เนื่องจากช่วงนี้มีไฟล์เพลงรูปแบบใหม่ (DSD) เข้ามาเพิ่มอีก ผมเลยให้ทีมงานลองแปลมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน ซึ่งท่านที่ไม่ถนัดอังกฤษน่าจะอ่านได้เข้าใจมากกว่าพึ่งอากู๋ล่ะครับ เอ้า ลองอ่านดูกันเลยครับ จะอ่านที่นี่ หรือเข้าอ่านที่นี่ก็ได้ครับ http://goo.gl/FxTUv
-----------------------------------------------------------------------------------------------
DSD ไฟล์เสพติดรูปแบบใหม่
โดย Andreas Koch
บทกล่าวนำ
ในช่วงเวลานี้ได้มี Audio Format แบบใหม่เกิดขึ้นมา คุณภาพเสียงของมัน จัดว่าอยู่ในระดับที่พูดได้ว่า “ไม่สามารถฟังเพลง โดยไม่ใช้ไม่ได้แล้ว” นั่นคือไฟล์รูปแบบ DSD ซึ่งจริงๆไฟล์รูปแบบนี้มีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ว่ามันถูกผูกติดเข้ากับ SACD จึงไม่ค่อยได้รับความสนใจในหมู่นักฟังสักเท่าไร จนเมื่อมาถึงช่วงที่เริ่มมีการเปิดให้ download ไฟล์เพลงความละเอียดสูง ไฟล์ชนิด DSD จึงเริ่มเป็นที่สนใจในฐานะไฟล์ชนิดใหม่ จากข้อจำกัดที่เคยอยู่แต่บนแผ่น SACD แต่ตอนนี้มันสามารถมาอยู่บนโลกอินเตอร์เนทได้แล้ว บทความนี้จะอธิบายถึงภูมิหลังและการทำงานของ DSD และสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
อะไรคือ DSD?
DSD นั้นย่อมาจาก Direct Stream Digital ซึ่งถูกตั้งขึ้นโดย Sony และ Philips เมื่อทั้งสองบริษัทได้ร่วมมือกันเปิดตัวมาตรฐานแผ่น SACD มันไม่มีอะไรเลยนอกจากการแปลงค่า Delta-Sigma ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยบริษัท Philips เมื่อปี 1970 และเทคโนโลยีนี้ได้ออกสู่ตลาดเมื่อปี 1980 สำหรับใช้ในการแปลงค่า A/D และ D/A ในชิป DAC
ตัวอย่างที่ 1
จากในรูป จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่สัญญาณ Analog นั้นถูกแปลงไปเป็น Digital PCM ผ่าน A/D converter และแปลงกลับเป็น analog อีกครั้งผ่าน D/A converter ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการด้วยกัน
1. Delta-Sigma modulation: สัญญาณ analog จะถูกแปลงไปเป็น DSD โดยตรงและมีค่า Sampling rate ที่สูงมาก ขั้นตอนการแปลงนั้นจะขึ้นอยู่กับความละเอียดของไฟล์ที่ต้องการ โดยสามารถสร้างเป็น 1-bit DSD หรือ Multibit DSD oversampled ที่ 64x หรือ 128x เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่น CD ทั่วไป
2. Decimation filter: สัญญาณ DSD จากขั้นตอนแรกจะถูก Down sample และแปลงกลับมาเป็น PCM ในขั้นตอนนี้ word length นั้นจะมากขึ้น (16 หรือ 24bit) และ Sample rate จะถูกลดลงมาเท่ากับ CD หรือลดตัวคูณลงเพื่อเป็นไฟล์ PCM ความละเอียดสูง
ขั้นตอนการแปลง D/A นั้นเหมือนกันตรงที่
1. สัญญาณ PCM จะถูกเพิ่ม Sample rate สูงมาก
2. จากนั้นจะถูกแปลงเป็น DSD ผ่าน Delta-Sigma modulator (เพื่อลดค่า word length)
3. จากนั้นแปลงกลับมาเป็น analog
