Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

ขออนุญาต แจกเพลงคลาสสิกครับ

Collagen

29/11/2007 22:12:00
ตามที่ผมได้ โม้เกี่ยวกับเพลงคลาสสิกใน กระทู้ &dquot;อยากได้เพลงบรรเลงเพราะ ๆ อ่ะครับ&dquot; (ตาม Link http://www.munkonggadget.com/webboard_541386_20589_th) ซึ่งผมได้โม้เกี่ยวกับเพลงคลาสสิกไป ประมาณ 10 เพลง ซึ่งมี มิตรรักแฟนเพลงคลาสสิกบางท่านได้ขอเพลงมาครับ และทางผมได้รื้อแผ่นและ Rip ที่ Bit Rate 320 kbps แล้ว ก็ขออนุญาตเฮียมั่นคงแจกเพลงตามนี้ครับ
1. Antonin Dvorak - Serenade fur Streicher Edur op.22
http://www.uploadtoday.com/download/?ecb56e35b9f000041f3053db2589d020

2. Claude Debussy - Clair de lune
http://www.uploadtoday.com/download/?ecb82b233e9605dee04c545f80190fa9

3. Robert Schumann - Traumerei
http://www.uploadtoday.com/download/?ecba3a9a1ad2bd1d1657d7e72115faf0

4. Jules Massenet - Meditation
http://www.uploadtoday.com/download/?ecbce0ce8f78fb79b75117c93d2d9daa

5. Hector Berlioz - Symphony Fantastique op.14 Un bal (แต่เพลงนี้ไม่ใช่ช่วงที่ผมโม้นะครับ)
http://www.uploadtoday.com/download/?ecbf62f161856ed5af76adad7781b24e

มีทั้งสิ้น 5 เพลงครับ ถ้าหากว่าผมรื้อเจอแผ่นเพลงอื่นๆแล้ว จะพยายาม Upload แจกให้ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

มือไหม่หูยังไม่พระกาฬ

29/11/2007 22:18:35
มาแร้วๆ มาติดตามผลงามต่อครับผมคราวนี้มีเพลงแจกด้วยดีจังเลย ขอบคุณมากๆครับ เดี๋ยวว่างๆนั่งโหลด
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

Collagen

29/11/2007 22:29:17
อ้อ ลืมไปครับ เรื่อง Host ขอขอบคุณ คุณ Roxus สำหรับ Host ครับ (ดูจากบอร์ที่คุณ roXus แจกเพลง ของ PCD แต่ผมไม่ค่อยชอบเลยไม่ได้โหลดครับ ^^) ไม่งั้นผมก็ไม่มีที่แจกครับ...

ขอคารวะ 1 จอก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

EgGieS

29/11/2007 23:57:55
ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

JunG

30/11/2007 00:01:49
ขอบคุณค่า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

JunG

30/11/2007 00:03:13
ขอบคุณค่า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

unclepiak

30/11/2007 09:14:58
ขอบคุณครับ เพิ่งตามไปอ่านกระทู้เก่าตะกี้เองครับ
อยากลองฟัง Air on G string ของบาคมั่งครับ (อะรัยที่เป็นจีสตริง ดูเหมือนจะน่าสนใจไปโหม้ดดดด *: )
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

นายมั่นคง

30/11/2007 11:04:43



555 ขำจีสตริงของเฮียเปี๊ยก.........5555


เพลงคลาสสิคแนะนำกันได้ครับ ถือว่าอ้อมแอ้มกัน แฮ่ะแฮ่ะ มองว่าเป็นวิทยาทานได้ครับ........555



แต่เพลงไทยต้องขอเลยครับ เพื่อนๆ ห้ามแนะนำกันเด้อ..........555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

Collagen

30/11/2007 23:13:39
อ่า เฮียเล่นดักคอ เลยแฮะ ผมว่าจะหาคนช่วยแนะนำพวก Classical Thai Music (เพลงไทยเดิม) ว่า มีเพลงไหนน่าสนใจ และเหมาะกับหูฟังแบบไหนด้วยครับ (อดเยย)....

ส่วนคุณท่าน Unclepiak ผมจะพยายามหาแผ่นเพลงของ Bach และจะ Rip และทำการ Upload ให้เร็วที่สุดครับ

ขอบคุณครับ~:197:
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 9

unclepiak

01/12/2007 07:22:40
โอ.. ขอบคุณอีหลี

เพลงยุคบาโรค ผมได้ฟังน้อยมากครับ เห็นในอีกกระทู้ว่า จะท่องไปในกลุ่มเพลงสวด และออราโตริโอ(เขียนถูกเปล่า?) เป็นยุคที่ผมบ้อแบ๊เลยครับ ได้อ่านคำบรรยายของคุณคลอลาเจนแล้ว เกิดอาการกระตือรือร้นอยากที่จะรื้อค้นเพลงมาฟังเพิ่มขึ้นอักโข

อากาศเปลี่ยนแปลงมาก หนาวลงฉับพลัน
ระวังสุขภาพด้วยนะครับ เดี๋ยวจะต้องหาดีโคลเจนมาช่วย.. *: )

ปล. สำหรับหูฟังเพลงคลาสสิก อยากให้ลองฟัง Yuin PK2 กับ STAX ครับ สำหรับสแต็ก เห็นว่าเฮียมั่นฯตัดขายต่ำกว่าทุนน่าซื้อมาก (ไม่รู้ยังเหลือไหม?) ส่วน full size ลองถามหา Sennheiser HD25 คิดว่าเฮียมั่นฯน่าจะมีอยู่ในกรุด้วย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 10

Collagen

01/12/2007 10:23:49
ขอบคุณครับ... คุณท่าน Unclepiak

ก็กะว่าจะลอง Review เพลงแนวๆ นี้ดูครับ พวกเพลงสวดกับ Oratorio (โอระตอริโอ <<< ทับศัพท์ก็ขึ้นกับแต่ละบุคคลอ่าครับ) ซึ่งเป็นเพลงที่เกียวข้องกับศาสนา แต่ช่วงนี้ขอรวบรวมข้อมูลก่อนครับ (เพลงก็หายากด้วย) คาดว่าคงต้องใช้เวลาพอสมควรเลยครับกว่าจะโม้แนวเพลงนี้ได้อย่างพอสมควร

แล้วก็เรื่องสุขภาพ ตอนนี้ก็อาการแย่เลยครับ ดีคอลเจนเอาไม่อยู่แล้วครับ (ไปนอน โรงหมอมา พักนึงแล้ว) ขอบคุณมากครับ :197:

ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจครับ

ปล. เรื่องหูฟัง ผมเห็นราคาแต่ละตัวแล้ว ข้าน้อยมิอาจเอื้อมขอรับ ถ้าซื้อข้าน้อยได้รับประทานแกลบ อย่างแน่นอน (มาม่าก็ขึ้นราคา :142:)

ปล. 2 ไม่มีใครพอ Review พวก Classical Thai Music ได้เลยเหรอครับ???

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 11

นายมั่นคง

01/12/2007 10:38:05



555 เดาทางออกเลยแฮะ 555

ที่ต้องขออนุญาติเพื่อนๆ เรื่องเพลงไทย ก็เพราะเค้าเข้มงวดมากน่ะครับ ส่วนเพลงประเทศอื่นๆ ผมว่าไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไหร่

ยิ่งเพลงคลาสสิคผมว่าไม่มีใครสนใจกันนัก ดีซะอีกที่มีคนมาแนะนำ สอนให้ฟัง แนะเพลงดีๆ ให้ฟัง คนที่เริ่มต้นอยากจะทดลองฟังคลาสสิคจะได้เริ่มต้นถูก.........


ปล.ยังอยู่ครับเฮียเปี๊ยก เจ้า Stax ยังอยู่คร้าบบบบ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 12

คิดถึงเมียน้อย

01/12/2007 20:56:54
ตามมาโหลดครับ เพลงคลาสสิก เย็นถึงใจ มาก มาก มาก มาก
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 13

Collagen

01/12/2007 21:22:05
ตามคำขอของคุณ Unclepiak ครับ รอบนี้ของ Johann Sebastian Bach ทั้ง 2 เพลงครับ
6. Air on a G String (เพลงนี้วง Royal Philharmonic Orchestra เป็นวงที่บรรเลงครับ คาดว่าเป็นวงจากประเทศสหราชอาณาจักร)
http://www.uploadtoday.com/download/?f35808c4546dedbf14d540face043054

7. Prelude for Cello Solo (เพลงนี้ได้ Bitrate ที่ 160 kbps ครับ)
http://www.uploadtoday.com/download/?f359a254f895b44fde2619cf650fddf6

ปล. 1 วันนี้ไปร้านเฮียมั่นคง มา ลืม ทดลองฟัง Stax กับ Sennheiser HD 25 เยย:142:

ปล. 2 เพลงคลาสสิก ถึงแม้ว่าจะเป็นเพลงเดียวกัน แต่ถ้าหากวงที่บรรเลงต่างกัน ก็จะให้อรรถรสที่แตกต่างกันครับ เช่น จำนวนชิ้นของเครื่องดนตรี การควบคุมวงของไวทยากร (Conductor) จำนวนประเภทของเครื่องดนตรี สภาพแวดล้อมขณะเล่นเพลง เป็นต้นครับ

ปล. 3 รายชื่อวงดนตรีที่บรรเลง เพลงในรายการที่ 1 - 5 ผมจะทยอยๆ Post แจ้งให้ทราบในภายหลังนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 14

เมียน้อยกลอยใจ

01/12/2007 21:41:07
ขอบคุณ Collagen มากครับที่อุตสาห์ Rip มาให้ ถ้าคุณเป็นผู้หญิงผมจะจีบให้ัติดแล้วยอมยกให้เป็นเมียหลวงเลยนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 15

นายมั่นคง

02/12/2007 00:29:51



555

วันนี้เจอตัวน้อง Collagen แล้วครับ ฮี่โธ่....นึกว่าใคร ที่แท้ก็เคยเจอกันมาแล้ว คุยกันเป็นวักเป็นเวรมาก่อนแล้ว 555

ผมเลยเชื้อเชิญให้เขียนเรื่องคลาสสิคให้อ่านกัน ซึ่งแกก็รับปากว่าถ้าว่างก็จะมาเขียนให้อ่านไปเรื่อยๆ ครับ

ถือว่าเป็นการศึกษาเพลงคลาสสิคไปพร้อมๆ กับน้อง Collagen เลยก็แล้วกัน เพราะเจ้าตัวก็ออกตัวไว้ว่าเพิ่งหันมาฟังได้ซักปีนึงนั่นเอง มีแผ่นคลาสสิคดีๆ หลายแผ่นเหมือนกัน


มีคนสนใจเพลงแบบนี้ แล้วช่วยเขียนบทความที่มีประโยชน์ มีสาระแบบนี้ ถ้ามีน้องเมียก็คงต้องเต็มใจยกให้ล่ะครับ เพราะลำพังตัวผมเองนั้น สาระมีนิดเดียว แต่อาศัยทะลึ่งทะเล้นนำซะมากกว่า.......


เอ้า เชิญตามสบายนะครับ น้อ Collagen ว่างเมื่อไหร่ก็มาโพสได้ตลอดครับ ผมยกกระทู้ให้เลยละกัน เดี๋ยวจะทำแบนเนอร์ติดไว้ให้ทางซ้ายมือครับ คนจะได้คลิกอ่านได้ตลอดชาติจ้า...........555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 16

unclepiak

02/12/2007 06:36:20
ได้ดาวน์โหลดเพลง Air ของบาคมาแล้วครับ ขอบคุณมากที่เป็นธุระจัดหาให้ พอเปิดฟังก็ต้องร้องอ๋อครับ แล้วก็ประหลาดใจครับ เพราะเคยรู้จักเพลงนี้ในชื่อ Air in D major ครับ เพื่อนที่หัดเรียนไวโอลินจะหยิบเพลงนี้มาเล่นเป็นประจำ

ด้วยสงสัยว่าทำไมชื่อไม่เหมือนกัน จึงลองค้นกูเกิ้ลเพิ่มเติม และได้ทราบว่า

The original piece is part of Bach&squot;s Orchestral Suite No. 3 in D major, BWV 1068, written for his patron Prince Leopold sometime between the years 1717 and 1723.

The title comes from violinist August Wilhelmj&squot;s late 19th century arrangement of the piece for violin and piano. By transposing the key of the piece from its original D major to C major, Wilhelmj was able to play the piece on only one string of his violin, the G string.

แปะไว้เลยดีกว่า ไหมล่ะ.. การพูดคุยทำให้เกิดการค้นคว้า และทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นได้ ขอบคุณอีกที *: )

ปล. ไม่ต้องเสียดายที่ไม่ได้ลองสแตกกับ hd25 นะครับ เพราะอาจเป็นโชคดีที่ทำให้ไม่ต้องเสียเงิน *8 )
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 17

Collagen

02/12/2007 20:50:08
ขอขอบคุณเฮียมั่นคงมากเลยครับ ที่แปะ Link ไว้ด้านซ้าย... (อย่างนี้ผมก็เขินแย่เลยอะดิ...:192:)

แล้วก็ขอขอบคุณคุณ Unclepiak มากเลยครับสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ สงสัยผมยังทำการบ้านไม่ดีพอ ต้องขออภัยด้วยครับ :160:

ไหนๆ เฮียมั่นคงทำ Link มาด้านนี้แล้ว ผมขออนุญาต ย้ายกระทู้ (Copy จากกระทู้เดิม) มาที่กระทู้นี้เลยนะครับ (ด้านล่างเลยครับ)

ปล. คุณ Unclepiak ครับ หูฟังผมสอยตัวอื่นแทนอ่าครับ คงต้องรอสักพักกว่าเสียงจะเข้าที่ครับ ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 18

Collagen

02/12/2007 21:45:45
ส่วนนี้ เป็นส่วนของการโม้เพลงคลาสสิกที่ผมได้เคยโม้ไว้ที่กระทู้อยากได้เพลงบรรเลงเพราะ ๆ อ่ะครับ&dquot; (ตาม Link http://www.munkonggadget.com/webboard_541386_20589_th) แต่ก่อนอ่าน &dquot;กระทู้นี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านและรับชม&dquot; ซึ่งผมขออนุญาต ย้ายข้อมูลมาที่นี่ เพื่อสะดวกต่อการอ่านและโหลด ครับ
------------------------------------------------------
ในส่วนนี้เป็นการโม้ในส่วนเพลงคลาสสิกตามหัวข้อ &dquot;ฟังแล้วง่วงนอนและคิดถึงเมียน้อย&dquot; ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้เดิมได้ Request ไว้ครับ

เพลงที่ 1. Traumerei จาก Kinderzenen ของ Robert Schumann เพลงนี้ได้รับชื่ออีกชื่อว่าเป้น บทเพลงแห่งความฝัน (จาก วรรณกรรมเยาวชน เรื่อง ทางรถไฟสายทางช้างเผือกของ Miyazawa Kenji และ การ์ตูนญี่ปุ่น หลายๆ เรื่องได้กล่าวถึงเพลงนี้ครับ) ท่วงทำนอง ออกเสียงกลางๆ ไม่เน้นเบส หรือเสียงแหลม เครื่องดนตรีหลักจะเป็นพวกเครื่องเป่าไม้ และมีเครื่องเป่าทองเหลือง (Woodwind & Brasswind Instrument) เพลงให้ท่วงทำนองที่ออกเศร้านิดๆ แต่ฟังแล้วเคลิ้มไปกับทำนองซึ่งพาเข้าสู่โลกแห่งความฝันได้ง่ายๆ ครับ

เพลงที่ 2. Symphony No. 6 Pathetic ของ Tchaikovsky แนะนำให้ลองฟังตั้งแต่ต้นจนจบเลยครับ ประมาณ ชั่วโมงกว่าๆ แนวเพลงพรรณาถึงความเศร้า และความทุกข์กับรักที่ไม่ค่อยจะราบรื่นนัก เครื่องดนตรีหลักจะเน้นไปทางด้านเครื่องสาย แต่ให้เสียงที่ไม่แหลมจนเกินไปนัก โดย Symphony ชุดนี้ถือว่าเป็นชุดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดชุดหนึ่งของ Tchaikovsky ซึ่งเพลงนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังอกหักนะครับ

3. Meditation จาก Thais ของ Jules Massenet เพลงนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับประเทศไทยเลย (แต่ดันชื่อ Thais) เพลงนี้ เน้นเครื่องดนตรีในแนวเครื่องสาย ให้เสียงสูง ถ้าหูฟังหรือลำโพงของท่านให้เบสหนัก ผมก็ไม่ขอแนะนำให้ฟังเพลงนี้ครับ เพราะเพลงนี้หาเบสยากครับ โดยแนวเพลงจะขับกล่อมให้ผู้ฟังเข้าสู่ห้วงการนึกคิก หรือการเข้าฌาน หากฟังบ่อยๆ แล้ว อาจจะบรรลุ ก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับการบำเพ็ญตบะของแต่ละท่าน

4. Symphony Fantastique ของ Hector Berlioz เพลงนี้ฟังแล้วไม่ได้ช่วยให้ท่านเป็น Super hero อย่างเช่น The Fantastic 4 แต่อย่างใด ในเพลงนี้ เป้นบทเพลง ที่เริ่มจาม ความฝัน กลายเป็น ความรัก ซึ่งนำไปสู่ (ความฝันว่า) ฆาตกรรม ตามด้วยการพิพากษา และจบลงด้วยการชดใช้กรรมในนรก ซึ่งบทเพลงที่แนะนำให้ฟังก็เป็นช่วงของความรักและฆาตกรรม (ฉากที่ฝันว่าฆ่าเมียตัวเอง) โดยบทในช่วงของความรักจะเป็นแนวเพลงเต้นรำ ซึ่งพรรณาถึงการพบกับคนรักในงานเต้นรำ และยาวไปถึงฉากใบชนบททีคำนึกงถึงความกังวลว่า สาวเจ้าจะหลอกลวงหรือไม่ และในส่วนของฆาตกรรม (จริงๆ แล้วรวมอยู่ในส่วนของการพิพากษา) ซึ่งเป็นฉากที่กำลังจะถูกประหารชีวิต และได้หวนคำนึงถึงคนรัก... แนวเพลงให้ท่วงทำนองที่ผสมผสานกันไป และให้ช่วงที่แปลกๆ ในบางช่วงครับ

5. Clair de Lune ของ Claude Debussy นักแต่งเพลงท่านนี้เป็น 1 ในผู้นำของ Priory of Scion ที่ปรากฏอยู่ใน Da Vinci&squot;s Code โดยเพลง Clair de Lune นี้ ได้บรรยายถึง ความงดงามของดวงจันทราในคืนวันเพ็ญที่เปล่งประกายในนภาท่ามกลางราตรีอันเงียบสงัด เครื่องดนตรีเป็นแนวผสมผสานทั้งเปียโน เครื่องเคาะจังหวะ และเครื่องสาย ให้โทนที่อ่อนนุ่มและลึกลับดั่งดวงจันทร์ โดยมีเสียง กุ๊งกิ๊งๆ บ้างพอตามจังหวะครับ

6. Music of the Night จาก Phantom of the Opera ของ Sir Andrew Lloyd Webber จากละครเพลงอันโด่งดัง ในฉากที่ Phantom ได้พาตัวนางเอก (จำชื่อไม่ได้) มายังชั้นใต้ดินของโรงละคร โดย Phantom ได้ร้องเพลงนี้ในการขับกล่อมและประชดความรักของตัวเองที่มีต่อนางเอก ถึงแม้ว่าเพลงนี้ตามต้นฉบับเดิมจะเป็นเพลงร้อง แต่ก็มีเพลงในเวอร์ชันที่เป็นเพลงบรรเลงครับ โทนเสียงของเพลงนี้ให้โทนเสียงกลางถึงต่ำ ครับ ซึ่งไม่มีเครื่องดนตรีใดให้เสียงออกมาเป็นพิเศษ ครับ

7. Air on a G String ของ Johann Sebastian Bach เพลงนี้ฟังแล้ว รู้สึกเบา เพราะแนวเพลงออกแนว พลิ้ว และลื่นไหล เฉกเช่น กางเกงแบบ G String แต่ไม่ได้ให้ความรู้สึกว่า มีสาวๆ ใส G-String มาอยู่ตรงหน้า เครื่องดนตรี โดยมาเป็นเครื่องสายที่ให้โทนเสียงต่ำ เช่น Double Bass และ ออร์แกน ซึ่งให้โทนออกต่ำ แต่ก็ไม่หนักเบส เหมือนเพลงในปัจจุบัน หรือแนวเพลงปลุกใจ ดังนั้น เมื่อฟังเพลงนี้แล้วจะคึกเหมือนมี G-String มายั่ว ก็คงเป็นไปได้ยากครับ

8. Four Seasons จากสี TOA เอ๊ยไม่ใช่... ของ Antonio Vivaldi เพลงนี้บรรยายถึงฤดูกาลทั้ง 4 ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป โดยเริ่มต้นใน ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) ต่อด้วย ฤดูร้อน (Summer) ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) และจบที่ฤดูหนาว (Winter) แนวโทนเสียงในเพลงนี้ มีครบทุกโทน แต่ก็ไม่แหลมจนแสบหู หรือ ทุ้มจนเบสหนัก ในส่วนความรู้สึกที่บรรยายใน เพลงก็มีทั้งสนุกสนานรื่นเริง และโศกเศร้าไว้ด้วยกัน ซึ่งผมคาดว่าหลายๆ ท่านก็เคยได้ฟังเพลงนี้มาก่อนปล้ว โดยเฉพาะในส่วนของ ฤดูใบม้ผลิ แต่เนื่องด้วยความยาวของเพลงนี้ (ประมาณ 50 นาที) ผมคาดว่าเพลงนี้สามารถพาท่านไปเพลิดเพลินถึงความงามของฤดูกาลต่างๆ ในความฝันได้อย่างไม่ยากเย็นครับ...

9. Pavane (อ่านว่า ปาวาน นะครับ ไม่ใช่ ปาเวน) Op. 50 ของ Gabriel Urbain Fauré ครับ นักแต่งเพลงคนนี้ ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักสักเท่าไร ครับ เนื่องด้วยผลงานออกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นช่วงที่แนวดนตรีเพลงสมัยใหม่เริ่มมีบทบาทมากขึ้น จึงทำให้บทเพลงคลาสสิก มีความนิยมลดน้อยลง ประกอบกับ ช่วงที่ผลงานเพลงออกมาอยู่ในช่วงของ สงครามโลกครั้งที่ 1 และช่วงหลังสงคราม ซึ่งผู้คนในสมัยต้องการการปลอบโยนจากหลังสมคราม ซึ่งแนวเพลงหันไปในแนว ปลุกใจมากกว่า (เอ๊ะ โม้ ประวัติศาสตร์ยาวเกินแล้ว) กลับมาในแนวเพลงนะครับ แนวเพลงในส่วนของ Pavane นี้ ออกในแนวหม่นหมอง โหยหาถึงยุคสมัยที่รุ่งเรืองในอดีต (ประมาณว่า Good Old Days) แต่ในทำนองนั้น มีความพลิ้วและลื่นไหลของเพลง เช่นเดียวกับเพลง Air on a G String แต่ในเพลงนี้ให้ถึงอารมณ์เศร้า และอาวรณ์มากกว่า ความพลิ้ว ครับ ในส่วนของแนวเสียง เพลงนี้ ให้แนวเสียงที่ทุ้มต่ำ ไม่ค่อยมีเสียงสูงสักเท่าไร โดยมากเครื่องดนตรีเน้นในกลุ่มเครื่องสายที่มีให้เสียงต่ำ เช่น Cello และ Double Bass ครับ และมีเครื่องเป่าไม้ (Woodwind) ประกอบด้วยในบางส่วนครับ เพลงนี้ อาจจะไม่เหมาะกับบุคคลที่ตกอยู่ภาวะอารมณ์เศร้าหมองครับ...

10. Serenade für Streicher Edur Op. 22 ของ Antonín Dvořák โดยปกติ นักแต่เพลงท่านนี้ นิยมแต่เพลงในจังหวะเร็วและออกแนวตื่นเต้น เช่น ซิมโฟนีจากโลกหน้า เอ๊ย... โลกใหม่ (From the New World) หรือ Slovanic Dance ซึ่งเป็นท่วงทำนองที่สนุกสนาน ซึ่งเป็นแนวเพลงที่เป้นที่นิยมในแคว้น Bohemia หรือประเทศ Czech ในปัจจุบัน แต่นักแต่งเพลงท่านนี้ก็มีการแต่งเพลงในจังหวะกลางๆ (Moderato) อย่างเช่นเพลงนี้ครับ แนวเพลงนี้ ฟังแล้วให้ความพลิ้วไหว มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะ มีทั้งช่วงที่รู้สึกวนุกวนานและเศร้าสร้อย ซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของ Bohemia แนวเสียงของเพลงเพลงออกโทนเสียงกลางค่อนไปทางต่ำ แต่ก็มีเสียงสูงปะปนบางบ้าง แต่ก็ไม่มากครับ เพลงนี้ ฟังได้ง่ายครับ เหมาะกับทุกคนครับ (จังหวะไม่ช้าเกินไปและไม่เร็วจนเกินไปครับ)

11. Prelude ของ Johann Sebastian Bach เพลงนี้ ในช่วงที่ Bach ได้แต่งเพลงสำคัญๆออกมา เพลงนี้ออกหลังจากที่ Bach ได้มีผลงานในชุด Brandenburg Concertos (ชุดนี้ประกอบด้วย Concerto 6 เพลง) โดยเพลงนี้ได้รับการตีพิมพ์ พร้อมกับเพลงที่เป็นที่รู้จักกันดีของ Bach คือ Toccata and Fague in D (เพลงนี้แนะนำให้ลองหา Version ที่เล่นด้วย Organ ครับ) ซึ่งผลงานรวมในชุดนี้มีทั้งสิ้น 24 เพลง (แต่ก็มีแค่ 2 เพลงที่ผมได้ฟัง) ซึ่งจะมีเพลงอีก 1 ชุด (24 เพลงเช่นกัน) รวมเรียกว่า The Well-Tempered Clavier แนวเพลงของเพลงนี้ คล้ายกับ Air on a G-String ซึ่งผมได้แนะนำไปแล้ว แต่เพลงนี้ เน้นความพลิ้ว, ลื่นไหลมากกว่า และให้จังหวะมากกว่า เพลง Air on a G-String (คาดว่าคงออกแนวๆ รถ Honda Prelude มั้ง ที่เน้นแนวพลิ้วๆ) แนวเสียงก็ อยู่ในแนวกลางๆ มีแหลมและทุ้มปะปนกัน โดยเครื่องดนตรีจะเน้นพวก เครื่องสาย และ Organ บ้าง แต่ที่ผมฟังเป็น Version ของ Piano ครับ เพลงนี้ฟังแล้วให้ความรู้สึกเคลิ้มๆ ไปกับอารมณ์สบายๆ ได้ง่ายๆ ครับ ใช้แก้เครียดได้พอสมควรครับ สำหรับเพลงนี้

12. Moonlight Sonata ของ Ludwig van Beethoven เป็นอีกเพลงที่มีการกล่าวกันมากเพลงหนึ่งเช่นกัน (แต่ดันลืม และผมคาดว่าเพลงนี้น่าจะเป้นที่รู้จักมากกว่าเพลงที่ผมได้โม้ไปแล้ว) เพลงนี้ส่วนมากนิยมเล่นในรูปแบบของเดี่ยว Piano เป็นส่วนมากเนื่องจากให้เสียงที่ผู้ฟัง ฟังแล้วรู้สึกถึงแสงจันทร์ที่ทอประกายในยามค่ำคืน แต่จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากเพลง Clair de Lune ของ Claude Debussy ซึ่งเพลงนี้ให้ความรู้สึกที่รู้สึกถึงความสงัดได้มากกว่า เพลง Clair de Lune (ยกเว้นช่วงหลังของเพลง) แต่โดยรวมแล้ว เพลงนี้ให้ความรู้สึกที่เป็น &dquot;กลางคืน&dquot; ได้มากกว่าครับ แนวเสียงของเพลงนี้ก็มีการเล่นอย่างผสมผสานของ Piano (ผมมีอยู่ Version เดียว) ทั้ง ทุ้มและแหลม ครับ ส่วนจังหวะก็กลางๆ ครับ ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไปครับ แต่เสียงค่อนข้างเบา (อาจจะเป็นเพราะคุณภาพของไฟล์?) โดยรวมแล้วเพลงนี้ ก็สามารถทำให้ผู้ฟังเคลิ้มไปกับท่วงทำนองของ Piano ได้อย่างง่ายๆ และหลับได้ง่ายอีกเช่นกัน ซึ่งผมแนะนำอีกนิดว่า เปิดช่วงกลางคืนเงียบๆ จะได้อรรถรสของเพลงพอสมควรเลยครับ...

13. Intermezzo จากอุปรากรชุด คาเมนไรด์เดอร์ เอ๊ย... Carmen Suite No. 1 (อุปรากร Carmen มี 2 ชุด) ของ George Bizet หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Alexandre César Léopold Bizet ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส ผลงานอุปรากร (หรือที่เรียกว่า Opera) นี้เป็นเรื่องของความรักที่เป็นโศกนาฏกรรมของหญิงชาวยิปซี (Gypsy) ที่ชื่อ Carmen กับนายทหารชาวสเปนชื่อ Don José แต่ในตอนท้าย Carmen ได้ทิ้งนายทหาร Don José เพื่อไปหานักสู้วัวกระทิงนาม Escamillo ซึ่งอ้างอิงบนพื้นฐานของนวนิยายของ Prosper Mérimée โดยอุปรากรเรื่องนี้ แต่งเสร็จในปี 1875 แต่เป้นที่น่าเสียดายที่ อุปรากรเรื่องนี้กว่าจะเป็นที่ยอมรับ ทาง Bizet ก็ลาโลกไปเสียแล้ว ผมพล่ามมาถึงตอนนี้ผมคิดว่าหลายๆ ท่านคงเบื่อว่าผมจะพล่ามเกี่ยวกับละครอะไรหนักหนา (ตรู) จะฟังเพลง... ในส่วนของเพลงนั้นฟังแล้วรู้สึกเย็นๆ ใจและพลิ้วไหวในท่วงทำนองเบาๆ และเปิดโล่ง ซึ่งผู้ฟังจะเคลิ้มไปตามท่วงทำนองที่ให้ความรู้สึกเปิดโล่งและเย็นใจได้ดีเลยครับ และแนวเสียงของเพลงนี้ เครื่องดนตรีหลักจะเป็นขลุ่ยฟลู้ต (Flute) และขลุ่ยพิคโคโล (Piccolo) เป็นเครื่องดนตรีนำ ซึ่งให้เสียงที่ค่อนข้างสูงครับแต่ก็ไม่เสียดหูจนเกินไปครับ...

14. Nocturne จากอุปรากร Carmen Suite No.2 ของ George Bizet เช่นเดิม ส่วนเรื่องของอุปรากรนี้ ผมขออนุญาตโม้ในภายหลังนะครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาและเสียสายตาของผู้อ่าน ผมขอเริ่มเกียวกับเพลงนี้เลยนะครับ เพลงในแนว Nocturne โดยมากนิยมบรรเลงในช่วงกลางคืนซึ่งออกแนวเพ้อฝัน ลุ่มหลง ในส่วนของเพลงนี้ ให้จังหวะเนิบช้า เครื่องดนตรีหลักจะเป็นพวกเครื่องสายและเครื่องเป่าที่ให้เสียงทุ้ม ในส่วนของอารมณ์ของเพลงให้อารมณ์ในยามค่ำคืนถึงความโหยหาและอาวรณ์ถึงคนรัก (คนใหม่ในขณะที่ไม่สามารถตัดขาดจากคนเก่าได้) การทอดอารมณ์ถึงความคะนึงหา พร่ำเพ้อ และห่วงหา ก็อยู่ในเพลงนี้ด้วยครับ...

