ ฯลฯ
มัวแต่รอค่ายใหญ่ๆ พอดีลงแดง

ค่าย Music&arts ดูเหมือนเป็นเจ้าแรกๆที่ผลิตซีดีออกมา จากแผ่นผี
เสียดายอีก ที่ร้านในกรุงเทพ ไม่รู้จัก ไม่สั่งมาขาย
สุดท้าย ผมก็ได้แต่และเล็มฟังเท่าที่เขากรุณาสั่งมาขายเท่านั้น ที่เหลือต้องใช้นึกเอา

ลูกวงของแกเล่าความหลังไว้ว่า
"ผมเป็นพนักงานตีกลองในวง เวลาซ้อมเลยว่างมาก นานทีถึงตีหนหนึ่ง เลยมีหนังสือมาอ่านระหว่างรอ ...
ระหว่างนั้น จะรู้เลยว่า ฟรุทเข้าห้องมา เพราะดนตรีจะเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ทันทีที่เขาก้าวเข้าในห้องซ้อม ทุกคนจะเล่นให้ดีที่สุดอย่างไม่รู้ตัว....ผมอยู่หลังห้อง ได้ยินความเปลี่ยนแปลงชัดที่สุด
แกใช้ aura (ไม่รู้จะใช้คำไทยว่าอะไร บารมีกระมังครับ) ในการกำกับวงครับ



เมื่อตะกี้ผมเพิ่งดูรายการคุณพระช่วยจบ ก็มาฟังเพลงต่อ แล้วก็คิดเรื่อยเปื่อยว่า ดนตรีไทยนี่ยากกว่าตะวันตกมากเหลือเกิน
แต่ก็ยังมีคนร้อนวิชา จับดนตรีไทยมาพี้ยาเทคโนโลยี่จนกลายพันธุ์ สติแตก เละเทะยิ่งกว่าเมายาบ้า
คิดดูนะครับ แข่งซออู้ ตัวนี๊ดดดดเดียว
พี่เล่นเอาวงเครื่องไฟฟ้าเจ็ดแปดชิ้นเป็นแบคอัพ แถมเล่นซะดัง วางจังหวะแบบเพลงโป๊ะชึ่งๆ
ฝีมือเล่นก็ห่วยแตกเหมือนนรกส่งมาทำลายล้างโลกดนตรีไทย แล้วให้เครื่องอคูสติกด้นสู้
มันจะไหวรื้อออออ....
ไอ้ที่เด็ดสุดคือ กรรมการดันบอกว่า เสียงซอล เสียงโดของน้อง มันไม่ตรงกับวง จังหวะก็คร่อมกัน....
เวรเอ๋ย เอาสามเณรเป็นเรฟเฟอเร๊นส์ มาสอนหนังสือสังฆราช ศักดิ์มันต่างกันจนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว
ผมงี้ อยากเอาอะไรข้างตัวโยนเข้าไปให้ก๊วนคุณพระฯ บอกว่าหยุดเหอะ เอ็งไม่ได้ทำให้อะไรมันดีขึ้นเลย
มันตรงกันข้าม หน้ามือเป็นหลัง teen ทีเดียว

นี่แหละครับ ผลจากการตีความ
ถ้าเราตีความว่าดนตรีไทยจะรอดได้ ก็ต้องแปลงเพศ กลายพันธุ์
สินค้าพันธุ์อย่างนี้ก็เกลื่อนเมือง
ผมรับไม่ได้ แต่มันดันมีคนอีกเป็นล้านที่รับได้
สุดท้ายแนวทางที่ผมนับถือ ก็เฉาตาย

ในเพลงคลาสสิคก็มี แย่ยิ่งกว่าที่เกิดกับคุณพระช่วยอีก
น้องเมย์ ที่ว่าเป็นลูกครึ่งไทยปนซิงกะโปเรี่ยน ปนอังกฤษคนนั้นก็คนนึง
ความจริงเธอมีฝีมือดีพอจะเอาดีทางซอ แต่ดันตกเป็นเหยื่อของโปรดิวเซ่อ
ซึ่งมันก้าวไกลไปกว่าน้องเมย์ เพราะเดี๋ยวนี้มันจับสี่สาวแก้ผ้าเล่นคลาสสิคเลยละครับ
ไอ้ผมก็ดันตาบอด ไม่เห็นรูปร่างหน้าตา ได้ยินแต่เสียง
มันก็เสียงซอที่บู๊สให้เข้ากับระบบสะเตริโอชั้นเลว
ยกหัวยกท้าย จัดการกับความเพี้ยนให้กลมกล่อมหน่อย แค่นี้หูไร้เดียงสาทั่วๆไปก็ผึ่งแล้ว
บอกว่ามันอิ๊ยอ๋าย...นี่ละครับมิจฉาทิษฐิ แต่ไม่รู้ว่าผม หรือคนนับล้านที่ว่า...5555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 165

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

04/10/2010 21:20:55
125
โหย....อ่านแล้วหลอนเลยครับคุณหมูบิน......
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 166

moobin

04/10/2010 22:30:09
10

มะราวินสกี้ ( หมายถึง Evgeny Mravinsky - moobin )
เคยสร้างตำนานไว้เรื่องหนึ่ง
คือยกเลิกการแสดงชั่วข้ามคืน

เรื่องมีอยู่ว่า แกซ้อมบรูคเน่อร์เบอร์ 7 อยู่
(เบอร์นี้ "ต้อง"มีนะครับ พี่น้อง แต่เลือกคนเล่นหน่อย มันเป็นงานเข้าสมาธิและชำระจิตด้วยดนตรี)
ก็ตามมาตรฐานของพี่แกละครับ ซ้อมหนัก จับรายละเอียดทุกโน๊ต พิถีพิถันกว่าตัดสูทแต่งงานให้เจ้านายเสียอีก

พอได้ที่ แกก็ขอซ้อมครั้งสุดท้าย ซึ่งหมายความว่าเป็นการเล่นจริง แต่ไม่มีคนดูเท่านั้น
ไมม่มีการหยุดเพลงเพื่อแก้ไข เริ่มแล้วก็ไปต่อจนจบ
จบเพลง.........

แกนั่งเศร้าครับ แล้วก็ปิติอิ่มเอิบด้วย
แกขอให้ทางโรงแสดงยกเลิกรายการพรุ่งนี้ครับ

แกบอกว่า ผมเพิ่งเล่นดนตรีที่สวยงามที่สุดในชีวิตออกไปแล้ว
พรุ่งนี้ผมทำไม่ได้เท่านี้แน่นอน
ผมไม่อาจนำเสนอความไม่สมบูรณ์แบบ ให้แก่ผู้ชมของผมได้
ในเมื่อรู้ว่านี่ไม่ใช่การเล่นที่ดีที่สุด ผมก็ต้องไม่หลอกผู้ชมของผม

การแสดงถูกยกเลิกครับ
มะราวินสกี้อยู้แถวแรกในทำเนียบของผมครับ
ฟังเขาเล่นโชสต้าโกวิช คนอื่นส่วนใหญ่ จะกลายเป็นแค่คนคุมละคอนสัตว์

ลองหามิตย่า (ชื่อเล่นของ Shostakovich - moobin )
เบอร์ 5 และ 7 ที่มราวินสกี้คุมวงมาฟังนะครับ (หมายถึง symphony หมายเลข 5 และ 7 ของ Shostakovich - moobin )
เบอร์เจ็ดนี่ ท่อนแรกตอนปลาย ที่ล้อทำนองโบเรโร่ ทุกคนทำได้ห่วยแตกเท่าเทียมกัน
เบิร์นสตีนนี่ ทำจนกลายเป็นเซอร์คัสแบนด์เลย
ท่อนนี้ มราวินสกี้เท่านั้น ที่พาดนตรีไปถึงจุดที่เรียกว่า "เลือดเดือด"

เบิร์นสตีนนั่น อย่างมากก็เห็นจิ๊กโก๋ปากซอยตีกันเลือดอาบ
แต่ที่รัสเซีย ซากศพกองเป็นภูเขา ไม่มีบ้านใหนไม่มีสมาชิดที่สูญเสีย คนตายเป็นสิบๆ ล้าน
เพลงต้องสาธยายความโหดเ้ยมได้ถึงจุดนั้น จุดที่เราต้องกำมืออย่างเคียดแค้น อัดอั้น
เห็นชีวิตไร้ค่าเมื่อยามที่ชาติถูกกย่ำยี
เป็นเสียงแห่งพลังที่ไม่มีชาติใหนผลิตได้
แม้แต่รัสเซียชั้นสองก็ทำไม่ได้ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 167

Collagen

04/10/2010 22:45:51
4
รายละเอียดลึกซึ้งมากเลยครับ คุณ moobin..... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 168

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

04/10/2010 22:46:24
125
หลอน หนักเข้าไปอีกเลยจ้า......(.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 169

AstroMotion

04/10/2010 23:43:37
0
ขอบคุณครับ อ่านจนปวดตาเลย..แฮะๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 170

มนัส

05/10/2010 01:12:44



โอ้เยี่ยมครับ สงสัยผมต้องเสียเงินค่าแผ่น CD เพลงคลาสสิคอีกหลายตังค์เลยแฮะ ถ้าเล่นXRCDก็กระเป๋าฉีกกันเลยทีเดียว55 แผ่นเพลงคลาสสิคนี่ต้องสั่งนอกอย่างเดียวเลยมังครับแล้วราคาแพงมั้ยไม่รู้

จัดมาอีกครับแจ่มๆเจ๋งๆ หรือมีพวกที่คนไทยเคยฟังกันตามโฆษณาหรือภาพยนต์ดังๆแต่ไม่รู้ว่าเป็นเพลงของใครก็น่าสนใจนะครับอาจจะใกล้ตัวมากขึ้น

ขอบคุณความรู้จากกูรูมากนะครับนี่ครับกูรูเหมือนกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 171

Deeppix

05/10/2010 20:04:35
0
ติดตามมาเรื่อยๆครับ แต่นึกตามไม่ค่อยออก
ไม่รู้จะไปหามาลองฟังที่ไหน ไปดูที่ร้านก็ไม่รู้จะบอกคนขายว่าไง

55555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 172

Collagen

05/10/2010 20:23:48
4
เรียนตอบพี่ Deeppix ครับ.... ใจเย็นๆ ครับ ค่อยๆ ศึกษาไปครับ ^ ^

ลองฟังเพลงใน YouTube ก่อนก็ได้ครับ ถ้าหากว่าตรงใจถูกใจ ค่อยไปที่ร้าน บอกคนขายว่าจะหาเพลงคลาสสิค ของ นักแต่งเพลงท่านใด ก็แล้วแต่ชอบครับ โดยมากก็มักจะมีไม่มากครับ ส่วน เพลงต่างๆ อันนี้ ส่วนมากก็ต้องใช้วิทยายุทธ์หน่อยๆ ครับ ในการค้นหา เพราะหลายๆ ครั้งที่ผมเจอมา คือ... คนขายไม่ทราบครับ รู้แค่ชื่อนักแต่เพลง หรือไม่ก็ Conductor ครับ.... ^ ^

ถ้าหากว่าพี่ Deeppix หรือท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเพลงคลาสสิค ก็ Post ถามได้เลยครับ.... ผมเชื่อว่าจะมีผู้มาตอบและไขข้อข้องใจได้อย่างแน่นอนครับ..... เพลงคลาสสิคฟังไม่ยากครับ....แค่

Just turn on the music, sit back, relax and enjoy the music ครับ... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 173

moobin

05/10/2010 20:28:53
11

เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน
เคลาดิโอ อะราว (claudio arau) เปียนนิสต์ที่เล่นได้สะอาดที่สุดคนหนึ่ง ตกลงกับออตโต เคลมเปอเร่อร์ว่า
จะอัดแผ่นคอนแชรโตของโชแปง ก็มาเจอกันที่ลอนดอน
ในยุคนั้น เขาถือกันว่า โชแปงนี่ชิลลล์ๆครับท่าน
กล้วยหอมแกล้มเนยแข็ง แทบไม่ต้องเคี้ยว กลืนลงคอได้เลย
คือเขาถือกันว่า มันเป็นงานอวดสีมือ ก็แค่มานั่งตกลงคิวกันหน่อย ประเภทว่าเร็วน่ะ เร็วแค่ใหน ดังน่ะดังแค่ใหน
เสียงเปียนโนเข้ายังไง จากกันยังไง
โดยทั่วไปก็ แทบจะสบตาก็เข้าใจแล้ว อย่างมากก็ซ้อมนิดหน่อย

แต่คู่นี้เขามาแปลกครับท่าน เขาปิดห้องคุยกันเป็นวัน ถกกันยังกับจะเล่นงานของบราห์มส
(ซึ่งในวงการ ยอมรับกันว่าเป้นที่สุดของคอนแชร์โต ไม่มาถึงจุดสูงสุด อย่าเล่น
ขนาดมาร์ธ่า อัลเกอริธ ยังไม่เคยเล่นเลย แดมน์(ตำแหน่งเทียบเท่าคุณหญิง)ไมรา เฮสส
รอจนจะพ้นห้าสิบ ถึงนัดกับบรูโน วอลเธ่อร์ว่าพร้อมเล่นล่ะ เร็วๆด้วย เดี๋ยวฉันแก่กว่านี้จะเล่นไม่ได้)

คิดดูนะครับ อะราวและเคลมเปอเร่อร์นี่ ไม่บ้าก็เมา มานั่งถกกันแค่เพลงง่ายๆ
ผลหรือครับ
มันกลายเป็นหมุดบอกระดับทางดนตรีครับ
ท่านที่ไกล้ร้านแผ่น แวะคุ้ยดูนะครับ หาให้เจอ แล้วลองเอามาเทียบกับคนเก่งอื่นๆ ดู
แล้วท่านจะเข้าใจคำว่า "การตีความ"
โน๊ตน่ะ มันมีเท่านั้นแหละครับ แต่คนเล่นคือคนทำให้มันไม่เหมือนกัน
เขาต้องรู้ขีดจำกัดของทุกอย่าง เขาจึงจะสร้างงานที่ดีที่สุดของตัวเองออกมา

เมื่อแยกสิ่งที่แตกต่าง ระหว่างคนที่เก่งกับคนที่เก่งกว่า ออกมาได้สำเร็จ
ทีนี้ละครับพี่ ฟังเพลงมันอะหร่อยเหาะเลย

จากนั้น ก็กลับไปบันจงฟังมิลสไตน์ ไฮเฝท และออยสตราคเทียบกันอีกที
(ยกสามคนนี้ เพราะอัดแผ่นทันยุคเสียงดี จะได้ไม่ต้องพึ่งจินตนาการมาก)
เอาหัวเป็นประกันว่า  เมื่อฟังออก คุณจะรักซิสเต็มของคุณขึ้นมาอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์

แต่ถ้าฟังไม่ออก ก็กลับไปน้องเมย์ ตัวใครตัวมันละคร๊าาาบบบบบ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 174

moobin

05/10/2010 20:44:12
ตามที่คุณ collagen ว่ามาแหละครับ ดีที่สุด
ทุกวันนี้มี youtube หาพบเกือบหมดละครับ
แถมบางอย่างมีตังค์ก็หาซื้ไม่ได้
เพราะเขาไม่ remake กันอีก
รายชื่อเทพเจ้าทั้งหลายที่เอ่ยมาหลายคน ทำมาตั้งแต่สมัยเป็นแผ่นเสียงแผ่นครั่ง
จะไปหาที่ในอีกในโลก
แต่ใน youtube มีครับ
แล้วจะค่อยค่อยบอกไปเรื่อย ๆ ครับ

ตอนนี้ลองหา "Shostakovich symphony #7 Mravinsky" ใน youtube
ฟังแค่ท่อนที่ 1 (movement 1)
แล้วลองเทียบกับฉบับของคนอื่น อย่างเช่น Bernstein ดูนะครับ

อ้อ เกือบลืม
แหล่ง CD เพลงคลาสสิคที่เยอะ ถูกมาก (ราวๆ 40 -90 บาท)
แผ่น/ปก/package เนี้ยบ (น่าจะปั้มเกินที่เขาสั่งทำ แล้วแอบเอามาขาย เพราะดูแล้ว copy ทำขายเองไม่น่าจะคุ้ม)
อยู่ที่ท่าขี้เหล็ก ฝั่งพม่าตรงข้ามแม่สาย
เพิ่งไปได้ boxset ไชคอฟสกี้ ที่ปรมาจารย์ Heifetz เล่น
ชุด 8 แผ่น กล่องเหล็กหรูมาก เคยเห็นที่ siam discovery ขายร่วม 7000 ได้มา 400
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 175

moobin

05/10/2010 20:46:11
12
-------------------
เอาลิงค์มาถามความเห็นคุณพี่ครับ http://www.npr.org/programs/pt/features/pt50.html ว่ามีอันไหนที่คุณพีเคยฟังแล้วชอบบ้างครับ มีอันนึงพูดถึงบราห์มสไวโอลินคอนเชอร์โตด้วยครับ
--------------------

คนทำลิสต์นี่ ไม่ใช่ผมแน่นอน เพราะผมเห็นด้วยไม่กี่แผ่นเองครับ

1 Beethoven | Symphony No. 5 in C minor, Op. 67
Carlos Kleiber, conductor
เขาลือกันว่าดีนัก แต่ผมไม่เห็นด้วยสักเท่าไร อัดเสียงดีมาก

5 Chopin | Ballades and Scherzi
Arthur Rubinstein, piano
เก็บครับ

10 Beethoven | Piano Sonatas
Nos. 21 "Waldstein", 23 "Appassionata" & 26 "Les Adieux"
Emil Gilels, piano
เจอชื่อนี้เมื่อไร อย่าปล่อยผ่านไป

18 Vladimir Horowitz: The Historic Return
ทำเหมือนเบอร์ 10

21 Brahms | Symphony No. 4 in E minor, Op. 98
Carlos Kleiber, conductor
พอฟังได้ครับ อยู่อันดับยี่สิบกว่าในทำเนียบของผม

27 J.S. Bach | "Goldberg" Variations, BWV 988
Murray Perahia, piano
แนะนำครับ ถ้ายังหาของคนอื่นไม่ได้

29 Orff | Carmina Burana
Eugen Jochum, conductor
โยคุ่มนี่ผมลำเอียงนะครับ ผมว่าแกเก่งมากๆระดับตำนานเดินดินทีเดียว
 
30 Tchaikovsky | Symphonies 4, 5 & 6
Evgeny Mravinsky, conductor
เขาแซวว่า คารายัน อัดเบอร์ 6 เสร็จก็ปลื้มนัก ว่าถึงที่สุดแล้ว
พอแกฟังท่านมะราวินสกี้ แกจ๋อยไปเลย
มะราวินสกี้นี่ผมก็ลำเอียงครับ ผมว่าแกเก่งกว่าโยคุ่มขึ้นไปอีก

33 Brahms | Violin Concerto in D, Op. 77
Anne-Sophie Mutter, violin
ผมเก็บให้ครบเท่านั้น เจ๊กล้าสี พี่ก็กล้าซื้อ(ว่ะ)

37 Puccini | La Bohème
Sir Thomas Beecham
ชาวโลกลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่ต้องหาแผ่นอื่นแล้ว

38 Brahms | A German Requiem
Otto Klemperer, conductor
เหมือนเบอร์ 37

44 Mozart | Piano Concertos Nos. 6, 17 & 21
Géza Anda, piano/conductor
เก็บไว้ที่แถวสองตอนท้ายๆ ครับ

50 Mozart | Symphonies Nos. 35-41
Karl Böhm, conductor
ไม่ใช่ชุดที่ดีที่สุด แต่ซื้อได้ ดีกว่าไม่มี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 176

moobin

05/10/2010 20:46:38
13

ซิมโฟนี่ที่ดีที่สุด

ตามที่ผมรู้จักนะครับ
ขอยกเว้นบราห์มส เพราะลำเอียง
1 ชูเบิร์ต อันฟินิช
ไม่มีในรายการที่ให้ลิงค์มา แปลกมากๆ เหมือนแนะนำเทพเจ้าฟุตบอลล์โดยไม่เอ่ยนามเปเล่
ผมเห็นว่าเป็นงานประพันธ์ที่อยู่เหนือมาตรฐานศิลปะทุกข้อที่มนุษย์เคยสร้างไว้
2 หมายเลข 40 ของมทสารท
เล่นกันมากจนเฝือ เพราะงานของท่านผู้นี้ เล่นง่ายเกินไป แล้วเป็นไปได้ยังไงกัน ที่คนเราจะทำงานศิลปะออกมาแบบง่ายๆ
นี่ละคือประเด็น ในความง่ายนั้น แท้จริงคือยากอิ๊บอ๋าย...คุณต้องเห็นทั้งหมดก่อน
เหมือนคุณนึกในสมองเห็นแอมป์ตัวหนึ่งครบทุกชิ้นส่วนไปจนถึงน้ำเสียง
จากนั้น คุณก็แค่สร้างมันขึ้นมา เป็นญาณทัศนะระดับสูงสุดครับ คนธรรมดาๆ อื่นๆ นี่ เขียนไป แก้ไปนะครับ
ลองผิดลองถูก มะงุมมะงาหรา เผื่อฟลุคว่า อาจจะดี

ทั้งสองชิ้นนี่ ต้องพิถีพิถันหาคอนดัคเตอร์มากๆ นะครับ โดยเฉพาะมทสาร์ท
ถ้านึกไม่ออกก็แวะช้อบทอสกานีนี่ไปเลย ไม่มีคำว่าพลาด
เพลงนี้ท่อนนำ เล่นยากมาก หมายฟามว่าทำให้ดีน่ะครับ ผมหลงไหลอยู่สอง-สามคน นอกนั้นออกแนวรถจรวด ซิ่งแหลก
ลืมไปหรือไงก็ไม่รู้ ว่าบันไดเสียงกำกับว่าอะไร
เล่นดีๆ นี่ถึงระดับเซ้กซี่ สยิวใจทีเดียว

ซิมโฟนี่ 40 ว่ายากแล้ว อันฟินิช ยากกว่าอีกหลายขีด
ผมเชื่อว่าเราจะหางานศิลปะอะไรที่มีความสมบูรณ์แบบเท่านี้ เป็นไม่มี (ยกเว้นของลุงบราห์มส  แหะ แหะ)
แต่เล่นยากยิ่งนัก เพราะในความเร็ว มีความหน่วง ในความช้ามีความเร่ง
ในความหวานมีความฮึกเหิม ในความฮึกเหิม มีความเศร้า ในความเศร้า มีความปิติ
เป็นอารมณ์ที่เวียนวน เหมือนการเป็นไปของจักรวาลแห่งชีวิต

คอนดัคเตอร์ที่เล่นได้ดี ต้องเกิดก่อน 1900 ครับ เพราะยังทันห้วงเวลาที่อารมณ์ความรู้สึกแบบนี้ยังอ้อยสร้อยอยู่ในบรรยากาศ
ไอ้พวกฮิบหอบ ฟั้งกี้ แจ๊สซี่ หรือโหดมันฮา อย่าหวังจะเข้าถึงจิตใจแบบนี้
มันต้องคนที่เคยเห็นสวนส้มบางมดเมื่อยังสมบูรณ์ แล้วมาเห็นอีกทีก็ถูกพวกทำลายบ้านทำลายเมือง
เปลี่ยนสินทรัพย์อันเลิศล้ำในพสุธา กลายเป็นทุนสามานย์
ยังไงยังงั้นแหละครับ  มันถึงระดับน้ำตาตกในจึงจะเท่าเทียมสาระในบทเพลง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 177

moobin

05/10/2010 20:47:23
14

แค่เปียนนิสต์ที่เจ๋งนะครับ 25 คนครับ คูณด้วย 20 ก็พอ นี่ยังได้แค่ผิวครับ
ลองอย่างนี้นะครับ
1 ขนาเบล
2 โยเซฟ ฮอฟมันน์
3 เอ็ดวิน ฟิชเช่อร์
4 แดมน์ มายร่า เฮสส์
5 วอลเท่อร์ กีเซกิ้ง
แค่ 5 รัชกาลนี่ก็ กว่า 200 แผ่นแล้วครับ
ถ้าจะลงทุนแบบทีเดียวจบ ซื้อหุ้นบลูชิพ ชื่อว่า สะเวียตโตสะลัฟ ริกแตร์ คนเดียวก็กว่า 200
รูบินสไตน์ อีกเท่ากัน ออโรวิทตส์ น้อยลงหน่อย 100 เดียว
นี่แค่นึกออกแป๊ปครับ อยากได้บัญชีละเอียด ผมต้องไปทำใจก่อน
มันอิจฉาง่ะเพ่

แต่เพ่มีบ่อน้ำมันหลังบ้านเหรอครับ คิดการใหญ่ขนาดนี้

--------------------------------------


ผมเริ่มฟังเอมผีเมื่อสักห้าหกเจ็ดแปดปีก่อน แผ่นจากพันทิพ เสียงห่วยเหมือนใครๆ ว่ากัน
แต่พอมาฟังแผ่นคลาสสิค 1... 2...3  ที่ทำขาย (เพราะสะดวกดี มีคอมโพสเสอร์ที่ไม่ซื้อมาก ทุ่นตังดี)
เอ๊ะ ....มันไม่แปร่งหูนี่นา ยิ่งชุดที่แปะป้ายว่าออดิโอฟายด์ ฟังดีทีเดียว
ตอนนั้นยังใช้ฟอรเต้วัน + ทู กับโบส 901 และโปรสีด 2 อยู่ อุปทานก็ฟ้องว่าเสียงดร็อบ
จึงแยกชุดเอมผีขึ้นห้องนอน เปิดกล่อมลูก

จนวันหนึ่งโปรสีดป่วย ต้องเอาโซเก้นวีซีดีมาทำการแทน พอไม่มีตัวเปรียบ หูเราก็เสียสิครับ
มันดร็อบไปบ้าง แต่ไม่น่าเกลียด น่าเกลียดก็ตรง 3,000 กับ 30,000 นี่ละครับ
ราคาขนาดนี้มันควรจะทิ้งกันแบบคอมโปกะมาร์ค (เปรียบให้เว่อรอะครับ)

ตั้งแต่นั้น ผมก็เปลี่ยนค่าย
ซีดีแผ่นละ 500 เสียงดีกว่าเอมผีแผ่นละ 80 นิดหน่อย แถมเอมผีมีเพลงมากกว่า 15 เท่า
ฟังเพลงตามหลักเศรษฐศาสตร์ก็เป็นหยั่งงี้ละครับ ผมก็เลือกของถูกสิครับ
นั่นคือภาคแรกของเซียนหูตะกั่วมั่วซั่วผยองเดช
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 178

moobin

05/10/2010 20:48:34
14

แค่เปียนนิสต์ที่เจ๋งนะครับ 25 คนครับ คูณด้วย 20 ก็พอ นี่ยังได้แค่ผิวครับ
ลองอย่างนี้นะครับ
1 ขนาเบล
2 โยเซฟ ฮอฟมันน์
3 เอ็ดวิน ฟิชเช่อร์
4 แดมน์ มายร่า เฮสส์
5 วอลเท่อร์ กีเซกิ้ง
แค่ 5 รัชกาลนี่ก็ กว่า 200 แผ่นแล้วครับ
ถ้าจะลงทุนแบบทีเดียวจบ ซื้อหุ้นบลูชิพ ชื่อว่า สะเวียตโตสะลัฟ ริกแตร์ คนเดียวก็กว่า 200
รูบินสไตน์ อีกเท่ากัน ออโรวิทตส์ น้อยลงหน่อย 100 เดียว
นี่แค่นึกออกแป๊ปครับ อยากได้บัญชีละเอียด ผมต้องไปทำใจก่อน
มันอิจฉาง่ะเพ่

