Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

มารู้จักชนเผ่า ต่างในบ้านเรากันดีกว่าครับ

MOD91

21/12/2011 22:57:55
6
ช่วง พฤศจิกา-ธันวา-มกรา ของทุกปีประกอบกับลมหนาวที่พัดเอาความเย็น เข้ามา ทางบ้านเรา ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ


ต่างหลั่งใหลเข้ามาเพื่อสัมผัสบรรยากาศยอดดอยทุ่งดอกไม้กับสายลม ใครที่มีคุ่มา ก็ดูช่างน่าอิจฉาเสียนี่กะไร


ส่วนใครที่มาคนเดียว ได้แต่หวังว่าจะเจอคุ่ข้างหน้ากับเขา บ้าง โดยเฉพาะสาวเหนือได้ขึ้นชื่อเรื่องขาวสวยหมวย

อึ๋ม พ่วงด้วยคำพูดคำจา ที่ฟังแล้ว ชวนให้ หนุ่มๆ เคลิ้ม มานักต่อนักแล้วเจ้า ^ ^

เชียงใหม่ถือว่าเป็น เมืองที่น่าเที่ยวอันดับต้นๆ อีกจังหวัดหนึ่งของบ้านเรา เนื่องจากมีความหลากหลาย

ทั้งทางด้านเชื้อชาติ ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น ที่มีรากฐานมายาวนาน ทั้งจากชนชาติ

ชนเผ่าต่างๆที่เข้ามาอาศัยอยู่มากมาย ไม่มีจังหวัดใดในประเทศไทยที่มีวัดวาอารามเยอะเท่าเชียงใหม่

อีกแล้ว บางวัดกำแพงติดกันเลยก็มี ก็ได้แต่หวังว่า ความเจริญที่เข้ามา คงจะไม่ทำให้วัฒนธรรมประเพณี ที่สืบทอดกันมา

ยาวนานคงจะไม่เลือนหายไป
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

MOD91

21/12/2011 23:13:57
6
ประวัติการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนเหล่านี้ไม่เป็นที่แน่ชัดเท่าไรครับ

ส่วนหนึ่งมาจากการบอกเล่าปากต่อปาก ข้อมูลทางภาษาศาสตร์ของชาวฮั่นในประเทศจีน

และการคาดเดา เป็นที่เชื่อกันว่าทุก ๆ เผ่า ยกเว้นกะเหรี่ยงมีต้นกำเนิดในธิเบต

และอพยพมามากกว่าศตวรรษสู่มณฑลยูนนาน

ประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่มากที่สุดในทุกวันนี้ เชื่อกันว่าชาวกะเหรี่ยงมีต้นกำเนิด

จากพม่า การอพยพของชนเผ่าในเมืองไทย เป็นผลมาจากการสู้รบในสงคราม และปฎิวัติทาง

การเมืองในจีน พม่า และลาว เราจึงพบเห็น กระจัดกระจายกันอยู่ ทั้ง ลาว ไทย พม่า แต่หลักๆ

แล้วจะอาศัยอยู่บนดอย และ เทือกเขา

จังหวัดเชียงใหม่ มีกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ รวม 13 ชนเผ่า

แบ่งเป็นชาวเขา 7 เผ่า ได้แก่

กะเหรี่ยง

ม้ง

เมี่ยน (เย้า)

อาข่า (อีก้อ)

ลาหู่ (มูเซอ)

ลีซอ (ลีซู)

และ ลัวะ

เป็นชนกลุ่ม

น้อย 5 กลุ่ม ได้แก่ ปะหล่อง ไทใหญ่ ไทลื้อ จีนฮ่อ และอื่นๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

MOD91

22/12/2011 00:01:08
6



รูปภาพที่ลงนี้เป็นรูปถ่ายจาก มหกรรมชนเผ่าที่เชียงราย นะครับ

นำมาให้โดยเพื่อนผู้ใจดีผมเลยขอนุญาติเผยแพร่

เผื่อจะเป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆพี่พี่น้องๆ ในเวปเรา เพราะผมมั่นใจว่ามีหลายๆท่าน รุ้แต่เพียงคำว่า

ชาวเขา แต่น้อยคนที่จะรู่ว่าการแต่งกาย และบุคลิคหน้าตา วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของเขา

เป็นอย่างไรบ้าง ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

MOD91

22/12/2011 00:05:59
6



กะเหรี่ยง
ถิ่นฐานดั้งเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า ๒๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ต่อมาได้หนีภัยสงครามมาอยู่ที่ธิเบต และเมื่อถูกรุกรานจากกองทัพจีนก็ถอนลงมาทางใต้เรื่อยๆ จนกระทั่งลงมาถึงดินแดนลุ่มแม่น้ำสาละวินในเขตพม่า กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชนชาติพันธ์ที่อาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศไทย กะเหรี่ยงในประเทศไทยเป็นกะเหรี่ยงที่อพยพจากประเทศพม่าทั้งสิ้น จำนวนประชากรในปัจจุบัน กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าราว ๒.๖ ล้านคน และในประเทศไทยราว ๔๐๐,๐๐๐ คน
คำว่า "กะเหรี่ยง" หมายถึงคำว่า โพล่ว ในภาษากะเหรี่ยง โพล่ว แปลเป็นภาษาไทยว่า
คน หรือ มนุษย์ชาติ ดังนั้น กะเหรี่ยง ก็หมายถึง คนหรือมนุษย์ นั้นเองครับ

ในอดีต นักวิชาการได้จัดแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ
1. กะเหรี่ยงสกอร์ หรือปกาเกอะญอ
2. กะเหรี่ยงชูว หรือโผล่ว
3. กะเหรี่ยงคะยาห์ หรือยางแดง
4. กะเหรี่ยงตองซู
แต่ปัจจุบัน นักวิชาการรุ่นใหม่มีความเห็นที่แตกต่างออกไปและจัดแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงไว้เพียง 2 กลุ่ม คือ
1. กะเหรี่ยงสกอว์ หรือปกาเกอะญอ
2. กะเหรี่ยงซูว หรือโผล่ว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

MOD91

22/12/2011 00:15:30
6



การแต่งกายของเผ่ากะเหรี่ยง
การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำกลุ่มมักเป็นได้จากการแต่งกายของผู้หญิง เสื้อสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาย นั่นคือ ความอดทนแข็งแรง เสื้อสีแดงของชายกะเหรี่ยงเน้นเสื้อทรงสอบ คอเสื้อเป็นรูปตัววี ตรงชายเสื้อติดพู่ห้อยลงมา ผู้หญิงกะเหรี่ยงสะกอที่ยังไม่แต่งงานใส่ชุดทอด้วยมือทรงสอบ สีขาว ยาวคร่อมเท้า ชุดขาวนี้เรียกว่า “เช้ว้า” ใส่ตั้งแต่เด็กจนถึงวันแต่งงานจึงจะเปลี่ยนใส่ชุดขาว เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ ผู้หญิงกะเหรี่ยงสะกอที่แต่งงานแล้วสวมเสื้อประดับประดาด้วยลูกเดือยและฝ้าย สี เสื้อของหญิงที่แต่งงานแล้ว ต้องมีลายปัก ต้องมีการปักลูกเดือย สำหรับนับถือผีและพุทธ ส่วนศาสนาคริสต์ไม่จำเป็นต้องปักลูกเดือย จะใส่ผ้าซิ่นที่มีลายถี่ ผ้าซิ่นของหญิงที่แต่งงานแล้วและนับถือคริสต์จะไม่มีลายถี่
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