เทคโนโลยีนี้เป็นที่ยอมรับในเรื่องความคงที่และเที่ยงตรงของสัญญาณและถูกใช้ใน converter system มาตั้งแต่ปี 1980 หรืออาจจะหมายความได้ว่าเราได้ฟัง DSD ในรูปแบบต่างๆทั้งที่ไม่รู้ด้วยซ้ำ และเมื่อวิทยาศาสตร์และความรู้ในด้าน digital audio ได้พัฒนามากขึ้น เราจึงได้รู้ว่าระบบการแปลงจาก DSD ไปยัง PCM และ PCM ไปยัง DSD นั้นเมื่อใช้คู่กับวิธีแบบเก่าจะเกิดผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการที่ซับซ้อนระหว่างการแปลง จนทำให้เกิดเป็นคำๆใหม่ขึ้นมานั่นคือ “Digital sound” หรือ ringing effect ดังนั้นทีมวิศวะกรจากทาง Sony และ Philip จึงมีความคิดที่จะตัดขั้นตอนเหล่านี้ออกพร้อมกับการแปลง analog เป็น digital ซึ่งจากรูปที่ 1 นั้นจะแสดงให้เห็นว่า DSD นั้นได้ข้ามขั้นตอนของ PCM ไปหลายขั้นมาก ทำให้กระบวนการแปลงนั้นลดลง ช่วยให้คุณภาพเสียงได้รับผลกระทบจากการแปลงน้อยลง และไม่เป็นที่แปลกใจเลยว่าทำไมเหล่า studio ทั้งหลายเลือกใช้ DSD ในการเก็บรักษาไฟล์เสียงเอาไว้ ในขณะที่ PCM ไม่ได้เป็นตัวเลือกในการเก็บรักษาเลยแม้แต่น้อย
การเปิดตัวของเหล่า DVD ก็ได้มีเข้ามาพร้อมกับคำถามของเหล่านักฟังว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะเปลี่ยนจาก Redbook CD มาเป็นรูปแบบใหม่นี้แล้วหรือยัง ทาง Sony และ Philips ที่เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ CD ก็ให้ความสนใจต่อเรื่องนี้เช่นกัน และได้แนะนำให้ลองเปรียบเทียบคุณภาพเสียงของทั้งสองรูปแบบว่าแบบไหนเหนือกว่ากัน จึงเกิดเป็นสงครามระหว่าง SACD และ DVD-Audio โชคดีที่ฝ่าย SACD ได้รับชัยชนะและเป็นตัวเลือกในการเก็บไฟล์เสียงของเหล่า studio ทั่วโลก ซึ่งหมายถึงว่าตอนนี้มีไฟล์ชนิด DSD ถูกเก็บเอาไว้มากมาย แต่ไฟล์เหล่านี้กลับถูกแปลงและผลิตออกมาสู่ตลาดในรูปแบบ PCM
ขณะที่ DSD นั้นมีค่า sample rate อยู่ที่ 2.8224Mhz (64 x 44.1kHz) สำหรับใช้ใน SACD และอุปกรณ์บันทึกเสียงต่างๆนั้นจะใช้ sample rate มากกว่าเป็นสองเท่า หรือเท่ากับ 5.6448MHz (128 x 44.1kHz) โดยจะเป็นค่า sample rate ที่เหล่า studio เลือกใช้ในการเก็บไฟล์เสียง อุปกรณ์บันทึกเหล่านี้นั้นเมื่อเทียบกับคุณภาพแล้วจัดว่ามีราคาไม่แพง สามารถใช้บันทึกจากแผ่นเสียงหรือเทปเพื่อเก็บในรูปแบบดิจิตอล และใช้เล่นผ่าน D/A converter
DSD เป็นรูปแบบไฟล์ความละเอียดสูง
ตามหลักทฤษฎีแล้ว frequency bandwidth ของไฟล์ประเภท DSD ที่มี sample rate อยู่ที่ 2.8224MHz (64 x 44.1kHz) คือ 1.4112MHz จะมีความกว้างกว่าเป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาณ 96kHz PCM ที่มี frequency bandwidth อยู่ที่ 48kHz หรือ 192kHz PCM จะมี frequency bandwidth อยู่ที่ 96kHz แต่อย่างไรก็ตามค่า bandwidth ที่กว้างนี้ต้องแลกเปลี่ยนด้วยบางสิ่งบางอย่าง: สัญญาณ Delta-Sigma บริสุทธิ์นั้นจะมีค่าเท่ากับ 1 bit จึงทำให้มันมี dynamic range ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในการแปลงสัญญาณ Delta-Sigma จะต้องผ่านขั้นตอนที่ชื่อว่า “noise shaping” ที่จะเพิ่ม dynamic range ไปจนถึงระดับที่สามารถใช้ได้ (0-20kHz) จากนั้นจึงค่อยลดระดับการเพิ่มลงอย่างช้าๆที่ความถี่ที่สูงขึ้น และสัญญาณ Delta-Sigma ที่ผ่านกระบวนการนี้จะถูกเรียกว่า DSD
ตัวอย่างที่ 2