แต่เพ่มีบ่อน้ำมันหลังบ้านเหรอครับ คิดการใหญ่ขนาดนี้

--------------------------------------


ผมเริ่มฟังเอมผีเมื่อสักห้าหกเจ็ดแปดปีก่อน แผ่นจากพันทิพ เสียงห่วยเหมือนใครๆ ว่ากัน
แต่พอมาฟังแผ่นคลาสสิค 1... 2...3  ที่ทำขาย (เพราะสะดวกดี มีคอมโพสเสอร์ที่ไม่ซื้อมาก ทุ่นตังดี)
เอ๊ะ ....มันไม่แปร่งหูนี่นา ยิ่งชุดที่แปะป้ายว่าออดิโอฟายด์ ฟังดีทีเดียว
ตอนนั้นยังใช้ฟอรเต้วัน + ทู กับโบส 901 และโปรสีด 2 อยู่ อุปทานก็ฟ้องว่าเสียงดร็อบ
จึงแยกชุดเอมผีขึ้นห้องนอน เปิดกล่อมลูก

จนวันหนึ่งโปรสีดป่วย ต้องเอาโซเก้นวีซีดีมาทำการแทน พอไม่มีตัวเปรียบ หูเราก็เสียสิครับ
มันดร็อบไปบ้าง แต่ไม่น่าเกลียด น่าเกลียดก็ตรง 3,000 กับ 30,000 นี่ละครับ
ราคาขนาดนี้มันควรจะทิ้งกันแบบคอมโปกะมาร์ค (เปรียบให้เว่อรอะครับ)

ตั้งแต่นั้น ผมก็เปลี่ยนค่าย
ซีดีแผ่นละ 500 เสียงดีกว่าเอมผีแผ่นละ 80 นิดหน่อย แถมเอมผีมีเพลงมากกว่า 15 เท่า
ฟังเพลงตามหลักเศรษฐศาสตร์ก็เป็นหยั่งงี้ละครับ ผมก็เลือกของถูกสิครับ
นั่นคือภาคแรกของเซียนหูตะกั่วมั่วซั่วผยองเดช
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 179

moobin

05/10/2010 20:51:42
16

อยากจะออกความเห็นเรื่องราคาแผ่นหน่อย อาจจะคิดโง่ๆก็ได้ อย่าถือสานะครับ
คือว่า ไม่ใช่ว่าแผ่นที่ดีมากๆที่ยกย่องกันแล้วควรจะราคาสูงนะครับ
ตรงกันข้าม ราคาจะถูกครับ เพราะผลิตมาก มีหมุนเวียนมาก
ผมเห็นบางเวบของไทย โวยวายว่าแผ่นนี้ดีมาก คนยกย่อง ต้องแพง ปั่นราคาประมูลกัน
อันนั้นน่าจะเข้าใจผิดครับ
อย่างชนาเบลนี่ สมัยแกยังรุ่ง แกเป็นตัวทำเงินให้อาร์ซีเอหรืออีเอ็มไอ ปั้มเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย
ทุกวันนี้จึงเหลือมาก ทอสกานีนี่ก็เหมือนกัน
แต่ไอ้พวกชั้นสองชั้นสาม อย่างเจ๊แฮนเดียล หรือพ่อหนุ่มริคคี่ ตอนออกแผ่น เป็นดาวรุ่ง ไม่รู้จะรุ่งเรืองหรือรุ่งริ่ง
ก็ปัมมาสักครึ่งถาดก่อน มันก็เลยมีน้อย กลับกลายเป็นของแพง
แต่ฝีมือนั้นจะไปเทียบกับเทพเดินดินอย่างไฮเฝท หรือมิลสไตน์ ก็จะอาจเอื้อมเกินไป

ถ้าจะซื้อแผ่นเสียงโดยหวังไม่ขาดทุนในอนาคต อย่าเชื่อผมเป็นอันขาดนะครับ
มันก็โม้ไปเรื่อยเปื่อย แต่ตังในกระเป๋าเป็นของท่านนะครับ
ผมมันหาได้แต่ของถูกและดี

ของไม่ดีแต่แพงนี่ไม่มีความสามารถไปไขว่คว้ามาใส่คลังสมบัติขอรับ

------------------------------

เพลงที่ฟังๆ อยู่ มากกว่าครึ่งเป็นระบบโมโน พอปรีที่เลือกโมโนได้ เกิดป่วยขึ้นมา ผมเลยแย่ ความสุขลดลงไปหลายขีด
เกี่ยวกับการอัดเสียง ผมตั้งคำถามแบบนี้ละกัน

เพลงเดี่ยวเปียนโน หรือเดี่ยวไวโอลินนี่ ที่เหมาะสม มันควรแยกซ้ายขวาใหม
จริงละ เรามีสองหู ที่กายวิภาคผิดกันนิดหน่อย พอเสียงมาประสมกันที่หัวเรา มันก็เกิดมิติ
แต่การรับรู้เสียงจากเปียนโนหนึ่งหลังนี่ มาพร้อมกันหลายทาง อย่างที่เรียกว่าเสียงตรง-เสียงสะท้อนของเฮีโบ๊สเขา
ซึ่งเป็นค่าที่เป็นตัวแปรทั้งนั้น เพราะเราฟังในที่ว่างที่แตกต่างกันตลอดเวลา

แต่เอ็นจิเนียร์เสียงนี่ เขาสร้างเสียงลงมาอีกที ยิ่งแพงก็ยิ่งเพี้ยนเพราะมากแทรค
เท่ากับว่าเขาตัดแปะเสียงให้เราใหม่หมด แล้วมิกส์ดาวน์ลงแผ่นมาให้เราฟัง
สมัยก่อน เมื่อร่วมสามสิบปีลงไป ศิลปินจะเป็นคนตัดสินว่างานอัดเสียงนั้น "ปล่อย"ออกสู่การผลิตได้หรือยัง
แต่ทุกวันนี้ ผมไม่มีความรู้ รู้แต่ว่าแผ่นออดิโอไฟล์เกือบทั้งหมด ให้เสียงที่หูผมไม่ชอบ
แต่มันจะดีขึ้น เมื่อฟังผ่านระบบโมโน(เป็นบางแผ่นด้วยนะครับ) มาที่ 57
อันนี้ก็คงเป็นประสบการณ์เฉพาะของผมคนเดียว เพราะไม่มีโอกาสฟังชุดไฮฯของเพื่อนๆท่านอื่น
ซึ่งเขาเหล่านั้น อาจจะรวมคุณพีเจด้วย มีความสุขกับเสียงที่ได้รับ

อีกประการหนึ่ง ผมไม่ใคร่เปิดเพลงแล้วมานั่งตรงสวีทสปอต มักจะทำงานไปด้วย ท่อนใหนเพราะก็แวะมาฟังตั้งใจหน่อย
อันนี้ก็เป็นวินับฟังเพลงที่ไม่ค่อยไฮฯอีกเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ความเห็นผม อาจจะสร้างข้อโต้แย้งบ้าง ก็ขอโทษกันล่วงหน้านะครับ
อย่างมีแผ่นแว่วเสียงซอของค่ายอะไรแห่งหนึ่ง ลงหน้าปกเป็นเลขแปดล้านเหรียญ....
บันทึกเสียงสตราดิวารัสและกัวร์เนรี่หลายคันไว้ แพงๆ ทั้งนั้น
ผมฟังไม่จบเพลงที่สาม ส่วนที่ดีที่สุดคือเสียงสาวที่บรรยาย ส่วนเสียงซอนั้นรับประทานไม่ลงจริงๆครับ
ก็ได้แต่งงว่า เขาผลิตของแบบนี้ออกมาทำไมหนอ

---------------------------------

เท่าที่พอฟังออก เอ็นยิเนียร์รุ่น 1955-1965 ของยุโรป ฝีมือถึงระดับสูงสุด เป็นปลายยุคหลอดเข้ายุคโซลิด
และระบบบันทึกน่าจะเก็บความถี่ที่สุดปลายสองด้านได้เท่าระดับหูมนุษย์ได้ยินแล้ว

พูดถึงเรื่องนี้ ผมยังไม่เข้าใจว่าการตอบสนองความถี่ที่เกินหูคนนี่จะช่วยการฟังได้อย่างไร
ใครที่เล่น SACD ช่วยเล่าให้ฟังเป็นความรู้ด้วยได้ใหมครับ

แผ่นแปดล้านเหรียญ หน้าปกเป็นซอลอยอยู่กลางพื้นสีฟ้าสด บันทึกเพลงจากพวกแพงระยับหลายตัว
แทรกระหว่างเพลงด้วยเสียงสาวผู้เชี่ยวชาญ อธิบายประวัติของซอแต่ละตระกูล
ว่าไปแล้ว ฟังซีดีของยัชช่าร์ ไฮเฝทสักแผ่นเถอะครับ เทพคนนี้เป็นเจ้าของซอบันลือโลก
เดิมเป็นของโยเซ็พ โยอาคิม ตอนนี้ดูเหมือนเป็นของอัจฉริยะยิวคนหนึ่ง เด็กหนุ่ม ดัง แต่ผมจำชื่อไม่ได้แล้ว

ว่ากันว่าเป็นซอที่เสียงดีที่สุด

--------------------------------------

ผมเคยเล่าไว้ที่ใหนไม่รู้ ถ้าอ่านเจอก็อย่าติว่าเล่าซ้ำนะครับ
รอสโตรโปวิช เล่าว่า สมัยสงครามนาซี ท่ามกลางความหนาวเหน็บและอนาคตอันมืดมน ทั่วทุกหนแห่งมีแต่ความตายและความพินาศ
ทุกเช้า ทางการจะส่งกระจายเสียงตามลำโพงบนยอดเสา
เป็นการกล่อมใจชาวเมืองให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันแสนหฤโหดนี้ ไม่มากก็น้อย
ทุกครั้งที่ได้ยินแซงซองห์บทนี้ ผ่านลำโพงจากที่สูง "มันทำให้ผมรู้ว่า ชีวิตยังมีความหวังที่จะต้องอยู่รอดต่อไป"

เพลงนั้นเป็นฝีมือของเดวิด ออยสตร๊าค มือซอที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของตน
โคแกนเป็นอัจฉริยะอาภัพ เพราะดันมาเกิดเป็นศิษย์ของเดวิด ถ้าแก่กว่านี้ หรืออ่อนกว่านี้ละก้อ
น่าดูชม.....

พูกตามตรงก็คือ แกไม่แพ้ครู แต่ด้อยวาสนา แม้เดวิดจะพยายามหนุนส่งอย่างไร วงการก็มักจะติดภาพว่าเป็นศิษย์
แต่วางเดิมพันได้เลยครับ ว่าในอนาคตอันไกล้นี้ ....แพงแน่ๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 180

moobin

05/10/2010 21:01:33
17

เรื่องของมือซอ

หม่า (หมายถึง YOYO MA - moobin) และพวกอั๗ฉริยะนมแตกพานนี่จะเป็นโรคเดียวกันครับ คือโรคอ่อนซ้อม
โรคนี้มันจะเริ่มเป็นเมื่อเริ่มดัง
เมื่อไรก็ตามที่นักดนตรีมีคนหิ้วกระเป๋าเชลโล่ให้ หิ้วกระเป๋าไวโอลินให้ ไม่ต้องจองห้องพักเอง ไม่ต้องตีตั๋วเรือบินเอง
วันๆเอาแต่ถูกถ่ายรูป ตกค่ำก็ไปงานเลี้ยง มีคิวสัมภาษณ์เต็มเหยียด แถมต้องไปออกเซซามิสตรีทอีก...ฯลฯ
หม่าแทบจะไม่เคยพูดถึงเชลโล่ของตนเลย แล้วท่าทีที่เขาลากผู้อาวุโสไปลุดแดดลุยโคลนลุยฝนทั่วโลกนี่
เป็นลูกเป็นหลานละก้อ ผมตบดิ้นครับ เสียของ

ตอนมิลสไตน์เจอสื่อ ถูกถามเรื่องซอ แกหยิบออกมาอย่างทะนุถนอม แล้วพูดปรัชญาแห่งวิชาชีพว่า
เขาอยู่กับผมมานาน....เขาอยู่มาก่อนผม
และ....เขาจะอยู่ต่อไปหลังผมไม่อยู่ในโลกนี้แล้ว

หม่าตอนที่อายุไม่ถึงสี่สิบ อัดแผ่นไปแล้วร่วมร้อย ไม่มีเชลโล่บทใหน(ที่ดังๆ)เหลือให้เล่น
บ๊าคสหวีท ดูเหมือนพ่อจะล่อไปสองรอบ.....
คลิฟเฟิร์ด คูซอง เปียนนิสต์ในดวงใจของผม จนถึงตาย เพิ่งอัดไป 27 แผ่น
ทั้งๆที่เพลงเปียนโน มีมากกว่าเพลงเชลโล่ร้อยเท่า
บางแผ่นเก็บไว้เป็นสิบๆปี ไม่ยอมให้เผยแพร่ บอกว่ายังไม่พอใจ
วันหนึ่ง แกนั่งรถไฟไปเยอรมัน(กระมัง) ถึงปลายทางคนมารอต้อนรับ รอแล้วรอเล่า ไม่มีท่านเสอร์ของเราลงจากขบวน
ด้วยความตกใจ ลูกศิษย์เดินหาทั้งขบวน
ไปเจอแกนั่งซ้อมกับคีย์บอร์ดใบ้ มีหูฟังครอบ ซ้อมอย่างไม่รู้วันรู้เดือนอยู่ในห้องพิเศษนั่นแหละ
แกไม่รู้ว่ารถถึงปลายทางแล้ว

หม่าและพวก เริ่มจากป้ามุตเตอร์ ( หมานถึง Anne Sophie Mutter - moobin) ลงมาเลย เป็นผลิตผลทางพานิชย์ดนตรีแท้ๆ
มีฝีมือเข้าหน่อย ก็จะมีคนประเคนเครื่องดนตรีสุดยอดมาให้
พวกนี้ก็เพริ่ดเพลินกับการพัฒนาทางเทคนิค
สีเร็วไม่สีช้า สีหวานไม่สีดุ เล่นหางเสียงไม่เล่นหัวเสียง เล่นบางจุดไม่เล่นทั้งเพลง..ฯลฯ

แล้วนี่ยัยมุตเต้อร์เธอกินยาผิดหรือองค์ลงก็ไม่รู้ บอกว่าจะเลิกเล่นไวโอลินแระ...ได้ยินใครไม่รู้บอกว่า
เธอเห็นว่าชีวิตยังมีอย่างอื่นให้ทำอีก ...เวรเอ๊ย สีบราห์มสยังกับเครื่องถ่ายเอกสาร
อวดว่าถึงสุดยอดแล้ว สมน้ำหน้าคนที่ซื้อแผ่นเจ๊ไปฟัง
แดม(คุณหญิง)ไมยร่า เฮสส์ ต้องรอถึงห้าสิบกว่า จึงกล้าอัดเปียนโนคอนแชร์โตเบอร์สองของบราห์มส
แล้วก็ขอรีบอัดด้วย บอกว่า รอแก่กว่านี้ เดี๋ยวเล่นได้ไม่ดี มือไม่มีพลัง
นักดนตรีคลาสสิคที่อายุต่ำกว่าห้าสิบขวบลงมา ผมยังไม่เคยเจอของจริงเลย
ใครเจอก็ช่วยแนะนำด้วยเอาบุญ

เจออยู่คน ก็ดันไม่อัดเพลงลงกระป๋องเสียอีก
เก่งแค่ใหน ต้องวานเฮียพีเจมาเล่าสู่กันฟัง...ฮิฮิ
 
ถ้าจะให้ชมไวโอลินนิสต์(เคย)สาว สักคน ก็เจ๊คนนี้เลยครับ เจ๊คุง (หมายถึง Kung Jung Wa - moobin)
เข้าสมัยเห่อกิมจิเลย

เจ๊คุงนี่แกเกิดผิดประเทศ และผิดเวลา ถ้าเธอเพิ่งอายุสามสิบปีนี้ละก้อ คุณเอ๋ย
ยัยเมย์ (Vanessa Mae) ยัยฮาห์น (Hillary Hahn - moobin) ยัยอะไรที่เอาเครื่องห่อหุ้มกายออกแทบหมดพวกนั้นน่ะ อย่าหวังได้เกิด
หรือไม่ เจ๊คุงก็ไม่ได้เกิด เพราะเธอไมยอมแก้ผ้า

อีหนูเบเนเดดติน่ะ จะเลิกสีซอวันใหนเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะเธอให้สัมพลาดอย่างอินโนเซ้นท์เลยว่า
...หนูมาเอาชื่อฮ่า หนูกะว่าสีซอไป เดินแบบไป พอเป็นเซเลปฯ หนูก็จะออกคลิบ...เอ๊ยไม่ใช่
นั่นมันยัยปารี่ เธอบอกว่าอยากเป็นคนดัง ได้เดินพรมแดง.....ซื่อจริงนะ หนูเอ๊ย

นี่แหละครับโลกเฮงซวยของศิลปะ เป็นยุคปลาร้าขึ้นหิ้ง ปลาเก๋าค้างแพ
น้องเอ้าท์ ในลิสต์ที่คุยกัน ไม่มีงานของเจ๊คุงเลยนะครับ ฝากไว้ในอ้อมใจมิตรรักแฟนเพลงสักคนเหอะ
เธอจะเกษียณอยู่ไม่กี่วันนี้แล้ว(เกิด 1948)

แต่...ได้ดูหนูมุตเตอร์ก็ไม่เลวนาคุณนกฮูก ขออย่างเดียวอย่าเป็นเร็คไซทัลเป็นใช้ได้
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 181

moobin

05/10/2010 21:05:33
18

อยากให้ช่วยพูดถึงรุ่นกลางๆอย่าง Kremer และ Vengerov หน่อย

สองหน่อนี่ยังไม่มีอะไรคู่ควรกับการพูดถึงครับ เครมเม่อร์อาจจะมีศักดินาสูงกว่า แต่พี่ไปเล่นเพลงตลาด ก็รอดตัวไป
นี่ขอพูดรวมไปถึงพั้งค์สติแตก เคนเนดี้ ( Nigel Kennedy - moobin ) ที่สีซอเหมือนเพิ่งไปถอนฟันมาด้วยอีกคน

ชีวิตเรามันแสนสั้นครับคุณพี่....
วันละแค่ยี่สิบสี่ชั่วโมง ต้องเจียดให้เด็กๆ พวกนี้ เกินสิบนาทีก็ขาดทุนป่นปี้แล้วครับ
เฟนเกร๊อฟนี่ อาจจะเก่งกว่านี้ได้ ถ้ามีคู่มวยที่เหนือชั้นเหลืออยู่ในเวที
อีกอย่างผมไม่ชอบดูและฟังพวกยอดฝีมือที่ต้องใช้แว่นขยายในการเข้าถึง
เฮียแกเล่นโน๊ตเริ่มต้นของซีเบเลียสท่อนสอง เบา.....เสียจนผมต้องเอาหูยัดเข้าในลำโพง
จึงรู้ว่าแกเริ่มขยับคันชักแล้ว
แล้วก็ยังไม่ชอบมือซออาบน้ำหวาน โน๊ตอาไร มันจะหวานเยิ้มขนาดนั้น เสียงงี้พริ้ววววว
หวานนนนน จบแสบกระดูกรูปทั่งในบ้องหู
เผลอนึกว่าทอยเลตต์มิวสิเชี่ยนมาเอง
อย่างซีเบเลียสนี่ เมื่อคุณเล่นน่ะ คุณไม่มีสิทธิมาลอยหน้าลอยตาทำเป็นสยิวกับเสียงของตัวเองเลย...
ทำแบบนี้ คนตาบอดก็เสียเปรียบสิวะ

โครงสร้างของเพลงมันล้ำลึกจนแม้แต่คนหูหนวกก็คงหวั่นไหว การเรียงร้อยทำนองก็แสนจะซ่อนเงื่อน
แฝงความหมายและเล่นยากสุดๆ เป็นยอดของท่อนช้าชิ้นหนึ่งทีเดียว
เพียงแต่เล่นได้ เราก็นับถือแล้ว บ่มิต้องแอ๊คเกินขนาด
แต่ท่านนี้แอ๊คขนาดว่า
ตอนลากคันชักลงมา อียืดโน๊ตเพื่อจักสำแดงว่า อั๊วเล่นลองโบว์ได้อึดกว่าใครในรุ่น
มันเลยเหมือนหนังสะติ๊กถูกยืด มากกว่าการเปล่งเสียงอันโหยหวลของจิตวิญญานไปเสียฉิบ

อยากรู้ใหมครับ ว่าเฮียเวรฯ แกทำกะบราห์มยังไง
เอ๊ะ นี่ผมว่าจะไม่พูดถึงนี่นา

ฟังน้องฮาห์นเล่นปาตริต้าของบั๊ค ถึงตอนลงท้ายผมก็เลิกฟัง
น้องเขายังเล่นแบบนับห้องอยู่เลยครับ
มีนักวิจาร์ยแถวเตียริโอฟายหรือแอ๊บสะหลูดนี่แหละ
บอกว่าฟังน้องเขาแล้วน้ำตาไหล
ผมเลยสงสัยว่าเกิดได้ฟังฮูเบอร์มันน์ขึ้นมา แกมิขาดใจตายคาลำโพงเลยหรือ

ใหนๆก็โม้มามากแล้ว ต้องมีคนหมั่นไส้ว่า แล้วที่เองว่าดีๆน่ะ มันเป็นยังไง
อันนี้ก็ต้องสารภาพ ว่า ไม่รู้ครับ ขอยืมสูตรคุณนกฮูกมาใช้ว่า รู้แต่มันดีกว่ากันเท่านั้น
อย่างฟังฮูเบอร์มันน์ เขาเล่นบั๊ค เราฟังแล้วรู้ว่าไม่เหมือนบีโธเฟ่น ต่างกันเห็น ต่างกับบราห์มส ต่างกับชูเบิร์ต

แต่คนที่ผมฟังแล้วไม่ชอบนี่ สีอะไรก็เหมือนๆ กันหมด
คุณเอ้าท์ลองเอาที่น้องฮาห์นสีปาตริต้า ไปเทียบกะมิลสไตน์ดูสิ

สวยก็สวยละวะ ยังไงพี่ไม่แลน้องเหมือนเดิมน่ะแหละ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 182

Collagen

05/10/2010 21:16:18
4
ขอบคุณครับ คุณ Moobin ข้อมูลสุดยอดเลยครับ..... ^ ^

แต่คุณ Moobin กล่าวถึง Otto Klemperer ผมก็ลองรื้อๆ กองแผ่นดูครับ.... ปรากฏว่าเจอแผ่น CD ที่ ตะแก เป็น Conductor อยู่ครับ... มีรายการเพลงดังนี้ครับ.....

1. Wolfgang Amadeus Mozart
1.1 The Magic Flute KV 620 - Overture
Hungarian State Opera Orchestra Budapest
1.2 Symphony No. 26 in G Minor KV 183
RIAS Orchestra Berlin
1.3 Symphony No. 38 in D Major KV 504 "Prague"
RIAS Orchestra Berlin
1.4 Serenata Nottura in D Major KV 239
RIAS Orchestra Berlin

2. Ludwig van Beethoven
2.1 Symphony No. 7 in A Major OP. 92
Amsterdam Concertgebouw Orchestra

3. Robert Schumann
3.1 Piano Concerto in A Minor Op. 54
Vienna Symphony Orchestra

4. Anton Brucjner
4.1 Symphony No. 4 in E Flat Major "Romantic"
Vienna Symphony Orchestra

5. Gustav Mahler
Das Lied von der Erde
Vienna Symphony Orchestra

ไม่ทราบว่าคุณ Moobin ได้เคยฟังหรือเปล่าครับ....

ปล. ผมก็ยังไม่ได้ฟังเช่นกันครับ ซื้อมานาน แต่ยังไม่ได้แกะเลย.... T-T
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 183

moobin

05/10/2010 22:37:31
รู้สึกว่าจะมีแต่ของ Bruchner ละมังครับ
ผมมี Klemperer ไม่มากนัก

ระยะหลังตั้งแต่มี iPod กับเขานี่
พอได้แผ่นหรือไฟล์มาก็จัดการแปลงเป็น bitrate 320
ลงเครื่อง desktop แล้วเลือก sync กับ iPod 9ตามอารมณ์ที่อยากจะฟัง
backup ลง HardDisk อีกที
แล้วเก็บแผ่นนิ่งไปเลย

ผมละอยากบอกแหล่งหาเพลงใจจะขาด แต่เกรงใจเฮียมั่นแก
บอกได้แต่อ้อมๆ ไป youtube บ้าง Google บ้าง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 184

Collagen

05/10/2010 22:54:43
4
ขอบคุณมากครับ คุณ moobin แต่ ตอนนี้เพลงที่มีผมยังฟังไม่หมดเลยครับ.....

ส่วนของ Klemperer ผมก็มีเท่านี้เองครับ....

แล้วก็แผ่นส่วนมากก็ซื้อมามั่วๆ ครับ ฟังแค่เพลงไม่ค่อยสนใจ Conductor เท่าไรครับ...^ ^

ขอบคุณมากๆ ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 185

06/10/2010 15:32:41
สวัสดีทุกๆท่านนะครับคุณอาหมอ คุณ AstroMotion คุณมนัส คุณDeeppix คุณวุธ
คุณ moobin

มาดูความรู้นะครับ คุณ moobin เนี่ยเป็นคัมภีร์ เดินได้เลยนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 186

moobin

06/10/2010 16:23:37
ขอย้ำอีกครั้งนะครับ
ข้อความที่อยู่ในหัวข้อ ไม่ใช่ความคิดความเห็นของผม
แต่ตัดตอน เรียบเรียงมาจากความในกระทู้ /web ที่บอกไปแล้ว
เป็นของเทพที่ใช้ชื่อว่า Pee ผมเห็นว่าแกรู้กว้าง รู้ลึก ความคิดก็ดี คารมก็แสบ
ก็เป็นแฟนคนหนึ่งของแก แม้บางครั้งจะอดหมั่นไส้แกไม่ได้อยู่บ้างก็ตาม

หากจะมีความคิดความเห็นของผม จะอยู่นอกหัวข้อ

อ้อ อีกอย่างนะครับ จำได้ว่ามีคนในบอร์ดเราบางคนไปแวะเวียนที่นั่นอยู่บ้าง
อย่าง unclepiak เป็นต้น

บ่างช่วงคนในบอร์ดโน้นก็พูดถึงเวบมั่นคงด้วยเหมือนกัน อย่างเช่น ช่วงปี 2007 พูดถึงว่า ...

