Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

เพื่อนๆใช้อะไรแยกประเภทของเพลงครับว่าเป็นเพลงแนวไหน

Smiley

27/08/2007 22:05:46
สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน ผมติดตามบอร์ดนี้มานานพอดู แต่ก็ยังไม่เคยที่โพส์ข้อความหรือความหรือตั้งกระทู้เลย ตอนนี้ผมมีปัญหาคับข้องใจที่หาคำตอบไม่ได้ซักที นั้นก็คือเพื่อนมีหลักเกณฑ์ในการแยกประเภทของเพลงยังไงอ่ะคับ ประมาณว่า อานไหนเป็น ป๊อป อานไหนเป็นร็อค เป็นแจ๊ส ฯลฯ คือผมก็ยังงงๆ โดยเฉพาะกับเพลงไทยที่ "look"กับแนวเพลงมันดูจะสวนทางกัน อันนี้งงจิงๆ เช่น อย่างบางวงมีเบส กลอง กีตาร์ ร้องนำ เท่านั้น ก็บอกกันแล้วว่าเป็นร็อค ทั้งๆที่ผมคิดว่ามานก็ป๊อบธรรมาดา แค่บางทีอาจจะมีอารมณ์ร็อคบ้าง อานไหนมีเครื่องเป่าเข้ามาอยู่ในเพลงก็บอกว่าเป็นแจ๊สเลยซะงั้น ทั้งๆที่มานก็เป็นป๊อปดีๆนั้นแหละ ยิ่งช่วงๆนี้กระแส อาร์แอนด์บี กำลังแรง นักร้องคนไหนร้องแอทลิป(ที่หอนๆอ่าคับไม่รู้ว่าเขียนถูกป่าว หวังว่าเพื่อนๆเข้าใจกันนะคับ) ก็กลายเป็นว่าเป็นอาร์แอนดืบีไปเลย เหอๆๆๆๆ ผมเลยอยากถามเพื่อนๆ ในบอร์ดว่าเพื่อนแยกประเภทของเพลงกันยังไงกันเหรอคับ ว่าดนตรีแบบนี้ต้องเป็นแนวนั้นแนวนี้เหอๆๆๆ หวังว่าเพื่อนคงไม่งงกับคำถามนะคับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

ISe

27/08/2007 22:24:47



สำหรับผม ดนตรีเป็นหลัก เสียงร้องเป็นรอง
ที่แยกได้ง่ายๆ เลยก็ร๊อค ถ้าฟังมาเยอะๆ จะแยกออกได้สบายๆ ครับ
แต่แนวอื่นก็พอได้บ้าง ไม่แม่นซะทีเดียว

แต่ถ้าฟังแล้วชอบ แนวก็ไม่สนแล้วละครับ :123:
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

tuzh

27/08/2007 22:58:57



จริงๆมันก็แยกไม่ยากหรอกครับ ถ้าฟังเพลงมาเยอะๆยิ่งง่ายใหญ่เลย จริงๆแนวเพลงแต่ละแนวมันจะมีจังหวะหรือเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน แต่ที่เราแยกแยะได้ลำบากในเพลงไทย เพราะว่าในตลาดส่วนใหญ่จะใช้ความเป็น Pop นำ เพื่อให้ฟังง่าย ไม่แตกแยกจนเกินไป แล้วที่บอกว่าเป็นร็อค, แจ๊ซ, R&B, Punk อะไรพวกนี้ มันไม่ทั้งหมดหรอกครับ เค้าเอาเพียงกลิ่นอายของแนวนั้นเข้ามาพอให้ได้บรรยากาศ เช่น R&B ก็ใช้การร้องที่เป็นเอกลักษณ์ของแนวนี้นำในเพลง หรือ Punk ก็จะมีการใช้ Sound กีตาร์และจังหวะกลองที่เป็นเอกลักษณืของ Punk เข้ามาปน
โอยเหนื่อย...เอาเป็นว่าถ้าจะคุยกันจริงๆเนี่ย ยาวครับ แต่ไม่ต้องไปกลุ้มอกกลุ้มใจอะไรมากมายครับ เพราะเพลงหลายๆเพลงทั้งไทยและต่างประเทศ มีกลิ่นอายของแนวเพลง 3-4 แนว หรือเยอะกว่านั้นในเพลงเดียวกัน ถ้าจะมานั่งแยกก็ไม่เป็นอันฟังกันพอดี...อย่าซีเรียสจ้า....5555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

แมวอ้วนอืดดดดดดลำปาง

27/08/2007 23:02:13



อย่าง KENNY G ที่ผมฟัง
จัดประเภทเป็น Jazz
แต่ผมฟังบางทีก็นึกเป็น pop-jazz ไปเลย
เพราะมีกลอง มีเบส มี string มีเปียโน
ปนเปไปหมด
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

diebysword

28/08/2007 01:19:54
ถ้าอยากรู้จริงๆ ก็ลองมาอ่านกันดูเล่นๆนะครับ น่าจะเป็นประโยชน์ได้