ด้านล่างนี้จะแสดงค่า dynamic range ของ DSD โดยจะอยู่ที่ 2.8224MHz ซึ่งสามารถมีได้มากกว่า 150db ในช่วงที่ต่ำกว่า 20kHz และยังสามารถทำงานได้ถึง 100kHz โดยที่ Noise Floor ยังต่ำอยู่ และแน่นอนว่า DSD ที่มีค่า sample rate มากขึ้นสองเท่า (5.6448MHz) จะมีค่า dynamic range ที่ 0-40kHz เหนือกว่าระดับ noise floor และจะค่อยๆเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และตัวอย่างที่ 2 นี้ยังแสดงให้เห็นถึงค่า dynamic range ของไฟล์แบบ PCM ชนิดความละเอียดสูงที่ระดับ sample rate ต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกำแพงความถี่ที่เป็นปกติของฝั่ง PCM กำแพงนี้คือต้นเหตุของอาการต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพเสียงถ้าหากไม่ได้ผ่านกระบวนการพิเศษ แต่ไฟล์แบบ DSD นั้นจะไม่เกิดอาการเหล่านี้
จากที่เห็นในภาพ DSD จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
• มีค่า dynamic range ที่ดีเยี่ยมในช่วง 0-20kHz
• ค่อยๆเพิ่มระดับ noise floor ในช่วงความถี่สูง (และใช้งานไปได้จนไม่มีขีดจำกัด)
• ตอบสนองช่วงความถี่ไปได้ถึงระดับ MHz
เหล่านี้จึงเป็นสาเหตุว่าทำไม DSD ถึงเป็นตัวเลือกของไฟล์ความละเอียดสูง บางครั้งก็ถูกวิจารณ์ในเรื่องความถี่ที่สูงมากของมันจะมี noise ตามมามากด้วย แต่ว่า DAC ทั้งหลายนั้นมีการจำกัดระดับของ noise ที่จะผ่านมายังฝั่ง analog โดยที่ตามปกติแล้ว noise เหล่านี้จะไม่ได้มาพร้อมกับเสียงดนตรีอยู่แล้วจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะคัดกรองมันออกมา ถึงแม้ผู้ฟังส่วนมากจะไม่ได้ยินเสียง noise เลยก็ตาม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือไฟล์ double rate DSD ที่จะเพิ่มระดับ noise floor ในช่วง 20kHz จากนั้นจะลดระดับลงอย่างมากในช่วงความถี่ที่สูงขึ้น
ข้อจำกัดเรื่องการ Download ผ่านช่องทาง Internet
เห็นได้ชัดว่าสื่อในการเก็บไฟล์ต่างๆนั้นถูกพัฒนาไปอย่างช้ามาก ทำให้การเติบโตของไฟล์เสียงความละเอียดสูงถูกจำกัด โปรดิวเซอร์ในสมัยก่อนจึงจำเป็นต้องเลือกรูปแบบใดแบบหนึ่งในการผลิตออกสู่ตลาด โชคดีที่คอมพิวเตอร์นั้นต้อนรับทุกรูปแบบ จึงทำให้ยุคของการ download เข้าสู่คอมพิวเตอร์นั้นเริ่มขึ้น และเมื่อรวมเข้ากับ DAC และการตั้งค่าที่ดีแล้ว คอมพิวเตอร์ก็สามารถกลายเป็นเครื่องเสียงชั้นดีได้เช่นกัน
รูปแบบต่างๆที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ต่างก็มีค่า bit rate แตกต่างกันไป ซึ่งจะกระทบต่อระยะเวลาการ download ของไฟล์นั้นๆ ตัวอย่างที่ 3 จะแสดงให้เห็นถึงรูปแบบต่างๆควบคู่ไปกับขนาดของไฟล์และเวลาที่ใช้ในการ download ของอินเตอร์เนทความเร็ว 5Mb/วินาที โดยที่ไฟล์นี้มีความยาว 3 นาที
จากตัวอย่าง เมื่อใดที่ sample rate นั้นมีค่าสูงเกิน 96kHz ไฟล์รูปแบบ PCM จะเริ่มมีขนาดของไฟล์ที่ใหญ่มากและจะต้องใช้เวลานานในการ download ในขณะที่ขนาดและเวลาในการ download ของ DSD นั้นเทียบเท่าได้กับ 24/96 PCM แต่ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่ามากดังที่กล่าวไว้ข้างต้น บ่อยครั้งที่ไฟล์รูปแบบ DXD จะถูกเปรียบเทียบกับ DSD ในเรื่องของคุณภาพเสียง แต่จากตารางนี้จะเห็นได้ว่า DSD นั้นมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบต่อ bit มากกว่าถึง 3 เท่า นั่นก็เพราะว่า DSD นั้นไม่มี frequency response ที่ราบเรียบอย่างที่แสดงไว้ในตัวอย่างที่ 2 แต่จะทำการปรับความละเอียดของเสียงในช่วงความถี่ที่สูงมากๆ ซึ่งหูของมนุษย์ก็สามารถรับฟังเสียงได้ที่ช่วงความถี่หนึ่งเท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้บวกเข้ากับเรื่องของไฟล์ DSD ที่มีอยู่จำนวนมากตาม studio ต่างๆจึงทำให้ DSD สามารถครองรูปแบบไฟล์ความละเอียดสูงบนอินเตอร์เนทได้อย่างไม่ยากนัก
