Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

เที่ยวสังขละบุรี - สะพานไม้มอญ - ช่องเขาขาด

นายมั่นคง

16/04/2013 20:21:06
4,294



เมื่อ 3-4 วันที่่ผ่านมาในช่วงสงกรานต์ ผมมีโอกาสได้ไปสังขละบุรี หลังจากร่ำๆว่าจะไปหลายครั้ง จนแม้กระทั่งนาทีสุดท้ายก่อนสงกรานต์ ก็ยังนึกขยาดว่าไม่อยากไป เพราะอากาศน่าจะร้อนจนตับสุก การไปเที่ยวชายทะเลน่าจะสะดวกกว่า แต่สุดท้ายผมก็ตัดสินใจเก็บเสื้อผ้าแล้วมุ่งหน้าไปสังขละบุรีทันที

เช็คเส้นทางจากแอพ google map แล้วอุ่นใจ มันคำนวนให้ผมเบ็ดเสร็จว่า เดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่งถึงสังขละ หรือ 3 ชั่วโมงกว่าถ้าพักที่ช่องเขาขาด(เลยไทรโยคน้อย) มีอะไรหลายอย่างที่ผมอยากจะประท้วงและแจ้งความดำเนินคดีกับ Google เหตุใดฤา?? เพราะเจ้า Google map นี่ล่ะทำเอาผมหัวปั่น มันระบุพิกัดผิดกันไป 30 กิโลเมตร

ผมถ่ายภาพมาฝากเล็กน้อย ซึ่งน่าจะมีหลายภาพที่อยู่ในขั้นพอทนได้ และหลายภาพอาจจะไม่ผ่านมาตรฐานของสะพานมอญที่สังขละบุรี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

นายมั่นคง

16/04/2013 20:28:30
4,294



การไปสังขละบุรีนั้นไม่ง่ายและไม่ยาก คือให้ไปหาเมืองกาญจน์ให้เจอ พอเจอแล้วไม่ต้องเข้าแต่ให้ขับไปป้ายที่บอกว่าไทรโยคน้อย ผมขับไปด้วยมั่นใจใน Google map มาก

คราวที่แล้ว Google map ทำพิษผมไปครั้งนึงตอนที่อยู่อุดรธานี คราวนี้มันทำพิษอีกครั้ง ผมกรอกที่อยู่ของที่พัก และ Google map ก็จัดให้อย่างแจ่ม แต่ปรากฏว่าผมหาอย่างไรก็ไม่เจอ โทรเถียงกับเจ้าของรีสอร์ทว่าผมเช็คจาก Google map อย่างดี

สุดท้าย Google map บอกพิกัดผิด ผิดแบบไม่น่าอภัย คือคนละเรื่องไปเลย คืนนั้นผมพักที่ช่องเขาขาด ซึ่งทางเข้าเป็นค่ายทหาร แล้วไปบานข้างในเป็นสารพัดรีสอร์ทว่างั้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

นายมั่นคง

16/04/2013 20:29:22
4,294



ใครเคยไปช่องเขาขาด คงจำสะพานอันนี้ได้ดี ผมไม่เห็นว่ามันจะมีอะไรยั่วยวนใจจนต้องไปหา...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

นายมั่นคง

16/04/2013 20:31:15
4,294



ใครไปที่ช่องเขาขาด มีพิพิธภัณฑ์เล็กๆ มีฉายวีดีโอให้ดู เดี๋ยวตอนท้ายสุด ผมจะเอาประวัติมาให้อ่านกัน ผมว่าตรงนี้มันมีกลิ่นความตายของเชลย กลิ่นสงคราม และกลิ่นความทรมานโชยมากรุ่นๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

นายมั่นคง

16/04/2013 20:32:48
4,294



คืนนั้นนอนในช่องเขาขาด สิ่งที่ทรมานอย่างยิ่งคือ ทางรีสอร์ทไม่มีทีวีให้ เค้ามีนโยบาย noise free คือให้ทุกๆคนงดใช้อุปกรณ์ที่ส่งเสียง และให้นอนกับธรรมชาติให้มากที่สุด

แต่โชคดีเค้าแอบมี Wifi ให้ ไม่งั้นตายแน่ๆๆๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

นายมั่นคง

16/04/2013 20:35:51
4,294



การนอนในป่าที่เงียบสงัด เสียงหริ่งเรไรกลายเป็นสิ่งธรรมดาเหลือเกิน ผมได้ยินสรรพเสียงสารพัดที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน เป็นทั้งเสียงสัตว์กลางคืน เสียงแมลง และเสียงอะไรก็มิอาจเดาได้

ผมเจอมิตรต่างพันธุ์ 1 ตัว ในห้องน้ำที่ผมนั่งถ่ายอุจจาระ มันมองผม และผงกหัว รวมถึงส่งเสียงเป็นทำนองว่า เสร็จแล้วราดน้ำด้วย....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