MOD91

22/12/2011 00:27:15
6

ความเชื่อเรื่องผีและสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของกะเหรี่ยง เป็นผลดีต่อความเป็นอยู่โดยรวมของสังคมกะเหรี่ยง จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของโครงสร้างสังคมและวิธีการดำเนินชีวิต เป็นบ่อเกิดของพื้นฐานสำคัญของโครงสร้างสังคมและวิธีการดำเนินชีวิต เป็นบ่อเกิดของคุณธรรมนานัปการ ตลอดจนก่อให้เกิดข้อห้าม จารีตต่าง ๆ ที่ใช้เป็นกฎสังคมในการป้ามประพฤติปฏิบัติต่าง ๆ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า ทำอะไรอยู่ย่อมมีผู้รู้เห็นเสมอ และจะลงโทษผู้ที่ประพฤติไม่ดีให้เจ็บป่วย หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรหรือสัตว์เลี้ยงได้ หากกระทำผิด
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

MOD91

22/12/2011 00:39:28
6



ม้ง

จากการสันนิษฐาน ว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

MOD91

22/12/2011 00:42:45
6



จากการสู้รบที่ยาวนาน ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็น
กลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาว
บริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา

ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

MOD91

22/12/2011 00:52:26
6



ประเพณีฉลองปีใหม่
งานฉลองปีใหม่ของม้ง หรือที่เรียกว่า “ น่อเป๊โจ่วซ์” ซึ่งแปลว่ากินสามสิบ ประเพณีปีใหม่ม้ง จะมีขึ้นประมาณเดือนธันวาคม ถึง มกราคมของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวม้ง สาวชาวม้ง จะนำชุดประจำเผ่า ที่ตนอุตส่าห์เย็บปักถักร้อย ด้วยตนเองมาเป็นเวลานานปี ออกมาสวมใส่อวดเพื่อนบ้าน รวมทั้งหนุ่มชาวม้งต่างแดนที่มาเที่ยว เด็ก ๆ จะวิ่งเล่นตามลานกว้างของหมู่บ้าน รวมทั้งการเล่นตีลูกข่าง อย่างสนุสนาน หนุ่มสาวจะออกมาเล่นโยน “ลูกละกอน” ซึ่งปัจจุบันใช้ลูกบอลโยน แทน เล่ากันว่าการโยน “ลูกละกอน” นี้เป็นการนำไปสู่เส้นทางแห่งความรักและชีวิตคู่ของหนุ่มสาวชาวม้ง กล่าวคือหนุ่มชาวม้ง ที่จ้องหมายปอง หญิงสาว ที่ตนชื่นชอบ หลังจากนั้น ในตอนกลางคืนก็จะมีการเที่ยวไปมาหาสู่กันจนประเพณีปีใหม่เสร็จสิ้น ชาย หนุ่มที่หมายปองสาวผู้ใดก็จะพาหนีไปอยู่ที่บ้านของตนสักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะนำผู้ใหญ่มาสู่ขอตามประเพณีต่อไป
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 9

MOD91

22/12/2011 01:18:08
6



ถ้าเราได้มีโอกาสมาเชียงใหม่ เผ่าที่เราจะพบเห็นได้ไม่ยากก็คือเผ่าม้ง ซึ่งช่วงนี้จะเข้าช่วงเทศ

กาลปีใหม่ม้ง พอดี ถ้ามีโอกาสขึ้นไปเที่ยวดอยสุเทพ เลยขึ้นไปอีกหน่อยก็จะเป็นดอยปุย ซึ่งเป็น

ชุมชนของชาวม้ง ม้งที่หมู่บ้านนี้จะเป็นม้งลาย แต่สำหรับท่านที่มีเวลาพอ แนะนำให้ขึ้นไปอีก

หน่อยก็จะเจอ เผ่าม้งขาว ที่หมู่บ้านช่างเคี่ยน ครับ ที่หมู่บ้านนี้ ซากุระเมืองไทยหรือต้นพญาเสือ

โคร่งกำลังออกดอกบานสะพรั่ง หมุ่บ้านนี้น่าเที่ยวมากครับ แถมอากาสหนาวสุดขั้ว สาวม้งที่นั้น

หน้าตา จิ้มลิ้ม น้องๆสาว เจแปน เลยล่ะ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 10

MOD91

22/12/2011 02:01:44
6



** บนฟ้ามีเมฆลอย บนดอยมีเมฆบัง มีสาวงามชื่อดัง**

** อยู่หลังแดนดงป่า มีกะลาล่าเซอ มีหนุ่มหนุ่มเผลอฮ้องหา**

** มีสาวงามขึ้นมา แล้วมีมิ-ดะ **

บทเพลงในตำนาน ของ อ้าย จรัลที่เล่าถึง ประเพณีความเชื่อ ของ ชนเผ่าที่ ชื่อ อาข่า หรือ อีก้อ

ประวัติความเป็นมาชนเผ่าอาข่า

ชน เผ่าอาข่า เป็นแขนงหนึ่งของชนเผ่าธิเบต-พม่า รูปร่างเล็กแต่ล่ำสันแข็งแรง ผิวสีน้ำตาลอ่อนและกร้าน ผู้หญิงมีศีรษะกลม ลำตัวยาวกว่าน่อง และขา แขน และขาสั้นผิดกับผู้ชาย มีภาษาพูดมาจากแขนงชาวโล-โล คล้ายกับภู ภาษาลาหู่ และลีซู ไม่มีตัวอักษรใช้ วัฒนธรรมของคนอาข่าทำให้พวกเขามองชีวิตของคนในเผ่าเป็นการต่อเนื่องกัน เด็กเกิดมาเป็นประกันว่าเผ่าจะไม่สูญพันธุ์ พอโตขึ้นกลายเป็นผู้สร้างเผ่า และเป็นผู้รักษา “วีถีชีวิตชนเผ่าอาข่า” ในที่สุดก็ตาย และกลายเป็นวิญญาณบรรพบุรุษคอยปกป้องลูกหลานต่อไป กฎต่าง ๆ เหล่านี้ครอบคลุมทุกคนในชนเผ่า ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นแนวทางสอน

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 11

MOD91

22/12/2011 02:05:57
6



แม้จะไม่ได้มีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ชนเผ่าอาข่าก็มีตำนาน สุภาษิต ขนบ

ธรรมเนียม ประเพณี พิธีการมากมาย ที่ทำให้หมายรู้ในเผ่าพันธุ์ และซาบซึ้งในความเป็นอาข่าของ

ตน เขาสามารถสืบสาวรายงานบรรพบุรุษฝ่ายบิดาขึ้นไปได้ถึงตัว “ต้นตระกูล” และรู้สึกว่าท่าน

เหล่านั้น ก่อกำเนิดชีวิตเขามา และประทานวิชาความรู้ ในการเลี้ยงชีวิตมาโดยตลอด เพราะเหตุที่

มองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโซ่สร้อยซึ่งร้อยมายาวนาน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 12

MOD91

22/12/2011 02:07:30
6



ชนเผ่าอาข่าจะอดทนผจญความยากเข็ญทั้งหลาย ดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป เพื่อว่าลูกหลานจะได้รำลึก

บูชาเขา เช่น บรรพชนคนหนึ่งในวันข้างหน้า ตามตำนานของอาข่า ธรณี (อึ่มมา) และท้องฟ้า

(อึ่มก๊ะ) นั้นเสกสรรค์ขึ้นมา โดยมหาอำนาจ อะโพว่หมิแย้ (บางครั้งแปลออกมาว่า “พระผู้เป็น