ดนตรีแต่ละแนวแต่ละสไตล์ มีลักษณะที่มาแตกต่างกันและคล้ายๆก้น ซึ่งต้องใช้ความรู้และความชำนาญในการแยกแยะ

แต่ถ้าเข้าใจและรู้จักในแนวดนตรีหลักๆแล้วจะเข้าใจได้ไม่ยาก ดนตรีจึงเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงนิสัย

และรสนิยมของคนที่ฟังได้อีกเหตุผลหนึ่งดนตรีแนวหลักที่ผู้คนนิยมฟังกันทั่วโลกนั้นมีไม่กี่แนว

ซึ่งจะอธิบายความหมายลักษณะและที่มาอย่างง่ายๆ ดังนี้


1) POP หรือดนตรีพ๊อพ Popย่อมาจากคำว่า Popular ที่มีความหมายว่า เป็นที่นิยมชมชอบกันทั่วไป

ดนตรีพ๊อพจึงมีลักษณะที่ฟังง่าย ติดหู ทำนองไพเราะ ดนตรีไม่มีความสลับซับซ้อน เนื้อหากล่าวถึงความรัก ธรรมชาติ

อารมณ์ต่างๆของผู้คนทั่วไปโดยรวมแล้วทุกๆเพลงจะมีลักษณะที่เด่นชัด ดังนั้นดนตรีพ๊อพจึงอาจจะเป็นดนตรี โพลค์

บูลส์ คันทรี่ ร็อค เฮฟวี่ แรป แด๊นซ์ ฯลฯ หรือดนตรีอะไรก็ตามที่ผู้คนทั่วโลกชื่นชอบและฮิตเป็นบ้าเป็นหลัง


2) ROCK เป็นดนตรีที่มีจังหวะจะโคนเร่งเร้ากระชับหนักแน่นโยกย้ายส่ายสะโพกไปมาตามจังหวะด้อย่างเมามัน

โดยมีที่มาจากดนตรีร็อคแอนด์โรลยุค 50&squot;s ตอนปลาย และยุค 60&squot;s ที่เรียกกันว่า &squot;Rock A Billy&squot;

หรือจากเพลง &squot;Rock Around The Clock&squot; มีกลองให้จังหวะพร้อมกับริธึ่มของกีตาร์ที่หนักแน่น และเสียงร้องกระแทกกระทั้น

เพื่อปลุกเร้าคนฟังให้เกิดอารมณ์สนุก เมามันส์ และปลดปล่อย ดนตรีร็อคได้พัฒนาให้มีจังหวะที่หนักแน่นและมีรายละเอียด

ในแง่ของลูกเล่นกีตาร์มากขึ้นและเร็วขึ้นเลยเรียกว่า ฮาร์ด ร็อค(Hard Rock)และพัฒนาให้มีความสลับซับซ้อนในโครงสร้างของเพลง

และเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวที่เรียกว่า โปรแกรสซีฟ ร็อค (Progressive Rock) โดยมีเครื่องดนตรีอย่างคีย์บอร์ดและออร็แกนเข้ามามีบทบาท

และพัฒนามาจนถึงมีความหนักแน่นกร้าวร้าว หยาบคาย ทั้งในเนื้อหาและดนตรีที่เน้นหนักไปที่กี่ตาร์ริธึ่มและโซโล่เป็นพระเอก

ที่เรียกว่า เฮฟวี่เมตัล (Heavy Metal)เช่นวง Mattallica , Nirvana เป็นต้น


3) JAZZ เป็นดนตรีที่มีต้นกำเนิดมาจากทาสผิวดำที่ถูกนำมาเป็นทาสในอเมริกาแถบนิวออร์ลีน รัฐนี้จึงกลาเป็นรัฐของดนตรีแจ๊ซ

โดยเริ่มแรกจากการที่ทาสผิวดำแหล่านี้มีรากฐานของดนตรีโซลและบูลส์อยู่บ้างแล้ว เพราะคนผิวดำที่ถูกต้อนมาจากทวีปอาฟริกานั้น

เป็นชนเผ่าต่างๆที่มีวัฒนธรรมและประเพณีของตนเองติดตัวมาอยู่แล้ว เมื่อมีโอกาสได้พบประระหว่างทาสด้วยกัน

ก็หันมาร้องรำทำเพลงบ้าง เข้าโบสถ์ชุมนุมกันบ้าง และจับเครื่องตนตรีต่างๆมาเล่นร่วมกัน ทั้งเครื่องเป่า เปียโนหรือตีตาร์