การเล่นไฟล์เพลง DSD
คอมพิวเตอร์นั้นได้เปรียบในเรื่องของการอ่านไฟล์, สลับ bit จากอันหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง และยังสามารถปรับแต่งได้มากมาย สามารถสั่งงานจากระยะไกลได้ มีพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์มากมาย สามารถอัพเกรดได้โดยง่าย สั่งงานได้ผ่าน tablet หรือ smartphone และมีราคาถูก แต่เมื่อรวมกับการส่งสัญญาณ analog แล้วคอมพิวเตอร์จัดว่าทำได้ไม่ดีเท่าไร เพราะตัวเครื่องนั้นมีพัดลม, ฮาร์ดดิสก์จำนวนหลายตัว, CPU, และส่วนการประมวลผลอื่นๆที่ล้วนแล้วแต่สร้างสัญญาณรบกวนและยังทำงานบนสัญญาณนาฬิกาแบบ synchronous อีกด้วย เหล่านี้ล้วนส่งผลเสียให้กับสัญญาณแบบ analog แต่โชคดีที่ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยง่าย โดยเพียงย้าย DAC ออกมาอยู่ภายนอก แต่ก็เกิดคำถามขึ้นว่า ถ้าอย่างนั้นการเชื่อมต่อ DAC ที่ดีควรเป็นแบบไหน ซึ่งการเชื่อมต่อที่ดีนั้นควรจะ
• ไม่มีการจำกัดชนิดของไฟล์
• ไม่มีการจำกัด sample rate
• สายเส้นเดียวสามารถทำให้ DAC เป็น clock master ได้ (คอมพิวเตอร์ไม่สร้าง audio clock ใดๆ)
• เป็นมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
• ความยาวสายที่ยาว
การเชื่อมต่อพื้นฐานที่เรารู้จักอย่าง Coax, AES/EBU หรือ Toslink ล้วนแต่มีข้อจำกัด ทั้งหมดนั้นไม่รองรับ DSD และไม่สามารถรองรับความถี่ที่สูงกว่า 192kHz หรือการตั้งค่า clock master โดยไม่ใช่สายเส้นที่สองก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน แต่โชคดีที่บริษัทด้านเครื่องเสียงได้จับมือกับบริษัทด้านซอฟท์แวร์ช่วยกันคิดค้นช่องทางการส่งสัญญาณผ่านทางสาย USB ในช่วงปลายปี 90 ซึ่งช่องทางนี้แทบจะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของชนิดของไฟล์, sanple rate หรือว่า clock ที่สามารถส่งด้วยความเร็วสูงสุดเท่าที่ USB จะรองรับ มันเป็นมาตรฐานสำหรับทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ถึงแม้เครื่องคอมเครื่องนั้นจะมีสเปคที่ต่ำสุดก็ตาม USB ยังสามารถต่อความยาวได้สูงสุดถึง 15 ฟุต จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ DAC สมัยใหม่จะมาพร้อมกับช่อง USB
มาตรฐาน DSD นั้นมีหลายแบบเนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้
.dff สร้างโดย Philips ในปี 2000
.wsd สร้างโดย 1-bit-Audio-Consortium ในปี 2002 ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นจำนวนหนึ่ง
