Guest
หมวดหมู่ >

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

เคยสงสัยไหม เวลาสั่งพิมพ์ทำไมสีเพี้ยน สาเหตุคือค่าสีที่แตกต่างระหว่างโหมด RGB และ CMYK ทั้ง 2 ค

todsagunn

11/01/2019 09:29:06
IP : 146.88.37.36

เคยสงสัยไหม เวลาสั่งพิมพ์ทำไมสีเพี้ยน สาเหตุคือค่าสีที่แตกต่างระหว่างโหมด RGB และ CMYK ทั้ง 2 ค่าสีเหมาะกับงานออกแบบใด?

          ถึงจะเป็นเรื่องเก่าๆ เดิมๆ ที่มีออกมาบ่อยๆ อยู่แล้ว แต่บ่อยครั้งที่บริษัทต้องรับงานจากลูกค้า แล้วความเข้าใจเรื่องโหมดค่าสีไม่ตรงกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่โทษใครไม่ได้จริงๆ มีแต่ต้องปรับความเข้าใจให้ตรงกัน เราถึงจะแฮปปี้กันทั้ง 2 ฝ่าย^^ เริ่มเลยละกัน

หากเริ่มพูดถึงโหมดค่าสี คนส่วนใหญ่คงเคยได้ยินกันมาบ้างเรื่องโหมดสี RGB กับ CMYK นั้นแหละ แล้วใครรู้บ้างว่าในชีวิตประจำวันของทุกคนสายตาต้องมองหมวดสีแบบไหนบ่อยที่สุด? แล้วมันต่างกันอย่างไร ทำไมถึงต่าง? บทความนี้มีคำตอบสำหรับคนที่ไม่เข้าใจ

โหมดสี RGB หรือ สีของแสง ซึ่งแสงเป็นการแสดงผลในจอมอนิเตอร์ต่างๆ เช่น LCD CRT OLED ที่ใช้ใน จอโทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป จอโทรศัทพ์มือถือ และอื่นๆ  เพราะการทำงานของ RGB เกิดจากแสงที่มีความยาวคลื่นที่ต่างกันมารวมกันจึงเกิดการผสมเป็นีต่างๆ เรียกกันว่า “การผสมสีแบบบวก” (Additive Color) จะประกอบไปด้วยแม่สีอยู่ 3 สี คือ

R = RED สีแดง 

G = GREEN สีเขียว

B = BLUE สีน้ำเงิน

ซึ่งเมื่อสีทั้ง 3 ผสมกันสีจะอ่อนลงและเมื่อผสมในปริมาณที่เท่ากัน จะผสมออกมาได้เป็นสีขาวสว่าง

ถัดมาโหมดสี CMYK หรือ สีของสาร

เกินจากการดูดกลืนของแสงที่สะท้อนจากวัตถุ หลักการคือเมื่อแสงสีขาวตกกระทบวัตถุสีต่างๆ คลื่นแสงบางส่วนจะดูดกลืนไว้ แล้วทำการสะท้อนออกมาเพียงบางสี เรียกว่า “การผสมสีแบบลบ” (Subtractive Color) จะประกอบไปด้วยแม่สีอยู่ 4 สี คือ

C = CYAN (ฟ้าอมเขียว)

M = MAGENTA (แดงอมม่วง)

Y = YELLOW (เหลือง)

B = BLACK (ดำ)

ซึ่งเมื่อสีทั้ง 4 ผสมกันสีจะเข้มขึ้นและเมื่อผสมในปริมาณที่เท่ากัน จะผสมออกมาได้เป็นสีดำสนิท

จากที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อนๆ ก็คงรู้แล้วว่าพวกเราใช้ชีวิตประจำวันในแต่ละวันกับโหมดสี RGB เป็นส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ เพราะทุกคนดูโทรทัศน์ เล่นมือถือในแต่ละวันเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ทำให้ตาเราจดจำโหมดสีของ RGB ซะเป็นส่วนใหญ่ หมายความว่าเราเห็นภาพที่สีสดใสอยู่ตลอดเวลา พอกลับมาดูสิ่งพิมพ์ที่ต้องใช้โหมดสี CMYK ก็จะออกตุ่นๆ เพราะการผสมสีของ CMYK จะทำให้สีออกมาเข้มขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่บอกข้างต้น