เมื่อหลุดพ้นจากการเป็นทาส หรือว่างงาน ก็จะมารวมตัวกันเล่นดนตรีตามงานศพต่างๆของคนผิวดำด้วยกัน

เพื่อเป็นการระบายความต่ำต้อยของพวกเขาเอง ดนตรีแจ๊ซในนิวออร์ลีนก็ได้แพร่หลายจากงานต่างเหล่านี้

ซึ่งลักษณะเดนของดนตรีแจ๊ซค่อนข้างจะ ซับซ้อน ไพเราะ ปราณีต บรรจง และค่อนข้างจะอิงไปทางดนตรีคลาสสิคในยุคก่อนๆ

เครื่องดนตรีที่เด่นๆของแจ๊ซคือ เครื่องเป่า กีตาร์ เปียโน บิดาของดนตรีแจ๊ซคือ หลุยส์ อาร์มสตรอง


4) SOUL & FUNK ดนตรีโซล เป็นรากฐานของดนตรีหลายๆแนวในปัจจุบันที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้

เพราะโซลเป็นดนตรีที่มีความหมายของคำว่า “วิญญาณ” ซึ่งเป็นดนตรีที่เน้นไปทางเสียงร้อง และเอื้อนอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ของคนผิวดำ ที่ไม่มีชนชาติใดเลียนแบบได้ และเนื้อหาก็จะตีแผ่ถึงความลำบากในการใช้ชีวิตที่ตกเป็นทาส

เสียงร้องจึงคล้ายกับการคร่ำครวญอย่างเจ็บปวด ดนตรีจะไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ไม่ว่าจะเป็นกีตาร์ เปียโน หรือเครื่องเป่า

ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายจากดนตรีโซลรคือ ตนตรีคนดำใช้ร้องในโบสถ์ประสานเสียงร้องกันที่เรียกว่า Acapella

เช่นดนตรีของ Marvin Gaye หรือ Diana Ross เป็นต้น ต่อมาก็เริ่มมีการพัฒนาโดยการนำเอาดนตรีโซลไปผสมผสาน

กับเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆขึ้น นอกเหนือจากเสียงร้องแล้ว อาจจะเน้นไปที่กีตาร์ กลอง โดยเฉพาะเสียงเบส ให้จังหวะจะโคนที่เด่นชัด

และลื่นไหล สร้างอารมณ์ให้เต้นตามได้ ซึ่งต่อมาเรียกว่าดนตรี ฟังก์ (Funk) หรือ โซล-ฟังก์นั่นเอง

ซึ่งก็มีศิลปินอย่าง James Brown , Stevie Wonder , Celine Dion , Mariah Carey เป็นต้น


5) BLUES เป็นตนตรีของคนผิวดำเช่นกับที่นำเสนอเรื่องราวของชีวิตที่ต้อยต่ำ ผ่านเสีงดนตรีคือ กีตาร์ที่เศร้าสร้อย

หดหู่ จนน่าขนลุก บวกกับเสียงร้องที่แหบพร่าเหมือนการรคร่ำครวญคล้ายคนกำลังร้องไห้ โดยให้เสียงกีตาร์กับเสียงเครื่องเป่าฮาร์โมนิก้า

เป็นสื่อถ่ายทอด ความเจ็บปวดเหล่านั้นอีกที เพื่อเป็นการตอกย้ำซึ่งถ้าในบ้านเราก้จะเรียกเพลงเหล่านี้ว่าเป็นเพลงเพื่อชีวิต

มีศิลปินอย่าง Muddy Waters , Memphis Slim และ Sonny Boy Williamson เป็นผู้ให้กำเนิดตำนานบทนี้

และส่งผลเด่นชัดที่สุดต่อแนวเพลงริธึ่ม แอนด์ บูลส์ ในปัจจุบัน


6) RAP รากฐานที่แท้จริงของดนตรีจากคนผิวดำอีกแนว ที่ประทับตราได้เด่นชัดที่สุดกว่าแนวอื่นใดทั้งหมดที่เป็นของพวกเขา

เพราะเป็นดนตรีที่มาจากการพร่ำป่น การเปล่งเสียงที่มาจากภายในของตัวคน ระบายออกมาเป็นท่วงทำนอง

เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน พรรณนา และปาฐกถา โดยไม่จำเป็นต้องมีเสียงดนตรี ซึ่งแม้แต่จังหวะก้สามารถใช้เสียงในลำคอคอยให้จังหวะได้

เนื้อหาก้ยังวนเวียนอยู่กั้บการถูกเอารัดเอาเปรียบเหมือนเดิม เป็นดนตรีที่พูดถึงความจริงได้ชัดเจนที่สุด เพราะเนื้อหาค่อนข้างเปิดเผย

โผงผาง หยาบคายและด่าทอได้ถึงกึ๋น ต่อมาได้พัฒนามาเป็นดนตรี ฮิป-ฮอป (Hip-Hop) ซึ่งมีเครื่องเล่นแผ่นเสียง