เจ้า”) จากอึ่มก๊ะ สืบทอดเผ่าพันธุ์กันลงมา อีก 9 ชั่วเทพ คือกาเน เนซ้อ ซ้อสือ สือโถ โถม่า ม่าย

อ ยอเน้ เน้เบ่ และเบ่ซุง พยางค์หลังชื่อบิดาจะกลายเป็นพยางค์หน้าของชื่อบุตร ดังนี้เรื่อยลงมา

ตามแบบแผนการตั้งชื่อของอาข่า ซึ่งยังทำกันอยู่จนทุกวันนี้
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 13

MOD91

22/12/2011 02:19:08
6
ขอตัว นอนก่อนนะครับ พรุ่งนี้มาต่อใหม่ .....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 14

sit39

22/12/2011 09:43:44
0
รอรับชมต่อเน้ออ อย่าลืมภาพปลากรอบขาวๆหมวยๆด้วยนะพี่55555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 15

MOD91

22/12/2011 11:36:29
6



ชนเผ่า ลาหู่

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จ.เชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 16

MOD91

22/12/2011 11:37:24
6



ปัจจุบันในประเทศไทยมีชนเผ่าลาหู่อาศัยอยู่ราว 1.5 แสนคน โดยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนไทย - พม่ากว่า 800 หมู่บ้าน พื้นที่ที่มีชาวลาหู่อาศัยอยู่มากได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำปาง โดยเฉพาะตามพื้นที่ติดชายแดน ส่วนใหญ่แล้วชนเผ่าลาหู่ มักจะอาศัยปะปนกับชนเผ่าอื่น ๆ หรือคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นหมู่บ้าน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ลาหู่แดง ซึ่งมีการนับถือผี โดยโตโบหรือผู้นำทางศาสนา ส่วนลาหู่ดำหรือลาหู่เหลือง ก็มีการนับถือผีเช่นกัน นอกจากนี้เผ่าลาหู่ก็ยังมีการนับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 17

MOD91

22/12/2011 11:37:57
6



ด้านวิถีชีวิตของชนเผ่าลาหู่นั้น โดยปกติแล้วชนเผ่าลาหู่ชอบอาศัยอยู่บนที่สูง และเป็นชนเผ่าที่ไม่ชอบความวุ่นวาย มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เป็นชนเผ่าที่สามารถปรับตัวเข้ากับผู้คนได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะยังชีพด้วยการเป็นชาวนา ปลูกข้าว และข้าวโพด เพื่อการบริโภคในครัวเรือน ลาหู่ก็ยังภูมิใจกับการเป็นนักล่าสัตว์ นอกจากนี้พวกเขายังเคร่งครัดกับกฎระเบียบของความถูกและผิด ทุกๆ คนจะตอบคำถามในพื้นฐานเดียวกับคนรุ่นเก่า ชาวลาหู่เข้มแข็งต่อการยึดมั่นต่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และทำงานด้วยกันเพื่อยังชีพ ลาหู่อาจเป็นกลุ่มคนที่มีความเท่าเทียมทางด้านเพศมากที่สุดในโลก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 18

MOD91

22/12/2011 11:52:30
6




ในระหว่างชาวเขาเผ่าต่างๆ ผู้หญิงชาวลาหู่ จะมีลักษณะทางสังคมดีกว่าหญิงเผ่าอื่นๆ คือ หญิงชาวลาหู่มีสิทธิเท่าเทียมผู้ชาย เช่นมีสิทธิครอบครองสมบัติ สามารถเต้นรำร่วมกับชายได้ การแต่งงานต้องช่วยกันออกทั้งสองฝ่ายเท่าๆกัน เป็นต้น
มีรายงานว่า เผ่าลาหู่มีความสามารถเป็นนักรบได้ดีเคยร่วมรบกับกองทัพอังกฤษในพม่าสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 หรือแม้แต่ครั้งทำสงครามกับจีน พวกลาหู่ก็ได้รับความยกย่องว่ามีความเข้มแข็งสามารถต่อต้านจีจนได้เป็นอิสระ อยู่ในยูนานได้นานทีเดียว
ในรายงานได้ระบุว่าลาหู่ในพม่าเป็นพวกบ้าสงคราม เช่นครั้งหนึ่งชาวลาหู่ได้ร่วมกับพวกอีก้อสู้รบกับกองทหารที่อพยพเข้าไปจาก เขตแดนไทยได้รับชัยชนะเป็นต้น
ลาหู่เป็นพวกที่มีความสามารถ ในการตีเหล็กได้ดี พวกเขามักจะทำเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการเกษตรเอง เช่น จอบ มีด ขวาน และเคียวเป็นต้น
นอกจากนี้ลาหู่ยังมีความสามารถและชำนาญในการเล่นดนตรีเครื่องเป่าแคน หรอ “หน่อกู่มา” ซึ่งทำจากลำไม้ไผ่ ประกอบกับลูกน้ำเต้าใช้เป่าประกอบการเต้นรำ การเต้นรำของชาวลาหู่จะเต้นรำอยู่รอบวงนอกในโอกาสสำคัญๆ เช่นการฉลองปีใหม่ วันกินข้าวใหม่ หรือวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น ดังนั้นชาวลาหู่จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้มีเสียงเพลงในหัวใจเลยทีเดีย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 19

MOD91

22/12/2011 12:06:37
6



ประวัติความเป็นมา

คำว่า “มูเซอ” เป็นคำภาษาไทยใหญ่ ซึ่งคนไทยเรานำมาใช้เรียกชนชาวเขาเผ่าหนึ่งซึ่งเรียกตน

เองว่า “ล่าหู่” มูเซอในความหมายของคนไทย หมายถึงมูเซอดำ(ล่าหู่นะ) มูเซอแดง (ล่าหู่ณี) และมูเซอกุ้ย
หรือมูเซอเหลือง (ล่าหู่ฌี)

ถิ่นกำเนิดของมูเซออยู่ใกล้เขตแดนประเทศธิเบตแล้วจึงอพยพเคลื่อนย้ายไปทางตอนใต้ของยูนนาน ภายหลังพวกมูเซอมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มชนเชื้อชาติโลโล ซึ่งก็มาจากธิเบตและอพยพไปอยู่ทางใต้
ของประเทศจีน จะเห็นได้ว่ามีลักษณะบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายกับพวกลีซอและอีก้อ

ภาษาพูดของมูเซอจัดอยู่ในตระกูลจีน – ธิเบต มีลักษณะเป็นภาษาคำโดด ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มภาษา “ล่าหู่นะ” (มูเซอดำ) และกลุ่มภาษา “ล่าหู่ฌี” (มูเซอเหลือง)
และในการติดต่อสื่อสารระหว่างมูเซอกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งอีก้อ ลีซอ จีนฮ่อ พวกนี้มักจะใชย้ภาษาถิ่น “มูเซอดำ”
(ล่าหู่นะ) เป็นภาษากลาง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 20

MOD91

22/12/2011 12:12:05
6



ลาหู่ หรือ มูเซอ นั้นค่อนข้างมีหลายกลุ่ม เท่าที่ บันทึกไว้

มูเซอแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม กลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือมูเซอดำและมูเซอแดง
กลุ่มเล็ก 2 กลุ่มหลังคือมูเซอฌี หรือมูเซอกุย และมูเซอเฌเล การแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย เช่นนี้เป็นการแบ่ง
แต่เพียงคร่าว ๆ ตามความแตกต่างเพียงผิวเผินในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนา และการแต่งกาย แต่ในทางภาษาศาสตร์แล้ว ภาษามูเซอดำ มูเซอแดง และมูเซอเฌเล ใช้พูดติดต่อกันได้ ยกเว้นภาษามูเซอกุยเท่านั้นที่ใช้พูดติดต่อ
กับมูเซอกลุ่มอื่นไม่ได้