นายมั่นคง

16/04/2013 20:38:02
4,294



ใครชอบธรรมชาติมากๆ แนะนำให้หาโอกาสไปพักในช่องเขาขาด ไปเดินดูทางรถไฟที่ครั้งหนึ่งเชลยศึกได้ช่วยกันขุด เดินดูบรรยากาศที่เงียบวังเวง ไร้เงาร้านเซเว่น....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

นายมั่นคง

16/04/2013 20:40:37
4,294



ออกจากช่องเขาขาด ผมมุ่งหน้าตรงไปทางอำเภอทองผาภูมิ เส้นทางถึงทองผาภูมิถือว่าโอเค แต่จากทองผาภูมิไปสังขละบุรี ผมว่ามันแฝงอันตรายนิดๆ ทางขึ้นเขาและคดเคี้ยวตลอด

ก่อนถึงสังขละ จะมีป้ายให้เลี้ยวไปเที่ยวด่านเจดีย์สามองค์ เอาซะหน่อย ไปให้สุดเขตตะวันตกซะเลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

นายมั่นคง

16/04/2013 20:42:27
4,294



ไปเที่ยวด่านเจดีย์ 3 องค์พอหนังกำพร้าได้เจอแดดได้ที่ ผมก็แอบข้ามเข้าไปฝั่งพม่านิดหน่อย แต่พอข้ามไปก็ต้องล่าถอยทัพกลับมาที่ฝั่งไทย แปลกมากฝั่งไทยไม่เล่นสงกรานต์เท่าใดนัก

แต่ทางฝั่งพม่า เล่นกันระเนระนาดหมด

เจอแล้ว สะพานไม้มอญที่อุตส่าห์ดั้นด้นมา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 9

นายมั่นคง

16/04/2013 20:45:14
4,294



สะพานไม้แห่งนี้ ตอนนี้ถูกบูรณะด้วยไม้ที่คัดขนาด ทุกอย่างถูกซ่อมทำโดยนายช่าง ต่างจากเดิมที่ทำเอาตามกำลังภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งผมว่ามันทำให้ขาดจิตวิญญาณของท้องถิ่นไป

นี่ยังนึกในใจว่า ถ้าเค้าดำริทำเป็นสะพานปูนเมื่อไร คราวนี้สังขละบุรีจะเหลืออะไรไว้ให้คนได้ชมกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 10

นายมั่นคง

16/04/2013 20:46:01
4,294



ถ่าย ถ่าย ถ่าย ถ่ายทุกอย่างที่เป็นสะพานไม้ เพราะเรามาสังขละบุรี ก็เพราะสะพานไม้อันนี้นี่นา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 11

นายมั่นคง

16/04/2013 20:46:44
4,294



แล้วคืนนั้นก็นั่งชมอาทิตย์ตกตรงหลังสะพานไม้มอญอีก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 12

นายมั่นคง

16/04/2013 20:47:52
4,294



แหกขี้ตาตื่นเช้าตั้งแต่หกโมง ทั้งที่ไม่เคยตื่นมาก่อน ภาพสะพานไม้อยู่ท่ามกลางหมอก เป็นภาพที่งดงามอีกภาพหนึ่งของเมืองสังขละบุรี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 13

นายมั่นคง

16/04/2013 20:48:44
4,294



มีการตักบาตรบริเวณสะพานไม้มอญ คนบาปหนาอย่างผมต้องเอาซะหน่อย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 14

นายมั่นคง

16/04/2013 20:49:14
4,294



เณรองค์นี้มองหน้าผมอย่างไม่ไว้ใจ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 15

นายมั่นคง

16/04/2013 20:53:09
4,294



เดินข้ามสะพานมอญหน่อยซิ ดูว่าฝั่งนู้นเค้ามีอะไรกัน

ใครข้ามไปฝั่งมอญ ว่ากันว่าต้องกินขนมจีนหยวกกล้วยให้จงได้ ใครไม่กินถือว่ามาไม่ถึงสังขละบุรี และมิอาจจะเป็นนักชิมที่สมบูรณ์แบบได้

งั้นผมพลาดกับเค้าได้เหรอ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 16

นายมั่นคง

16/04/2013 20:53:42
4,294



หน้าตามาแบบมืออาชีพ ใครมาสังขละบุรี ขอให้เดินข้ามไปสุดสะพานแล้วหากินซะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 17

นายมั่นคง

16/04/2013 20:54:34
4,294



แล้วผมก็เหมาเรือไปเที่ยววัดจมน้ำ เป็นไฮไลท์อีกอย่างที่คนมาสังขละบุรีห้ามพลาด เรือหาง่ายกว่าหาโอเลี้ยง ขอให้ตะโกนขึ้นมาลอยๆว่าอยากนั่งเรือ

จะมีคนเดินมาหาท่านและบอกว่า เชิญด้านนี้เลยค่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 18

นายมั่นคง

16/04/2013 20:55:28
4,294



เหมาเรือ 300 บาท เค้าจะพาเราขับลอดใต้สะพาน ทำให้ชีวิตเรามีชีวิตชีวามากขึ้น เพราะมีมุมให้เราถ่ายสะพานไม้มอญเพิ่มขึนอีก

