Toggle Dropdown
ค้นหา
ค้นหาชื่อสินค้า
ค้าหารีวิวและบทความ
ค้นหาโปรโมชั่น
ค้นหาฟีดข่าว
ค้นหาไฮไลท์
TH
EN
หน้าแรก
สินค้า
เว็บบอร์ด
เกี่ยวกับเรา
สาขา
วิธีชำระเงิน
ติดต่อเรา
Guest
อีเมล์ / ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
หรือ
ค้นหาโดย Google
ค้นหาทุกคำ
ค้นหาชื่อกระทู้
ค้นหาชื่อผู้ตั้งกระทู้
เว็บบอร์ดจับฉ่าย
หูฟังมือสอง
ซื้อขายจิปาถะ
รีวิวและบทความ
กระทู้เฮีย
คลับ
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย
ช่องทางการติดต่ออื่น
All
5
10
15
มัจจุราชเงียบ
Shared
ติดตามกระทู้นี้
แจ้งลบ
Zenon
15/06/2012 11:43:38
มัจจุราชเงียบ!...เสียบหูฟัง
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 13 มิถุนายน 2555
ได้ยินและเห็นภาพข่าวเกี่ยวกับอันตรายขณะใช้หูฟังอยู่หลายต่อหลายครั้ง ล่าสุดกรณีสาวนักศึกษาที่ถูกรถไฟเกี่ยวร่างเข้าไปติดอยู่ใต้ราง เนื่องจากใช้หูฟังขณะเดินจนไม่ได้ยินเสียงหวูดเตือน ถ้าเหตุการณ์สะเทือนขวัญเช่นนี้ไม่เกิดขึ้นให้สะกิดใจ หลายคนคงมองข้ามและคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว โดยไม่ยั้งคิดเลยว่าตัวเองอาจกำลังตกเป็นเหยื่อ ภัยเงียบ!...หูฟัง
หูฟัง...อันตรายถึงชีวิต
ความไม่ปลอดภัยของการใช้หูฟังในชีวิตประจำวัน รวมถึงเพื่อนร่วมทาง ไม่ว่าจะเป็นการขับรถ การโดยสารรถประจำทาง หรือเดินตามท้องถนน ขณะที่ใส่หูฟัง สมาธิกำลังจดจ่ออยู่กับเสียงที่ดังก้องอยู่ในหู ทำให้ขาดสติและหลงลืมไปชั่วครู่ว่าตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่ หรือกำลังตกเป็นที่เพ่งเล็งของผู้ร้ายโดยที่เราไม่รู้ตัว จนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตอย่างคาดคิดไม่ถึง
บางคนใส่หูฟังตลอดเวลา ตัดตัวเองออกจากโลกภายนอกโดยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ฟังเพลงบ้าง คุยโทรศัทพ์บ้าง หรือแม้กระทั่งเล่นเกม สมาธิจดจ่ออยู่กับเสียงที่ดังออกมาและอุปกรณ์ที่อยู่ในมือ จนบางคนเกือบจะตกรถเมล์ หรือรถไฟฟ้า ถ้ากระทบเพียงเท่านี้ อย่างมากก็แค่เสียเวลา แต่เราอาจไม่ได้โชคดีอย่างนี้เสมอไป
มีหลายกรณีที่ใส่หูฟังเดินข้ามถนนและโดนรถชน เพราะไม่ได้ยินเสียงรถหรือเสียงบีบแตร การขึ้นรถ ลงเรือ หรืออยู่ในสถานที่สาธารณะที่มีการจราจรคับคั่ง จึงมีการเตือนอยู่เสมอว่าห้ามใช้โทรศัพท์มือถือหรือหูฟังในขณะขึ้นลงรถประจำทาง รวมถึงผู้ทำงานในขณะควบคุมเครื่องจักรด้วย ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเหตุพลาดพลั้งขึ้นได้
ยิ่งแย่ไปกว่านั้น การอยู่กับตัวเองโดยไม่สนใจสิ่งรอบตัว จึงตกเป็นเป้าหมายของพวกแก๊งมิจฉาชีพ คนเป็นเหยื่ออาจไม่ทันระวังตัวว่ากำลังโดนจับสังเกตอยู่ ในขณะที่โจรหรือมิจฉาชีพกำลังจะใช้โอกาสนี้เพื่อลักทรัพย์ จี้ ปล้น ล่วงละเมิดทางเพศ และจุดจบที่โหดร้ายที่สุดคือการถูกฆ่า เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตามแต่ การเลือกคนที่ไม่ทันระวังตัว จึงสามารถลงมือกระทำการณ์ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย
ผู้ร้ายข่มขืนรายหนึ่งเคยให้การกับตำรวจว่า “เห็นน้องเขาใส่หูฟังเดินเข้าไปในซอยกลางดึก จึงฉุดมาข่มขืน” ซึ่งถ้าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเราเองหรือญาติพี่น้อง ก็คงไม่ใช่แค่เรื่องเล็กๆ อย่างตกรถอีกต่อไป
เด็กไทยหูตึงก่อนวัย