ปล. อุปรากรชุด Carmen มีทั้ง Version ที่เป็นเสียงร้องและบรรเลง ซึ่งผมแนะนำให้ลองฟังที่เป็นบรรเลงดูครับ แต่ถ้าหากท่านใดลองฟังเพลงที่เป็นเสียงร้องจากการแสดงสดๆ ก็ใคร่ขอรบกวนแลกเปลี่ยนความคิดเห้นว่า ในส่วนของบรรเลงเพียงอย่างเดียวกับที่มีเสียงร้องนั้นแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด และ อุปรากร Carmen ประกอบด้วยเพลง ทั้งสิ้น 12 เพลง หากท่านใดต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ผมแนะนำที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Carmen ครับ

ปล. 2 วันนี้แนะนำ 2 เพลงรวดเลยครับ (เพลงที่ 13 และ 14) และในส่วนของศัพท์เพลงคลาสสิก ผมขอเวลารวบรวมและจะ Post ให้ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 19

nopphong

02/12/2007 21:56:31
แหะๆ ตาลายเลยครับยาวจัด
ว่าแต่ผมอยากได้เพลงที่เฮียกับคุณ unclepiek คุยกันไว้น่ะครับ ที่บอกว่าเป็นเพลงที่เอาปืนใหญ่มายิงประกอบเพลงน่ะครับ คืออยากได้ไว้ลองแอมป์ซะหน่อย ถ้ามีอยู่รบกวนอัพให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 20

นายมั่นคง

02/12/2007 22:10:35



555

เฮียเปี๊ยกครับ เอาเพลงยิงปืนใหญ่ให้คุณ nopphong ด้วยจ้า........ผมว่าเพลงนี้ถ้าเปิดด้วยการฟังหูฟัง และเป้นการฟังเที่ยวแรก (ซึ่งไม่รู้ว่ามันจะยิงตอนไหน)

มีหวังตกเก้าอี้เลยครับ.............5555


----------------------------------------------------
ขอบคุณ คุณ Collagen ครับ มีอะไรก็มาอัพเดทได้ครับ โม้ถูกมั่งผิดมั่ง ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรให้เพื่อนๆ พี่ๆ ได้อ่านกัน.....ถือว่าเป็นการแนะนำก็แล้วกัน หากมีอะไรผิดพลาด แฟนๆ เพลงคลาสสิคทักท้วงเข้ามาได้เลยนะครับ 555


ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 21

Collagen

02/12/2007 22:21:59
คุณ Nopphong... เพลงอะไรหว่าที่มีปืนใหญ่ยิงกันด้วย ผมจำไม่ได้จริงๆ ครับ :184: แต่ถ้าให้ผมแนะนำว่า เพลงที่มีปืนใหญ่ยิงกัน ก็มีครับ... แต่ขอบอกแค่ชื่อเพลงแล้วกันนะครับ ส่วนการโม้ว่าเพลงนี้เป็นอย่างไร ก็ขอไว้คราวหน้านะครับ ซึ่งเพลงนี้ก็คือ 1812 Overture ของ Peter Ilyich Tchaikovsky ครับ (รับรองว่า ยิงกันมันส์เลยครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 22

nopphong

02/12/2007 23:10:21
แหะๆชื่อแพลงผมจำไม่ได้ครับ เพราะแต่ละเพลงชื่อยาวเหลือเกิน แต่คุ้นๆว่าจะเป็นของ Tchaikovsky นี่ละมั้งครับถ้าจำไม่ผิด ต้องรอคุณ unclepiek มาคอนเฟิมอีกทีครับ ผมมันพวกฟังอย่างเดียว ข้อมูลไม่มี จำอะไรก็ไม่ค่อยได้ครับ อิอิแต่วันนี้ฟัง feuerfest polka ของ strauss (ไม่รู้ผิดหรือเปล่า ลอกมาจากหน้าจอ ipod) ไปซะหลายรอบ ชอบที่มันฟังแล้วครึกครื้นดีครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 23

Collagen

02/12/2007 23:17:32
หลังจากอ่าน กระทู้ Review หูฟังไปเรื่อยๆ ผมว่า เพลง 1812 Overture ของ Peter Ilych Tchaikovsky ผมคงไม่ต้องโม้แล้วหละครับ ทาง คุณ Unclepiak ได้ Review ไว้เรียบร้อยแล้วครับ สามารถติดตามที่ได้ที่ กระทู้ของเฮียมั่นคงที่ Review หูฟัง MS-1 ครับ (ตาม Link http://www.tarad.com/munkonggadget/article.php?id=12771&lang=th ครับ) คุณลุงเปี๊ยก (ขออนุญาตเรียกเช่นนี้นะครับ) ได้ Review เพลงนี้ไว้ปีกว่าๆ แล้ว และอยู่ในความเห็นที่ 23 ครับ

แล้วก็ผมขอเสริมอีกนิดครับว่า เพลงนี้ทาง Tchaikovsky แต่งขึ้นเนื่องจากเขาได้รับคำสั่งให้เขียนเพลงสำหรับงานแสดงในกรุง Moscow ในปี 1880 ครับ แต่ข้อมูลที่ผมได้มาสำหรับเพลงนี้ค่อนข้างแตกต่างกับของคุณลุงเปี๊ยกพอสมควรครับ ดังนี้
เพลงนี้กล่าวถึงสมรภูมิที่ Borodino (ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่ห่างจากรุง Moscow ไปทางตะวันตกเล็กน้อย) ระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซียในวันที่ 7 กันยายน 1812 และจบลงที่กองทัพของจักรพรรดินโปเลียนถอยทัพจากกรุง Moscow ภายหลังจากที่ได้สั่งให้เผากรุง Moscow

ความหมายของเพลงนี้ทาง Tchaikovsky ได้ใช้เพลงชาติฝรั่งเศส (ตามที่คุณลุงเปี๊ยกได้กล่าวไว้) และเพลงสรรเสริญพระเจ้า Tsar ของรัสเซีย (เพลงชาติรัสเซีย) เป็นแนวเพลงหลักของเพลงนี้ และผสมผสานกับเพลงของชาว Cossacks และ Novgorod เพลงนี้ให้ความรู้สึกที่ชวนให้นึกถึงเสียงอาวุธที่กำลังประหัตประหารจากทั้งฝ่ายฝรั่งเศสและรัสเซีย (รวมทั้งเสียงปืนใหญ่) ในขณที่ฝ่ายฝรั่งเศสรุกคืบไป และฝ่ายรัสเซียได้ต่อต้านอย่างเต็มความสามารถ และในที่สุดเมื่อฝรั่งเศสยึดกรุง Moscow ได้ เพลงชาติฝรั่งเศสได้ก้องกังวานขึ้น แต่ในท้ายที่สุดกองทัพฝรั่งเศสได้จุดไฟเผากรุง Moscow อย่างโชติช่วง การถอยทัพของฝรั่งเศสเป็นไปอย่างเศร้าใจ และจบลงด้วยชัยชนะของฝายรัสเซีย

เพลงนี้ทางผู้แต่ง (Tchaikovsky) ได้กล่าวถึงผลงานของตัวท่านเองไว้ว่า &dquot;เต็มไปด้วยเสียงอึกทึก ปราศจากคุณค่าอันยิ่งใหญในทางศิลปะ เพียงแต่แสดงความสำคัญในการรักชาติเท่านั้น&dquot;

ที่มา: สุรพงษ์ บุนนาค, &dquot;ดนตรีแห่งชีวิต&dquot;, สำนักพิมพ์สารคดี, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ, 2549

ด้วยเหตุนี้ ผมใคร่ขออนุญาต ทางคุณ Unclepiak นำบทความของคุณ Unclepiak ที่ได้ Review เกี่ยวกับเพลง The Year 1812 Overture มาไว้ที่กระทู้นี้ เพื่อให้ทางผู้ที่สนใจได้ศึกษาและวิเคราะห์รวมทั้งแสดงความคิดเห็น (ผมรอทางคุณ Unclepiak อนุญาตก่อนนะครับ จึงจะนำบทความมาไว้ที่นี้)

ดังนั้น เพลงที่ 15. The Yer 1812 Overture (หรือ 1812 Overture) ชอง Peter Ilych Tchaikovsky ก็ขอโม้ไว้แต่เพียงเท่านี้ครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ปล. เพลงนี้ผมขอโม้เท่านี้ครับ ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมผมขอรบกวนทางคุณ Unclepiak แนะนำต่อดีกว่าครับ

ปล. 2 ผมก็ถือโอกาส โม้เพลงนี้เป็นเพลง ที่ 15 ครับ ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับหัวข้อ &dquot;ฟังแล้วง่วงนอนและคิดถึงเมียน้อย&dquot; ก็ตามครับ (ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ) สรุปเป็นว่าวันนี้โม้ไป 3 เพลง

ปล. 3 ขอขอบคุณคุณ Unclepiak อีกรอบครับสำหรับ Review และเพลง 1812 Overture ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 24

unclepiak

03/12/2007 08:09:00
โอว.. แฮ่ ๆ มิต้องเกรงใจครับ ยกมาแปะไว้ที่กระทู้่นี้ได้เลยครับ เป็นเกียรติเสียอีก ข้อมูลเพลงนี้ผมก็ลอกของอจ.เขียว(สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์)มาอีกทีครับ

มีเพลงที่อัพโหลดไว้นานแล้ว บางไฟล์บีบอัดไว้จำชื่อเพลงไม่ได้ แต่เชื่อว่าต้องเป็นเพลงเพราะ ๆ ทั้งหมด ขอแปะลิงก์ไว้ให้ด้วยเลยครับ ที่นี่

http://noknoi.com/mem/Classical/
http://noknoi.com/mem/THE_OVERTURE/

ในไดเรคทอรี่ THE_OVERTURE จะเป็นเพลงซาวน์์ดแทร็กจากหนังโหมโรงครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 25

Collagen

03/12/2007 20:46:29
ขอบคุณครับที่ให้เกียรติผมอย่างสูง คุณ Unclepiak ครับ งั้นผมก็ขอ นำ Post ที่คุณ Unclepiak ได้ Review เกี่ยวกับเพลง 1812 Overture มาไว้ตรงนี้เลยนะครับ

---------------------------------------------------
1812 Overture, Op.49 - Tchaikovsky บรรเลงโดย Cincinnati Symphony Orchestra มี Erich Kunzel เป็นคอนดัคเตอร์ บันทึกเสียงแบบดิจิตอลโดย Telarc เมื่อปี 1979

http://noknoi.com/mem/THE_OVERTURE/1812_telarc.mp3

ไหน ๆ ก็ไหน ๆ จะฟังให้สนุกก็น่าจะมีข้อมูลของเพลงสักหน่อย ดังนั้นจึงขออนุญาตคัดลอกเนื้อหาที่น่าสนใจของเพลงนี้ให้ฟังด้วยเลยครับ

1812 เป็นเพลงประเภทโหมโรงความยาว ๑๕.๔๒ นาที ไชคอฟสกี้ แต่งเพลงนี้เพื่อสดุดีวีรกรรมของชาวรัสเซีย ที่สามารถต่อสู้ทำลายกองทัพนโปเลียน โบนาปาร์ตอันเกรียงไกรได้ในปี ค.ศ. 1812

ในปีนั้นเป็นปีที่มีอากาศหนาวจัด นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ยาตราทัพเข้ายึดครองเมืองเซ็นต์ปีเตอร์เบิร์ก เมืองหลวงของรัสเซียในสมัยนั้น และพบว่าทั้งเมืองกลายเป็นเมืองร้าง กองทัพรัสเซียและชาวเมืองทั้งหมดพากันละทิ้งบ้านช่อง แยกย้ายไปวางกำลังดักซุ่มอยู่ตามที่ต่าง ๆ ด้วยความที่คุ้นเคยกับภูมิอากาศอันหนาวเย็น ประกอบกับเลือกวางกำลังในชัยภูมิที่ได้เปรียบกว่า ทำให้รัสเซียสามารถดักทำลายล้างกองทัพฝรั่งเศสซึ่งจัดได้ว่าเป็นกองทัพบกที่ดีที่สุดในขณะนั้นแตกกระจาย กองทัพถูกทำลายย่อยยับ มีทหารตายนับแสนคน ตัวนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากแนวรบตามลำพัง กระเซอะกระเซิงหมดสภาพ และถือว่าเป็นการพ่ายแพ้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของนโปเลียน

ไชคอฟสกี้ เปิดฉากเพลงด้วยเสียงเครื่องเป่าทองเหลือง ประสานกับหมู่เครื่องสายด้วยท่วงทำนองเนิบช้า ได้บรรยากาศความสงบสุขของรัสเซีย ก่อนจะถูกรุกราน แล้วเพลงก็ค่อยเพิ่มจังหวะและความเร้าใจด้วยเสียงกลองทิมปานี ฟลุต ไวโอลินเล่นนำวิโอล่าสอดรับตามด้วยเครื่องเป่าทองเหลืองและฉาบน่าระทึกใจ

เพลงนี้มีการใช้ท่วงทำนองเพลงชาติฝรั่งเศส (La Marseillaise) มาแทรกไว้ประหนึ่งเป็นตัวแทนกองทัพผู้รุกราน โดยผู้ประพันธ์เริ่มบรรยากาศความสงบสุขของชาวเมืองก่อน

ต่อมาเครื่องเป่าทองเหลืองจะแสดงบทนำหมู่อย่างยิ่งใหญ่ จนเกิดความรู้สึกฮึกหาญด้วยพลานุภาพ แล้วขึ้นเครื่องสายด้วยทำนองและลีลาไพเราะมีเสน่ห์เร้าใจ รับด้วยเครื่องเป่าลม เครื่องตีประกอบจังหวะทั้งหมดสะท้อนบรรยากาศแบบรัสเซีย

ฉับพลันท่วงทำนองเพลง La Marseillaise ในลีลาแกร่งกร้าวของเครื่องเป่าทองเหลืองและเครื่องสายที่สอดรับด้วยเสียงกลองทิมปานีและฉาบ เข้ามารุกรานขับไล่บรรยากาศสงบสันติออกไป และตามด้วยเสียงกัมปนาทของปืนใหญ่และเครื่องดนตรีทุกชิ้นก็แผดก้องขึ้น บรรยากาศแห่งการสู้รบแซมด้วยเสียงระฆังราวดังระงม แล้วเสียงปืนใหญ่ก็ดังขึ้นเป็นชุด ๆ สอดรับด้วยเครื่องสายที่มีท่วงทำนองอาจหาญ เร่งเร้าเพิ่มขึ้นด้วยเสียงดนตรีทุกกลุ่ม พร้อมกับสัญญานระฆังราวปิดท้าย คล้ายกับเสียงระฆังตามโบสถ์ทุกหลังในเมือง ที่ระดมตีกันขึ้นเพื่อเป็นสัญญานแห่งชัยชนะต่อผู้รุกราน

ตอนท้ายเครื่องดนตรีทุกชิ้นจะแผดเสียงดังสุดขีดแล้วยุติลงในทันใด เกิดความรู้สึกสงบสันติอย่างบอกไม่ถูก สันติภาพได้กลับคืนสู่ประชาชนอีกครั้งหนึ่งแล้ว ผู้ฟังจะรู้สึกปลอดโปร่งสบายใจเป็นที่สุด

ที่มา: ดนตรีที่รัก, สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ สนพ.มูลนิธิโกมลคีมทอง, ก.ค. ๒๕๓๑
----
ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี (PeterIlich Tchaikovsky,1840-1893)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียคนแรกที่เป็นที่รู้จักในวงการนานาชาติ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คน ของ อิลยา เปโตรวิช ไชคอฟสกี (Ilya Petrovititch Tchaikovsky) และ อเลกซานดรา (Alexandra) เกิดที่เมืองว็อทกินสค์ (Voltkinsk) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1840 เป็นผู้ประพันธ์เพลงยอดนิยมคนหนึ่งในบรรดาผู้ประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกดนตรี

ไชคอฟสกีเป็นคีตกวีที่แปลกไปกว่าท่านอื่น ๆ กล่าวคือทุกๆคนมักจะเรียนและเล่นดนตรีเก่งชนิดอัจฉริยะตั้งแต่อายุยังน้อย ส่วนไชคอฟสกีมาเริ่มเรียนดนตรีจริงจังก็เมื่ออายุ 21 ปี เนื่องจากเขาต้องเรียนกฎหมาย ตามความต้องการของพ่อจนกระทั่งจบปริญญาตรีทางกฎหมาย และออกมาทำงานรับราชการในกระทรวงยุติธรรม แต่ด้วยความสนใจและความชอบซึ่งมีเป็นทุนอยู่แล้วไชคอฟสกีจึง หันเหชีวิตมาเรียนดนตรีอย่างจริงจังในสถาบันดนตรีแห่งเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในวิชาการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) เทคนิคการเล่นเปียโนและออร์แกน

ชีวิตของไชคอฟสกีก็คงเหมือน ๆ กับคีตกวีคนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป กล่าวคือมีทั้งสุขและทุกข์ระคนกันไปชีวิตเหมือนนิยายมากกว่าชีวิตจริง เพราะยามที่ตกอับจะมีกินก็เพียงประทังความหิว และมีที่อยู่อาศัยเพียงแค่ซุกหัวนอน ในยามเมื่อคนอื่นไม่เห็นคุณค่าผลงานของเขาก็ไม่มีค่าอะไร

แต่ยังดีที่มีผู้ที่เห็นความสำคัญและคอยจุนเจือค้ำจุนเสมอมาอย่างแทบไม่น่าเชื่อเธอผู้นั้นก็คือ มาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) เศรษฐีนีหม้ายผู้มั่งคั่ง เธอให้เงินสนับสนุนไชคอฟสกีโดยไม่เคยหวังผลตอบแทนใด ๆ

เธอมีความสุขที่ได้มีโอกาสสนับสนุนผู้อื่นให้ทำงานที่เธออยากทำแต่ทำไม่ได้ เพราะเธอเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักประพันธ์ดนตรีแต่ไม่สามารถทำได้ ด้วยใจรักดนตรีในยามว่างจากภาระกิจเธอมักจะนั่งฟังดนตรีเสมอ ดั้งนั้นเธอจึงทดแทนส่วนนี้ด้วยการสนับสนุน

ไชคอฟสกีผู้ซึ่งในระหว่างที่มีชีวิตอยู่เขาไม่เคยได้รับเกียรติอย่างจริงจังจากชาวรัสเซียเลยตรงกันข้ามกับทางยุโรปและอเมริกานิยมชมชื่นในตัวเขามากขณะที่ชื่อเสียงกำลังโด่งดังอยู่นั้นเขาก็ด่วนจบชีวิตลงเสียก่อนซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่มากที่พยายามสร้างงานมากมาย

บัดนี้เขาเป็นคีตกวีที่ชาวรัสเซียภูมิใจมากที่สุด

ไชคอฟสกีถึงแก่กรรมด้วยโรคอหิวาต์ซึ่งเกิดจากความไม่เฉลียวใจหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จไชคอฟสกีไปเปิดน้ำประปาที่ก๊อกมาดื่มโดยไม่ได้นำมาต้มเสียก่อน เพราะขณะนั้นที่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบริ์กมีโรคระบาดพอดีและมีคนคอยเตือนแล้ว ในที่สุดก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893

ที่มา: ประวัติดนตรีตะวันตก, สมัยโรแมนติก http://classroom.psu.ac.th/users/wkomson/data/western-musuc/Chapter4/chap4-7.htm

-------
หมายเหตุ ไฟล์เพลงนี้ มีขนาดไฟล์ 36 Mb. บีบอัดแบบ MP3 bitrate 32o Kbps. ช่วงต้นของเพลงเสียงจะเบา หากจะปรับเสียงให้ดังขึ้นโปรดระมัดระวัง เพราะตอนท้ายของเพลงจะเสียงดังเกินไป อาจทำให้หูฟังชำรุดได้


unclepiak
(11/11/2549 08:47:25) IP. 203.146.63.xxx
-----------------------------------

ปล. ผมก็มีแผ่นของเพลงนี้เช่นกันครับ (สงสัยแผ่นเดียวกันแน่ๆ เลย เพราะ วงที่บรรเลงก็วงเดียวกัน ):192:

ปล. 2 ขอเสริมอีกนิดครับ
- สงครามนี้ เป็น การรบระหว่างจักรพรรดินโปเลียน และพระเจ้า ซาร์ อเล็กซานเดอร์ ที่ 1(Tsar Alexander I) แห่งจักรวรรดิรัสเซีย ครับ
- เพลงนี้มีเสียงปืนใหญ่ทั้งสิ้น 16 นัด
- เพลงชาติของฝรั่งเศส Le Marseillaise และเพลงชาติรัสเซีย God save the Tsar! ได้ใช้ประกอบเพลงนี้
- เครื่องดนตรี ที่ใช้เล่นเพลงนี้สำหรับวง Orchestra ประกอบด้วย
ขลุ่ย Piccolo, ขลุ่ย Flute 2 ตัว, Oboe 2 ตัว, ขลุ่ย cor anglais 2 ตัว, คลาริเน็ตในโทนเสียง B flat 2 ตัว (Clarinet in B flat), บาสซูน 2 ตัว, แตรในโทนเสียง B 4 ตัว (horns in F), แตรคอร์เน็ตในโทนเสียง B 2 ตัว (cornets in B flat), ทรัมเป็ตในโทนเสียง E Flat 2 ตัว (trumpets in E flat), ทรอมโบน 3 ตัว, แตร Tuba, กลองทิมปานี (timpani), Triangle (เครื่องเคาะจังหวะรูปสามเหลี่ยม), กลอง Tambourine (นึกชื่อภาษาไทยไม่ออก), กลองสแนร์ (snare drum), ฉาบ (cymbals), กลองเบส (bass drum), ระฆัง หรือที่เรียกว่า carillon (แต่บางครั้งเล่นโดยใช้ tubular bells), และที่สำคัญที่สุดคือ ปืนใหญ่ (cannon) (แต่โดยมากมักใช้ กลองเบส หรือ กลองใหญ่ หรือเสียงปืนใหญ่ที่เตรียมไว้ล่วงหน้า มากกว่าครับ)
- สรุปจาก http://en.wikipedia.org/wiki/1812_Overture
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 26

Collagen

03/12/2007 21:25:53
ไหนๆ ก็พูดถึง Tchaikovsky แล้ว ถ้าผมไม่ได้โม้เพลงนี้ คุณลุงเปี๊ยกคงโกรธผมเป็นแน่ เนื่องด้วยเพลงนี้ ถือว่าเป็นหนึ่งในเพลงโด่งดังอภิมหาอมตะนิรันดร์กาลของ นักแต่งเพลงท่านนี้ ซึ่งเพลงนั้นก็คือ

เพลงที่ 16. (ของการโม้) Swan Lake Overture เพลงนี้เป็นเพลงโหมโรง (หรือที่เรียกว่า Overture) ของบัลเล่ต์อันยิ่งใหญ่ของรัสเซียในชุด Swan Lake (ในภาษารัสเซีย: Лебединое Озеро, Lebedinoye Ozero, Swan Lake) หรือชื่อไทยว่า ทะเลสาบนางหงส์ ซึ่งมีโครงเรื่องคือ เจ้าชาย Siegfried ได้เดินทางมายถึงทะเลสาบอันลึกลับในป่า ซึ่งเป็นที่อยู่ของเหล่าสาวงาม ที่ถูกคำสาปของแม่มดให้กลายเป็นหงส์ ซึ่งหากเจ้าชายให้สัญญาจะมอบความรัก ของเฮียมั่นคง... เอ๊ย อันมั่นคงให้กับและเป็นนิรันดร์แด่ Odette ซึ่งเป็นราชินีหงส์ ก็จะสามารถถอนคำสาปของแม่มดได้ แต่กระนั้น เจ้าชายได้เข้าใจผิดด้วยมนต์ดำของแม่มด ทำให้ไปรักกับลูกสาวของแม่มด ถึงกระนั้น (ด้วยนิสัยของนางเอก) Odette ก็ยังให้อภัย แต่ก็สายเกินไป เพราะเจ้าชายได้ให้คำมั่นสัญญากับสาวผิดตัวไปแล้ว ในท้ายที่สุดเจ้าชายและราชินี Odette ก็ได้ตัดสินใจกระโดดลงสู่ทะเลสาบเพื่อครองรักกันในโลกหน้า ซึ่งทำให้คำสาปของแม่มดเสื่อมลง... นิทานก็จบลงด้วยประการฉะนี้....

เพลงนี้เครื่องดนตรีหลักก็ยังคงเป็นเครื่องเป่าเช่นเดียวกับเพลง 1812 Overture แต่จังหวะไม่เร็วเท่าและมีการผสมผสานกับเครื่องสายอย่าง Violin และ Viola ซึ่งทำให้เสียงนุ่มนวล ซึ่งจังหวะของเพลงนี้อยู่ในจังหวะกลางๆ ค่อนไปทางเร็ว (Moderato Assai, Allegro non Troppo) ผู้ฟังฟังแล้วจะได้ความรู้สึกท่ามกลางแมกไม้ในทะเลสาบกลางป่า และต่อด้วยความรู้สึกในงานเต้นรำของหมู่หงส์ ถ้าหากลองหลับตาฟังเพลงนี้และจินตนาการถึงบทบัลเล่ต์ดีๆ ผมว่า เพลงนี้ ใช่เลยครับ...

ขอคารวะ...

ปล. เนื่องด้วยเพลงนี้ ผมมีแต่ไฟล์ที่เป็น midi และเคยฟังเพลงนี้ในงานคอนเสิร์ต ซึ่งเป็นเพลงที่ไพเราะที่สุดเพลงหนึ่ง หากท่านใดมีเพลงนี้ รบกวนขอความอนุเคราะห์ให้กับนักโม้ตัวน้อยๆ ตาดำๆ ด้วยนะครับ :197:
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 27

nopphong

03/12/2007 22:08:58
ได้แล้วครับเดี๋ยวลองดูว่าแอมป์หรือหูฟังผมจะไปหรือเปล่า อิอิ
ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 28

unclepiak

04/12/2007 04:59:10
โพสต์ไม่ติดอีกแระ

ผมค้นในไอจูน มีสวอนเลคอยู่สองไฟล์ครับ เป็นเอ็มพีจ๋าม กำลังอัพโหลดมาให้ลองฟัง ไม่ทราบว่าจะใช่อะโวเจอร์หรือเปล่า? เคยเห็นแว้บ ๆ ว่ามีเป็น Suite เลย ที่เป็นเพลงบัลเลต์ผมมี The Nutcracker Suite อยู่ชุดเดียวครับ

ผมอัพโหลดไว้ที่ http://noknoi.com/mem/Classical/ นะครับ คุณคอลลาเจนฟังแล้ว ช่วยบอกด้วยว่าใช่อะโวเจอร์หรือเปล่า?
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 29

ota_hay

04/12/2007 09:10:53
สวัสดีครับ อยากได้พวกบรรเลง
เดี่ยวกีต้าร์คลาสสิค บ้างครับตอนเรียนกีต้าร์เคยฟังแล้วชอบมากครับ แต่หาซื้อไม่เจอครับ จำได้ว่า
ชื่อ william อะไรสักอย่างเนี่ยล่ะ
ถ้ามีก็สงเคราะห์ผมหน่อยนะครับพี่ ๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 30

nopphong

04/12/2007 10:28:37
มารายงานผลการฟัง 1812 สงสัยว่าชุดของผมมันยังไม่ดีพอ เสียงปืนใหญมันแค่คล้ายๆพลุ ไม่ค่อยมี impact ฟังแล้วเหมือนเสียงพลุที่จุดเพื่อฉลอง มากกว่าเสียงปืนใหญ่ยิงกันน่ะครับ
ไม่ทราบท่านอื่นมีใครฟังแล้วได้ยินเสียงแน่นๆแบบยิงปืนใหญ่จริงๆบ้างครับ

โพสรอบที่ 5
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 31

Collagen

04/12/2007 22:39:02
ก่อนอื่น ก็ขอขอบคุณคุณ Unclepiak ครับ ก็ 1 ใน 2 เพลงนั้นหละครับ เป็น Overture ครับ (เพลงที่ชื่อ Swan Lake Op. 20 ครับ) ส่วนอีกเพลง (Swan Lake Duo) นั้นเป็นเพลง หนึ่งในบัลเล่ต์ครับ แต่ผมจำไม่ได้ว่า เป็นเพลงในองก์ใดของการแสดงชุดนี้ ขอบคุณมากๆ ครับ...

ของคุณ Nopphong เพลงที่คุณ unclepiak ได้ Post ไว้นั้น ผมว่า ค่อนข้างสมบูรณ์ของเพลงนี้แล้วครับ ซึ่งเสียงปืนใหญ่ ในเพลงนั้น ได้ใช้เป็นเสียงปืนใหญ่ที่อัดมาล่วงหน้าครับ ซึ่งคงอาจจะไม่ได้ฟังเสียงปืนใหญ่จริงๆ (ส่วน Version ที่เป็นเสียงปืนใหญ่จริงๆ ผมจะพยายามหามาครับ แต่คาดว่าหายากพอสมควรเลยครับ)...
--------------------------------
เพลงที่ขออนุญาต โม้ต่อในวันนี้ เพื่อให้เข้ากับงานเฉลิมฉลอง ผมขอโม้เกี่ยวกับเพลงนี้ครับ
เพลงที่ 17. Water Music (หรือชื่อในภาษาไทยอันไพเราะว่า นทีดุริยางค์) เป็นผลงานการแต่งของ George Frederick Handel นักแต่งเพลงชาวเยอรมันผู้ซึ่งประสบความสำเร็จที่อังกฤษ ถ้าเทียบความเก่าของเพลงของ Handel ก็อยู่ในช่วงเดียวกับเพลงของ Bach คือในช่วงยุค Baroque ซึ่งแนวดนตรี เป็นแนวที่ใช้ในการศาสนาหรือในราชสำนักเป็นส่วนมาก โดยนักดนตรีไม่ได้แสดงความรู้สึกของเพลงจากความรู้สึก เช่นยุคหลังๆ ครับ... เข้าเรื่องของเพลงนี้ดีกว่า เพลงนี้ Handel แต่งถวายพระเจ้าจอร์จที่หนึ่งแห่งประเทศอังกฤษ (George I, King of Great Britain) ซึงเคยเป็นผู้ครองแคว้น Hannover ของประเทศเยอรมัน แต่เดิม Handel เป็นชาวเยอรมันและได้เป็นนักดนตรีที่ราชสำนัก Hannover ก่อนที่จะลาออกและมาแสวงโชคที่อังกฤษ ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ความสัมพันธ์ของ Handel และ พระเจ้าจอร์จที่หนึ่ง (ในขณะที่เป็นผู้ครองแคว้น Hannover) ไม่ค่อยจะราบลื่นนัก แต่เมื่อพระเจ้าจอร์จที่หนึ่งได้ครองบัลลังก์อังกฤษ ทำให้ Handel ไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนักอังกฤษ แต่โอกาสก็มาถึง Handel ในการขอคืนดี เมื่อ พระเจ้าจอร์จเสด็จประพาสแม่น้ำเทมส์ ทาง Handel ได้แต่งเพลงนี้ถวาย ซึ่งทำให้พระเจ้าจอร์จที่หนึ่ง ทรงพอพระทัย และด้วยเพลงนี้เอง ทำให้ Handel กลับมาเป็นคนโปรดของพระเจ้ากรุงอังกฤษอีกครั้ง...

ในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่หนึ่ง (ช่วงปี 1714-1727) แม่น้ำเทมส์เป็นเส้นทางการคมนาคมที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในการเสด็จประพาสทางน้ำ ก็มีความยิ่งใหญ่อลังการ นอกจากเรือพระที่นั่งแล้ว ยังมีเรือตามเสด็จในขบวนอีกราว 1,000 ลำ (ถ้าเทียบในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว กระบวนเรือพระราชพิธี ก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน)...

ในเพลงนี้ ได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของกระบวนเรือ ความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดิน ความงดงามของสายน้ำ เครื่องดนตรีของเพลงนี้ ถ้าเป้นเพลงดั้งเดิมจะมีเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น โดยเน้นเครื่องเป่าและเครื่องสาย ประกอบด้วย แตร, โอโบ, บาสซูน และ เครื่องสายอย่าง วิโอลา ไวโอลิน เซลโล ดับเบิลเบส แต่ในงานแสดงนั้น ได้ใช้นักดนตรีกว่า 50 คนในการบรรเลงเพลง (ซึ่งถือว่ามากแล้วในสมัยนั้น) ถ้าหากท่านใดที่ได้ฟังเพลงนี้ในสมัยปัจจุบัน จะมีเสียงของกลองและเครื่องเคาะจังหวะ รวมถึงระนาดฝรั่ง (Xylophone) เพิ่มเติมเข้าไปทำให้ได้อรรถรสของบรรยากาศ การชมกระบวนเรือในแม่น้ำเทมส์ มากยิ่งขึ้นครับ...

ขอแสดงความนับถือ

ปล. นักแต่งเพลงท่านนี้ ยังมีเพลงที่ผมอยากโม้อีกหลายเพลงครับ เช่น Firework Music, Messiah ครับ แต่ผมยังไม่เคยได้ฟัง Firework Music เลย ซึ่งตอนนี้พยายามเสาะหามาฟังครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 32

Collagen

05/12/2007 21:29:12
วันนี้ขออนุญาตแนะนำเพลงคลาสสิก (บรรเลง) ของคนไทยบ้างดีกว่าครับ ด้วยอารมณ์ต่อเนื่องจากเมื่อวานที่เป็นบทเพลงเกี่ยวกับแม่น้ำ ในเพลงนทีดุริยางค์ไปแล้ว (ถ้าเฮียเห็นว่า Post นี้ ไม่ดีก็ลบไปได้เลยนะครับ) วันนี้ขอโม้ในเพลงที่ชื่อว่า

เพลงที่ 18 เจ้าำพระยา ของ ดนู ฮันตระกูล ครับ เพลงนี้เล่าเรื่องเกี่ยวกับสายน้ำอันเป็นเส้นเลือดหลักของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนมาถึงความรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ บทเพลงนี้บรรยายถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของสายน้ำแห่งสยามประเทศ รวมถึงชีวิตริมฝั่งแม่น้ำที่เป็นสายใยหลักของประเทศ โทนเสียงของเพลงนี้ให้โทนเสียงจากเครื่องเป่าทองเหลืองและเครื่องตีเป็นหลัก ซึ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการของสายน้ำ รวมทั้งจังหวะที่พลิ้วไหวที่แสดงให้เห็นถึงระลอกริ้วคลื่นเมื่อต้องสายลม และรับแสงตะวันทั่งในท่วงทำนองที่ไหลเรื่อยๆ และเชี่ยวกรากของสายน้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสวยงามของสายน้ำที่ชื่อ เจ้าพระยา ครับ...

ปล. วันนี้ขออนุญาตแนะนำแบบธรรมดาๆ นะครับ
ปล.2 เพลงนี้ ผมขออนุญาตที่จะไม่นำ Link ในการโหลดมาแปะไว้นะครับ หากท่านผู้ฟังสนใจที่จะฟัง ผมแนะนำลองไปหาตามร้านน่าจะมีขายครับ (สนับสนุนของไทย) และหากเฮียมั่นคง หรือท่านอื่นๆ เห็นว่า ไม่เหมาะก็สามารถลบได้เลยนะครับ... ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 33

กุ๊ดจี่

06/12/2007 05:51:15
http://www.wittyz.net/Rachmaninoff Pinao Concerto 2.rar

เอามาแจมครับ เป็น piano concerto 2 ของ Sergei Rachmaninoff

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 34

สมัครเล่น

06/12/2007 19:05:30
ไชคอฟสกีคนเจ้าอารมณ์
....

นโปเลียนบุกรัสเซียไม่สำเร็จ
ฮิตเลอร์ก็ไม่จำก็ดันบุกแบบเดียวกัน
ถ้ายังมีไชคอฟสกีอยู่มาจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง
คงมี 1942 หรืออะไรแถว ๆ นั้นแน่ๆ

บางคนก็ว่าเพลงนี้อึกทึกครึกโครมคราม
บางคนก็ชอบครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 35

Lovery23

06/12/2007 20:52:21
พึ่งได้ pk2 มาขอเข้าแก๊งค์เพลงคลาสสิกด้วยคนน่ะครับ
อยากสอบถาม ลุงเปี๊ยก คุณ Collagen และเพื่อนๆดังนี้ครับ

คือผมชอบแนวเพลง แบบ O Fortuna ของ Carl Orff แล้วก็ Requiem ของ Mozart น่ะครับ ฟังแล้วรู้สึกยิ่งใหญ่และกดดันดี อยากให้ช่วยแนะนำเพลงแนวๆนี้หน่อยครับ จักขอบพระคุณอย่างยิ่งคร้าบ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 36

Lovery23

06/12/2007 21:03:40
ป.ล. โพส ตั้ง 6 ครั้งแน่ะ กว่าจะติด
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 37

Collagen

06/12/2007 22:08:11
ขอบคุณครับ คุณกุ๊ดจี่ สำหรับเพลงของ Sergei Rachmaninoff นักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ของรัสเซียอีกท่าน ถ้ามีโอกาสผมขอโม้ให้ฟังครับ....
-----------------------------
ที่จริงแล้ววันนี้จะขออนุญาตหุบปากซักวัน เนื่องจากงานยุ่ง แต่ก็ ด้วย Request ของคุณ Lovery23 ก็เลยขอ โม้ต่อแล้วกันนะครับ (ก็เพลงที่กะจะโม้ในตอนแรกเป็นเพลง Blue Danube ของ Johann Strauss) แต่ที่จะขอโม้เพลงนี้เนื่องจาก Request ของคุณ ตั่วปุ๊ย และคุณ Lovery23 ซึ่งพูดถึงเพลงเดียวกันนี้พอดีครับ...

เพลงที่ 19. O Fortuna ของ Carl Orff เพลง O Fortuna เป็นเพลงหนึ่งในชุด Camina Burana หรือที่เรียกว่า Burana Codex ซึ่งต้นฉบับเดิมถูกแต่งขึ้นในราวศตวรรษที่ 13 และเก็บรักษาเป็นอย่างดีในโบสถ์ที่เมือง Benediktbeuern ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมือง Munich แคว้น Bavaria ประเทศเยอรมันนี ซึ่งเป้นเวลากว่า 700 ปีที่ไม่มีผู้ใดรู้ว่ามีบทเพลงนี้่เก็บอยู่ และนาย Carl Orff ได้เรียบเรียงเพลงนี้ขึ้นมาใหม่ ในปี 1935-1936 เพลงนี้เป้นเพลงภาษาละติน ซึ่ง (คาดว่า) แต่งตามชื่อเทพธิดาของชาวโรมันที่ชื่อ Forture เพลงนี้ประกอบด้วยกลอน 24 บท และแต่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring), ไวน์ (Wine) และความรัก (Love) ซึ่งเพลงนี้มีข้อสังเกตอยู่ข้อหนึ่งคือ เพลงนี้แต่งตามชื่อเทพของชาวโรมันในขณะที่อาณาจักรโรมันล่มสลายมาแล้วเกือบ 1000 ปี และ ในช่วงนั้น อิทธิพลของคริสตศาสนาแผ่ปกคลุมทวีปยุโรป ซึ่งอาจทำให้เพลงนี้ ถุกเก็บซ่อนมากว่า 700 ปี...

แนวเพลงของเพลงนี้ประกอบด้วยทั้งการบรรเลงเพลงและการประสานเสียง ซึ่งเครื่องดนตรีที่ใช้จะเน้นไปทางเครื่องสาย เช่น Violin และเครื่องตี เป็นส่วนมาก แนวเพลงฟังแล้วจะรู้สึกถึงความไม่แน่นอนของโชคชะตาที่มีความแปรเปลี่ยนเฉกเช่นดวงจันทร์ ซึ่งเข้าทำนองที่ว่า ใดๆ ในโลกล้วน อนิจจัง ในท่อนแรกของเพลง ได้เปรียบเทียบว่าโชคชะตา ช่างเหมือนดวงจันทร์ที่แปรเปลี่ยนได้ตลอด (O Fortuna, vetut luna, statu variabilis) ซึ่งผุ้ฟังฟังแล้วได้อารมณ์ ขึ้นๆ ลงๆ ดีครับ ซึ่งใช้ในการทดสอบหูฟังได้ดีอีกเพลงหนึ่งครับ เนื่องจากความกว้างของช่วงเสียงที่มีทั้งเครื่องสายที่ให้เสียงสูง และเครื่องตีที่ให้เสียงทุ้ม เพลงช่วงแรกและช่วงสุดท้ายเสียงจะดัง และช่วงกลางเสียงจะเบา ซึ่งให้แนวเสียงที่แปลกและยังมีเสียงร้องอีกด้วยครับ...

ปล. ยินดีต้อนรับ ทุกๆ ท่านครับ... แต่ตอนนี้ผมยังใช้ Koss KSC-75 ในการฟังและโม้อยู่เลยครับ (ส่วนของ Grado ตอนนี้รอเบิร์นอยู่ครับ ^^)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 38

Collagen

06/12/2007 22:09:45
เนื้อเพลง O Fortuna ครับ
O Fortuna

velut luna

statu variabilis,
semper crescis

aut decrescis;

vita detestabilis
nunc obdurat

et tunc curat

ludo mentis aciem,
egestatem,

potestatem

dissolvit ut glaciem.
Sors immanis

et inanis,

rota tu volubilis,
status malus,

vana salus

semper dissolubilis,
obumbrata

et velata

michi quoque niteris;
nunc per ludum

dorsum nudum

fero tui sceleris.
Sors salutis

et virtutis

michi nunc contraria,
est affectus

et defectus

semper in angaria.
Hac in hora

sine mora

corde pulsum tangite;
quod per sortem

sternit fortem,

mecum omnes plangite

ปล. คุณตั่วปุ๊ยผมจำชื่อเกมส์ไม่ได้แล้วอ่าครับ รบกวนช่วย Post ให้ด้วยนะครับ จะได้ลองหาต่อให้ครับ... ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 39

Collagen

06/12/2007 22:13:37
ส่วนอันนี้คำแปลเป็นภาษาอังกฤษครับ
O Fortune,

like the moon

you are constantly changing,
ever waxing

and waning;

hateful life
first oppresses

and then soothes

as fancy takes it;
poverty

and power

it melts them like ice.
Fate - monstrous

and empty,

you whirling wheel,
you are malevolent,

well-being is vain

and always fades to nothing,
shadowed

and veiled

you plague me too;
now through the game

I bring my bare back

to your villainy.
Fate is against me

in health

and virtue,
driven on

and weighted down,

always enslaved.
So at this hour

without delay

pluck the vibrating strings;
since Fate

strikes down the strong man,

everyone weep with me!