เอ้า ถ่าย ถ่าย ถ่าย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 19

นายมั่นคง

16/04/2013 20:56:59
4,294



หลายท่านบอกว่าแทบจะอ้วกมาเป็นสะพานอยู่แล้ว จริงๆการเที่ยวสังขละบุรี จุดศูนย์รวมก็คือสะพานนี่ล่ะ ทุกคนมีโจทย์เดียวกัน แล้วพยายามตีโจทย์ให้ออกมาเป็นรูปภาพของตัวเองให้ได้ก็แล้วกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 20

นายมั่นคง

16/04/2013 20:58:16
4,294



ผมนั่งเรือไปที่เมืองบาดาล หรือวัดจมน้ำ เป็น unseen อีกอันที่โอเคมาก ใช้เวลาไปกลับราวๆ 45 นาที จากสะพานไม้มอญถึงวัดจมน้ำ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 21

นายมั่นคง

16/04/2013 21:00:26
4,294



ลุงหน้าตามาตรฐานของสังขละบุรีต้องประมาณนี้ คือผิวคล้ำ เกรียมแดด และสวมหมวกมาตรฐานของสังขละบุรี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 22

นายมั่นคง

16/04/2013 21:01:14
4,294



ไกด์ตัวน้อยที่คอยเล่าอธิบายให้นักท่องเที่ยว ติ๊บไปร้อยนึงสำหรับความขยัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 23

นายมั่นคง

16/04/2013 21:01:52
4,294



มาแล้วถ่ายซะหน่อยกับวัดจมน้ำ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 24

นายมั่นคง

16/04/2013 21:02:31
4,294



นี่ก็เด็กน้อยที่คอยช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเล็กๆน้อยๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 25

นายมั่นคง

16/04/2013 21:03:02
4,294



ใครมาที่สังขละอย่าลืมแวะเจดีย์นี้ด้วย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 26

นายมั่นคง

16/04/2013 21:04:41
4,294



หลังจากที่ค้างที่สังขละอีกคืน ผมก็ล่าถอยทัพกลับกรุงเทพ และแวะที่เมืองกาญจน์เพื่อถ่ายภาพกับสะพานอีกหน่อย ก่อนที่จะมุ่งหน้ากลับบ้านว่างั้น

ภาพยังมีอีกครับ โดยเฉพาะที่ช่องเขาขาด ผมยังมีประวัติต่างๆที่เตรียมไว้เล่าต่างหาก รอดูด้วยล่ะ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 27

jomjomjom

16/04/2013 21:13:16
5
โกโบริย์
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 28

นายมั่นคง

16/04/2013 21:16:59
4,294
555 ผมไปจนได้ครับพี่ทศพรย์ 555

งานนี้ใช้ไอโฟน 5 ถ่าย และแต่งด้วย app Snapseed จ้าๆๆๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 29

นายมั่นคง

16/04/2013 21:20:02
4,294


ก่อนอื่นขอให้ชมสารคดีของช่องเขาขาดก่อนว่ามีที่ไปที่มาอย่างไรนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 30

Kai

16/04/2013 21:34:40
2



อ้าว...ผมเพิ่งกลับจากสังขละเมื่อสักพักเองครับ เจอตุ๊กแกเหมือนกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 31

นายมั่นคง

16/04/2013 21:37:28
4,294
เฮ้ยไก่ย์ๆๆๆ เฮียกลับมาเมื่อวานตอนเที่ยงว่ะ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 32

Kai

16/04/2013 21:46:03
2
ผมไปถึงเมื่อวานตอนบ่ายอ่ะครับ T_T
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 33

คนนี้

16/04/2013 22:28:19
0
เคยไปเดินเล่นบนสะพานรถไฟสายมรณะ เมื่อหลายปีก่อน รู้ว่าสร้างยาก แรงงานที่สร้างสะพานตายไปมาก เพิ่งเคยเห็นสารคดีประวัติการสร้าง ไปทำซาวนด์แถวใกล้ๆสะพานนั่น มีเวลานิดหน่อย เลยขึ้นไปเดินเที่ยว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 34

นายมั่นคง

16/04/2013 22:56:32
4,294



คัดลอกจากคมชัดลึกมาให้อ่านกันก่อนนะครับ รูปประกอบผมหาจากวีดีโอเก่าๆ ครับ

-----------------------------------------------------

ช่องเขาขาด...เส้นทางสายทาส


ช่องเขาที่แบ่งภูเขาหินขนาดย่อมๆ ขาดออกเป็นสองฝั่ง มีทางทอดยาวเข้าไป ดูอย่างไรก็เกิดจากฝีมือมนุษย์มากกว่าธรรมชาติสรรค์สร้าง เพื่อใช้เป็นทางรถไฟจากกาญจนบุรีไปพม่า ถ้าเป็นยุคนี้คงเสียเวลาไม่นานนัก หากแต่เมื่อ 70 ปีก่อน ณ ที่แห่งนี้ได้กลายเป็นนรกสันดาปบนดินอย่างแท้จริง ที่ซึ่งเชลยศึกต้องสังเวยชีวิตมากมายเหลือคณานับ ว่ากันว่า 1 หมอนรางรถไฟเท่ากับ 1 ชีวิตของเชลยศึก