.dsf สร้างโดย Sony ในปี 2005 รูปแบบนี้จะค่อนข้างเหมือนกับรูปแบบ .dff แต่มีความยืดหยุ่นกว่าในเรื่องของการรวมข้อมูลอื่นๆไว้เช่น graphics for liner art เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้แสดงข้อมูลภาพที่เกี่ยวข้องกับเพลงที่ฟังอยู่ได้ รูปแบบนี้ถูกใช้บนแผ่นไฟล์ DSD จำนวนมากที่บันทึกลงบนแผ่น DVD ที่สามารถเล่นกับ Sony Playstation, คอมพิวเตอร์ และเครื่องเล่น SACD ด้วยความสามารถนี้ทำให้รูปแบบนี้ครองตลาดเกือบทั้งหมด อย่างไรก็ตามทั้ง 3 รูปแบบนี้ก็ยังใช้กันอยู่ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ก็รองรับทั้ง 3 รูปแบบ เพียงแค่นักพัฒนาโปรแกรมให้เวลาเพิ่มกับโปรแกรมอีกเล็กน้อยเพื่อให้โปรแกรมรองรับไฟล์เพิ่มเติมและทำให้ผู้ฟังไม่ต้องมาคอยสนใจในเรื่องชนิดของไฟล์มากนัก แถมยังมีซอฟท์แวร์ที่ใช้แปลงจากประเภทหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบได้อีกด้วยเช่น Audiogate จากทาง Korg และผู้ลิตซอฟท์แวร์หลายรายในตอนนี้สามารถผลิตซอฟท์แวร์ที่สามารถเล่นได้ทั้ง PCM ที่ sample rate ใดก็ได้, DSD และ double rate DSD เมื่อโปรแกรมอ่านไฟล์ DSD ตัวโปรแกรมจะส่งข้อมูลไปยัง USB driver และถูกจัดเรียงใหม่เพื่อพร้อมที่จะส่งออกไปผ่านทาง USB ทั้ง Windows และ Apple OS ต่างก็มี driver ที่ถูกปรับแต่งมาสำหรับรองรับการส่งสัญญาณ audio ดังนี้
Windows นั้นทำการปรับแต่ง Driver USB สำหรับ Audio มาให้ได้อย่างแย่มากและไม่สามารถรองรับสัญญาณมากกว่า 24/96 PCM ไม่รองรับ DSD หรืออีกแง่หนึ่งคือ หากไม่ใช้ Driver จากทางผู้ผลิตอื่นแล้ว USB จะไม่มีประโยชน์เลยสำหรับการใช้งาน high resolution audio โชคดีที่บริษัทเครื่องเสียงชั้นนำอย่าง Stienberg ได้สร้าง driver ที่เรียกว่า high level audio interface driver (ASIO) ซึ่งรองรับ sample rate ทุกระดับสำหรับ PCM แต่ยังรองรับ DSD ด้วย ตอนนี้มันถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่มืออาชีพ และยังเป็นที่ยอมรับในหมู่นักฟังด้วย
Apple OS นั้นรองรับ PCM ทุกรูปแบบ แต่น่าเสียดายที่ไม่รองรับ DSD เช่นเดียวกัน และตั้งแต่เวอร์ชั่น 10.7 เป็นต้นมาทาง Apple ก็ได้เอาโหมดพิเศษออก (“integer mode”) ซึ่งแต่ก่อนสามารถใช้ส่งสัญญาณ DSD ได้โดยไม่ต้องกลัวว่าตัว OS จะสับสนว่าเป็น PCM เนื่องจากระบบของ Apple นั้นเป็นระบบปิด ไม่เหมือนกับทางฝั่งของ Windows ทางเลือกเดียวที่จะเล่นไฟล์ DSD แบบ native คือการนำ bit ของ DSD ไปใส่ไว้ใน PCM container เพื่อที่ตัว OS จะได้เข้าใจว่าเป็นไฟล์ PCM ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของผู้พัฒนาซอฟท์แวร์และผู้ผลิต DAC ที่จะคิดค้นวิธีการส่งที่ปลอดภัยและไม่ทำให้ตัว OS นั้นสับสนได้อีก ซึ่งผู้ผลิตหลายรายได้ร่วมมือกันผลักดันให้วิธีนี้กลายเป็นมาตรฐานเพื่อที่ DSD นั้นสามารถเล่นแบบ native ผ่านช่องทาง PCM โดยไม่ต้องทำการแปลงจาก DSD ไปเป็น PCM อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งข้อดีก็คือไม่จำเป็นต้องลง driver เพิ่มเติม เพราะว่า Apple native USB audio นั้นสามารถที่จะรองรับ PCM และ DSD ที่ความละเอียดใดก็ได้ และอุปกรณ์ที่ใช้เล่นส่วนมากก็รองรับวิธีการนี้แล้ว
ในส่วนของ Linux นั้นใช้ music server แต่ถ้าหากคุณไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องคอมพิวเตอร์มันจะเป็นเรื่องที่ยากมาสำหรับการปรับแต่งซอฟท์แวร์และ driver และเท่าที่ทราบในตอนนี้ยังไม่มี driver ตัวไหนที่รองรับการเล่น DSD เลย
ข้อสรุป