เมื่อใส่หูฟังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ย่อมมีผลต่อระบบปราสาทการได้ยิน จึงอาจทำให้หูตึง จนถึงขั้นหูหนวกได้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่มีการใช้หูฟังเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหูคนเรานั้นมีความอดทนต่อเสียงในขอบเขตที่จำกัด
มีหลายสาเหตุจากพฤติกรรมของเราเองที่ทำให้หูย่ำแย่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้หูฟังฟังเพลงติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง การเปิดเพลงดังๆ ในห้อง การใช้สมอลทอล์กคุยโทรศัพท์ เมื่อทำกิจกรรมเหล่านี้เป็นประจำจึงมีโอกาสหูตึงมากกว่าคนไม่ใช้ และการใช้หูฟังในที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ ต้องเปิดเสียงให้ดังกว่าอาจมากถึง 105 เดซิเบล ขณะที่โดยปกติหูคนเราสามารถรับเสียงได้ไม่เกิน 85 เดซิเบลเท่านั้น จึงส่งผลให้อนาคตหูอาจไม่ได้ยินเสียงพูดในระดับปกติ
นพ.กำจัด รามกุล ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การฟังเสียงจากหูฟังขณะอยู่ในบ้านไม่ควรเร่งความดังเกิน 60% ถ้าฟังติดต่อกันนาน 1 ชั่วโมงควรพัก โดยเฉพาะคนท้องการฟังเสียงที่ดังมากเกินไป หรือการใช้หูฟังติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์ จึงไม่ควรฟังเกิน 30 นาที
หูฟังที่ใช้อยู่ปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ 1.In-Ear หรือ Ear -Plug แบบใส่เข้าไปในหู 2.แบบแปะหรือสวมแนบพอดีหู และ 3.แบบครอบที่ใบหู แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือแบบ In-Ear เพราะได้ยินเสียงดังชัดเจน เสียงภายนอกแทรกเข้าไปยาก แต่ข้อดีที่ว่านี้กลับมีผลกระทบต่อประสาทการได้ยินมากกว่าการใช้หูฟังชนิดอื่น เนื่องจากตัวลำโพงหูฟังจะอยู่ใกล้กับประสาทรับเสียงในหูมากที่สุด โดยเฉพาะการฟังเพลงของวัยรุ่นประเภทที่มีเสียงดนตรีหนักๆ อย่างเสียงเบสกระแทกหู หากฟังเสียงดังเกินไปมากกว่าเสียงปกติที่คนเรารับได้ จึงมีผลต่อระบบประสาทหูโดยตรง
พระราชดำรัสในหลวง เคยกล่าวถึงเรื่องหูตึงจากการฟังของเด็กไทยว่า “...ไปฟังเพลงที่ไม่ได้เพลงอะไรดี เป็นเพลงที่ไม่ได้เรื่องทำให้หูเสีย หูเสียไม่ใช่ว่าคนที่ฟังหูสูง หูต่ำ แต่หูไม่ได้ยิน หูตึงคนที่ไปฟังในดิสโก้เธคหูตึงทั้งนั้น ถ้าใครเป็นหมอหูไปตรวจเขายืนยันว่าเด็กสมัยนี้หูเสียมากกว่าเด็กสมัยก่อน”
“ในดิสโก้เธคบางแห่งวัดระดับเสียงได้ถึง 120 เดซิเบล ซึ่งจริงๆ แล้วเสียงที่มีความดังเกิน 110 เดซิเบล ฟังแค่นาทีเดียวก็มีผลต่อเซลล์ประสาทหูแล้ว” ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข กล่าว
สารพัดโรคถามหา
การได้ยินเสียงวิ้งในหู นั่นคือสัญญาณเตือนของอาการหูตึง หูหนวกตามมา แต่ที่น่าเป็นห่วงในคนที่ฟังเสียงดังเกินขนาดนั้น ยังมีผลทำให้เกิดอาการปอดแฟบ แน่นหน้าอก และหายใจไม่ออกอีกด้วย
นพ.กำจัด รามกุล กล่าวถึง อาการหูอื้อที่พบในระยะแรก บางครั้งได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู ทั้งที่ถอดหูฟังออกแล้ว แสดงว่าเซลล์ประสาทได้รับการกระทบกระเทือนจากเสียง ถ้าหากเป็นน้อยต้องพักหูก่อน โดยใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อให้หูสามารถกลับมารับฟังเสียงได้เหมือนเดิม แต่ถ้าเป็นมากการฟังเสียงพูดในระดับปกติก็จะไม่ค่อยได้ยิน และถ้าถึงขนาดตะโกนคุยกัน แสดงว่ามีอาการหูตึงเกิดขึ้น