มูเซอดำ เรียกตนเองว่า ละหู่นะ อาจกล่าวได้ว่าพวกนี้เป็นมูเซอดั้งเดิมที่อพยพมาจากทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาร์และยูนนาน

มูเซอแดง น่าจะถือได้ว่าเป็นสาขาทีแตกต่างจากมูเซอดำ พวกนี้เรียกตนเองว่า ละหู่ณีย่า
ที่เรียกว่ามูเซอแดงนั้นมีความหมาย 2 ประการ คือหมายถึงแถบสีแดงผืนผ้าของผู้หญิง หรืออาจหมายถึงพรานป่าก็ได้

มูเซอฌี หรือมูเซอเหลือง ซึ่งคนไทยและไทยใหญ่เรียกว่ามูเซอกุย พวกนี้เป็นมูเซอที่มา
จากทางใต้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่มคือมูเซอชีนะตอ มูเซอซีอะ ดออะกา ทั้ง 2 กลุ่มนี้อยู่ทางใต้ของ
ยูนนาน อีก 2 กลุ่มคือ มูเซอชีบาหลาและมูเซอซีบาเกียว อาศัยในรัฐเชียงตุง รัฐฉานในเมียนมาร์และ
ในประเทศไทย

มูเซอเฌเล เรียกตัวเองว่า นะเหมี่ยว มาแต่ครั้งที่ยังตั้งหลักแหล่งอยู่ในยูนนาน และเพิ่งมาเรียกตนเองว่ามูเซอเฌ เลก็เมื่ออพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย คนไทยเรียกพวกนี้ว่ามูเซอดำ โดยดู จากลักษณะการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดสีดำ มูเซอเฌเลในประเทศไทยมี 3 กลุ่ม มูเซอพะคอ มูเซอนะมือ และมูเซอมะเหลาะ (มะลอ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 21

ทัตเทพ บุณอำนวยสุข

22/12/2011 12:28:04
113
รูปที่ถ่ายมานี่เขา(หล่อน)เป็นชาวเผ่าจริง ๆ หรือครับ ผมว่าบางคนนั้นน่ะสวยเกิ๊นนนน.....นะครับอ้ายมด
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 22

MOD91

22/12/2011 12:32:30
6



มีหลายคน โดยเฉพาะกลุ่ม นักเดินทาง และศิลปิน ปลายพู่กัน

ให้ฉายา เผ่านี้ ว่า " ราชินี แห่งขุนเขา"

เพราะ ลีซู หรือทีเราเรียกว่า ลีซอ ได้ชื่อว่าเป็นเผ่าที่แต่งกายมีสีสรรสดใส และหลากสีมากที่

สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหมด

ลีซูเรียกตนเองว่า "ลีซู" เป็น ชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ต้นน้ำสาละวินและ แม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศทิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนานในประเทศจีน เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีเชื้อสายมองโกลอยด์ ได้อพยพลงมาทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันกับชนเผ่าอื่นนับเวลาหลายศตวรรษ ลีซูได้ร่นถอยเรื่อยลงมาจนในที่สุดก็แตกกระจายกันอยู่ในเมียนมาร์ จีน อินเดีย และประเทศไทย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 23

MOD91

22/12/2011 12:35:48
6



สำหรับการอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยครั้งแรก อพยพจากพม่าเข้ามาอยู่ในประเทศไทยประมาณ ปี พ.ศ. 2467 ลีซูที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย มีภาษาและวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน ภาษาลีซูมีเฉพาะภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน คำพูดที่ใช้ร้อยละ 30 ยืมมาจากภาษายูนนาน หากแบ่งตามหลักภาษาศาสตร์ ชาวลีซูจะอยู่ในตระกูลภาษาจีน – ทิเบต (Sino – tibetan) กลุ่มย่อย ธิเบต- พม่า(Tibeto – burman) หรือ Lolish

กลุ่มชาติพันธุ์ลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆตามลักษณะเครื่องแต่งกาย คือ ลีซูดำ (ผู้หญิงใช้ผ้าสีดำมาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม) และลีซูลาย (เครื่องนุ่มห่มของผู้หญิงใช้ผ้าหลากสีสรรมาตัดเย็บ) ลีซูดำเกือบทั้งหมดตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตประเทศเมียนมาร์ ส่วนชาวลีซูในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นลีซูลาย มีกลุ่มลีซูดำอยู่บ้าง เช่น ลีซูที่บ้าน น้ำบ่อสะเป่ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มนี้เคลื่อนย้ายจากเขตประเทศพม่าอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณสิบกว่าปี ที่ผ่านมานี้ แต่ในปัจจุบันได้ใส่เสื้อผ้าเช่นเดียวกับลีซูลายไปหมดแล้ว คงมีแต่เพียงภาษาพูดบางคำที่แตกต่างกันออกไปบ้าง อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มย่อยนี้สามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี

ในประเทศไทยชาวลีซูตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินอยู่บนภูเขาและพื้นที่สูงชาว ลีซูประมาณร้อยละ 43 อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 31 อยู่ในจังหวัดเชียงราย ร้อยละ16 อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ 5 อยู่ ในจังหวัดตาก ที่เหลือนอกจากนั้นกระจายอยู่ในจังหวัด เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พะเยา ลำปาง สุโขทัยและแพร่ จากข้อมูลประชากรชาวเขาในพื้นที่สูง 20 จังหวัดในประเทศไทยสำรวจเมื่อปี 2540 มีประชากรชาวลีซูประมาณ 33,365 คน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 24

MOD91

22/12/2011 12:44:01
6



ลีซอนับถือผีเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆจะมีอยู่บ้างที่ หันมานับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ การนับถือผียังคงพบเห็นในหมู่บ้านโดยทั่วไป มีผีประจำหมู่บ้าน ผีบ้าน ผีเรือน ผีหลวง ผีป่า ผีน้ำหรือผีลำห้วย ผีต่างๆอาจแบ่งออกเป็นผีดีและผีร้าย ผีดีเป็นผีที่ให้คุณแก่พวกเขา เช่น ผีประจำหมู่บ้าน ผีบรรพบุรุษ ผีบ้านผีเรือน ส่วนผีร้ายได้แก่ผีป่า ผีคนตายไม่ดี เช่น ถูกยิงตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 25

MOD91

22/12/2011 13:11:56
6




เมี่ยน หรือ เย้า

เมี่ยน หรือ เย้า ได้ชื่อ เป็นชาวเขาเผ่าที่สะอาดที่สุดในบรรดาเผ่าทั้งหลาย ทั้งมีวัฒนธรรมการศึกษาที่ดีกว่าเผ่าอื่นชาวเมี่ยนส่วนใหญ่รักความสะอาด เกลียดความสกปรก ผิดกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ เช่น การล้างถ้วยชามก่อนใส่อาหารรับประทานหรือการอาบน้ำชำระร่างกายและซักเสื้อ ผ้านี้ก็ปฏิบัติเป็นประจำ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 26

MOD91

22/12/2011 13:13:21
6



ประวัติความเป็นมา

เมี่ยน [เย้า] ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คืออยู่ในตระกูลจีนธิเบต ได้ปรากฏครั้งแรกในเอกสารบันทึกของจีน สมัยราชวงศ์ถัง โดยปรากฏในชื่อ ม่อ เย้า มีความหมายว่าไม่อยู่ใต้อำนาจของผู้ใด เล่ากันว่า เมื่อประมาณ 2000 กว่าปีมาแล้วบรรพชน ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า “เย้า” เท่านั้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 27