ปล. หากท่านในสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาต่อได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/O_Fortuna (เนื้อเพลงผมก็เอามาจากที่นี่หละคร้าบบบ) และ http://en.wikipedia.org/wiki/Camina_burana ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 40

กุ๊ดจี่

07/12/2007 07:11:35
เอามาฝากอีกเพลงครับ ตามขื่อไฟล์นั่นแล..

http://www.wittyz.net/Mozart_ Piano Concerto_23.rar

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 41

Lovery23

07/12/2007 15:18:46
ขอบคุณ คุณ Collagen สำหรับเรื่องราวความเป็นมา ของ O Fortune ครับ ถ้ามีโอกาสจะเอามาแจกครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 42

Collagen

07/12/2007 23:51:07
เย้~ ดีใจจัง มีคนเข้าชมเกิน 1,000 คนแล้ว ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม การโม้อันนี้ครับ 8-)

ขอขอบคุณคุณ Unclepiak และคุณ กุ๊ดจี่ ที่นำเพลงเพราะๆ ดีๆ มาฝากครับ และขอขอบคุณท่านอื่นๆ ที่ให้กำลังใจเรื่อยมาครับ
-----------------------------
เพลงที่ 20. ขอนำเสนอในเพลง Blue Danube ครับ ของ Johann Strauss (โปรดสังเกตว่า นักแต่งเพลงหลายๆ ท่านชื่อ Johann เยอะมาก เช่น Bach, Pachelbel, Strauss) เพลงนี้ Strauss ผู้ลูกได้แต่งขึ้น และถือว่าเป็นเพลงในจังหวะ Waltz ที่โด่งดังที่สุดเพลงหนึ่ง เพลงนี้ ก็ให้ท่วงนำนองที่เรื่อยๆ เฉกเช่นแม่น้ำ Danube ที่ไหลผ่านกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยแม่น้ำ Danube เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรป เพลงนี้ได้นำแสดงเป็นครั้งแรกในปี 1867 ซึ่งประสบความล้มเหลวอย่างงดงาม แรงบันดาลใจของ Strauss ในการแต่งเพลงนี้ได้มาจากบทกวีของ คาร์ล อิชิดอร์เบ็ค ซึ่งในบรรทัดหนึ่งได้ระบุไว้ว่า ริิมแม่น้ำ Danube แม่น้ำ Danube อันงดงาม&dquot;
การเริ่มต้นของเพลงเริ่มต้นด้วยเสียงเบาๆ ซึ่งเป็นการเปิดฉากของเพลง Symphony มากกว่าเพลง Waltz ซึ่งผู้ฟังจะได้รู้สึกถึงสายน้ำไหลและไหลต่อไปด้วยทำนองของดนตรี โดยเพลงนี้ก่อให้เกิดความประทับใจอย่างสุดซึ้งต่อแม่น้ำ Danube ถึงแม้ว่าสายน้ำในแม่น้ำ Danube จะมีสีน้ำตาลปนเทา แต่ความสวยงานที่ได้บรรเลงในเพลง Blue Danube นี้แล้วแสดงให้เห็นถึงความสุดยอดในการแต่งเพลงของ Johann Strauss ...
เพลงนี้ ส่วนมากจะใช้ในงานเต้นรำ ซึ่งให้จังหวะที่กลางๆ ซึ่งเริ่มต้นเพลงจะเน้นในส่วนของเครื่องเป่า และเครื่องสาย จากนั้นมีเครื่องตี (พวกกลอง) ประกอบจังหวะบ้าง โทนเสียง ก็อยู่ในแนวกลางๆ ไม่แหลมจนแสบหู และไม่ทุ้มตำมากนัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวาของแม่น้ำ Danube และกรุงเวียนนา ครับ...

ปล.1 เพลงนี้มี Version ที่เป็นเพลงร้องด้วย แต่ไม่ได้รับความนิยมครับ (จากการแสดงครั้งแรกที่ได้รับความล้มเหลวอย่างท่วมท้น ครับ)
ปล2. จบ ไป 20 เพลงแล้ว ก่อนที่จะ โม้ต่อในเพลงที่ 21 ผมขออนุญาต โม้ในส่วนของศัพท์ และยุคของเพลงคลาสสิกก่อนนะครับ (ถือว่าเป็นการคั่นเวลา - Intermission)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 43

Collagen

08/12/2007 00:00:41
เย้~ ดีใจจัง มีคนเข้าชมเกิน 1,000 คนแล้ว ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม การโม้อันนี้ครับ 8-)

ขอขอบคุณคุณ Unclepiak และคุณ กุ๊ดจี่ ที่นำเพลงเพราะๆ ดีๆ มาฝากครับ และขอขอบคุณท่านอื่นๆ ที่ให้กำลังใจเรื่อยมาครับ
-----------------------------
เพลงที่ 20. ขอนำเสนอในเพลง Blue Danube ครับ ของ Johann Strauss (โปรดสังเกตว่า นักแต่งเพลงหลายๆ ท่านชื่อ Johann เยอะมาก เช่น Bach, Pachelbel, Strauss) เพลงนี้ Strauss ผู้ลูกได้แต่งขึ้น และถือว่าเป็นเพลงในจังหวะ Waltz ที่โด่งดังที่สุดเพลงหนึ่ง เพลงนี้ ก็ให้ท่วงนำนองที่เรื่อยๆ เฉกเช่นแม่น้ำ Danube ที่ไหลผ่านกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยแม่น้ำ Danube เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรป เพลงนี้ได้นำแสดงเป็นครั้งแรกในปี 1867 ซึ่งประสบความล้มเหลวอย่างงดงาม แรงบันดาลใจของ Strauss ในการแต่งเพลงนี้ได้มาจากบทกวีของ คาร์ล อิชิดอร์เบ็ค ซึ่งในบรรทัดหนึ่งได้ระบุไว้ว่า ริิมแม่น้ำ Danube แม่น้ำ Danube อันงดงาม&dquot;
การเริ่มต้นของเพลงเริ่มต้นด้วยเสียงเบาๆ ซึ่งเป็นการเปิดฉากของเพลง Symphony มากกว่าเพลง Waltz ซึ่งผู้ฟังจะได้รู้สึกถึงสายน้ำไหลและไหลต่อไปด้วยทำนองของดนตรี โดยเพลงนี้ก่อให้เกิดความประทับใจอย่างสุดซึ้งต่อแม่น้ำ Danube ถึงแม้ว่าสายน้ำในแม่น้ำ Danube จะมีสีน้ำตาลปนเทา แต่ความสวยงานที่ได้บรรเลงในเพลง Blue Danube นี้แล้วแสดงให้เห็นถึงความสุดยอดในการแต่งเพลงของ Johann Strauss ...
เพลงนี้ ส่วนมากจะใช้ในงานเต้นรำ ซึ่งให้จังหวะที่กลางๆ ซึ่งเริ่มต้นเพลงจะเน้นในส่วนของเครื่องเป่า และเครื่องสาย จากนั้นมีเครื่องตี (พวกกลอง) ประกอบจังหวะบ้าง โทนเสียง ก็อยู่ในแนวกลางๆ ไม่แหลมจนแสบหู และไม่ทุ้มตำมากนัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวาของแม่น้ำ Danube และกรุงเวียนนา ครับ...

ปล.1 เพลงนี้มี Version ที่เป็นเพลงร้องด้วย แต่ไม่ได้รับความนิยมครับ (จากการแสดงครั้งแรกที่ได้รับความล้มเหลวอย่างท่วมท้น ครับ)
ปล2. จบ ไป 20 เพลงแล้ว ก่อนที่จะ โม้ต่อในเพลงที่ 21 ผมขออนุญาต โม้ในส่วนของศัพท์ และยุคของเพลงคลาสสิกก่อนนะครับ (ถือว่าเป็นการคั่นเวลา - Intermission)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 44

ตั่วปุ๊ย

08/12/2007 10:31:33



555 หวัดดีจ้า......... พ่อหนุ่ม Collagen ....

ชื่อเกมส์มันคือ SBK - 07 หรือชื่อเต็มๆคือ Superbike - 07

เกมส์ของบริษัท Blackbeen ครับ ลองรบกวนหน่อย 555

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 45

Collagen

08/12/2007 21:22:07



ถึงคุณตั่วปุ๊ย...
เท่าที่ผมหาข้อมูลเกี่ยวกับ Soundtrack ของเกมส์นี้ ที่เว็บ Amazon ตาม Link อันนี้ http://www.amazon.com/SBK-07-Superbike-Champion-Soundtrack/dp/B000V58TF2/ref=sr_1_4?ie=UTF8&s=dmusic&qid=1197123863&sr=8-4 แต่ผมไม่สามารถหาเพลงตามที่คุณตั่วปุ๊ย ต้องการ เพราะเท่าที่ฟัง Preview แล้ว ไม่ค่อยเหมือนกับที่ฟังได้เลยครับ ซึ่งเพลงใน SoundTrack มีตาม List นี้ครับ
1. 10,000 Feet High and Rising The Hooks 3:45
2. Blue Jeans Plain Jane Automobile 2:40
3. Sugarbomb! Campaign For Quiet 3:35
4. This Dark Parade Fight The Quiet 3:30
5. Let&squot;s Go Supertweeker 3:12
6. Double Down Supertweeker 3:13
7. Bad Mirror The Vicious Five 3:12
8. Get Out The Hooks 2:29
9. Close My Eyes Plain Jane Automobile 4:10
10. Hit This Supertweeker 3:08

คงอาจจะต้องรบกวนคุณตั่วปุ๊ย.. ลองฟังดูอีกรอบนะครับ

ขออภัยเป็นอย่างสูง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 46

Collagen

09/12/2007 00:36:27
การโม้ในวันนี้เป็นช่วงพักระหว่างเพลงครับ จึงขอโม้ในส่วนที่ไม่ใช่เพลงบ้างครับ ซึ่งในวันนี้ขอโม้เกี่ยวกับ ประวัติและยุคของเพลงคลาสสิกครับ...
เพลงคลาสสิกที่ผมโม้ ไปกว่า 20 เพลงนั้น มีหลายยุค ซึ่งแต่ละยุคให้แนวเพลงและแนวเสียงที่ไม่เหมือนกัน โดยเพลงคลาสสิก (ดนตรีตะวันตก) แบ่งในแต่ละยุคได้ดังนี้ครับ (ผมขอเริ่มตั้งแต่ ยุคกลาง หรือ อาณาจักรโรมันล่มสลาย)

1. ยุคมืด หรือ ยุคกลาง (Dark Age or Medieval) ช่วงปี ค.ศ. 476 - 1450 หลังจากอาณาจักรโรมันล่มสลายใน ปี ค.ศ. 476 และอิทธิพลของคริสตศาสนา แผ่ปกคลุมเข้ายุโรป พวกชาวบ้านที่เคยได้รับความคุ้มครองจากอาณาจักรโรมัน ต่างตกอยู่ในภาวะหวาดกลัวจากการรุกรานของอนารยชน (พวกคนเถื่อน เช่น Saxon, Goth, Viking เป็นต้น) ซึ่งระบบการปกครองก็เปลี่ยนจากระบบจักรพรรดิ เป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudal) ซึ่งชาวบ้านจะอยู่ภายใต้การปกครองของชนชั้นขุนนาง ซึ่งดูแลโดยกษัตริย์ของแต่ละประเทศ และอำนาจการปกครองในส่วนของ ศาสนจักร ซึ่งอยู่ที่ กรุง Rome และ Constantinople (ปัจจุบันคือกรุง Istanbul ประเทศตุรกิ) ซึ่งอำนาจทางศาสนจักรมีมากกว่าอำนาจของกษัตริย์ และผู้กุมอำนาจของทางศาสนจักรก็คือ หระสันตปาปา ที่กรุงโรม ... (เอ๊ะ กลายเป็นวิชาประวัติศาสตร์ไปซะแล้ว เข้าเรื่องดนตรีดีกว่า) ในยุคนี้เครื่องดนตรี และการละเล่นดนตรีถือว่าเป็นการกระทำของพวกนอกรีต ที่ต่อต้านพระเจ้า ดังนั้นในยุคนี้ จนถึงช่วงศตวรรษที่ 9 - 10 จึงไม่มีเพลงใดๆ ที่มีการแต่ง (หรืออาจจะมีแต่ถูกเก็บเป็นความลับ) ซึ่งมีแต่บทสวดมนต์เท่านั้น ต่อมา St. Gregory ได้แต่งเพลงสรรเสริญพระเจ้าจากท่วงทำนองของบทสวด แต่ก็มีแต่เสียงร้อง (หรือที่เรียกว่า Chant เพลงแนวนี้ฟังแล้วหลอนๆ ครับ) และไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ (เพราะถือว่า เครื่องดนตรี เป็นเครื่องมือของพวกซาตาน) นอกเหนือจากเพลงสวดแล้ว ยังมีเพลงพื้นบ้านที่สืบต่อกันมา โดยเน้นความสนุกสนานตามประเพณี...

2. ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) ค.ศ. 1450 - 1600 ในยุคนี้ วิทยาศาสตร์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ความคิดที่ต่อต้านพระเจ้าแต่ถูกต้องในแนววิทยาศาสตร์ได้รับการยอมรับมากขึ้น ซึ่งยุค Renaissance ได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1450 โดยเริีมที่เมือง Florence ที่มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดนอกกรอบมากขึ้น ในส่วนของดนตรีในยุคนี้ก็ยังคงเป็นดนตรีในในโบสถ์ ซึ่งเป็นบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า เช่นเดิม แต่มีเครื่องดนตรีที่บรรเลงทำนองประกอบ เช่น พิณ Lute, Recorder ซึ่งในช่วงยุคนี้ เริ่มมีการเล่นดนตรีเป็นวง โดยใช้เครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน แต่จำนวนที่เล่นนั้นมีไม่มากนัก....

3. ยุค Baroque ค.ศ. 1600 - 1750
ในยุคนี้ ความหรูหรา มีบทบาทมากขึ้น อันเนื่องจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมๆ กับ การแสวงหาอาณานิคม และการติดต่อกับแถบตะวันออกไกล (แถบอินเดีย, จีน และ อุษาคเนย์) ความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความฟุ้งเฟ้อ และความร่ำรวย ก็มากขึ้น การแสวงหาความสำราญ ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดนตรีในยุคนี้ เริ่มต้นด้วยการกำเนิดของ อุปรากร (opera) ในปี 1600 แนวเพลงเริ่มเปลี่ยนเป็นแนวเพลงเพื่อความบันเทิงมากขึ้น แต่ก็ยังอยู่บนพื้นฐานของเพลงสวด และความสำคัญของเพลงก็ยังอยู่ที่เนื้อร้องมากกว่าทำนอง ถึงแม้ว่าในยุคนี้เครื่องดนตรีจะมีจำนวนมากขึ้น และมีชนิดและรูปแบบที่แตกต่างกันไป นักดนตรีส่วนมากได้รับการอุปถัมภ์จากโบสถ์ ราชสำนัก หรือผู้มีอันจะกิน ซึ่งส่งผลให้บทเพลงในยุคนี้มาจากความต้องการของผู้อุปถัมภ์มากกว่าแรงบันดาลใจของนักแต่งเพลง ไม่ว่าจะเป็นเพลงในศาสนพิธี, งานเฉลิมฉลองหรืองานโชว์ต่างๆ ในส่วนงานบรรเลงดนตรีต่อสาธรณชนที่เป็นชาวบ้านธรรมดาๆ นั้น ยังไม่มี แต่มีโรงอุปรากรเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมือง Venice ในปี 1637 (คาดว่าประมาณโรงหนังในยุคปัจจุบัน แต่ค่าบริการน่าจะแพงมหาโหด จึงไม่เป็นที่นิยมเท่าใด) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น Antonio Vivaldi, Johann Sebastian Bach, George Frederick Handel

วันนี้ผมขอโม้ใน 3 ยุคนี้ก่อนนะครับ (เพราะง่วงแล้ว)
โปรดติดตามตอนต่อไปครับ (อีก 3 ยุค คือ ยุค Classic, Romantic และ ศตวรรษที่ 20 ครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 47

เบียส

09/12/2007 11:53:04



โอ้ แม่เจ้า !! โคตรรักเอ็งเลย คุณ ดีคอลเจน เอ๊ย !! Collagen อ่านแล้วสนุกมาก ครับ ยอดเยี่ยมมากมาย มาจุ๊บ ทีนึง จุ๊บ....จุุ๊บ .......อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 48

nopphong

09/12/2007 13:03:11
รออ่านอยู่ครับ
แต่คิดไปคิดมา..เพราะความคลั่งศาสนา ทำให้โลกมีพัฒนาการช้าไปตั้งพันกว่าปี น่าเสียดายจริงๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 49

Collagen

09/12/2007 14:03:37
ประวัติดนตรีคลาสสิกตอนที่ 2 ครับ (ลังจากได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่มก็ขอ ลุยต่อในอีก 3 ยุคที่เหลือครับ)
4. ยุค Classic ค.ศ. 1750 - 1820
ในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายอย่าง เช่นการประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1776 การปฏิวัติฝรั่งเศสในการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในปี 1789 (แต่การปฏิวัติในทางศาสนาได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น การเกิดขึ้นของคริสตศาสนานิกาย Protestant โดยการนำของ Martin Luther ในปี 1530, นิกาย Church of England ในปี 1534) ซึ่งการปฏิวัติในส่วนของอาณาจักรนี้ ส่งผลให้นักดนตรีที่ได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักและบรรดาขุนนางต่างๆ ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีผู้สนับสนุน หรือให้ความสนับสนุนในส่วนนี้น้อยลง บรรดานักดนตรีเริ่มหาเลี้ยงชีพในเชิงธุรกิจมากขึ้น จากที่มีการเล่นดนตรีตามพระราชวัง คฤหาสน์ ต่างๆ ก็มีการเล่นในโรงมหรสพมากขึ้น จากเพลงที่เล่นให้กับบรรดาเจ้านาย ก็เปลี่ยนเป็นเพลงสำหรับชาวบ้านมากขึ้น แนวเพลงในยุคนี้เปลี่ยนจากเพลงแต่งตามใจเจ้านาย เป็นแนวเพลงสำหรับชาวบ้านมากขึ้น และเปลี่ยนแนวเพลงจากบทสวดในโบถส์ เป็นแนวเพลงเพื่อความบันเทิงมากขึ้นด้วย บทเพลงที่เขียนขึ้นในยุคนี้เน้นที่ความมีแบบแผน มีรูปแบบที่ชัดเจนและถูกต้อง มากกว่าที่จะแสดงความรู้สึกของศิลปิน อย่างไรก็ตามนักแต่งเพลงในยุคนี้มีความพยายามที่จะสร้างความสมบูรณ์แบบ บนความงานที่บริสุทธิ์ มีเหตุผลและมีโครงสร้างของเพลงที่ชัดเจน และแบบแผนการเขียนบทเพลงในรูปแบบต่างๆ เช่น Sonata, Concerto, Symphony หรือ Chamber Music มีความชัดเจนมากขึ้น ศูนย์กลางที่สำคัญของดนตรียุคนี้อยู่ที่ กรุงเวียนนา และเมือง Manheim โดยนักดนตรีที่สำคัญในยุคนี้ เช่น Franz Joseph Haydn, Wolfgang Amadeus Mozart

5. ยุค Romantic ค.ศ. 1820 - 1900
ในยุคนี้อิทธิพลทางการเมืองได้ต่อจากยุคที่แล้ว การแสวงหาความเป็นประชาธิปไตยและอาณานิคมมีมากขึ้น สิทธิเสรีภาพกระจายถึงบุคคลทุกคน ชนชั้นกลางในยุโรปมีส่วนร่วมทางเสรีภาพและภราดรภาพ นักคิด นักเขียน จิตรกร นักปรัชญา และนักดนตรีมีการแสดงความคิดและแรงบันดาลใจในผลงานอย่างเต็มที่ โดยไม่คำนึงถึงกฏเกณฑ์ต่างๆที่ได้วางไว้ อีกทั้งพัฒนาการของเครื่องดนตรี มีเพิ่มมากขึ้น ทำให้นักดนตรีสามารถสร้างสรรจินตนาการของตนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นในบทเพลงที่มีการเปลี่ยนอารมณ์ ความดังเบา หรือการเปลี่ยนจังหวะอย่างรวดเร็ว มีการใช้วงดนตรีที่มีขนาดใหญ่กว่ายุคที่ผ่านๆ มา ทำให้จำเป็นต้องมีผู้นำวงที่ชัดเจน จึงต้องมี วาทยกร (Conductor) ขึ้นสำหรับวงดนตรี (นอกจากเรื่องดนตรีแล้วในเรื่องศิลปะในยุคนี้ มีแนวการวาดที่สร้างสรรแรงบันดาลใจจากจิตรกร ในภาพที่เป็นแนว Impresion, Surrealism, Abstract) ในยุคนี้มีนักดนตรีที่มีชื่อเสียงมากมาย โดยเริ่มจาก Ludwig van Beethoven, Franz Schubert, Nicolo Paganini, Carl Maria von Weber, Hector Berlioz, Robert Schumann, Franz Liszt, Felix Mendelssohn, Peter Ilych Tchaikovsky, Richard Wagner เป็นต้น แต่อน่างไรก็ตามในยุคนี้ มีดนตรีอีกแนวเกิดขึ้นควบคุ๋กันไป คือแนวดนตรีชาตินิยม (Nationalism) แนวเพลงเป็นเพลงที่แสดงออกถึงความรักชาติและภูมิใจในประเทศของตน โดยมีการนำเพลงพื้นบ้าน สำเนียงดนตรีของชนเผ่าพื้นเมืองเข้ามาผสมผสาน โดยเพลงแนวนี้จะแต่งโดยนักแต่งเพลงแถบรัสเซียและยุโรปตะวันออก เช่น Alexandr Borodin, Mili Balakirev, Modest Petrovich Mussorgsky, Nokolai Andrevich Rimsky-Korsakov ซึ่งนักแต่งเพลงกลุ่มนี้ถือเป็นผู้จุดประกายในแนวดนตรีชาตินิยม และแพร่หลายไปยังกลุ่มอื่น เช่น Bedrich Smetana, Antonin Dvorak, Jean Sibelius, Edvard Grieg, Leos Janacek, Cesar Franck เป็นต้น

6. ยุคศตวรรษที่ 20
ในยุคนี้ มีแยวดนตรีที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Pop, Rock, Soul, Blue, Jazz, R&B, Rap, Hop-Hip แต่ในส่วนนี้จะขอกล่าวถึงดนตรีคลาสสิกนะครับ โดยแนวดนตรีคลาสสิกของยุคนนี้ ยังคงได้รับอิทธิพลมาจากแนวเพลงชาตินิยม (ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20) แต่โดยทั่วไป นักดนตรีหลายๆ คน แสวงหาหนทางที่จะหลุดพ้นทางแบบอย่างและธรรมเนียมในสมัยเก่า คือหลุกจากการร้องประสานเสียง รูปแบบทำนอง ซึ่งส่งผลให้แนวดนตรีมีรูปแบบที่ต่างกับดนตรีในยุคก่นอย่างมาก เช่น การกำหนดจังหวะให้เพลงมีหลายจังหวะผสมกัน การใช้คู่เสียงแปลกๆที่ฟังแล้ว ขัดๆ อารมณ์ผู้ฟัง การแต่งเพลงที่ไม่มีการลื่นไหลของโน้ตดนตรี การใช้การประสานเสียงจากทำนองที่เกิดจากบันไดเสียงที่แตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งแนวทางดังกล่าว ก่อให้เกิดรูปแบบดนตรีที่เรียกว่า Atonal Music คือดนตรีที่ไม่มีโน้ตสำคัญ ไม่มีโน้ตตัวใดที่มีอิทธิพลเหนือตัวอื่น ซึ่งคิดขึ้นโดย Arnold Schonberg และต่อมาได้พัฒนาเป็น Twelve note method ซึ่งเป็นแนวคิดทางดนตรีอันยิ่งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (แนวเพลงในยุคที่ผ่านๆ มา จะสังเกตได้ว่า จะเป็นเพลงและต่อด้วยชื่อบันไดเสียง เช่น Piano Concerto in E Major, Canon in D Major แต่ถ้าเป็น Atonal Music จะไม่มี) แต่ก็มีนักแต่งเพลงบางท่านที่ หวนกลับไปหารูปแบบของยุคคลาสสิก แต่ก็มีการปรับปรุงเครื่องมือหรือการประสานเสียงใหม่ นักแต่งเพลงกลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่ม Neoclassic เช่น Igor Stravinsky, Sergei Prokofiev เป็นต้น และยังมีกลุ่มที่เขียนเพลงในแนวทางตามยุค Romantic เช่น Gabriel Urbail Faure, Dmitri Shostakovich เป็นต้น และพวกที่แต่งเพลงตามสมัยนิยม ในแนวเพลง Pop, Rock, ฯลฯ

โดยสรุปแล้วเพลงคลาสสิกที่เป็นที่นิยมกันมากๆ ก็จะมาจากยุค Romantic (ถ้าไม่นับผลงานของ Mozart) ทีให้อารมณ์ทางดนตรีได้มากพอสมควร และเพลงเกิดจากแรงบันดาลใจของศิลปินอย่างแท้จริง ทำให้เพลงมีความหมายและคงามงดงานในสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้กับผู้ฟังครับ...
ในส่วนปรการแบ่งยุคก็อาจจะแตกต่างกันตามมุมมองและแนวคิดของแต่ละท่าน โดยผมอ้างอิงการแบ่งยุค จากหนังสือ ดนตรีแห่งชีวิต โดย คุณสุรพงษ์ บุนนาค ครับ
ขอบคุณครับ...
---------------------------------
ปล. ถึงคุณเบียส จะจุ๊บผมจริงๆ เลยเหรอครับ.... ผมเกรงว่าผมจะ XYOXX ไปอ่าครับ (ขอเปลี่ยนจากจุ๊บเป็นอย่างอื่นได้ไหมอ่า)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 50

unclepiak

10/12/2007 07:50:54
ลองโพสต์อีกที จะสำเร็จไหมเนี่ย...

โพสต์ประวัติดนตรีตะวันตกของคุณคอลลาเจน เป็นไดเจสท์ที่ช่วยให้มองเห็นภาพใหญ่ของวิวัฒนาการทั้งหมดเลยครับ ยอดเยี่ยมมาก ๆ

ขอเสริมนิดหน่อยครับ อันนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตต่อยุคบาโรคและคลาสิกตอนต้น ว่า เพลงในยุคนั้นจะเป็นงานประเภท fine art คือเป็นดนตรีเพื่อความงดงามทางศิลปะ โดยเฉพาะงานของบาค (คล้ายภาพวาดลายไทย เช่นลายกนกที่งดงามด้วยช่องไฟ) ผลงานเหล่านี้จะไม่เสนอแนวคิด หรืออารมณ์ความรู้สึกใด นอกจากความงดงามของดนตรี

จากการหัดฟังเพลงในช่วงปีกว่า ๆ ตอนแรกผมรู้สึกว่าจะไม่ชอบเพลงของบาค และโมสาร์ทนัก เพราะไม่มีความอลังการแบบเบโธเฟ่น และบราห์ม และไม่แสดงอารมณ์ชัดเจนแบบงานของไชคอฟสกี้ ซึ่งฟังสนุกและเต็มอารมณ์กว่า

คงคล้ายกับความจืดชืดของลายไทยนะแหละ

สีสันฉูดฉาดของเสียง ฟังกระหึ่มสุดขีดเมื่อได้ฟังงานบัลเลต์ของสตราวินสกี้ (The Rite of Sprint / Petrouchka) มันเต็มหูเต็มใจจนสั่นสะเืทือนถึงก้นบึ้งของอารมณ์เลย

หลังจากฟังเพลงพวกนี้แล้ว จะเหนื่อย.. และเบาโหวง เหมือนเพิ่งเสร็จจากภาระกิจวุ่น ๆ บนเตียง(ปานนั้น)

ตอนนี้กำลังหวนกลับมาหัดฟังบาค/โมสาร์ทครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 51

Collagen

10/12/2007 13:09:00
ก็ ขอบคุณคุณ Unclepiak มากเลยครัย สำหรับความคิดเห็นที่ช่วยเติมเต็มให้ผู้ที่อยากจะลองฟังเพลงคลาสสิกให้เห็นภาพได้ดีขึ้นครับ ต่อไปผมก็จะพยายามหาเนื้อหาสาระมาเพิ่มเติมครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 52

เบียส

10/12/2007 14:48:28



ไอ้ผมก็ฟังน้อยซะ จริง จริง ครับ เพลง คลาสสิคเนี่ย 555 มันยังไม่ถึงเวลาหรือไงน้อ ที่จะ หยิบขึ้นมาแล้ว อินกับ มัน แต่พอได้อ่าน กระทู้ มาถึงตรงนี้ แหม่ มันรู้

สึกกระสันอยากฟัง ขึ้นมาซะอย่าง นั้น 555 มันเหมือนกับภาพ วาด ครับ เพียงแต่ว่า จิตรกร ได้สร้างสรรค์ ผลงาน คนละ อย่าง เท่านั้น เอง

อย่างเดียวที่ต้องทำ ครับ คือ ปล่อยวาง สมองให้โล่ง แล้วไหลไปกับดนตรี ให้ได้
เพียงนี้ เจ้า พระคู๊ณ สุขไหนเท่า เอาหูฟังเสียบหู แล้วที่ขาดไม่ได้ครับ เบียร์ เย็น ๆ

เหมือนเคย กรึ๊บ ฮ้า ชื่นใจ อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 53

Collagen

10/12/2007 21:44:50
หลังจากที่ผมโม้เกี่ยวกับประวัติเพลงคลาสสิกไปแล้ว 2 ยก ในวันนี้ก็ขอโม้เกียวกับ คำศัพท์ของเพลงคลาสสิกสักนิดหนึ่ง เพื่อว่าท่านผู้ฟังจะได้เลือกเพลงได้ถูกประเภทครับ

ฺBallade = บทเพลงที่มีท่วงทำนองไพเราะ อ่อนหวาน โดยมากใช้ Piano บรรเลง

Cantata = บทเพลงที่ประกอบด้วย เสียงร้อง (Vocal), ลูกคู่ (Chorus), การบรรเลงเดี่ยว (Solo) และการเปลี่ยนบทพูดเป็นการร้อง (Recitative)

Chamber Music = บทเพลงที่แต่งขึ้นสำหรับบรรเลงในห้องเล็กๆ มากกว่าโรงมหรสพ ซึ่งประกิบด้วยเครื่องดนตรีไม่กี่ชิ้น และมีชื่อเรียกสำหรับสำหรับวงที่บรรเลงเพลงต่างกันตามจำนวนและประเภทเครื่องดนตรีที่ใช้ เช่น String Quartet, Pianoforte Quartet, String Quintet เป็นต้น

Chant = บทเพลงสวดที่ใช้ในโบสถ์ หรือบทเพลงสั้นๆ ที่มีโทนเสียงเดี่ยว (Monophonic) หรือทั้งเพลงมีเสียงโน้ตเพียง 1 ตัว ในการบรรเลง (ใช้โน้ตตัวนั้น เล่นซ้ำไปซ้ำมา)

Choir = บทเพลงร้องประสานเสียงในโบสถ์ หรือ เพลงที่บรรเลงโดยกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเดียวกัน เช่น String Choir คือ กลุ่มเครื่องสายที่ประกอบด้วย Viola, Violin, Cello, Double Bass

Concerto = บทเพลงที่แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีหนึ่งหรือสองชิ้นเพื่อบรรเลงร่วมกับวง Orchestra (บางที่ใช้คำว่า เล่นประชันกัน) หากเครื่องดนตรีที่นำมาเล่นใช้ชิ้นเดียวมักใช้ชื่อเครื่องดนตรีนำหน้าคำว่า Concerto เช่น Piano Concerto, Violin Concerto เพลง Concerto โดยมากจะมี 3 ท่อน (Movement)

Operetta (Light Opera) = จุลอุปรากร หรือ อุปรากรขนดเล็ก หรือ การแสดงอุปรากรที่เป็นแนวตลก สนุกสนาน

Opera = บทละครร้อง ซึ่งมีการบรรเลงดนตรีประกอบการแสดง ซึ่งผู้แสดงจะร้อง โดยมีแนวเสียง 2 ประเภทคือเสียง Tenor หรือเสียงทุ้มต่ำ โดยมากนักแสดงชายจะรับบทในส่วนนี้ และอีกประเภทคือ Soprano หรือเสียงแหลม ซึ่งจะเป็นเสียงของนักแสดงหญิง (บางคนเสียงแหลงจนบาดหูก็มี)

Opus = หมายเลขลำดับที่ของผลงานเพลงของนักแต่งเพลง (บทเพลงนี้แต่งเป็นบทที่เท่าใดในชีวิต)

Oratorio = บทเพลงร้องเกี่ยวกับเรื่องราวอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา โดยเป็นการร้องเพียงอย่างเดียว (ไม่มีการแสดงท่าทางและท่วงทำนองประกอบ)

Orchestra = การบรรเลงดนตรีในวงใหญ่ ที่มีเครื่องดนตรีหลายชิ้น และหลายประเภท โดยประเภทเครื่องดนตรีประกอบด้วย เครื่องสาย (String) เครื่องเป่าไม้ (Woodwind) เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass wind) เครื่องเคาะจังหวะ (Percussion เช่น กลอง ฉาบ Triangle) และมี Contuctor ควบคุมวง

Requiem = บทเพลงที่ใช้บรรเลงในพิธีศพในคริสตศาสนานิกาย Roman Catholic

Sonata = เพลงที่เล่นโดยใช้เครื่องดนตรี 1 - 4 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย 3 - 4 การเคลื่นไหวของท่วงทำนอง (Movement), จังหวะ/ความเร็ว (Tempo), และอารมณ์ (Mood) ที่แตกต่างกันและเป็นเอกเทศ (Independent) ของการเล่นเพลง เช่น Piano Sonata คือเพลงเดี่ยว Piano (Piano Solo), Violin Sonata คือเพลงที่ Violin เล่นร่วมกับเครื่องดนตีที่มีแป้นกด (เช่น Piano, Organ)

Suite = ชุดของบทเพลงเต้นรำที่เขียนในบันใดเสียงเดียวกัน และนำมาบรรเลงต่อกัน ในช่วงแรกแต่เพื่อใช้ในงานเต้นรำเพียงอย่างเดียว แต่ในช่วงหลังแต่งเพื่อการอย่างอื่น จึงทำให้จังหวะเปลี่ยนแปลงไป

Symphony = บทเพลงที่แต่งเพื่อให้บรรเลงโดยวง Orchestra โดยมากจะมี 4 ท่อน (Movement) ซึ่ง 2 คำนี้มักจะอยู่ด้วยกัน Symphony Orchestra

Waltz = เพลงเต้นรำแบบบอลรูม (ห้องใหญ่ๆ) ซึ่งพัฒนามาจากเพลงเต้นรำของเยอรมนีและออสเตรีย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในศตวรรษที่ 19

-------------------------
เสริมจาก Chamber Music
String Quartet = วงเครื่องสายที่ประกอบด้วยเครื่องสาย 4 ชิ้น ได้แก่ Violin 2 ตัว Viola 1 ตัว และ Cello 1 ตัว

Pianoforte Quartet = วงดนตรที่ประกอบด้วย Piano 1 หลัง, Violin 1 ตัว, Viola 1 ตัว และ Cello 1 ตัว

String Quintet = วงดนตรีที่ปรกอบด้วยเครื่องสาย 5 ชิ้น โดยมีประเภทเครื่องดนตรีเช่นเดียวกับ String Quartet แต่ จำนวนชิ้นมีการเปลี่ยนแปลง (โดยมากจะใช้ Violin 2 ตัวในการบรรเลง)

นอกจากนี้ยังมีวงแบบอื่นๆ ด้วยเช่น วงที่มีการล่นโดยใช้ เครื่องเป่าประกอบกับเครื่องสาย หรือประกอบกับ Piano
-------------------------------

ปล. พวกศัพท์เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิก ผมก็๋นึกได้ประมาณเท่านี้ หากตกหล่น หรือผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ และถ้าหากผมรวบรวมได้พอสมควร ก็จะเปิดเป็น ภาค 2 ต่อครับ

ปล. 2 พวกศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับจังหวะเพลง เช่น Allegro, Largo ในส่วนนี้ผมยังไม่มีข้อมูลพอ จึงขอนำเสนอในภายหลังครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 54

Collagen

11/12/2007 23:17:22
หลังจากพักยกเกี่ยวกับ ประวัติเพลงคลาสสิกและ คำศัพท์ต่างๆ เกี่ยวกับเพลงคลาสสิกไปแล้ว วันนี้ผมก็ขอจะมาโม้ต่อในเพลง คลาสสิกต่อนะครับ

เพลงที่ 21. The Ride of the Valkyries ของ Richard Wagner
ถ้าหากว่าพูดถึง Richard Wagner นักประพันธ์ชาวเยอรมันท่านนี้ ก็จะนึกถึงการแสดงอุปรากร ที่เกี่ยวกับ เทพเจ้า เทพธิดา ยักษ์ กษัตริย์ ราชินี อัศวิน โดยมากจะเน้นไปทางด้าน เทพปกรณัม ของชาวเหนือ (Norse Mythology) เช่น เทพ Odin, Loki, Freya, Thor, Balder (Baldur), และเหล่านางฟ้า Valkyrie (ถ้าหากท่านใดสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของเทพของชาวเหนือ ก็สามารถหาหนังสืออ่านได้ครับ แต่หายากสักหน่อย) อุปรากรของ Wagner โดยมากมาจากนิยายโบราณซึ่ง Wagner แต่งให้มีชีวิตจิดใจและปลุกผู้ฟัง (และชม) ด้วยเพลงอันเร้าใจ นอกจากเรื่องราวเทพนิยาย แล้วอุปรากรของ Wagner ยังได้แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนในยุคกลางของประเทศเยอรมนีอีกด้วย ในส่วนของเพลงที่โม้นี้ เป็นส่วนหนึ่งของอุปราเรื่อง Die Walküre หรือ The Valkyrie ซึ่งเป็น 1 ใน 4 อุปรากรชุด Der Ring des Nibelungen หรือ The Ring of Nibelung ซึ่งอุปรากรชุดนี้เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งของ J.R.R Tolkien แต่งมหากาพย์การผจญภัยเรื่อง The Lord of the Ring อุปรากรชุด The Ring of Nibelung นอกจากอุปรากร Die Walküre (ซึ่งเป็นเรื่องที่ 2) ยังมีอุปรากรเรื่อง Das Rheingold หรือ The Rhinegold, Siegfried และ Götterdämmerung หรือ Twilight of the Gods พูดเกี่ยวกับ Wagner มาเสียยืดยาว ก็เข้าเรื่องของเพลงนี้ดีกว่า... เพลงนี้เมื่อฟังแล้วให้ความรู้สึกถึงยามที่มีแสงแดดอยู่ริมขอบฟ้า (คือมองเห็นรำไรๆ) พร้อมกับเหล่าทหาร (ในที่นี้คือนางฟ้า Valkyrie) กำลังจะออกศึก หากจินตนาการไปด้วยจะรู้สึกถึง เหล่าทหารกำลังเดินออกจากค่ายอันเป็นที่มั่น ผ่านประตูค่ายไปเพื่อที่จะไปออกศึก ซึ่งเสียงให้เสียงในแนวปลุกใจพร้อมกับบรรยากาศที่รู้สึกหเศร้าหม่นเนื่องจากสงคราม แนวเสียงของเพลงนี้ เน้นเครื่องเป่าทองเหลือง ที่ให้เสียงทุ้มใหญ่ ประกอบกับเครื่องสายที่ให้เสียงแหลมเล็กประกอบ พร้อมเสียงเครื่องตี แต่ไม่เด่นชัดเท่าเสียงจากเครื่องเป่า (แต่จะเด่นในช่วงท้ายๆ) และในช่วงท้ายเพลงจะมีเสียงแหลมจากเครื่องเป่าไม้มาประกอบด้วย เพลงนี้ให้เสียงที่กว้าง อึกทึก ฟังแล้วรู้สึกอยู่ท่ากลางการออกศึก ดังนั้นจึงเป็นอีกเพลงที่เหมาะสำหรับการทดสอบหูฟัง หรือลำโพงได้ดีเพลงหนึ่งครับว่า เสียงที่ได้นั้นครบถ้วนทุกรสชาติ ทั้งเบสและแหลมว่าครบหรือไม่ครับ... (เพลงนี้ให้เสียงที่กว้างมากครับ แต่เสียงแหลมนั้น ก็ค่อนข้างแหลงได้ที่จริงๆ แต่ไม่ถึงกับบาดหูจนทนไม่ได้ และเสียงทุ้มก็ไม่ทุ้มหนักจนบวมครับ)

ขอบคุณครับ...