------------------

ลองเว็บไทยๆ เน้นหูฟังแบบจริงจัง แต่ขำแบบฮาๆดีครับ
www.munkonggadget.com
มีทั้งเฮดแอมป์ หลอด/โซลิต
หูฟัง มี สแตกด้วยนะครับ 

ผมแวะเวียนไปเว็บเฮียมั่นคงบ่อย ๆ ครับ ผมชอบอัธยาศัยพ่อค้าคนนี้ นอกจากตลกดีแล้ว
ผมว่าเขาเลือกของเข้าร้านเก่งครับ มีของดี ๆ ราคาไม่แพงนัก อุดหนุนไปหลายชิ้นแล้วครับ

-----------------------
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 187

moobin

06/10/2010 16:28:16
19

------------------
- Sarasate – Zigeunerweisen ฟังเพลงนี้มาหลายคนเล่น รู้สึกว่าชอบ Heifetz มากที่สุด พี่ว่าใครเล่นเจ๋งถูกใจพี่มากที่สุดครับ

------------------

มีทรากของเพลงนี้ เล่นโดยคนแต่ง เหลือแค่  1 นาที 50 วินาทีของท่อนสุดท้าย
อัดเมื่อ 1910 กว่าๆ เสียงแทบจะไม่ได้ยินแล้วครับ
แต่ยังพอฟังออกว่าเล่นด้วยความเร็วเหนือมนุษย์
เพื่อความปลอดภัย ควรมีน้ำเต็มแก้ววางไกล้ๆ  ..ฮิฮิ

ไฮเฝทเป็นแชมเปี้ยนเพลงนี้ ไม่มีใครเถียงครับ เจอบันทึกไว้สองครั้ง ไม่แน่ใจว่าอัดให้ไปครบหรือเปล่า
ผมฟังเพลงนี้มาตั้งแต่จำความได้ละกระมัง ละคอนวิทยุชอบนัก
ฟังของข้างบ้าน ไพเราะกว่าฟังจากบ้านเรา

มารายงานเพิ่มครับ และแก้คำผิดด้วย
เจอฉบับเต็มแล้วครับ อัดเสียงเมื่อ 1905 ตรงกับพ.ศ. 2448 ก่อนพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จไกลบ้าน 2 ปี
สังหรณ์ใจว่า คุณทวดซาระสะเต น่าจะมาเล่นถวายฝีมือบ้าง...แต่ชางเหอะ
ที่เขาอัดแผ่นไว้นี่ก็เหลือรับประทานแล้วละครับ คุณภาพเสียงก็ดีกว่าฟังผ่านหูโทรศัพท์หน่อย
(หวังว่า 57 จะทำให้เราได้สัมผัสกับบางอย่างที่น่าตื่นเต้นได้บ้าง วันเสาร์จะไปลองหน่อย)

แต่สิ่งที่อยากให้สังเกตก็คือ เพลงนี้ ทุกวันนี้ เด็กๆ เขาเล่นกันราว 8-9 นาที
แต่เจ้าของเขาเล่นที่ 5 นาทีกว่าๆ
คิดเอาเองว่าไฟแล่บใหม
การลากเสียงต่ำแล้วข้ามไปเสียงแหลมทำได้อย่างเร้าอารมณ์
ต้องย้ำข้อนี้ เพราะนี่เป็น ยิบสี้แอร์
ใครเคยเห็นยิบซีที่เรียบร้อยเป็นผ้าพับไว้บ้างเล่า....
โอ๊ะ โอ่ ผมเห็นครับ เพียบเลย
ในตลาดแผ่นเสียงสมัยนี้

แม่ง...เพลงเขาแค่ 5 นาที เพื่อนเล่นเสียยืดออกมาอีกเท่านึง แล้วมันจะเป็นเพลงไม้ฟะเนี่ย
ไฮเฝทเล่นไว้ที่ 8 นาทีครึ่งครับ

นักซอสมัยใหม่นี่ ผมว่าต้องสอนกันมาอีกตำราแน่ๆครับ คือไปเน้นกันที่ความเร็ว ความพริ้ว ซึ่งมันเป็นของแถม
เมนคอร์ส...คืออารมณ์จากจินตนาการของคนแต่ง มันมักจะต้องขุดออกมา (คือมันอยู่ลึกอ่ะครับ)
แต่เดี๋ยวนี้ การอัดเสียงมันทำให้นิสัยเสีย คือเล่นเร็วแต่เบา วิศวกรก็ดึงเสียงขึ้นมาอยู่ข้างบนได้
แต่มันกลับสร้างจักรวาลเสียงที่บิดเบี้ยว เหมือนเวลาถ่ายรูป แล้วเล่นมุมให้เพื่อนกลายเป็นตัวเล็ก ยืนอยู่บนมือของเราได้
น้องฮาห์น เธอไม่ใช่ว่าไม่เก่ง จัดว่ามีฝีมือพอสมควรกับหน้าตาทีเดียว
แต่ไปใช้เทคนิคแบบนั้น มีแต่ทำเสียของ
แทนที่จะได้สาวน้อยอัจฉริยะตอน 26 ก็ไปได้เด็กสาวที่ถูกบ่มสุก ตอนอายุ 18
ชาวสวนเขาเกลียดนักละครับเรื่องนี้

...เอ เกี่ยวกันใหมหว่า

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 188

moobin

06/10/2010 16:43:25
ในความเห็น 155
คุณสมัครเล่น พูดถึง PATRICIA KOPATCHINSKAJA
ขอขยายความว่าแกเป็นมือไวโอลินที่ผมว่าเป็นตัวจริงของแท้
จะว่าดีที่สุดในโลกตอนนี้ก็ได้ อายุไม่มาก
ประหลาดตรงที่ไม่ค่อยยอมอัดแผ่น แกว่าไม่ได้อารมณ์ ต้องแสดงสด
วันดีคืนดีก็เล่นเพลงแล้วเอาเพลงลงเวบ แจกฟรี

ผมชอบมาก เหมือนที่ชอบ Sol Gabetta สาวน้อยเล่น Cello

ไม่ใช่รุ่นเด็กที่ดังเพราะการโปรโมท
อย่าง Hahn - Mae - Midori - Lang Lang ฯลฯ

เวบของน้อง Pat แกชื่อ www.patkop.ch ลองเข้าไปดูไม่ผิดหวัง

อย่างน้อยก็เข้าไปโหลดไฟล์ติดไม้ติดมือมา
แล้วจะรู้ว่าเทพรุ่นใหม่ก็มีนะครับ
ไม่มีให้ซื้อหาด้วย แจกฟรี อย่างเช่น .....

BEETHOVEN, L.v. (1770-1827): Triple concerto C-major op.56, with Berne Symphony Orchestra, Andrey Boreyko (cond), Henri Sigfridsson (P) and Sol Gabetta (C), live recording by Gerd Hahnefeld, 15.6.2007.

http://www.patkop.ch/sounds/beethoventriple1.mp3
http://www.patkop.ch/sounds/beethoventriple2.mp3
http://www.patkop.ch/sounds/beethoventriple3.mp3

--------------------

เดี๋ยวนี้น้องแพทใจดี แจกที่ละคอนแชร์โต้เต็มๆ ที่เคยแจกคือทรีโอของชนิตเก้ และคอนแชรโตของมทสารต์
ชิ้นนี้ เธอและแก๊งค์เล่นราวกะเป็นคอนแชร์โต้ชิ้นสุดท้ายของโลกมนุษย์
เต็มไปด้วยเปลวไฟของวิญญานที่ลุกโชน อาจจะเพื่อชูแสงสว่างของดนตรีคลาสสิครุ่นสุดท้ายไว้ให้นานที่สุด
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 189

moobin

06/10/2010 16:46:33
20

น้องแพท เธอชื่อ แพททริเชีย โคปั้ชชิ่นกาย (PATRICIA KOPATCHINSKAJA) เป็นสาวเบลารูส พูดได้ 4 หรือ 5 ภาษา
และนอกจากเป็นสาวซอแล้ว เธอยังเป็นนักแต่งเพลงด้วย ดังนั้น เธอจึงเล่นเพลงสมัยใหม่เจี๊ยบ ขนาดพี่พีเจอ้าปากหวอ
ร้องว่า...อย่างนี้ก็เป็นเพลง(หรือวะ)...เธอไม่ชอบอัดแผ่นเสียง บอกว่ามันไม่สามารถแสดงชีวิตของงานออกมาได้ดีเท่ากับเล่นสด
ดูเหมือนจะมีซีดีแค่แผ่นเดียว เล่นเพลงที่มีคนแต่งให้

น้องแพทเขาถามก่อน ว่า วิวัลดี้ น่าเบื่อใช่ใหม (เพราะเล่นกันมาเป็นหมื่นๆ แล้ว)
ว่าแล้วน้องเขาก็ร่ายมนตร์ให้ฟังอย่างนี้ละครับ
ผมก็ถามเขาว่า นี่มันปะกานินี่นี่หว่า ไม่ใช่พระซักกะหน่อย (วิวัลดี้เป็นพระน่ะครับ)
เธอบอกว่า ตามประวัติ ท่านเป็นพระที่ไม่อ่านคัมภีร์ แล้วก็มีหลักฐานร่วมสมัย บันทึกว่า
เวลาท่านสีซอ ไฟแล่บเหมือนกัน เธอเลยได้แรงบันดาลใจ
ตีความออกมาใหม่อย่างที่เห็นนี่ละครับ

เธอไม่เผยแพร่งานที่ครบสมบูรณ์ออกมา ไม่แน่ใจว่าติดปัญหาลิขสิทธิ์หรือเปล่า
มีแค่ใหนก็ฟังแค่นั้นเถอะครับ


ระหว่างนี้เอาน้องแพทมาฝาก อยากได้ซีดีไปที่นี่ครับ
http://www.arkivmusic.com/classical/Drilldown?&name_id=113019&name_role=2
อยากเห็นตัวเป็นๆ ไปที่นี่ครับ
http://www.youtube.com/watch?v=H7M_8KS7ng0

เมื่อคืนนอนฟังน้องแพทจนหลับไป  เห็นได้ว่าเธอเล่นแบบเป็นหนึ่งเดียวกับกระบี่  เอ้ย หนึ่งเดียวกับไวโอลินไปแล้ว  มีอีกวีดีโอครับ http://www.miv.se/meny_aktuellt/2004/Kopatchinskaja_Ursuleasa_video.html จะเห็นว่าเข้าขอบเขตไร้ตัวตนไร้กระบี่ไปแล้ว  เฮ้อ อยากฟังเธอเล่น Brahms violin concerto ไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 190

Tidal

06/10/2010 17:15:46
0
เกิดนึกครึ้มขึ้นมา เลยไปปัดฝุ่นเปียโนไฟฟ้าที่หอ โอโห ยากจริงๆครับ



[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=VyDQ0JTtJr0[/youtube]
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 191

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

06/10/2010 21:58:14
125
อ่านจนตาเหล่แล้วคร้าบบบ.....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 192

สมัครเล่น

07/10/2010 14:17:18
0
เรื่องเสียงมันเป็นเรื่องของรสนิยมจริง ๆ ครับ
ชอบไม่เหมือนกันก็มีถมไป
รวมไปถึงเวลาผ่านไป รสนิยมก็เปลี่ยนไป
อย่างกรณี Sol Gabetta
ผมกลับเฉย ๆ ผมกลับไปชอบ ยัย แจกกี้ ดูเปร มากกว่า
ยิ่ง Elgar concerto ฟังแล้วเหมือนกันเขียนให้ยัยนี่เล่นคนเดียวแบบนั้น
แต่ก็นั่นล่ะครับ เท่งทึงไปแล้ว คงหาฟังงานใหม่ ๆ ไม่ได้แล้ว

หรือผมฟังคนเล่นเชลโล่น้อยไปก็ได้
อย่าง สตาคเกอร์ หรือ ไมสกี้ ผมฟังแล้วก็ยังไม่ชอบ
ที่เล็ง ๆ ไว้ก็มีรอสโทรโปรวิช แต่ยังหาไม่ได้ครับ ดันไปได้เล่นของ Dvorak แทน

ขอบพระคุณคุณ moobin ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 193

moobin

07/10/2010 15:21:40
ปู้โธ่ คุณสมัครเล่น เล่นโกงนี่นา
ผมหมายถึงรุ่นเด็กที่ยังเล่นอยู่ เจ๊ Dupre นั่นแกลาโลกไปตั้งแต่ปี 87-88 แล้ว
นอกนั้นเห็นด้วยหมด
ชอบที่คุณว่าแกเหมือนเกิดมาสำหรับเล่นเพลงของ Elgar

ขอบคุณเช่นกันครับ
มาแลกเปลี่ยนกันอย่างนี้จะได้สมเจตนาของคุณหมอทัดเทพ เจ้าของกระทู้

สำหรับท่านอื่น ไปดูฝีมือเจ๊แกที่นี่เลยครับ


แล้วลองเทียบดูกับ Yo Yo Ma
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=RM9DPfp7-Ck&feature=related[/youtube]

ลองหลับตาหรืออย่าดูหน้าจอ หูฟังร้านเฮียมั่นงัดเอาออกมาใช้

อ้าว แล้วหนู Gabetta ของผมละ
นี่เลย
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=zlTontPm49M&feature=related[/youtube]

นี่ไงล่ะที่ว่า เพลงเดียวกัน แต่ฝีมือคนละคน ก็ทำให้มีข้อแตกต่าง
แต่อย่างลืมเรื่องคุณภาพของเสียงที่ได้ด้วยนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 194

moobin

07/10/2010 15:39:29
ไหนไหนก็เคยพูดถึง Mravinsky มาแล้ว
อยากให้ดูตอนแกซ้อมวง
แค่โนตตัวแรกนะครับ ยังไม่ยอมให้ผ่านเลย
แสดงให้เห็นว่าแกแม่นแต่ไหน หูดีขนาดไหน
และสังเกตวิธีสอนของแกนะครับ ไม่ดุไม่ด่า ไม่โวยวาย
แค่ก้มหน้า หนักหน่อยก็กระแอม
แค่นี้นักดนตรีก็รู้สึกผิดแทบตายแล้ว
นี่แหละเทพเจ้า
ไปดู


ชอบ comment ข้างล่าง clip ที่ให้ความเห็นว่า
-He doesn't have to say something, he just looks down and the players know they have to stop. Well trained.

- he must be idol for modern conductors! People must learn HOW to work with orchestra.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 195

นายมั่นคง

07/10/2010 15:59:16
4,294
คุณ moobin ครับ ผมมาแก้ไขลิงค์ให้โชว์เป็น youtube เลยจ้า 55 ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่มาช่วยแนะนำให้เว็บมีสีสันเพิ่มยิ่งขึ้นเลยจ้า 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 196

moobin

07/10/2010 16:27:13
ขอบคุณมากครับ
กำลังสงสัยอยู่พอดีว่าทำไมบางที่ผมต้องใส่ password หลายครั้งถึงจะผ่าน

อ้อ อีกอย่าง เมื่อ 2 - 3 วันมานี้ เพิ่งไปซื้อ Grado มา
ก็จากร้านเฮียนั่นแหละ
ทีนี้ได้ยินเขาว่ามีวิธีเอาเทป มาโมให้เสียงแน่นขึ้น ด้วยการพันกับตัวหูฟัง
เขาพันกันยังไง ตรงตำแหน่งไหน แล้วมันดีขึ้นจริงหรือผมโดนอำ
ช่วยบอกหน่อยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 197

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

07/10/2010 16:48:45
125
คำว่า look down บางทีอาจแปลว่า ดูถูก ก็ได้นะครับ มักใช้ว่า look down on หรือ look down upon someone....อย่างนี้แหละ์ครับ แต่ดูจากหน้าตาของท่านแล้ว ท่าทางเป็นคนใจดี ไม่น่าจะตีความหมายไปอย่างที่ผมว่าครับ ทำให้ผมคิดถึงอาจารย์แพทย์ที่ผมรักและนับถือมากท่านหนึ่ง(ศ.นพ.เกษม วัฒนะชัย องคมนตรี) ท่านเคยเล่าเรื่องตกล(ร้าย)ให้ผมฟังว่า ท่านรู้จักแขก(หมายถึงอาบังหรือชาวอินเดีย)ดีอยู่สามคนเท่านั้นในชีวิตคือ1.พระพุธทเจ้า 2.ท่านมหาตมะคานธี 3.อาจารย์หมอสนาน ถ้าคนทั่ว ๆ ไป ก็อาจงง แต่ถ้าเป็นนักเรียนแพทย์เชียงใหม่รุ่นแรก ๆ จนถึงราว ๆ รุ่นผม จะรู้ซึ่ง เรียกว่าอาจารย์สนานท่านเป็นที่สุดของความดีที่คน คนหนึ่งจะเป็นได้เลยละครับ คอนดักเตอร์คนที่เอ่ยถึงนี้แหละครับ ที่ผมเห็นแวบแรกแล้วคิดถึงอาจารย์สนานของผมแหละครับ......
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 198

moobin

07/10/2010 19:19:11
ต่อนะครับ

---------------------
21


ไฟล์ WAVE ก็มีชนิดบีบอัดเหมือนกัน แต่ถ้าไม่บีบ ฟอร์แมตนี้กินที่มากที่สุดแล้วครับ ตกนาทีละ 10 เมก
ผมเก็บเป็นเอมพีสาม ที่ระดับ 320 ก็ตกนาทีละ 2.5 เมก พอสู้ค่าฮาร์ดดิสก์ไหว
คุณภาพเสียงนั้นต้องแยกถกเป็นสองกรณีครับ

ถ้าเป็นการประเมินคุณภาพทางเทคนิค เช่นแหลมไปสุดแค่ใหน ทุ้มลงลึกระดับใหน เปิดได้ดังสุดโวลุ่ม อย่างนั้นพวกแผ่นออดิโอไฟล์ทำได้สมบูรณ์แบบกว่า
แต่ถ้าประเมินที่คุณภาพการได้ยิน เป็นต้นว่า สามารถแสดง"นิสัย"ของเครื่องดนตรีออกมาได้เหมือนแค่ใหน การแสดงตำแหน่ง ขนาดของเสียง การเน้น จังหวะ
อันนี้สูสีครับ บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เพราะมันเริ่มเป็นคุณภาพสัมพัทธ์แล้ว แต่ละฟอร์แมทมีดีแตกต่างกัน

ถ้าเป็นการฟังแบบอิงประสบการณ์ เช่นเคยดูดนตรีสดๆมาจนคุ้นเคย อันนี้ฟอร์แมทเอมพีสามจะได้เปรียบกว่า เพราะเสียงที่ผลิตออกมานั้น
คล้ายกับการฟังของจริง ต่างกับเสียงจากออดิโอซีดี ที่เหมือนยัดเยียดเสียงใส่หูแบบเอ็นจิเนียร์ฝึกหัดในสตูดิโอบันทึกเสียง

เพราะฉะนั้น จากความรู้สึกส่วนตัว ผมจึงอยู่กินใช้ชีวิตกับเอมพีสามได้ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันระหองระแหง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 199

moobin

07/10/2010 19:20:38
ว่าด้วย Brahms

22

-----------------

เรามาเริ่มที่คนในตำนานก่อน
ตอนที่บราหมส์ยังเป็นเด็กหนุ่มวัยละอ่อน 21-22 ปีเท่านั้น เป็นไอ้บ้านนอก(แหะๆ...เข้าประเด็นพอดี)
ความจริงก็ไม่ถึงกับบ้านนอกนักดอก เมืองฮัมบวร์กที่แกเกิด สมัยนั้นออกจะซอมซ่อ เป็นเมืองท่าเรือ
เทียบไปก็คือคลองเตยเราดีๆ นี่เอง

หนุ่มบราหมส์มีโอกาสตระเวณแสดงกับเพื่อนรุ่นพี่นักไวโอลินไปทั่วเยอรมัน ร่วมมือกัน 2 ปี ระหว่าง 18503-4
เพื่อนคนนี้ พาไปรู้จักกับโยเซฟ โยอาคิม ซึ่งวันนั้น เป็นมือซออัจฉริยะแห่งยุโรป
ชื่อเสียงลือเลื่องกระเดื่องดังไปทุกราชสำนัก เปรียบกับไอ้บ้านนอกสลัม ก็ราวกับดินและดาว
โยอาคิมได้ฟังเปียนโนของบราหมส์เข้า ถึงกับนอนไม่หลับ ต้องเขียนจดหมายถึงเพื่อนไฮโซทุกคน ว่าเพิ่งเจอเพชรเม็ดงาม
"คุณบราหมส์ไปไกลล้ำหน้าพวกเราหลายปี..." โยอาคิมสารภาพ
นี่คือผลิตผลจากสลัมนะครับ
เพื่อนอีกคนที่ได้เจอตัวและฟังหนุ่มบราหมส์ สรุปง่ายๆว่า ฝีมือเปียนโนของเขา ไม่แพ้พวกโปลลิช
นี่เป็นคำชมระดับเอกอุ เพราะในครั้งกระโน้น สุดยอดมือคีย์บอร์ด คือชาวโปล
(คงนึกออกว่าโชแปงเป็นชาวอะไร)

ในบันดายอดเปียนนิสต์ทั้งหมด ยกเว้นมทสาร์ตแล้ว ผมคิดว่าโชแปงน่าจะเป็นอันดับหนึ่ง
เพลงของเขา แสดงให้เห็นว่าเปียนโนมีไว้ทำอะไร และทำได้อย่างไร ไม่ว่าจะดัง จะเบา จะเร็วจะช้า
จะหวานจะเศร้า ไปจนถึงความมหัศจรรย์ที่เราคาดคิดไม่ถึงว่าเครื่องดนตรีนี้จะสร้างขึ้นมาได้
มรดกพรสวรรค์เหล่านี้ ดูเหมือนจะส่งต่อมาทางเชื้อชาติแฮะ
ยอกนักเปียนโน ล้วนเป็นชาวโปล เช่น ปาเดเรฟสกี้ (Paderewsky หรือนิยมสะกดอีกแบบมากกว่า)
Ignacy Jan Paderewski 1860-1941 ผู้ซึ่งเพียงแต่นั่งเฉยๆ สาวครึ่งโลกก็ระทวยกายด้วยความที่เฮียแก หล่อเหลือเกิน
นั่นก็เป็นโปลลิช และเป็นถึงนายกรัฐมนตรีพลัดถิ่นคราวสงครามโลกครั้งที่สองเสียด้วย

ถ้าจะมีมือคีย์บอร์ดที่รัคมานินอฟยอมยกย่อง ก็เห็นจะเป็นคนนี้แหละครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 200

moobin

07/10/2010 19:21:42
23

------------------

เข้าไปอ่านเวบที่คุณพีเจหงุดหงิดมาแล้ว พลอยหงุดหงิดตามไปด้วย
อันที่จริงพวกที่สนทนากันในนั้นก็มีความรู้ใช่น้อย ส่วนมากน่าจะอยู่ในวงการดนตรี
อาจจะถึงเป็นครูสอนด้วย แต่วิธีถ่ายทอดความรู้ดูเหมือนจะอันตรายอยู่เหมือนกัน
คือคนมีความรู้ดีนี่ เวลาพูดผิด คนธรรมดาจับไม่ได้หรอกครับ เพราะความรอบรู้ของเขา กลบรอยด่างหมด

มีประเด็นที่ผมไม่ค่อยเข้าใจในกระทู้หนึ่ง ที่เขาบอกว่าสำเนียงจากมทสาร์ตนี่เป็น suburbiam
เข้าใจว่าเขาคงจะเล่นคำ คือแทนที่จะบอกว่า suburban ก็ใช้ลาตินให้เก๋หน่อย แต่ถ้าจะเอาอย่างนั้น
ก็น่าจะใช้ว่า in suburbiam ให้เต็มยศ จะได้เข้าใจแจ่มแจ้ง
ทีนี้ ถ้าเป็นลาตินจริง ผมก็งงเหมือนกันว่าอย่างมทสาร์ต ที่เคยล้เล่นขอเด็กหญิงมารี อังตัวเนตต์แต่งงานนี้น่ะหรือ
จะเป็นพวกซับเอิบ
นักดนตรีที่ทุกราชสำนักยุโรปคลั่งไคล้ แท้ที่จริงเป็นพวกหลังเขา ตลกร้ายจริงๆ พี่คนนี้

กลับมาที่เบโธเฟ่น
เราไม่รู้ว่าท่านเก่งแค่ใหน เพราะเปียนโนในสมัยของท่าน มันไม่เหมือนสมัยนี้
แล้วการเล่นให้เสียงใหญ่ยิ่ง ปานฟ้าถล่ม ก็ไม่มีในยุคของท่าน
สมัยนั้นเปียนโนหลังเล็กนิดเดียว คีย์ก็จำนวนไม่แน่นอน เสียงก็ออกแนวโปรง สะอาด และเร็วระยิบระยับ
เอารูปเปียนโนยุคนั้นมาฝากครับ เชิญทัศนา

มาในยุคโชแปง-ลิสต์นี่เอง ที่เปียนโนตัวใหญ่อย่างที่เราคุ้นกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 201

moobin

07/10/2010 19:22:46
24
-----------------

บรามห์ เปียโน คอน นัมเบอร์ สอง
ท่อนเปิดของมูฟเม้นท์แรก เป็นเสียงฮอร์นที่เปิดกว้างจากที่ไกลๆ
แล้วต้องตามด้วยเปียนโน ต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นการเริ่มต้นที่ สิบคน ผ่านแค่ สาม หรือสี่
วิลเฮล์ม แบคเฮ้าส์ ตอนสิบสองขวบ เคยตามครูไปเล่นคอนแชร์โต้ทั้ง 1 และ 2 กับบราหมส์ที่เวียนนา
เลยได้อยู่ร่วมในการปรึกษาความหมายของท่อนนำนี้

แบคเฮ้าส์บอกว่า มันก้อ...ง่ายๆ
เหมือนเราเดินทอดน่องเข้าในราวป่าไงย์...
(ก่อนจะไปเจอความตื่นเต้นในอีกสิบวินาทีต่อมา คือการเริ่มท่อนคาเด็นซ่าอย่างทันทีทันใด...อันนี้ผมว่าเอง แหะๆ)

คอนแชร์โต้โอปุสที่ 83 นี้ เป็นสุดยอดของความยากและยิ่งใหญ่
มันต้องการพลังงานทั้งชีวิต ไม่ใช่เพลงที่จะมาอวดฝีมือกันเลยสักนิด
อย่าเพิ่งฟังเพลงนี้ จะทำให้คอนแชร์โต้อื่นๆ จืดหมดครับ
-------------------