หรือ Turntable เป็นเครื่องดนตรีที่คอยให้จังหวะ


7) REGGE & LATIN MUSIC เป็นดนตรีพื้นเมืองของจาไมก้าที่มีเนื้อหาพูดถึงการเมือง และลัทธิรัสตาฟาเรียน

โดยมีบ๊อบ มาเลย์เป็นสัญญลักษณ์ ซึ่งดนตรีเน้นที่กีตาร์เป็นจังหวะเด่นชัด และเสียงที่เป็นเอกลักษณ์

จังหวะของดนตรีเร็กเก้จะให้ความสนุกสนานด้วยตัวของมันเองอย่างชัดเจน แม้เนื้อหาจะหนักแต่ดนตรีเรกเก้ก็ได้รับความนิยม

อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยมีปรมาจารย์อย่าง King Tubby และ Augatus Pablo เป็นผู้ให้กำเนิด

ส่วนดนตรีลาติน มิวสิคนั้น เป็นดนตรีประจำภาคพื้นทวีปอเมริกาใต้ ที่เน้นจังหวะที่มีเครื่องเคาะหลากหลาย

เป็นแกนหลักของดนตรี ทำนอง และจังหวะจะผสมผสานระหว่างการเต้นระบำของคนพื้นเมือง

ใส่ความสมัยใหม่ของเครื่องดนตรีอย่างกีตาร์ กลอง เบส และที่เป็นพระเอกอีกชิ้นก้คือ กีตาร์สไตล์ สแปนิช หรือสไตล์ลาติน

ที่มีทำนองและเสียงไม่เหมือนกีตาร์ของชนชาติใด ศิลปินที่รู้จักกันดีคือ Ricky Martin

ที่นำเอาดนตรีลาตินมาใส่กับดนตรีแด๊นซ์ของฝั่งอเมริกา


8) WORLD MUSIC เป็นดนตรีที่นำเอาเอกลักษณ์ ของดนตรีพื้นเมืองของชาติต่างๆ มาเรียบเรียงใหม่ บนดนตรีสังเคราะห์

ซึ่งมีหลากหลายสไตล์ทั้งเต้นรำ และฟังแบบสบายๆ เนื้อหาของเพลงจะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะจะเน้นความเป็นพื้นเมืองของดนตรีนั้นๆ

รายละเอียดดนตรีก้เช่นกัน จะมีความสลับซับซ้อน หลากหลาย ที่นำมาผสมผสานกันจนยุ่งเหยิงแต่กลับกลายเป็นเนื้อเดียวกันที่ลงตัว

วงดังๆในแนวนี้ก็มีอย่าง เช่น Enigma , Deep Forest เป้นต้น และที่กำลังมาแรงอีกเช่นกันคือ แนว Buddha Bar


9) DANCE MUSIC ดนตรีเต้นรำแบ่งแยกได้อยากมาก เพราะทุกๆแนวสามารถนำมาเต้นได้หมด

ไม่ว่าจะเป็น พ็อพ,ร็อค,บูลส์,แจ๊ซ ฯลฯ แล้วแต่ว่าจะเต้นเร็วหรือช้า และมีท่วงท่าแบบไหนก็ได้

แต่ปัจจุบันดนตรีเต้นรำจะถูกแยกออกมาอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยจะเปิดตามสถานที่ที่เป็นคลับเต้นรำโดยเฉพาะเท่านั้น

ดนตรีเต้นรำที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ ดนตรีพ๊อพแด๊นซ์ โดยความหมายก็คือดนตรีที่กำลังได้รับความนิยม หรือฮิตอยู่ในขณะนั้นๆ

นำมาใส่จังหวะให้เร็วขึ้นเพื่อเต้นได้ แต่นอกเหนือจากนั้นแล้ว ก็จะมีแนวหลักที่มีมาแต่ดั้งเดิมตั้งแต่ยุค 80’s จนถึงปัจจุบันดังนี้คือ

- DISCO เป็นแนวเพลงที่เกิดในยุค 70’s โดยคลับใน New York ที่เลือกเปิดแต่เพลง Soul , Funk , Grooves

แบบเต้นรำจนพัฒนากลายเป็น Disco โดยนำเอาดนตรีโซลมาใส่จังหวะใหม่เพิ่มความเร็ว และศิลปินส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินผิวสี

เช่น Donna Summer , Gloria Gayner , Boney M และอัลบั้มที่พลิกประวัติศาสตร์เป็นอัลบั้มขายดีตลอดการจนกระทั้ง Micheal Jackson

มาลบสถิติได้ก็คือ Saturday Night Fever ที่มีเพลงฮิตหลายๆ เพลงของ The Bee Gees ในอัลบั้มนี้ที่ติดอับดับ Top Ten

