ข้อมูลมาจากหนังสือพม่าเสียเมือง ของอาจารย์หม่อมคึกฤทธิ์ ตอนพระเจ้ามินดุง จะย้ายเมืองหลวง จากอมรปุระไปที่ใหม่ เพื่อแข่งอิทธิพลฝรั่ง(อังกฤษ) ที่เริ่มมีอำนาจเหนือดินแดนพม่าตอนใต้บางส่วน
"ที่ตำบลมัณฑเลนั้นมีภูเขาลูกหนึ่ง พระเจ้ามินดุงทรงพระสุบินแลเห็นภูเขามัณฑเล อันแปลว่ากองมณีนั้นอยู่บ่อย ๆ
เมื่อทรงแก้พระสุบินให้อำมาตย์ราชเสวก และโหรพราหมณ์ได้ฟังต่างก็ทำนายทายทักว่าเป็นศุภนิมิตร ควรที่จะได้สร้างราชธานีขึ้นใหม่ระหว่างภูเขาลูกนั้นกับแม่น้ำอิรวดี แล้วขนานชื่อเมืองเป็นมงคลนามว่าพระนครมัณฑเล แต่พระนครนั้นจะต้องไม่อยู่ชิดริมน้ำอิรวดี ให้ตั้งให้ห่างพอสมควร ทั้งนี้ก็ต้องกับพระราชประสงค์ของพระเจ้ามินดุง......
การย้ายราชธานีนั้นมิใช่เรื่องเล็กๆ เพราะจะต้องสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่มัณฑเลให้ใหญ่พอที่จะรับเอารั้ววัง วัดวาอารามขุนนาง
ทั้งทหารและไพร่พลตลอดจนราษฎรอีก ๑ูู๕๐,๐๐๐ คนจากกรุงอมรปุระเข้าไว้ให้ได้ทั้งหมด เคราะห์ดีที่ที่ตั้งเมืองใหม่นั้นไม่ไกลจากกรุงอมรปุระนัก ห่างกันไม่กี่กิโลเมตร มิฉะนั้นจะต้องหมดเปลืองแรงทรัพย์แรงคนและชึวิตคนอีกมาก
ราชธานีใหม่นั้นสร้างขึ้นตามแผนผังราชธานีซึ่งใช้กันมาแต่ดั้งเดิม ไม่ชั่วแต่ในพม่า แต่ในประเทศอื่นๆอีกมาก
ตั้งแต่มอสโคว ปักกิ่ง ลงมาจนถึงกรุงเทพฯ ศูนย์แห่งราชธานีคือพระราชวังซึ่งมีกำแพงล้อมให้เป็นเมืองอันมีปราการ ภายในเมืองรอบพระราชวังนั้นก็เป็นวังเจ้า และบ้านขุนนาง ตลอดจนวัดวาอารามต่างๆ แล้วจึงถึงกำแพงเมืองซึ่งมีคูล้อมรอบ
เมืองมัณฑเลเป็นรูปสี่เหลี่ยม จึงมีกำแพงสี่ด้าน กำแพงแต่ละด้านมีประตูเมืองสามประตู รวมเป็นสิบสองประตูด้วยกัน
ที่เสาประตูเมืองและตามที่สำคัญอื่นๆนั้น ต้องฝังอาถรรพ์ และอาถรรพ์นั้นก็คือคนเป็นๆ
เมื่อพระเจ้ามินดุงสร้างเมืองมัณฑเลนั้น ต้องเอาคนเป็นๆมาฝังถืง ๕๒ คน ฝังตามประตูเมืองประตูละ ๓ คน
๑๒ ประตููู ก็เป็น ๓๖ คน ตามมุมเมืองอีกมุมละคน ประตูพระราชวังและสี่มุมกำแพงพระราชวังก็ต้องฝังคนอีก และเฉพาะใต้พระที่นั่งสิงหาสน์อันเป็นพระที่นั่งในท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนนางนั้น ต้องฝังถึง ๔ คน