ปล. เพลงนี้ ผมเคยเอาไปเิปิดกับลำโพง Jamo i200 ที่ร้านเฮียที่พันธ์ทิพย์มารอบนึงแล้ว ซึ่งให้เสียงที่ดีทีเดียวครับ ^ ^

ปล. 2 เฮียเบียสกินเบียร์มากๆ ระวัง พุง นะครับ เด๋วลูกค้าจะแยกไม่ออกนะครับ ระหว่างคุณเบียสกับคุณตั่วปุ๊ย ว่าคนไหนเป็นใคร...

ปล. 3 รู้สึกว่า กระทู้นี้เงียบเหงาดีแฮะ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 55

nopphong

12/12/2007 00:30:39
เงียบเพราะหลังๆไม่มีของแจกไงครับ คนไทยชอบของฟรีครับอิอิ

พูดถึง chant ที่อธิบายมา ผมนึกไม่ออกครับว่าโน๊ตตัวเดียวมันจะเป็นเพลงได้ยังไง ถ้ายังไงมีตัวอย่างให้ผมลองฟังดูก็จะขอบคุณมากครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 56

unclepiak

12/12/2007 05:03:12
อยากได้อีเมลของคุณคอลลาเจนครับ
แบบว่าเหมือนสมัยก่อน จะมีเขียนจดหมายถึง pen&squot;s friend *: )

อยากจะแลกเปลี่ยนทัศนะและขอความรู้เกี่ยวกับบทเพลงครับ
อีเมลผมคือ uncle-piak at noknoi.com
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 57

กุ๊ดจี่

12/12/2007 19:03:32
ผมอ่านอย่างเดียวเลยครับ ไม่มีความรู้เรื่องดนตรีคลาสสิคเลย

อาศัยว่าชอบฟังก็หาซื้อ ๆ เอาครับ

จริง ๆ มีของโมสาร์ตอีกพอควร แต่ขอติดไว้ก่อน เพราะช่วงนี้ยุ่ง ๆ ครับ ไว้เดี๋ยวจะมาแจกต่อ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 58

tor

12/12/2007 20:58:39
งั้นผมขอแจม เพลงนี้แล้วกันเพราะดี

http://www.uploadtoday.com/download/?56f1291c6fd410ad33e9363add274957
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 59

tor

12/12/2007 21:11:54
งั้นผมขอแจมเพลงนี้แล้วกันเพราะดี

Four Seasons ของ Antonio Vivaldi

http://www.uploadtoday.com/download/?56f1291c6fd410ad33e9363add274957
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 60

นายมั่นคง

12/12/2007 21:59:24



ขอบคุณ collagen จริงๆ จ้า

อุตส่าห์เอาข้อมูลเรียบเรียงมาให้อ่านกัน 555


เอ้า ขอจุ๊บๆๆๆ ด้วยคน ไม่เสียแรงจริงๆ พับเผื่อยๆๆๆ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 61

Collagen

12/12/2007 22:22:32
ขอขอบคุณ คุณ Unclepiak มากเลยครับ ที่จะได้เขียนจดหมายพูดคุยกันครับ ^ ^ (ผมส่ง e-mail ไปให้แล้วนะครับ)
แล้วก็ขอขอบคุณ คุณ tor มากครับสำหรับเพลง Four Season ของ Vivaldi แต่... (เพลงมีแค่ท่อนเดียวอ่าครับ ^ ^) ซึ่งผมจะพยายามหา Version เต็มมา Up ให้ครับ (ขอบคุณครับ)

แล้วก็คุณ Nopphong เพลง Chant ผม Rip และ Upload มีตามนี้นะครับ แต่ เพลง Chant ที่เป็นบรรเลง ผมยังหาไม่ได้เลยครับ ต้องขออภัยด้วยครับ
Gloria - http://www.uploadtoday.com/download/?57cd386438be5045ae8c7e17ae3dec4c
Introit - http://www.uploadtoday.com/download/?57c225f3c5b5dac5a1acf09079503977
Kyrie Eleison - http://www.uploadtoday.com/download/?57c79f14179bfde0486f3d3d288ea261
Pater Noster - http://www.uploadtoday.com/download/?57d7e24281d71243a7e8ebf29b6ecd1f

ปล. เพลงนี้ ตั้งสติให้ดีก่อนฟังนะครับ เพราะว่าฟังแล้วรู้สึกหลอนๆ แต่ว่าเป็นเพลงในโบสถ์ครับ ซึ่งฟังแล้ว อาจจะรู้สึกได้เข้าใกล้สวรรค์มาอีกนิดนึง ^ ^
---------------------------
ไหนๆ ก็พูดถึง Chant แล้ว ผมขอโม้เกี่ยวกับเพลง Chant สักหน่อยนะครับ...
เพลง Chant ถือว่าเป็นเพลงตะวันตกยุคแรกๆ (หลังจากอาณาจักรโรมันล่มสลาย) จากการศึกษาของนักโบราณคดี คาดว่าเพลงแนว Chant มีการแต่งขึ้นเป็นครั้งแรกในราว ศตวรรษที่ 8 - 9 โดย นักบุญ Gregory ซึ่ง ดัดแปลงจากบทสวดและเสียงขันของนก (จำไม่ได้ว่าเป็นนกประเภทใด) ซึ่งถือว่าเป็นเสียงศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้า (God) ดังนั้น เพลง Chant ที่ถือว่าเป็น Chant ในยุคแรกๆ จะเรียกว่า Gregorian Chant ครับ ซึ่งเพลงกลุ่มนี้ จะร้องในศาสนพิธี โดยมากจะเป็นคณะบาทหลวงเป็นผู้สวด (ขับร้อง) ในยุคแรกๆ เพลงนี้ใช้การสวด เพียงอย่างเดีย ต่อมามีการใช้เครื่องดนตรี (โดยเฉพาะ Organ) ประกอบ และได้เพิ่มประเภทเครื่องดนตรีในยุคต่อๆ มา แต่บทเพลงในแนวนี้ที่ฟังแล้วให้ความรู้สึก ว่าอยู่ในโบสถ์มากที่สุดก็จะเป็นเพลงที่ร้องเพลงอย่างเดียว และเพลงที่มีการบรรเลง Organ ประกอบ... แนวเสียงของเพลง Chant อย่างที่ผมได้กล่าวไว คือเป็นแนวเสียง Monophonic ดังนั้น Sound Stage จะไม่กว้าง ประกอบกับผู้ร้องโดยมากเป็นบาทหลวง แต่ก็มี แม่ชี และกลุ่มเด็กร้องประกอบด้วย จึงให้แนวเสียง ทุ้มต่ำ แต่หากเป็น กลุ่มแม่ชี หรือเด็กขับร้องเพลงแนวนี้ เสียงก็จะสูง บางครั้งบาดหูด้วยครับ... ซึ่งเพลงเหล่านี้ ถือว่าเป็นกลุ่มของเพลงศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Vocal) ซึ่งใช้ภาษาละตินเป็นเนื้อเพลง (บทสวดภาษาละติน) หากท่านใดสนใจเนื้อความและความหมายของบทสวด (เพลง) เหล่านี้ ติดต่อได้ที่โบสถ์ในคริสตศาสนา นิกายโรมันคาธอลิก ใกล้บ้านท่าน หรือ หาข้อมูลเพิ่มเติมใน Wikipedia ก็ได้ครับ...

ด้วยความนับถือ
Collagen
----------------------------------
ปล. ผมขอ Post 4 เพลง (บทสวด) ก่อนนะครับ หากท่านใดสนใจ ผมจะได้ทำการ Upload ให้เพิ่มเติมครับ (หลังปีใหม่ นะครับ)

ปล. 2 ขอหยุดโม้ สัก 2-3 วันนะครับ เนื่องจากติดธุระ ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 62

nopphong

12/12/2007 22:49:29
ผมมีครบ 4 ฤดูครับ เคยอัพไว้ทีนึงแล้ว เอาลิ้งมาแปะให้ละกันครับเผื่ออยากจะโหลดกัน
http://www.uploadtoday.com/de.php?5e8286fe7285f2793b0b98a6a93ac90a
http://www.uploadtoday.com/download.php?5e8ee462c20378dcbd3e21eb405009a6
http://www.uploadtoday.com/download.php?5ec2bd709d90c489091240a5c556f572
http://www.uploadtoday.com/download.php?5eabc94c959b930e05e132c348c0e396

แต่ทำไมมันมีแค่ 2-5 ก็ไม่ทราบว่า 1 หายไปไหน ยังไงลองดูถ้ามันไม่ครบ 12 ท่อน ขาดท่อนไหนเดี๋ยวอัพให้ใหม่ครับ

ส่วนเพลง Chant ฟังแล้วขนลุกดีครับ อิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 63

New Face

13/12/2007 15:16:32
โอ๊ะ มันมีคนซนกดลบไฟล์ไปแล้วอ่ะ มั่วจริง ๆ ไอ้บ้าเอ้ย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 64

New Face

13/12/2007 15:26:41
คุณ nopphong ครับ ลิงค์แรกผมโหลดไม่ได้ช่วยดูให้ทีนะครับ มันมีแต่ปุ่มลบไฟล์
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 65

Hamster D2

13/12/2007 15:51:39
สุดยอดอ่ะค่ะ :134: ซึ้งในน้ำจิตน้ำใจท่านทั้งหลาย :184: ขอบคุณมากค่ะ ตอนนี้โหลดจนคอมจะเดี้ยงแล้ว ว่าแต่ว่า....มีอีกมั้ยคะ
:166:

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 66

nopphong

13/12/2007 18:29:49
จ๊ากให้ลิ้งผิด ....
ต้องรบกวนท่านที่ดาวโหลดไปบอกแล้วล่ะครับว่าที่ได้ไปมีไฟล์อะไรบ้าง ผมจะได้ดูว่ามันขาดเพลงอะไรจะได้อัพให้ใหม่ถูกครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 67

Old

13/12/2007 21:55:46
ใครโหลดไปช่วยอัพให้ทีนะครับ ผมพัง 3 4 5 แล้วมันถูกใจมากเลยอ่ะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 68

ไร้สาระ

13/12/2007 22:14:54
อยากได้ ode to join อ่ะครับพอมีมั่งเปล่า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 69

ไร้สาระ

13/12/2007 22:43:01
ode to joy คับรีบพิมพ์ไปหน่อย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 70

วิท

14/12/2007 20:24:54
ช่วยแนะนำเครื่องเล่นกับหูฟังสำหรับการฟังเพลงแนวคลาสิกแบบที่แนะนำในบอร์ดนี้ด้วยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 71

เบียส

14/12/2007 22:04:54



เอ้า คอ คลาสสิค หายไปไหนกันโม๊ด 555 ช่วยตอบหน่อยเร๊ว อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 72

นายมั่นคง

14/12/2007 22:10:24



ฟังคลาสสิคลองเล่นกับ AKG K530 หรือไม่ก็ audio-technica A900 ก็ได้ครับ 2 รุ่นนี้เวทีเสียงกว้างๆ ฟังดนตรีที่มีเยอะๆ ชิ้นและมีขนาดวงได้ดีครับ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 73

nopphong

15/12/2007 01:04:13
k701 ไปเลยครับ อิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 74

กุ๊ดจี่

15/12/2007 04:26:58
W5000 ครับ ใช้ฟังเพลงแนวนี้อยู่

ปล. ไว้ดึก ๆ เดี๋ยวจะกลับมาอัพ Brahm ให้ฟังกันครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 75

nopphong

15/12/2007 11:59:56
อ้อคุณ old ถ้ายังอยากได้ 1-2 ก็รบกวนโพสรายชื่อเพลงใน 3-5 ด้วยครับ ผมจะได้รู้ว่ามันขาดเพลงไหนบ้างน่ะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 76

Collagen

15/12/2007 16:37:13
หายไป 1-2 วัน มี Post เข้ามาเพียบเลย อ่า...
ตอนนี้ก็อยู่ระหว่างการทำธุระครับ เลยหาเพลงไม่ค่อยได้... และมเอาพวกเครื่องเล่นมาด้วย (ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่)...
--------------------------
วันนี้ ก็คงจะขอโม้กี่ยวกับเพลงของ Bach อีกเพลงนะครับ (ส่วน Ode to joy, Symphony No.9 (Choral) ของ Beethoven ในส่วนนี้ขอโม้ในวันอื่นนะครับ) พลงที่จะขอโม้ในวันนี้จะเป็นพลง Toccata and Fague in D ครับ เพลงนี้ ถือได้ว่าเป็นเพลงฮิตเพลงอันดับต้น ของ Bach ซึ่งได้มีผู้นำมาใช้ประกอบภาพยนตร์ หรือนำมา เล่นซ้ำใหม่ในหลาย Version เพงนี้เดิมทาง Bach แต่งเพื่อเล่นกับ Organ ในโบสถ์ ซึ่งถือว่าเป็นเพลง Oratorio ประเภทหนึ่ง แต่ใน Version ใหม่ๆ ที่ฮิตที่สุดจะเป็น Version เล่นโดย Violin (และเครื่องดนตรีอื่น) ของ Vanessa Mae และ Version ที่นำไปใช้ประกอบภาพนตร์ Fantasy ของ Walt Disney ครับ...
แนวเสียงของเพลงนี้ ถ้าตามต้นฉบับจะออกแนวเสียงต่ำ จาก Pipe Organ ซึ่งเป็นเคื่องดนตรีหลังของโบสถ์ แถ้หากฟังใน Version อื่นๆ จะมีเสียงในแนวอื่นประกอบด้วย แต่ท่วงทำนองของเสียงจะเหมือกัน ซึ่งอารมณ์ของเพลงจะเป็นแนวฟังแล้วรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของเพลง และสัมผัมได้ถึงความอลังการของโบสถ์ ในสมัยก่อนครับ...

ขอบคุณครับ

ปล. อยู่ต่างสถานที่เลยโม้ได้ไม่ค่อยดีครับ
ปล. 2 ผมยังใช้แค่ Koss KSC75 ในการฟังเพลคลาสสิกอยู่เลยครับ (อีกอันกำลัง Burn อยู่)
ปล.3 ขอบคุณ เฮียมั่คง คุณเบียส คุณก๊ดจี่ คุณ Nopphong แล้วก็คุณ Unclepiak ที่ช่วยดูแลกระทู้นี้ ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 77

Collagen

15/12/2007 16:48:38
หายไป 1-2 วัน มี Post เข้ามาเพียบเลย อ่า...
ตอนนี้ก็อยู่ระหว่างการทำธุระครับ เลยหาเพลงไม่ค่อยได้... และมเอาพวกเครื่องเล่นมาด้วย (ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่)...
--------------------------
วันนี้ ก็คงจะขอโม้กี่ยวกับเพลงของ Bach อีกเพลงนะครับ (ส่วน Ode to joy, Symphony No.9 (Choral) ของ Beethoven ในส่วนนี้ขอโม้ในวันอื่นนะครับ) พลงที่จะขอโม้ในวันนี้จะเป็นพลง Toccata and Fague in D ครับ เพลงนี้ ถือได้ว่าเป็นเพลงฮิตเพลงอันดับต้น ของ Bach ซึ่งได้มีผู้นำมาใช้ประกอบภาพยนตร์ หรือนำมา เล่นซ้ำใหม่ในหลาย Version เพงนี้เดิมทาง Bach แต่งเพื่อเล่นกับ Organ ในโบสถ์ ซึ่งถือว่าเป็นเพลง Oratorio ประเภทหนึ่ง แต่ใน Version ใหม่ๆ ที่ฮิตที่สุดจะเป็น Version เล่นโดย Violin (และเครื่องดนตรีอื่น) ของ Vanessa Mae และ Version ที่นำไปใช้ประกอบภาพนตร์ Fantasy ของ Walt Disney ครับ...
แนวเสียงของเพลงนี้ ถ้าตามต้นฉบับจะออกแนวเสียงต่ำ จาก Pipe Organ ซึ่งเป็นเคื่องดนตรีหลังของโบสถ์ แถ้หากฟังใน Version อื่นๆ จะมีเสียงในแนวอื่นประกอบด้วย แต่ท่วงทำนองของเสียงจะเหมือกัน ซึ่งอารมณ์ของเพลงจะเป็นแนวฟังแล้วรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของเพลง และสัมผัมได้ถึงความอลังการของโบสถ์ ในสมัยก่อนครับ...

ขอบคุณครับ

ปล. อยู่ต่างสถานที่เลยโม้ได้ไม่ค่อยดีครับ
ปล. 2 ผมยังใช้แค่ Koss KSC75 ในการฟังเพลคลาสสิกอยู่เลยครับ (อีกอันกำลัง Burn อยู่)
ปล.3 ขอบคุณ เฮียมั่คง คุณเบียส คุณก๊ดจี่ คุณ Nopphong แล้วก็คุณ Unclepiak ที่ช่วยดูแลกระทู้นี้ ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 78

กุ๊ดจี่

16/12/2007 04:38:24
ขอบคุณครับที่ยังมาโม้ให้ผมได้อ่านเช่นเคย ความรู้ทั้งนั้น :D


แจกเช่นเคยครับ ตามชื่อ file ;)


http://www.wittyz.net/Brahms_ Symphony_No_1_Variations.rar
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 79

unclepiak

16/12/2007 07:41:43
ผมชอบไฟล์แบ่งปันของคุณกุ๊ดจี่มาก ๆ เพราะดาวน์โหลดสำเร็จทุกครั้ง ไม่ทราบว่าจะมีคนอื่นเหมือนผมหรือเปล่า ผมใช้เน็ตผ่าน GPRS สปีดมันก็ช้าเป็นนินจาเต่า เวลาดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บบริการแชร์ไฟล์ทั้งหลาย มักจะไม่ค่อยสำเร็จ เจอ expire ก่อนเสร็จทุกที บางทีไฟล์ใหญ่ ๆ หน่อย ทู่ซี้ดาวน์โหลดมาได้ 90% เกือบจะเสร็จอยู่แล้ว ดันมีโทรศัพท์เข้ามาขัดจังหวะ เอ้ย.. ไม่ใช่ ดัน expire เฉยเลย

อ้อ.. อยากจะรบกวนคุณกุ๊ดจี่ ให้ข้อมูลเพิ่มด้วยครับว่า เพลงที่อัพให้นั้น เล่นโดยใคร วงไหน ใครเป็นคอนดั๊กเตอร์ บันทึกเสียงปีไหน เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ จะมีประโยชน์มากในการสะสมครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 80

unclepiak

16/12/2007 08:32:28
กำลังอัพโหลดเพลงน๊อกเทิร์นของโชแปงให้ฟังกันครับ เพลงนี้เป็นเพลงเปียโนที่เพราะมาก แต่ที่ผมอัพให้ฟังนี้ พิเศษกว่าปกติ เพราะมันเป็น nocturne ที่ Nathan Milstein นำมาประยุกต์โดยแทนเสียงเปียโนด้วยไวโอลิน

ผู้เล่นเพลงนี้คือนักไวโอลินฝีมือเลิศ Aaron Rosand แสดงสดในห้องโถง การบึนทึกเสียงค่อนข้างดีมาก ลองเอาไปฟังเถิดครับ ขอบอกว่าเป็นเพลงที่ไพเราะที่สุดเพลงหนึ่งในกรุของผม

เป็น mp3 320kbps. 5.14 นาที ขนาดไฟล์ 12 Mb.
http://noknoi.com/mem/Classical/Chopin_Milstein_Nocturne_Rosand.mp3
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 81

nopphong

16/12/2007 12:06:26
เพลงนี้ผมมีครับเวอร์ชั่นเดียวกันเลย..มีเสียงใครก็ไม่รู้ดันไอขึ้นมากลางเพลงอิอิ แต่ตอนแรกผมก็ฟังเฉยๆไม่ได้รู้เรื่องอะไร พอคุณ unclepiek บอกมา ฟังๆดูนึกขึ้นมาได้ว่า เอจริงด้วยแฮะทำนองแบบนี้เคยฟังมันเป็น piano นี่นา
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 82

nopphong

16/12/2007 12:23:19
ฟังแล้วนึกถึงหนังเรื่องมหาภัยนิวเคลียอะไรซักอย่าง ที่ผู้ก่อการร้ายเป็นครูสองเปียโนชาวโครเอเทีย ที่เอานิวเคลียใส่เป้สะพายหลังกะไประเบิดการประชุมนานาชาติ ที่สอนเด็กผู้หญิงคนนึงว่า แค่ต่างกันนิดเดียวก็ทำให้อารมณ์ของเพลงเปลี่ยนไป
แต่นี่เปียโนเปลี่ยนเป็นไวโอลินอารมณ์ไม่ต่างกันมากนัก ผมว่าคนสีนี่ฝีมือจริงๆครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 83

กุ๊ดจี่

16/12/2007 15:43:38
ผมใช้โฮสของผมเองน่ะครับ เลยไ่ม่มีหมดอายุ ยกเว้นจะลบทิ้งเอง ซึ่งคงอีกนาน เพราะเหลืออีกหลายสิบ Gb ;)

เพลงล่าสุดนี่เป็น Symphony no.1 ของ Johannes Brahms ศิลปินชาวเยอรมันครับ บรรเลงโดย The Cleveland Orchestra ซึ่ง George Szell เป็นคอนดักเตอร์ครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Symphony_No._1_%28Brahms%29

ข้อมูลเพิ่มเติมครับ ;)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 84

กุ๊ดจี่

16/12/2007 15:46:26
อ้อ. แผ่นนี้บันทึกเสียงที่ Severance Hall, Ohio Oct, 7 ปี 1966 ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 85

unclepiak

16/12/2007 17:37:43
เพิ่งดาวน์โหลดเสร็จครับ ขอบคุณกุ๊ดจี่มาก ๆ โดยเฉพาะเพลงเซ็ตนี้ จอร์จเซลล์ เป็นสุดยอดคอนดั๊กเตอร์ที่ควรสะสมผลงานไว้ครับ และเพลงของบราห์มก็ได้ชื่อว่า เป็นที่สุดของความซับซ้อนตีความอยากคนหนึ่งในปฐพี มือระดับที่คุมวงเล่นบราห์มได้อย่างเป็นที่ยอมรับกัน มีไม่มากครับ

สงสัยว่าในกรุของกุ๊ดจี่ ต้องมีขุมสมบัติซุกซ่อนไว้เยอะ *: )
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 86

กุ๊ดจี่

16/12/2007 18:41:50
Brahms เพลงนี้ได้รับอิทธิพลมาจากBeethoven เต็ม ๆ เลยแหละนะครับ



เดี๋ยวจะอัพ Five Hungarian Dances ของ Brahms ให้ฟังอีกครับ เป็นผลงานของ The Philadephia Orchestra โดย Eugene Ormandy ครับ

แม้ว่าหลายคนจะติว่าไม่ดี แต่ผมว่ามันก็เพราะดีนะ ;)

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 87

Collagen

16/12/2007 19:21:37
ขอขอบคุณ Unclepiak และคุณกุ๊ดจี่มาครับที่ช่วยดูแลกระทูให้ครับ (ช่วงนี้ก็ไม่ค่อยจะว่ามาโม้ด้วยอ่าครับ พอดีอยู่ต่างประเทศ) แผ่นเพลงก็ไม่ค่อยมี (เพราะไม่ได้เอามา) ดังนั้นผมต้องขอรบกวน ช่วยดูแลต่อด้วยนะครับ แต่ถ้าหากมีเวลาผมก็จะพยายามโม้ต่อครับ...

ขอบคุณมากครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 88

unclepiak

16/12/2007 19:44:26
อันที่จริงบราห์มพยายามเขียนซิมโฟนี่เบอร์แรกนี้ให้ข้ามพ้นร่มเงาของเบโธเฟ่น จึงใช้เวลาขัดเกลางานชิ้นนี้นับสิบปี กว่าจะเสร็จอายุก็ปาเข้าไปสี่สิบกว่าปี ผมว่าทั้งบราห์มและเบโธเฟ่น มีลักษณะร่วมอย่างนึงคือ ความเป็นผู้คลั่งความสมบูรณ์แบบ งานแต่ละชิ้นกว่าจะยอมเสร็จ ก็แก้ไข แต่งเติมนับสิบ ๆ หน และมีงานจำนวนมากก่อนหน้านี้ ที่บราห์มเผาทิ้งไปเพราะคิดว่ายังไม่ดีพอ

ดังนั้นในความคิดบราห์ม ซิมโฟนี่เบอร์ ๑ ของเขาน่าจะข้ามพ้นอิทธิพลของเบโธเฟ่นไปแล้ว แต่ผู้ชมส่วนใหญ่(ผมด้วย)รวมทั้งกุ๊ดจี่ ก็ยังมองว่ามีกลิ่นเบโธเฟ่นอยู่มาก

แต่ทุกคนก็ยอมรับกันว่า เป็นซิมโฟนี่ที่สมบูรณ์ ใหญ่เยี่ยม ไม่แพ้กัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 89

Old

16/12/2007 20:33:27
คุณ nopphong ครับที่ผมโหลดมาก็มี

Concerto No.3 in F L&squot;autunno - 1. Harvest Dance and Song
Concerto No.3 in F L&squot;autunno - 2. Drunkards Dozing
Concerto No.3 in F L&squot;autunno - 3. The Hunt
Concerto No.4 in F minor L&squot;inverno - 1. Horid Wind
Concerto No.4 in F minor L&squot;inverno - 2. The Rain
Concerto No.4 in F minor L&squot;inverno - 3. On the Ice
Agala Im Susa
Dowd&squot;s Favorite, Otter&squot;s Holt and Mother&squot;s Delight
Lost Indian and Ways of the World
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 90

nopphong

16/12/2007 20:58:28
อ้อ ขาด 2 ฤดูแรกเดี๋ยวอัพให้ใหม่ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 91
ความคิดเห็นที่ : 92

กุ๊ดจี่

17/12/2007 15:24:17
http://www.wittyz.net/Five_Hungarian_Dance.rar

มาแจกแล้วครับ หายไปนานหน่อย เนื่องจากติดทำงาน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 93

ทอง

17/12/2007 16:14:27
Grado รุ่นไหนเหมาะกับฟังเพลง classic อะครับ ไล่ตั้งแต่ SR60- ไม่เกิน SR225 อะครับ เกินกว่านี้ บ่มีตังแล้ว.....(ปกติฟัง Metal 65% Classic25% อื่นๆ 10%เลยเลือก Grado ไม่เลือก ATH)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 94

กุ๊ดจี่

17/12/2007 16:25:24
ส่วนตัว ก็ฟังได้หมดแหละครับ เพียงแต่อาจจะไม่ได้อรรถรสซักเท่าไหร่ เพราะผลงานบางชิ้นที่มีความซับซ้อนทางดนตรีสูง ๆ นั้น ต้องการหูฟังที่ค่อนข้างแยกรายละเอียดเสียง และ การให้ช่องว่างของเครื่องดนตรีที่ดีเท่านั้นเอง อีกทั้ง sound stage ที่กว้าง ๆ ก็ช่วยได้เยอะเหมือนกันครับ

ถ้าฟังพวก Sonata ก็พอกล้อมแกล้มได้แหละครับ :D
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 95

Old

17/12/2007 18:27:47
ขอบคุณมากครับคุณ nopphong
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 96

nopphong

17/12/2007 19:22:35
วันนี้ฟังเพลง carmina burana o fortuna ของ mozart ผมว่ามันดี เลยอยากรู้ครับว่าเขาร้องเป็นภาษาอะไร ถ้าจะให้ดีขอคร่าวๆว่าเขาร้องเกี่ยวกับอะไรด้วยก็ดีครับ ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 97

nopphong

17/12/2007 20:01:48
แถมลิ้งสำหรับคนที่อยากฟังว่าเพลงนี้มัน มันส์ ตรงไหน อิอิ
http://www.uploadtoday.com/download.php?887440970a36cdb45151d5a68eab16e0
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 98

เกย์

17/12/2007 23:45:02
คุณ nopphong เพลงนี้เหมือนผมเคยได้ยินมาก่อนเลยนะครับ เหมือนจะใช้ในหนัง แต่จำไม่ได้ว่าเรื่องไหน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 99

unclepiak

18/12/2007 08:36:19
เพลงชื่อ Carmina Burana - O Fortuna ผมค้นเจอในไลบรารี่ไอจูนของผม เป็นผลงานของ Carl Orff ครับ เปิดฟังจะคุ้นหูว่าเหมือนเพลงโอเปร่าในหนัง Amadeus หนังชีวประวัติของโมสาร์ท

พอถามน้องกุ๊ก เธอก็ส่งน้องวิกกี้มาช่วยตอบว่า Carl Orff เป็นคีตกวีชาวเยอรมันในยุคศรรตวษที่ 20 นี้เอง ได้เอาบทกวี 24 บทมาใส่บทเพลง และโอ ฟอร์ทูนา เป็นหนึ่งในนั้น (มากว่านี้โปรดตามไปจีบน้องวิกกี้เองเน้อ)
http://en.wikipedia.org/wiki/Carmina_Burana

ถ้าเพลงที่ผมมีเป็นเพลงเดียวกัน ผมก็ต้องเดาว่าเป็นภาษาลาตินครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 100

unclepiak

18/12/2007 08:37:36
เพลงชื่อ Carmina Burana - O Fortuna ผมค้นเจอในไลบรารี่ไอจูนของผม เป็นผลงานของ Carl Orff ครับ เปิดฟังจะคุ้นหูว่าเหมือนเพลงโอเปร่าในหนัง Amadeus หนังชีวประวัติของโมสาร์ท

พอถามน้องกุ๊ก เธอก็ส่งน้องวิกกี้มาช่วยตอบว่า Carl Orff เป็นคีตกวีชาวเยอรมันในยุคศรรตวษที่ 20 นี้เอง ได้เอาบทกวียุคก่อนศตวรรษที่ ๑๓ จำนวน ๒๔ บทมาใส่เป็นบทเพลง และโอ ฟอร์ทูนา เป็นหนึ่งในนั้น (มากกว่านี้โปรดตามไปจีบน้องวิกกี้เองเน้อ)
http://en.wikipedia.org/wiki/Carmina_Burana

ถ้าเพลงที่ผมมีเป็นเพลงเดียวกัน ผมก็ต้องเดาว่าเป็นภาษาลาตินครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 101

unclepiak

18/12/2007 08:38:09
อ้าว โพสต์ซ้ำจนได้

ขออนุญาตย้อนกลับไปที่ซิมโฟนี่หมายเลข ๑ ของบราห์มนะครับ คือ BBC เขาบันทึกเสียงการวิเคราะห์เพลงคลาสสิก และนำมาให้ฟังกันบนเว็บ และมีเพลงนี้อยู่ด้วย ไหน ๆ คุณกุ๊ดจี่ก็แบ่งไฟล์ให้ดาวน์โหลดกันแล้ว ก็น่าจะลองฟังบทวิเคราะห์ไปด้วย เป็น real format ครับ ดาวน์โหลดฟังได้ที่

http://www.bbc.co.uk/radio3/discoveringmusic/ram/cdmbrahms1.ram

นอกจากนี้ยังมีบทเพลงเด่น ๆ ที่มีบทวิเคราะห์ให้ฟังอีกหลายสิบบทเพลง บทวิเคราะห์เหล่านี้ช่วยให้ฟังเพลงคลาสสิกได้ลึกซึ้งขึ้น ขอแนะนำครับ
http://www.bbc.co.uk/radio3/discoveringmusic/audioarchive.shtml
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 102

nopphong

19/12/2007 01:56:47
วันนี้ซื้อ ipod ตัวใหม่มาครับ(จริงๆเป็นของเก่ามือเท่าไรก็ไม่รู้ อิอิ) แล้วก็ได้เพลงในหมวดที่ไม่น่าจะได้ มันอยู่ในหมวดเพลงเกาหลีครับ แต่จริงๆแล้วมันเป็นเพลงคลาสสิคที่เขาเอาไปประกอบหนังเกาหลีเรื่อง the classic เกือบจะลบทิ้งไปแล้ว(เพราะปรกติไม่ชอบเพลงเกาหลี) ดีที่ลองฟังก่อนไม่งั้นเสียดายแย่
เพลงเพราะมากๆครับฟังแล้วเอ๊ะอยากรู้ว่าใครแต่งเลยดูชื่อเพลงก็เลยถึงบางอ้อ vivaldi ศิลปินคนโปรดผมนี่เอง มิน่าล่ะฟังถูกหูมากๆ อิอิ
เป็นเพลงที่อัดมาดีมากๆ ฟังแล้วเคลิ้มทีเดียว และ cello สีได้สุดยอดมากๆ
ลองฟังกันนะครับ เพลงนี้ผมให้ห้าดาวเลยจริงๆ
http://www.uploadtoday.com/download.php?940c29a0b4b24a159e08fa0fc86101b4
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 103

nopphong

19/12/2007 02:03:39
ลืมบอกชื่อเพลง
Vivaldi Cello Concerto RV424 B minor - Ost. The Classic ครับ

ส่วนเพลงนี้เป็นเพลงประกอบอีกเพลง ไม่รู้ชื่อครับ เขียนแค่ korean song no.5
แต่ฟังแล้วก็เพราะดีถึงจะสู้ vivaldi ไม่ได้ก็เถอะแต่ก็ฟังสบายดีครับ
http://www.uploadtoday.com/download.php?9413044084ded65f5a246ef07d30e5a1
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 104

ชิต

19/12/2007 10:37:02
ขอแจกมั่งครับ ไม่รู้ว่าซ้ำกับท่านอื่นหรือเปล่า ถ้าซ้ำคงไม่ว่ากันนะครับ อิๆ

ชื่อเพลง memory
ชุด The hi-fi sound of orchestra
บรรเลงโดย The royal philharmonic orchestra


http://www.uploadtoday.com/download/?959d2e0fc4b52085809a0019c2a92ff5
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 105

JunG

19/12/2007 17:30:44
หา Mother Goose Suite ของ Ravel อยู่ค่ะ ช่วยนำทางด้วยค่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 106

เกย์

26/12/2007 20:32:49
มาช่วยดันกระทู้ครับเดี๋ยวจะลืมซะก่อน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 107

เกย์

26/12/2007 20:33:11
มาช่วยดันกระทู้ครับเดี๋ยวจะลืมซะก่อน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 108

นายมั่นคง

26/12/2007 21:53:20



555 ตอนนี้ Collagen อยู่ซิดนีย์ครับ อีกไม่นานก็กลับไทยล่ะ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 109

unclepiak

27/12/2007 18:30:35
วันนี้ได้เพลงไวโอลินแสนไพเราะมาหนึ่งบท ไวโอลินโซนาต้า เบอร์ ๕ ของเบโธเฟ่นครับ ไวโอลินโซนาต้าบทนี้มีชื่อเล่นว่า Spring เป็นผลงานประพันธ์ลำดับที่ ๒๔ (op.24) มีทั้งหมดสี่ท่อน ฟังแค่ท่อนแรกเปิดตัวก็&dquot;โดน&dquot;เลย

เบโธเฟ่น เป็นคีตกวีที่มีผลงานหลากหลายจริง ๆ ส่วนใหญ่จะจำกันได้ในบทเพลงอลังการ และเร่งเร้าความรู้สึกและจิตสำนึก อย่างซิมโฟนี่เบอร์สาม และเบอร์เก้า (Ode to joy) เป็นต้น

แต่เพลงรักหวาน ๆ ก็มีอยู่มาก เช่น fur elise ไง

ไวโอลินโซนาต้าเบอร์ ๕ บทนี้เป็นเพลงที่ฟังแล้วสดชื่น กระปรี้กระเปร่าครับ มีเครื่องดนตรีหลักคือไวโอลิน เล่นเมโลดี้กล่อมผู้ฟัง และมีเปียโนเล่นคลออุ้มทำนอง และเสริมส่งไวโอลินให้โดดเด่นมากขึ้นตลอดเพลง

ลองเอาไปฟังครับ อาจจะชอบเหมือนผม ไฟล์ชุดนี้เป็น mp3 vbr ไวโอลินโดย Itzhak Perlman และเปียโนประสานโดย Vladimir Ashkenazy บันทึกเสียงปี 1977 โดย Decca

http://noknoi.com/mem/Classical/BeethovenVS5.rar
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 110

Collagen

01/01/2008 13:39:26
ก่อนอื่นก็ ขอกล่าว สวัสดีปีใหม่กับทุกๆท่าน ครับ... ก็ต้องขอโทษด้วยครับที่หายไปนาน (มาก) เพลงที่จะโม้ในช่วงปีใหม่ ก็ขอเป็น Auld Lang Syne นะครับ (ตอนแรก กะว่าจะโม้ของ Beethoven ที่ทางคุณลุงเปี๊ยกได้เกริ่นๆ เอาไว้) เพลงนี้ แต่งโดยชาว สก็อตชื่อ Robert Burns โดยแต่งตามกลอน (Poem) ของ Robert Ayton, Allan Ramsay และ James Watson ซึ่งดัดแปลงมาจาก บทร้องของเพลงพื้นบ้าน...
เพลงนี้ Auld Lang Syne หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Old Long Since ถูกแต่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 (ราวปี 1760 - 1790) ซึ่งเป็นที่นิยมร้องในช่วงเทศกาลปีใหม่ (โดยเฉพาะเวลาเที่ยงคืนของวันขึ้นปีใหม่) ของชาวสก็อตและเป็นธรรมเนียมต่อมายังประเทศอังกฤษ และเครือจักรภพอังกฤษ ท่วงทำนองของเพลงนี้เป็นที่แพร่หลายและใช้ในหลายวัตถุประสงค์ของแต่ละประเทศ เช่น ในประเทศฟิลิปปินส์ มีการใช้ทำนองของเพลงนี้ในงานสำเร็จการศึกษา หรือแม้กระทั่งในประเทศไทย ก็มีการใช้ทำนองของเพลงนี้เช่นกันในเพลงที่ชื่อ &dquot;สามัคคีชุมนุม&dquot; หรือแม้ในประเทศ กรีก เยอรมัน ฯลฯ ก็ได้ใช้ทำนองของเพลงนี้ในงานเลี้ยงอำลา ท่วงทำนองและโทนเสียงของเพลงนี้ ผมคาดว่าหลายๆ ท่านก็เคยร้องและได้ยินมาหลายๆ ครั้งแล้ว ผมก็จะขอกล่าวนิดเดียวนะครับว่า เพลงนี้ให้โทนเสียงกลางๆ ค่อนไปทางต่ำๆ หน่อย (ถ้าตามต้นฉบับคือจะให้อารมณ์ถึงความรู้สึกดีๆ ในอดีต หรือที่เรียกว่า Good Old Days ซึ่งให้ความรู้สึกโหยหาและคิดคำนึง) ซึ่งเนื้อร้องของเพลง ตามต้นฉบับของ Burns มีเนื้อดังนี้ครับ...
Should auld acquaintance be forgot,
and never brought to mind?
Should auld acquaintance be forgot,
And days o&squot; auld lang syne

CHORUS:
For auld lang syne, my dear,
for auld lang syne,
we’ll tak a cup o’ kindness yet,
for auld lang syne.