MOD91

22/12/2011 13:15:05
6



ต่อมาคำว่าเย้าเคยปรากฏในเอกสารจีน เมื่อประมาณศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตศักราช ซึ่งมีความหมายว่าป่าเถื่อน หรือคนป่ากล่าวกันว่าในประเทศจีนชนชาติเย้ามีคำเรียกขานชื่อของตนเองแตกต่าง กันถึง 28 ชื่อ แต่คนเย้าในประเทศไทย เรียกตัวเองว่า เมี่ยน หรือ อิ้วเมี่ยน ซึ่งมีความหมายว่า มนุษย์ หรือ คนเหยา ซุ่น อัน กล่าวว่าชาวเย้าในประเทศจีนแยกออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ เผ่าเปี้ยน เผ่าปูนู เผ่าฉาซัน และเผ่าผิงตี้ ชาวเย้าเผ่าเปี้ยนมีประชากรมากที่สุดและเป็นกลุ่มที่ย้ายถิ่นฐานตลอดเวลา เป็นระยะทางที่ไกลที่สุด และกระจายกันอยู่ในอาณาบริเวณที่กว้างขวางที่สุดด้วย ภาษาเย้าในปัจจุบัน ผ่านการพัฒนากลายเป็นภาษาถิ่นย่อย 3 ภาษา คือ ภาษาเมี่ยน ภาษาปูนู และภาษาลักจา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 28

MOD91

22/12/2011 13:19:09
6



เมี่ยนเป็นชาวเขาที่มีฝีมือทางด้านการช่าง การหัตถกรรมมากที่สุดทั้งหญิงและชาย ผู้หญิงชาวเมี่ยนจะเก่งในเรื่องเย็บปักถักร้อย หรือที่เรียกว่า “การเย็บดอก” โดยอาศัยเวลาว่างจากงานในไร่ปักลวดลายลงผ้านั่นย่อมหมายความว่า หากหญิงเมี่ยนคนใดมีฝีมือในการเย็บดอกมากเพียงใดก็ย่อมเป็นที่หมายปองของชาย หนุ่มเมี่ยนมากขึ้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 29

ไซม่อน

22/12/2011 20:52:56
0
อันนี้ไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นเผ่าอะไร คิดว่าน่าจะอยู่ในประเทศลาว หรือไม่ก็ไทย หรือพม่า หรืออาจจะที่จีน อิอิ




ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 30

oname2

22/12/2011 20:57:09
3
ขอบคุณครับพี่มดได้ความรู้มาเยอะเลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 31

นายมั่นคง

22/12/2011 21:29:08
4,282
อื้ออือ ขอบคุณมากๆๆเลยครับ ความรุ้ใหม่ล้วนๆๆเลยจ้าๆๆๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 32

montree2511

22/12/2011 21:30:43
0
สาว ๆ น่ารักหลายเผ่าเลยเด้อ...น้ามด...อิอิ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 33

MOD91

23/12/2011 12:13:53
6



คะฉิ่น

ชาวคะฉิ่นเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อพยพหลบภัย หนีร้อนมาพึ่งเย็นในประเทศไทยเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ ดั้งเดิมชาวเขาเผ่าคะฉิ่นมีวัฒนธรรมเป็นของตนเองอย่างเด่นชัด ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยและเร่รอนไปในรัฐต่างๆ ของดินแดนพม่าและดินแดนจีน โดยเฉพาะในดินแดนรัฐคะฉิ่นที่อยู่ทางตอนเหนือสุด ติดต่อกับเทือกเขาหิมาลัย รัฐฉาน ดินแดนของชาวไทยใหญ่ และฆณฑลคุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินโดนีเซีย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 34

MOD91

23/12/2011 12:14:58
6



ไม่มีหลักฐานว่าชาวคะฉิ่นเหล่านี้เดินทางเข้ามาในไทยตั้งแต่เมื่อใด

แต่การมาพบกันโดยบังเอิญของชาวคะฉิ่นหลายๆกลุ่ม ในประเทศไทยเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้เขาเหล่านั้นรวมตัวกันอย่างแน่นเฟ้น และเริ่มมองหาพื้นที่ที่จะอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านของชาวคะฉิ่นโดยเฉพาะ และในที่สุด ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2525 ยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ชาวคะฉิ่นก็สามารถตั้งหมู่บ้านได้เป็นหลักเป็นแหล่งที่บ้านใหม่สามัคคี ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว โดยมีคณะคะฉิ่นกลุ่มย่อยทั้ง 6 กลุ่มอยู่ร่วมกันอย่างครบครัน ทั้งหมดอยู่ภายใต้ความอุปถัมภ์ของโครงการหลวง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 35

MOD91

23/12/2011 12:21:08
6



สิ่งที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์และเป็นศูนย์รวมจิตใจที่สำคัญที่สุดของชาวคะ ฉิ่นทุกเผ่าพันธุ์ก็คือ “เสามะเนาชะโดง” ที่เป็นเสาสูงหลายๆต้น เขียนสีลวดลายและสัญลักษณ์ต่างๆ ของชาวคะฉิ่น ที่จะเห็นได้จากทุกหมู่บ้านของชาวคะฉิ่น ไม่ว่าจะเป็นชาวคะฉิ่นกลุ่มย่อยกลุ่มไหนๆ ก็จะมีเสามะเนาชะโดงเป็นศูนย์รวมจิตใจตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ด้วยทุกแห่ง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 36

MOD91

23/12/2011 12:22:56
6



การแต่งงาน

การแต่งงานของชนเผ่าคะฉิ่นเริ่มด้วยฝ่ายผู้ชายไปสู่ขอฝ่ายหญิง งานแต่งงานจะจัดขึ้นในบ้านของฝ่ายชาย แต่ใช้นามสกุลต่างนามสกุล เมื่อมีลูกแล้วไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็จะใช้นามสกุลของพ่อ ชนเผ่าคะฉิ่นไม่นิยมแต่งงานกันกับคนที่มีนามสกุลเดียวกัน งานแต่งจะเกิดขึ้นช่วงที่ว่างเว้นจากงานในไร่สวน ประมาณตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม ส่วนเรื่องค่าสินสอดนั้น ฝ่ายชายต้องให้แม่ของฝ่ายหญิงประมาณ 20 , 000 – 30 , 000 บาท หากฝ่ายชายไม่มีค่าสินสอดที่จะให้กับพ่อแม่ของฝ่ายหญิงก็ต้องไปอยู่ช่วยทำ งานในบ้านของฝ่ายหญิง จำนวน 7 ปี หลังจากฝ่ายชายช่วยทำงานในบ้านของฝ่ายหญิงครบ 7 ปีแล้ว ทางพ่อแม่ของฝ่ายหญิงก็จะแบ่งที่ดินทำกินให้เพื่อให้ทั้งสองคนไปทำงานอยู่ กินด้วยกัน หากแต่งงานกันแล้วทั้งสองไม่สามารถที่จะมีลูกชายได้ก็ต้องไปให้ “ ตึ่มซา ” ทำนายว่าเหตุเกิดจากอะไร หาก “ ตึ่มซา ” ทำนายและบอกสาเหตุที่มีลูกชายไม่ได้เพราะผู้หญิง ผู้หญิงก็ต้องไปหาเมียน้อยให้ผู้ชายเพื่อให้ได้ลูกชายสืบตระกูลต่อไป แต่ผู้หญิงที่จะมาเป็นเมียน้อยนั้นต้องมาจากการพิจารณาของฝ่ายหญิง (คนที่อยู่มาก่อน) และต้องเป็นคนที่ฝ่ายหญิงอนุญาตเท่านั้น
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 37