เปียนโนคอนแชร์โตที่ว่ายอดเยี่ยมนั้น ในความเห็นของผม มีอยู่สองกลุ่ม คือกลุ่มเยี่ยมยอด ไม่มีใดเทียม
ผมคิดว่า งานของมทสาร์ตตั้งแต่เบอร์ 20 เป็นต้นมา ถึง 27 อยู่ในกลุ่มนี้ได้หมด
ของโชแปง ซึ่งมีสองเบอร์ ก็อยู่ได้
รัคมานินอฟ 2 และ 3 ก็พอจะเขย่งอยู่ในฐานันดรนี้ได้....พวกนี้ต้องหามาประดับวงศ์สกุล

มาถึงแถวสอง ยอดเยี่ยมอย่างมีคำว่า....แต่
ประกอบด้วยท่านบี 5 ชิ้น เรียนตามตรงว่า ไม่มีสักชิ้น ที่เหนือกว่ามทสาร์ต ไม่ว่าจะแง่ใด
ฟรั้นส์ ลิสต์ ชูมานน์ หรือไชก๊อฟสกี้ ล้วนแต่ต้องชะเง้อมองแถวบนทั้งหมด
พวกนี้ต้องฟังให้หมด ก่อนจะไปฟังบราห์มส์เบอร์หนึ่ง ซึ่งคงจำได้ว่า เคอร์ซองเล่นไว้เด็ดดวงขนาดใหน
เพียงแค่เบอร์หนึ่งก็ส่งบราหมส์ไปอยู่แถวบนแล้ว

แล้วเบอร์สองนี่ ดีกว่าหนึ่งขึ้นไปอีกหลายส่วน
เกิดฟังแล้วปื้มม์ขึ้นมา จะหาอะไรฟังต่อล่ะท่าน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 202

moobin

07/10/2010 19:23:46
25
------------------

สำหรับโอปุสที่ 98 ซี่งเป็นซิมโฟนี่แห่งการอำลาโลก หลังทิ้งรอยเท้าแห่งอัจฉริยภาพไว้อย่างสมใจแล้ว
ผมชอบ(แม่ง)เล่นเกือบจะทุกคนเลย....ยกเว้นคนที่เล่นห่วย

ท่อนสี่นั้น เป็นโคตรยากที่ยากโคตรๆ...ผมยกให้ท่านฟรุตเวงเลอร์คุมวงเบอลินไปเฉิดฉายที่ลึนดึ้น ก่อนสงครามโลกนิดหน่อย 1939
เล่นราวกะพสุธาวิปโยค สั่นสะเทือนไปถึงจักรวาลเบื้องบน
แต่ที่ลึนดึ้นเหมือนกัน อีกสี่สิบปีต่อมา เฒ่าทารกสะโตกี้ เล่นท่อนหนึ่งได้อย่างมีชีวิต เกือบจะเหมือนวิญญานเด็อนุบาลเข้าสิง(เฒ่าวัย 92....)
ที่ผมเคยพูดถึงไปแล้ว เล่นมันจนคนดูเผลอตบมือ(เหมือนเมื่อสมัยที่บราหมส์เล่นเพลงนี้เลย)

แต่คนที่ทำให้เพลงนี้ กลายเป็นสุดยอดอยู่ในทำเนียบซิมโฟนี่ ต้องยกให้เวน์การ์เน่อร์ ที่ลึนดึ้นอีกเหมือนกัน(แฮะ)
เมงเกิลเบอร์กทำได้ไม่แพ้กัน กับวงคอนเสิร์ตกบาวแห่งแอมสเตอรดัม

แต่ที่เป็นขวัญใจตลอดกาลของผม ก็คือคอนดัคเตอร์ขี้โรคจากอิตาลี วิคเตอร์ เดอ ซาบาต้า คุมวงเบอร์ลินเมื่อ 1939
ยังมีอีกหลายคนที่น่าพูดถึง แต่เมื่อเอ่ยถึงซาบาต้า แปลว่าเรามาถึงทางตันแล้วครับ
ไม่มีใครที่คอนดัคโอปุส 98 ได้เหนือกว่า ตลอดกาล
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 203

moobin

07/10/2010 19:25:19
26
---------------------

โอปุส 83
คอนแชรโตชิ้นนี้มีสี่ท่อน แทนที่จะเป็นสาม
บราห์มสขยายสะแกระโซ่ของท่อนที่ 1 (ตามธรรมเนียมเดิมๆ) ให้บันเจิดเป็นเอกเทศจนต้องยก แยกไปเลย หนึ่งมูฟเม้นท์
เป็นหนึ่งมูฟเม้นท์แห่งความอะเหร็ดอะหร่อย แต่มีขนาดใหญ่เท่าภูเขาสูงชันที่เปียนิสต์ต้องไต่ข้ามไป
เต็มไปด้วยเทคนิคที่ยากสุดๆ การตีความที่สุดๆ และสมาธิที่สุดๆ
แต่....
ต้องเล่นออกมาเหมือนกับง่ายๆ สุดๆ

เมื่อเล่นโดยบราหมส์ สี่ท่อนนี้ เล่นไม่ถึง 40 นาที คุณต้องแทบขาดใจตายเลย
ที่เอาโน๊ตทั้งหมดมาเปล่งเสียงให้ครบในเวลาเพียง 37 นาที อย่างที่บราหมสทำไว้
ปัจจุบันนี้ ผมเห็นเขาเล่นกันที่ 48-50+ นาทีครับ
บราหมสคงบ่นแหลกเลย....ตูม่ายด้ายแต่งมาให้เล่นอย่างนั้น

ถ้าต้องการฟังท่อนแรกที่อร่อยกว่าที่ออโรวิทตส์ทำ ให้ไปหาริ๊คแตร์ ไอ้ม้าป่าแห่งทุ่งหญ้าสเตปป์
เล่นเปิดตัวที่คาร์เนกี้ฮอลล์(ที่มิใช่ยาอมนะจ๊ะ) เป็นการเล่นที่ช๊อคทั้งเมกา
ว่าอัจฉริยะขนาดนี้ ทำไมกูเพิ่งรู้จัก
(ก็มึงมันกบในกะลาไงยยยย....พวกโซเวียตบอก)

วันนั้นฟริ๊ต ไรเนอร์ปกครองนิวหยอกอยู่ แต่บังเอิญแกเปื่อยกระทันหัน เขาเลยต้องไปเชิญมหาอุปราชเบอร์สอง เล็นสะด๊อฟ มาคุมวงแทน
โชคดีไป ผมไม่เคยชอบไรเน่อร์เลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 204

moobin

07/10/2010 19:26:39
27
-----------------

วันก่อนฟังเคอร์ซองเล่น Brahms op 15 (piano concerto no.1) แล้วโอ้โหมากๆ ฟังเทียบกับ Rubinstien แล้วทิ้งกันไม่เห็นฝุ่นเลย  นี่ขนาดฟังกับ HDD player นะครับเนี่ย

แต่ยังไงก็ยังรักแผ่นเสียงอยู่ครับ  ฟังออยสตรัคเล่นเบโธเฟนไวโอลินคอนเชอร์โตแล้วแผ่นเสียงยังได้อารมณ์กว่าเยอะจริงๆครับ   


รูบินสไตน์บันทึกเสียงเบอร์หนึ่งไว้ 4 ครั้ง คุณเอ้าท์คงไปเจอครั้งที่เล่นกะไรน์เน่อร์แหง็มเลย
ลองหาที่แกเล่นส่งท้ายชีวิต กับสุบินเมธาดูนะครับ
อ้อ ....ไวนิ่ลของอาร์ซีเอ เห็นเขาเทอดทูนกันนัก ผมกลับฟังว่ามันไม่เอาไหน มีแต่เสียงสุดปลายสองด้าน
เนื้อเสียงที่เป็นแก่นของวิญญานเพลง เขาไม่ได้อัดใส่มาด้วย

ถ้าเป็นเพลงใหม่ๆ หน่อย อย่างริมสะกี้ ค๊อสค๊อฟ หรือบาร์ต๊อก ผมก็ยังพอให้อภัย
เสียดายฝีมือของไฮเฝท ออโรวิทส์ รูบินสไตน์ แม้แต่ไคลเบิร์น เสียงเปียนโน ฟังใสเหมือนแก้วบรั่นดีในโรงอาหารถูกๆ
ไม่มีกลิ่นของกระดูกกับทองเหลืองกระทบเส้นลวดในเรือนไม้เลย

ด๊อยช์กราโมโฟน ได้ลิขสิทธิ์ออโรวิทช์ก่อนตาย ออกมา 5 แผ่น ลองหา In Moscow มาฟัง และดู
(มีวีดิโอ...อยู่ในสะเตทซิกส์ หน้าที่ให้ผมดูนั่นแหละครับ)
นั่นคือการบันทึกเสียงที่ยอดเยี่ยมที่สุดในยุคใหม่....หาไม่ได้ ไม่เป็นไร จะส่งไปให้
น่ากลัวต้องไปหาที่อั๊บโหลดไฟล์เสียแล้ว ส่งทีละร้อยสองร้อยเม็ก ค่อยง่ายหน่อย

อีมิล กีเล่ส์กะโยฆุ่ม ก็เล่นสองเบอร์นี้ได้ดีมากๆ ถ้าเป็นคอมพลีทเซท ผมให้เป็นเบอร์สอง รองจากขนาเบลและจอร์จ เซลล์
แบคเฮ้าส์กะบืห์ม ก็เยี่ยม เบอร์สองทำได้ดีที่สุด ไม่ต้องหาใครมาสู้ แต่เสียดายเบอร์หนึ่ง ด้อยกว่าเฆอร์ซองนี๊ดดดเดียว
ส่วนเฆอร์ซองหลับไปเล่นเบอร์สอง แพ้คนอื่นหลายๆคน
เซอร์กิ้นคู่กะเซลล์ก็ดี แต่ผมได้ไวนิ่ลที่ห่วยมากๆ พอมาฟังซีดี เสียงก็ห่วยเหมือนกัน แสดงว่ามาสเตอร์ไม่ดี
แต่ทีมเวอร์คคู่นี้ ถึงกันราวกะเป็นคนๆเดียว
อีกคนที่เล่นเบอร์หนึ่งได้ดีมากคือยอดฝีมือชาวโปล มาคูร์วินสกี้ สังกัดแองเจิ้ล

เฉพาะเปียนโนคอนแชร์โต้สองเบอร์นี้ ก็ทำทำเนียบยอดฝีมือคีย์บอร์ดได้ทั้งประวัติศาสตร์แล้วละครับ
ผมยังตามหาท่านผู้หญิงเฮสส์กะบรูโน วอลเธ่อร์ เขาลือว่าสุดยอด ยังมะด้ายมาเลย
หากีเซกิ้งรุ่นหลังสงครามโลกก็ยังไม่ได้
และอยากได้เอ๊ดวิน ฟิชเชอร์เพิ่มสักหน่อย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 205

moobin

07/10/2010 19:28:39
28
-----------------

ในบันดาคอนดัคเตอร์ชั้นยอด ผมเห็นว่า จอร์จ เซลล์ และโยฆุ่ม สองคนนี้แหละ
ที่คุมวงสำหรับคอนแชร์โตได้ชนิดหาที่ติไม่เจอ
ใครได้ร่วมงานด้วย เป็นวางใจในคุณภาพดนตรี
แต่ก็ต้องถามตัวเองนะครับ ว่ารับมือสองคนนี้ได้ไหม

ในบราห์มสเบอร์หนึ่ง แกกะเอาให้นักเปียนโนตายยกเล้าเลย
ไม่มีอ่อนข้อให้สักตัวโน๊ตเดียว ไม่มีลดเสียง ลดพลัง
คุณไม่ใช่ยอดฝีมือ ฟังอินโตรดั๊คชั่นยาวเหยียดท่อนนี้ ขาดใจตายก่อนเอานิ้วแตะบาร์แรก

ที่เหลือเชื่อก็คือ เฆอร์ซองเจ้าเล่ห์มาก ใช้ความสงบ สยบพายุบ้า
แล้วค่อยปล่อยลมกรดสลายอำนาจของออเคสตร้า มันอาหร่อยเหาะ
ฟังมาสองสามร้อยหนแล้ว ไม่เคยเบื่อ

--------------------

ยังไม่ได้รายงานว่า ได้ดูเบเรนบ็อยเอมแล้ว เป็นไปตามคาดครับ คือเล่นดี แต่ผมไม่ซึ้ง
อยากให้สังเกตการเข้าโนตตัวแรก แดเนี่ยลเกร็งมากเลย ทั้งที่เล่นเพลงนี้มานับครั้งไม่ถ้วน
ถ้าเทียบกับอะเรา...ไปหามาให้ได้นะครับ เป็นขาวดำ
ขานั้นหวาน พริ้ว เต็มไปด้วยความเป็นมนุษย์

แดเนี่ยลยังยึดเปอร์เฟคชั่นจนขาดความอ่อนไหว จะว่าเป็นหุ่นยนต์เล่นก็เกินไปหน่อย
แต่หุ่นยนตร์ยังจะเล่นดีกว่าเลย

สังเกตสุดท้ายนะครับ
เห็นความโคตรยากของโอปุส 83 หรือยัง
เชลลี่ยังไม่รอดเลย.....555555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 206

bankung

07/10/2010 21:50:42
คุณ moobin ครับ ผมฟัง hahn เล่น bach sonatas&partitas แล้วผมกลับคิดว่าเธอเล่นได้ดีมากนะครับ สิ่งที่ทำให้เธอต่างจากคนอื่นที่เล่นเพลงนี้อัดแผ่นก็ตรงที่เธอให้ความสำคัญกับทั้งจังหวะและเสียงประสานไปพร้อมๆกันมากกว่าใครๆครับ นักไวโอลินหลายๆคน เพื่อต้องการที่จะเน้นเสียง line หนึ่งๆในบางช่วงก็ rubato เพื่อให้เสียงมันเด่นขึ้นซะอย่างนั้น หรือแม้กระทั่งการเล่น bach chaconne เสียอย่างกับเล่นเพลงโซโล่ยุคโรแมนติก เพลงบาคไม่ต้องการ rubato ครับ ในความคิดผม hahn เล่นบาคได้ตรงกับสิ่งที่ควรจะเป็นมาก ส่วนเรื่องเสียงไวโอลินของเธอนั้น ถ้าจะกล่าวคือเสียงมันไม่สุดครับ ซอวีโยมที่คุณเธอบอกว่าชอบกว่า strad/del gesu ทุกตัวที่เธอลองมานั้นมันไม่ได้ดีขนาดนั้นซอเทพๆพวกนั้นครับ ถ้าเราฟังเสียงไวโอลินอัดแผ่นจากนักไวโอลินระดับโลกคนอื่นๆ จะพบว่าเนื้อเสียงไวโอลินของ hahn สู้ไม่ได้ครับ นั่นอาจเป็นอีกปัจจัยที่คนบอกว่า hahn สีออกมาเสียงบางๆ แต่ถ้าถามผมถึง sibelius หรือ paganini ที่เธอเล่น ผมว่ายังไม่เข้าขั้นครับ ขาดทั้งพลังและความลุ่มลึกครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 207

moobin

07/10/2010 22:24:23
เรื่องของ Hahn นั้น ทางเวบโน้นเขาเคยพูดกันแล้วเหมือนกันนะครับ

--------------

http://www.youtube.com/watch?v=vXwHtHoBO20

มีดีก็ต้องมีไม่ดี
ผมไม่เคยชอบการสีซอของสาวน้อยมะหัดสะจันคนนี้เลย
นี่คือหนึ่งในเหตุผลรองรับ

ผมว่าเธอสีซอได้เหมือนจักรเย็บผ้าในโรงงาน ประมาณนั้น
ไม่รู้ว่านักวิจารณ์คนหนึ่ง ในหนังสือเตริโอฟายหรือแอ๊ปซาหลุดอะไรนี่แหละ
ใช้อะไรฟัง จึงบอกว่าซึ้งซะน้ำลาย เอ้ย น้ำตาไหล

เดี๋ยวจะถูกกล่าวหาว่าลำเอียงเข้าข้างคนสวย เอาฝีีมือคนแต่ง เล่นเองมาให้ฟังกัน หมดเรื่องหมดราว
ดีนีกู เล่นเพลงของตัวเอง.....เฮ้อ สีอย่างนี้ จะมีที่ยืนให้พวกหนูๆ อัจฉริยะฟันน้ำนมเบียดขึ้นมารื้อ

http://www.youtube.com/watch?v=-WJ7EB2wYvw&translated=1

ผมละเบื่อพวกเชียร์แขกนัก หลับหูหลับตายกย่องกัน ศักดิศรีติดตัวสักนิดยังไม่มี
ชมซะจนเด็กที่น่าจะเก่งกว่านี้ได้อีกมาก กลายเป็นสินค้าห้างหรูไปเลย
เวลาไปคอนเสิร์ตของเธอ ก็คงได้แต่ดูเสื้อผ้า กะดูซอแพงระยับตัวนั้น

http://www.youtube.com/watch?v=w58vfYWQsjg

ปิดท้ายด้วยอีเนสกู อาจารย์ของหลอดเมนูฮิน
มือซอที่เกรียงไหรที่สุดในยุคของตน
และอาจจะเป็นนักดนตรีเพียงคนเดียว ที่รัฐบาลเปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน
ชื่อมหาวิทยาลัย และชื่อวงซิมโฟนี่ของชาติ เป็นชื่อสุดยอดนักดนตรีคนนี้

ใครคุ้นกับเพลงนี้คงจะฟังไม่ได้เลย เหมือนจักรเย็บผ้าซิงเกอร์จริงๆ
ถ้าฝีมือระดับนักเรียนแบบนี้โด่งดังขนาดนี้ได้ ที่ต้องปรับปรุงก็คือคนฟังแล้วล่ะ
นักวิจารณ์เล่มไหนชม เห็นทีจะต้องเลิกอ่านแล้ว

ฟังคลิปนี้แล้วเป็นคนละเพลงเลย
http://www.youtube.com/watch?v=Mag2mc5Vva0&feature=fvw

อันนี้คนแต่งเล่นเองเลยครับ เจ๋งสุด

http://www.youtube.com/watch?v=EHR1eZ23qCw

แล้วนี่ ฝีมือ PATRICIA KOPATCHINSKAJA
http://www.patkop.ch/sounds/dinicu,%20hora%20staccato.wma
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 208

moobin

07/10/2010 22:30:17
ดีใจครับ
ถึงเวบนี้ดูดูแฟนเพลงคลาสสิคดูเหมือนจะไม่มาก
แต่คุณหมอทัดเทพก็เปิดประเด็นจนต้องเผยโฉมมาทีละคน
พอผมเข้ามาล่อเป้า ยิ่งมากันใหญ่
มีคุณ bankung มาอีกคนแล้ว

ไม่เสียแรงเปล่า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 209

Collagen

07/10/2010 22:39:49
4
ขอบคุณอีกรอบคัรบ คุณ moobin ผมอ่านตามแล้วก็ยัง งงๆ อยู่เลยครับ ไม่มีข้อมูลด้านนี้จริงๆ T-T

ได้อ่านข้อมูลที่คุณ moobin ได้ Post ก็ได้ความรู้เยอะขึ้นมากมายเลยครับ.... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 210

moobin

07/10/2010 22:55:48
เอ้า Bach Partita ก็ได้
นี่ Hahn

http://www.youtube.com/watch?v=6YLXc9w_qQo&feature=related

ลองมิลลสไตน์บ้าง

http://www.youtube.com/watch?v=waxat-_tRH8

สุดท้าย แถมด้วยสิงคโปร์เลื่อยไม้ Vanessa Mae

http://www.youtube.com/watch?v=4g5Q1p6C7ho&feature=related
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 211

bankung

07/10/2010 23:39:26
ผมขอแปะ version ของ hahn ที่เป็นแผ่นอัดกับ sony album แรกๆครับ

http://www.youtube.com/watch?v=2KYRdRnnBYw&feature=related
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 212

bankung

08/10/2010 00:01:15
นักไวโอลินอีกหลายๆคนที่อยากให้ฟังครับ

นักไวโอลินที่ถูกลืม Tibor Varga - Sarasate introduction et tarantella
http://www.youtube.com/watch?v=0vZZ8z8rElM

Arthur Grumiaux - Mozart K526 เจ้าพ่อโมสาร์ท
http://www.youtube.com/watch?v=YffZjUz1xUs

Josef Hassid ...เสียดายคนเก่งอายุสั้น
http://www.youtube.com/watch?v=kuYQWjv04UU&feature=related
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 213

สมัครเล่น

08/10/2010 11:05:41
412
เรื่องเสียงเป็นเรื่องของรสนิยมครับ
รสนิยมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา หรือสิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมด้วยครับ
ก็เลยบอกไม่ได้ว่า ใครเล่นแบบไหนแล้วจะถูกใจ
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ เมื่อเทียบกับบ้านเรา
ที่กระแดะเรียกว่าเป็นศิลปิน อยากร้องเพลง
หรือแข่งประกวดร้องเพลง ต้องบอกว่า ของเรานี่อึ่งอ่างในใหปิดฝาของแท้ครับ
basic ยังไม่ได้ ยังคิดจะมาเป็นศิลปิน
(ขออภัยนอกเรื่อง เริ่มติดเชื้อปากร้ายมาแล้วครับ ไปอ่านมากไปหน่อย)
เพราะฉะนั้น อยากให้ลองฟังกันหลาย ๆ คน
แบบที่ คห.ทั้งหลายร่ายมานั่นล่ะครับ

เมื่อวาน ฟัง Emil Gilels เล่น Brahms
ตามที่ท่าน ๆ ทั้งหลายให้ลองฟัง
ก็มันแบบระเบิดเถิดเทิงไปครับ
ผมว่า Gilels เล่นได้ทรงพลังมาก ๆ
ก็สมควรติดดันดับของ grammophone
ว่าด้วยนักเปียโนผู้ยอดยุทธ
รวมทั้งป้ามาร์ธา ที่ผมไม่ชอบก็ติดไปด้วย

ส่วนไวโอลิน ผมเห็นด้วยในกรณีเจ๊ อันเน่อ โซฟี มุตเตอร์
ผมไม่ชอบ Vibrato ของเจ๊แกเลยครับ
ผมว่าฟังแล้วมันหลอน ๆ ยังไงก็ไม่รู้
แต่ต้องชมว่า เจ๊อายุมากแล้ว ก็ยังสวยพริ้งได้
เสียแต่เพื่อนที่เคยไปชมการเล่น บ่นว่าเจ๊ชอบทำหน้าบูด
(อันนี้นอกประเด็น)

ส่วนคุณหนูฮาน ผมชอบเพราะแกสวย (เกี่ยวกันไหมนี่
เผอิญชอบผู้หญิงหน้าแบบนี้มั้งครับ)
ส่วนเรื่องเล่น ผมว่า บางเพลงก็ไปโทษซะหมดก็ไม่ได้
เพราะผมเืชื่อว่า แต่ละคนคงมีสไตล์ของตัวเอง
บางทีสไตล์ตัวเองนั้น อาจจะไม่ถูกใจคนอื่นเขาก็ได้
เหมือนที่คุณบ้านกุ้ง ว่าไว้นั่นล่ะครับ

อย่างกรณีเล่นเพลง The Lark Ascending
ผมว่า หนูฮาน ก็พอถูไถฟังได้กับเขานะครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 214

moobin

09/10/2010 11:16:31
มาต่อเรื่อง Brahms กัน

------------------
29


บราหมสทำงานน้อยมากครับ
ซิมโฟนี่มีแค่ 4
คอนแชร์โต้มีแค่ 4
งานแชมเบอร์มิวสิค มีแค่ 25 ชิ้น
ในงานทั้งหมด 121 +1 (เบอร์ 122 เป็นออร์แกนเดี่ยว พิมพ์เมื่อเสียชีวิตแล้ว)
ไม่มีชิ้นใหนห่วยเลย แม้จะรวมอีกเจ็ดชิ้นที่บราหมสไม่ใส่เข้าบัญชีงาน คือฮังกาเรียนแดนส์
และเดี่ยวเปียนโนอีกนิดหน่อย

ผมพยายามแยกแยะเพื่อหาแต่ชิ้นดีๆ สุดท้ายก็เลยกวาดหมดครับ มีมันทุกโอปุสเลย เป็นไงเป็นกัน
ผมเริ่มต้นด้วยการฟัง CAN & BRAHMS ของ
ก่อนหน้านั้นก็รู้จักจากฮังกาเรี่ยนดานส์ ตั้งแต่เด็กๆแล้ว แต่ ทำให้สนใจยิ่งขึ้น ก็ลองหาแผ่นมาลอง
ถึงวันนี้ กล้าพูดได้ว่า งานจากศิลปินมาตรฐาน ได้ผ่านหูมาหมดแล้ว
แม้แต่แผ่นบ๊อกเซทจากคอมมานด์เรคคอร์ด ของแฟร้งค์ แช๊คฟิลด์ ตั้งใจบันทึกเสียงวงพิตสเบอร์ก
ฝีมือเยอรมันลี้ภัย วิลเลี่ยม(บิลลี่) สไตน์เบอร์ก เสียงดีมากจริงๆ

ซิมโฟนี่ครบชุดนั้น น่าเล่นหลายคน บิ๊กไฟว์ มีเพียงไคลเบอร์(พ่อ) ที่ไม่เล่นบราหมส
แต่(ให้ตายเหอะ) ผมเคยเจอบอ๊กเซทอีริต ไคลลเบอร์เล่นบราหมส 4 เบอร์ที่อังกฤษ แต่เดียวนี้ไม่เห็นแระ
ทอสกานีนี่บันทึกเสียงบราหมส์ไว้ครบชุด ผมขาดเพียงเปียนโนคอนแชรโต้เบอร์ 1

ฟรุตเวงเลอร์ มีหลายชุดครับ อีเอมไอก็ทำ ด๊อยช์ก็ทำ ค่ายผีก็ทำ สรุปว่าจัดได้สามชุดสะบายๆ
เคลมเปอร์เรอร์ทำไว้สองครั้ง ครั้งแรกเป็นโมโน ได้เพียงชิ้นเล็กๆ ยังไม่เข้าสู่ซิมโฟนี่
พอเข้ายุตสะเตอริโอ พี่ก็สลูทครบเลย ต้องมีครับ ต้องมี

บรูโน วอลเธ่อร์ คนนี้เก็บของดีไว้ท้ายสุด
เป็นงานบันทึกเสียงส่งท้ายชีวิต อัดเสร็จก็ตายเลย ไม่แนะนำไวนิลของโคลัมเบีย ควรหาของญี่ปุ่นให้ได้
ทั้งหมดแหละครับ ย้อนไปถึงทอสกานีนี่เลย ต้องหาแผ่นเพรสสิ้งญี่ปุ่นมาลองให้ได้ แล้วจะยกนิ้วให้
คนพวกนี้ รักจริง ทุ่มจริง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 215

moobin

09/10/2010 11:18:28
30
------------------
มาพวกที่อยู่นอกเบญขเทพบ้าง
สโตกี้ก็เด่นมากกับบราหมส เขาเปิดตัวครั้งแรกในยุโรปที่ลอนดอน ด้วยบราหมสเบอร์ 1
อีก 60 ปีต่อมาก็เอาโปรแกรมนั้นมาเล่นซ้ำ ก่อนตายไม่กี่เดิอนก็บันทึกบราหมสเบอร์ 2
เป็นเบอร์สองที่ยาวยืด อะเหร็ดอร่อยมาก
แต่ผมชอบบีชั่มในเบอร์นี้มากกว่า ปกติทั่นเซ่อร์ไม่ชอบบราหมส อย่าว่าแต่จะเล่น ก็ยังบาก
แต่เบอรสองนี่ อีอัดแผ่นสองหนอ่ะครับ
โมโนหนหนึ่ง สะเตอร์หนหนึ่ง ผมมีรุ่นสอง เล่นดี อร่อยจัดจ้าน น่าจะสมใจบราหมส์

จอร์จเซลล์ก้ทำไว้ครบชุด เบอร์หนึ่ง ท่อนนำนั้นเสียจังหวะไปหน่อย แต่พอเข้านาทีที่สามจนหมดสี่เบอร์ ถือว่าเยี่ยม
เสียดายที่การอัด ไม่ดีเลย มาทำเป็น SACD ไม่รู้แก้ปัญหาได้ใไม ถ้าไม่ได้ ผมคงต้องลองดู.....