ปัจจุบันช่องเขาขาดได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ อยู่ภายในกองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี จากทางหลวงหมายเลข 323 ไปทางทิศตะวันตกของเมืองกาญจน์ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 64-65 ต้องต้อนรับทั้งชาวไทยและต่างชาติกว่า 8 หมื่นคนต่อปี ที่เดินทางมาร่วมรำลึกและไว้อาลัยต่อเชลยศึก ตลอดจนแรงงานชาวเอเชียที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2


สงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อตัวขึ้นในยุโรปเมื่อเยอรมันภายใต้การนำของผู้นำจอมเผด็จการ "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" ได้ยกกองทัพบุกโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2482 ต่อมาปลายปี 2484 สงครามได้ขยายเข้าสู่ยุโรปและตะวันออกกลาง ต่อมาญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าร่วมสงครามหาเอเชียบูรพา โดยวางแผนบุกอาณานิคมของอังกฤษ ฮอลแลนด์ และอเมริกา ในเอเชียแปซิฟิก


วันที่ 7-8 ธันวาคม 2484 สงครามในแปซิฟิกเริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อกองทัพญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ (Pearl Harbour) เมืองท่าสำคัญของมลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา จุดชนวนให้อเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเต็มตัว หลังจากรอดูท่าทีอยู่นาน
กลางปี 2485 ทหารลูกพระอาทิตย์เข้าสู้รบกับกองทหารอังกฤษในพม่า โดยมีจุดประสงค์หลักคือต้องการรุกคืบเข้าสู่อินเดีย อาณานิคมของสหราชอาณาจักร แต่การทำสงครามกับพม่า ทหารญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้เส้นทางการขนส่งกองกำลังและเสบียง ที่ปลอดภัยมากกว่าการเดินเรือทะเลระหว่างสิงคโปร์กับย่างกุ้ง เพราะล่อแหลมต่อการถูกโจมตีจากฝ่ายพันธมิตร


ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงตัดสินใจสร้างทางรถไฟที่มีความยาวประมาณ 415 กิโลเมตร จาก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผ่านผืนป่าและภูเขาสูงชันไปถึง อ.ตันบูชายัต ในประเท..พม่า ด้วยเหตุนี้กองทัพญี่ปุ่นจึงรวบรวมเอาแรงงานหลายเชื้อชาติ ทั้งแรงงานชาวเอเชียราว 2.5 แสนคน และเชลยศึกชาวออสเตรเลีย อังกฤษ ฮอลแลนด์ และอเมริกา มากกว่า 6 หมื่นคน มาก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ขึ้น


การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นที่ตอนใต้ของพม่าช่วงเดือนตุลาคม 2485 ปลายฝนต้นหนาว ขณะเดียวกันก็มีการก่อสร้างทางรถไฟในประเทศไทย เพื่อไปบรรจบกันที่แก่งคอยท่าในเขตไทย ซึ่งกินเวลานานนับขวบปี

มีบันทึกหลายแห่งระบุถึงความโหดร้ายทารุณ ที่บรรดาเชลยศึกและแรงงานได้รับ ระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ โดยเฉพาะการขุดเจาะช่องเขาเพื่อวางรางรถไฟ กองทัพญี่ปุ่นได้นำเชลยศึกชาวออสซี่ 400 คน ประเดิมขุดเจาะ และเมื่อเห็นว่าการก่อสร้างทางเป็นไปด้วยความล่าช้า จึงเพิ่มเชลยศึกเข้าไปอีก ส่วนใหญ่เป็นทหารออสซี่และจากสหราชอาณาจักร

ในบันทึกที่ปรากฏในพิพิธภัณฑสถานช่องเขาขาด บรรยายเหตุการณ์เอาไว้อย่างละเอียดว่า บรรดาเชลยศึกเหล่านี้ต้องใช้ค้อนหนัก 8 ปอนด์ สว่าน ระเบิด เสียม พลั่ว จอบ ขุดเจาะช่องเขาทีละนิดๆ แล้วขนใส่ตะกร้าหวายอันเล็กๆ ขนเศษหินและดินออกไปทิ้ง พวกเขาทำงานตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ได้หยุดหย่อน ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เพราะนอกจากงานหนักและทารุณแล้ว ยังมีโรคไข้ป่าเล่นงานเชลยศึก หลายคนเจ็บป่วยล้มตายลงเป็นใบไม้ร่วง