ทั้งฝั่งอังกฤษ และอเมริกา ส่วนคลับเป็นตัวแทนของดิสโก้ก็คือ Studio 54 ที่มีแขกชื่อดังมากมายมาเที่ยวที่คลับแห่งนี้ ที้งศิลปิน นักร้อง นักธุรกิจ

และปิดตัวลงในช่วงต้นยุค 80’s จนกลายเป็นตำนานของคลับในช่งดิสโก้เฟื่องฟู

- GARAGE พัฒนาต่อมาจากการนำเอาดนตรีดิสโก้ มาเพิ่มความเร็วของจังหวะและเนื้อหากระชับมากขึ้น

เน้นความหรูหราของเสีงออร์แกน แต่สไตล์ของเสียงร้องยังคงความเป็นโซลอยู่เหมือนเดิม นิยมเปิดกันในคลับของชาวเกย์ที่นิวยอร์ค

ซึ่งมีชื่อว่า The Garage ในที่สุดจึงใช้ชื่อคลับเป็นแนวเพลงศิลปินแนวนี้ที่เป็นที่รู้จักในบรรดาคนฟังกันคือ Toddterry , Mathawelth

, Frankie Knuckles

- HOUSE MUSIC ในช่วงต้นยุค 80’s ได้มีปรากฎการณ์ดนตรีขึ้นมาใหม่เป็นดนตรี House Music

ที่นำเอาดนตรี Disco มาปรับปรุงตัดแต่งรีมิกซ์เพิ่มเติมความเร็วของบีท หรือจังหวะเพิ่มขึ้น และเนื้อร้องเหลือเพียงแค่ทอนฮุค

หรือคำเท่ๆบางรคำที่นักเต้นสามารถร้องตามได้เท่านั้น และใส่บีทที่เป็นเสียงสังเคราะห์ผสมผสานกันกับ Electronic , Synth Pop , Jazz

โดยสร้างดนตรีแนวนี้กันในโกดังที่เรียกว่า Ware House และสุดท้ายดัดเหลือ House คำเดียว ความเร็วของจังหวะหรือ BPM (Beat Per Minute)

คือความเร็วของจังหวะกลอง หรือกระเดื่องที่นับได้ภายใน 1 นาทีจะอยู่ระหว่าง 100 – 125 จนเป็นดนตรี House นี่ได้เป็นพื้นฐาน

ให้กับดนตรีแนวอื่นอีกมากมายในช่วงยุค 80’s ทั้ง Hip House , Ambient House , Acid House และในช่วงปลายยุค 80’s

ดนตรี House Music ก็ขับจากการเป็นเพลง Underground มาเป็นดนตรี Pop โดยเริ่มที่ยุโรปจนมาถึงอเมริกาในภายหลัง

โดยที่มาของชื่อ House Music นี้มาจากคลับใน Chicago โดยมี Frankie Knuckles เป็น DJ. ในขณะเดียวกันคลับใน New Youk

ที่ชื่อ Paradise Garage ก็ได้เปิดตัวขึ้นมี Larry Levan มาเป็น DJ. จนเป็นที่มาของคำว่า House and Garage

- FILTERED DISCO หลังจากที่ Disco เงียงหายไปในช่วงต้นยุค 80’s จนกระทั่งหลายๆคนได้กล่าวว่า Disco ได้ตายแล้ว

จนกระทั่งในช่วงปลายยุค 90’s Disco ก็ได้ฟื้นคืนร่างรมาใหม่ในปัจจุบัน และนำระบบการบันทึงเสียงและ Effect มาใส่ในดนตรีและเสียงร้อง

ที่ทุ้มลงหรือแหลมขึ้นจนกลายเป็น Filtered Disco โดยมีทั้งศิลปินผั่งอเมริกา อังกฤษ หรือแม้กระทั่งฝรั่งเศสเข้าร่วมแจมโดยมีชื่อเรียกต่างๆกัน

ทั้ง Neo-Disco , Funk House , French House , French Funk

- FUNKY HOUSE เป็นดนตรีที่นำเอาท่อน Riff Guitar ที่สนุกสนานและการเดินเบสที่ลื่นไหลแบบ Funky

มาผสมกับจังหวะดนตรีเต้นรำแบบ House บวกกับเสียงเครื่องสายที่พริ้วไหว จนกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของ Funky House

แล้วใส่เสียงร้องลงไป ศิลปินที่บุกเบิก Funky House ส่วนมากจะเป็นศิลปินจากฝรั่งเศส เช่น Etienne Decrecy , Bob Sinclar

, Stardust , Modjo ฯลฯ จนบางครั้งนักวิจารณ์ก็เรียกว่า French House , French Funk แต่ดนตรี Funky House