MOD91

23/12/2011 12:30:52
6




คะฉิ่น ในจีน ลักษณะการแต่งกายจะแตกต่างกัน ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 38

MOD91

23/12/2011 12:40:13
6



ไตหย่า หรือ ไทหย่า

ไทหย่า คือกลุ่มชนชาวไทกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นอาศัยเดิมในตำบลโมซาเจียง อำเภอซินผิง จังหวัดยิ่วซี มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวจีนเรียกคนไทกลุ่มนี้ว่าฮวาเย่าไต แปลว่าไทเอวลาย ชาวไตหย่าบางส่วนได้อพยพมายังสิบสองปันนา บางส่วนเข้าสู่พม่าและไทย [1]มีประชากร 60,000 คน พูดภาษาไต (ไตตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคำ-ไต ตระกูลภาษาไท-กะได
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 39

MOD91

23/12/2011 12:44:59
6



ชื่อของชาวไทหย่า หรือไตหย่า ซึ่งแท้จริงแล้วคือชื่อเมืองหย่า ในเขตยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของชาวไทกลุ่มนี้ จึงเรียกว่า ไทหย่า หรือไตหย่า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 40

MOD91

23/12/2011 12:49:00
6



ชาวไทยหย่าตั้งบนเรือนอยู่รวมกันเป็น หมู่ ๆ ในอาณาเขตของจีน ไม่มีพื้นที่นาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยรับจ้างทำนาหรือเช่านาจากพวกชาวจีนฮ่อ (ยูนนาน) มักถูกรบกวนจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเก็บภาษีอากรสูง เกณฑ์ผู้คนไปทำถนนหนทาง เอาไปเป็นคนใช้ ทหาร ฯลฯ เมื่อถูกรบกวนหนักเข้าชาวไทยหย่าบางเหล่าจึงอพยพลงมาใต้มาอาศัยอู่บริเวณ ใกล้เคียงเมืองเชียงรุ่ง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่ดินว่างเปล่าอยู่บ้าง และได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ใน พ.ศ. 2490 พบว่ามีจำนวนชาวไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงรายมีประมาณ 1,000 คน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 41

MOD91

23/12/2011 12:49:56
6



ขนบธรรมเนียมการแต่งกาย ของผู้หญิงชาวไทยหย่าต่างกันกับชาวไตลื้อ ชาวไตเชียงรุ่ง และชาวไทหย่าซึ่งอยู่ใต้ลงไป ชาวไทยหย่าสวมเสื้อดำ แขนยามแบบรูปกระบอก ๒ ชั้น ผ้าซิ่น ๒ ชั้น มีลูกไม้ลวดลายต่าง ๆ ติดตรงปลายผ้าข้างล่าง เสื้อในสีดำแลบออกมาให้เห็นเกือบทั้งตัว คอสูงชิดรอบคอ เสื้อสั้นเหนือเอว ผ่าอกข้างขวาระดับเดียวกันกับยอดนม ตรงริมชายเสื้อและตรงข้างหน้าอก ใช้ผ้าสีน้ำเงินแดงขาวเย็บติดสลับกัน บางคนปักเป็นลวดลายด้วยกระดุมเปลือกหอย ตัวเสื้อนี้สั้นครึ่งหน้าอกครึ่งหลัง ใต้ลงไปปล่อยให้มองเห็นเสื้อชั้นใน ผ่าข้างลงมาจากบ่าข้างริมคอทั้ง ๒ ข้าง ติดแถบผ้าสีต่าง ๆ ปักลวดลายงดงาม
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 42

MOD91

23/12/2011 12:54:11
6



ชาวไทหย่าเป็นคนไท ไม่ใช่ชาวจีนฮ่อ สังเกตได้จากรูปร่างลักษณะท่าทางตลอดจนอุปนิสัยจิตใจและภาษาคล้ายกับคนไทใน ภาคเหนือ ไทเขิน ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเชียงรุ่ง ในเขตรัฐฉานของพม่าและตอนใต้มณฑล ยูนนานของจีน มีใบหน้ารูปไข่ ผิวค่อนข้างขาว เพราะอยู่ในโซนปานกลาง รูปร่างลักษณะได้ขนาดเดียวกัน หางคิ้วไม่ยกขึ้นอย่างชาวจีน ความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมและภาษาผิดกับชาวจีนฮ่อหลายอย่าง ภาษาบางคำตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันในภาคกลางของประเทศไทย ที่แปร่งไปบ้าง เช่น คำว่า เสื้อเป็นเซ้อ หัวเป็นโห อยู่ดีหรือไม่อยู่ดี เป็นอู้ดีบ่อู้ดี มีบางคำที่ปนกับคำจีน เช่น คำว่า “ อู๋หลาย ” หรือมีหลายนั้น คำว่า “ อู๋ ” ในภาษาจีนแปลว่า “ มี ” ส่วนคำว่า “ หลาย ” เป็นคำไทย บางคำคล้ายภาษาไทใหญ่ที่ใช้กัน เช่น คำว่า “ ไป" ” ขาวไทหย่าว่า “ ก๋า ” ชาวไทใหญ่ว่า “ กว่า ” ไปเที่ยวว่า “ ก๋าห่อน ” กล้วยว่าเกี้ยว อ้อยว่าแอ้ว ฟันไม้ว่ากีดไม้ แต่ก็มีบางคำไม่ทราบว่ามาจากชาติไหน เช่น คำว่ากางเกงเป็นเดี๋ยว มากี่คนเป็นมาจิก้อ ฯลฯ ชาวไทหย่าเหล่านี้ฟังภาษาไทยกลาง (กรุงเทพฯ) ออก เครื่องดนตรีมีแคน ปี่แน กับซึง ชอบร้องเพลง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 43

MOD91

23/12/2011 12:57:09
6


ลักษณะการเต้น คล้ายจีน ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 44

MOD91

23/12/2011 13:08:23
6



ไทใหญ่
ชนชาติ ที่ยังคงต่อสู้เพื่อ อิสระภาพ และสิทธิในถิ่นที่อยู่ของตน มายาวนาน เหมือน กับเพลงที่ ตา แอ๊ด คาราบาว แกร้อง ว่า อย่า เห็น เขา เพียงแค่ เป็น กันชน กันคนเถื่อน ในยุคที่ ศิลปิน และ นักเขียน นักกวี ทั้งหลาย ถูก รัฐบาล มองว่าเป็นคอมมิวนิสต์ พากันหนี เข้า ป่า ขึ้น ดอย ก็ได้ อาศัย กลุ่มคน เหล่านี้ เป็นที่พักพิง ในยามลำบาก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 45

MOD91

23/12/2011 13:11:04
6






ไทใหญ่

ความหมายของชาวไทใหญ่

ชาวไทใหญ่ หรือ ฉาน หรือ ฌาน เป็นกลุ่มชาวไทใหญ่กลุ่มหนึ่งที่อยู่ในเขตพม่า ตอนใต้ของจีน และภาคเหนือของประเทศไทย บางท่านว่า คำว่า ฉาน คือที่มาของคำว่า สยาม ในพม่ามีรัฐใหญ่ของชาวไทใหญ่ ชื่อ รัฐฉาน( SHAN STATE) ชาวไทใหญ่ในพม่า บางกลุ่มต้องการอิสระจากการปกครองของรัฐบาลพม่า จึงจับอาวุธขึ้นต่อสู้ ด้วยความไม่สงบในพม่าทำให้ชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะในระยะหลังเข้ามาทางอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ แต่รัฐยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนกับประชากรเหล่านี้ คือไม่มีการกำหนดให้ไทใหญ่กลุ่มนี้เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในประเทศไทย และไม่ยอมรับให้คนกลุ่มนี้เป็นชาวไทใหญ่ รวมทั้งไม่ยอมรับว่า กลุ่มไทใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยจากรัฐไทใหญ่ที่ต้องช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม เพื่อรอการส่งกลับประเทศเมื่อในประเทศมีความปลอดภัย เมื่อรัฐไม่จัดพื้นที่พักพิงชั่วคราวไว้รองรับที่ชายแดน ทำให้ชาวไทใหญ่จำนวนมากทะลักเข้าสู่ตัวเมืองด้านใน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 46