ขณะก่อสร้างเส้นทางสายนี้เป็นช่วงมรสุม เชลยศึกถูกวิศวกรชาวญี่ปุ่นและผู้คุมชาวเกาหลี บังคับให้ทำงานวันละ 18 ชั่วโมง กินอาหารวันละ 2 มื้อ คือ ข้าวกับผักดองเค็ม ระหว่างการก่อสร้างสะพานรถไฟให้เสร็จทันกำหนด เหล่าเชลยศึกฝ่ายพันธมิตรขนานนามช่องเขาขาดว่า "ช่องนรก" หรือ Hell Fire Pass ด้วยเหตุที่พวกเขาถูกบังคับให้ทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืน โดยอาศัยแสงสว่างจากคบไฟที่จุดพรึ่บจนสว่างไสวเหมือนกลางวัน
"เชลยศึก 6 หมื่นคน 20 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิต แรงงานอีกไม่ต่ำกว่า 9 หมื่นคน ต้องสังเวยชีวิตระหว่างการก่อสร้างรถไฟแห่งนี้ จนมีผู้เปรียบเปรยว่า 1 หมอนรางรถไฟเท่ากับ 1 ชีวิตของเหล่าเชลยศึก" ทิม เอี่ยมทอง อดีตผู้ใหญ่บ้านท่าทุ่งนา หมู่ 2 ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี วัย 60 เศษ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มานาน ได้ฟังคำบอกเล่าต่อๆ กันมาจากรุ่นปู่ย่าตายาย กล่าวกับ "คม ชัด ลึก"


เมื่อทางรถไฟสายดังกล่าวสร้างเสร็จสิ้นภายในเวลา 20 เดือน เชลยศึกบางส่วนถูกส่งกลับไปสิงคโปร์ บางส่วนถูกกักขังไว้ในประเทศไทย กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เชลยศึกที่หลงเหลืออยู่จึงถูกส่งกลับประเทศ พร้อมกับการดูแลอย่างเหมาะสม แม้ว่าจะมีชีวิตรอดกลับสู่มาตุภูมิ แต่ความทรงจำอันแสนเลวร้ายที่ได้รับระหว่างการอยู่ใต้อำนาจของกองทัพญี่ปุ่น กลายเป็นบาดแผลในใจที่ยากเยียวยา


ส่วนเชลยศึกที่นำชีวิตมาทิ้งไว้ ณ ที่แห่งนี้ ได้รับการขุดร่างไร้วิญญาณไปทำพิธีฝังใหม่ ณ สุสานเครือจักรภพที่ตันบูชายัต ประเท..พม่า สุสานช่องไก่ และสุสานกาญจนบุรี ประเทศไทย ส่วน..พเชลยศึกชาวอเมริกันถูกส่งกลับไปที่สหรัฐ


แม้วันนี้ที่ช่องเขาขาดจะปราศจากคบไฟ แรงงานเชลยศึก และการทรกรรม แต่หินทุกก้อน ต้นไม้ทุกต้น ก็มีเรื่องราวให้เล่าขานถึงเหตุการณ์เมื่อวันวาน วันที่เชลยศึกและแรงงานนับหมื่นนับแสนคนเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่ โดยไม่มีวันได้หวนกลับคืนสู่มาตุภูมิไปชั่วนิรันดร์


ประวัติศาสตร์มีชีวิต


ช่องเขาขาดเป็นทางแคบๆ ตัดผ่านเนินเขา มูลดิน ทางรถไฟ และสะพาน ปัจจุบันได้กลายเป็นโครงการพิพิธภัณฑสถานช่องเขาขาด เพื่อรำลึกถึงเหล่าทหารที่ต้องทุกข์ทรมานจากการก่อสร้างเส้นทางสายทาสนี้ โดย เจ จี ทอม มอรีส ชาวออสเตรเลีย หนึ่งในเชลยศึกที่อยู่ร่วมชะตากรรมนรกบนดินครั้งนั้น เป็นคนริเริ่มพัฒนาและบำรุงรักษาไว้ให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ถึงความโหดร้ายที่เชลยศึกได้รับระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ขณะอายุได้ 17 ปี ทอมสมัครเข้าเป็นทหารยศสิบโท กองพลน้อยที่ 22 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2484 เขาถูกจับเป็นเชลยศึกระหว่างทำสงครามที่สิงคโปร์ เดือนกุมภาพันธ์ 2485 หลังจากนั้นถูกนำตัวมากักขังในฐานะเชลยศึกนานถึง 3 ปี ในกองกำลังเอฟอร์ซ (A-Force) ระหว่างถูกคุมขังทอมถูกบังคับให้ทำงานก่อสร้างทางรถไฟไทย-พม่าสายประวัติศาสตร์นี้ และถูกนำตัวไปขังไว้ตามค่ายทหารต่างๆ ถึง 10 ค่าย จนเป็นต้นเหตุให้เขาติดเชื้อไข้มาลาเรียและโรคบิด ต่อมาเขาได้ทำหน้าที่ทหารเสนารักษ์ คอยช่วยเหลือเชลยศึกคนอื่นๆ ในค่ายพยาบาลบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 55