คารายานนี่ห่วยแตก และเป็นมูลเหตุให้ผมไม่ให้หมอนี่เข้าบ้าน
ฟริต ไรน์เนอรื อูยีนออร์มันดี้ และเลนนี่ ตีนไหม้ (Leonard Bernstein) พวกนี้ ไล่ออกไปหมด
คนที่จะเล่นบราหมสได้ดี จะต้องเข้าใจเรื่องความหลากหลาย
งานของบราหมสเหมือนป่าใหญ่ มีสารพัดสรรพชีวิตประสมประสานกีน
ไม่แห้งแล้งเป็นทะเลทราย ไม่คลุ้มคลั่งเป็นทะเลบ้า
หรือโศกาอาดูรเหมือนขั้วโลก แล้วก็ไม่ใช่บันไดดารา คุณจะใช้เป็นที่หาชื่อเสียงไม่ได้
คุณต้องมีชื่อก่อน แล้วมาสละชื่อเสียผู้เสียคนกับบราหมส

-------------------
คนที่หลงยราห์มสจริงๆ เป็นหนุ่มฝรั่งเศสหนวดงาม ผู้ซึ่งตอนอายุ 85
วงลอนดอนซิมโฟนี่ ขอทำสัญญา 25 ปีให้เป็นวาทยากรหลัก....เออ เอากะมันดิ
เมื่ออายุ 19 ได้แวะไปเวียนนา เพื่อจะเล่นสตริงควอร์เตทของบราหมส ให้บราหมสฟัง
เขาเป็นไวโอลินเบอร์หนึ่ง มาเล่าอย่างเจ็บใจภายหลังว่า วันนั้นเขินไปหน่อย เลยได้แต่ฟัง
ตอนหลังย้ายอาชีพมาเป็นวาทยากร ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มและไมตรี แปร์ มองเตอะ
เขาสัญญาว่า เมื่อตายลง แล้วเกิดได้เจอบราหมส จะขอโทษท่านผู้เฒ่า
ที่ข้าน้อย มิสามารถนำความงดงามจากงานประพันธ์ของท่าน ออกมาสู่ชาวโลกได้

งานของบราหมสต้องใช้ว่า งาม จึงจะเป็นคำจำกัดความที่ถูกต้องที่สุด
คลอดิโอ อะเราเคยบอกว่า ท่อนช้าในโอปุส 5 (เปียนโนโซนาต้าชิ้นมหึมาในวงการ  อีกชิ้นหนึ่ง)
เป็นดนตรีความรักที่งดงามที่สุด ต่อจากทริสตาน ของวากเนอร์
คุณจะรู้จักบราหมสได้ ผ่านท่อนเดี่ยวที่ลุ่มลึก ซาบซึ้งนี้ และโหด(อิบอ๋าย...ทั่นเฆอรซอง เล่นท่อนนี้ตรงนาทีที่ 4 กว่าๆ
ว๊อยสเบียด ฟ้องเห็นๆ เลย) งานชิ้นนี้แต่งเมื่ออายุ 20 นิดๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 216

moobin

09/10/2010 11:20:07
31
---------------

ตอนเด็ก บราหมสเป็นเด็กสลัม บ้านเกิดเป็นแฟลตหมู่ แฟลตดินแดงของเรายังดีกว่า
แม่เป็นผู้ดีตกยาก พิการขาลีบไปข้างหนึ่ง มาได้ผู้ชายรุ่นลูกเป็นสามี(อ่อนกว่ากัน 24 ปี)
โยฮันน์ เป็นนักดนตรี เล่นดับเบิ้ลเบสในวงของเมือง กลางคืนก็เล่นในร้านเหล้าที่ท่าเรือ
บราหมสโตมาในดงโจรอย่างนั้น แต่แม่เป็นยอดหญิง เธอสอนดนตรีให้ลูก เจ้าหนูมีอัจฉริยภาพ
อายุสิบกว่าขวบก็เริ่มแจมกับวงข้างถนนของพ่อได้ อายุสิบสองก็เริ่มหาเงิน แต่จนสิบสี่นั่นแหละ จึงมีปัญญาไปเรียนดนตรีอย่างจริงจังได้
กับครูต๊อกต๋อยชื่อค๊อสเซล เรียนได้ปีกว่า ครูประเสริฐคนนี้ก็รู้ว่า กูเจียระไนเพชรเม็ดนี้ไม่ได้
ตัดใจ พาไปหาครูของตัวเองอีกที เออร์ด๊วด มาร์กเซ่น ซึ่งเป็นคนดังประจำเมือง มารกเซ่นยอมสอนไอ้หนู ฟรี.....

มารกเซ่นสอนโยฮันเนสส์อยู่สองปีเต็มๆ สอนจนหมดไส้หมดพุง ไอ้ลูกศิษย์นี่ก็แสบ กลางวันมันแอบไปทำงานร้านซ่อมเปียนโน จะได้มีของดีซ้อมมือ และ....ที่สำคัญยิ่งๆก็คือ มันจะได้อ่านโน๊ตแพงๆ ของพวกเทพ สมัยนั้น โน๊ตพวกนี้แพงมาก คนจนอย่าหวังได้แอ้ม
บราหมสสำนึกในบุญคุณมารกเซ่น ทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนกัน
และในเปียนโนคอนแชร์โต้หมายเลขสองอันยิ่งใหญ่ บราหมสเล่นเองเป็นปฐมทัศน์โลก
เชิญครูเฒ่ามา และอุทิศงานชิ้นเอกในประวัติศาสตร์ดนตรีให้มาร์กเซ่น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 217

moobin

09/10/2010 11:20:45
32
------------------
อายุสิบแปด บราหมสก็สำเร็จวิชา ความจริงต้องบอกใหม่ว่า หมดเวลาแล้ว ต้องหาเงินแล้ว
เอ็งมันลูกคนจน ที่ใหนจะมีเงินส่งเรียนพร้อมแต่งงานแล้วกลับมากอบโกยบ้านเมือง....เปล่า อันนี้ไม่ได้หมายถึงใครทั้งนั้น
ตั้งแต่สิบสี่ ที่หนุ่มผมทองรูปหล่อคนนี้ คลุกคลีอยู่กับโสเภณี ก้อท่าเรือน่ะพี่ จะมีนางชีได้ไง
เขาเล่าเองว่า ตอนนั้น เขายังเพิ่งโต นั่งอยู่บนตักของอีตัว ที่เปลือยเกือบทั้งหมด พวกหล่อนเล่นไอ้หนูยังกับตุ๊กตา
"ไม่รู้ข้าพเจ้าผ่านนรกขุมนั้นมาได้อย่างไร"

บราหมสมีแม่ที่เหมือนเทพธิดา อยากรู้ว่าเขารักแม่เพียงใด จงไปเสาะหาโอปุสที่ 40 ฮอร์น ทรีโอมาฟัง
ที่ผมชอบสุด เป็นฝีมือเซอรกิ้น เล่นกับพวก ในเทศกาลดนตรีมาร์ลโบโร่
เสียงเฟร้นช์ฮอร์นนั้น หวานลึก ดึงดูดความทรงจำราวกับมนตร์เรียกอดีต
เสียงเคาะเปียนโนก็ราวกะยามเวลาของเทวภพ ย้ำเตือนอย่าสุภาพ ถึงการเข้ามาและจากไปของกาละเวลา
แล้วยังเสียงไวโอลินที่คลออยู่อย่างสนิทสนม เป็นการประสมเครื่องดนตรีที่เหลือเชื่อ คือแหลม ลึก/กว้าง และกังวาน

ถ้าผมมีสิทธิ์เลือกงานของบราหมสได้เพียงหนึ่งขิ้น ผมเลือกหมายเลข 40 นี้แหละ
ถ้าคุณได้ฟัง แล้วไม่เห็นความไพเราะ ขอจับเข่าคุยกันอย่างจริงจังเลยว่า...เพื่อนเอ๋ย ทนฟังไป....
จนกว่าจะฟังออกว่ามันเพราะอย่างไร ต้องทำให้ได้ ถ้าจะอยากรู้ว่า ทำไมนักแต่งเพลงคนนี้จึงเข้าทำเนียบ สาม B's ได้
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 218

moobin

09/10/2010 11:22:29
33
----------------------

จนถึงอายุ 18 เขาก็ยังเป็นนักเปียนโนประจำบาร์ที่ท่าเรือ
เล่นเพลงกล่อมกลาสี ขณะที่แต่งเพลงของตนอยู่
คือลือกันว่า บราห์มสมีสองสมองครับ ก้อนหนึ่งทำงานประจำ ก้อนหนึ่งทำงานพิเศษ

คืนหนึ่งก็มีนักซอแวะมาแจม เจ้าคนนี้เป็นรุ่นพี่ เป็นชาวแม๊กย่าร์ คือฮังกาเรี่ยน
ชื่อเออด๊วด เรเมนยี่ ทั้งคู่ถูกคอกัน จนเออด๊วดชวนโยฮันเนสส์ออกตระเวณแสดงด้วยกัน
อันนี้เป็นประเพณีดนตรีของยุโรปนะครับ นักดนตรีอาชีพของเขา เล่นไปเดินทางไป
ไม่มีใครอยู่กับที่แล้วดังได้ดอก
เมืองใหญ่ๆ สมัยนั้น เช่นไลฟ์ซี๊ก แฟรงค์เฟิร์ต หรือดุสเซนดอล์ฟ จะมีคนยอมจ่ายเงินดูคอนเสิร์ต
ยิ่งถ้าฝีมือดีจนได้เล่นในเวียนนา ปารีส หรือลอนดอนละก้อ
จะกลายเป็นตำนานเดินดินได้ในพริบตา ค่าตัวพุ่งพรวด เงินทองไหลมา และอาจจะมีคนยอมซื้อโน๊ตเพลงของคุณ
รายได้หลักของนักดนตรียุคโน้น ก็มาจากหลายๆ อย่างนี้เท่านั้นแหละครับ
ไอ้จะไปถ่ายแบบลงปกแล้วได้เงินมา ...อย่าหวัง มีแต่ถ่ายรูปแล้วแจกชาวบ้านตะหาก
รายได้จากโน๊ตดนตรีนี่ จะเป็นกอบเป็นกำที่สุด เพราะซื้อขายกันแพงๆ ยิ่งเป็นซิมโฟนี่หรือเพลงร้องละก้อ
หิตๆ ขึ้นมา ก็นอนตีพุง เหมือนมีเงินงอกจากหม้อข้าวที่บ้านทีเดียว

ยังครับ บราห์มสหนุ่มยังไปไม่ถึงขั้นนั้น
เขาแค่ออกจากกะละมังใบเล็ก กระโดดลงสระจ้อย เพื่อวัดศักยภาพตนเอง ว่าจะออกสู่มหาสมุทรแล้วรอดตายใหม
----------------------
แทรกประวัติย่อยๆ อีกนิดว่า เมื่ออายุสิบสามสิบสี่ ตอนเรียนกับมาร์กเซ่น มีคนมาเห็นแวว
จะขอซื้อเด็กอัจฉริยะคนนี้ ไปออกงานวัดที่เมกา (แบบอิน/จันไงครับ)
แต่คุณครูมาร์กเซ่นห้ามไว้ เพราะเห็นว่าลูกศิษย์กรู มีดีกว่าไปนั่งเคาะคีย์บอร์ดให้พวกป่าเถื่อนปลื้มมม์
บราห์มสก็เลยอดรวยแต่เด็ก ต้องมารอรวยตอนหนุ่มแทน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 219

moobin

09/10/2010 11:29:25
34
---------------------
งานเปียนโนของบราห์มสนั้น ถ้าไม่รักกันจริง ขอแนะนำให้ผ่าน
ไม่ใช่ว่าไม่ดี ดีมากๆๆๆๆ เชียวแหละ
แต่

หาคนเล่นดีๆ ชนิดชอบแบบหมดเนื้อหมดตัว หาไม่ได้ครับ
บราห์มสเป็นนักเปียนโนโดยเฉพาะ ดังนั้น งานประเภทนี้ จึงเป็นที่สุดของเขา
แต่งานของเขานั้น เรื่องมาก
นักเปียนโนสมัครเล่นคนหนึ่ง บ่นกับผมว่า เล่นแล้วปวดหลัง........ ฮา

แต่มันจริงนะครับท่าน
ดนตรีคีย์บอร์ดของบราห์มส ต้องเล่นด้วยกระดูกสันหลัง
ขอเชิญชมคลิบนี้ไปพลางก่อน
เป็นการฆาตกรรมโหด ผลงานที่เป็นเหมือนอัญมณี ที่เจียระนัยด้วยกาลเวลาจนสุกสกาว
ไอ้เด็กอัจฉริยะคิดสั้น Evgeny Kissin นึกยังงัยไม่ทราบ เล่นเป็นดนตรีละครสัตว์ไปซะงั้น
http://www.youtube.com/watch?v=50acKsclDrg

--------------------

คลิปนี้ให้สังเกตการวางมือของ Kissin นะครับ ผมว่ามันดูแปลกแปลกยังไงชอบกล - moobin
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 220

moobin

09/10/2010 11:30:10
ฟังเปรียบเทียบกับจอมถล่มตัว วิลเฮล์ม เค๊มฟ์ Wilhelm Kempff หนึ่งในคนที่เก่งที่สุดของเยอรมัน

http://www.youtube.com/watch?v=v7XSEcIVGrg

-------------

ส่วนคลิปนี้ เฆอซองจะมาบอกว่า ไอ้หนู นิ้วมือน่ะ เขามีไว้ทำอย่างนี้
http://www.youtube.com/watch?v=yOU8PDOOz4M
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 221

Tidal

09/10/2010 11:41:36
0
เอ่อม อยากทราบว่าเซียนๆหลายท่านฟังเพลงด้วยอัตราเท่าไหร่ครับ? ทำไมถึงรู้จักเพลงได้มากมายขนาดนี้ ผมฟังมาประมาณปีสองปี (คือฟังตลอดนะครับ ไม่ค่อยได้ฟังเพลงแนวอื่นแล้ว) กลับรู้จักเพลงเพียงหยิบมือ ส่วนใหญ่เป็นพวก basic อย่าง
-Symphonies ของ Beethoven (แต่ให้ตายเถอะยังฟังไม่ครบทุกเบอร์)
-Piano Concerto ของ Brahms #1 #2
-Piano Concerto ของ Rachmaninov #2 #3
-Piano Concerto ของ Tchaikovsky #1
-Piano Concerto ของ Mozart อัน basic
-Piano Concerto ของ Prokofiev #3
-Sonata บางเบอร์ของ Beethoven
-มีปลีกย่อยบ้างแต่หลักๆฟังเท่านี้

และผมไม่เคยฟังโดยโหลดจากหลายคอนดักเตอร์เลย ผมกำลังสงสัยว่าท่านหาเวลามาฟังได้มากมายขนาดนั้นได้ยังไง ผมว่าก็ฟังจนเจ็บหูแล้วนะ อิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 222

Collagen

09/10/2010 12:00:42
4
สวัสดีครับ คุณ Tidal...

ผมก็ไม่ค่อยได้ฟังมากเท่าไรครับ.... ส่วนมากผมฟังของทางด้าน รัสเซียเสียมากกว่าครับ โดยเฉพาะของ Rimsky-Korsakov, Stravinsky, Tchaikovsky มากกว่าครับ ไม่ค่อยได้ฟังของ Mozart หรือว่า Beethoven สักเท่าไร....

ส่วนมากผมก็ฟังแค่ว่า แต่ละเพลงเป็นอย่างไรครับ ยังไม่เคยลองจากหลายๆ Conductor เช่นกันครับ.... (ประมาณว่าเอาทางด้านทฤษฎีมากกว่าครับ)

ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกๆ ท่านมากครับ ที่ช่วยแชร์ประสบการณ์และความรู้ในด้านนี้ครับ.... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 223

สมัครเล่น

09/10/2010 12:22:22
412
ฟังตั้งแต่รุ่น ๆ นั่นล่ะครับ
ปัจจุบันก็แก่จะเป็นอากงแล้วครับ
พยายามหาเวลาฟังมันทุกคืนนั่นล่ะครับ
บางทีก็โดนบ่น ว่าฟังอะไรได้นักหนา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 224

moobin

09/10/2010 12:28:20
งานอดิเรกทุกอย่างใข้เวลาทั้งนั้นแหละครับ
จะเล่นกีฬา ตีกอล์ฟ model ดูหนัง สะสมเครื่องถ้วย ฯลฯ
ฟังเพลงมีข้อได้เปรียบอยู่บ้างเช่นไม่ต้องเตรียมการนาน ไม่เลือกสถานที่มาก(ในกรณีที่ใช้หูฟัง)

และผมเชื่อว่าไม่มีใครทั้งคอนดักเตอร์ นักดนตรี และคนฟัง
จะฟังเพลงของนักแต่งเพลงทุกคนหรอกครับ
ก็เหมือนภาพเขียน
เราจะชอบบางคน และไม่ชอบบางคน อาจถึงทนดูทนฟังไม่ได้เลยก็มี

เพลงคลาสสิคแต่งใหม่มีน้อยมาก
เมื่อเราผ่านเวลาการเรียนรู้ การฟัง การติดตาม การลุ่มหลงมาสักระยะเวลาหนึ่ง
ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องหลายปีอยู่
ก็มีเพลงโปรดอยู่จำนวนหนึ่ง เพลงที่กลับมาทบทวนหาอะไรใหม่ใหม่อีกจำนวนหนึ่ง
ตอนนี้แหละครับที่กิเลสจะทำให้คุณต้องซอกแซก ค้นหาเพิ่มเติมเอาเอง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 225

moobin

09/10/2010 12:39:30
อย่างผม ทน wagner แทบไม่ได้เลย
เพลงดังดังของแกก็มีเก็บมา ฟังผ่านๆ หรือนานนานครั้งไว้ฟังเปลี่ยนอารมณ์

Mahler ก็เพิ่งจะขยายความรับรู้ว่ามีเพลงเพราะ (สำหรับผม)เหมือนกัน
ก็ตอนพรรคพวกซื้อเอามาฝากเมื่อไม่กี่ปีมารี้เอง

Bartok Ravel Strawinsky ฯลฯ คงจะได้สตางค์หรือเวลาจากผมได้ยาก

แล้วยังจะพวกฟังก็ได้ ไม่ฟังก็ได้
อย่าง Mozart Handel Rachmaninov ฯลฯ
( แน่นอนว่าไม่ใช่งานชิ้นเอกหรือที่ชอบเป็นพิเศษ )

เท่านี้ก็เหลือน้อยลงเยอะแล้วครับ
สุดท้าย ผมก็ไม่ต่างกับคุณ Tidal หรือ คุณ Collagen เท่าไหร่หรอกครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 226

KraThon

09/10/2010 13:02:50
0
ปักหมุดเถอะ กระทู้นี้อ่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 227

สมัครเล่น

09/10/2010 17:54:25
412
คุณหมูบอกมาก็เป็นแบบนั้นจริง ๆ ครับ
เมื่อก่อนตอนเริ่มฟังแรก ๆ จะชอบโรมแมนติคมาก
แบบว่า ทำนองมันติดหูง่ายกว่าเยอะ
ประมาณ Tchaikovsky/Violin Concerto แบบนั้น
แล้วก็เร่ไปเร่มา อยู่แถว ๆ นั้นล่ะครับ
ประมาณเพลงเทคนิคหวือหวา
หรือเมโลดี้เพราะ ๆ

ปัจจุบัน ชุดโปรดของผมเลยก็คือ
Brandenburg Concerto ชอบทุกเบอร์ครับ
ฟังมันอยู่นั่นล่ะครับ มีวงไหนเล่นให้ฟัง
หาฟังมันไปเรื่อย
ตอนนี้ชอบ I Musici
หลังจากนี้ไม่รู้เหมือนกัน
เพราะอย่างที่บอก รสนิยมมันเปลี่ยนไปตามเวลา

ผมมีแนวอยู่อย่างหนึ่งคือ
ถ้าเพลงไหน พยายามฟังแล้วสักพัก
แล้วมันรู้สึกว่า ไม่เพราะสำหรับเราเลย
ก็ไม่พยายามฟังต่อแล้วครับ
จะทิ้งช่วงไปยาว ๆ ๆๆๆ สักพัก
แล้วมาลองฟังใหม่ทีหลัง
บางเพลง อาจจะต้องการวุฒิภาวะอะไรบางอย่างเพิ่มด้วยมั้งครับ

อย่างซีเรียสครับ
ฟังเพลงเพื่อสุนทรีย์
ฟังแล้วเราต้องชอบ แล้วมีความสุขครับ ดีที่สุดแล้ว
จะเห็นหรือรู้สึกต่างก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 228

Tidal

09/10/2010 18:08:37
0
โอ้ เข้าใจแล้วครับ ต้องใช้เวลาจริงๆ
Brandenburg Concerto ผมชอบมากๆเลยครับ ทุกเบอร์เหมือนกัน ไม่ทราบว่ามีแผ่นไหนแนะนำไหมครับ?
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 229

สมัครเล่น

09/10/2010 19:53:42
412



ตอนนี้ชอบของ I Musici แผ่น ตรา philips ครับ
เดี๋ยวหาหน้าแผ่นให้ดู
เมล์มาหาผมก็ได้ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 230

bankung

10/10/2010 17:59:13



มีแผ่นไวโอลินมาแนะนำครับ เป็นแผ่นที่ James Ehnes เล่นเปรียบเทียบไวโอลินชั้นยอดสิบกว่าตัวของ collector ชื่อดัง David Fulton ครับ ใช้เป็นแผ่นเทสเครื่องได้เลยเชียวแหละท่านทั้งหลาย ว่า system ของเราๆสามารถแยกเสียงไวโอลินคนละตัวออกจากกันได้หรือเปล่า



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 231

มนัส

10/10/2010 21:29:39



Organ pipe ก็ฟังเพราะไปอีกแบบนะครับแผ่นนี้ผมว่าฟังง่ายดี งานอมตะ

http://www.youtube.com/watch?v=2scurIsSM3A
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 232

moobin

12/10/2010 17:38:56
35
----------------
Dmitriyevich (Dmitry) Shostakovich 1906-1975

วันนี้จะลองเล่าถึง  Shostakovich อัจฉริยะศิลปินแห่งรัสเซีย ผู้ซึ่ง
(ในความเห็นของผมคนเดียวนะครับ) เมื่อยามมีชีวิตอยู่ ไม่มีใครในโลกสู้ได้

เพลงของชาตินี้ มีจุดเด่นหลายอย่าง ที่เอื้อให้เครื่องเสียงมีระดับเปล่งประกายแสดงประสิทธิภาพได้อย่างเหลือล้น
ประการแรกคือ เป็นเพลงประเภทที่ ชอบเล่นกับไดนามิคคอนทราสเสียเป็นที่สุด
กำลังเงียบๆ เบาลง เบาลง... จู่ๆ ก็ระเบิดลงโครมใหญ่
แบบนี้พวกแอมป์ที่ไม่เผื่อกำลังสำรองไว้ หรือเผื่อไว้แต่นำออกมาใช้ไม่ทัน
เจ๊งสิครับ ผลิตสัญญานเพี้ยนๆ ออกไปสู่ลำโพง
พังไม่พังก็คิดกันเอาเองนะครับท่าน

ประการต่อมา เพลงของพวกเขา มักมีเมโลดีหวานพริ้วสุดบรรยาย สวยงามตรึงใจ
อันนี้แอมป์ราวๆ เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ในตลาดคงไม่ถูกโฉลก เพราะถนัดไปทางจังหวะ
พวกเล่นลีลานี่เป็นทางของเครื่องหลอดเขา แอมป์ทรานซิสเตอร์ที่ทำเสียงหวานได้ ต่ำกว่าแสนยังไม่เจอ
ไอ้คำว่าหวานนี่ อันที่จริงต้องใช้ให้จำเพาะเจาะจงไปเลยนะครับ
ว่าเป็นเสียงสมจริงตามธรรมชาติ คือไม่ระคายหู เปิดดังแค่ใหนก็ไพเราะแค่นั้น
เหมือนฟังไวโอลิน
คนเล่นอยู่ไกล ก็ดีแบบหนึ่ง อยู่ใกล้แค่ใหน ก็ดีแตกต่างกัน
สีดังยังไงแก้วหูก็ไม่แตก
(เพราะหูคนสี อยู่ใกล้ต้นกำเนิดเสียงมากกว่าเรา หูเขาแตกก่อนแน่นอน...ฮิฮิ)
ความงดงามแบบนี้ พี่รัสเซียกินขาดชาติใหนหมด

และข้อสุดท้าย เพลงของพวกเขา ไม่ได้ต้องการคนเล่นที่ต่ำกว่ายอดฝีมือ
คือถ้ามือไม่ถึง อย่ามาเล่นเด็ดขาด 
 
เอาเป็นว่า ถ้าต้องเล่นเปียนโนเพลงสกุลรัสเซียละก้อ
คุณต้องสามารถสร้างเสียงที่ใหญ่โตโอ่อ่าดังคับห้อง
ต้องสามารถสร้างเสียงที่เบา จนได้ยินเสียงในหู
ต้องสะอาดจนแทบจะเห็นขี้เล็บที่ปลายนิ้ว
เล่นเร็วทำลายสถิติโลก และช้าจนถึงระดับเข้าสมาธิ
ทั้งหมดที่บรรยายมา มีครบในผลงานของโชสตาโกวิช
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 233

moobin

12/10/2010 17:39:42
36
-------------------
โชสตาโกวิช หรือที่เรียกอย่างลำลองว่ามิตย่า เป็นศิลปินที่น่าสงสารที่สุด
ไม่ใช่ว่าเขายากจนค่นแค้น ง่อยเปลี้ยเสียขา สมองทึบปัญญาอ่อน หรืออกหักวายวอดไม่เป็นผู้เป็นคน
หามิได้.........