กรุงมัณฑเลนั้นสร้างทีหลังกรุงเทพฯหลายสิบปี แต่เมื่อสร้างกรุงเทพฯนั้น ประเพณีฝังคนได้เลิกไปแล้ว
ในที่ก็เห็นจะต้องจารึกไว้เป็นเกียรติคุณของพระสงฆ์พม่าว่า พอมีข่าวว่าโหรพราหมณ์กราบบัีงคมทูลพระเจ้ามินดุงให้เอาคนเป็นๆมาฝังตามไสยศาสตร์ พระสงฆ์พม่าได้เข้าไปถวายพระพร ขอบิณฑบาตชีวิตมนุษย์เหล่านั้นไว้ แต่พระเจ้ามินดุงก็ไม่อาจขัดโหรพราหมณ์ได้
คนที่ถูกฝังทั้งเป็นเพื่อให้เป็นผีคอยรักษาเมืองและพระราชวังนั้นต้องเลือกให้ได้ลักษณะตามที่โหรพราหมณ์กำหนด
ไม่ใช้คนโทษที่ต้องโทษประหาร แต่เป็นคนที่อยู่ในวัยต่างๆกัน ตั้งแต่ผู้มีอายุไปจนถึงเด็กๆ มีทั้งผู้ชายและผู้หญิง
ทุกคนต้องมีฐานะดีเป็นที่ยกย่องในกลุ่มชน ต้องเป็นคนที่เกิดตามวันที่โหรกำหนด
ถ้าเป็นเด็กผู้ชายต้องเป็นเด็กที่ยังไม่มีรอยสักตามตัว ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องยังไม่เจาะหู ทหารมีหน้าที่จับคนเหล่านี้มาให้ได้จนครบ
พอมีข่าวออกไปว่าจะเอาคนมาฝังทั้งเป็น ผู้คนก็หลบไปจากเมืองมัณฑเลเกือบหมด ทางราชการสั่งให้มีละคร
ให้คนดูทั้งกลางวันและกลางคืนหลายวัน แต่ก็ไม่มีใครมาดู ในที่สุดก็ต้องเที่ยวซอกซอนค้นเอาตัวมาได้จนครบ เมื่อได้ฤกษ์ก็เลี้ยงดูคนเหล่านั้นแล้วสั่งเสียให้คอยเฝ้าเมือง และรักษาพระราชวัง แล้วก็เอาลงหลุม เอาเสาประตูใส่หลุมตามลงไป
ลูกเมียญาติพี่น้องซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลก็คงจะรับไปอย่างไม่สบายใจนัก..."
เป็นไงครับ แบบนี้ชัดเจนดีไหมครับ
ขอแทรกความเห็นนิดนึง การที่ไสยศาสตร์ มีการพูดถึงในทำนองว่า คนเล่นต้องตกนรก ก็เพราะนอกจากเอา
ไปทำเรื่องชั่วร้ายแล้ว มันขัดขวางทางกรรมนี่แหละครับยกตัวอย่างที่โดนฝังในการสร้างเมืองนี่ก็ได้
มันไม่เพียงตายสยดสยองทรมานเท่านั้น การตายเป็นเพียงการเริ่ม"นรก"ที่ถูกจองจำให้เป็นผีคอยเฝ้าเมืองด้วยนะครับ
นานเท่าไหร่ไม่มีใครตอบถูก จะถูกผูกมัดด้วยอาคม (ว่ากันโดยสมมุติฐานอ้างอิงเรื่องทำนองนี้)ไม่อาจไป
ตามทางกรรมของตนเอง ขนาดผู้ถูกกระทำ ยังต้องรับความทรมานถึงขนาดนี้ คนที่ก่อเหตุจะรับบาป รับกรรมขนาดไหน
จินตนาการเอาเองครับ