And surely ye’ll be your pint-stoup!
And surely I’ll be mine!
And we’ll tak a cup o’ kindness yet,
for auld lang syne.

CHORUS

We twa hae run about the braes,
and pou’d the gowans fine;
But we’ve wander’d mony a weary fit,
sin’ auld lang syne.

CHORUS

We twa hae paidl’d in the burn,
frae morning sun till dine;
But seas between us braid hae roar’d
sin’ auld lang syne.

CHORUS

And there’s a hand, my trusty fiere !
And gies a hand o’ thine!
And we’ll tak a right gude-willie-waught,
for auld lang syne.

CHORUS

ภาที่ใช้เป็นภาษาอังกฤษรุ่นเก่า (Old English) แต่ศัพท์พวกนี้ก็มีปรากฏใน Dictionary อยู่ด้วยครับ ดังนั้นไม่ต้องกังวลครับ

ข้อมูลการเขียนผมอ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Auld_Lang_Syne (หากท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถอ่านได้จากที่ Link นี้ครับ)

ท้ายนี้ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก โปรดดลบันดาลให้ทุกท่านประสบแต่ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองตลอดไปครับ สุขสันต์วันปีใหม่ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 111

MkBB

04/01/2008 10:25:59
ขอบคุณคุณCollagenมากเลยครับสำหรับที่มาของแต่ละเพลง เพราะปกติเอาแต่ฟังเฉยๆ ไม่ยอมค้นหาข้อมูลของแต่ละเพลงเอาซะเลย(จะหาเฉพาะเพลงโดนใจมากๆเท่านั้น)

ส่วนใหญ่ผมจะฟังเดี่ยวเปียโนเป็นส่วนใหญ่ แหล่งโหลดก็พอมีมั่ง แต่คุณภาพเสียงดีๆ ต้องไปซื้อแผ่นมาRipเอาเองอ่ะคับ

ส่วนมากผมชอบฟังเปียโนเน้นเทคนิคมันๆ สลับกับเบาๆเน้นผ่อนคลาย ตามสภาพอารมณ์น่ะครับ ส่วนใหญ่ที่ชอบๆก็ Listz,Rachmaninov,Chopin

เอ่อ ผมไม่ถูกกะเพลงยุคบาโรคเท่าไหร่เลยอ่ะครับ

มีคนหา Mother Goose Suite ของ Ravel หรอคับ ในกรุอาจจะมี (แต่ไม่รู้เผลอลบไปยัง) แนะอีกเพลงของRavelก็ Boléro
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 112

Collagen

08/01/2008 21:15:33
หายไปนานครับ ก็ขอจะโม้ต่อนะครับ ในวันนี้ขอโม้เกี่ยวกับเพลงที่ค้างไว้ในครั้งที่แล้วคือ Ode to Joy ผลงานของ Ludwig van Beethoven เป็น Symphony ลำดับที่ 9 ในบันไดเสียง D Minor (ซึ่งเป็นผลงาน Symphony ชิ้นสุดท้ายของ Beethoven) ซึ่งเป้นเพลงที่มีเสียงร้อง (Choral) ประกอบ โดยเสียงร้องเป็น บทกวีในภาษาเยอรมันที่ประพันธ์โดย Friedrich Schiller (ซึ่งเป็น สุดยอดกวีชาวเยอรมันอีกคนหนึ่งนอกจาก Goethe) บทกวีที่ใช้ใน Ode to joy (หรือที่เรียกว่า to joy) ประพันธ์เสร็จในปี 1785 และ Beethoven ได้ประพันธ์ทำนอง ซึ่งแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 1824 และนำออกแสดงครั้งแรกในกรุงเวียนนาในเดือนพฤษภาคม 1824 ท่ามกลางปัญหาของนักร้องที่ไม่สามารถร้องได้ (เนื่องจากโน้ตเสียงสูงเกินไปและมีความซับซ้อนสูง) ซึ่งส่วนหนึ่งของเพลงนี้ (Movement ที่ 4) ในส่วนหนึ่งเป็นท่วงทำนองที่เป็นที่นิยมกันมาก และนำมาใช้ประกอบภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง แต่ที่น่าจะเคยได้ยินมากที่สุด นำมาใช้ประกอบโฆษณาเบียร์ ยี่ห้อ Mittweida (ตอนนี้หายไปแล้ว) เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว..

การแต่ง Symphony ชุดนี้ ทาง Beethoven ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีของ Schiller และ การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 ซึ่งเป็นแนวคิดในเรื่องของ เสรีภาพ อิสรภาพ และ ภราดรภาพ
เพลงนี้มีอยู่ 4 ท่อน (Movement)
1. Allegro am Non Troppo, Un Poco Maestoso - เป็นบทเริ่มต้นของ Symphony ซึ่งได้กล่าวถึง โชค-เคราะห์
2. Molto Vivace - (ช่วงแรกๆ ของเพลงจะเป็นเสียงกลอง ตุ้มๆ ซึ่งผมว่าหลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยินมาก่อนแล้ว) ในส่วนนี้ได้กล่าวถึง การใช้กำลัง และอำนาจ
3. Adagio Molto E Cantabile - ส่วนนี้ให้จังหวะที่อ่อนหวาน นุ่มนวล ซึ่งกล่าวถึง ความรัก
4. Presto - Allegro Assai (ซึ่งเป็น Final Chorus) - ในส่วนนี้ กล่าวถึง รื่นเริงยินดีแห่งความผูกพันของมนุษยชาติ

ท่อนที่แนะนำและเป็นที่นิยมกันมากก็เป็น Movement ที่ 4 เช่นกัน ซึ่งมีแนวดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงท้องทุ่งอันกว้างใหญ่ ของเยอรมัน โดยมีท่วงทำนองที่สื่อให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ และ ท่วงทำนองความสุขของในฐานะมนุษย์ร่วมโลกด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพลงนี้มีความผสมผสานทั้งดนตรีชาวบ้านและวง Orchestra ที่ยิ่งใหญ่ แนวเพลงที่ให้ความยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับ Symphony No.3 (ที่คุณลุงเปี๊ยกได้เกริ่นนำไว้) ดนตรีของเพลงมีทั้งช่วงที่บรรเลงอย่างเดียวกันตอนต้น และค่อยๆ หายไปจนกระทั่งเป็นการร้องเพียงอย่างเดียว และจบด้วยการบรรเลงดนตรีและเสียงร้อง ที่สื่อถึงความสนุกสนาน เอิกเกริก ที่แฝงด้วยความวุ่นวายอยู่นิดๆ โทนเสียงเพลงนี้นับว่าค่อนข้างครบเลยครับ ตั้งแต่เสียงทุ้มจากเครื่องดนตรี ไปจนถึงเสียงสูง (Soprano) ของนักร้องที่ขับร้องบทกวี ซึ่งใช้ทดสอบหูฟังได้ดีอีกเพลงหนึ่งครับ อนึ่งเพลงนี้ความยาวประมาณ 23-24 นาที ซึ่งในช่วงแรก เป็นการบรรเลงเพลงเบาๆ อาจจะยังไม่ค่อยได้ยิน หรือรู้สึกถึงความอลังการ แต่พอฟังไปประมาณ 3-5 นาที ผู้ฟังจะได้รู้สึกถึงความอลังการเลยครับ...

สำหรับท่านที่สนใจ เนื้อความของบทกวี Ode to joy (หรือ An die Freude) ท่านสามารถอ่านได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Ode_to_joy ครับ

ปล. ขอขอบคุณคุณ MkBB มากครับที่ร่วมแชร์ ประสบการณ์การฟังเพลงคลาสสิก ส่วนมากผมก็ฟังๆ ไปเรื่อยๆ ครับ เพลงไหนเพราะๆ ผมก็มาเขียนโม้ๆ เอามันส์ที่นี่แหละครับ (ที่เฮียมั่นคงช่วยสละเนื้่อที่ให้ครับ) ส่วนเพลง Mother Goose ผมไม่มีข้อมูลในส่วนนี้เลยครับ (ยังไม่เคยฟังด้วย) ก็เลยไม่สามารถมาโม้ได้ครับ...

ปล. 2 กลับมาประเทศไทย แล้วคร้าบบบ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 113

เบียส

08/01/2008 21:26:52



555 คุณ Collagen กลับมาพร้อมกลับ ความเร้าใจอีกแล้ว นะเนี่ย อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 114

นายมั่นคง

08/01/2008 21:54:59



โย่วววว ซู้ดย่อด.....555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 115

Collagen

08/01/2008 22:13:45
ง่าส์ ทั้งเฮียเบียส เฮียมั่น เข้ามาอย่างรวดเร็วเลย... ก็ สวัสดีครับ...

ขอโม้นอกเรื่องนิดนึง

ก็ที่ไปโกอินเตอร์ มา ก็สังเกตพวกหูฟังของคนที่โน่นด้วย (สำหรับหูฟังที่คนฟังเวลา เดินถนน ขึ้นรถเมล์ รถไฟ จ่ายตลาด พาหมาไปเดินเล่น) ส่วนมากผมไม่ค่อยได้เห็นพวก in-ear สักเท่าไร ส่วนมากเห็นแต่ ear-bud ซึ่งเป็นหูฟังที่แถมมากับ iPod (ที่โน่นมี iPod กันเกือบทุกคน นอกนั้นก็เป็นพวกหูฟังที่มากับโทรศัพท์) และพวก Full Size ก็มีพอสมควร คือเดินไม่เกิน 20 เมตร ก็เจอ (ในย่านสถานีรถไฟหลักๆ) ซึ่งพวก Full Size ที่ผมสังเกต ทางนั้นนิยมใช้ Sennheiser HD202, HD212 เป็นส่วนมาก แล้วก็มี JVC, Sony และ Skullcandy (ราคาแพงชะมัด ร้านเฮียกว่ากว่าเย้อ) อยู่บ้าง (แต่ไม่เห็น Grado เลย) ดังนั้น ผมก็เลยเอา MS-1 ไป ฟังบ้าง (แต่อนาถเพราะต่อกับ iPod Shuffle) ก็กลายเป็นตัวประหลาดพอสมควรครับ ท่ามกลางสายตา ของผู้คนที่ผ่านไปมา แต่ก็ยังดีครับที่ไม่มีคนมาขอถ่ายรูป...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 116

unclepiak

09/01/2008 12:33:44



เห็นกระทู้กลับมา ก็ขอแจมต่อด้วยครับ พักหลังนี้ผมมัวไปเล่นกับ digital source โดยใช้เครื่องเล่นดีวีดี เล่นแผ่นที่เผาใหม่โดยเอา mp3 ไปอัพแซมปลิง แล้วเขียนเป็น DVD Audio 24bits/192mHz ได้แผ่นมาจากผู้รู้จริงร่วมกันทดลอง ผลที่ได้คือ ต้นทางที่ดีสามารถอัพเกรดระบบเสียงธรรมดาให้กลายเป็นระบบเสียงชั้นเลิศได้อย่างมหัศจรรย์เลยครับ

ตอนนี้ก็กลับมาฟังเพลงต่อ (หลังจากหมกมุ่นฟังเครื่องไปพักใหญ่ แฮ่ๆ)

เพลงที่จะมาชวนฟังคราวนี้ เป็นผลงานของรัคมานินอฟคีตกวีชาวรัสเซียชื่อเพลง Rhapsody on a theme of paganini, Op.43 ความยาวราวยี่สิบนาที แรกสุดก็ไม่ได้รู้จักเพลงชื่อนี้เลยครับ ได้มาเพราะเขารวมมาในชุดเพลงเปียโนคอนแชร์โต้เบอร์ 2, 3 อันโด่งดังของรัคมานินอฟ

ฟังตอนแรกก็ไม่ได้ติดอกติดใจ ฟังข้าม ๆ ไม่ทันจบเพลง จนมีอยู่คืนหนึ่งผมเปิดเพลงตาม Composer และเลือกฟังรัคฯ เพลงก็เล่นไปเรื่อยจนใกล้จะหลับคาเพลงอยู่แล้ว จู่ ๆ ท่วงทำนองก็เปลี่ยนไปเป็นดนตรีคุ้นหูมากจากภาพยนต์เกี่ยวกับความรักแสนประทับใจในอดีต (Somewere in Time, คริสโตเฟอร์ รีฟ และเจน ซีมอร์) ตาสว่างเลย ท่วงทำนองนี้ให้อารมณ์ถวิลหาความรัก สื่อถึงความคิดถึงที่ตราตรึงในจิตใจยาวนาน ไพเราะมาก

หาโอกาสฟังดูนะครับ(ถ้ายังไม่เคยฟัง)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 117

unclepiak

09/01/2008 13:14:29
เจอลิงก์ไปยูทูป มีคลิปหนังเรื่องนี้พร้อมซาน์ดแทร์กเพลง Rhapsody on a theme of paganini ท่อนที่ผมเอ่ยถึงพอดี

http://www.youtube.com/watch?v=a0w3jMvZBy0
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 118

Collagen

10/01/2008 22:05:04
โอ้ คุณลุงเปี๊ยก อะไรจะบังเอิญขนาดนั้น เพราะผมฝากเพื่อนซื้อแผ่นจาก Australia (เพิ่งได้เมื่อวาน) ก็เป็น เพลงที่คุณลุงเปี๊ยกแนะนำพอดีเลย ^^ หลังจากได้ได้ลองฟังสักรอบนึง แล้ว เพลงนี้ให้ท่วงทำนองตามที่คุณลุงเปี๊ยกได้แนะนำไว้ครับ ดังนั้นก็ขอโม้เสริมเพลงนี้เลยแล้วกันนะครับ

เพลงนี้เป็นเพลงชนิด Fantasy สำหรับ Piano กับวงดนตรีในแบบ Variation โดยอาศัยทำนองเพลงของ Nicolo Paganini (นักไวโอลินชาวอิตาลี) เพลง Rhapsody on a theme of Paganini ได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่เมือง Baltimore ในประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน 1934 โดยวง Philadelphia ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างงดงาน และเพลงนี้ยังเป็นที่นิยมจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

เพลงนี้เครื่องดนตรีหลักเป็น Piano เล่นกับวง Orchestra โทนเสียง นอกจาก Piano ก็จะมีพวกเครื่องสายและเครื่องเป่าอยู่บ้างแต่ไม่เด่นเท่า Piano ซึ่งเป็นลักษณะของเพลงของ Rachmaninoff กล่าวคือ เพลงของ Rachmaninoff มีอยู่ลักษณะเดียวคือ Piano Concerto in C Minor แต่ผลงานเพลงในช่วแรกๆ มีโทนหลากหลาย เช่น Symphony in D Minor ซึ่งได้รับคำวิจารณ์แย่ๆ จนทำให้ Rachmaninoff หมดกำลังใจ แทบจะหันหลังให้กับการแต่งเพลง แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาเพื่อนๆ ญาติ ของ Rachmaninoff ได้เชิญ Dr. Nikoli Dahl ซึ่งเป็นผู้ชำนาญด้านจิตวิทยา ทำการรักษา Rachmaninoff โดยการสะกดจิต ซึ่งทำให้ Rachmaninoff กลับมามีความเชื่อมั้นในการแต่งเพลงอีกครั้ง โดยผลงานชิ้นแรกหลังจากการรักษาคือ Piano Concerto No. 2 in C Minor, Op. 18 เพลงนี้ นำออกเล่นครั้งแรกที่กรุง Moscow ซึ่งได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ต่อมาได้เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ซึ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์ เป็นระบอบคอมมิวนิสต์ทำให้ Rachmaninoff ต้องหนีภัยไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยผลงานเด่นในช่วงนี้ได้แก่ Piano Concerto No.4, Varaitions on a theme of Corell และ Rhapsody on a Theme of Paganini (โม้ประวัติ ยาวไปนิด)
จังหวะของเพลงนี้มีทั้งเร็ว-ช้าสลับกันไปและให้ห้วงอารมณ์ที่หลากหลาย ทั้งความรัก ความห่วงหาอาทร ความคิดถึง ความสมหวัง ซึ่งเป็นรูปแบบของดนตรีแนว Fantasy และ Variations ที่สื่ออารมณ์อย่างหลากหลายครับ...

ส่วนเพลงผมมีเป็น MP3 จากชุด Classical Heartbreaker (เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Somewhere in Time) ครับ สามารถโหลดได้ตาม Link นี้ครับ ความยาว 4 นาทีกว่าๆ ที่ Bit Rate 256 kbps ครับ
http://www.uploadtoday.com/download/?0854461982a01145ad6aa6ce5dde1d85

ส่วน Version เต็ม ผมจะตามแผ่นคืนมาก่อน ค่อย Rip แล้ว Upload ให้ภายหลังครับ...

ปล. วันนี้โม้เกี่ยวกับเพลงน้อยไปหน่อยครับ ส่วนมากเป็นประวัติมากกว่า ครับ แต่เพงก็เพราะมากเลยครับ ให้จังหวะที่ไม่ช้าจนเกินไป และออกเร็วในบางครั้งครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 119

นานา

12/01/2008 00:40:45
ลุงเปี๊ยกครับ
ผมว่าเพลงของโมสาร์ท เหมือนบทเพลงที่บรรเลงจากสวรรค์เลยนะครับ
ให้อารมณ์ที่ล่องลอย มีบรรยากาศเหมือนเสียงเพลงมาจากฟากฟ้า และห้อม
ล้อมตัวเราอย่างเป็นธรรมชาติ ฟังเพลินๆ จินตนาการของเราก็ล่องลอยไป
เหมือนไม่ได้ฟังอยู่กับบทเพลงนั้น ไม่ว่าจะบรรเลงด้วยเครือ่งดนตรีชนิดใด
สวยงามเป็นธรรมชาติ ทั้งบทเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องสาย และเครื่องเคาะ
ท่าน โมสาร์ท เป็นค๊ตกวีที่ประพันธ์บทเพลงที่มีคุณค่าสูงส่งของมวลมนุษย์
จริงๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 120

unclepiak

12/01/2008 06:06:56
ขอบคุณคอลลาเจนที่หาประวัติรัคมานินิฟมาเพิ่มเติมจนสมบูรณ์เลย *: )

อ้างถึง #119 เคยมีคนพูดกันว่า Mozart is music. ซึ่งไม่มีใครคัดค้านคำพูดนี้ครับ กล่าวกันว่าความปราดเปรื่องของโมสาร์ท ถึงระดับว่าเขาแต่งท่วงทำนองเพลงเสร็จแล้วในสมอง แล้วค่อยเขียนมันออกมาเป็นโน้ต (ชูเบิร์ตก็ได้รับการยกย่องคล้ายกัน)

แต่ที่ว่าเพลงโมสาร์ทเหมือนบทเพลงจากสวรรค์ ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้นครับ แต่น่าจะไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางเพลงฟังแล้วเหมือนเงาทะมึนจากนรกก็มี ลองฟัง Requiem K626 สิครับ *: )
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 121

นายมั่นคง

12/01/2008 13:36:59



ขอบคุณเฮียเปี๊ยก และ Collagen และทุกท่านมากๆ ครับ เต็มที่เลยครับ ตรงกระทู้นี้ถือว่าเป็นเวทีสื่อสารสำหรับคนที่รักและชื่นชอบในเพลงคลาสสิคก็แล้วกัน

ถึงจะเป็นมุมที่เล็กกระจิ๋วหลิวในซอกหลืบหนึ่งของโลกไซเบอร์ แต่ผมว่าก็ยังดีครับ ทำให้คนที่ชอบอะไรเหมือนๆกัน ได้มาเจอกัน.........5555

ขอบพระคุณมากๆ จ้า ที่ร่วมกันช่วยให้เว็บมีความหลากหลาย น่าชมน่าอ่าน ได้ความรู้...........
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 122

Collagen

12/01/2008 22:50:54
วันนี้ แวะไปที่ร้านเฮียมั่นคงมา ก็ลองเอาหูฟังที่ Burn ไปช่วงนึงแล้ว ให้อาเฮียฟังเพื่อดูว่า Burn ไปถึงไหนแล้ว ก็ผลปรากฏว่า ยังต้อง Burn ต่ออีกนิดนึง (ผมต้องขอโทษอาเฮียด้วยครับ ที่ยุ่งๆ แล้วยังอุตส่าห์มาช่วยฟัง)

ไหนๆ ก็พูดถึง Mozart สุดยอดอัจฉริยะบุคคล ของวงการแต่งเพลงแล้ว ผมก็ขออนุญาตโม้เกี่ยวกับเพลงที่ทางคุณลุงเปี๊ยกได้เกริ่นๆ ไว้ก่อนนะครับ เพลงนั้นก็คือ Requiem Mass ครับ เพลง (หรือบทสวด) นี้ เป็นผลงานชิ้นสุดท้าย (ที่ไม่สมบูรณ์ของ Mozart) ซึ่งเป็นผลงานต่อจากอุปรากรอันเลื่องชื่อ The Magic Flute ที่แต่งเสร็จในปี 1791 โดยผลงานชิ้นนี้ Mozart ได้ใช้เวลาแต่เพียง 18 วัน และได้นำออกแสดงใน วันที่ 30 กันยายน ซึ่งในระหว่างที่ Mozart รับงานในการแต่งอุปรากร The Magic Flute ทาง Mozart ยังมีงานในการแต่งเพลง Requiem ซึ่ง Count Walsegg เป็นผู้ว่าจ้างให้ทาง Mozart แต่งเพลงนี้ เพื่อใช้บรรเลงให้กับภรรยาของท่าน Count ผู้ล่วงลับ โดยทางท่าน Count ยินดีที่จะจ่ายอย่างเต็มที่ และนอกจาก Requiem แล้ว ทาง Mozart ยังมีผลงานอุปรากรอีกชิ้นคือ La Clemenza di Tito เพื่อใช้ในการเฉลิมฉลองการครองราชย์ของพระเจ้า Leopold จักรพรรดิแห่งแคว้น Bohemia...

เมื่อ Mozart แต่งอุปรากรเรื่อง The Magic Flute เสร็จแล้ว (และได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับผลงานชิ้นนี้) ทาง Mozart ได้ลงมือ แต่งเพลง Requiem ต่อไป (ในช่วงเดือนกันยายนทาง Count Walsegg ได้ส่งคนมาตามผลงานของ Mozart ซึ่งทำให้ความเครียดมีมากขึ้น) ซึ่งในระหว่างการแต่งบทเพลง (หรือบทสวด) Requiem ต่อทาง Mozart อยู่ในสภาวะที่จิตไม่ค่อยปกติเท่าใด โดยทาง Mozart มีอาการเพื้อฝัน ประสาทหลอน ในบางครั้งนึกว่าถูกวางยาพิษและคิดว่าแต่งเพลงนี้เพื่องานศพของตัวเอง และบางครั้งก็รู้สึกงุนงงกับงานที่ทำอยู่ แต่ทาง Mozart ก็ยืนยันที่จะแต่งเพลงนี้ต่อไป เพราะดีกว่าที่จะอยู่เฉยๆ (เนื่องจากในช่วงนี้ฐานะทางการเงินของ Mozart ย่ำแย่ อีกทั้งโรงอุปรากรและนายหน้าที่จัดพิมพ์บทเพลงของ Mozart ไม่ได้แบ่งส่วนแบ่งที่ Mozart พึงจะได้จากบทเพลงของเขา) ต่อมา Mozart รู้ตัวดีว่าวาระสุดท้ายในชีวิตได้ใกล้เข้ามาแล้ว ทาง Mozart ก็รีบเร่งที่จะแต่งเพลง Requiem ให้เสร็จโดยไม่ต้องการให้ค้างคา

เมื่อทาง Constanze ผู้เป็นภรรยา กลับจากการรักษาตัวที่เมือง Baden (ในช่วงนั้น Mozart พำนักอยู่ที่กรุง Vienna) ก็พบกับสภาพของ Mozart ในสภาพที่ย่ำแย่ ทรุดโทรม ในขั้นวิกฤติ จึงได้ตามหมอมาดูอาการ พร้อมทั้งขอให้ Mozart หยุดเขียนเพลง Requiem แต่ทาง Mozart ไม่ยอมและยืนยันที่จะทำต่อไป ต่อมาในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1791 ทาง Mozart ได้รู้ตัวแล้วว่า เขาจะมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกไม่นาน แต่ก็ยังคงแต่งเพลงนี้ต่อไป และในบางครั้งได้บอกแนวเพลงและเค้าโครงของบทเพลงนี้กับ Süssmayr ผู้เป็นลูกศิษย์ และต่อมาในวันที่ 4 ธันวาคม 1791 Mozart ได้ขอร้องให้เพื่อนบางคนมาขับร้องเพลงนี้ในบางช่วงร่วมกับเขา เมื่อร้องไปได้สักพักก็หยุดลงทันที และ Mozart รู้ตัวแล้วว่าเขาไม่มีทางที่จะแต่งเพลงนี้ได้สำเร็จ จากนั้นเขาก็ร้องไห้ และหันไปพูดกับภรรยา และได้เริ่ม ฮัมเพลง Bird-Catcher&squot;s song โดยเพื่อนของเขาได้บรรเลง Piano ประกอบ และในเช้าของวันรุ่งขึ้น Mozart ก็ได้จากโลกนี้ โดยไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิต บ้างก็ว่า ตายด้วยโรค ไข้รากสาดใหญ่ (Thyphus) บ้างก็ว่า ด้วยไข้รากสาดน้อย (Thyphoid) บ้างก็ว่าด้วยโรคไต บ้างก็ว่าด้วยความเครียด ฯลฯ

หลังจากที่ Mozart เสียชีวิตทางลูกศิษย์ Süssmayr ได้แต่งเพลงต่อจาก Mozart ในช่วงท้ายตามที่ Mozart ได้บอกไว้ และได้รับความสำเร็จอีกชิ้นหนึ่งครับ

แนวเสียงของเพลงนี้ให้แนวเสียงที่ฟังแล้วหดหู่ เหมือนอยู่ในขุมนรก และบางครั้งให้ภาพเหมือนกับกำลังอยู่ในอุ้งมือของปีศาจ (อย่างที่คุณลุงเปี๊ยกได้กล่าวไว้) แนวเสียงออกแนวทุ้ม และมีเสียงร้องประกอบ เนื่องจากระหว่างที่ Mozart แต่งเพลงนี้ Mozart เหมือนกับว่ามีแรงกระตุ้นจากโลกอื่นมาขับดันในการแต่งเพลงนี้ด้วย ครับ... เพลงนี้ ฟังบางครั้งก็รู้สึกขนลุกขึ้นมาเฉยๆ ก็มีครับ ถ้าหากมีโอกาสก็ลองหาฟังดูนะครับ ^^

เสริมอีกนิดนึง เพลงแนว Requiem เป็นเพลงที่ใช้ในงานศพ ที่ชึ้นชื่อก็เป็นของ Mozart นี้หละครับ แต่ก็มีของนักแต่งเพลงอื่นๆ ด้วย เช่น Fauré และDuruflé ครับ

ปล. โม้เกี่ยวกับประวัติเพลงมากเกินไปหน่อย ส่วนแนวเสียงและแนวเพลงก็ไม่มีอะไรมากครับ เนื่องจากเป็นเพลงในงานศพ ที่ไม่ออกในแนวเศร้าสักเท่าใด ออกแนวรู้สึกอยู่ใต้เงาทะมึนมากกว่า...

ปล. 2 เพลงนี้ผมมี Version ที่ยาวประมาณ 11 นาทีกว่าๆ ซึ่งคุณภาพเสียงก็พอใช้ได้ครับแต่ไม่แน่ใจว่าเป็น Version ที่ครบถ้วนหรือเปล่าครับ ถ้าหากว่าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 123

unclepiak

13/01/2008 06:36:33
ค้นจากน้องวิ๊กกี้ ได้มาว่าโครงสร้างเพลง Requiem ของโมสาร์ทแบ่งเป็น 14 มูฟเม้นท์ รายละเอียดตามไปได้อ่านที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Requiem_(Mozart) ท่อนที่มีชื่อเสียงที่สุด น่าจะเป็น ท่อนย่อยที่ชื่อ Lacrimosa ครับความยาวประมาณสามนาที (ผมเดาเอานะครับ เพราะเห็นท่อนนี้มีออกมาเยอะกว่าท่อนอื่น ๆ )

ในลิสต์ผมมีอยู่ 5 ท่อนความยาวรวม 17.9 นาที ความที่แยกย่อยมากถึง 14 ท่อน และบางท่อนโมสาร์ทก็ไม่ได้แต่งเอง เพลงก็ทะมึนซะเหลือเกิน กว่าผมจะสะสมได้ครบทั้ง 14 ท่อน คงจะอีกนานนนนนนนน...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 124

Collagen

13/01/2008 23:13:18
ขอขอบคุณคุณลุงเปี๊ยกมากครับที่ช่วยหาข้อมูลเสริม ในส่วนของเพลง Requiem ของ Mozart ครับ (ส่วนที่ผมฟังก็ยังไม่ครบนะเนี่ย ^^)

ในวันนี้ขอโม้ต่อเกี่ยวกับเพลง Overture ของอุปรากรเยอรมัน Der Freischütz ซึ่งเป็นอุปรากรที่เกี่ยวกับภูต ผี ปีศาจและวิญญาณ ซึ่งเป็นผลงานของ Carl Maria von Weber

Weber ถือว่าเป็นผู้เบิกทางให้กับอุปรากรแนว Romantic ซึ่งทำให้อุปรากรแนว Bel Canto ซึ่งมีอิทธิพลจากอิตาลี ที่นำโดย Gioacchio Antonio Rossini, Gaeno Donizetti และ Vincenzo Bellini ลดความนิยมลง ซึ่งอุปรากรของ Weber มีการแต่งเพลงให้เข้ากับเนื้อเรื่องและสื่อถึงอารมณ์ต่างๆ เช่น โกรธ รัก หึง เป็นต้น

ในส่วนของอุปรากร Der Freischütz มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับมนต์วิเศษ จิตวิญญาณ และภูตผี ดังที่ผมได้โม้ในตอนต้น โดยตัวเอกของเรื่อง (ซึ่งเป็นนายพราน) ได้ไปทำสัญญาต่อรองกับนายหน้าของปิศาจ (บางที่ก็กล่าวว่าทำสัญญากับปิศาจโดยตรง) เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกศร (หรือลูกดอก) วิเศษ 7 ดอก ที่ยิงแล้วไม่มีทางพลาดเป้า โดยตัวเอกจะใช้ลูกศรนี้ในการแข่งขันเพื่อได้เจ้าหญิง (หรือคนรัก?) เป็นรางวัล แต่ด้วยความชุลมุนของเหตุการณ์ ทำให้ศรดอกสุดท้ายที่จะเข้าเป้า ซึ่งศรดอกสุดท้ายกลายเป็นลูกศรที่สังหารนายหน้าของปิศาจ (หรือปิศาจ) ที่คอยยุยงเสียเอง แนวเรื่อง นอกจากจะเกี่ยวกับ มนต์วเศษ ภูตผีปิศาจ และ ยังผสมผสานเรื่องรักระคนชวนหัวไว้ด้วย ซึ่งอุปรากรเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากในเยอรมันในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 (ราวๆ ปี 1800 - 1850)

ในส่วนของเพลงโหมโรงหรือ Overture นั้น ได้เกริ่นนำบอกถึงเนื้อเรื่องของอุปรากร ซึ่งให้แนสวเสียงที่ฟังแล้วรู้สึกถึงความน่ากลัวของภูตผี ภายใต้เงาทะมึนของโลกปิศาจ เครื่องดนตรีที่เน้น ก็จะคล้ายๆ กับเพลง Requiem ของ Mozart แต่จะให้จังหวะที่เร็วกว่า และมีชีวิตชีวากว่า เนื่องจากมีส่วนของ การแข่งขัน ความรัก เข้ามาปะปนด้วยครับ...