เขาเป็นคนธรรมดาที่สุด ที่คนเราจะเป็นกันได้
รักงาน มุ่งมั่น มักน้อย ขี้อาย เก็บตัว....
ความทะยานอยากอย่างเดียวก็คือ ทำงานรับใช้ประเทศที่สร้างเขาขึ้นมา
ผลิตงานออกมา เหมือนกรรมกรทำงานในโรงงาน
กรรมกรตีผาล ชาวนาไถคราด
มิตย่าก็นั่งลงเขียนอักษรเป็นโน๊ตดนตรี
ถ่ายทอดความเชื่อมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมออกมา
เขาทำได้ดีจนเกิดศัตรู

โชสตาโกวิชน่าจะเป็นเหยื่อตัวใหญ่ที่สุดที่พวกทุนนิยมพยายามจับมาขึงพืดชำแหละ
เพื่อทำลายล้างศักดิ์ศรีแห่งอัจฉริยภาพที่เหนือกว่า ให้บิดเบี้ยว ผิดเพี้ยน และกลับตาละปัตร
จากยอดศิลปิน กลายเป็นเป็นจอมลวงโลก คนหักหลัง คนยอมจำนน ไอ้หน้าตัวเมีย เป็นศิลปินตามใบสั่ง...หน้าไหว้หลังหลอก...ฯลฯ
สาระพัดที่จะงัดออกมาสาดโคลน
เพื่อมิยอมให้ศิลปินจากหลังม่านเหล็ก
ขึ้นสู่สถานะภาพยอดฝีมืออันดับหนึ่งในเพลงคลาสสิคของโลก ในรอบร้อยปี

นักวิจารณ์อีกพวก ก็ฝันเฟื่องไปอีกทฤษฎี
บอกว่า...จุ๊ๆ ...รู้อะไรใหม มิตย่าน่ะ มันเกลียดคอมมิวนิสต์
มันไม่จงรักภักดีหรอก
มันเกลียดสตาลิน ที่ทำๆออกมาน่ะ มีโน๊ตลับซ่อนอยู่ ด่าสตาลินซะเละเล็ยย์...เออ เอากะเขาสิ

ยังดีไม่สร้างเรื่องว่าที่จริงเป็นพวกสายลับสองหน้าไปนู่น....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 234

moobin

12/10/2010 17:40:37
37
-----------------------
โชสตาโกวิช มีชื่อเสียงระบือลือเลื่องมาตั้งแต่อายุย่างยี่สิบ จบการศึกษาเมื่อ 1925
ด้วยการเขียนซิมโฟนี่หมายเลข 1 ซึ่งกลายมาเป็นความพากภูมิใจของระบอบรัสเซีย
มีโครงสร้างที่แข็งแกร่ง มีการนำเสนอที่ดุดัน และกระตุ้นการรับรู้
เขาเดินแนวนี้มาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต อีกเกือบห้าสิบปีต่อมา
ทำงานต่อเนื่อง ด้วยคุณภาพคับแก้วทุกชิ้น ทางตะวันตกนี่ ทั้งรักทั้งเกลียดอย่างบอกไม่ถูก
คืองานของแกนี่เป็นสุดยอดของยุคสมัย หาคนเทียบไม่ได้จริงๆ แต่ดันมาเป็นคอมมิวนิสต์
และซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อระบบ จะชักชวน เอาอะไรต่อมิอะไรเข้าล่อ เพื่อให้แปรพักตร์ ก็ไม่เขว
รัฐบาลเคยส่งแกออกไปเป็นทูตวัฒนธรรมหลายหน
ทุกหน เป็นต้องถูกชวนให้ลี้ภัยการเมือง ก็ไม่เคยสำเร็จ
 
คุณเอ๋ย ถ้าแกแปรพักตร์ละก้อ ร้อยล้าน(เงินนะครับ ไม่ใช่หนี้) รับรองว่าไม่ครนา แกอาจจะเป็นเพียงสองสิ่ง
ที่อะเมริกันเกลียดอย่างยอมรับนับถือในยุคนั้น
อีกอย่างก็คือดาวเทียมสปุตนิคกระมัง
 
สมมตินะครับ ว่าในปี 1960 แกมาอยู่นิวหยอก อย่างแรกเลย พวกเจ๋งๆ ทั้งหลาย คงตกงานกันเป็นแถว
ไม่งั้นก็ต้องไปสมัครงานเป็นลูกน้องแกในสถาบันดนตรีที่จะมีคนตั้งให้เป็นเกียรติ มีวงมโหฬารตั้งให้อีกวงนึง
และมีสัญญาอัดแผ่นเสียงไปจนถึงอายุร้อยยี่สิบขวบ
มีบ้านใหญ่กว่าวังอยู่เบเวอรรีฮิล ฮอลีวูดจะแย่งกันเอาหนังมาให้แกแต่งเพลงประกอบ บรอดเวย์อาจจะยอมปิดเป็นเดือนเพื่อรอบทประพันธ์ใหม่
แต่.....แกอาจจะไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นป็นอันเลยก็ได้   
เพราะต้องออกทีวีทุกคืนจนสติแตก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 235

AstroMotion

12/10/2010 17:46:20
0
โอ้โฮ TToTT คำนับพี่ moobin เลยครับ ข้อมูลเยอะมากๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 236

moobin

12/10/2010 17:47:22
38
---------------------------
 
มิตย่าโตมาพร้อมกับระบอบคอมมิวนิสต์
ปีที่เลนินปฏิวัติ 1917 เขาอายุสิบขวบ อาจจะยังเด็กอยู่ แต่อีกเจ็ดปีต่อมา เมื่อเลนินตาย 1924 
เขาก็พร้อมจะทำงานใหญ่แล้ว เป็นงานเพื่อขอรับปริญญาทางดนตรี ของหนุ่มน้อยจอมขยัน
คิดดูว่า ยังเรียนไม่จบ ก็สร้างงานแล้ว 9 ชิ้น ซิมโฟนี่ขอจบจาก Moscow Conservatory ของเขาเป็นโอปุสที่ 10
มันดังมากๆ เพราะมันดีเกินกว่ามาตรฐานผลงานของเด็กนักเรียนที่เพิ่งจบ
ทางตะวันตกแย่งกันขอเปิดซิงผลงานชิ้นนี้กันทุกวง
สุดท้ายจอมคอนดัคเตอร์เบอร์หนึ่งในขณะนั้น
อาตูโร่ ทอสกานีนี่ และวงเอ็นบีซี ก็ได้รับเกียรติไป

แล้วนับตั้งแต่ Stokowski / Philadelphia Orchestra อัดแผ่นครั้งแรก 1933 จนถึงปัจจุบัน
มีคนอัดเสียงเพลงนี้ไปแล้วมากกว่า 50 ครั้ง เป็นงานเด็กที่ขึ้นหิ้งเร็วมากๆ
แต่นี่ยังไม่ใช่งานชิ้นสุดยอด มันแค่ ”ฉายแวว” เท่านั้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 237

moobin

12/10/2010 17:53:29
39
--------------------------

มิตย่าศรัทธาในอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เขาพยายามศึกษาด้านทฤษฏี เพื่อสอบเข้าเป็นสมาชิกพรรค แต่สอบไม่เคยผ่าน
เขาอาจจะไม่เก่งทฤษฎี แต่งานปฏิบัติ คือการประพันธ์ดนตรี ก็พาเขามาสู่การปฏิวัติได้เหมือนกัน
และพรรคฯ ก็ต้องเชิญเขาเป็นสมาชิกในท้ายที่สุด รวมทั้งรางวัลประชาชนอันทรงเกียรติ หลายครั้ง

แต่.....ไม่มีคำหวานในระบอบคอมมิวนิสต์
เมื่อไหร่ที่ฝ่ายนำ เห็นว่า ผลิตผลของใครก็ตาม จะสร้างความไขว้เขวให้กับอุดมการณ์
มันจะถูก"อัด"อย่างเป็นทางการ ผ่านสื่อนานาประการ แต่ที่เสียงดังที่สุด ก็ทางปร๊าฟด้า
กระบอกเสียงหลักของพรรค
มิตย่าก็โดนเหมือนกัน ไม่ได้แตกต่างไปจากคนอื่น

ตรงนี้ต้องเข้าใจระบบโซเวียตด้วยนะครับ
เขาเน้นการอุทิศตนให้กับสังคม ดังนั้น คุณจะเอาเรื่องส่วนตัว เช่นความกลัว.... ความฝัน
หรือความลุมหลงอันหนึ่งอันใด มายัดใส่การรับรู้ของคนอื่น เพื่อสร้างความรู้สึกทางลบ ไม่ได้
ถ้าต้องทำ ก็ต้องเพราะเพื่อให้คนอื่นอุทิศตนแก่ส่วนรวมเท่านั้น
และ...เขาไม่มีการเผื่อ...เผื่อว่ามันจะดี อันนี้ปล่อยไปก่อน ค่อยๆขัดเกลากันไป
เขาตัดไฟต้นลมครับ
อะไรที่น่าสงสัย ให้ถอนทิ้ง ก่อนที่มันจะกลายเป็นรากหญ้าลามเกาะกุมอุดมการณ์จนเสียหาย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 238

moobin

12/10/2010 17:53:59
40
------------------------

ศิลปะของสังคมนิยม จึงเดินทางเดียว
คือพาคนทั้งปวง ร่วมสร้างโลกแห่งคอมมิวนิสต์ให้จงได้
หนึ่งในกระบวนการที่ใช้เพื่อล้างสมองสมาชิก ก็คือการวิจารณ์ตนเอง ผ่านกรอบทางทฤษฎี
คล้ายๆกับที่จิตแพทย์เอาคนไข้มาล้อมวงระบายความในใจ
แต่โซเวียตและประเทศบริวารนั้น ทำหนักกว่ามาก
ใครไม่เคยทำ จะไม่รู้หรอกว่า ทุกคืนที่ประชุมกัน แล้วเราต้องเอาความหลงผิดของเรามาประจานกลางกลุ่ม
มันโหดร้ายน่าหวาดหวั่นเพียงใด
(อันนี้เล่าตามที่ "สหายยุวชน" ถ่ายทอดมาอีกที)
แต่มันก็เป็นวิธีเดียว ที่ทำให้สมาชิกแห่งสังคม สละได้แม้ชีวิตเพื่อคนอื่น

ถ้าแม้นว่า รัสเซียมิใช่คอมมิวนิสต์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วไซร้
รับรองว่า ฮิตเลอร์กวาดเรียบยันไซบีเรียไปจนเจอญี่ปุ่นแน่นอน
แต่ที่เลนินกราดเมืองเดียว ชาวเมืองต่อต้านอยู่ได้ถึงหกร้อยกว่าวัน
ประชากรลดลงเหลือไม่ถึงครึ่ง
ลองนึกว่าเมืองใหญ่อย่างสุพรรณบุรี หรือลพบุรี มีคนตายไปครึ่งเมืองสิครับ โหดแค่ใหน....
นั่นแหละ บรรยากาศที่มิตย่าเผชิญ แต่ไม่มีโอกาสจับปืนขึ้นสู้
เพราะระบบโซเวียต จะปกป้องปัญญาชนก่อนชนชั้นอื่น

เขาจึงตอบแทนรัฐะได้ ก็ด้วยงานจากสมองของตน เท่านั้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 239

moobin

13/10/2010 22:52:42
41
-----------------------

เขาทำอะไรบ้าง ในทางดนตรี
ผลงาน 147 โอปุส ประกอบด้วยงานเอกอุดังนี้
ซิมโฟนี่ 15 เบอร์ แต่ละเบอร์เป็นยักษ์ใหญ่ทั้งนั้น
สตริงควอร์เตท 15 ชิ้น เป็นสุดยอดของดนตรีแนวนี้เหมือนกัน
เขาเขียนคอนแชร์โต ไว้ไม่มาก เพียง 5 ชิ้น แต่ก็เป็นเป้าหมายของนักเดี่ยวเครื่องดนตรีทุกคน
ดนตรีประกอบหนัง
โอเปร่า
แชมเบอร์
และ....เดี่ยวเปียนโนอีก
ไม่มีอะไร ที่เขาไม่โดดเข้าไปร่วมสร้างสรรค์ และทุกชิ้นล้วนแต่เป็นความสำเร็จ
 
งานทั้งหมด ถูกตั้งคำถามว่า
สร้างออกมาจากความรักภักดี หรือความเกลียดชัง ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์กันแน่
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 240

moobin

13/10/2010 22:53:18
42
------------------------------

พวกนักวิจารณ์แถวนิวยอร์คและลอนดอน หาทางอธิบายมานานนมกาเลว่า เป็นอย่างหลัง
แต่เพิ่งจะหลังความตายของโชสตาโกวิช ที่ความฝันของนักวิจารณ์ทุนนิยมกลายเป็นจริง
มีคนนำต้นฉบับคำสารภาพของมิตย่าออกเผยแพร่ เมื่อปี 1982
ด้วยความกล้าหาญของนักวิชาการแปรพักคนหนึ่ง
โฟก๊อฟ Solomon Volkov
ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ช่วยคนสนิทของโชสตาโกวิชอยู่หลายปี เป็นผู้ได้รับบันทึกความในใจอันลี้ลับของศิลปิน ในยามแก่เฒ่าไว้
เขามีหลักฐานชั้นเยี่ยมรองรับเอกสารนี้ นั่นคือ
มีลายมือของโชสตาโกวิชอยู่บนทุกหน้ากระดาษ
และรูปถ่ายอีกหลายชิ้น ที่เขาถ่ายคู่กับศิลปิน
 
บันทึก หรือที่รู้จักกันต่อมาว่า “คำให้การ" (Testimony) นี้ เป็นเหมือนของขวัญจากเบื้องบน
มันมีทุกอย่างที่พวกนักวิจารณ์อยากได้ ไม่ว่าจะเรื่องที่พรรคกดดันศิลปินอย่างไร ศิลปินเกลียดระบบ

อย่างไร ต้องหักหลังเหยียบย่ำกันอย่างไร .......
มีรหัสลับด่าสตาลินและด่าระบอบอยู่ตรงใหนของซิมโฟนี่บ้าง คำให้การนี้มีหมด
เรียกว่า อะไรที่นักวิจารณ์อยากให้เป็น....ทุกอย่างที่ตะวันตกอยากให้เกิด
คำให้การเล่มนี้เฉลยไว้ ถูกเผงยิ่งกว่าเปิดถ้วยแทงไฮโลครับท่าน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 241

moobin

13/10/2010 22:53:48
43
----------------------

ผลที่เกิดต่อเนื่องหรือครับ
โฟก๊อฟก็รวยเละซีครับ ได้ทั้งเงินได้ทั้งชื่อ กลายเป็นผู้รู้เรื่องศิลปิน(แอบ)ขบถใต้ระบอบโซเวียต
เขียนหนังสือต่อมาอีกหลายเล่ม มีสำนักพิมพ์ชั้นหนึ่งรับพิมพ์ แปลว่าประกันรายได้แน่ๆ เป็นอาจารย์
มหาวิทยาลัย นี่ก็ประกันรายได้อีกเหมือนกัน ตระเวณบรรยายไปทั่ว เงินสิครับ แล้วยังเข้าไปมีเอี่ยว
กับการประชุมอะไรก็ตามเกี่ยวกับศิลปะภายใต้ระบบเผด็จการ....
กลายเป็นสถาบันเลยครับ

ไม่นาน ก็มีคนตั้งข้อสงสัย ผลประโยชน์ขนาดนี้ ทำไมมิตย่าไม่ยกให้ลูก แมกซิม โชสตาโกวิช
จะบอกว่ากลัวลูกเดือดร้อน ก็ไม่สมเหตุผล เมื่อไหร่ที่ความจริงเผยออกมาว่าเขาเกลียดคอมมิวนิสต์
ครอบครัวเป็นต้องเดือดร้อนแหงแน่นอน
ถ้างั้นจะหาเรื่องเดือดร้อน เอาระเบิดเวลาฆ่าลูกเมียไปฝากคนอื่นเก็บได้ยังไง
ควรให้ลูกเมียนั่นแหละเก็บ วันดีคืนเหมาะ ค่อยงัดออกมาหาประโยชน์

ความไม่สมเหตุสมผล ทำให้เกิดความเห็นแยกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายที่เดือดร้อนก็คือครอบครัวศิลปิน
อยู่ดีๆ ไอ้เบื๊อกที่ใหนก็ไม่รู้ เอาชื่อเสียงเกียรติคุณของมิตยาไปทำมาหารับประทาน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 242

moobin

14/10/2010 19:55:10
44
---------------------------

ที่บอกว่าไอ้เบื๊อกที่ใหนไม่รู้ ก็เพราะ บันดาแวดวงรอบตัวศิลปิน
ไม่มีใครรู้จักพ่อโฟกอฟคนนี้เลย
เมียมิตย่า อิรีน่า จำได้ว่าหมอนี่ เป็นนักข่าว เคยมาสัมภาษณ์สามี สอง-สามครั้ง ซึ่งเธออยู่ด้วยตลอด
เธอต้องอยู่กับสามี เพราะก่อนตายสองสามปี เขาอ่อนแอมาก
ต้องได้รับการดูแลไกล้ชิด
เธอจึงไม่ยอมรับว่า สามีไปแอบทำบันทึกเล่มหนาออกมาได้อย่างไร โดยเธอไม่รู้เรื่อง
นั่นคือจุดอ่อนข้อแรกของโฟลอฟ

เขาคงไม่รู้ข้อมูลนี้ มันก็เลยปรากฏออกมาว่า มิตย่าลงชื่อบนกระดาษต้นฉบับทุกแผ่น
คนแก่เจ็ดสิบกว่าที่แสนจะอ่อนแอ เอาเวลาและพลังที่ใหนมาลงชื่อตัวโตเท่าหม้อแกง บนกระดาษทุกหน้า
ขนาดคนหนุ่มๆ อย่างคุณอย่างผม ให้ลงชื่อแค่ยี่สิบแผ่น ก็หมดแรงแล้วครับ
แล้วไอ้เบื๊อกนี่ก็คงไม่รู้ด้วยว่า บั้นปลายชีวิต มิตย่าใช้แขนขวาไม่ได้ เส้นเลือดไม่เดินไปเลี้ยง
เขาต้องหัดใช้แขนซ้ายเพื่อจะแต่งเพลงต่อ
 
ก็เลยมีข้อเรียกร้องให้โฟกอฟนำต้นฉบับมาพิสูจน์
พ่อนี่ก็เขี้ยวเลี่ยมทอง ไม่ให้ ยังไงก็ไม่ให้ บอกว่าของสำคัญ กลัวเสียหาย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 243

moobin

14/10/2010 19:55:39
45
---------------------------

ยังมีข้อพิรุธอื่นๆ อีกหลายสิบประเด็น
พอที่คนจำนวนมากจะลงความเห็นในปัจจุบันว่า บันทึกนี้ เป็น “ของปลอม”
แต่ก็ยังมีการอ้างข้อความในหนังสือสารเลวเล่มนี้ไม่หยุดหย่อน
นักเขียนชาวไทยหลายคนก็เอากะเขาด้วย ในหนังสือเครื่องเสียงเก่าแก่เล่มหนึ่งเคยเล่าเป็นตุเป็นตะไว้
อาจงอาจารย์หลายท่าน ก็เออออไปกับทฤษฏีลวงโลกนี้ด้วย

จนเมื่อไม่นานมานี้ คุณนายโชสตาโกวิช ต้องเขียนจดหมายเปิดผนึกผ่านนิวยอร์คไทม์
ขอร้องให้หยุดการย่ำยีเกียรติภูมิของผู้ตายด้วยพฤติกรรมต่ำทรามเช่นนี้
โฟกอฟตอบกลับอย่างสุดแสบ บอกว่า....
ที่คุณยายท้วงมาน่ะ เป็นข้อความเดียวกับที่ทางการโซเวียตเคยใช้มาก่อนเลยแหล่ะ
แล้วแกก็หยอดท้าย เอาใจพวกประชาธิปไตยนิยมว่า...จึงเห็นได้ว่า เสรีภาพในการแสดงความเห็นของที่นั่น
ไม่ได้กระเตื้องขึ้นเลยแม้สักน้อยนิด......

ผมเป็นคนไม่มีหลักการ และไม่มีความยุติธรรม ผมก็เลยขอบอกเสียตรงนี้ว่า
ผมเชื่อว่าไอ้เจ้าโฟกอฟนี่ ลวงโลก หากินกับความเท็จ
ผมไม่เชื่อว่าคนที่รักครอบครัวอย่างมิตย่า จะทิ้งระเบิดเวลาไว้เพื่อทำลายลูกเมีย
อย่าลืมว่า ปีที่อ้างว่ามิตย่าเขียนบันทึกน่ะ โซเวียตยังไม่ล่มสลายนะครับ

คนบ้าเท่านั้น จะทำอย่างที่โฟกอฟอ้าง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 244

moobin

14/10/2010 19:56:09
46
--------------------------

แต่คุณครับ ความจริงหรือจะสู้ความแหล ความจริงน่ะขายไม่ได้ แต่เรื่องฉาวโฉ่นี่
พ่อค้าตอมยิ่งกว่าแมลงวันตอมอิ๊
ในปีครบศตวรรษของมิตย่า สันดานดิบของพ่อค้าก็กำเริบ มีการตีพิมพ์อะไรต่อมิอะไรออกมามากมาย
แต่ที่น่าอนาถใจที่สุดก็คือดีวีดีชุดหนึ่ง ลงทุนหนัก
คุณเอ๋ย...มันเอาหนังสือของโฟกอฟเป็นตัวตั้งครับ แล้วเสนอภาพเคลื่อนไหวไปในทิศทางนั้น
มีคนไทยได้ดู แล้วมาเล่าให้ฟังทางหนังสือพิมพ์...ลองฟังคุณดุสิต จรูญพงษ์ศักดิ์ เขียนถึงมิตย่าดู
นี่เป็นข้อความของเขา

"โชสตาโกวิช ยังสะท้อนความจัดเจน, ประสบการณ์ชีวิต, ความรู้สึก ต่อต้าน หรือ ขบถ ที่ดำรงอยู่ในช่วงทำงานดนตรี
และช่วงแห่งการเรืองอำนาจของ สตาลิน ผู้นำรัสเซียหลังเลนิน
และเป็นการสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนรัสเซียส่วนใหญ่ในยุคนั้น
ผ่านผลงานสังคีตศิลป์ บันทึกเสี้ยวประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งได้เป็นอย่างดีด้วย"
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 245

moobin

14/10/2010 19:56:33
47
-------------------

ฟังหางเสียงแล้ว แกก็ยังเชื่อถือโฟก๊อฟนะครับ จะรู้ตัวหรือเปล่าก็ไม่รู้.....
แล้วก็ใช้ข้อสรุปของดีวีดีเรื่อง Shostakovich Against Stalin The War Symphonies
เหมือนดั่งเป็นข้อยึดถือส่วนตัว
"แต่ ดมิทรี โชสตาโกวิช กลับเป็นนักแต่งเพลงรัสเซียที่ยืนหยัดสร้างผลงานท้าทายเผด็จการสตาลินมาได้โดยตลอด
พร้อมกับแฝงความรู้สึกเก็บกดอยู่ภายในที่ไม่สามารถระบายออกมาได้ด้วยคำพูด
เพราะกระแสคุกคาม ปิดกั้นเสรีภาพทางการเมืองในยุคสตาลินครองเมืองนั้นเข้มงวดและรุนแรงมาก
การถูกบีบบังคับกำหนดทิศทางการทำงาน
การไร้เสรีภาพทางความคิด ความทุกข์ยากของประชาชนรัสเซีย (ยุคนั้น)
จึงล้วนสะท้อน ระบาย ผ่านออกมาทางงานดนตรีของโชสตาโกวิช ทั้งสิ้น"

ถ้าผมเป็นซีไอเอ คงหาทางปูนบำเน็จให้คนที่เชื่ออย่างนี้ เพราะมันช่วยตอกย้ำว่างานของศิลปินสังคมนิยม
ยังไม่ใช่ของแท้ ยังมีความหมายซ่อนเร้น ยังไม่แสดงออกมาอย่างถึงที่สุดของอุดมการณ์
สิ่งที่หมายถึง กับสิ่งที่มุ่งหมาย เป็นคนละสิ่งกัน ประมาณว่าพูดอย่างทำอย่าง
สรุปง่ายๆว่า "ยังห่วย"
หรือไม่ก็ "ฟังผิดๆ" กันมาโดยตลอด
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 246

Collagen

14/10/2010 20:48:53
4
ขอบคุณพี่ moobin มากครับ .... สุดยอดจริงๆ ครับ..