ก็ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ศิลปินฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังคลอบคลุมไปถึงทั้งศิลปินจากอังกฤษยุโรปและอเมริกาอีกด้วย

ดนตรี Funky House ไม่ได้หยุดตัวเพียงเท่านั้น แต่ยังมีการพัฒนาผสมผสานกับดนตรีแนวอื่นทั้ง Brazillian , African , Samba , Jazz

จนกลายเป็นรูปแบบใหม่ๆ

- TECHNO เป็นแนวดนดรีเต้นรำที่แตกแขนงออกไปจากดนตรีดิสโก้แต่มีความเร็วจังหวะ 110 – 130 BPM

มีจังหวะที่เน้น่ไปทางหนักหน่วง โดยใช้เสียงของดนตรีสังเคราะห์ล้วนๆ เปรียบเสมือนตัวแทนของการเจริญเติบโตของเทคโนโลยี่ในยุค 80’s

ที่มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีสีงเคราะห์มาใช้แทนกีตาร์ กลอง เบสและเปียนโน ลักษณะเด่นของดนตรีเทคโน จะอยู่ตรงที่จังหวะแข็งกระด้าง

ไม่มีเสียงเบส แทบจะไม่มีเสียงร้องด้วยซ้ำ รายละเอียดประกอบด้วยเสียงเอฟเฟ็คท์ต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นท่วงทำนองบ้างไม่เป็นบ้าง

ซึ่งจะเป็นที่นิยมกันมากในยุโรป คือ เยอรมันและฮอลแลนด์ ซึ่งต่อมาก็มีการนำดนตรีพ็อพมาผสมผสานและถูกเรียกว่า

เทคโน แด็นซ์ (techno Dance) วง Kraftwerk ของเยอรมันเป็นต้นแบบ ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นรากฐานของดนตรีเทคโนยุคหลังๆ

ที่นิยมเปิดกันตามคลับเต้นรำในปัจจุบันซึ่งศิลปินจะออกวางขายกันเฉพาะซิงเกิล

- EURO BEAT แตกแขนงมาจากดนตรีดิสโก้เช่นกัน และมีความเร็วของจังหวะที่ใกล้เคียงกับดนตรีเทคโน

แต่มีรายละเอียดของดนตรีสังเคราะห์น้อยกว่า มีทำนองและเนื้อร้องที่ไพเราะ น่าฟังมากกว่า ซึ่งได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของดนตรี

จากฝั่งยุโรปที่นิยมกันมาตั้งแต่ยุค 80’s จนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดังอย่าง Pet Shop Boy และ Erasure เป็นตัวแทน

- TRANCE เป็นการผสมผสานระหว่างดนตรี Ambient กับดนตรีเทคโน กล่าวคือ ดนตรีแอมเบี้ยนท์

เป็นดนตรีที่ประกอบไปด้วยเสียงของบรรยากาศรอบตัวเช่น เสียงลม เสียงฝน เสียงคน หรือเสียงสัตว์

แต่ไม่มีจังหวะเมื่อนำบีทที่มีความเร็ว 110-130 BPM ของดนตรีเทคโนมาผสมบวกกับเบสไลน์ของโรลลิ่งเบส เสียงใหญ่

ผสมกับเสียงสังเคราะห์ของซินธ์และเอฟเฟ็คท์ต่างๆ โดยใส่ท่วงทำนองที่ไพเราะเข้าไปจึงฟังดูล่องลอย กว้างขวาง มหึมา และหรูหราของเสียงซินธ์

ลักษณะที่เด่นชัดและเรียกว่า Trance เพราะเป็นดนตรีที่นักท่องเที่ยวชาวยุโรปชอบนำไปเปิดตามปาร์ตี้ ตามที่ต่างๆที่พวกเขาไปเที่ยวกัน

และเมื่อไปถึงเมืองไหนหรือประเทศใด พวกเขาก็นำกลิ่นอายหรือบรรยากาศของสถานที่นั้นๆมาสร้างเป็นเมโลดี้ ผสมผสานกับบีทเทคโน

ดนตรีแนวนี้จึงกลายเป็นดนตรีประกอบการเดินทางแหล่งกำเนิดของดนตรีแนวนี้ คือ ประเทศเยอรมัน เรียกว่า Europian Trance

และที่เมือง Goa ประเทศอินเดีย เรียกกว่า Goa Trance

- ELECTRONICA เป็นชื่อที่นักวิจารณ์ใช้เรียกแทนดนตรีเต้นรำแนวใหม่ที่แตกแขนงมาจากดนตรีเต้นรำแนวหลักๆข้างต้น

แต่ยังสัดส่วนที่คล้ายและไกล้เคียงกัน แตกต่างกันที่รายละเอียดและโครงสร้างดนตรีที่นำมาผสมผสานและรีมิกซ์เข้าด้วยกัน