ปล. เพลงนี้ ผมเคยได้ฟังจากงาน Concert ซึ่งนานพอสมควร แต่ก็ให้ความไพเราะได้ดีเลยครับ อีกทั้งให้แนวเสียงที่กว้างพอสมควรครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 125

nopphong

13/01/2008 23:33:57
แหมมาเล่าซะให้อยากฟัง หลอกให้อยากแล้วก็จากไปฮ่าๆๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 126

unclepiak

14/01/2008 05:12:07
ผมมีเพลงของ C.M von Weber ไม่มาก แต่แทบทุกเพลงจะไพเราะถูกจริตทั้งสิ้น โดยเฉพาะเพลงประเภทโหมโรง จะได้อรรถรสแบบครอบคลุมมาก ๆ พูดถึงเพลงโหมโรงแล้ว รอสสินี่ ดูจะเป็นเตยในวงการเหมือนกัน โดยเฉพาะ William Tell ที่ขอแพลมออกมาใหคุณคอลลาเจนโม้ต่อ.. *: )

คุณนพพงษ์ฯไม่ตองมาบ่นเลย เพลง Der Freischütz ที่คอลลาเจนเล่าไว้ข้างบน คุณนพพงษ์มีอยู่แล้ว แต่ลบทิ้งไปเอง... จำได้ไหมเพลงชุด 100 Masterpieces ไงละ หาทางดูดมาใหม่อีกรอบเหอะ ยืนยันอีกหนว่า เพลงดี ๆ ทั้งนั้นครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 127

unclepiak

14/01/2008 05:15:20
คุณนพพงษ์... Der Freischütz มีอยู่ในชุด 100 Masterpieces ครับ ลบทิ้งไปหรือยัง?
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 128

กุ๊ดจี่

14/01/2008 17:02:52
แวะมาเยี่ยมครับ :D

ช่วงคริสมาสถึงปีใหม่นี่ยุ่งสุด ๆ เลย เสียทรัพย์ไปกับของขวัญก็หลายอยู่เหมือนกัน (อยู่เมกาก็เงี้ย เทศกาลที เงินโบยบินที T_T)

กว่าจะเข้าที่เข้าทางก็ช่วงนี้แหละครับ

Mozart Requiem นี่ผมมีนะครับ ไม่รู้ว่าครบรึเปล่า เพราะแผ่นบางส่วนเพื่อนยืมไปฟัง

เหลือติดเครื่องแค่ 2 ท่อนเอง

ฟังแล้วเหมือนดูพวกหนังแนว ๆ ความเชื่อ หรือ ซาตาน อย่าง The End of the Day เลย ^^&dquot;

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 129

nopphong

14/01/2008 17:39:16
ฮ่าๆแบบว่าทนฟังหมด 100 เพลงไม่ไหวครับ ตอนนั้น ipod 20G มันที่ไม่พอเลยลบซะเกลี้ยง ตอนนี้อัพเป็น 60G แล้ว เดี๋ยวหามาใหม่ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 130

JunG

14/01/2008 21:10:20
ขอบคุณ คุณMkBB ค่ะที่จะช่วยหา Mother Goose 1 ส่วน Bolero มีแล้วค่ะ ขอบคุณช้าไปหน่อย เพราะ 2 อาทิตย์นี้ งานมากจนหัวฟูเลย แต่ก็ฟังเพลงตลอดเลยเหมือนกัน
คุณ Collagen คะ เรื่อง Mozart ที่เกี่ยวกับ The Magic Flute ดีจัง เพิ่งได้ CD จากพ่อ Mozart Flute Concerto ดีมากเลยค่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 131

Collagen

14/01/2008 23:27:41
เพลง Overture ของ Der Freischütz ผมยังตามหาอยู่เลยครับ ส่วนที่นำมาเขียนโม้ ก็เท่าที่มาจากงาน Concert นั่นแหละครับ แต่ก็ยังจะตามหาต่อไปครับ.. ^^ ส่วนเพลง William Tell หรือ Guillaume Tell ผมขอไว้โอกาสหน้าค่อยมาโม้นะครับ (เพลงของ Rossini หลายๆ เพลงมีความไพเราะมากเลยครับ ซึ่งจะขอโม้ ในโอกาสหน้าเช่นกัน ทั้ง The Barber of Seville, La Gazza Ladra (The Thieving Magpie) Overture)

ในวันนี้ผมขออนุญาต งดโม้ แต่จะขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะครับ เนื่องจากหมดแรง... ในส่วนของแนวเพลงที่เกี่ยวกับ ภูตผี ปิศาจและเทพปกรณัม (Mythology) ในความเห็นของผม ก็จะมีนักแต่งเพลงอยู่ 2 ท่านที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ คือ C.M. von Weber แล้วก็ Richard Wagner ซึ่งทั้ง 2 ท่านเป็น ชาวเยอรมันทั้ง คู่ด้วย ในส่วนผลงานที่เด่นๆ ในแนวเทพปกรณัม หรือภูติผี นอกจาก Der Freischütz แล้ว ยังมี Tannhäuser ซึ่งเป็นนิยายโบราณ (ราวศตวรรษที่ 13) ของเยอรมัน โดยมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับอัศวินซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าไปยังภูเขาที่วีนัส (เทพธิดาแห่งความงามและความรัก) อาศัยอยู่ และวก็ได้หลงไหลในความงานของที่นั่นอยู่นาน...ในส่วนของ Wagner ก็มีผลงานในเรื่อง The Flying Dutchman หรือ Tannhäuser (คาดว่าน่าจะเป็น Version ต่างกันกับของ Weber) หรือว่าอุปรากรชุด The Ring of Nibelung นอกจากนี้ ยังมีผลงานในชื่อว่า Tristan und Isolde ซึ่งสะท้อนประวัติศาสตร์อังกฤษในยุคศตวรรษที่ 10 -11 (หลังจากที่ชาว Saxon ได้ยึดประเทศอังกฤษ) ซึ่งได้สร้างเป็นภาพยนตร์ที่เข้าฉายช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ไม่ได้ไปดู) ซึ่งผลงานทั้ง 2 ท่านนี้ฟังแล้วให้ความรู้สึก อยู่ภายใต้เงาทะมึนของอุ้งมือปิศาจ หรือท่ามกลางความสุขในสรวงสวรรค์ หรือแม้กระทั่งการถ่ายทอดอารมณ์ในส่วนของความรัก ความโกรธ ได้เป็นอย่างดีครับ...

แล้วก็ในส่วนของคุณ JunG ช่วงเวลาที่ Mozart แต่ง Magic Flute นั้น Mozart มีงานหลายอย่างสุมรวมกัน อีกทั้ง สปัญหาสุขภาพของตนเองและภรรยาก็รุมเร้า ครับ ในส่วนตัวของผม ผมได้ฟัง The Magic Flute ได้ส่วนเดียว จึงไม่สามารถนำมาโม้ได้ครับ (ผมคงต้องยกส่วนนี้ให้กับคุณลุงเปี๊ยกแล้วหละครับ ^^)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 132

JunG

15/01/2008 00:03:52
ขอบคุณค่ะ คุณ Collagen และขอบคุณ คุณลุงเปี๊ยกล่วงหน้าเลยค่ะ
อ่านกระทู้นี้แล้วทำให้ได้คะแนนจากพ่อขึ้นอีกอื้อเลยล่ะค่ะ :163:
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 133

MkBB

15/01/2008 03:45:42
สำหรับคุณ JunG นะครับ

ตอนนี้ผมเจอแล้วครับสำหรับเพลง Mother Goose Suite ของ Ravel แต่ดันไปเจอบนLibraryเก่าบนNotebook ไม่เจอในiPod ครับ เพลงบันทึกการแสดงของ Columbia University Orchestra ครับจึงต้องทำใจที่บางครั้งจะมีเสียง&dquot;ไม่พึงประสงค์&dquot;เล็ดลอดออกมา
(จึงเป็นสาเหตุที่มันหลุดไปจากIPODผมนั่นเอง)

นี่Linkครับ
http://www.columbia.edu/cu/cuo/audio.html

ในนั้นมีอีกเยอะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 134

unclepiak

15/01/2008 06:31:25
กำลังอัพโหลด Der Freischütz Overture ให้ครับ ขนาดไฟล์ราว ๑๕ เม็ก อีกสักพักน่าจะดาวน์โหลดได้ ผมกำลังเตรียมตัวเดินทางเข้ากทม. และคงจะวุ่นวาย กับภาระกิจน่าเบื่อหน่ายไปหลายวัน แต่ก็จะแวะเวียนเข้ามาในช่วงพักสมองครับ

ขอติดค้างข้อมูลของ เดอะเมจิกฟลุท ไว้ก่อน ถ้าจะเขียนถึงก็คงต้องค้นคว้าก่อน ผมก็ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรเลย ยิ่งพวกโอเปร่าด้วยแล้ว ยังไม่เคยมีโอกาสได้ดูสักเรื่อง เอ.. ไม่ใช่สิ เคยดู Carmen ของจอร์จ บิเชท์ ทางดีวีดี เรื่องเดียว อาศัยแต่เปิดเพลงฟังครับ รู้เรื่องมั่งไม่รู้เรื่องมั่ง (นี่คือเหตุผลที่ฟังคลาสสิกได้นาน.. คือไม่ค่อยรู้เรื่องนั่นเอง)

อัพโหลด Der Freischütz ไว้ที่นี่ครับ http://noknoi.com/mem/Classical/WeberDerFreischutz.rar
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 135

JunG

15/01/2008 07:54:37
ขอบคุณทั้งคุณ MbKK และคุณลุงเปี๊ยกค่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 136

Collagen

15/01/2008 22:27:54
ขอขอบคุณ คุณลุงเปี๊ยกแล้วก็คุณ MkBB มากเลยครับ สำหรับเพลงดีๆ ที่ให้ผมมีโอกาสได้ฟังมากขึ้น แล้วก็ในส่วนของ Carmen Suite ของ Bizet ผมเลยโม้ไปแล้วนะครับ ซึ่งเป็นอุปรากรที่เกี่ยวกับ ความรักของหญิงชาว Gypsy, นักสู้วัวกระทิง และนายทหารชาวสเปน ในส่วนของเพลง ให้อารมณ์ถึงความรัก งานเต้นรำ การต่อสู้วัวกระทิง การแย่งชิงคนรัก และจบด้วยความตายครับ (เคยฟังแต่เพลงครับส่วน อุปรากรยังไม่เคยดูครับ)

ในวันนี้ก็ขอโม้เกี่ยวกับผลงานของ Gioacchino Antonio Rossini นะครับ แต่เป็นผลงานในชื่อว่า La Cenerentola Sinfonia ครับ...
Rossini ถือเป็นผู้บุกเบิกอุปรากรแนว Bel Canto ซึ่งมีจุดเด่นที่มีการร้องเพลงอันไพเราะ ซึ่งมีจุดประสงค์คือให้ความสำราญเป็นสำคัญ ด้วยการที่มีเพลงเพราะๆ ให้ฟัง ในระหว่างการแสดงอุปรากร

ผลงานเพลง La Cenerentola เป็นผลงานเพลงของ Rossini ที่แต่งขึ้นเมื่ออายุ 25 ปี หลังจากที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ขากผลงาน The Barber of Seville ซึ่งทาง Rossini ใช้เวลาแต่เพียง 3 สัปดาห์สำหรับผลงานเพลงชิ้นนี้ ผลงานนี้ให้ผู้ฟังรู้สึกถึงความสนุกสนานของเพลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงยามที่ตัวละครเอกถูกกลั่นแกล้งจากบรรดานางอิจฉา และฉากที่เจ้าชายปลอมตัวเป็นคนรับใช้ เพื่อแสวงหารักแท้ การใช้กำไลเสี่ยงทาง (อย่างกะสังข์ทอง) และจบด้วยเรื่องราวที่หักมุมที่นางเอก กลับไปตกหลุมรักคนรับใช้ของเจ้าชายเสียเอง แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานชิ้นนี้มีอีกชื่อหนึงว่า Cinderella Sinfonia ซึ่งเห็นไดว่า เนื่อเรื่องทาง Rossini ได้มีการดัดแปลงเนื้อเรื่องดั้งเดิมของ Cinderella ไปพอสมควร เนื่องจากทาง Rossini ไม่ต้องการให้มีการแสดงเวทย์มนตร์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ในการแสดงอุปรากร

โดยท่วมทำนองของเพลงนี้ให้ท่วงทำนองที่สนุกสนาน และรวดเร็วที่แสดงถึงความอลังการของเจ้าชาย (และแคว้นของเจ้าชาย) ในช่วงแรกๆ อาจจะน่าเบื่อ แต่ฟังไปสักพักจะรู้สึกถึงความสนุกสนานของอุปรากรนี้ครับ... ในส่วนของโทนเสียงเพลงนี้มีทั้งในส่วนของเครื่องสาย เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องเป่าไม้ ในส่วนของเครื่องตี มีใช้บ้างแต่ไม่ค่อยเด่นครับ ความดัง-เบาของเพลงนี้มีตั้งแต่เงียบๆ ไปจนถึงดังพอสมควรเลยครับ ...

ปล. ในส่วนของเพลง William Tell หรือ Guillaume Tell ผมขอยกยอดไปงวดหน้านะครับ ^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 137

nopphong

15/01/2008 23:15:56
สงสัยอย่างนึงครับ
คื8nคือเวลาคนแต่งเพลงเขียนโน๊ตขึ้นมา มาัมันมีแค่ โน๊ตอะไร และ สั้นยาวแค่ไหน แต่ไม่มีบอกไว้ว่าดังค่อยแค่ไหน แล้วคนที่เล่นเพลงเข้ารู้ได้ยังไงครับว่าช่วงนี้ต้องดังหรือเบา โดยเฉพาะวาทะยากรนี่เขาต้องเป็นคนบอกแล้วเขารู้ได้ยังไง หรือว่าในโน๊ตเพลงมีบอก หรือว่าต้องคิดเอาเองตามใจคนอำนวยเพลงน่ะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 138

unclepiak

16/01/2008 09:00:08
คุณนพพงษ์ ผมทราบมาว่าในโน้ตมีเครืื่องหมายกำหนดความดัง ค่อยด้วยครับ จำไม่ได้แน่ชัดว่า เป็นตัวอักษร pppp หรือ ffff ประมาณว่าจำนวนตัวอักษรที่เป็นเครื่องหมาย มาก หรือ น้อย เพื่อบอกให้รู้ว่า ผู้ประัพันธ์ต้องการให้เล่น ดัง - ค่อย, หรือ เร็ว - ช้า แค่ไหน

ประมาณนั้นครับ (ถ้าให้ดี รอผู้ที่อ่านโน้ตดนตรีเป็น ช่วยยืนยันอีกทีด้วยครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 139

กุ๊ดจี่

16/01/2008 11:43:09
ใช่ครับ m mp mf f ครับสำหรับความดัง

p แทน piano หรือเสียงค่อย
f แทน forte แทนเสียงดัง

m นี่จะเป็น mezzo หรือเสียงกึ่ง

แล้วก็ยังมี ff กับ pp นั่นก็คือ fortissimo กับ pianissimo คือเสียงดังมากกับค่อยมากครับ

ส่วน fff กับ ppp ก็เป็นขั้นกว่าขึ้นไปอีก สำหรับดนตรีที่มีความซับซ้อนสูง

ซึ่งบางเพลงนั้นอาจจะมีถึงขั้น ffff กับ pppp ด้วยเช่นกันครับ

----------

เดี๋ยวกลับบ้านแล้วจะอัพ Requiem ให้ทั้ง 14 movement ครับ ^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 140

นายมั่นคง

16/01/2008 21:36:48



ว้า.............ผมนี่ลืมสนิทเลย น้อง Collagen

ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับพวงกุญแจที่ระลึกจากออสเตรเลีย 555 เกรงใจจังซื้อมาฝากตั้งขยุ้มนึง 555

วันนั้น ผมผลุบเข้าผลุบออก รับแต่โทรศัพท์ และบังเอิญนัดทำธุระข้างนอกก็เลยไม่มีโอกาสได้คุยกันมากนัก

ยังไงผมขอบคุณสำหรับน้ำใจมากๆๆๆๆๆๆ เลยจ้า 5555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 141

nopphong

16/01/2008 21:53:02
ปวดหัวแทนคนเล่นเพลงจิงๆครับ ไหนจะต้องดูโน๊ตดูความสั้นยาวแล้วยังต้องดูความดังอีก แถมโน๊ตมาเป็นแถวๆ ไม่รู้อ่านทันได้ยังไงฮ่าๆๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 142

Collagen

16/01/2008 22:52:12
ขอเสริมเกี่ยวกับ เสียงดัง-เบา อีกนิดนึง ในบางครั้งนักแต่งเพลง จะใช้เครื่องหมาย < หรือ > (แต่ลากยาวๆ) ใต้โน้ตเพลงครับ เพื่อแสดงถึงเสียงดัง-เบาครับ แต่ก็ยังมีเครื่องหมายอื่นๆ อีกมากมายครับ (ซึ่งผมจะพยายามค้นมาให้ครับ ว่า แต่ละอันมีความหมายอย่างไรบ้างครับ)

ผมว่าคนเล่นถ้าอ่านโน้ตคล่องๆ ก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ (เหมือนให้ฝรั่งมาอ่านภาษาไทยเลย ก็คงไม่รู้เรื่องเช่นกัน) ในความเห็นผม ผมว่า ซ้อมบ่อยๆ ก็อ่านและเข้าใจได้เองครับ ^^

แล้วก็เรื่องพวงกุญแจก็ไม่เป็นไรครับ... อาเฮียออกจะเป็นผู้กว้างขวาง (ถึงแม้ว่าจะกว้างน้อยกว่าคุณเบียสหรือคุณตั่วปุ๊ยก็ตาม) ซื้อมาฝากด้วยความคิดถึง และตอบแทนที่รบกวนอาเฮียด้วยหละครับ ^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 143

กุ๊ดจี่

17/01/2008 04:40:52
http://www.wittyz.net/Requiem.rar

14 movement ครับ rip มาจาก แผ่น hybrid ของ Nikolaus Harnoncourt
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 144

JunG

17/01/2008 08:00:13
พ่อแพลมมาให้นิดนึงว่า The Magic Flute เป็น opera เกี่ยวกับความรักของชายหญิง ที่ได้ตัดสินใจไปร่วม Free Mason ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ตั้งมาตั้งแต่ 666BC พ่อบอกว่าเป็น opera ที่ซึ้งมาก ท่านมีครบชุด (เพิ่งรู้จ้า) เป็น opera ที่พ่อชอบมากที่สุด
มาถึงตรงนี้ ความอยากรู้มันเพิ่มดีกรีขึ้นเยอะมาก คาดว่าต้องทานข้าวกับพ่อ แล้วนั่งฟังกับท่าน เพื่อฟังคำอธิบาย ได้ฟังเมื่อไหร่ จะมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 145

เบียส

17/01/2008 13:12:30



555 กระทู้ นี้ ช่วยกันหาข้อมูล ความรู้ ดี จัง ครับ อบอุ่น ชมัด ยอดเยี่ยมไปเล๊ย 555 ผมว่า

คนที่แวะมาอ่าน กระทู้นี้ คงมีคนสนใจเพลง Classic เพิ่มมากขึ้น ไม่มากก็น้อย ละ ครับ

อย่างน้อยก็มีผมคนนึงล่ะ อิ อิ อิ

=============================================
คุณ กุ๊ดจี่ ครับ รออ่าน Requiem ทั้ง 14 movement อยู่นะครับ ชักลืมเลือนแล้ว ไม่ต้องรีบแต่เร็วหน่อยก็ดี ครับ 5555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 146

nopphong

17/01/2008 18:16:45
ขอบคุณ คุณกุ๊ดจี่มากครับ 200กว่าเมก สุดยอด....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 147

nicesaysyes

17/01/2008 19:25:13



Giovanni Morandi - Sonate per organo a quattro mani


Genre: Classical | Format: APE & CUE
1 CD | Covers | Size: 319 Mb | RS.com
Date: February 14, 2006




Composer: Giovanni Morandi
Performer: Federica Iannella, Giuliana Maccaroni


Tracks

01 Sinfonia marziale in re Andante
02 Introduzione, Tema, Variazioni e Finali in Fa
03 Sonata in Sib Allegro
04 Pastorale in Fa Sostenuto
05 Sinfonia con Limitazione della banda militare in Fa Allegro
06 Gran sonata in Fa Adagio
07 Introduzione, Tema, Variazioni e Finali in Fa
08 Gran Marcia militare in Do Allegro


Download

http://rapidshare.com/files/73406477/GiMoSonaOrgQuaMan.part1.rar
http://rapidshare.com/files/73411212/GiMoSonaOrgQuaMan.part2.rar
http://rapidshare.com/files/73947383/GiMoSonaOrgQuaMan.part3.rar
http://rapidshare.com/files/73531334/GiMoSonaOrgQuaMan.part4.rar
http://rapidshare.com/files/73394878/GiMoSonaOrgQuaMan.part5.rar
http://rapidshare.com/files/73399753/GiMoSonaOrgQuaMan.part6.rar
http://rapidshare.com/files/73401658/GiMoSonaOrgQuaMan.part7.rar

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 148

nicesaysyes

17/01/2008 19:29:17



Giovanni Gabrieli - La Gloria di Venezia - Musica per la Festa di San Rocco (1608)
Genre: Classical
Format: APE & CUe | 1 CD | Covers
Size: 334 Mb | Rs.com
Recorded at the Scuola Grande di San Rocco, Venice, August 1995


Gabrieli Consort & Players on authentic instruments
Paul McCreesh

Tracklisting

1. Toccata a 4, C237 (1:11)
2. Symphoniae sacrae, Book 2: In ecclesiis (6:59)
3. Canzoni et sonate (21): Sonata XIX a 15 (5:10)
4. Suscipe clementissime (4:55)
5. Canzoni et sonate (21): Canzon XIV a 10 (2:52)
6. Buccinate in neomenia tuba (3:38)
7. Intonationi d&squot;organo: Del nono tono (0:40)
8. Domine, Deus meus (7:19)
9. Audi, dulcis amica mea (3:40)
10. Canzoni et sonate (21): Sonata XXI con tre violoni (3:52)
11. Ardens est cor meum (2:44)
12. Timor et Tremor (6:45)
13. Intonationi d&squot;organo: Del duodecimo tono (0:33)
14. Jubilate Deo a 10 (4:40)
15. Canzoni et sonate (21): Sonata XVIII a 14 (6:14)
16. Misericordia tua Domine (4:15)
17. Canzoni et sonate (21): Sonata XX a 22 (6:52)
18. Magnificat a 33 (5:56)


Download

http://rapidshare.com/files/54387125/GaGlo...eSaRo.part1.rar
http://rapidshare.com/files/54389828/GaGlo...eSaRo.part2.rar
http://rapidshare.com/files/54392624/GaGlo...eSaRo.part3.rar
http://rapidshare.com/files/54395672/GaGlo...eSaRo.part4.rar
http://rapidshare.com/files/54380764/GaGlo...eSaRo.part5.rar
http://rapidshare.com/files/54382878/GaGlo...eSaRo.part6.rar
http://rapidshare.com/files/54384431/GaGlo...eSaRo.part7.rar

.o0o.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 150

nicesaysyes

17/01/2008 19:33:55



Giovanni Girolamo Kapsberger - La Villanella
Genre: Classical | Format: APE & CUE
1 CD | Covers, Booklet | Size: 292 Mb | Rs.com
Date: July 20, 2004




Composer:
Giovanni Girolamo Kapsberger
Performer:
L&squot;Arpeggiata, Christina Pluhar
Johannette Zomer, Pino de Vittorio, Hans-Jorg Mammel, Eero Palvianen, Edin Karamazov



tracks

01. Avrilla mia (1. Teil: Pensieri amorosi)
02. O fronte serena
03. Occhi soli s&squot;amore
04. Sinfonia 9
05. Ite sospiri miei
06. Sonino, scherzino
07. Io patro (2. Teil: Dolente partita)
08. O cor sempre dolente
09. L&squot;Arpeggiata
10. Galliarda prima
11. Passacaglia
12. Alma mia, dove t&squot;en vai
13. Sinfonia 8
14. Lacrime estreme
15. Sinfonia 15
16. Tu che pallido
17. Senso fallace (3. Teil: Alle nozze)
18. Che fai tu
19. Sinfonia 18
20. Ai conventi, alle nozze
21. Tarantella di Sannicandro
22. Figlio dormi



Down

http://rapidshare.com/files/46253146/GioGiKapLaVil.part1.rar
http://rapidshare.com/files/46255239/GioGiKapLaVil.part2.rar
http://rapidshare.com/files/46257299/GioGiKapLaVil.part3.rar
http://rapidshare.com/files/46246776/GioGiKapLaVil.part4.rar
http://rapidshare.com/files/46249007/GioGiKapLaVil.part5.rar
http://rapidshare.com/files/46250926/GioGiKapLaVil.part6.rar

.o0o.


ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 151

nicesaysyes

17/01/2008 19:37:00



Marini - Moderne e Curiose Inventioni
Genre: Clical | APE & CUE | 1 CD
Covers, Booklet. pdf | Size: 229 Mb | rs.com
Date: 1997




Composer: Biagio Marini
Performer:
La Fenice & Khier & Elwes & Messthaler


Tracks


01 - Intrada: Canzon octava
02 - Sonata seconda per violino e cornetto
03 - Madre non mi far monaca (Maria Cristina Kiehr, soprano)
04 - Sonata sopra la Monica
05 - Aria &squot;La Soranza&squot; (Maria Cristina Kiehr, soprano)
06 - Capriccio per 2 violini che suonano quattro corde
07 - Grotte ombrose, madrigale in echo con sinfonie (Kiehr, soprano)
08 - Sonata per organo e cornetto
09 - Sonata La Foscarina per 2 cornetti e trombone
10 - Ligature e durezze (organo)
11 - Canzon prima a quattro cornetti
12 - Sinfonia: Pacalio a quattro
13 - Miserere a tre voci - (Kiehr, Elwes, Messthaler)



Download

http://rapidshare.com/files/48772682/MaMoCuIn.part1.rar
http://rapidshare.com/files/48747129/MaMoCuIn.part2.rar
http://rapidshare.com/files/48756551/MaMoCuIn.part3.rar
http://rapidshare.com/files/48765857/MaMoCuIn.part4.rar
http://rapidshare.com/files/48768442/MaMoCuIn.part5.rar

.o0o.

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 152

Collagen

17/01/2008 22:23:46
ขอขอบคุณคุณกุ๊ดจี่มากครับ สำหรับเพลง Requiem แบบครบชุด (200 กว่าเมก) แล้วก็คุณ nicesyasyes ครับสำหรับเพลงคลาสสิกของนักแต่งเพลงที่ไม่คอยจะคุ้นหูสักเท่าใด (ผมเองก็ยังไม่เคยได้ยินเลยครับ ^^)

ในวันนี้ผมขออนุญาตโม้เกี่ยวกับเพลง March of the Mogul Emperor ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Crown of India Suite (ผลงานลำดับที่ 66) ของ Sir Edward Elgar ครับ Elgar เป็นนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ (ซึ่งมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับนักแต่งเพลงจากภาคพื้นทวีปยุโรป) ซึ่งมีผลงานเด่นคือ Enigma Variations ที่แสดงอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยมครับ...
แต่ในส่วนของเพลง March of the Mogul Emperor นั้น เป็นเพลงที่ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักสักเท่าใด แต่ก็นับว่าเป็นเพลงที่ให้ความไพเราะได้พอสมควรครับ ซึ่งเพลงนี้เมื่อฟังแล้วให้อารมณ์ถึง ความยิ่งใหญ่อลังการของมหาราชาผู้ครองแคว้นในอินเดีย เพลงนี้มีจังหวะที่ค่อนข้างเร็วและเสียงดังที่ทรงพลังที่สื่อถึงอำนาจและบารมีของมหาราชา นอกจากนี้เพลงนี้ยังมีกลิ่นอายของดนตรีอินเดียมาปะปนในเพลงนี้ด้วย ดังนั้นเพลงนี้เครื่องดนตรีหลักจะอยู่ในกลุ่มของเครื่องเป่า และเครื่องตี แต่ก็มีเครื่องสายมาประกอบอยู่ด้วยครับ...
เหตุผลอีกส่วนหนึ่ง (แต่ไม่เป็นที่ยืนยัน) ที่เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงนี้ เนื่องจากคุณพ่อตาของ Elgar เป็นนายพันตรีแห่งกองทหารราบเบาในอินเดีย (ซึ่งต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพลตรี) คาดว่าแต่งเพื่อเอาใจพ่อตา...

เพลงนี้อาจจะฟังแล้วไม่ซึ้งเท่าดนตรีคลาสสิกอื่นๆ แต่ก็ให้ความรู้สึกที่ดูยิ่งใหญ่อลังการดีครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 153

MkBB

19/01/2008 21:45:16
ขอบคุณคุณnicesaysyesมากเลยครับ สำหรับของแปลก

แต่ตอนนี้ยังไม่มีเวลาโหลดเพราะจะสอบจันทร์นี้แล้ว สอบเสร็จจะลองเอาไปฟังดูครับ

อาทิตย์หน้า ถ้าพอมีเวลา+ค้นแผ่นเจอผมจะลองหาแผ่นเก่าอัพ Piano Cencerto หมายเลข2ของ Rachmaninovให้ครับ(เวอร์ชั่นที่ Rachmaninovเป็นคนเล่นเอง) แต่เสียงก็........ทำใจนิดนะครับ มันเป็นripจากแผ่นเสียงยุคเก่าอีกทีน่ะ

สำหรับ Rhapsodies in the theme of Paganini ของRachmaninovนั้น ตัวต้นฉบับก็พอมีอยู่แผ่นเดียวกันเนี่ยแหละ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 154

warin

21/01/2008 18:09:10
Rachmaninov Piano Concerto #2 เท่าที่ฟังมา ผมว่า Vladimir Ashkenazy เล่นได้ดีสุดแล้วนะ
Van Cliburn ก็ตำนานเดินได้คนนึง ผมมีแผ่นแต่ก็ยังไม่ถูกใจเท่า
ไอ้ Piano Concerto ที่ Rachmaninov เล่นเองก็เห็นลอยๆอยู่ในbitน่ะแหละ อัดตอนปี 1929 เสียงต้องทำใจจริงๆเลยแหละ 55+
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 155

Collagen

21/01/2008 23:16:38
Piano Concerto No. 2 ของ Sergei Rachmaninov ผมเคยฟังแค่ 2 Version เองครับ มี ของ Cécile Ousset piano, City of Birmingham Symphony Orchestra, Sir Simon Rattle conductor ครับ แล้วก็ ของวงของ จุฬาฯ ครับ ซึ่งผมว่าบรรเลงได้ดีมากเลยครับ แล้วก็ในวันนี้ผมขอแจก Piano Concerto No. 2 ของ Sergei Rachmaninov นะครับ (ของ Cécile Ousset piano, City of Birmingham Symphony Orchestra, Sir Simon Rattle conductor ครับ) ซึ่งสามารถ Download ได้ตามนี้ครับ
http://www.uploadtoday.com/download/?573a77f5b7ebe6eca65aad6a3f908303
http://www.uploadtoday.com/download/?572f19957d0585793c18ce9586501b53
http://www.uploadtoday.com/download/?5725390977b317d954805823d143e09e

เพลงมีทั้งหมด 3 ท่อนนะครับ ประกอบด้วย
1. Moderato ความยาว 10.46 นาที
2. Adagio Sostenuto ความยาว 12.04 นาที
3. Allergo Scherando ความยาว 12.01 นาที
ทั้งหมด Rip ที่ 320 kbps ครับ ดังนั้นไฟล์เลยใหญ่มาก ครับ...

ปล. เนื่องจากช่วงนี้หมดมุขครับ จึงขอเวลาเก็บข้อมูลสักพักครับ ค่อยมาโม้ต่อครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 156

กุ๊ดจี่

22/01/2008 00:35:43
ที่ผมเคยแจกไปก็เป็นของ Ashkenazy ครับ ผมว่าเค้าเล่นได้ดีเอามาก ๆ เลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 157

Nat Y.

22/01/2008 04:51:40
เรียนถามผู้รู้ทุกท่านครับ ผมเพิ่งหัดใช้คอมพิวเตอร์ ขาดความรู้และความชำนาญ ผมพยายาม download เพลง classic หลาย link แต่ไม่สามารถทำได้ จึงขอคำแนะนำด้วย ขอบคุณทุก ๆ ท่านครับ:108::194:
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 158

JunG

22/01/2008 08:44:37
มีปัญหากับการ download จาก rapidshare เหมือนกันค่ะ link อื่นไม่มีปัญหา ช่วยหน่อยนะคะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 159

กุ๊ดจี่

22/01/2008 13:39:18
อาจจะหมดอายุก่อนมั้งครับ

ต้องหาโฮสที่ฝากได้นาน ๆ มาอัพแทนน่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 160

warin

22/01/2008 16:35:09
สงสัยอีกอย่าง เวลาที่ฟังกันน่ะครับ มันมีอัดติดเสียงเปิดโน้ตกันรึเปล่า เหมือนมันมีเสียงแปลกๆตั้งหลายอย่าง ไม่รู้แผ่นห่วยรึเปล่า 55+
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 161

กุ๊ดจี่

22/01/2008 17:16:43
เป็นปกติครับ เสียงคอนดักเตอร์กระแอม เสียงเครื่องสายลั่น เสียงนักดนตรีเตะเก้าอี้ มีหมด ๕ ๕ ๕
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 162

Collagen

22/01/2008 20:53:27
เวลาที่ฟัง ก็มีครับ เสียงประหลาดๆ อย่าง นักดนตรีทำโน้ตหล่น เสียง Double Bass กระแทกเก้าอี้ เสียงวาทยากรเคาะไม้แทค ซึ่งให้บรรยากาศว่าอัดมาสดๆ ครับ เพราะถ้าหากอัดในสตูดิโอจะไม่มีเสียงพวกนี้ครับ (อาจจะโดนลบไปแล้ว)

ฟังๆเอาสบายใจก็ได้ครับ ไม่ต้องเก็บรายละเอียดขนาดนั้น ไม่งั้นจะเครียดเสียเปล่าๆ ครับ ^^

Just Relax, Sit back and enjoy the music ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 163

Collagen

22/01/2008 20:59:14
เสียงแปลกๆ ก็มีบ้างครับ อย่างเสียงนักดนตรีทำโน้ตตก แล้วก้มไปเก็บหัวกระแทกกับเก้าอี้ข้างหน้า หรือเสียง Double Bass กระแทกพื้น เสียงวาทยากรเคาะไม้แทค ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัดมาสดๆ จากงานคอนเสิร์ตจริงๆ แต่ถ้าอัดในสตูดิโอ คงจะไม่ค่อยได้ยินเสียงพวกนี้ครับ (คาดว่าโดนลบหรือไม่ก็อัดใหม่จนไม่มีเสียงแปลกปลอมครับ)

ฟังเอาสนุกและผ่อนคลายดีกว่าครับ มาจับผิดอย่างนี้เครียดเปล่าๆ ครับ ^^

Just relax, sit back and enjoy the music ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 164

jo..1234

23/01/2008 11:48:02
http://boyunglee.com/frame/frame.html


ตัวนี้แยะครับ ชอบเลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 165

jo..1234

23/01/2008 11:49:13
ไม่มีความรู้ครับ ได้อ่านแล้วดี ผมเจอตัวนี้ คาดว่าคอเพลงแนวนี้น่าจะได้ประโยชน์บ้าง

ถ้าซ้ำขออภัยมณีครับ.....เยอะมากๆ

http://boyunglee.com/frame/frame.html
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 166

Collagen

24/01/2008 22:15:22
ขอบคุณมากครับคุณ jo..1234 สำหรับ Link ดีๆ ในการแนะนำเพลงคลาสสิก ซึ่งใน Link ในนั้น ผมก็เรียนตามตรงเลยครับว่า บางเพลงผมไม่เคยได้ฟังเลยก็มีครับ และก็ได้โหลดมาฟังบ้างบางส่วนแล้วครับ (ตามที่ Connection จะเอื้ออำนวยครับ) ขอบคุณครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 167

Nat Y.