ขณะที่ DSD นั้นยังถูกใช้ใน SACD มันยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้วงการเครื่องเสียงนั้นเติบโตผ่านช่องทางใหม่นั่นคือการ download ซึ่งประสิทธิภาพด้านเสียงนั้นสามารถสู้กับรูปแบบ high resolution PCM ได้อย่างสบาย แค่เพียงในเรื่องของ bit efficiency ก็สามารถรับประกันถึงประสิทธิภาพของมันได้แล้ว แต่ก่อนนั้นการฟังเพลงจะต้องยึดติดอยู่กับแผ่นประเภทต่างๆ (vinyl, CD, SACD เป็นต้น) ทำให้พัฒนาการด้านเสียงไปได้อย่างช้าๆ แต่เมื่อมีไฟล์แบบ PCM และ DSD มาจึงช่วยให้เข้าสู่ยุคที่แผ่นไม่ใช่ข้อจำกัดอีกต่อไป กลายเป็นการปรับแต่งและอัพเกรดซอฟท์แวร์ในคอมพิวเตอร์แทน ซึ่งไม่ใช่แค่การจัดเก็บ ประมวลผล แล้วก็เล่นอีกต่อไป แต่ยังรวมถึงการเชื่อมต่อ (USB) ที่ใช้ในการส่งผ่านมมายัง DAC และแต่ก่อนนั้นไฟล์เพลงจะต้องปรับตัวตามรูปแบบที่จัดเก็บ แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้ว อุปกรณ์ต่างๆต้องปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบของไฟล์ที่พัฒนาไปเรื่อยๆ หรืออีกมุมหนึ่งคือคอมพิวเตอร์ในตอนนี้สามารถไปในทางที่เราต้องการอย่างไรก็ได้ ในตอนนี้อาจจะเป็นการผสมกันระหว่าง high rate PCM และ DSD แต่ในอนาคตอาจจะเป็น DSD ซะส่วนมากกว่าก็เป็นได้
Resouces
นี่คือรายการผู้ผลิตซอฟท์แวรที่รองรับการเล่นไฟล์แบบ Native DSD
• ChannelD Puremusic: www.channld.com. Supports DSD and double rate DSD on Apple Mac.
• Audirvana: www.audirvana.com. Supports DSD on Apple Mac.
• JRiver Media Center 17: www.jriver.com. Supports DSD and double rate DSD on Windows PC.
• Merging Technologies Emotion: www.merging.com. Supports DSD and double rate DSD on Windows PC. Release planned for early 2012.
The following labels and artists offer DSD files for download (many more are in preparation):
• Blue Coast Records: www.bluecoastrecords.com
• Japan: http://ototoy.jp/feature/index.php/sound_and_recording
• Channel Classics: www.channelclassics.com/dsd.html
• Japan: http://ototoy.jp/feature/index.php/sound_and_recording
• 2L: http://www.2l.no/hires/index.html
• Wheatus: http://wheatus.com/
• David Elias: http://www.davidelias.com/
• Site where various artists and labels offer high resolution recordings for download, including DSD: http://downloadsnow.net
• Germany: www.cybele.de
ถ้าหากคุณสนใจที่จะจัดเก็บแผ่นเสียงหรือเทปของคุณให้เป็นรูปแบบดิจิตอลที่มีความละเอียดสูงสุด หรือ double rate DSD @ 5.6448MHz คุณสามารถใช้ Korg’s professional recorder สำหรับแปลงเป็นไฟล์ DSD และใช้เล่นกับโปรแกรมที่ระบุไว้ด้านบน
• Korg: www.korg.com
D/A converter ที่สามารถเล่นไฟล์ DSD ได้โดยตรงมีดังนี้
• Playback Designs: www.playbackdesigns.com. Every product supports DSD, double rate DSD and PCM up to 384kHz via USB.
• dCS: http://www.dcsltd.co.uk. Support for DSD and PCM up to 192kHz via USB.
• Mytek Digital: www.mytekdigital.com. for DSD and PCM up to 192kHz via USB and Firewire.
ขอบคุณบทความจาก