 

ตัวอย่าง RGB

ฉะนั้นการที่นำไฟล์ที่ออกแบบมาด้วยโหมดสี RGB มาผลิตสิ่งพิมพ์ทันทีโดยที่ไม่ได้มีการปรับแต่งให้เป็นโหมด CMYK งานที่ถูกพิมพ์ออกมา สีจะเพี้ยนๆ ตุ่นๆ เละๆ ไม่น่าสวยอย่างที่เห็นในจอภาพ ดังนั้นวิธีแก้ไขคือ เช็คค่าไฟล์งานอาจจะด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop ก็ได้ ถ้าเป็น RGBก็เปลี่ยนโหมดไฟล์งานนั้น ให้เป็นโหมด CMYK

 

ตัวอย่าง CMYK

แต่เมื่อพอเราปรับงานเข้าสู่งานพิมพ์ที่ใช้โหมดสีในการทำงานเป็น CMYK เราจะเห็นจากหน้าจอเลยว่าสีที่เปลี่ยนโหมดไปเป็น CMYK ออกมาดูตุ่นๆ กว่าที่เห็นจากโหมด RGB (อย่างรูปตัวอย่างข้างต้น)

จากที่เห็นข้อแตกต่างแล้วนั้น เราก็จะทำการปรับค่าสีในโหมด CMYK ที่เปลี่ยนไปแล้วนั้นในโปรแกรม Adobe Photoshop ปรับแต่งสีให้ใกล้เคียงกับโหมดสี RGB ที่เราต้องการที่สุด เมื่อปรับเสร็จสิ้นจนพอใจแล้วก็ SAVE ไฟล์งานนั้นส่งให้ร้านพิมพ์ได้ทันที เพียงเท่านี้สีของงานที่คุณต้องการ

 

คราวนี้เพื่อนๆ ก็เข้าใจการทำงานของสีทั้ง 2 โหมดนี้แล้วสรุปคร่าวๆ ว่า

RGB เหมาะกับงานเกี่ยวกับจอภาพ คอมพิวเตอร์(Computer) หน้าจอ(Monitor) แผ่นบันทึก(CD/DVD) แท็บเล็ต(Tablet) จดหมายอิเล็คทรอนิค(Email) โทรทัศน์(TV) อินเตอร์เน็ต(Internet) เว็บไซด์(Website) มือถือ สมาร์ทโฟน(Smart Phone)

CMYK เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์ทุกชนิดเช่น โปสเตอร์(Poster) สติ๊กเกอร์(Sticker) ฉลากสินค้า(Banner) ป้ายไวนิลห้างร้านค้าต่างๆ(Sign) แพ็คเกจจิ้งบรรจุภัณฑ์(Packaging) พิมพ์หนังสือ(Book) พิมพ์นิตยสาร(Magazine) นามบัตร(Namecard) ป้ายโรลอัพ(Rollup) ป้ายX-stand ใบปลิว(Flyer) โบรชัวร์(Brochure) โอ้ย..และอื่นๆ อีกมากมายละกันเยอะจริงๆ เพื่อนๆ

 

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง RGB กับ CMYK

เมื่อได้อ่านบทความนี้จบ เพื่อนๆ คงคลายความสับสนระหว่างโหมดสีทั้ง 2 นี้แล้ว หวังว่าเพื่อนๆ จะสนุกเพลิดเพลินกับการออกแบบให้สวยงาม ส่วนเรื่องพิมพ์ เรื่องผลิตชิ้นงาน ไว้ใจส่งมาให้เรา ลานนามีเดีย ดูแลการผลิตสั่งพิมพ์ให้ได้อย่างสบายใจแน่นอน แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้าบาย

ขอบคุณสาระดี ๆ จาก www.lannemedia
.co.th

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
"เคยสงสัยไหม เวลาสั่งพิมพ์ทำไมสีเพี้ยน สาเหตุคือค่าสีที่แตกต่างระหว่างโหมด RGB และ CMYK ทั้ง 2 ค"