ข้าน้อยขอคารวะ... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 247

We Are Kamilia

15/10/2010 22:14:59
0
และแล้วก็เงียบ เพราะอาหมอไปกินปลาหมึกเต่าทอง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 248

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

15/10/2010 23:51:05
125
ยังไม่เงียบหรอกครับ พอดีช่วงนี้ผมมีประชุมวิชาการครับ เลยไม่ิค่อยว่าง เดี๋ยวสักพักก็ว่างมานั่งตอดเล็กเสริมน้อยได้ต่อไป ตามประสาคนรู้น้อยแต่พูดมาก.....ครับ.....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 249

moobin

16/10/2010 00:24:03
48
---------------------------
ผมอยากจะบอกว่า ที่ผิดน่ะนะ คือพวกคอนดั๊คเตอร์ของฝ่ายทุนนิยม
พวกนี้ตีความงานของมิตย่า ห่างเป้าไปเพี่ยบ........
ถ้าไม่รู้สุนทรียะแห่งสัจจะนิยม ก็อย่าไปยุ่งกับเขา คนเราจะเก่งข้ามลัทธินั้น เป็นไปไม่ได้
งานของมิตย่านั้น เป้าหมายคือการชูอุดมการณ์สังคมนิยม
โน๊ตทุกตัว เขียนเพื่อเป้าหมายนั้น

ใครที่เคยอ่านวรรณกรรมเพื่อชีวิต อย่าง"แม่" ของแม๊กซิม กอร์กี้
จะเห็นได้ว่า หากใช้ระบบความงามแบบที่เราเคยชิน นิยายนี้ก็ฝืนความรู้สึกหลายอย่าง
แต่ถ้ารู้ว่า มันคือคัมภีร์สอนลูกให้เป็นคอมมิวนิสต์ ก็อาจจะนึกอะไรออกมากขึ้น
คนอย่างพวกเรา ที่ยึดถือว่า ทรัพย์สินของพ่อแม่ปู่ย่า...ต้องเป็นของเรา เพื่อตกทอดไปยังลูกหลาน
ย่อมเข้าไม่ถึงความงามของสัจจะนิยม ซึ่งไม่ได้แปลง่ายๆว่าเหมือนจริง
แต่แปลอย่างง่ายยิ่งกว่าว่า ทำยังไงก็ได้ ให้ศิลปะชักจูงใจคน โค่นล้มความจริงลวงของระบบชนชั้น
เพื่อก้าวข้ามไปหาความจริงแท้ ของชาติที่ปราศจากชนชั้น

ในยุคที่มิตย่ากำลังปั่นต้นฉบับ คนของค่ายสังคมนิยม ยึดถืออย่างนั้นจริงๆ
จนมาล่มสลาย หลังมิตย่าเสียชีวิต สิบกว่าปี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 250

moobin

16/10/2010 00:24:40
49
-----------------------------

อยากจะรู้ว่าเป็นบันทึกจริงหรือปลอม เราต้องหาเพลงของมิตย่ามาฟังครับ
ศิลปินที่แท้ ไม่เคยโกหกในงานชิ้นเอก
 
ศิลปะของสังคมนิยมไม่เหมือนของทุนนิยม
ฝ่ายหนึ่งทำขึ้นเพื่อการครอบครองเป็นส่วนตัว
อีกฝ่ายหนึ่งทำเพื่อเผยแผ่สู่สาธารณะ เพราะอุดมการณ์ของงาน คือการทำให้คนอื่นมิใช่ทำให้ตนเอง
ฐานความคิดที่ต่างกันสุดขั้วเช่นนี้ ทำให้มิตย่าถูกวิพากษ์อย่างอคติมาตลอดชีวิต
สมัยหนึ่ง สำนัก Time-Life เคยทำแผ่นเสียงชุดสุดยอดเพลงคลาสสิคออกมา มันก็ต้องมีโชสตาโกวิชแน่นอน
ไอ้คนเขียนบทแนะนำ ยัดเยียดข้อหาเฉยเลย
มันบอกว่า สำหรับพวกรักความก้าวหน้า (หมายถึงพวกสนับสนุนดนตรีแนวล้ำยุค)
โชสตาโกวิชคือคนที่น่าผิดหวัง เพราะเริ่มต้นด้วยแนวทางสมัยใหม่แต่แล้วทำไปทำมา กลับสร้างงานแบบโบราณเสียนี่
ผมอ่านแล้วก็ขำปนสมเพช โธ่ถัง คนเรา อยากจะด่า ทำยังไงก็หาเรื่องด่าจนได้
ไม่เคยเจอตรงใหนเลย ที่มิตย่าประกาศว่าอั๊วจะเป็นพวกอะวองการ์ด
ดูหน้าตาก็คงรู้นะครับ ว่าแกออกจะหัวโบราณเสียด้วยซ้ำ
มีคนแซวว่าหน้าอย่างนี้ เป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลที่ใหนสักแห่งละเป็นเหมาะเจาะกว่าเป็นเอกะศิลปิน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 251

moobin

16/10/2010 00:25:07
50
-------------------------

ข้อกล่าวหาอีกอย่างก็คือ มิตย่าได้รับอิทธิพลจากมาห์เลอร์ โดยยกตัวอย่างซิมโฟนี่เบอร์ 4 ของเขา
ใช้สำเนียงแบบมาห์เลอร์
เพื่อจะทราบว่าจริงหรือเท็จ ผมเลยต้องไปหาซิมโฟนี่ของมาห์เล่อร์ทั้งสิบเอ็ดชิ้นมาฟัง
(ตัวเลขเป็นทางการ บอกว่ามาห์เลอร์แต่งไว้ 9 ชิ้น เบอร์ 10 ทำไม่เสร็จ ผมไปเอามาจากใหน 11 ชิ้น ขอยกไปไว้ตอนท้าย)
ไปหาอีก 15 เบอร์ของมิตย่า
แล้วก็เลยไปหาอีก 9 เบอร์ของอาจารย์มาห์เล่อร์ คือบรุคเนอร์
รวมแล้วก็ 35 ชิ้นงาน ถ้าจะฟังให้หมดรวดเดียว ต้องใช้เวลาถึงสองวันเต็มๆ ไม่ต้องหลับต้องนอน
แล้วเพื่อให้มั่นใจ ก็ต้องหาจากหลายๆคอนดัคเตอร์ แต่ละชิ้นก็ต้องฟังอีกหลายเที่ยว
สรุปแล้ว ผมฟังอยู่สองปีครับ
ผลก็คือ หูถั่ว......
ฟังไม่ออกว่า เบอร์ 4 ของมิตย่า ไปเหมือนกับท่อนใหน ตอนใดของบรุ๊คเนอร์-มาห์เลอร์
ท่านใดฟังออก กรุณาบอกให้ทราบเป็นบุญหูด้วยนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 252

moobin

16/10/2010 00:27:22
51
--------------------------------

ลองฟังกันหน่อยเป็นไร
เพลงของเขาหาไม่ยาก แต่ที่ยากในการฟังเพลงของเขาคือเครื่องเสียงของคุณครับ
 
ขอแนะนำว่าต้องเป็นชุดที่ไม่ขี้ฟ้องนะครับ
ประเภทฟังออกว่าขึงหนังกลองหย่อนไปนี๊ดดดนึง ห้ามใช้ ....เพราะ
แผ่นเจ๋งๆ ที่ผมอยากเชียร์นี่ อัดเสียงได้ห่วยเหลือรับประทานครับ (ถ้าใช้มาตรฐานหูทองมาเป็นตัวตั้ง)
มักจะมาจากค่ายเมโลดิย่าของรัสเซียเขา
นักเล่นย่อมรู้ว่า ค่ายนี้มาตรฐานไร้มาตรฐานเพียงใด
แล้วยิ่งตอนหลัง ดิจิตั้ลเฟื่องฟู มีการไปขุดซอฟแวร์เก่าแก่มาอัดแผ่นขาย เสียงมันยิ่งออกแนวก่อนประวัติศาสตร์สิครับท่าน
ประเภทหาเบสไม่เจอ ไวโอลินไม่พริ้ว....เอามาเปิดเล่นกับชุดเครื่องเสียงราคาหลายแสน
มันก็เสียหายหลายแสนสิ จริงใหมครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 253

moobin

17/10/2010 13:36:16
52
--------------------------

จริงอยู่ บางท่านอาจจะบอกว่าเคยเห็นเล็นเนิร์ด เบิร์นสะตีน กำกับซิมโฟนี่เบอร์ 5 และ 7 อันโด่งดัง
เคยเห็นคารายานผู้ยิ่งใหญ่ กำกับหลายเบอร์กับค่ายด็อยช์ กราโมโฟน
พวกนี้เสียงดีทั้งนั้น คนเล่นก็เก่ง เป็นตำนานตั้งแต่ยังไม่ตาย
ค่ายที่เน้นผลิตเสียงดีๆ เช่นลินน์ เรคขอร์ด ก็มีให้เห็น
หรืออย่างค่ายเทลาร์ค มีงานซิมโฟนี่ของมิตย่าออกมาหลายชิ้น คอเพลงคงคุ้นเคยว่าค่ายนี้ชอบของหนัก
ที่ผมเคยฟังก็พ่อ Yoel Levi เป็นคอนดัคเตอร์ Atlanta Symphony Orchestra เป็นคนเล่น
ล้วนเป็นแผ่นที่ไม่แนะนำครับ

บอกไว้ล่วงหน้าเลยนะครับ ว่าที่เอ่ยมาทั้งหมดน่ะเด็กๆ ครับ ทำเสียของ
ดนตรีแห่งชีวิตจริง จะเอามาเล่นเพื่อสำแดงฝีมือของตน หาได้ไม่
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 254

moobin

17/10/2010 13:36:42
53
------------------------

จะขอยกตัวอย่างซิมโฟนี่เบอร์ 7 “เลนินกราด”
ซิมโฟนี่ที่แต่งเพื่อเล่นตอกหน้ากองทัพนาซีเยอรมัน ว่า
แม้เอ็งจะล้อมเมืองของข้าไว้เป็นปีๆ ฆ่าพี่น้องของข้าไปกว่าครึ่ง ก็อย่าหวังว่าเมืองนี้จะยอมแพ้
โชสตาโกวิชเป็นชาวเมืองนี้ เคยเป็นกำลังสนับสนุนการรบ เขาเป็นทหารไม่ได้ เพราะสายตาและสุขภาพ
อีกอย่าง ระบอบโซเวียต จะเก็บปัญญาชนไว้ให้ตายตอนท้าย หรือไม่ตายเลย
เมื่อเริ่มการศึก เราได้เห็นเขาใส่ชุดดับเพลิงทำงานร่วมกับเหล่าสหาย
(มีรูปลงปกไทม์เสียด้วยซ้ำ)
แต่เมื่อกองทัพนาซีเข้าล้อมเมืองจนคับขันยิ่งยวด ทางการก็อพยพมิตย่าและคนอื่นๆ ออกไปอยู่แถบไซบีเรีย
จากที่นั่น เพื่อขอมีส่วนร่วมกับชะตากรรมของชาวเมืองแม้เพียงน้อยนิด
เขาบอกว่า ตัวเองเหมือนไร้ค่าเมื่อเปรียบเทียบกับเลือดเนื้อและชีวิตอันห้าวหาญของวีระชน
ที่ยอมสูญสิ้นทุกอย่างเพียงเพื่อปกป้องมาตุภูมิ

ในฐานะศิลปินตัวเล็กๆ เขาจึงทำได้เพียงเขียนซิมโฟนี่ออกมาหนึ่งบท
รัฐบาลรับมาอย่างพากภูมิใจ และประกาศว่า จะต้องเสียสละเท่าไรก็ตาม
เพลงนี้ต้องเล่นออกมาจากในเมือง ภายใต้การโจมตีของนาซี
ทั้งเมืองมีคนเหลือห้าแสนกว่าคน มีนักดนตรีไม่พอครับ ตายไปมากเหลือเกิน
ต้องเกณฑ์หลายคนกลับจากแนวหน้า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 255

moobin

17/10/2010 13:37:09
54
------------------------
การบรรเลงมีขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม 1942 อำนวยเพลงโดย  Samuil Samosud และกระจายเสียงไปทั่วรัสเซีย และโลก
เพื่อป่าวประกาศว่า เมืองนี้ยังไม่ตาย ยังยืนหยัด ยังมีพลังทนทานต่อการทำลายล้างของทรราชฮิตเลอร์
มันเป็นเสียงที่กลั่นออกมาจากสำนึกรักมาตุภูมิแดนเกิด เป็นความสำนึกที่แม้แต่มีความตายมายืนทะมึนตรงหน้า ความรักชาติ ก็ไม่จางไป
 
เมื่อทราบประวัติของงานแล้ว ท่านคิดว่าพลังของมันจะเข้มข้น หนักหน่วงสักเพียงใหน
แล้วควรจะถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างไร
พวกหนูๆ ที่เล่นเพลงนี้ ที่ผมเอ่ยถึงข้างต้นน่ะ ทำให้เพลงนี้เป็นเหมือนดนตรีประกอบงานวัดครับ
ที่ผมเคยได้ยินและทำให้เลือดในตัวเดือดพล่าน
บังเกิดความรักในชาติในประเทศโดยไม่ต้องมีคนมาพูดกรอกหู
เป็นเสียงโมโนครับ คุณไม่มีวันอยู่เฉยได้เมื่อทำนองนี้ดำเนินไป เป็นเสียงโมโนครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 256

moobin

17/10/2010 13:52:26
0
ดูตัวอย่าง

http://www.youtube.com/watch?v=mtjAmaG7jjA&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=Ya79lvGgalU&p=97D806CA80C6FE20&playnext=1&index=16


แถม
Mravinsky ซ้อมวง กับ Symphony no. 5 ของ โชสตาโกวิช
http://www.youtube.com/watch?v=x5oZcDqDDF4

ส่วนนี่ Mravinsky กำกับ Symphony no. 5 ของ โชสตาโกวิช เล่นจริง
http://www.youtube.com/watch?v=1PsBQwSp0bU
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 257

pandanam

18/10/2010 17:06:45
สวัสดีครับ มารอติดตาม พี่Moobin ครับเยี่ยมจริงๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 258

moobin

18/10/2010 18:17:58
55
-------------------------

หลังจากเบิกสกอร์ด้วยเสียงที่กระหึ่มพร้อมกับเสียงกลองกำกับจังหวะที่ดุดันตั้งแต่เริ่ม แปรเป็นความโหยไห้ แล้วค่อยๆ สรุปให้กลายเป็นภูมิทัศน์ที่กว้างขวาง หนาวเหน็บ ย้ำด้วยจังหวะกระแทกหนักหน่วงเป็นช่วงๆ...
นี่คือเสียงที่จำลองสมรภูมิ กลางหิมะขาวโพลนสุดลูกหูลูกตาของเลนินกราด ที่จะท่วมด้วยเลือดในอีกไม่นานข้างหน้า

แต่คอนดัคเตอร์เด็กๆ  มักจะเล่นช่วงนี้ เหมือนเก็บข้าวของจะไปปิ๊คนิค สับสนวุ่นวายพอประมาณ เพื่อจะพาตัวเองไปสู่ชนบท....มันคนละมิติเลยนะครับ แล้วบางคนยังพยายามทำให้เกิดความหวานในเพลงที่บรรยายนรกชิ้นนี้ คิดเอาเองละกัน ว่ามันขัดแย้งกันสักเพียงใหน
มิตย่า ยังไงก็ไม่ใช่ไชก๊อฟสกี้ ถึงจะเป็นชนชาติดียวกันก็เหอะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 259

moobin

18/10/2010 18:19:11
56
------------------------

ท่อนที่ขัดหูมากที่สุดจะตามมาราวๆททนาทีที่ 10 (ท่อนนี้ยาวมาก ประมาณ 30 นาที บวกลบนิดหน่อย)
ความยาวน่าจะบ่งบอกได้ถึงเนื้อหากระมัง
เมื่อสรุปเสียงไปสู่จินตนภาพของภูมิทัศน์แล้ว ท่อนที่เลื่องชื่อจะตามมา ราวๆนาทีที่ 8-9
เป็นเสียงจากที่ไกลๆ ค่อยดังขึ้น ดังขึ้น ....แล้วกลายมาเป็นไคลแม็กส์ เป็นลีลาคล้ายกับโบเรโร่ของราเฟล กินเวลาราว 10 นาที
คอนดัคเตอร์ทั้งหลาย มักจะเล่นท่อนนี้ ด้วยความเข้าใจอันบิดเบี้ยว ค่อนไปทางหน่อมแน้ม
ส่วนมากก็พยายามเร่งเร้าจังหวะให้ดังขึ้น ดังขึ้น อย่างไม่มีเป้าหมาย
นี่มันสงคราม ไม่ใช่สงกรานต์นะเฟ้ย เด็กๆ

จังหวะที่กระตุ้นขึ้นมาทีละน้อยๆ นั้น  ถ้าได้ฟังผู้อำนวยเพลงคู่บุญของมิตย่า คือมราวินสกี้เสียงนี้ จะแทนค่าการรุกรานของเยอรมันอย่างสมจริงเหลือเชื่อ มันเริ่มด้วยเสียงที่เล็กๆ ของกลองแต๊ก ดังเป็นจังหวะขาดๆ เหมือนเส้นประ เสมือนจุดดำๆ ห่างออกไปไกลลิบ บนพื้นหิมะกว้างไกลสุดขอบโลก
ใหญ่ขึ้น ชัดขึ้น จนเห็นเป็นรูปร่างลักษณะได้เต็มตา ไกล้เข้ามาทุกที
และที่ระดับความดังหนึ่ง เสียงกลองแต๊ก จะยิ่งดังกระหึ่ม ทรงพลังและเร่งเร้ายิ่งขึ้น
เสียงปิกโกโร่ผสานกับฟลุท ดังหวีดหวิวเมือนเสียงปีศาจ แทรกมาในจังหวะกลองกระหึ่มอย่างน่าสะพรึงกลัว
มันบ่งบอกการมาถึงของบางสิ่ง ค่อยๆชัดเจนจับต้องได้
ไม่มีคอนดัคเตอร์คนใหน ทำเพลงนี้มาถึงจุดที่ถ่ายทอดความวินาศหายนะได้เลย
ยกเว้นมราวินสกี้
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 260

moobin

18/10/2010 18:19:49
57
----------------------------
เบอร์เก้านี้ เป็นเบอร์ตลก เขาแซวกันว่าสตาลินขอไว้ โดยคิดว่ามันเป็นเบอร์ที่มีแต่งานมหึมามโหฬารพันลึก
อย่างเบอร์เก้าของเบโธเฝ้น ของบรูคเนอ่ร์ หรือโวฉัค หรือมาห์เลอร์
พอเพลงกลับกลายมาเป็นรื่นเริง แถมสั้นกะลุดจุ๊ดจู๋ พวกนักวิจารณ์ก็เอาเลย บอกว่ามิตย่าประชดท่านผู้นำ
แกล้งแต่งเพลงเฮงซวยให้เพื่อรับประทานอย่างเร้นลับ ยังกะว่าสตาลินนี่โง่อิ๊บอ๋าย
แต่พวกนักวิจารณ์นี่ฉลาดชิบเป๋ง....คุณต้องลองฟังเอง จึงจะรู้ว่า เพลงนี้ ค่อนข้างถีบมากๆ
ถีบจนสาระของเพลงถูกความฝักไฝ่ และแบ่งแยกทางการเมืองกลบจมธรณี

ทีแรกนั้น มิตย่าอวดไว้ว่า เบอร์เก้านี่จะระดับสุดขีดการสำแดงออกทีเดียว จะมีทั้งความยิ่งใหญ่ มีบทร้อง มีธีมแห่งชัยชนะ....
ปรากฏว่า พอเสร็จออกมา มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทำคนอึ้งไปเป็นสิบปี

ตัวซิมโฟนี่นี่ แปลกประหลาด เพราะไม่มีสิ่งที่ส่อนัยยะถึงความใหญ่โตสมกับที่กองทัพแดงสามารถโค่นนาซีลงได้ราบคาบ
แต่กลายเป็นเพลงเล็กๆ ที่สนุกและผิดคาดหมายตั้งแต่โน๊ตตัวแรก
ลองไปฟังเบิร์นสะตีนวิเคราะห์ดู จะเชื่อหรือไม่ ตรองเอาเอง หมอนี่ไม่ใช่ศาลฏีกาของผมอยู่แล้ว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 261

moobin

18/10/2010 18:42:03
0
เป็นอันจบเรื่องของ โชสตาโกวิช
ขอแทรกตรงนี้นิดหนึ่งว่า
อยากให้ลองฟัง หมายเลข 7 ของโชสตาโกวิช เทียบกับ 1812 overture ของไชคอฟสกี้
เพลงหลังจะเล่าเรื่องสงครามป้องกันปิตุภูมิของรัสเซียต่อการรุกรานของนโปเลียน
หลายคนคงจะพอรู้ว่าไชคอฟสกี้จะใช้เสียงเพลงชาติฝรั่งเศส (ลา มาแซยส)
เป็นสัญญลักขณ์แทนเสียงกองทัพ/การรุก ของฝ่ายฝั่งเศส

จะเห็นได้ว่าเพลงของไชคอฟสกี้จะออกโทนโรแมนติคกว่าโชสตาโกวิชมาก

ดูตัวอย่าง
finale - http://www.youtube.com/watch?v=u2W1Wi2U9sQ

แถมของแปลก
วงกองกำลังป้องกันประเทศของญี่ปุ่น (คงเทียบได้กับกองทัพบกกระมัง)
บรรเลงโดยใช้ ป.105 ยิงจริงแทนการประโคมของวง
http://www.youtube.com/watch?v=w-4SRvGUtn8&feature=related
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 262

tum

18/10/2010 21:09:54
0
สุดยอดครับ....ละเอียดจริงๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 263

guanliangguang

18/10/2010 22:32:13
0
กระทู้ดี ๆ นี่เอง แต่ผมมาช้าเกินไป จะพยายามเก็บเกี่ยวครับ
อย่างที่คุณ Moobin วิเคราะห์ครับ hahn เธอก็เก่งของเธอ แต่ไมู่้รู้ผมจะใช้คำอะไรบรรยายดี
คิดว่าในการเล่นปัจจุบันเธอก็คงอยู่ในระดับต้น ๆ แต่ซอของเธอตามที่ท่านๆวิเคราะห์จริงๆ ผมรู้สึกฟังแล้วไม่ "อิ่ม" ไม่ทราบจะใช้คำได้บรรยาย ผมซื้อแผ่น Paganini Violin concerto มา รู้สึกว่า วง เค้าเล่นดีนะ ส่วน hahn ผมยังไม่เทพพอ ว่าจะบอกมือดีหรือไม่ แต่คนเล่นได้ก็คงจะพอตัว แต่เสียงไวโอลิน เธอไม่กินจริง ๆครับ มีท่านใดพูดถึง Sarah Chang รึยังครับ ? ? ผมชอบ sibelius กับ Brahm Bruch ของเธอนะครับ แต่จะมีคลิปที่เธอเล่น gypsy air ในสวนสักที่ รู้สึกจะโดนวิจารณ์ค่อนข้างจะหนักพอดูเลยครับ ผมว่าคลิปนั้น stacato เธอหนึบมากๆ ตอนจะจบ คนชอบก็ชอบนะครับ คนไม่ชอบผมว่าอาจจะรำคานไปเลยก็ได้

อย่าเพิ่งรำคานผมนะครับ ผมมาช้าแต่อยากเข้าห้องเรียนด้วยครับ T T
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 264

guanliangguang

18/10/2010 22:41:21
0
คงต้องขอติดตามฟังท่าน moobin ต่อด้วยคนครับ สำหรับ pealman ผมก็มีความเห็นเช่นเดียวกับท่านครับ ผมไม่รู้จะ comment ยังไง ในความรู้สึกผม เพิร์ลมัน เหมือนในใจเวลาเค้าเล่น เหมือนกับเค้าคิดว่า ทุกอย่างเค้าสามารถทำได้โดยง่ายดายรึเปล่าครับ ? คือผมรู้สึกว่าฟังแล้วไม่ค่อยเห็นแรงบันดาลใจ ถึงแกเป็นคนเล่นSchindler's List ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นในหนัง (ใช่ไหมครับ) ยอมรับว่าหวานจริง แต่ในใจผมมันก็ยังมีความรู้สึกบางอย่าง Hilary ไม่รู้ในใจเธอ จะเป็นเส้นตรงรึเปล่าครับ ผมรู้สึกคล้ายๆกับ Perlman (ความเห็นส่วนตัวนะครับ) แต่ซอของเธอไม่ไหว 555 sarah chang ในคลิปก่อน ฟังดี ๆ ผมรู้สึกว่า เธอเล่นแล้วฟังแล้วหนึบ ๆๆ ไม่รู้จะบรรยาย อย่างไร

sibelius ที่ผมชอบ จริง ๆ (แต่ยังไม่ได้ฟังเต็มๆ) ผมชอบของ Maxim มากๆครับ มันรู้สึกเหมือนเค้าเล่นให้อารมณ์มากกว่านะครับ ขอประทานโทษถ้าความเห็นผมมันเป้นแต่อารมณ์ แต่ผมขาดประสบการณ์จริงๆครับ รบกวนชี้แนะครับ

คลิปตอนทำ masterclass
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 265

guanliangguang

18/10/2010 22:49:44
0
เพิ่มเติมนะครับ จริง ๆ Sarah Chang บางที ก็ทำให้ผมรู้สึกบางอย่างที่ไม่เหมือนคนอื่นคือความหนึบ บางทีฟังมาก ๆ ก็รู้สึกรำคาน ใครอยากฟังก็ search youtube gypsy air sarah chang ไปดูตอนท้ายๆนั่นแหละครับ

ฝาก ฺBruch mvt. แล้วลาไปนอนครับ ขอรอเรียนรู้จากพี่ moobin ต่อครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 266

นายมั่นคง

18/10/2010 23:07:08
4,294
ไม่รู้่จะพูดอะไรนอกจากจะบอกว่าทุกๆ ท่านสุดยอดไปเล้ยยยยจ้า 55


ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 267

moobin

21/10/2010 21:41:14
0
คุณสแปมคร้าบ ผมขอไหว้ด้วย อีกคนคร้าบ
พอเถอะนะครับ

58

------------------
ตามประสบการณ์ของผม รู้สึกแปลกแฮะ ที่ค่ายฟิลิปส์เก่งเสียงไวโอลิน เดคค่าเก่งปิอาโน่
ด๊อยช์เก่งเรื่องซิมโฟนี่ เองเจิ้ลเก่งเรื่องหลอกศิลปินให้มาเข้าสังกัด....5555555

แผ่นด๊อยช์ที่ทำให้หนูมุตเตอร์นี่ หาดีไม่ได้เลยจริงๆ ผมฟังมาสักเจ็ดแปดชุดแระ
แผ่นฟิลิปส์ที่อัดให้อะเราว์ ก็เสียงปานกลาง ในขณะที่ถ้าเป็นเชอริ่งละก้อ เสียงไวโอนสด อิ่ม สะอาดถึงโน๊ตเม็ดใน
นี่ก้อ ว่าไปตามประสบการณ์กุดๆ ที่พอจำได้
แต่ถ้าให้พูดรวมๆละก้อ ชอบเสียงดี มีมาตรฐาน สามค่ายนี้ ไม่ผิดหวัง
ค่ายพวกนี้สะสมความรู้กันมาสี่ห้าชั่วคน แค่เทคนิควางไมค์เพื่อเก็บทั้งเสียง บรรยากาศ และเสียงก้องพอประมาณ
ค่ายเด็กๆ ที่ทำแผ่นแล้วคุยว่าเป็นออดิโอไฟล์ ผมยังไม่เห็นประตูสู้
แล้วยิ่งทำแผ่นอย่างดีมากๆ ยิ่งฟ้องความไม่สมบูรณ์ของเสียงที่บันทึกเอามา

อ้อ ฟิลิบส์บันทึกเสียงให้ วงอิตาเลียโน ควอรทเตทโต้ได้สุดยอดจริงๆ
ชอบเครื่องสาย ต้องไม่พลาด บีโธเฟ่น มทสาร์ต บราห์ม และชูมาน คือที่ผมมี
ห้าดาวยกกำลัง เก็บให้ครบแล้วยืดได้เลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 268

moobin

21/10/2010 21:41:47
0
59
------------------------

แผ่นอาร์ซีเอที่ดีนั้น ผมเจอในรูบินสไตน์ยุคหลังสุด
ยอดเยี่ยมไม่แพ้ใคร ก็ที่เขายกขโยงไปอัดเสียงกันที่สวิส
เชอริ่ง ฟูร์นิเย่ร์ และรูบินสไตน์ เป็นทรีโอจากการตีความที่หาคนสู้ยาก และเสียงดีจริงๆ

ส่วนแผ่นที่บันทึกได้ตรงใจผมมากที่สุด เคยบอกไปแล้ว คือเบอร์ลิน คลาสสิค
สมัยเป็นไวนิ่ล คือเยอรมันตะวันออก วงที่เล่นต่อเนื่องมาตั้งแต่ใต้การควบคุมวงของ
บีโธเฟ่น เมนดลโซห์น อาเธ่อร์ นิกิชต์ ยังไงก็ทำความห่วยไม่สำเร็จ
หาให้ได้ แล้วมาเล่าว่าเยี่ยมแค่ใหน....ขอท้าทาย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 269

moobin

24/10/2010 13:22:17
0
วันนี้มีของดีมาฝากอีกแล้ว
โดยเฉพาะเป็นพิเศษสำพรับคุณ Tidal
(ไปดู score ได้ที่ http://www.scribd.com/doc/249757/Ravel-Piano-Concerto-for-the-Left-Hand-Orchestral-Score
หรือ http://www.sheetmusicplus.com/title/4012353?id=298930)

ริคเตอร์ เล่นปิอาโนกับวงเยนัว ของอิตาลี
http://www.youtube.com/watch?v=371XZyPp-Bg&feature=related

มีแต่เสียง ไม่มีภาพ
ซึ่งก็ยิ่งดีใหญ่
เพราะนักฟังโดยเฉพาะนักปิอาโน คงว่าไม่เห็นพิเศษอะไร
คนช่างสังเกตคงรู้สึกว่าตัวโนตน้อยกว่าปกติ น่าจะเล่นไม่ยากด้วยซ้ำ

แต่…. นี่คือ Piano Concerto for the Left Hand in D ของ Ravel
นัยว่าแต่งให้ Paul Wittgenstein น้องชายของ Ludwig Wittgenstein
นักคิด นักปรัชญาคนดัง ซึ่งเสียแขนขวาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เพื่อจะบอกว่า ต่อให้เอ็งเหลือแขนข้างเดียว (ข้างซ้ายซะด้วย)
ถ้าเอ็งตั้งใจจริง ไม่ยอมถอดใจ
เอ็งก็ยังทำอะไรสวยงามได้

เทียบกับ Sergei Kutnetzov เล่นกับวง Voevodina symphony orchestra ของเซอร์เบีย
http://www.youtube.com/watch?v=LwsY-S2-ZQU&feature=related

Lugansky
http://www.youtube.com/watch?v=e20vW-WDQMg&feature=related

ซ่งซือเหิง ของจีนเล่นกับวง Philharmonic de Radio France
http://www.youtube.com/watch?v=WI8SahsYWzg
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 270

moobin

24/10/2010 13:33:30
0
คนเล่นเพลงนี้จะวางมือ วางลำตัวกันใหม่
เพราะต้องเล่นมือซ้ายมือเดียว

ส่งท้ายด้วย
http://www.youtube.com/watch?v=tSxcXdXqLvA&feature=related
บรูโน วอลเทอร์ กำกับวงคอนเสิร์ตเกบาว วงหลวงของฮอลแลนด์ เมื่อปี 1937

ใน youtube นักวิจารณ์หูเทพหลายท่านว่าเล่นห่วย เอามาแปะไว้ทำไมให้เสียหู
โถ เวรกรรม
อันว่า clip นี้จะมาวิจารณ์ด้้วยมาตรฐานปกติมิได้ (สองมาตรฐาน ... ว่างั้นเถอะ)
เพราะคนเล่นปิอาโนไม่ใช่นักดนตรีอาชีพ แถมร่างกายเสียสมดุลย์ต่างจากคนปกติ เพราะเหลือแขนข้างเดียว
เป็นแขนซ้ายข้างที่ไม่ถนัดเสียด้วย

..............