25/01/2008 04:24:13
ขอขอบคุณคุณ jo..1234 อย่างมากเช่นกัน ผมสามารถเข้าไป download มาฟังแล้ว 174 ท่อนแล้วครับ มีความสุขมาก ๆ ขอบคุณครับ :108::194:
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 168

JunG

25/01/2008 07:50:25
ขอบคุณเช่นกันค่ะ คุณ jo..1234
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 169

สมัครเล่น

25/01/2008 21:55:03



รัชมานินอฟ เบอร์ 2
นี่ก็ไม่เลวครับ อัดมาตั้งนานแล้ว
คุณภาพเสียงยอดเยี่ยม
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 170

Pierrot

26/01/2008 17:45:35
ผมชอบเพลง one winged angle อ่ะครับ ใครมีไฟล์ที่เสียงดีๆไว้ครอบครองขอหน่อยครับ



รู้สึกว่าจะใช้ประกอบภาพยนต์เรื่อง ไฟนอล 7 นี่หละ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 171

asd

31/01/2008 09:58:37
อ่านกระทู้นี้ใด้ 1 เดือนแล้ว สุดยอดๆๆมั๊กๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 172

Pierrot

03/02/2008 19:33:57
กระทู้ดูเงียบๆไปเลยเนาะ






-..-
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 173

เบียส

03/02/2008 22:02:07



5555 เอ้า คอ Classic อนยู่ไหนส่งเสียงหน่อยเร๊ว อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 174

Collagen

04/02/2008 22:27:58
ขอโทษด้วยนะครับที่หายไปนาน เนื่องจากหมดมุขที่จะเขียนครับ แต่ก็ ไหนๆแล้ว ใกล้ๆ ตรุษจีน ก็ขอโม้เกี่ยวกับเพลง Flight of Bumblebee ของ Nikolai Andrevich Rimsky-Korsakov ครับ

นักแต่งเพลงท่านนี้เป็นทหารเรือชาวรัสเซีย (ทั้งตระกูลก็เป็นทหารเรือ ยกเว้นพ่อที่เป็นผู้ครองแคว้น Volinsky ในปี 1831 - 1835) โดย Rimsky-Korsakov เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของภรรยานอกกฏหมาย (เนื่องจากภรรยาในกฏหมายไม่สามารถให้ลูกได้ ทางคุณพ่อเลยหาภรรยาคนที่ 2) โดยเกิดเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 1844 และในปี 1856 Rimsky-Korsakov ได้ไปสมัครเข้าโรงเรียนนายเรือที่เมือง St. Petersburg และในปี 1857 ได้ไปประจำการในเรือ โพรคอร์ เช่นเดียวกับพี่ชาย แต่ต่อมาไม่นาน Rimsky-Korsakov ได้ลาออกจากราชการทหารเรือในปี 1865 และได้มาทำอาชีพนักแต่งเพลง (ในระหว่างรับราชการทหาร Rimsky-Korsakov ได้รู้จักนักแต่งเพลงชาวรัสเซียที่ชื่อ Mili Balakirev ซึ่งเป้นนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่อีกท่าน เนื่องด้วยความเสียดายในฝีมือการแต่งเพลงจึงอยากให้ Rimsky-Korsakov ลาออก แต่กว่าจะลาออกได้ Rimsky-Korsakov ได้ก็ใช้เวลา 5 ปีหลังจากที่ Rimsky-Korsakov แต่งผลงาน Symphony No.1 และในวันที่ 31 ธ.ค. 1865 ผลงาน Symphony No. 1 ได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรก) ...

ในส่วนของเพลง Flight of Bumble Bee ได้แต่งขึ้นในปี 1899 - 1900 ซึ่งเพลงนี้เป็นเพียงเพลงประกอบ (Score) ของอุปากรเรื่อง Tale of Tsar Saltan บทเพลงนี้บรรเลงในองก์ (Act) ที่ 3 ในช่วงที่นก Swan-Bird ได้มอบเวทย์มนต์ให้กับเจ้าชาย Gvidon Saltanovich (ลูกชายของกษัตริย์) ในการแปลงกายเป็นแมลง (Bumble bee) เพื่อที่สามารถบินไปเยี่ยมพระบิดาของเจ้าชาย...

ทำนองเพลงนี้ให้จังหวะที่รวดเร็วและค่อนข้างแรง โดยใช้เครื่องดนตรีคือ Piano เพียงอย่างเดียว ถ้าหากท่านใดมีโอกาสได้ชมการแสดงเพลงนี้ นรักเปียโนจะรัวนิ้วได้อย่างรวดเร็วจนมองตามไม่ทันครับ (พลิ้วและรัวมาก) ถึงแม้ว่าเพลงนี้จะออกแนวพลิ้วๆ แต่ก็เป็นแนวที่พลิ้วต่างกับแนวของ Bach อย่างมาก เนื่องจากเพลงแนวพลิ้วๆ ของ Bach จะฟังแล้วรู้สึกเคลิ้มๆ ไปกับความอ่อนหาวนของดนตรี แต่ในเพลงนี้ให้ความรู้สึกถึงเสียงหึ่งๆ ของผึ้ง และการ &dquot;กระโดด&dquot; ของเสียง มากกว่าครับ แนวเสียงของเพลงนี้มีตั้งแต่ทุ้มๆ ถึงแหลมแต่ไม่แหลมจนบาดหู เหมาะสำหรับหูฟังในแนวโทนเสียงต่ำ-กลางครับ...

เพลงนี้ฟังแล้วให้เสียงหึ่งๆ เหมือนเสียงผึ้งบินไปบินมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นตามบทละครที่เจ้าชายกลายเป็นผึ้ง และบินไปยังสถานที่ต่างๆ รวมทั้งให้กลิ่นอายแนวเสียงของริมทะเลได้อีกด้วยครับ... ผมแนะนำว่าหากท่านต้องการฟังคลาสสิกแบบมันส์ๆ ก็ไม่ควรพลาดเพลงนี้ครับ...

ท้ายนี้ก็ สุขสันต์วันตรุษจีนครับ
ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ อั่งเปาตั่วตั่วไก๊....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 175

นายมั่นคง

04/02/2008 23:12:43



เย้.........หยุดช่วงตรุษจีน ไปหามุขแล้วมาโพสให้อ่านกันใหม่นะจ๊ะ Collagen 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 176

maeada

09/03/2008 11:08:00
ได้เพลงคลาสสิคเพราะๆไปเยอะเลยคับ เอ่อ...ไม่ทราบว่ามีเพลงนี้ไหมอะคับ
Felix Mendelssohn - Violin Concerto in E Minor Op.64 - I.Allegro Molto Appassionato ชื่อยาวหน่อย กว่าจะหาชื่อได้ก็ลำบากเหมือนกัน 55+
มันบาดใจมากเลยอะคับ เวลาฟังเพลงนี้ = = ไม่รุ้ผมเป็นคนเดียวอะเป่า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 177

Collagen

09/03/2008 21:56:00
คุณ Maeada รู้ได้ไงว่าผมมีอ่า ^-^ (เพิ่งได้แผ่นมาเลย) ก็ผมก็ขออนุญาต โม้โดยสังเขปนะครับเกี่ยวกับเพลงนี้ เพลงชุดนี้ Violin Concerto in E Minor เป็นผลงานลำดับที่ 64 ของ Jakob Ludwig Felix Mendelssohn-Barthody (ชื่อยาวดี) แต่งเสร็จสิ้นในปี 1844 ที่เมือง Leipzig ประเทศเยอรมัน ซึ่งผลงานเพลงชุดนี้ถือว่าเป็นผลงานในช่วงท้ายๆ ของชีวิตของ Mendelssohn ครับ (Mendelssohn เสียชีวิตในปี 1847 เนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตก)

แนวเพลงของ Mendelssohn โดยมาเป้นแนวเพลงที่ให้ความรู้สึกสนุกสนาน และโทนแจ่มใส แต่ก็มีบ้างในบางบทเพลงที่ให้ความรู้สึกเศร้า (แต่ค่อนข้างน้อยมาก) เพลงของ Mendelssohn มีโทนเสียงของความเป็นอนุรักษ์นิยมพอสมควร เนื่องจากเป้นคนที่ไม่ค่อยแต่งเพลงที่ผิดเพี้ยงไปจากแนวเดิมๆ ถึงอย่างไรก็ตามเพลงของ Mendelssohn ยังคงเป็นที่นิยมอยู่เสมอๆ กับผู้ที่ชอบแนวเพลงคลาสสิกรุ่นเก่า (แนวของ Bach หรือ Handel) ซึ่งในแนวเพลงนร้ก็เช่นกันครับ มีจังหวะที่เร็ว (ก็เพราะว่าเป็น Allergro) มีเสียงที่แสดงถึงความหวานของ Violin ได้ชัดเจนครับ ซึ่งถ้าหากว่าจะฟังผมแนะนำว่าใช้หูฟังที่มีโทนเสียงออกแหลมนิดๆครับ อีกทั้งมีเสียงของขลุ่ยและกลองประกอบด้วย ซึ่งให้อารมณ์ในแนวใสๆและหม่นนิดๆ ได้ดีพอสมควรครับ

ในกรณีของคุณ Maeada ฟังแล้วบาดใจ ผมว่าเพลงแนวนี้เป็นความรู้สึกอะครับ เพราะผมฟังบางท่อนแล้วก็รู้สึกบาดใจและบางท่อนก็รู้สึกพลิ้วๆ เคลิ้มๆครับ...

เพลงตามนี้ครับ เนื่องจาก Ripped ที่ 320 kbps ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ จึงต้องแยกเป็น 2 ส่วนนะครับ โหลดตามนี้ครับ
http://www.uploadtoday.com/download/?6c1230d41f55b5301f571cd17581a164
http://www.uploadtoday.com/download/?6c157636006615450d2ecc87f15a9378

แล้วก็มี Midsummer Night&squot;s Dream - Wedding March ให้ครับครับ
http://www.uploadtoday.com/download/?6c1c122d0c73ac2655e8e9eb9710c217

ปล. ผม Ripped มาจาก แผ่นชุด Great Classic Composer ครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 178

นายมั่นคง

09/03/2008 22:33:58



ขอบคุณมากๆๆๆ เลย Collagen ที่มาช่วยเติมสาระดีๆ ให้เว็บนะ..........555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 179

จิรภัทร

14/03/2008 10:05:05
ผมมีเพลงของVennessa Mae อยู่2แผ่นอะครับ มีConcert ที่ Londonอีกแผ่น อยากทราบว่าในนี้ได้อัพไปยังครับ และผมควรจะอัพไหมเพราะ บางเพลงจะออกแนวมันๆไปหน่อย :105:
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 180

MUyong

14/03/2008 10:43:11



เพลงของ Vennessa Mae จัดอยู่ในประเภทเพลง classic นะครับ อัพได้ไม่มีปัญหาครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 181

จิรภัทร

14/03/2008 18:05:18
ผมมาอัพให้วันจันทร์นะครับ พรุ่งนี้มีเรียนครับ ช่วงนี้ปิดเทอมแล้ว^^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 182

wit

17/03/2008 02:59:44
กระทู้นี้กลับมามีการเคลื่นไหวอีกแล้ว ดีจัง :194:

แต่สงสัยว่าช่วงสงกรานต์คงเงียบอีกหลายวันแบบช่วงตรุษจีนแหงๆ :160:
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 183

collagen

02/04/2008 20:37:21
ต้องอภัยเป็นอย่างยิ่งครับที่หายไปนาน เพราะช่วงนี้ ภารกิจเยอะมากเลย

ในวันนี้หลังจากที่หายไปผมขออนุญาตโม้ต่อในเพลงจังหวะ Tango ที่เป็นที่ยอดนิยมอีกเพลงหนึ่งนะครับ เพลงนี้ชื่อว่า Tango &dquot;Por Una Cabeza&dquot; ซึ่งผมเพิ่งซื้อแผ่นจากงานหนังสือฯ ครับ เพลงนี้บรรเลงโดยคนไทยนะครับ (Version ที่ผมได้ฟัง) ซึ่งบรรเลงด้วย Violin 2 ตัวและ Cello 1 ตัวแต่ให้ความไพเราะได้อย่างเต็มที่ (ใจจริงผมก็อยากจะโม้เกี่ยวกับเพลงนี้มากนานแล้ว แต่ไม่รู้ชื่อเพลงและฟังได้เป็นบางช่วงจึงรอเพลงเต็มๆ ก่อนดีกว่าครับ) ...

เพลงนี้แต่งโดยนักแต่งเพลงชาวสเปน 2 ท่าน (นานๆ กว่าจะได้เห็นนักแต่งเพลงชาวสเปนที่มีชื่อเสียง) ที่มีนามว่า Calor Gardel (แต่งทำนอง)และ Alfredo Le Pera (แต่งเนื้อร้อง) ในปี 1935 เพลงนี้ ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็มีชื่อว่า By a head of a horse หรือ &dquot;หัวม้า&dquot; ในภาษาไทย เพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในยุโรปและฝั่งอเมริกา เนื้อหาของเพลงเกี่ยวกับนักพนันม้าแข่ง (Horse Gambler) ที่เปรียบเทียบความหลงไหลในการแข่งม้ากับผู้หญิงอันเป็นที่รัก ซึ่งให้จังหวะที่ฟังแล้วรู้สึกพลิ้วไหว เปิดโล่ง ร้อนแรงและลุ่มหลง (ม้ากับผู้หญิงก็ไปด้วยกันได้แฮะ) ...

เนื้อเพลงดังเช่นที่ได้โม้ในด้านบน นักพนันได้เปรียบการแข่งม้ากับผู้หญิงว่า ชัยชนะแค่ปลายจมูกทำให้อะไรหลายๆ อย่างพลิกผันไป การแข่งขันที่เร่าร้อนรุนแรงเปรียบได้ดั่งความรักที่ช่างเย้ายวน ให้ลุ้นและน่าติดตาม ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงมากเพียงใดแต่เราก็ยังต้องการที่จะได้ลิ้มลอง และในบทสรุปนั้น ได้สรุปไว้ว่า การพนันและผู้หญิง เหมือนกันในจุดที่ไม่อยากไปเสี่ยง และไม่อยากที่จะมองย้อนกลับไปในความพ่ายแพ้...

เพลงนี้ ประกอบภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น Scent of Woman (นำแสดงโดย Al Pacino), Schindler&squot;s, True Lies, All king&squot;s men และ Sweet Spy (Series ของเกาหลี) ท่วงทำนองของเพลงนี้ได้รับความหวานฉ่ำของ Violin มาอย่างเต็มที่ ผสมผสานกับความทุ้มต่ำของ Cello หรือ กลอง (ในบางวง) หรือแม้กระทั่ง Piano ซึ่งเหมาะกับหูฟังที่ปลายแหลมเปิดได้ดี รวมทั้งความทุ่มต่ำด้วย เพลงนี้เป็นที่นิยมในวงที่เป็น Duet, Tripet และ Quartet เนื่องจากใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นก็สามารถบรรเลงได้อย่างไพเราะและงดงามเพลงหนึ่งครับ...

ปล. เพลงนี้ผมขออนุญาตไม่แจกให้นะครับ เนื่องจากเพลงนี้อยู่ในชุดเพลง &dquot;รุ้งทอแสง&dquot; ซึ่งทางสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้จัดทำขึ้น และรายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายจะมอบให้แก่กองทุนและสมาคม ในพระอุปถมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ครับ จึงขออนุญาตไม่แจกนะครับ (ราคาแผ่น 199 บาทครับ)
ปล. 2 หวังว่าอาเฮียคงไม่ว่านะครับ สำหรับเหตุผลที่เป็นการโฆษณาไปด้วย ^^ และขอโทษด้วยนะครับที่ไม่ค่อยมีผลงานการโม้ออกมา...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 184

เบียส

02/04/2008 21:12:22



5555 มาแล้ว ยังดีกว่ามาช้า มาช้ายังดีกว่า ไม่มา บรรยายซะเห็นภาพเลย คัรบคุณ collagen 555 พวกฝรั่งนี่ ช่างเปรียบเปรย จริง จริ๊ง ว่างเมื่อไหร่มาโพส อีก นะ จ๊ะ อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 185

นายมั่นคง

02/04/2008 21:20:30



ขอบคุณสำหรับทุกอย่างจริงๆ ครับ น้อง Collagen 555 อุตส่าห์ช่วยเติมเต็มให้เว็บดูมีสาระอรรถประโยชน์ และดูดีขึ้นแยะจริงๆๆๆ


นี่เป็นกระทู้ประวัติศาสตร์ของเว็บมั่นคงเลยครับ เป็นกระทู้ที่มีคนตอบ คนคลิกอ่านมากที่สุดในเว็บนี้แล้วล่ะครับ


ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดครับ เฮียเชื่อใจวิจารณญาณของ Collagen เต็มเปี่ยม 1000% ครับ อันใดเป็นเรื่องเหมาะสม น้อง Collagen จัดการวินิจฉัยเองเลยครับ.........


เฮียเชื่อมือ......เชื่อใจด้วย


555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 186

Collagen

03/04/2008 20:37:25
ง่าส์ ขอบคุณครับเฮียมั่น และคุณเบียส... ผมก็ขีดๆ เขียนๆ ไปครับ เผื่อว่าจะมีใครมาตกหลุมพราง (กับดัก) ในเพลงคลาสสิกเช่นเดียวกับผมบ้าง (หาพวกครับ ว่างั้นเถอะ) แล้วผมก็ต้องขอขอบคุณเฮียมั่น คุณเบียส ลุงเปี๊ยก คุณตั่วปุ๊ย ท่านเทพ (?) และหลายๆ ท่านที่สละเวลา เนื้อที่ และทรัพยากรอันมีค่ามาช่วยเติมเต็มใน กระทู้ (อันไร้สาระ?) อันนี้ให้ชีวิตชีวาครับ... (ลำพังผมคนเดียวคงไม่ไหวหรอกครับ)...

วันนี้ผมขอไปโม้นอกเรื่องหน่อยนะครับ (หมดมุขโม้เกี่ยวกับเพลง) ผมขอโม้เกี่ยวกับประวัติและรูปแบบของเพลงในดนตรีคลาสสิกเพิ่มเติมอีกครั้งนะครับ (เพื่อความเข้าใจมากขึ้น) ในส่วนนี้ผมขอเร่มตั้งแต่สมัยยุคกลางนะครับ...

1. สมัยกลาง (Medieval Age)
1.1 ยุคกลางตอนต้น (ค.ศ. 400 - 800)
ลักษณะของเพลงเป็นดังนี้ครับ
- เริ่มแรกเป็นเพลงทางศาสนา (Church Music) เนื่องจากในช่วงนี้อาณาจักรโรมันล่มสลายและศาสนาคริสต์มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในทวีปยุโรป โดยแนวดนตรีเป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีกรีก และโรมันเข้าด้วยกัน
- ไม่มีเครื่องดนตรีหลักในการบรรเลง และเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องแนวเดี่ยว (Monophonic Music) อย่างไรก็ดีเพลงในช่วงนี้ก็มีการพัฒนาและปรับปรุงมาเป็นลำดับ เนื่องด้วยอิทธิพลทางศาสนา และเรียกเพลงร้องที่ใช้ในกิจการศาสนานี้ว่า Plain Song หรือ Plain Chant
- เพลงในยุคนี้ มีการวางรากฐานโดยพระสันตปาปาเกรกอรี่ที่ 1 (Gregory I, A.D. 504 - 604 ?) ได้กำหนดรูปแบบการแต่งทำนองของเพลงสวดอย่างเป็นแบบแผนและรวบรวมและบันทึกเพลง Plain Chant หรือ Plain Song ให้เป็นหมวดหมู่ (เช่น เพลงใช้ในวาระต่างๆ เพลงสวดศพ เพลงในงานแต่งงาน) ซึ่งต่อมาเรียกเพลงประเภทนี้ว่า Gregorian Chant

1.2 ยุคโพลีโฟนิคตอนต้น (Early Polyphonic, A.D. 800-1100)
- การพัฒนารูปแบบของดนตรียังคงเป็นไปตามอิทธิพลงของศาสนาคริสต์
- เริ่มมีการใช้โน้ตเพลง ซึ่งพระชาวอิตาเลียน ชื่อว่า Guido d&squot;Arezzo (A.D. 990 - 1050) เป็นผู้คิดค้นขึ้น แต่เดินโน้ตเพลงมีเพียง 4 บรรทัด และนอกจากนี้ท่านยังกำหนดวิธีการอ่านโน้ตโดยฉับพลัน (Sight Reading) หรือที่เรียกว่า Neumatic Notation (ดังนั้นศัพท์ในทางดนตรีโดยมากจะเป็นภาษาละตินและภาษาอิตาเลียน)
- ลักษณะของเพลงในช่วงต้นของยุคนี้ยังคงเป็นเพลงร้องแนวเดียว (Monophonic)
- ต่อมาเริ่มมีการใช้ Polyphony Style ในการขับร้องเพลงศาสนา (เริ่มมีโน้ตเพลง) ซึ่งเพลงเหล่านี้เรียกว่า Organum เช่น Parallel Organum (เพลงในแนวนี้ร้องกันเป็นคู่ๆ 4 - 5 คู่ ร้องขนานกันไปกับทำนองหลัก) Free Organum เป็นต้น
- มีเพลงทีขับร้องนอกโบสถ์ (ที่ไม่ได้ใช้ในกิจการของทางศาสนา) เกิดขึ้นเรียกว่า Secular Song หรือ Secular Music

1.3 ยุคศิลปะโบราณ (A.D. 1100-1300)
ในยุคนี้การพัฒนาในส่วนของดนตรีไม่ค่อยมีการพัฒนาไปจากยุคก่อนมากนัก การขับร้อง การบรรเลงเพลงยังคงเป็นแบบเดียวกับยุคก่อนหน้า แต่ Polyphony Style ได้รับการพัฒนามากขึ้นและเห็นได้อย่างชัดเจนในบทเพลง Organum และ Motet

1.4 ยุคศิลปะใหม่ (A.D. 1300 - 1400)
- ในยุคนี้ ระบบศักดินาสวมิภักดิ์ (Feudalism) เริ่มเสื่อมลง
- อำนาจของอาณาจักรมีมากขึ้น ในขณะที่อำนาจของศาสนจักร (โดยสันตปาปาที่กรุงโรม) เริ่มลดน้อยลง รวมทั้งวิทยาศาสตร์ (Science) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น (ศาสนาไม่ใช่คำตอบของทั้งหมด)
- ในปี ค.ศ. 1348 - 1350 เกิดกาฬโรคระบาดในทวีปยุโรป
- เริ่มมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศสและอิตาลี ซึ่งส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเป้นอย่างมาก และแนวเพลง Motet เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก
- เกิดเพลงศาสนารูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Mass ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ Plainsong Mass, Castus Firmus Mass และ Freely Composed Mass

ประวัติศาสตร์ของดนตรีในยุคกลางก็แสดงโดยสังเขปเพียงเท่านี้ (วิชาประวัติศาสตร์) ท่านใดที่หลับไปแล้วก็ตื่นได้แล้วนะครับ จบแล้ว...

ในส่วนของเครื่องดนตรีในยุคกลาง และประวัติศาสตร์ดนตรีในยุคต่อๆ ไป กรุณาติดตามตอนต่อไปนะครับ เร็วๆ นี้.... ^ ^

ขอบคุณครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 187

Collagen

21/04/2008 21:41:05

ส่วนนี้ผมขออนุญาตเสริมความต่อจากครั้งที่แล้วนะครับ ในส่วนของประวัติศาสตร์เพลงคลาสสิก ครับ


ในส่วนนี้ผมขอคั่นจังหวะสักนิดนะครับก่อนที่จะไปยุคต่อไปครับ


ผมขออนุญาต คั่นด้วย &dquot;ประวัติศาสตร์ในดนตรีในเยอรมัน&dquot; และ &dquot;เครื่องดนตรีในยุคกลาง&dquot; สักนิดนะครับ
ดนตรีเยอรมันแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
1. กลุ่ม Minnesinder หรือ Love Singers ได้รับความนิยมในช่วงคริสตศตวรรษที่ 12-14 เน้นในส่วนการขับร้องเพลงประเภท Minnelied ซึ่งมีอัตราจังหวะ 2/4, 4/4, 3/4 หรือ 6/8
2. กลุม Meiltersingers หรือ Master Singers ไนวเพลงในกลุ่มนี้ได้รับความนิยมต่อจากกลุ่ม Minnesinders ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งแนวเพลงของกลุ่มนี้เรียกว่า Meisteroesang
เท่านี้หละคร้าบบบ


ต่อมาในส่วนของเครื่องดนตรีในสมัยกลาง ในสมัยกลางเครื่องดนตรีมีไม่มากส่วนมากเล่นเพลงในรูปแบบจังหวะเดียวซ้ำๆ ดังนั้นเครื่องดนตรีในยุคกลางแบ่งเป็นประเภทหลักได้ดังนี้
-เครื่องสายที่ใช้คันชัก (Bow) คือ ศอวีแอล (Vielle) ซึ่งมีขนาดและชื่อเรียกต่างๆ เช่น ซอรีเบค (Rebec), ซอทรอมบา มารินา (Tromba Marina) โดยซอทรอมบา มารินา เป็นซอขนาดใหญ่ มี 1-2 สาย มีเสียงเดียว (และใกล้ๆ กัน) ใช้ยืน  หากจินตนาการเครื่องดนตรีประเภทนี้ไม่ออกให้นึกถึง ซออู้ ซอด้วงไว้ครับ มีลักษณะคล้างๆ กัน
- เครื่องสายที่ใช้นิ้วดีด ได้แก่ พิณลิวท์ หรือ ลูท (Lute) และ ซัลเตรี (Psattery) โดยพิณลิวท์ มีลักษะคล้ายๆ กับพิณน้ำเต้าของไทย เพียงแต่ว่าเวลาเล่นไม่ต้องใช้ &dquot;พุง&dquot; ช่วยในการบรรเลงครับ
- เครื่องลม (เครื่องเป่า) ได้แก่ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) ปี่ชอม (Shawm) ในสมัยนี้ ขลุ่ย Recorder ยังมีให้เห็นอยู่นะครับ และมีขายอยู่อันนึงไม่น่าเกิน 100 บาทครับ (สำหรับนร. ฝึกหัด)
- เครื่องดนตรีที่มีแป้นกด (Keyboard) มีอยู่ประเภทเดียวคือ ออร์แกน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทตามขนาด คือ


1. Portative Organ - เป็นออร์แกนขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายสะดวก หรือเรียกว่า Organnetto
2. Positive Organ - เป็นออร์แกนขนาดกลาง ฝึงติดกับผนังหรือกำแพง บ้านหรือปราสาทขนาดเล็กๆ
3. Grand Organ - เป็นออร์แกนขนาดใหญ่ (มาก) สร้างติดกับวิหารขนาดใหญ่ในยุโรป ออร์แกนบางที่ประกอบด้วยท่อลมมากกว่า 2500 ท่อ (ซึ่งให้เสียงอลังการมากๆ)


ในวันนี้ผมขอโม้แต่เพียงเท่านี้ครับ (ตั้งนานยังไม่จบยุคกลางเลย) ในส่วนของตอนต่อไปก็เป็นดนตรีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ครับ โปรดติดตามตอนต่อไปเร็วๆ นี้ครับ.... ^ ^


ขอบคุณครับ...



ปล. เสริมนิดนึงครับ ในครั้งที่แล้วผมได้ใช้ตัวย่อ A.D. ซึ่งย่อมาจาก Anno Domini หรือ คริสตศักราชครับ...

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 188

นายมั่นคง

21/04/2008 21:48:43



โย่วววววว  ดีใจจริงๆๆๆเมื่อเห็นน้อง collagen อีกครา...............55

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 189

เบียส

22/04/2008 14:03:49



กระทู้นี้ ถ้าเปรียบเป้นอาหารสำหรับผมแล้ว เหมือนกับ ได้กินสเต๊กเนื้อ โคขุนอย่างดี เลย ครับ 5555 แบบว่า นาน นาน กินที กินทีไรทั้งอิ่มแถมด้วยความสุขทุกที..........อิ อิ อิ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 190

สะใจโรคจิต

22/04/2008 16:43:18

เยอะมากก อ่านไม่ไหวว

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 191

Collagen

02/05/2008 23:20:52

ต้อขออภัย เฮียมั่น, คุณเบียสและท่านอื่นๆ ที่ติดตามด้วยนะครับที่หายไปนาน เนื่องจากติดปัญหาเรื่องคอมฯ อยู่ครับ...


ในวันนี้ผมขออนุญาตโม้ต่อในส่วนของประวัติศาสตร์ดนตรีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ Renaissance


ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือ Renaissance (หรือแปลว่า Rebirth ในภาษาอังกฤษ) คือช่วงเวลาประมาณ ค.ศ. 1400 - 1600
ในช่วงนี้มีเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น
- ปี 1453 กรุง Constantinople (หรือ Istanbul ตุรกี ในปัจจุบัน) ได้ถูกพวก Turk ยึดครอง ถือเป็นจุดสิ้นสุดของอาณาจักรโรมันตะวันออก (มีการเปลี่ยนถ่ายศาสนาจากคริสต์ไปเป็นอิสลาม)
- ปี 1492 Christopher Columbus เดินเรือไปถึงทวีป America


การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ได้เริ่มจากหัวเมืองทางภาคเหนือของอิตาลี โดยเฉพาะเมือง Florence (หรือ Firenze), Venice (หรือ Venecia), Pisa, Genoa, Tuscany (หรือ Toscana) และแคว้น Lombardy และได้ขยายต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส, เยอรมัน, เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
เข้าเรื่องของเพลงหละครับ
- การปฏิรูปทางด้านดนตรีนั้น เริ่มจากทางภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์
- รูปแบบของเพลงโดยมากจะนำเพลงในยุคกลางมาปรับปรุง มากกว่าที่จะทำเพลงสมัยกรีกและโรมันมาเรียบเรียงขึ้นใหม่
- แนวดนตรีเป็นแนวของ Polyphony Style
- มีสำนักคีตกวีด้านดนตรีเกิดขึ้นหลายแห่ง และที่มีชื่อเสียงเช่น Burgundian (ดังเช่นเดียวกับไวน์) ซึ่งแนวเพลงจะมีลักษณะรูปแบบการแต่ง 3 - 4 แนวพร้อมกัน และใช้คอร์ด (Chord) ประสานกัน ซึ่งในแนวเสียงที่พลิ้วไหว และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่แต่งโดยใช้คู่ 4 หรือคู่ 5
- หลังจากสำนักคีตกวี Burgundian เริ่มหมดความนิยม สำนักคีตกวี Felmish ได้มีชื่อเสียงขึ้นมาแทน โดยพัฒนาเพลงร้องโดยให้มีการขับร้องทุกแนวมีความสำคัญเท่ากันและมีการนำเทคนิค Counterpoint (แต่ละแนวของเพลงผลัดกันทำหน้าที่เป็นทำนองหลักของเพลง) มาใช้
- เพลงบรรเลงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นและในบางโอกาส เพลงบรรเลงมีความสำคัญมากกว่าเพลงขับร้อง
- มีการให้ความสำคัญกับเพลงในด้านการพักผ่อนมากขึ้น โดยเฉพาะ มีเพลงประเภท Madrigral และ Chanson เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเพลงขับร้องเพื่อความรื่นรมย์
- ในขณะที่เพลงขับร้องในด้านการศาสนาก็มีการพัฒนาไปเช่นเดียวกัน โดยเพลงในแนว Mass และ Motet ยังคงเป็นเพลงขับร้องทางศาสนาที่สำคัญ
- เครื่องดนตรีประเภท Keyboard โดยเฉพาะ Organ มีบทบาทมากขึ้น ซึ่งเพลงประเภท Fantasy, Toccata และ Ricercar เป็นเพลงที่มีความสำคัญและบรรเลงโดยใช้ Organ
- ในขณะที่เครื่องดนตรีประเภท แตร (Horn) ก็มีเพลงประเภท Fanfare ในการบรรเลง ซึ่งใช้ในการบรรเลงในกิจกรรมของทหารและพิธีในราชสำนัก


ในส่วนของเครื่องดนตรี ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มีดังต่อไปนี้
- กลุ่มเครื่องสาย เช่น ซอ Viole ในขนาดต่าง (ซึ่งซอประเภทนี้ตค่อมาได้พัฒนาเป็น Viola, Violin, Cello, ฯลฯ), ซอ Rebec, พิณ Lute, Clavichord, Harpsichord
- กลุ่มเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย Recorder (ยังคงได้รับการพัฒนาต่อ), ปี่ Shawm, ปี่ Cornet, Trumpet, Trombone
- และกลุ่มเครื่อง Keyboard ที่ยังเป็นที่นิยมยังคงเป็น Organ ซึ่งมีการพัฒนาต่อจากช่วงยุคกลาง


คีตกวีในยุคนี้ ที่มีชื่อเสียง เช่น
- Giovanni Pierluigi da Palestrina (A.D. 1525 - 1594) เป็นชาวอิตาเลียน (ดูชื่อก็รู้) ซึ่งชื่อ Palestrina มาจากชื่อเมืองเล็กๆ ใกล้ๆ กรุงโรม ท่านนี้ได้ทำงานเป็นนักร้องประสานเสียงในโบสถ์ มาตั้งแต่เด็ก (ทำอยู่งานเดียว) และเมื่ออายุมากขึ้น (แก่) ได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้ากลุ่มนักร้องที่โบสถ์ St. Peter (หรือ San Petro) ในกรุงโรม อิตาลี (ปัจจุบันอยู่ในนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระสันตปาปา)


ประวัติศาสตร์ดนตรีในยุคฟื้นฟูศิลปะวิยาการก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ ... โปรดติดตามตอนต่อไปใน ประวัติศาสตร์ดนตรีในยุคบาโรค (Baroque) ครับ เร็วๆ นี้....

