
เมื่อเดือนก่อนมีลูกค้าคันอยากโม Fiio X3K หลังจากที่เห็นผมแนะนำเรื่องการโม DAP ในบอร์ด ก็นับว่าโชคดีของผมที่แกมาถามเอาตอนนี้ ถ้ามาถามเมื่อตอนที่ Fiio X3ii ออกมาใหม่ๆนั้นผมก็เห็นว่า spec opamp เค้าก็เลือกมาโอเคดี พอได้ฟังตัวจริงแล้วผมก็ว่ามันฟังลงตัวอยู่แล้วไม่รู้จะแก้อะไรต่อคงได้ปฏิเสธไป แต่เนื่องจากผมกำลังทำวิจัยพัฒนาการโม DAP ขั้นต่อไปอยู่ จึงเจอเบอร์น่าสนใจที่น่าจะคุ้มค่าสำหรับการ upgrade X3K ได้จริงเลยตบปากรับคำไป
หลังจากได้เครื่องมานะครับ ผมก็แกะเปิดดูข้างในว่าใช้ของอะไรพอแก้อะไรได้บ้าง งานนี้เห็นแล้วก็หมูล่ะครับ มี opamp 3 ตัวที่เปลี่ยนได้ นอกนั้นก็ไม่มี c electrolyte อะไรให้เปลี่ยน ก็ดูแล้วมีแต่ opamp เบอร์คุ้นๆหน้าอย่าง OPA1642 กับ LMH6643 คงไม่มีอะไรมาก ผมก็สั่งเบอร์ opamp upgrade สำหรับ opa1642 ไปพร้อม buffer อีก 3 เบอร์เผื่อจูน
พอได้ของมาก็เอาไปโมเมื่อวันอาทิตย์นี้นะครับ ปรากฎว่าเบอร์ buffer ที่ตั้งใจไว้ว่าจะโมให้ได้กำลังขับเสียงดีแบบ DX90 ในราคาย่อมเยาว์ไม่ถึงหมื่นก็ต้องฝันสลายมลายหายไป ตอนต่อหูฟัง full size ไม่มีปัญหาอะไรฟังดีมากก็จริง แต่เนื่องจากเกิดการ oscillate เวลาต่อหูฟัง inear ที่มี c ใน crossover ทำให้ต้องพับเบอร์นี้ไป ทำมายยยยย #ร้องไห้หนักมาก พอนั่งหาสาเหตุกับช่างดูพบว่ามันต่อขา opamp ตรง input กับ ขา current feddback มา short กันเป็น direct short ซึ่งต้องต่อ r คร่อมระหว่างขา input กับขา current feedback แทนถึงจะพอทำงานได้โดยไม่เกิดปัญหาดังกล่าว
เนื่องจากผมไม่อยากทำให้บอร์ดช้ำหรือแก้ไขอะไรจากเดิมเพราะเราต้องการแค่ทำการ mod ระดับปลอดภัยโดยใช้ part ที่ดีขึ้น ไม่ต้องการไปแก้ไขวงจรอะไร จึงได้ลองวิเคราะห์ตัว buffer สำรองอื่นๆดูว่าจะพอใช้ได้ไหมแทน เริ่มจากเบอร์รุ่นใหญ่ขึ้นของชิพตระกูลเดิมก่อนละกัน ก็ใช้ไม่ได้อีก ไม่เป็นไร เรายังมีอีกตัวน่า มันต้องได้สักตัว เอาเบอร์สุดท้ายมาไล่อ่าน data sheet ดูก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน โอ้วเย็คคคคค นี่ขนาดตูไล่อ่าน spec sheet อย่างละเอียดหมดก่อนแล้วนะยังเจอแบบนี้ได้ ต่อไปเวลาจะดู opamp อะไร ต้องมานั่งจิ้มขาไล่วงจรหมดแล้วไล่ดู paper ทั้งหมดแทนก่อนสินะ ในเมื่อหามาหมดแล้วไม่มีเบอร์ที่พอจะเป็น buffer ที่ใช้ได้ก็ใส่เบอร์เดิมกลับไปละกันด้วยตะกั่วที่ดีขึ้นจากเดิมก็ยังดี ไว้หาข้อมูลเพิ่มเติมมาได้ค่อยว่ากันใหม่ หลังจากนั้นก็ damp chip ปิดฝากลับมามาอย่างผู้ผิดหวัง ฝากไว้ก่อนเถอะโอลาน