เขาชื่อ Paul Wittgenstein คนที่ Ravel แต่งเพลงนี้ให้นั่นแล
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 271

moobin

06/11/2010 22:03:46
0

60
---------------------

สมัยแผ่นเสียง VOX เขาก็มีดีของเขานะครับ
การตลาดสมัยใหม่นี่แหละ ที่ฆ่าของดี ตายทั้งเป็นๆ มานักต่อนักแล้ว
อยากฟังจุดเริ่มต้นของคลาสสิค ที่เป็ไฮฟิเดลิตี้ละก้อ มองหาชื่อ Walter Legge
เขาคือโปรดิวเซอร์หมายเลขหนึ่งของประวัติศาสตร์
ระดับคารายานนี่ เด็กในคาถาเขาแท้ๆเลย

หมอนี่มีเมียเป็นนาซี คืออลิสเบธ ชวาร์สคอร์ฟ ที่เพิ่งเสียชีวิตไป
ก่อตั้งวงฟิลาโมเหนี่ย เพื่อการอัดเสียงอย่างเดียว ตอนนั้นเขาเป็นผู้บริหารอีเอมไออยู่
แผ่นที่ดีที่สุดของ 1945-1960 และหลังมาอีกหน่อย เป็นผลรวมของสุดยอดทุกๆด้าน
ผ่านการปกครองของเสี่ยเล๊กก์
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 272

moobin

06/11/2010 22:04:43
0
61
-----------------

ฟังท่านบีโธเฟน เบอร์เก้ามาหลายคน เลยเข้าไปดูเวลาว่าดูเหมือนบางคนเล่นแต่ละมูวเมนต์มันช้าบ้างเร็วบ้าง จริงๆ ด้วยบางมูวเมนต์อีกคนเร็วยาวกว่าอีกคนมากๆ และแต่มูวเมนต์ใช้เวลามากน้อยสลับกันในแต่ละคนคุมอีก

คำถามคือโน๊ตมันเท่ากันไหมนี่? หรือใช้การเล่นทวนซ้ำไม่เท่ากัน ผมยังฟังจับอะไรไม่ค่อยได้เลยครับ พอฟังเปรียบเทียบกันเข้าจริงๆ คำถามเกิดขึ้นในใจเยอะเลยครับ!!

--
เรื่องความยาวนี่ อย่าไปใส่ใจเลยครับ แต่ละคนตีความไม่เหมือนกัน
ถ้าต้องการศาลฎีกา ผมก็จะใช้ทอสกานีนี่เป็นหลัก ท่านผู้เฒ่า อ่านโน๊ตเหมือนกับที่คนแต่งเขาอ่าน
เปรียบง่ายๆก็คือ เป็นเครื่องวิเศษใส่โน๊ตเข้าไป
ได้เพลงออกมา ครงใจผู้แต่ง....เป๊ะๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 273

moobin

06/11/2010 22:10:33
0
แนะนำคอนดักเตอร์เทพอีกคน de Sabata
กำกับเพลงซิมโฟนีเบอร์ 4 ของบราห์ม

http://www.youtube.com/results?search_query=Brahms+De+Sabata&search=Search
ลิ้งค์นี้ ครบหมดเลยทั้งเพลง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 274

นายมั่นคง

06/11/2010 23:21:45
4,294
สวัสดีครับ หายไปหลายวันเลยนะครับคุณหมูบิน 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 275

kiertijaib

06/11/2010 23:30:31
เป็นน้องใหม่ครับ อ่านมาหลายครั้ง
เห็นของ guanlianguang ถามเกี่ยวกับเรื่องคนเล่นไวโอลินในเรื่อง Schindler's list เท่าที่ผมทราบคนแต่งเป็น John Williams คนเล่น ไวโอลินน่าจะเป็นของ Janine Jansen มากกว่านะครับถ้าจำไม่ผิด ผมคิดว่าคนที่เล่น violin concerto ได้ดีที่สุดคนหนึ่งคือ Nathan Milstein เสียที่ไม่มี SACD หรือ DVD ที่ดีออกมา
ผมว่าในปัจจุบันที่ดังมาก น่าจะเป็น Hilary Hahn ดังเกี่ยวกับดนตรีของบาค Julia Fischer เกี่ยวกับของรัสเซียน Janine Jansen เป็นคนหนึ่งที่เล่น four seasons ใส่อารมณ์ดีมาก ผมพยายามเก็บแผ่น SACD ของเธอเก็บไม่ไหวเพราะว่าแพงมาก แต่ขนาดฬัง redbook CD ก็ยังด่ีมาก ผมว่า Brahm's fourth symphony ผมยังชอบของ Carlos Kleiber มีแผ่น SACD เหมือนกันแต่แพงมากจริง จนต้องไปซื้อของคนอื่นแทน และก็ชอบของ George Szell มาก ผมมีแผ่นเสียงของ Karajanแต่ผมว่าสู้ Kleiber ไม่ได้จริง ๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 276

moobin

07/11/2010 18:59:10
0
สวัสดีครับ เฮียมั่น
ช่วงนี่พี่ spam ซาไป
สถานการณ์เลยกลับสู่ปกติเสียที
เหลือระวังน้ำท่วมอย่างเดียว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 277

moobin

07/11/2010 18:59:47
0
62
----------------

เอาคาระยันมาให้ดู
ผมว่าแกกำลังปั้นเสียงอยู่อะ ดัดจาหริตอิ๊บอ๋ายเลย
เอาแกออกไป วงก็เล่นได้อย่างงี้เหมือนเดิม เรียกว่าลิปส์ซิ้งค์ก็คงได้

อัดเสียงได้บรมห่วย เสียงปนกัน มีทำนองเดียว ทั้งๆ ที่มีเครื่องดนตรีกว่าสิบตระกูล กำลังร่วมบันเลง
เสียงอย่างนี้แหละครับ ที่เหมาะกะพวกรถสองแถว หรือมอไซค์รับจ้าง
http://www.youtube.com/watch?v=6Tj4ME6Udx8&feature=related
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 278

moobin

07/11/2010 19:00:05
0
63
----------------------

จากนั้น ไปล้างหูกันด้วยของจริง คุณปู่เอลก้าร์
แกขึ้นไป "กำกับ" เสียง ให้ตรงกับโน๊ตของแกเท่านั้นแหละ มันมีกี่เสียง แต่ละเสียงต่างกันอย่างไร
ทำหน้าที่ร่วมกันอย่างไร ใครเด่นใครด้อยในช่วงใหน เข้าออกอย่างไร
แกต้องฟัง และนำมันออกมา
http://www.youtube.com/watch?v=R-AmryhlRpI
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 279

moobin

07/11/2010 19:00:29
0
64
------------------------

อ้อ คาระยันน่ะ แกหลับตากำกับด้วยนะครับ ไม่รู้ใครสอนมา
และเทียบจากเสียงที่ได้ยิน ผมค่อนข้างมั่นใจว่า แกหูหนวกด้วย.....
บังเอิญคนถ่ายไม่ได้โคลอัพที่สมุดโน๊ตเพลง ก็เลยไม่รู้ว่าโน๊ตผิดเล่มด้วยเป่า
------------------
ปิดท้าย แถมสตราวินสกี้ เล่นวิหคไฟเอง ดูว่าของจริงควรเป็นเช่นไร
http://www.youtube.com/watch?v=5tGA6bpscj8
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 280

สมัครเล่น

07/11/2010 20:35:59
412
ครบรอบ 100 ปี คารายานเมื่อปี 08
สงสัย ตายตาไม่หลับแน่ครับ
คนรักก็เยอะ คนชังก็เยอะ
แต่ยังไง ก็ทำตังให้ แกรมโมโฟนไปเยอะครับ
ดันดาราได้ไปหลายคน
อันเนอ โซฟี มุตเตอร์ จอมเขย่าสาย ก็ผลพวงของแกนี่ล่ะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 281

kiertijaib

08/11/2010 07:09:24
ผมก็ไม่ชอบ Karajan มากนัก ตอนแรกก็ซื้อแผ่นของแกอยู่ แกเล่น style คล้ายๆ กันตลอด แม่้แต่ Beethoven symphony 9 ยังสู้ Karl Bohm ไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงน้องใหม่ที่เล่น Beethoven symphony 9 เช่นของ Haitink (SAVD) หรือของ Immerseel ที่ใช้ period instrument มาเล่น
ถ้าโดยภาพรวม ผมชอบของ George Szell + Cleveland Orchestra มากกว่า
Anne Sophie Mutter ก็ไม่ชอบมากมีแต่ CArmen Fantasie , Korngold violin concerto เรื่องไวโอลินคอนแชร์โตผมว่า Nathan Milstein ยอดเยี่ยมที่สุด Yehudi Menuhin ไม่ค่อยมีแผ่นดี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 282

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

02/12/2010 18:01:38
ดันหน่อยครับ ใกล้ปีใหม่แล้ว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 283

Lavis

02/12/2010 18:44:31
0
อ่าน http://trisdee.wordpress.com/ แล้วช๊อคมากๆครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 284

lek_chiangrai

03/12/2010 15:40:54
0
ความคิดเห็นที่ 283 คุณ Lavis ครับ

ผมตามไปอ่านด้วย ก็ งง งง งง มันหมายความว่า.... ยังไงหรือครับ สับสนๆๆ จัง

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 285

moobin

04/12/2010 23:46:17
0
เรื่องนี้เคยมีคนวิพากษ์วิจารณ์กันมาเยอะมาแล้ว
ผมเลยเอาประเด็นอื่นมาให้อ่านกัน ดังนี้

------------------

65

วันก่อนดูทีวีเห็นท่านบัณฑิต มาเล่าถึงความสำเร็จของตน
รู้สึกประทับใจสามเรื่อง
๑ เขาบอกว่าเครื่องวัดความสำเร็จของเขาคือได้ออกซีเอ็นเอ็น ได้ลงข่าวนิวหยอกไทม์อารัยประมาณนั้น
๒ เมียเขาบอกถ้าผัวเขียนหนังสือประเภท "จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร" จะทำได้ดีมาก
๓ เขาบอกว่า ความจริงเขาควรจะประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยี่สิบหอกแล้ว แต่เพราะเป็นคนไทยเลยพลาดไป

มีความเห็นสั้นๆ ดังนี้ครับ

๑ เขาไม่ใช่ศิลปิน เขาเป็นนักธุรกิจ เขาเขียนหนังสือไว้สองเล่ม ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับดนตรีเลย
เกี่ยวกะการไขว่คว้าหาความสำเร็จ ประเภทหนังสือฮาวทู

๒ ผมไม่เคยเชื่อว่าความเก่งบอกออกมาได้โดยตัวเอง ต้องคนอื่นบอก
คุณบัณฑิตเป็นหนึ่งในคนที่พร่ำพูดถึงความสำเร็จของตัวเองไม่มีเบื่อ

๓ เขายังไม่มีการบันทึกเสียงที่ใช้ชื่อตัวเองนำ มีแต่คนอื่นนำ แค่แผ่นเดียว
Mozart In Love / Paula Robison แผ่นนี้คุณรอบินสันเป็นตัวเอก ทำให้สงสัยว่าเขาได้บันทึกเสียงเพราะเธอ หรือเพราะตัวเอง
คือถ้าไม่ใช่เพราะนักฟลุตสาวคนนี้ เขาจะต้องรออีกนานแค่ใหนหนอ

๔ เมื่อดูจากคลิบนี้
http://www.youtube.com/watch?v=W-bHWizd-rI
ผมมีความงงว่า กรรมการเอาอะไรมาตัดสินให้เขาชนะเลิศเมื่อปีสองพันสอง
เป็นเบโธเฟ่นที่เละเทะที่สุดที่เคยเจอ หูของเขาต้องมีปัญหาแน่ๆ

๕ รางวัลที่เขาได้รับ มาถึงวันนี้ก็ปาเข้าไปหกปีแล้ว ไม่เห็นมีคนใหม่ตามออกมา
หรือว่าจะจัดประกวดกันสิบปีหน......หึหึ

๖ อีกหนึ่งที่ชนะเลิศมาด้วยกัน Xian Zhang เดี๋ยวนี้พัฒนาขนาดเข้าอยู่ในทีมวาทยากรของวงนิวหยอก
และดูบัญชีคุมวงของเธอที่ผ่านมา ก็ต้องบอกว่าคุณบัณฑิตยังห่างไกลจากคำว่าระดับโลกอยู่มากกว่าสองสามโลกทีเดียว
http://nyphil.org/meet/orchestra/index.cfm?page=profile&personNum=721&pastSeasonNum=1
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 286

moobin

04/12/2010 23:47:18
0
66

http://www.youtube.com/watch?v=yNUYVn4GcnE

เพื่อยืนยันว่า "ระดับโลก" เป็นอย่างไร
ขอเสนอมองเตอะ กับท่อนเดียวกันดูที จะได้ไม่ต้องมาตั้งขอระแวงสงสัยว่า ผมนี่ชาตินิยมติดลบหรือป่าว
เห็นคนไทยเก่ง ยังงัยจะไม่ปลื้มได้ละครับ
แต่เห็นคนบอกว่าตัวเองเก่งนี่......มันแปลกชอบกล

ในความเห็นของผม นี่เป็นเบอร์ห้า ที่มีการบันทึกเสียงที่ดีที่สุดตลอดกาล
แต่มีคนชมแค่เก้าร้อยกว่า...เอ็อ แปะไว้ตั้งแต่ปีสองพันสี่
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 287

moobin

04/12/2010 23:48:02
0
67

ว่ากันต่อให้หมดประเด็นคาใจ มาดู"ของจริง" กันบ้างปะไร

คุณบันดิทแกเกิด 1970 ปีนี้จึงอายุ  38-39
เราลองมาดูคนที่อ่อนกว่าแกสิบปีเต็มๆ คือเกิดเมื่อ 1981 ดูทีว่าน้องคนนี้ ไปถึงสวรรค์แห่งวาทยากรชั้นใหนกันแล้ว

Gustavo Dudamel ชาวเวเนสุเอรา
เก่งขนาดใหนล่ะ น้องคนนี้
ตอนอายุสิบแปด ย้ำครับ ฟังให้ดี.....สิบแปดปี ก็ได้เป็นมิวสิคไดเร๊คเตอร์ของวงเยาวชนของประเทศ
วงนี้มิใช่ขี้ไก่นาท่าน ทั้งอับบาโด ไซม่อนแรตเติล หรือพ่อสตาร์วอร์จอห์น วิลเลี่ยม ล้วนเคยรับเชิญมาคุมวงกันแล้ว
แต่ที่มหัศจรรย์ก็คือ เจ้าหนูคนนี้ พาวงออกลุยยุโรปครับ บีบีซีตื่นตะลึง
ทั้งยุโรปยอมศิโรราบ ดูรายการที่พ่อหนุ่มเคยคุมเอาเองละกัน วงเทพเจ้าทั้งนั้น
Philharmonia
Israel Philharmonic
Los Angeles Philharmonic
City of Birmingham Symphony Orchestra
Dresden Staatskapelle
Royal Liverpool Philharmonic.
La Scala, Milan,
Vienna Philharmonic Orchestra
San Francisco Symphony
Royal Concertgebouw Orchestra
และเพิ่งล่าสุดหมาดๆ เพิ่งจะไปครองตำแหน่งเดียวกะที่ คาโรมาเรีย จูเลียนี่ เคยครองที่วงลอสแองเจลีส
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 288

moobin

05/12/2010 00:01:34
0
68

ขอปิดท้ายเรื่อง "เพราะเป็นคนไทย (ตรู)จึงประสบความสำเร็จช้า" ด้วยคลิบนี้
สองตอนต่อกัน จากเจ้าหนุ่ม กุสตาโว ดูดาเมล คนดิม
http://www.youtube.com/watch?v=_El7qwib0dc
http://www.youtube.com/watch?v=xlAaiBNCYU4&feature=related

เวเนสุเอลาไม่ใช่ประเทศร่ำรวยอะไร เราคงเคยทราบว่าล้มละลายมาหลายครั้ง
แต่นักดนตรีเหล่านี้เขาไม่ยักอายชาติตน (แฮะ)
เขาเอาศิลปะของชาติตน ที่เป็นประเทศกระจอกงอกง่อยไม่ได้ดีเด่อะไรกว่าเสียมกุก
อวดมหาอำนาจทางดนตรีอย่างอังกฤษ ที่ใจกลางอาณาจักรของพวกเขา
คือคอนเสิร์ตที่พรอม

คงไมต้องสรุปว่าเป็นการแสดงที่ประสบความสำเร็จเพียงใด

คนดูจะเป็นคนบอก
ไม่ใช่คนเล่น.........เฟ้ย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 289

lek_chiangrai

05/12/2010 09:52:29
0
ขอขอบพระคุณมากครับ คุณ moobin อื๋อมันมีอย่างนี้ด้วยเหรอครับเนี่ย และ ขอบคุณ

คุณ Lavis ที่เอาข้อมูลมาบอกด้วย ครับ

คนวงนอกที่ไม่ได้รับรู้ เรียกว่าอยู่วงนอก ไม่ได้อยู่วงใน เพียงได้ยินข่าวที่เขาชื่นชมกัน

เห็นเป็นพรีเซนเตอร์ นั่นนี่ ก็คงมองดู และ ชื่นชมว่า เออ คนไทยเก่ง ภาคภูมิใจไปกับเขาด้วย

ประมาณนั้น กระมังครับ ขอบคุณสำหรับมุมมองใหม่ๆ ครับ^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 290

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

07/12/2010 18:47:35
ดันจ้า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 291

moobin

12/12/2010 18:54:03
69
--------------------


ไปอ่านที่อื่นมา เข้าไปเถียงกับเค้าในนั้นไม่ได้ ก็ขอเอามาลงในนี้ละกัน

เค้าว่าคล้ายๆ อย่างนี้นะครับ "เพลงคลาสสิคต้องตีควากันใหม่ไปเรื่อยๆ จะได้มีสิ่งใหม่ที่ไม่น่าเบื่อ เพราะฟังแบบเดิมๆ มันน่าเบื่อ" ก็ไม่รู้เค้าได้ฟังแบบเก่ามาครบทุกคนหรือยัง? หรือเป็นข้อแก้ตัวที่หาของดีๆ ไม่ได้ก็เลย ต้องยอมรัยรุ่นใหม่กัน

ผมขอยกตัวอย่างที่คนไม่ได้ฟังเพลงคลาสสิคอาจจะมองไม่เห็นชัดเจนว่า ถ้าเคยเห็นลิเกบ้านเรา ใช้กลองชุดสมัยใหม่ แทนกลองชุดแบบโบราณ นั้นเป็นเช่นเดยวกันครับ ถ้าคุณเกิดทันจะรู้ว่าทั้งเสียงและแวการเล่นมันรับไม่ได้จริงๆ อ่ะครับ ผมก็สงสารคนแก่ที่บ่นกันดังๆ ว่า ดูลิเกสมัยนี้ นอนอยู่บ้านซะดีกว่า

แต่การที่จะรู้ว่าของเก่าดีนั้น ก็ต้องได้ยินได้ฟัง แล้วจึงจะรู้ว่ามันดีกว่าอย่างไร? แต่ถ้าหาฟังไม่ได้ ก็จะไม่เข้าใจตรงจุดนี้ละครับ ก็ฟังของใหม่ที่มันห่วยๆ หลงกันว่าดีต่อไป
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 292

moobin

12/12/2010 18:56:35
0
70
--------------------------

มาถึงคนโปรดของผม มราวินสกี้
http://www.youtube.com/results?search_query=mravinsky&search_type=

ลองเลือกดูตามใจชอบ แต่อย่าชอบเลยนะครับ
หาแผ่นยากๆๆๆๆๆๆๆ.........มากๆๆๆๆๆๆ
เราจะเห็นว่า เขาทำตัวเหมือนช่างเจียระนัยเสียงระดับเทพ
ในหนึ่งท่วงทำนอง จะต้องประกอบด้วยเสียงอะไรบ้างนั้น ไม่มีทำตกหล่นครับ
นักดนตรีก็มั่วไม่ได้ เพราะมีคิวกำหนดที่ต้องเดินตาม ในวินทีที่คุณพลาด เพลงก็พลาด
แต่คุณไม่พลาด ถ้าคุณติต่ตรงกับผู้เฒ่า

ท่ามกลางเสียงซับซ้อนมหึมา ไม่มีใครในที่นั้นรู้ดอกว่า ผลลัพธ์โดยรวมจะออกมาอย่างไร
แม้แต่นักดนตรีแต่ละคน ...หรือแม้แต่ผู้แต่งก็เถอะ ถ้านั่งอยู่ตรงนั้
มีแต่คนที่อยู่บนโพเดี้ยม ที่เรู้ เขายืนอยู่คอยบอกทางที่ถูกต้อง วินาทีที่ถูกต้องให้ทุกคนได้ยิน
ลองนึกว่าคุณเป็นคนตีกลองทิมปานี่ คุณจะรู้หรือว่าต้องฟาดไม้ที่โน๊ตตัวใหน
ต่อให้ตกลงกันมาก่อนก็เหอะ เวลาเล่นจริง อะไรก็ไม่เป็นไปตามที่เคยวางแผน

คุณต้องมอง และรอสัญญานจากมราวินสกี้
ทุกคนที่เล่น ก็ต้องทำอย่างเดียวกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 293

moobin

12/12/2010 18:57:53
0
71

------------

มะราวินสกี้กำกับไชก๊อฟสกี้ 4-5-6 ในสังกัดดีจีนี่
ถือกันว่าเป็นทางตันแล้วครับ ไม่มีใครทะลุมาตรฐานของแกได้อีกแล้ว

เล่ากันว่า เฮียแฮร์แบร์ท ฟอน คาระยัน กำกับเจ๊ไชเบอร์ 6 สำเร็จ แกปลื้มมาก
คิดว่าได้สร้างตำนานแห่งการบันทึกเสียงไว้แล้ว
คืนนั้นแกฟังเวอร์ชั่นมราวินสกี้
วันรุ่งขึ้น แกไม่พูดถึงเบอร์ 6 นี่อีกเลย....ฮา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 294

i love you

18/03/2011 17:23:27
Empire State Of Mind – Jay-Z ft.Alicia Keys
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 295

ellevoid

08/04/2016 01:17:03
220
ขุดหน่อยฮะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 296

Phubo

08/04/2016 09:12:44
15
ท่านอาจารย์ทั้งหลายคงไม่มาโพสต์แล้วรึเปล่าครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 297

ohman

08/04/2016 09:55:18
1
กระทู้แบบนี้ดีมากเลยครับ อยากให้จขกท มาเขียนต่อ หรือจะมีมีท่านอื่นที่มาเขียนกระทุ้แนวนีเพิ่อีกจะดีมาก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 298

ellevoid

08/04/2016 10:36:03
220
เมื่อคืนไล่หาเพลงตามที่คุยๆกันข้างบน ฟังไปฟังมากว่าจะได้นอนก็เกือบตีสาม ฮ่าๆๆๆ
แต่ละอันที่แนะนำนี่ดีอย่างที่ว่าจริงๆ ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
" มาฟังเพลงคลาสสิคกันเถอะจ้ะ"