MOD91

23/12/2011 13:35:55
6



งานประเพณีปอยส่างลอง

หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีบวชเณรตามธรรมเนียมของชาวไทยใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและมีความ เชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร งานนี้จัดให้มีขึ้นช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน โดยชาวบ้านจะตกลงกันกำหนดวันนัดหมายให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆ กัน มีการประดับประดาผู้ที่จะบวชด้วยเครื่องประดับมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชตามวัดที่เจ้าภาพศรัทธา
แต่เดิมปอยส่างลองเป็นประเพณีที่จัดเฉพาะในหมู่ญาติมิตรของเจ้าภาพ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2525 ได้เกิดมีแนวความคิดใหม่โดยจัดเป็นบรรพชาหมู่ร่วมกันมากถึง 200 รูป เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ทำให้ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนนิยมจัดบรรพชาหมู่สืบต่อมาถึงปัจจุบัน ปอยส่างลองจึงได้กลายเป็นประเพณีที่จูงใจให้มีผู้สนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 47

MOD91

23/12/2011 13:42:19
6



ในเชียงใหม่ ปอยส่างลอง ที่เป็นงานใหญ่ จะจัดขึ้นที่วัดกู่เต้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยจะเริ่มแห่ขบวน ที่ประตูท่าแพ รงาน จะมี ช่วง ระหว่าง มีนา-เมษา ของทุกปีครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 48

MOD91

23/12/2011 13:45:23
6



งานนี้ ชาวไทใหญ่ ที่จะบวชลูกหลาน นั้น ถึงแม้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ ถือ เป็นความภูมิใจ ของ ผู้เป็น บิดามารดา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 49

MOD91

23/12/2011 13:48:56
6



งานนี้ ชาวไทใหญ่ที่มาอาศัย อยู่ใน เชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง จะถือโอกาส มารวมตัวกัน เพื่อ พบปะพูดคุย ถามสารทุกข์สุกดิบ หนุ่มๆสาวๆ ก็มีดอกาสได้ เจอกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 50

ไซม่อน

24/12/2011 12:17:03
0
ฟังให้จุใจไปเลย เอ้า









อันนี้หนังของพวกม้ง

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 51

ไซม่อน

24/12/2011 12:23:14
0
แถมหนังเผ่าม้ง จากเวียดนามอีกเรื่อง

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 52

Franke

24/12/2011 17:52:40
0
โอ๊ย เห็นอยากอยากขึ้นเขา อิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 53

MOD91

24/12/2011 22:24:18
6



ชาวไทลื้อ หรือ ไตลื้อ

เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆ

การอพยพเดิมชาวลื้อ หรือไทลื้อ มีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า "ลือแจง" ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 54

MOD91

24/12/2011 22:26:46
6



นปีค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) เหมาจูซี้ (เหมาเซตุง) ได้ยึดอำนาจการปกครอง และได้นำระบอบคอมมิวนิสต์มาใช้ มีการริดรอนอำนาจเจ้าฟ้า ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทำให้เจ้าหม่อมคำลือ เจ้าฟ้าในขณะนั้นต้องสูญสิ้นอำนาจลงในปี ค.ศ.1953 (พ.ศ.2496) ชาวไทลื้อในสิบสองปันนาจึงทยอยหลบหนีออกเมืองมาเรื่อย ๆ ต่อมาในปี 1958 (พ.ศ.2501) เหมาเซตุงได้ปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ ไทลื้อในสิบสองปันนาจึงหลบหนีออกเมืองมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 55

MOD91

24/12/2011 22:30:02
6



สาเหตุการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานชาวไทลื้อมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
1. ถูกกวาดต้อน
2. เหตุบ้านการเมือง การปกครอง
3. ติดตามญาติพี่น้องที่มาก่อนแล้ว
4. หาแหล่งทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความสงบสุขร่มเย็น มีภูมิประเทศที่เหมาะสม

ในประเทศไทยมีไทลื้ออยู่หลายจังหวัด ดังนี้
1. จังหวัดเชียงราย อ.แม่สาย, แม่จัน, เชียงแสน, เชียงของ, เวียงแก่น, แม่สรวย, เวียงป่าเป้า, แม่ฟ้าหลวง, เทิง, พาน
2. จังหวัดเชียงใหม่ อ.สะเมิง, ดอยสะเก็ด, วังเหนือ, แม่อาย
3. จังหวัดลำพูน อ.บ้านธิ, ป่าซาง, บ้านโฮ่ง, ลี้
4. จังหวัดลำปาง อ.แม่ทะ, เมือง
5. จังหวัดพะเยา อ.เชียงคำ, เชียงม่วน, จุน, ปง
6. จังหวัดน่าน อ.ปัว, สองแคว, ทุ่งช้าง
7. จังหวัดแพร่
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 56

MOD91

24/12/2011 22:31:18
6



วัฒนธรรม

ชาวไทลื้อมีชีวิตที่คล้ายคลึงกับชาวไทยหรือชนเผ่าอื่นๆทางภูมิภาค คือมีการสร้างบ้านเรือนเป็นบ้านไม้ มีใต้ถุนสูง มีครัวไฟบนบ้าน ใต้ถุนเลี้ยงสัตว์ แต่ในปัจจุบันวิถีชีวิตได้เปลี่ยนไป การสร้างบ้านเรือนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย บ้านที่ยังคงสภาพเป็นเรือนไม้แบบเดิมยังพอจะมีให้เห็นบ้างในบางชุมชน เช่น บ้านหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ชาวไทลื้อส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด นิยมสร้างวัดในชุมชนต่างๆ แทบทุกชุมชนของชาวไทลื้อ ทั้งยังตกแต่งด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์งดงาม มีการบูรณะ ซ่อมแซม ให้คงสภาพดีอยู่เสมอแม้ในปัจจุบัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 57

MOD91

24/12/2011 22:32:45
6



ศิลปะที่โดดเด่นของชาวไทลื้อได้แก่งานผ้าทอไทลื้อ นิยมใช้ผ้าฝ้าย ทอลวดลายที่เรียกว่า ลายน้ำไหล ปัจจุบันมีการฟื้นฟูและถ่ายทอดศิลปะการทอผ้าแบบไทลื้อในหลายชุมชนของภาคเหนือ

ผู้ชายไทลื้อส่วนใหญ่จะนิยมสวมเสื้อขาวแขนยาว สวมทับด้วยเสื้อกั๊กปักลวดลายด้วยเลื่อม สวมกางเกงม่อฮ่อมขา ยาวโพกหัวด้วยผ้าสีขาวหรือชมพู ส่วนหญิงไทลื้อนิยมสวมเสื้อปั๊ด (เป็นเสื้อที่ไม่มีกระดุมแต่จะสะพายเฉียงมาผูกไว้ที่เอวด้านข้าง) นุ่งซิ่นลื้อ สะพายกระเป๋าย่ามและนิยมโพกศีรษะด้วยผ้าขาวหรือชมพู[7]