หลังจากกลับบ้านมาก็รีบโทรหาคนสั่งโมอธิบายสถานการณ์ทันทีแล้วจะรายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ หลังจากหาข้อมูลเพิ่มเติมมานานทั้งคืนก็เจอเบอร์หนึ่งที่น่าสนใจว่าจะใช้ได้ แต่ปัญหาคือเบอร์นี้ก็ไม่มีให้สั่งในไทยเหมือนเบอร์ก่อนหน้านั้น หากจะใช้ต้องสั่ง opamp ใหม่จากต่างประเทศเสียค่าส่งอีกพันกว่าบาท ตอนนี้โดยค่าส่งกับภาษีไปแล้ว 1500 บาท ถ้าโดยค่าส่งอีกรอบอย่าว่าแต่กำไรค่าโมค่า software อะไรเลย แค่ของที่สั่งมาก็ได้เข้าเนื้อแน่นอน หลังจากที่นั่งคิดอยู่ว่าจะทำอย่างไรดีนั้นได้สังเกตเห็นว่าการกินกระแสไฟระหว่าง opamp เดิมกับ opamp ใหม่นั้นต่างกันมาก ของเดิมจะเกินกระแส 2.7mA ส่วนตัวใหม่จะกินกระแส 11mA ถ้าเทียบกับการกินกระแส opamp ทั้งหมด ก่อนโม opamp จะกินไฟ 6.3mA หลังโมจะกินไฟ 14.6mA กินไฟมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว แม้แบต X3K จะเยอะถึง 3000mah อยู่ได้เกิน 10 ชมก็ตาม แต่ด้วยอัตราการกินกระแสของ opamp ที่มากกว่าเดิมเกินเท่าตัวแล้วก็ยากที่จะคาดคะเนได้ว่าแบตจะอึดพอเกิน 10 ชม ได้เหมือนเดิมรึเปล่า หรือจะเหลือแค่ 7-8 ชม ตัวแบตจะบวมจากคสวามร้อนของ opamp ที่กินกระแสสูงกว่าเดิมเป็น 11mA ไหม
หลังจากที่นั่งคิดวิเคราะห์ถึงการกินไฟ ความร้อน ความปลอดภัยต่างๆทั้งหมดดูแล้ว ผมจึงตัดสินใจที่จะเลือกใช้ buffer เบอร์เดิมต่อไป และได้คุยกับเจ้าของเครื่องเป็นที่เข้าใจกันดีแล้วว่าเราทำอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วจริงๆ ด้วยการออกแบบแล้วไม่มีเบอร์ที่จะตอบโจทย์ได้ครอบคลุมกว่าตัวนี้อีกแล้ว หากมีใครที่ไม่รู้เรื่องราวเหล่านี้มาเปิดเครื่องดู ผมคงไม่พ้นโดนด่าว่าแค่เปลี่ยน opamp 2 ตัวเนี่ยนะคิด 3 พัน เค้าคงไม่สนใจหรอกว่านอกจาก opamp แล้วผมทำอะไรไปบ้างเพราะเค้าไม่รู้เรื่องอะไรเหมือนคนที่ส่ง DAP มาให้ผมโม เค้าคงไม่รู้หรอกว่าเบื้องหลังการโมอันเรียบง่ายที่ดูไม่มีอะไรนี้ผมต้องผ่านการวิจัยค้นคว้ามามากแค่ไหน
ที่มาขอระบายก็อยากจะบอกเพื่อนๆที่อ่านว่างานโมมันไม่ใช่ว่าจะทำอะไรก็ทำได้ง่ายเสมอไป ไม่ใช่แค่หยิบ r/c/opamp กับสายอะไรต่างๆมากองบนเครื่องแล้วมันจะรวมเข้ามาได้อย่างที่ต้องการทันที เห็นบางคนพูดเหมือนการโมเป็นการหลอกขายของเล่นๆฟันกำไรสบายๆ ผมอยากบอกให้รู้ว่าอย่างน้อยๆก็มีคนที่เค้าตั้งใจจะโมและมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค้าจริงๆในงบประมาณที่ได้รับมา หวังว่าเรื่องนี้จะช่วยให้หลายคนเข้าใจศิลปะของงาน DIY และงาน modify บ้างนะครับ