หลังพ้นจากนรกขุมสุดท้าย ทอมได้กลับบ้านที่ออสเตรเลียและอาศัยอยู่ที่นั่นนานกว่า 40 ปี เขาจึงตกลงใจกลับมาเมืองไทยอีกครั้ง เพื่อหาที่ตั้งของจุด "ช่องเขาขาด" (Hell Fire Pass) เมื่อปี 2527 และความพยายามอันมุ่งมั่นของเขาก็ประสบความสำเร็จ นอกจากจะพบที่ตั้งของช่องเขาขาดที่อยู่ใจกลางป่าทึบแล้ว ทอมยังมีความประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะบูรณะพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตที่ต้องนำเอาเลือดเนื้อและวิญญาณมาสังเวยให้แก่ทางรถไฟสายนี้


โดยทอมได้นำเสนอข้อมูลต่อรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อของบประมาณบูรณะพัฒนาช่องเขาขาดให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ในลักษณะกองทุน โดยเงินก้อนแรกถูกส่งมาเมื่อปี 2530 ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างอนุสรณ์สถานช่องเขาขาด ต่อมาปี 2537 ได้รับเงินสนับสนุนอีกครั้ง จึงนำไปใช้สร้างพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด เพื่อจัดแสดงมินิเธียเตอร์และรวบรวมข้อมูลภาพถ่าย ข้าวของเครื่องใช้ ระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเมื่อ 70 ปีก่อน โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2542


"พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด"

ถ้าย้อนเวลากลับไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อยืนอยู่ในจุดที่เรียกว่า "ช่องเขาขาด" ในพื้นที่ ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ก็จะมองเห็นเชลยศึกจากชาติสัมพันธมิตรนับพันนับหมื่นคนถูกทหารญี่ปุ่นบังคับ และทรมานให้ใช้แรงงานสร้างเส้นทางรถไฟไปพม่า
เส้นทางรถไฟสายนี้มีจุดเริ่มต้นที่สถานีหนองปลาดุก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผ่าน จ.กาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ โดยมีปลายทางที่เมืองตันบูซายัด ประเท..พม่า

รวมแล้วมีระยะทางในเขตประเทศไทยกว่า 300 กิโลเมตร แต่กำหนดเวลาให้สร้างเสร็จภายใน 1 ปีแบบไม่มีวันหยุดพัก จึงทำให้เชลยศึกที่อ่อนล้า ขาดอาหาร และโดนไข้ป่าเล่นงานต้องล้มตายราวใบไม้ร่วงนับแสนคน

ช่องเขาขาดมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "Hell Fire Pass" หรือ "ช่องไฟนรก" เพราะการสร้างทางรถไฟจุดนี้มีความยากลำบากแสนสาหัส เพราะบางช่วงต้องตัดภูเขา มุดฝ่าเข้าไปในป่าดงดิบ ระเบิดหินที่ช่องเขาขาด ท่ามกลางกองไฟอันร้อนราวไฟนรกที่ถูกจุดไว้ตลอดวันตลอดคืน

จากประวัติศาสตร์อันโหดร้ายของมนุษยชาติดังกล่าว จึงมีการจัดสร้าง "พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด" เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจคนรุ่นหลังให้รู้ซึ้งถึงมหันตภัยจากสงคราม

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้บอกเล่าเรื่องราวของ เจ จี ทอม มอร์ริส (J G Tom Morris) อดีตทหารออสเตรเลียยศสิบโท ซึ่งถูกจับเป็นเชลยศึกที่สิงคโปร์ ก่อนถูกกวาดต้อนมาตกนรกที่ช่องไฟนรกในช่วงปี พ.ศ. 2485-2488

แต่พอสงครามสงบ และรอดชีวิตมาได้ ในปี พ.ศ. 2527 เขาจึงตัดสินใจกลับมาค้นหาช่องไฟนรกที่เคยทำให้เขาเกือบเอาชีวิตมาทิ้งที่นี่ เมื่อค้นพบแล้วเขาจึงนำเรื่องเข้าเสนอต่อรัฐบาลออสเตรเลียเพื่อพัฒนาพื้นที่ และจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด

โดยงบประมาณการก่อสร้างทั้งหมดเป็นของ "องค์การทหารผ่านศึกออสเตรเลีย" ซึ่งมีการออกแบบ และวางผังทางเดินอย่างสวยงาม ส่วนพื้นที่อาคารจัดแสดงก็นำเสนอในรูปแบบมัลติมีเดีย โดยรวบรวมรูปถ่าย แบบจำลองเส้นทางรถไฟ และเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยนั้น
อาคารจัดแสดงแห่งนี้โดดเด่นด้วยการใช้แสงสีแดง และแสงไฟเฉพาะจุด ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนก้มมองลงมาจากที่สูง แม้แต่การเดินผ่านรูปปั้นเชลยศึกที่กำลังถูกบังคับให้ทำงานด้วยความทุกข์ทรมานก็ให้ความรู้สึกว่า เหตุการณ์ในอดีตเพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ตรงหน้าเรานี่เอง
ส่วนทางเดินที่ยื่นออกไปนอกอาคารประมาณ 15 เมตร เมื่อมองแบบย้อนแสงแดดยามบ่ายก็ให้ความรู้สึกที่ลึกลับ ชวนหดหู่ เสมือนว่าหนทางในการสร้างรางรถไฟของเชยศึกในยุคนั้นยากที่จะสำเร็จลงได้ในชั่วชีวิตของพวกเขา