เรื่องของชาวไทลื้อ ซึ่งบรรพบุรุษได้อพยพมาจากเมืองยอง เมืองยู้ เมืองเชียงลาบ (เมืองทั้งหมดนี้อยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า) และชาวไทยอง (คนเมือง คนที่มีถิ่นฐานดั่งเดิมอยู่ในเขตจังหวัดล้านนา) นั้น มีความเกี่ยวข้องกันมาก ดังนั้นจึงอาจจะไม่สามารถแบ่งแยกกันได้
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 58

MOD91

24/12/2011 22:40:57
6



ไทยทรงดำ

ไทยทรงดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่พูดภาษาตระกูลไท เป็นชนชาติไทยสาขาหนึ่ง เรียกว่า พวกผู้ไท ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะสีของเครื่องแต่งกาย เช่น ผู้ไทขาว, ผู้ไทแดง และผู้ไทดำ เป็นต้น ผู้ไทดำ นิยมแต่งกายด้วยสีดำ จึงเรียกว่าไทยทรงดำ หรือ เรียกได้หลายชื่อเช่น โซ่ง, ซ่ง, ไทยโซ่ง, ไทยซ่ง, ลาวโซ่ง, ลาวซ่ง, ลาวทรงดำ และ ลาวพุงดำ

คำว่า โซ่ง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ซ่วง” ซึ่งแปลว่า กางเกง เพราะเพราะชาวไทยทรงดำนิยมนุ่งกางเกงทั้งชายและหญิง คนไทยและลาวพวนจึงเรียกว่า ลาวซ่วง ซึ่งหมายถึงลาวนุ่งกางเกง ต่อมาเพี้ยนเป็น ลาวโซ่ง เหตุที่เรียกไทยทรงดำว่า ลาวโซ่ง เพราะคำว่า “ลาว” เป็นคำที่คนไทยทั่วไปใช้เรียกคนที่อพยพมาจากถิ่นอื่น แต่ชาวไทยทรงดำถือตนเองว่าเป็นชนชาติไทย จึงนิยมเรียกตนเองว่า ไทยโซ่ง หรือ ไทยทรงดำ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 59

MOD91

24/12/2011 22:42:41
6



ผลพวงจากสงครามสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทำให้ลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ ถูกกวาดครัวมาอยู่เพชรบุรี

ระยะแรกไทยทรงดำตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย (สมัยพระเจ้าตากสิน และรัชกาลที่ 1) ระยะที่สอง (สมัยรัชกาลที่ 3) โปรดฯ ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม ลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ จึงมาตั้งถิ่นฐานที่ท่าแร้ง เมื่อปี พ.ศ. 2378 - 2381 ก่อนไทยมุสลิมท่าแร้ง ซึ่งถูกกวาดครัวเข้ามาภายหลังโซ่ง ไทยมุสลิมหรือที่เรียกว่า แขกท่าแร้ง มาสู่เพชรบุรีในลักษณะถูกกวาดครัว เข้ามาอยู่ ณ เมืองเพชรบุรีราวปี พ.ศ. 2328 เนื่องด้วยเหตุผลทางสงครามเช่นกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 60

MOD91

24/12/2011 22:45:55
6



สงครามครั้งนั้น พวกลาวพวน หรือไทยพวน พวกลาวเวียง หรือไทยเวียง ซึ่งเป็นชนชาติไทยด้วยสาขาหนึ่ง ได้ถูกกวาดครัวมาด้วยกัน เมืองเพชรจึงประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่า “สามลาว” อันได้แก่ ลาวโซ่ง ลาวพวน และ ลาวเวียง

ธรรมชาติของลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ ชอบอยู่ที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ชอบภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา เสมือนถิ่นดั้งเดิมของตน ครัวโซ่งกลุ่มนี้ มิชอบภูมิประเทศที่ท่าแร้ง เพราะโล่งเกินไป จึงได้อพยพย้ายถิ่นฐานบ้านเรือนไปเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่สะพานยี่หน ทุ่งเฟื้อ วังตะโก บ้านสามเรือน เวียงคอย เขาย้อย ตามลำดับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 61

ในภาพดูไม่เหมือนไทใหญ่

27/08/2012 13:40:03
ต้องระวัง เพราะไทยใหญ่ในภาพดูแล้วไม่เหมือนไทยใหญ่ ที่รัฐฉานหรือรัฐไต ไทยใหญ่จะอยู่ปนกับคนเผ่าอืื่นด้วย และไทยใหญ่เรื่องจริงผิวไม่ดำ รัฐไตจะมีชาวปะโอจำนวนมากซึ่งอาจใช้ชื่อแอบแฝงว่าเป็นไทยใหญ่แล้วหนีสงครามเข้ามาไทย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 62

ต้องระวัง

27/08/2012 13:44:00
ต้องระวัง เพราะไทยใหญ่ในภาพดูแล้วไม่เหมือนไทยใหญ่ ที่รัฐฉานหรือรัฐไต ไทยใหญ่จะอยู่ปนกับคนเผ่าอืื่นด้วย และไทยใหญ่เรื่องจริงผิวไม่ดำ รัฐไตจะมีชาวปะโอจำนวนมากซึ่งอาจใช้ชื่อแอบแฝงว่าเป็นไทยใหญ่แล้วหนีสงครามเข้ามาไทย เหมือนคนอีสานผิวดำ เรื่องจริงไม่ใช่คนเผ่าไท แต่ภาคอีสานผิวดำเป็นเมืองขึ้นสยาม ซึ่งปัจจุบันคนอีสานไปไหนก็จะแสดงตนว่าเป็นคนไทยทั้งๆ ที่หน้าตาไม่เหมือนคนเผ่าไทเลย หน้าตาไทยใหญ่เป็นยังไงให้ยึดเจ้าฟ้า ซึ่งดูเท่าไรหน้าไทยใหญ่จะเป็นหน้าคล้ายคนเอเซียตะวันออก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 63

Mr.Burst

27/08/2012 17:12:37
3



ขอบพระคุณทั้งภาพและข้อมูลของพี่มดแจ่มมากคร้าาาาาาา ^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 64

คนเมืองเชียงใหม่

31/05/2013 14:31:19
ไม่ถูก ไทลื้อไม่ใช่ชาวเขาไม่ใช่ชาวดอย
ไทลื้อก็เป็นเผ่าไทยกลุ่มหนึ่ง ภาษาไทลื้อเหนือนกับภาษาไทยวน(ไท-ยวน ล้านนา/คนเมือง)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 65

tietie

31/05/2013 16:23:40
0
เราเป็นลูกครึ่งไทใหญ่ด้วย ก็ขาวนะ ถ้าอยากเห็นคนไทใหญ่เยอะๆไปหาดูที่แม่ฮ่องสอนสิ คนไทใหญ่ทั้งนั้นแหละ ^^a ที่เชียงใหม่คงมีน้อย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 66

ม้าน้ำ

31/05/2013 22:50:10
1
มีประโยชน์มากครับ ได้ดีไซน์การแต่งตัวในนิยายละ ^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 67

ccoozzzz

01/06/2013 23:06:04
0
ขอบคุณมากๆครับ กับความรู้ดีๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 68

นาย ธนพันธ์ นิลสง่า

03/04/2018 08:54:36
กางเกง  ว่าเดี่ยว  ก็ตรงกับภาษาไทยกลางว่าเตี่ยวไง ก้คือการนุ่งผ้าเตี่ยว 
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
"มารู้จักชนเผ่า ต่างในบ้านเรากันดีกว่าครับ"