ที่น่าเป็นห่วงอย่างมากสำหรับคนที่ฟังเสียงดังเกินขนาดเป็นประจำ ไม่ได้มีผลกระทบเพียงแค่เกิดอาการหูอื้อ หรือหูตึงเท่านั้น เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว นพ.กำจัด เล่าให้ฟังต่อว่า “ในประเทศเบลเยี่ยม มีรายงานผู้ป่วยรายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการสัมผัสเสียงดังมากเกินไป จนทำให้ถุงลมในปอดแตก มีผลทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกและหายใจไม่ออก เนื่องจากปอดแฟบจนเนื้อปอดไม่สามารถขยายได้ จึงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่เมืองไทยยังไม่มีผู้ป่วยเคสแบบนี้ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน”
นอกจากนี้ปัญหาของการฟังเสียงที่ดังเกินขนาดยังทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นไม่ปกติ ซึ่งขณะนี้คนทั่วโลกกำลังประสบปัญหานี้นับล้านคน
ผลกระทบจากการใช้หูฟังผิดที่ผิดเวลา นอกจากจะเป็นอันตรายต่อเราและคนรอบข้างแล้ว รู้ไหมว่าเทคโนโลยีต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ไอแพด แท็บเล็ต ฯลฯ ถือเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกสบายที่สามารถหยิบฉวยขึ้นมาใช้ มาแชตเมื่อไหร่ก็ได้ จนบางคนไม่มีลิมิตในการใช้ อาจพูดได้ว่าเป็นอวัยวะสำคัญอีกชิ้นหนึ่งไปเสียแล้ว
เมื่อการใช้เทคโนโลยีในโลกยุคดิจิตอลได้แทรกเข้าไปอยู่ในทุกกิจวัตร จึงทำให้คนสนใจสิ่งรอบข้างลดลง เพราะมัวแต่แชตและเพ่งสมาธิอยู่กับเรื่องราวข่าวสารในมือ ยิ่งถ้าใช้ขณะอยู่บนท้องถนนด้วยแล้วก็ยิ่งเป็นอันตรายมากไม่ต่างจากการใส่หูฟัง
ไม่ว่าจะเป็นหูฟัง หรือเทคโนโลยีใดก็ตาม ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอันตรายและก่อเกิดโทษแก่ผู้ใช้ ถ้ามีการใช้อย่างถูกต้อง และใช้อย่างพอดี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1
ComUser
15/06/2012 19:27:31
0
ไม่ว่าจะเป็นหูฟัง หรือเทคโนโลยีใดก็ตาม ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอันตรายและก่อให้เกิดโทษแก่ผู้ใช้
ถ้ามีการใช้อย่างถูกต้อง และใช้อย่างพอดี
ไม่ว่าจะเป็นหูฟัง หรือเทคโนโลยีใดก็ตาม ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอันตรายและก่อให้เกิดโทษแก่ผู้ใช้
ถ้ามีการใช้อย่างถูกต้อง และใช้อย่างพอดี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2
โลตัส
15/06/2012 22:46:04
2
ผมคนนึงที่ใช้หูฟัง Full Size อยู่ตลอดเวลา ต่อแอมป์บ้าง ต่อตรงบ้าง ล้วนเปิดเสียงดังขนาด เริ่มฟังดังขึ้นเรื่อยๆ เริ่มถูกทักหลังจากมีคนมาขอฟัง หลายต่อหลายคนบอกผมว่า "ทำไมฟังดังจัง" ตอนนี้เริ่มพบปัญหาแล้วครับ เวลาเปิดทีวี ที่บ้านชอบบ่น "ทำไมเปิดดังจัง" เหมือนกันเลยครับ กลุ้มใจ
ผมคนนึงที่ใช้หูฟัง Full Size อยู่ตลอดเวลา ต่อแอมป์บ้าง ต่อตรงบ้าง ล้วนเปิดเสียงดังขนาด เริ่มฟังดังขึ้นเรื่อยๆ เริ่มถูกทักหลังจากมีคนมาขอฟัง หลายต่อหลายคนบอกผมว่า "ทำไมฟังดังจัง" ตอนนี้เริ่มพบปัญหาแล้วครับ เวลาเปิดทีวี ที่บ้านชอบบ่น "ทำไมเปิดดังจัง" เหมือนกันเลยครับ กลุ้มใจ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ตอบกระทู้ :
"มัจจุราชเงียบ"
รายละเอียด :
ชื่อ :
รหัสความปลอดภัย :
ตกลง
ตั้งค่าใหม่
แจกหูพิเศษ :
แจ้งลบกระทู้ / ข้อความ
สาเหตุ :
โพสที่แจ้งลบ
แจ้งโดย
เหตุที่แจ้ง
สถานะ