เมื่อเดินลงไปตามสะพานไม้อันคดเคี้ยวที่ตัดผ่านช่องเขาที่มีขนาดเพียง 17 เมตรก็รู้ซึ้งถึงความทุกข์ยากแสนสาหัสในการก่อสร้างทางรถไฟตรงจุดนี้ ร่องรอยการระเบิดหิน การวางรางรถไฟ ตลอดจนรถรางที่ใช้ขนย้ายก้อนหินยังเป็นวัตถุพยานที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตได้ดี


เป็นร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความทุกข์เข็ญของเชลยศึกในสมัยนั้นที่ต้องทนทำงานท่ามกลางความเหน็ดเหนื่อย และหนาวเหน็บกลางฤดูฝนกลางป่าที่มีไข้ป่าชุกชุมนานถึง 4 เดือนเพื่อเร่งให้ทางรถไฟเสร็จทันตามกำหนดให้ได้


จากเสี้ยวเวลาอันเป็นรอยด่างในประวัติศาสตร์โลกครั้งนั้นจึงทำให้วันที่ 25 เมษายนของทุกปี จะมีชาวออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีทั้งเชลยศึกในครั้งนั้น และญาติมิตรของเชลยศึกที่เสียชีวิตเดินทางมารำลึกอดีตอันขมขื่นกันอย่างล้นหลามทุกปี
วันดังกล่าวมีชื่อว่า "อันแซ็ก เดย์" เพื่อรำลึกถึงความโหดร้ายของสงคราม และเรียกร้องให้สันติภาพจงมีอยู่คู่โลกสืบไป


พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด ไปไม่ยาก ตัวพิพิธภัณฑ์ห่างตัวเมืองกาญจนบุรีไปประมาณ 80 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่ กองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักงานทหารพัฒนา



ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 35

Tanawat Na Ja

16/04/2013 23:02:51
0
ถ่ายภาพสวยจังเฮีย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 36

นายมั่นคง

16/04/2013 23:04:50
4,294



หลังจากที่อ่านประวัติศาสตร์และดูวีดีโอก่อนลงไปชมของจริง ทำให้รู้สึกทึ่งและอยากเดินไปดูของจริงๆๆ

ผมเดินไปตามทางจนถึงบริเวณเขาที่ขาดเป็นช่องจากกัน สิ่งที่อยู่ตรงหน้าผม หากบอกตามตรงผมรู้สึกว่ามันขัดแย้งกับความเป็นจริง และรู้สึกว่ามันน่าจะไม่ใช่อันเดียวกัน

อันนี้ต้องขออภัยล่วงหน้าจริงๆครับ ที่มีความเห็นแย้งตรงนี้ แต่ถ้าใครเคยไปช่องเขาขาดและเดินผ่านลอดไปจริงๆ จะเห็นว่าช่องนั้นมีขนาดเล็ก และเล็กเกินกว่ารถไฟทั้งขบวนจะวิ่งไปได้แน่ๆๆ หากใครไปมาแล้ว ลองนึกย้อนไปสังเกตุให้ดีๆครับ

เขามันลักษณะคล้ายกัน แต่ไม่น่าใช่อันเดียวกัน แต่เดี๋ยวผมจะลองค้นดูให้ครับ ลองมองภาพเปรียบเทียบที่ผมไปยืนถ่ายมาซิครับ รถไฟวิ่งผ่านไปไม่ได้แน่ๆๆครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 37

นายมั่นคง

16/04/2013 23:08:03
4,294



ดูมุมนี้อีกที
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 38

นายมั่นคง

16/04/2013 23:15:36
4,294



เพิ่มข้อมูลด้วยรูปภาพอีกรูป

จากที่มีคนเล่ามา มีคนเดินทางมาดูต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ช่องกลางของช่องเขาขาด หรือ HellFire pass นี่กันมากมาย ต้นไม้ต้นนี้ล่ะครับ

น่าจะขึ้นหลังจากการยกเลิกทางรถไฟนี้ไปแล้ว ให้สังเกตุดีๆนะครับ ตรงจุดนี้เป็นส่วนที่แคบที่สุดของช่องเขาขาดอันนี้ ซึ่งไม่มีทางที่รถไฟจะลอดผ่านไปได้แน่นอน อันนี้ผมประเมินจากรถไฟอายุ 70 ปี และใช้รางรวมถึงหมอนรถไฟขนาดมาตรฐาน

ไม่น่าจะผ่านช่องภูเขาอันนี้ไปได้จริง แล้วของจริงๆมันไปไหนเสียล่ะ ???
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 39

นายมั่นคง

17/04/2013 00:09:21
4,294



ต้นไม้สูงที่ว่า จะใช่ต้นยางหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ แต่ช่วงล่างมันจะเป็นโพรงขนาดใหญ่ พอที่คนจะมุดเข้าไปนั่งด้านในได้ทั้งคนเลยล่ะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 40