แนวหลักที่เกิดขึ้นใหม่มีดังต่อไปนี้ Hard House ความเร็ว 110-130 BPM / Deep Funk ความเร็ว 110-120 BPM

/ Progressive House ความเร็ว 110-130 BPM

- HIP HOP เป็นดนตรีแรปที่เพิ่มรายละเอียดของดนตรีที่เป็นทั้งกีตาร์ เบส และคีย์บอร์ด เข้าไปบวกกับลูกเล่น

การสแครซแผ่นเสียงจาก Turntable และเสียงเอ๊ฟเฟค์ทจากเครื่องมิกซ์เซอร์ ดนตรีจึงสละสลวยและน่าฟังมากกว่าดนตรีแรป

แต่ถ้าลดความเร็วลงมาประมาณเท่าตัว ก็จะเรียกว่าดนตรี Tip Hop ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงร้องในสไตล์แรปไปเป็นสไตล์โซล

แต่ถ้าเพิ่มความเร็วของจังหวะขึ้นเท่าตัว ก็จะเรียกว่าดนตรี Hard Hop แต่รายละเอียดดนตรียังเหมือนเดิม

- BIG BEAT เป็นดนตรี Hip Hop ที่เพิ่มความเร็วของจังหวะประมาณ 3-5 เท่า เปลี่ยนโครงสร้างดนตรี

ากการแรปมาเป็นดนตรีโซล เพิ่มเบสไลน์ของดนตรีฟังก์บวกลูกเล่นสแครซแผ่นและการแซมเพลอร์เสียงต่างๆลงไปผลลัพท์คือ

เสียงของบีทที่ใหญ่โตค้นพบโดย The Chemical Brothers แต่ผู้ที่ทำให้โด่งดังทั่วโลกคือ Fat Boy Slim

- BREAK BEAT ดนตรีร็อคที่ถูกเปลี่ยนเสียงของดนตรีจากของจริงมาเป็นเสียงสังเคราะห์ ทั้งเสียงกลองและกี่ตาร์

เนื้อร้องจะถูกตัดต่อมาจากเพลงต่างๆนำมาแซมเพลอร์ลงไป ผสมกับเสียงที่รกๆของเอฟเฟ็คท์ จังหวะที่แข็งกระด้างเหมือนเทคโน

แต่อัตราเร่งช้ากว่า

- BRUM N’ BASS & JUNGLE เป็นดนตรีที่ทรงพลังด้วยการรวมตัวของดนตรี โซล ฟังก์ แจ๊ซ เรกเก้ และ ดัมส

ร่วมกันล่องลอยไปบนจังหวะที่แข็งกระด้าง หนักแน่น เร่งเร็วถี่ยิบในอัตรา 140-160 BMP โดยมี MC หรือแรปเปอร์จะคอยแรป

ประกอบกับการมิกซ์ของดีเจ โครงสร้างหลักของจังหวะคือเสียงกลองและเบส ที่พัฒนามาจากดนตรีเทคโนและฮาร์ดคอร์

และพถ้ามีจังหวะที่เร็วกว่าเดิมมากขึ้น หรือตัดเสียงเบสออกก็จะถูกเรียกเป็นดนตรีจังเกิ้ล (Jungle) เพราะมีกลิ่นอาย

และจังหวะที่เหมือนกับดนตรีเต้นรำรอบกองไฟของคนป่า

- URBAN หรืออีกชื่อเต็มว่า Urban contemporary คือดนตรีแบบ R&B SOUL ในช่วงยุค 90’s ถึงปัจจุบัน

โดยเป็นเพลงที่เน้นความเป็นป๊อปที่ฟังสบาย มีจังหวะที่ทันสมัย และมีความเป็น Pop มากกว่า R&B

และได้ข้ามจากชาร์ท R&B ไปสู่ชาร์ท Pop โดยมีศิลปินผิวสีอย่างเช่น Janet Jackson , Whitney Houston , Ocean

เป็นศิลปินบุกเบิกยุคแรกๆ ต่อมาก็มีศิลปินอย่างเช่น Bobby Brown นำ R&B มาใส่บีทแบบ Hip Hop และร้อง Rap

ใส่ลงไปจนกลายเป็นที่มาของ Urban ในยุคต่อๆมา

- CHILLED OUT คือดนตรีเต้นรำที่ผ่อนคลาย และมีจังหวะที่ช้าที่สุด มีไว้สำหรับฟังเพื่อผ่อนคลายหรือเต้นรำ

ในจังหวะสโลว์เสียมากกว่า เพราะลักษณะที่ชัดเจนคือ ท่วงทำนองไพเราะ ล่องลอย เคลิบเคลิ้ม ฟังแล้วโลกสว่างไสว

ถือว่าเป็นกระแสดนตรีในยุคปัจจุบันที่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่เบื่อเพลง Pop แบบ Mainstream แต่ก็ไม่ต้องการดนตรีที่ซีเรียสมากมาย