สมัครเล่น

17/04/2013 06:19:26
412
เฮียไปจนได้
น้ำลดต่ำมากทีเดียวครับ
้เดี๋ยวนี้เลิกพก LX7 แล้วหรือครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 41

Guzzo

17/04/2013 08:54:15
0
สวยงามครับ ^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 42

นายมั่นคง

17/04/2013 10:50:32
4,294
สวัสดีปีใหม่ไทยครับพี่สมัครเล่น 555

ไปจนได้ล่ะครับ สังขละบุรี นี่ถ้ารู้ว่าขับรถไปยากแบบนี้ สงสัยผมคงไม่ไปเหมือนกัน ปีนี้น้ำลดต่ำ แต่ไม่ต่ำมาก แถมผมขึ้นไปโรงแรมสามประสบ แอบเข้าไปรีสอร์ทเค้าหน่อยนึง แต่ไปได้ไปยืนถ่ายตรงร้านอาหาร เลยไม่ได้มุมสูงครับ

ส่วน LX7 พกไปครับพี่ ถ่ายคู่กันนั่นล่ะครับ เพียงแต่งวดนี้ลองถ่ายด้วยไอโฟนมากหน่อย และแต่งผ่านแอพ แล้วอัพขึ้น facebook เลย อาศัยเอาสะดวกและสื่อสารได้รวดเร็วเข้าว่าครับ 555


ยังไงช่วยผมสันนิษฐานเรื่องช่องเขาขาดหน่อยนะครับ ข้องใจเหลือเกินว่าไอ้ตรงที่ผมไปเดินดูมา มันเคยมีรางรถไฟที่ทำให้วิ่งได้จริงๆมาก่อนหรือ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 43

สมัครเล่น

17/04/2013 11:25:06
412
ผมก็ว่ามันแคบมาก น่าจะเป็นเส้นทางอื่นมากกว้า
แต่อิง landmark ว่าช่องเขาขาด
ถ้ารถไฟวิ่งผ่านช่องนี้ได้
สงสัยจะเป็นรถไฟไปฮอกวอร์ค มากกว่า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 44

นายมั่นคง

17/04/2013 13:53:39
4,294
นั่นน่ะซิครับพี่ แต่ถ้าเป็นรถเล็กๆที่ใช้ลำเลียงของ จำได้ว่ายังไงก็ต้องใช้รางขนาดใหญ่อยู่ดีล่ะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 45

นายมั่นคง

17/04/2013 21:57:18
4,294



มาต่อกันอีกหน่อยครับ ใครที่แวะไปที่ช่องเขาขาด ให้แวะเข้าไปที่ตัวพิพิธภัณฑ์ด้วยนะครับ ภายในจะมีของต่างๆ วางโชว์ไว้ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายต่อหลายชิ้นที่น่าสนใจ อย่างเช่นเกี๊ยะไม้อันนี้เช่นกัน

ใช้ไม้มาฝานง่ายๆเป็นพื้น แล้วเอาผ้าใบ(จริงๆมันน่าจะเป็นผ้ายีนส์) มาทำเป็นผ้ารัด และเค้าใช้ตะปูตัวขนาด 4" มาตอกเพื่อยึดผ้าใบกับแผ่นไม้เข้าด้วยกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 46

นายมั่นคง

17/04/2013 22:05:04
4,294



ถ่ายมาฝากอีกภาพครับ เป็นสมุดที่เค้าใช้จดบันทึก รวมถึงสเก๊ตช์เหตุการณ์ต่างๆเป็นรูปไว้ในไดอารี่ รวมถึงมีข้าวของเครื่องใช้ประกอบด้วยครับ

ลองอ่านคำบรรยายจากภาพได้เลย ผมพยายามถ่ายให้ชัดและให้อ่านออกได้นะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 47

pang111

29/06/2013 15:07:20
0
ผมอยู่เจดีย์สามองค์ สุดเขตแดนตะวันตกเลยคับพี่
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 48

นายมั่นคง

29/07/2013 22:28:51
4,294



ใจหายกับข่าวสะพานมอญขาดล่ะครับ เอ้า เอาใจช่วยให้ซ่อมกลับมาได้เหมือนเดิมจ้าๆๆๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 49

อัญชัน

28/11/2013 13:35:30
มีรายละเอียด ราคาที่พัก/คืน ไหมคะ?
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 50

นายมั่นคง

28/11/2013 17:24:17
4,294
ที่พักลองเสริชดูครับ แต่ช่วงนี้ผมไม่แน่ใจว่าสะพานเค้าซ่อมเสร็จหรือยังนะครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 51

toyspeed

28/11/2013 17:42:35
0
อยากบอกว่าสะพานมอญนี่ผมคนเมืองกาญจน์ยังไม่เคยไปเลย -_- ไม่ค่อยว่าง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"เที่ยวสังขละบุรี - สะพานไม้มอญ - ช่องเขาขาด"