Chill Out จึงเป็นคำที่เรียกแนวดนตรีที่หลากหลายทั้งแนว Lounge , Downtempo , Balearic , Trip Hop , ฯลฯ

ซี่งจะเป็นดนตรีแนวอะไรก็ได้ ยกเว้นที่มีจังหวะหนักๆเท่านั้น และอับบั้มที่ทำให้ดนตรี Chill Out เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในเมืองไทย

คือ Café Del Mar ที่เป็นเพลงที่เปิดในคลับซื้อเดียวกันในเกาะ Ibiza ประเทศสเปน ส่วนอับบั้น Chill Out ที่ถือว่าเป็นแนวหน้านั้น

คงจะเป็นอับบั้ม Costes ที่เป็นเพลงสำหรับเปิดใน Boutique Hotel ในประเทศฝรั่งเศสมิกซ์โดย Stephane Pompoungac

กับอับบั้ม Buddha Bar ที่เป็นเพลงที่เปิดในบาร์ชื่อเดี่ยวกันในประเทศฝรั่งเศสโดย Claude Challe


ที่มา blog ของ DJ.Phong

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=djphong&month=04-2007&date=04&group=1&gblog=5
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

jo..1234

28/08/2007 07:06:59
ข้อมูลเพียบเลย

แล้วที่ว่า ร็อคสะเดิดนี่ล่ะครับ.....
    ร็อคแสลงอีก5555555555555


ขอให้สนุกกับการฟังครับ    
   
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

พยัคย๋แพะ

28/08/2007 07:17:49
เหอะๆๆ ผมพกเพลงไปให้พี่เบียสฟัง ครับ แค่นี้พอแล้ว :158:
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

tuzh

28/08/2007 07:30:46



โอ้!...เยอะโขเลย ถ้าไม่ขี้เกียจอ่านซะก่อน จะได้ประโยชน์มากเลยครับผม...5555
ปล.คุณ jo..1234 ครับ ร็อคสะเดิด กับร็อคแสลงเนี่ย ได้รับอิทธิพลมาจากร็อคคองคอยครับ เป็นกันตรึมร็อค
แนวดนตรีฟังง่ายมีกลิ่นอายของต่างประเทศ(ประเทศเพื่อนบ้าน)
ฟังแล้วนิ้วจะกระดิก แขนจะชูขึ้นอยู่เรื่อยๆ หยุดไม่ค่อยอยู่ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

เบียส

28/08/2007 11:23:54



เฮ้ย อย่าเชื่อกันมากนะโว๊ย แพะ บางทีก็มั่วเหมือนกันนะ555
อย่างบางแนวผมก็เพิ่งจะมารู้จัก ก็เพราะพวกเรานี่แหละ

เพราะว่าได้คุยได้ถามพวกเราบ้าง คุยกะคนโน้น มั่ง คนนี้มั่ง
จะว่ากันไปแล้ว ถ้าเราฟังเพลงมาเยอะ เยอะ

แล้วได้แลกเปลี่ยน ทัศนะในการฟังกันมั่งเนี่ย เราจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะครับ

เดี๋ยวนี้แนวดนตรีมันผสมข้ามสายพันธุ์ุุ กันเยอะแยะไปหมดเลย ครับ

จนบางครั้งแทบแยกไม่ออกหรือเรียกไม่ถูกเลยล่ะ ผมคิดว่า ดนตรีจาก ยุค 60-70 นั้นเป็นยุคที่ชัดเจนครับ ชัดเจนในเรื่อง

แนวเพลง แบบว่าเราสามารถฟังรู้ได้เลยว่า อ่อ นี่ ป๊อป มันเป้นอย่างนี้นะ อ่อ ร๊อคมันเป้นอย่างนี้ บูลส์ เป็นอย่างนี้

แจ๊สเป้นอย่างนี้ 555 ดนตรีมันก็ไม่หยุดอยู่กับที่ครับ มันก็โตตามยุคตามสมัยเหมือนกัน 555

ก็น่าสนุกครับ อีก 10 ปีข้างหน้า จะพัฒนาไปอีกแค่ไหน จะเรียกแนวเพลงกันถูกหรือไม่ จะมี

แนวเพลงใหม่ๆเกิดขึ้นมากอีกแค่ไหน นี่แหละครับ ผมว่า น่าติดตามที่ซู๊ด อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 9

นายมั่นคง

28/08/2007 13:58:09



โย่วววว 555 ความรู้ใหม่ๆ หลายอันเลยวุ๊ย เดี๋ยวจะมานั่งไล่อ่านอีกรอบดีกว่าเรา 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
"เพื่อนๆใช้อะไรแยกประเภทของเพลงครับว่าเป็นเพลงแนวไหน"