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 192

Collagen

02/05/2008 23:25:05

ถึงคุณ สะใจโรคจิต ค่อยๆ อ่านก็ได้ครับ เฮียมั่นคงอยู่อยู่กับเราไปอีกนานนนนนนนน


ปล. ใน Post ที่แล้วผมลืมตอบไป ต้องขอโทษด้วยครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 193

Mercury

04/05/2008 19:40:32

เข้ามาอ่านกับเขาบ้าง 555+

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 194

นายมั่นคง

04/05/2008 21:03:41



ขอบคุณอีกครั้งเลยล่ะครับ ผมว่ากระทู้นี้ มีแฟนคลาสสิคแอบอ่านกันเยอะโคตรเลยล่ะ เป็นพลังเงียบจริงๆๆ ครับ ขอบคุณน้อง Collagen จริงๆ ครับ ที่ทุ่มเทเพื่อคนอื่นจริงๆๆๆ


นับถือ นับถือ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 195

สะใจโรคจิต

05/05/2008 00:09:59

ปกติก็ชอบฟังแนวนี้นะครับ


 


แต่ไม่ค่อยมีให้ฟัง เพราะไม่ค่อยรู้แหล่ง ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่


 


คือฟังเพราะชอบที่มีเครื่องดนตรีหลากหลายดี


แล้วก็มันไม่จัดเหมือน แจส กำลังไล่ ๆ โหลอยู่ ไม่ไหวเยะมากกกก


 


 


หรือว่าเฮียเบียสมีโหลดไว้ อิอิ จะได้แอบไปสูบ


 


ปล.ขอบคุณ คุณ Collagen มาก ๆ ครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 196

เบียส

05/05/2008 13:35:21



555 แวะมาได้ ครับคุณ สะใจโรคจิต พวก เพลง Classic ในเครื่องของผม พอมีเหมือนกัน ของเพื่อน เพือนนั่นแหละ ครับเอามาฝากไว้ 555 ส่วนใหญ่เป้นแบบ


เบสิค อะ ครับ ยังไม่ลงลึก เพิ่งหัดฟังเหมือนกัน ครับ 555  ฟังเพราะ มีลูกนี่แหละ จ้า


เห็นเค้าบอกกันว่า เปิดเพลง Classic ให้ลูกฟังแล้วลูกจะฉลาด (จริงป่าวหว่า) 5555  ไอ้เรามันก็ลองดูซักหน่อย ตอนแรก ฟังก็ เฉย เฉย ครับ พอไปไป มา มา ชักชิน 555


แต่ก็ยังไม่ได้ฟังมากมายอะไร ครับ  ....................อิ อิ อิ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 197

Collagen

05/05/2008 21:52:53

ก่อนอื่นผมขอขอบคุณ เฮียมั่นคง คุณเบียส คุณลุงเปี๊ยก คุณพี่ nopphong คุณหมอ คุณสะใจโรคจิต คุณหมูหยอง คุณ Mercury และท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านทั้งที่ประสงค์จะออกนามและไม่ประสงค์จะออกนามที่ ช่วยเป็นกำลังใจให้ผม มีลูกบ้างในการโม้เกี่ยวกับเพลงคลาสสิคมาได้ถึงทุกวันนี้ (ก็ร่วมๆ จะ ครึ่งปีแล้ว)
ในส่วนของกระผมที่มาโม้ในส่วนขจองเพลงคลาสสิคผมก็อาศัยแหล่งข้อมูลจากหลายๆ แหล่งครับ ทั้งจาก Wikipedia, หนังสือ &dquot;ดนตรีแห่งชีวิต&dquot;, หนังสือเรียน แล้วก็สูจิบัตรงานคอนเสิร์ตต่างๆ ครับ รวมกับความมั่วๆ ส่วนตัวของผมครับ ^ ^ ซึ่งอาจจะไม่ตรงใจในบางท่านผมก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ


ในการโม้ครั้งนี้ ก็ยังคงอยู่ที่ประวัติศาสตร์ดนตรีคลาสสิคครับ ซึ่งยุคต่อจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) คือยุคบาโรค (Baroque) ประมาณช่วงปี ค.ศ. 1600 - 1750
ช่วงนี้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ คือ
- โลกเข้าสู่ยุคแสวงหาอาณานิคม ความเชื่อเรื่องโลกแบนได้ถูกลบล้าง ประเทศที่เป็นผู้นำในการแสวงหาอาณานิคมเช่น โปรตุเกส (เริ่มจาก Vasgoda Gama ล่องเรือผ่านแหลง Good Hope ที่แอฟริกาใต้ และไปถึงทวีปเอเชียเป็นผลสำเร็จ) สเปน (ประเทศนี้ไปหาอาณานิคมทางฝั่งอเมริกา หลังจาก Columbus ค้นพบทวีปอเมริกา) และ เนเธอร์แลนด์ (มาทางด้าน เอเชียเช่นกัน แต่ล่องมาทางตะวันออกไกล และอุษาคเนย์)
- ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ในขณะที่ความเชื่อทางด้านศาสนายังคงมีอิทธิพลอยู่
- Galileo, Kepler และ Copernicus เปลี่ยนแนวความเชื่อทางศาสนาที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็น พระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบจักรวาล (ซึ่งภายหลังทั้ง 3 ท่านก็โดนขึ้นศาลศาสนา)
- Isaac Newton ค้นพบทฤษฎีด้านกลศาสตร์ (Mechanics) แรงโน้มถ่วงและแคลคูลัส (Calculus) (แต่จริงๆ ผมและหลายๆ ท่านต้องมาปวดหัวเพราะทฤษฎีของตานี่แหละ)


เข้าเรื่องของดนตรีคลาสสิคดีกว่า....
- คำว่า Baroque ถูกนำมาใช้โดย Jakob Burckhandt โดยตานี้ใช้เรียกสถาปัตยกรรม และจิตรกรรม ซึ่งมีความหมายว่า ศิลปะที่เต็มไปด้วยการตกแต่งรายละเอียดให้มีความลึกซึ้งและให้ความรู้สึกที่อ่อนไหว ซึ่งรวมถึงศิลปะของดนตรีด้วย
- ผลงานดนตรีในยุคบาโรคที่ฟังแล้วให้กลิ่นอายของศิลปะแบบบาโรค จะเด่นชัดในเพลงของ Handel และ Bach
- ในยุคบาโรคตอนต้นดนตรีที่เป็นที่นิยม คือนแนวคีตกวี แนว Monody Style (เพลงร้องทำนองเดี่ยวและมีดนตรีเสียงต่ำคลอประกอบ) ในส่วนของ Polyphony Style ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ยังคงได้รับความนิยมอยู่ตลอดทั้งยุคนี้ ซึ่งปรากฏในบทเพลงประเภท Fugue และ Toccata (อย่างเช่นเพลง Fugue & Toccata ของ Bach)
- แนวดนตรีเริ่มมีการใช้แนวดนตรีที่ดีความนัดกัน (Contrasting) ในส่วนของความช้า-เร็ว, ดัง-เบา ในการบรระลงเพลงเดี่ยว หรือบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งรวมอยู่ในเพลงเดียวกัน โดยเพลงเหล่านี้พบในเพลงประเภท Concerto Grosso, Sinfonia และ Cantata
- เพลงในยุคนี้เริ่มมีความยืดหยุนมากขึ้น ผู้บรรเลงเพลงสามารถใช้ทักษะในการเปลี่ยนแปลงบทเพลง บางส่วน โดยยังคงทำนองหลักของผู้แต่งเพลงไว้ โดยการดัดแปลงนี้เรียกว่า Ornamentation หรือการประดิษฐ์เม็ดพรายตกแต่งทำนอง (แปลไทยแล้วแปลกๆ ดีแฮะ) รวมทั้งดนตรีสามารถบรรเลงเดี่ยวแบบสดๆ ได้ (หรือที่เรียกว่า Improvization)
- ในส่วนของเพลงบรรเลงยังคงได้รับความนิยมเช่นเดียวกับเพลงร้อง
- ในปี ค.ศ. 1637 ได้เกิดดนตรี (และละคร) แนวใหม่ขึ้นที่อิตาลี เรียกว่า Opera หรือ อุปรากร
- เพลงโหมโรง (หรือ Overture) ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้เช่นกัน โดยในช่วงแรกๆ ได้เป็นเพลงบทนำเข้าสู่การแสดงอุปรากร ซึ่งบรรเลงด้วยวง Orchestra ประจำโรงละคร (ตัวอย่างที่หาง่ายๆ ก็ ภาพยนตร์เรื่อง The Phantom of The Opera ครับ เป็นตัวอย่างถึงระบบโรงละครอุปรากรได้ดีเลยครับ) โดยต่อมาเพลงโหมโรง (หรือ Overture) ได้นำมาใช้กับการแสดง Ballet เช่น Swan Lake หรือ 1812 (ผลงานเด่นๆ ของ Tchaikovsky) และได้นำมาใช้กับการแสดงคอนเสิร์ต
- การประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมแต่งเพลงในแนว Contrapunal Style ซึ่งหมายถึง การสลับทำนองจากสูงไปต่ำและต่ำไปสูง ซึ่งมีจดเริ่มมาจากยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (แต่ยังไม่เป็นที่นิยม)
- เริ่มมีการใช้ Major Scale ในแนวเพลงสดใส และ Minor Scale ในแนวเพลงเศร้า ซึ่งในยุคก่อนใช้คำว่า Mode
- เริ่มมีการกำหนดอัตราความเร็วของจังไวะไว้แน่นอน เช่น Allegro (เร็ว), Moderato (ค่อนเข้างเร็ว), Andante (ความเร็วปกติ) และ Largo (ช้า) แต่ในปัจจุบันยังมีอีกหลายคำครับ เช่น Allergetto ซึ่งทางผมจะพยายามหามาเสริมให้ครับ
- เริ่มมีการประพันธ์เพลงลูกผสมระหว่าง Polyphony Style และ Modody Style คือเพลงบรรเลงและมีเสียงต่ำคลอประกอบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรียกเพลงลูกผสมนี้ว่า Basso Continuo โดยเครื่องดนตรีที่เป็นพระเอกของเพลงแนวนี้คือ Harpsichord (ได้รับความนิยมอย่างสูงและเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีชนิดนี้)
- Johann Sebastian Bach ได้กำหนดมาตรฐานความห่างของเสียง และได้ประพันธ์ The well-tempered Clavier ประกอบด้วยชุดเพลง Prelude 24 บท และ Fugues 24 บท โดยเพลงที่แต่งขึ้นมีครบทุกบันไดเสียง...


ในส่วนของเครื่องดนตรีในยุคนี้นะครับ
- เกิดเครื่องดนตรีที่สำคัญคือ เครื่องสีตระกูล Violin (Violin Family) ซึ่งพัฒนามาจากซอ Rebec และ ซอ Vielle
- โดยเครื่องดนตรีในตระกูล Violin ที่เป็นที่นิยมได้แก่ Violin Viola Cello และ Double Bass
- เครื่องดนตรีในตระกูล Violin นี้ ที่ถือว่าเป็นสุดยอดของโลกก็ประดิษฐ์ในยุคนี้เช่นกัน ซึ่งมีอยู่ 3 เจ้า คือ
 1. Stradivarius (หลายๆ ท่านก็ได้ยินชื่อนี้ แต่ผมก็ยังไม่เคยได้ยินเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรียี่ห้อนี้เลย)
 2. Guarnerius (เจ้านี้ เจ้าของเป็นญาติกับเจ้าแรก คาดว่าให้อารมณ์ประมาณ Grado กับ Alessando ครับ ซึ่งทั้ง 2 เจ้าอยู่ที่อิตาลีครับ)
 และ 3. มั่นคง เอ๊ะ...ไม่ใช่ เจ้าที่ 3 คือ Staniner เจ้านี้เป็นของเยอรมัน (หรือไม่ก็ออสเตรีย) ไม่แน่ใจครับ และเจ้านี้ก็ไม่เป็นที่ติดตลาดเท่า 2 เจ้าบนครับ แต่ยี่ห้อมั่นคงก็ติดตลาดครองใจไปนานแล้วครับ ^ ^
- เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Instrument) ได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะ Oboe, Bassoon และ Flute (ต่อมากลายเป็นเครื่องลมทองเหลือง หรือ Brasswind Instrument)
- สุดยอดเครื่องดนตรีอีกชินดก็ได้ประดิษฐ์ในยุคนี้เช่นกันครับ โดยชาวอิตาลีที่ชื่อว่า Bartolomeo Cristofori ได้ประดิษฐ์ Piano-Forte ในช่วงปลายยุคบาโรค ซึ่งเครื่องดนตรีนี้มีชื่อมาจากคำว่า Piano (แปลว่า เบา) และ Forte (แปลว่า ดัง) ซึ่งใช้หลักการ ของเครื่องดนตรีนี้ใช้หลักการเคาะ (หรือตี) สาย มนขณะที่ Harpsichord ในหลักการดีดสาย) ซึ่งเครื่องดนตรีนี้ได้วิวัฒนาการต่อมาเป็น Piano ครับ


คีตกวีที่สำคัญๆ ในยุคนี้ ผมคงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณอะไรมากนะครับ ได้แก่
- Johann Sebastian Bach - ผลงานเด่น Toccata & Fugues in D Minor, Brandenburg Concerto, Air in G-String และ The Well-Tempered Clavier
- Johann Pachelbel - ผลงานเด่น Canon in D
- George Frederick Handel - ผลงานเด่น Water Music, Firework Music
- Antonio Vivaldi - ผลงานเด่น Four Seasons
- Arcangelo Corelli - ผลงานเด่น ผลงานชุด Concerti Grossi


ในยุคบาโรคประวัติศาสตร์ดนตรีก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ ในยุคต่อไป ยุคคลาสสิค (ตอนจบแล้วครับ) โปรดติดตามนะครับ เร็วๆ นี้


ปล. อธิบายศัพท์
Cantata - เพลงศาสนา
Concerto - การบรรเลงเครื่องดนตรีเครื่องเดียวประชันกับวง Orchestra เช่น Violin Concerto หรือ Piano Concerto
Concerto Grosso - การบรรเลงเพลงในวง Orchestra โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มเล่นประชันกัน
Sinfonia - หรือที่เรียกว่า Symphony - การบรรเลงเพลงในวง Orchestra ร่วมกัน


สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกท่านที่อุตส่าห์อ่านมาถึงตรงนี้ครับ ^ ^

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 198

Collagen

06/05/2008 21:03:30

แล้วก็ในวันนี้ ผมขออนุญาตโม้ ปิดในส่วนของประวัติศาสตร์ดนตรีคลาสสิคเลยนะครับ ประวัติศาสตร์ก็ล่วงเลยจากยุคบาโรคเข้าสู่ยุคคลาสสิค (Classic)


ยุคคลาสสิค (Classical) ค.ศ. 1750 - 1820
ในยุคนี้มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ ดังนี้
- เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส โค่นล้มระบอบกษัตริย์ ใน ค.ศ. 1789 ซึ่งการปฏิวัตินี้ถือเป็นแม่แบบของการปฏิวัติรูปแบบการปกครองทั้งในจีนและรัสเซีย
- การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีบทบาทในสังคมมากขึ้น
- โลกเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม


ลักษณะของดนตรีในยุคคลาสสิค
- เพลงบรรเลงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในขณะที่เพลงร้องเข้าสู่ภาวะถดถอย
- เกิดรูปแบบการบรรเลงเพลง Symphony Orchestra ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่ม ได้แก่ เครื่องสาย (เช่น Violin, Viola), เครื่องเคาะจังหวะ (เช่น กลอง, ฉาบ), เครื่องลมไม้ (เช่น Oboe, Bassoon) และเครื่องทองเหลือง (เช่นแตร)
- แนวเพลงที่เป็นที่นิยมคือ Solo Concerto (คือการบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีเดี่ยวประชันกับวง Orchestra) ซึ่งเพลงแบ่งเป็น 3 ท่อน
- การประพันธ์เพลง Concerto หรือ Orchestra มีการนำแบบแผน Sonata-Allergro Form เป็นมาตรฐานในการแต่งเพลง
- รูปแบบดนตรีบริสุทธิ์ (Pure Music หรือ Absolute Music) ได้ถือกำเนิดในยุคนี้ ซึ่งดนตรีบริสุทธิ์มีเจตนารมณ์ในการแสดงเทคนิค การบรรเลงดนตรีที่ไพเราะ  การสอดประสานของท่วงทำนอง การรับ-ส่งระหว่างทำนอง การล้อเลียนเสียงจากท่วงทำนองหนึ่งไปยังอีกท่วงทำนอง แนวเสียงเน้นเสียงตามหลักทฤษฎี และมาตรฐานการแต่งเพลง ทั้งนี้เพื่อคุณค่าทางศิลปะแห่งดนตรี หรือที่เรียกว่า ศิลปะเพื่อศิลปะ (Art for Art)
- การบรรเลงเพลงเปลี่ยนไปใช้การบรรเลงแนว Homophony Style ซึ่งก็คือ การบรรเลงดนตรีที่มีการเล่นดนตรีคลอประกอบเป็นช่วงๆ
- ความวิจิตรบรรจง และความพริ้วไหวของดนตรีมีความพริ้วน้อยกว่าดนตรีในยุคบาโรค
- ในยุคนี้นักประพันธ์มีความเป็นเอกเทศมากขึ้น โดยไม่ต้องยึดติดกับต้นสังกัด (เช่น โบสถ์ หรือชนชั้นปกครอง) ดังนั้นนักแต่งเพลงจึงมีความคิดที่เป็นอิสระและสามารถแสดงอารมณ์ของตนเองลงในบทเพลงได้อย่างเต็มที่
- แนวเพลง Basso Continuo และ Improvization (หรือ Improvisation) ไม่ได้รับความนิยมเฉกเช่นในยุคบาโรค
- มีการจัดระเบียบแนวเพลงอุปรากรใหม่ โดย Christoph Willibald Gluck นักแต่งเพลงชาวเยอรมัน ซึ่งจัดรูปแบบของเพลงอุปรากรให้เป็นแบบแผน ต่อมา ท่าน Gluck ผู้นี้ได้รับสมญานามว่าเป็น บิดา (หรือผู้ปฏิวัติ) แห่งอุปรากร


ในส่วนของเครื่องดนตรี
- Piano มีบทบาทมากขึ้น ในขณะที่ Harpsichord แทบจะเก็บเข้ากรุ
- Charl Philip Emmanuelle Bach (Bach อีกแล้ว) เป็นผู้วางรากฐานการกำหนดมาตรฐานของการบรรเลง Piano


คีตกวีในยุคนี้มีหลากหลายมากมาย เช่น
- Wolfgang Amadeus Mozart
- Ludwig van Beethoven
- Franz Joseph Haydn
- Franz Liszt
- Franz Seraph Peter Schubert
- Nicolo Paganini
- Frederic Chopin
และอื่นๆ อีกมากมายครับ


ดังนั้นแล้วจึงไม่เป็นที่น่าแปลงกใจเลยครับว่า ทำไมเพลงบรรเลงที่ฟังๆ กันอยู่นี้ ถึงได้เรียกว่าเพลงคลาสสิค...


ในส่วนของประวัติศาสตร์ดนตรี ที่ผมนำมาปรับปรุง (ให้งงกว่าเดิม) ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ


ท้ายนี้ผมขอขอบคุณท่านผุ้อ่านทุกๆ ท่านที่ได้ให้กำลังใจ ให้ผมบ้าโม้มาได้จนจบครับ


ขอบคุณครับ...
คารวะ 1 จอก


แล้วก็ โปรดติดตามตอนต่อไปเร็วๆ นี้ครับ....


ปล. แก้คำผิดจากครั้งที่แล้วครับ
1. ในส่วนของ ยี่ห้อของ Violin เจ้าที่ 3 ผมสะกดผิดครับ ที่ถูกต้อง สะกดเป็น Stainer ครับ
2. ในส่วนของ Piano-Forte ผมเข้าใจผิดครับ คือ Piano-Forte ก็คือ Piano ในปัจจุบันครับ ซึ่งได้ตัดคำว่า Forte ออกไป เนื่องจากยาวเกิน ครับ
ผมต้องขออภัยในความผิดพลาดของผมด้วยครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 199

Collagen

07/05/2008 20:14:09

ขอเสริมความเกี่ยวกับ เครื่องดนตรีตระกูล Violin ยี่ห้อ Stradivarius หรือทชื่อเต็มๆ ว่า Antonius Stradivarius ครับ


โดยเครื่องดนตรีตระกูล Violin ซึ่งประกอบด้วย Violin, Viola, Cello และ Double Bass โดยเครื่องดนตรีเหล่านี้ดังที่ผมได้กล่าวไว้ ผู้ผลิตที่ถือว่าเป็นอันดับ Top 3 ของโลกได้แก่ Stradivarius, Guanerius และ Stainer ซึ่งเจ้าของมีชื่อว่า Antonio Stradivari ผู้นี้ได้ศึกษาวิชาการดนตรีจาก Niccolo Amati ที่เมือง Cremona พร้อมๆ กับ Andrea Guarneri ซึ่งผู้นี้เป็นปู่ของ Giuseppe Guarnerin เจ้าของแบรนด์ Guarnerius แต่อย่างไรก็ตามชื่อของ Antionio Stradivari ก็ยังคงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ผลิต Violin ที่สุดยอดที่สุดครับ
เครื่องดนตรีที่ผลิตโดย Stradivari นอกจาก Violin แล้ว ยังมีเครื่องสายประเภท Viola, Cello และ Double Bass ด้วยครับ


นักดนตรีระดับโลก อย่างเช่น Nicolo Paganini ก็ได้ใช้เครื่องดนตรียี่ห้อนี้ในการบรรเลง ซึ่งรับประกันถึงคุณภาพได้ว่าสินค้าจากร้านเฮียมั่นคงดีทุกตัว เอ๊ะจะเขียนอย่างนี้นี่หว่า...... เครื่องดนตรีที่ผลิตโดย Stradivari มีคุณภาพดีและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และได้สถิติไว้ว่าเป็น 1 ในเครื่องดนตรีที่แพงที่สุดในโลกครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 200

เบียส

08/05/2008 14:06:36



555 หูย หูย.... มาเป็นชุด สุด บรรยาย จริง จริง เยี่ยม ครับ คาราวะท่าน 1 จอก เอี๊อก..........อิ อิ อิ อิ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 201

Collagen

08/05/2008 20:40:01



เนื่องในโอกาสที่กระทู้ของผม มีผู้ชมเกิน 7500 คน (ค่อนหมื่น) และกระทู้ที่ตอบไป ถึง 200 Replies ทางผมก็ใครขออนุญาตเฮียมั่นคง และคุณเบียส สมนาคุณกับท่านผู้มีอุปการะคุณกับกระทู้ของผมนะครับ
คือ ผมจะแจกแผ่นเพลงคลาสสิค ให้กับผู้ที่ตอบคำถามนี้ถูกต้องเป็นท่านแรกนะครับ
ผมใคร่ขอเรียนเชิญเฮียมั่นคงและคุณเบียส และท่านอื่นๆ ร่วมสนุกในครั้งนี้ด้วยนะครับ



คำถามนะครับ
นักแต่งเพลงที่หน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับเฮียมั่นคงท่านนี้คือใครครับ?



คำใบ้ 1. ชื่อของนักแต่งเพลงท่านนี้ผมได้โม้เพลงของท่านนี้ไว้แล้ว แล้วก็เป็นที่รู้จักกันพอสมควรด้วยครับ


ผู้ที่ตอบถูกเป็นท่านแรกรับไปเลยครับ แผ่น CD Dr.Sax Chamber Orchestra อัลบั้ม Great compositions for chamber orchestra ซึ่งในแผ่นนี้ประกอบด้วยเพลง
- Mozart Divertimento
- Tschaikovsky Serenade
- Bartok Divertimento


หมดเวลาร่วมสนุกวันพุธที่ 21 พฤษภาคม 2551 เวลา 22.00 น. นะครับ
ประกาศรายชื่อผู้โชคดีวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 (หรือเร็วกว่านั้น หากมีผู้ตอบถูกก่อน)
สำหรับของรางวัล รับได้ที่ร้านมั่งคงสาขาประตูน้ำ (ต้องรบกวนเฮียมั่นคงด้วยนะครับ) วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2551 (หรือเร็วกว่านั้น)
ส่วนผู้ที่ไม่สะดวกมารับ ผมขออนุญาตจัดส่งให้ทางไปรษณีย์นะครับ


ปล. เพิ่งรู้ว่าเฮียมีฝาแฝดเป็นนักแต่งเพลงด้วยนะครับ ^ ^

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 202

Collagen

08/05/2008 20:55:10



ขออนุญาต Post อีกรูปนะครับ เผื่อว่ามองไม่ชัด

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 203

Mercury

08/05/2008 20:56:10

Franz Joseph Haydn ละกันครับ 555+ &dquot;{#emotions_dlg.em132}&dquot;

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 204

เบล

08/05/2008 21:00:47

Ludwig van Beethoven     แน่นอน   ทรงผม แบบนี้

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 205

นายมั่นคง

08/05/2008 21:32:54



ฮือ ฮือ น้ำตาจะไหล...........


ขอบคุณน้อง Collagen มากๆ เลยครับ ที่ช่วยเหลือเฮียมากขนาดนี้ ช่วยเขียนให้ยังไม่พอ ช่วยหารางวัลมาแจกกันอีก...........


ลำพังเว็บเฮงซวยของเฮียก็ไม่ค่อยมีสาระกับเค้าเท่าไหร่นัก  มาได้กระทู้ดีๆๆ ของน้อง Collagen นี่ล่ะ ที่เชิดหน้าชูตาเว็บเฮียจริงๆๆๆ เพราะถ้าหวังแต่กระทู้หรือรีวิวของเฮีย มีแต่รังจะทำให้เว็บติงต๊องไปทุกที


เป็นกระทู้ที่เน้นสาระ ความรู้ ที่อ่านสนุกและน่าติดตามจริงๆๆ


ขอบคุณเท่าไหร่ถ็ไม่พอจริงๆๆๆ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 206

Collagen

08/05/2008 21:55:30

ผมก็ต้องขอขอบคุณเฮียมั่นคงแล้วก็คุณเบียสเป็นอย่างมากเลยครับที่สละเนื้อที่ให้ผมได้มีโอกาสมานั้งโม้ ในส่วนที่ผมแจกรางวัลอันนี้ ผมก็ต้องรบกวนเฮียมั่นคงอีกเช่นที่ต้องขอรบกวนสถานที่ในการแจกของรางวัล อันที่จริงในตอนแรกผมก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีผู้ชมได้มากขนาดนี้ ที่กระทู้ผมมาได้ขนาดนี้ผมก็ต้องขอขอบคุณเฮียมั่นคง คุณเบียส และท่านอื่นๆ ที่คอยสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ผมครับ... ถ้าผมไม่ได้เว็บของเฮียมั่นคงผมก็คงไม่ได้มีโอกาสเหมือนเช่นวันนี้ที่มานั่งโม้ แล้วก็ต้องขอขอบคุณรีวิวดีๆ ของอาเฮียที่ทำให้ผมได้มีความสขุกับเพลงที่ผมชอบทั้งเพลงคลาสสิคและเพลงอื่นๆ ครับ ในส่วนของรางวัลก็ไม่ได้มีราคาอะไรมากมายเท่าไรครับ ผมก็อยากจะตอบแทนให้กับหลายๆ ท่านรวมทั้งเฮียมั่นคง คุณเบียส และท่านอื่นๆ ครับ


ตรงนี้ผมก็ต้องขอขอบคุณอาเฮียมากๆ เลยครับ...


ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ


ปล. สงสัยผมต้องไปหารางวัลมาเพิ่มอีกสักหน่อยดีกว่า ^ ^

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 207

Collagen

08/05/2008 22:41:07

คำใบ้อีกนิดนะครับ ปกติรูปของท่านนี้ที่เห็นจนชินตามักจะเป็นรูปที่ใส่วิกครับ รูปนี้เป็นรูปที่ไม่ได้ใส่วิกนะครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 208

JoMoRo

08/05/2008 23:15:48

ผมตอบว่า George Frideric Handel ล่ะกันครับ


เพราะหน้าเหมือนคนข้างบ้านมากๆ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 209

JoMoRo

08/05/2008 23:39:55

ขอเพิ่มเติมรายละเอียด George Frideric Handel  คีตกวีชาวเยอรมัน(แต่ต่อมาได้เปลี่ยนสัญชาติเป็นอังกฤษ) เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ปี 1685 (ปีเดียวกัน บาทหลวงเดอ ชัวสี ตาซารต์ ทูตพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยใน สมัยพระนารายณ์ )หลังๆมันเกียวอะไร..


ผมขอตอบอีกครั้งว่า คุณ Handel แน่นอน


 

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 210

SaviouR

09/05/2008 08:04:33

ขอมั่วด้วยคนครับว่าเป็น


Johann Chrysostom Wolfgang Amadeus Mozart

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 211

nopphong

09/05/2008 10:57:29

ต้องเป็น


http://www.siamzone.com/music/thailyric/index.php?mode=artistlist&artist=%21%21bacdc220e2a1cad4c2bea7c9ec&dquot;>บอย โกสิยพงษ์


แน่นอน ฟันธง อิอิ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 212

nopphong

09/05/2008 11:28:06



อ้าวลิ้งมันติดมาได้ไงขอออภัยครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 213

yuro

09/05/2008 11:55:40

ผมว่าต้องเป็น เฮียมั่นคง


หน้าเหมือนเฮียอย่างนี้จะเป็นใครไปได้ ฟันธง อิอิ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 214

เบียส

09/05/2008 11:56:17



555 เยี่ยมไปเลย ครับ 555 ขอบคุณ คุณ Collagen แทนทุกท่าน ด้วย คนครับ 


ขอบคุณที่แวะมาช่วยสร้างสีสันให้ Web เป้นระยะ ระยะ  ขอบอกได้ คำเดียวว่า คุณ


Collogen   ซู๊ด...ดด   ยอ...ดด       อิ อิ อิ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 215

5fbcq

09/05/2008 18:35:19

Handel อย่างที่คุณ Jomoro ตอบแหละครับ ^^

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 216

Collagen

09/05/2008 21:56:58

อ่าาาาา เฮียมั่นคงอุตส่าห์โปรโมท กระทู้อัน้อยนิดของผมซะมโหฬารขนาดนี้ ผมก็ขออนุญาตแจกอีก 1 รางวัลนะครับ
แต่รางวัลนี้คงไม่ได้เกี่ยวข้องกับเพลงคลาสสิคสักเท่าใดนะครับ โดยของรางวัลรอบนี้เป็น
DVD Consert &dquot;Music for Monserrat&dquot; ครับ โดยแสดงที่ The Royal Albert Hall เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ปี 1997 (เก่าดี)
ซึ่งมีนักร้องคุณภาพอย่าง Eric Clapton, Phil Collins, Sir Elton John, Sir Paul McCartney ร่วมแสดงด้วย


ในส่วนของคำถามผมก็ขอเป็นคำถามเดิมนะครับ แต่ในรอบนี้ ผมขออนุญาตเปลี่ยนกติกานิดหน่อยนะครับ โดยอธิบายดังนี้
1. ท่านที่ตอบคำถามถูกเป็นท่านแรก ได้รางวัลไปแน่ๆ ครับ และเลือกได้ครับว่าจะรับรางวัลไหน
2. สำหรับท่านที่ตอบถูกเป็นอับดับ 2 ไปเรื่อยๆ ผมขออนุญาตสุ่มรายชื่อผู้โชคดีนะครับ


ท้ายนี้ผมขอขอบคุณทุกๆท่านที่ร่วมสนุกกับกิจกรรมในครั้งนี้ แล้วก็ที่สำคัญอย่างยิ่งคือเฮียมั่นคงและคุณเบียส ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดกิจกรรมบ้าๆบอๆ ครั้งนี้ครับ
ขอบคุณมากๆ ครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 217

bankhalkdown

10/05/2008 17:29:39

George Frideric Handel ครับ


นักประพันธ์ ชาว เยอรมันชัวร์คับ อิอิ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 218

Collagen

10/05/2008 21:16:30

ของรางวัล ในวันนี้ผมได้นำไปฝากไว้ที่ร้านมั่นคงสาขาประตูน้ำแล้วครับ ซึ่งในจุดนี้ผมต้องขอขอบคุณ เฮียเบียส คุณปิงปิง พี่โอ๊ค เป็นอย่างมากเลยครับ...


ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับหูฟังดีๆ ที่ผมได้ลองในวันนี้ แล้วก็คำแนะนำดีๆ รวมทั้งกำลังใจครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 219

auintei

11/05/2008 18:43:14

George Frideric Hande นะละครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 220

นายมั่นคง

11/05/2008 21:14:40



เอ้า เพื่อร่วมสนุกกับ Collagen ผมเพิ่มรางวัลเป็น Sennheiser MX400 1 ตัวครับ  น้อง Collagen ถ้ามาอ่านเจอ ก็จัดการเรื่องของรางวัลได้เลยครับ จะแจกยังไงก็สุดแท้แต่น้อง Collagen ละกันครับ


เอ้า รางวัลเพิ่มอีก 1 รายการแล้วเด้อ


Sennheiser MX400   ใครก็สามารถร่วมสนุกได้นะครับ 555


ของรางวัลชิ้นนี้รับได้ที่ประตูน้ำเช่นกันคร้าบบบบ


555

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 221

Collagen

11/05/2008 21:34:45

โอ้.... ขอขอบคุณเฮียมั่นคงมากเลยครับ ฮือ...ฮือ.... น้ำตาจะไหล ซึ้งใจเป้นอย่างยิ่งเลยครับ ที่เฮียให้ความเมตตากับกระทู้น้อยๆ ของผม T-T ผมปลื้มใจอย่างสุดซึ้ง เลยครับ ทั้งในเรื่องการแนะนำสินค้าที่ให้ผมได้สินค้าในสิ่งที่ผมชอบในราคาที่เหมาะสมหรือแม้กระทั่ง การบริการหลังการขายของหูฟังตัวต่างๆ และ Player ด้วยครับ... ผมรู้สึกรบกวนแล้วก็เกรงใจเฮียมั่นคง เฮียเบียส คุณตั่วปุ๊ย คุณลุงเปี๊ยก แล้วก็พนักงานร้านเฮียหลายๆ ท่านมาเลยครับ ทั้งพี่โอ๊ค พี่ปิงปิง พี่โม และลูกค้าอีกหลายๆ ท่านที่ให้คำแนะนำแก่คนเล่นหูฟังตัวบางๆ อย่างผม และสุดท้ายผมต้องขอบคุณ เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งของผมที่แนะนำร้านนี้ และ หูฟัง iPod ของผม ถ้าหากว่ามันไม่หาย ผมก็คงไม่ได้รู้จัก สุดยอดร้านหูฟัง อย่าง &dquot;ร้านมั่นคง&dquot; ครับ...


ปล. เพลงคลาสสิคในส่วนของผม ผมจะทยอยเอาแผ่นไปให้ทางคุณปิงปิง Rip นะครับ


ปล. 2 ผมว่า ผมต้องหาเวลาว่างๆ สักวันเข้าไปคารวะเฮียมั่นคง นะครับ...

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 222

ทอง

12/05/2008 16:49:30

เล่นด้วยคนนะครับ...George Frideric Hande (จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล )....ตอบไปไม่รู้กี่คนแล้ว

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 223

สมัครเล่น

12/05/2008 17:58:11

ฮ๊า เลลูยา ฮาเลลู้ยา ฮาเร่ลูยา


&dquot;{#emotions_dlg.smile}&dquot;


 

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 224

โนริสาหร่าย

12/05/2008 20:29:04

George Frideric Hande (จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล )

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 225

unclepiak

13/05/2008 13:55:38

โผล่มาแสดงตัวว่าตามอ่านอยู่ครับ *: )
ขอชื่นชม Collagen ในน้ำจิตน้ำใจ ในความสุภาพ ในอัธยาศัยที่น่ารักต่อทุก ๆ คน บทความที่เขียนมาทั้งหมด มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก ๆ ทั้งกับผู้เริ่มต้น และผู้ที่สนใจเช่นผม นับเป็นอุตสาหะที่ควรต่อการแสดงความชื่นชมจากใจครับ


สุดยอดดดดด !


 

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 226

the แพะ

13/05/2008 14:04:06

ทำไมๆ ไม่ทายแนว gothic บ้างอ่า &dquot;{#emotions_dlg.smile}&dquot;  แต่ขอ คารวะ ให้คุณ Collagen จริงๆครับ สุดยอดมากๆ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 227

นายมั่นคง

13/05/2008 20:16:43



เอ้า เฮียขอคารวะต่อจากเฮียเปี๊ยกมั่ง...........


ผมเองยอมรับเลยครับ ว่าการเอาความรู้ต่างๆ ในด้านดนตรีคลาสสิคมาถ่ายทอดให้อ่านกันถึงในมุ้งแบบนี้ และใช้ความยาวนานต่อเนื่องแบบนี้ ผมบอกตามตรง ผมเห็น Collagen เป็นคนแรก และเป็นคนเดียว


เพราะอะไร ?????


การทำบทความตามหนังสือ หรือตามสถานที่อื่นๆๆ นั้น มักจะมีผลตอบแทน มีค่าแรงไม่มากก็น้อย บางคนรับทำบทความเป็นอาชีพด้วยซ้ำไป


แต่ !!!! Collagen ทำฟรีๆๆๆ ครับ ผมสาบานได้ว่า ไม่เคยเสนอค่าแรงหรือรางวัลให้ Collagen เลย แถมน้อง Collagen ยังต้องมาเสียสตางค์ในการเอานู่นเอานี่มาแจกอีก...


Collagen เป็นน้องที่สุภาพ อ่อนน้อม เป็นเด็กใสๆๆ ที่อนาคตยังอีกไกลนัก ขอให้น้องประสพความสำเร็จในชีวิตทุกด้านด้วยเทอญ...............


คารวะอีกหน...........

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 228

Collagen

13/05/2008 21:17:17

เล่นเอาผมเขินไปเลยครับ &dquot;{#emotions_dlg.em185}&dquot;...


ผมว่าเฮียมั่นคงก็กล่าวเกินไป....เขินเลย ผมก็แค่คนบ้าๆ บอๆ เท่านั้นเองครับ อันที่จริงผมต้องขอบคุณทางเฮียมั่นคงและท่านอื่นๆ มากกว่าที่เปิดโอกาสให้ผมได้มีโอกาสมาขีดๆ เขียนๆ เรื่องราว บ้าๆ บอๆ เกี่ยวกับเพลงคลาสสิค ซึ่งผมก็ว่าไปเรื่อยๆ ครับ เผื่อว่าจะมีคนมาสนใจเพลงคลาสสิคมากขึ้น เพราะผมก็เชื่อว่าเพลงคลาสสิกก็เป็นเพลงที่ฟังได้ง่ายๆ ทั่วๆไป ครับ ไม่จำเป็นต้องไต่กระไดฟังหรอกครับ...


ท้ายนี้ผมก็ขอขอบคุณมากๆ เลยครับ


ปล. ขอขอบคุณคุณแพะด้วยครับที่ Copy ข้อมูลไปที่ ear-hifi ด้วยครับ (จะได้สะดวกต่อการค้นหา)

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 229

ทอง

19/05/2008 07:56:24

สู้ต่อไป คุณ Collagen...&dquot;{#emotions_dlg.laughing}&dquot;

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 230

เบียส

19/05/2008 12:16:43



555 แวะมาคาราวะมั่ง ครับ เอ้า คำนับครั้งที่ 1 เอ๊ย!! 5555 ช่าย ครับ คุณ Collagen นี่แก เป็นคนจิตใจงดงาม ครับ คุยด้วยกี่ครั้งก็


รู้สึกประทับใจในรอยยิ้มทุกครั้งไป ครับ 5555


และกระทู้ี่ผ่านร้อนหนาวมาจนถึงตอนนี้ได้เนี่ย ก็ถือ สุดยอดละ ครับ ยังไงก้ขอ คาราวะอีก 1 จอกก็แล้วกัน ครับ เอี๊อก !!! .............อิ อิ อิ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 231

Collagen

21/05/2008 21:05:07

ตอนนี้ก็หมดเลยในส่วนของการเล่นเกมส์แล้วครับ ผมก็ขอเฉลยคำถามร่วมสนุกนะครับ


คำเฉลยของ คำถามที่ผมถามนะครับ นักแต่งเพลงท่านนี้ก็คือ George Frederick Handel ครับ

ผมก็ขออนุญาตเขียนถึงชีวประวัติของท่านสักหน่อยนะครับ
Handel เกิดที่เมือง Halle ในแค้วน Turingen เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 (พ.ศ. 2228) ซึ่งเกิดในปีเดียวกับ Johann Sebastian Bach และ Domenico Scarlatti ในช่วงเด็ก บิดาของ Handel มีความต้องการให้ Handel เรียนกฏหมาย ถึงแม้ว่า Handel มีความสามารถในการเล่น Organ มาตั้งแต่เด็ก และเมื่ออายุได้ 10 ปี การเล่น Organ ของ Handel ได้ประทับใจ Duke Johann Adolf of Weisenfels แต่ถึงกระนั้นบิดาของ Handel ก็ยังต้องการให้เรียนกฏหมาย และ Handel ก็ได้สืบสานความต้องการของบิดาและได้เรียนกฏหมายที่ University of Halle แต่ในภายหลัง Handel ก็หันมารับงานด้านดนตรีเพียงอย่างเดียว

งานแรกของ Handel ในอาชีพดนตรีคือการเป็นนักเล่น Organ ที่โบสถ์ในเมือง Halle หลังจากนั้นในปี 1703 (บางแห่งกล่าวว่าเป็นปี 1704) Handel ได้ลาออกจากการเป็นนัก Organ และเดินทางไปยังเมือง Hamburg ซึ่งเป็นศุนย์กลางทางดนตรีของเยอรมัน โดย Handel ได้เริ่มงานด้วยการเป็นนัก Violin ประจำโรงอุปรากรที่เมืองนี้ และได้เป็นนักเล่น Harpsichord ต่อไป Handel ได้แต่งอุปรากร 2 เรื่องแรก ได้แก่ Almira และ Nero สำเร็จในปี 1705 โดย Almira เป็นอุปรากรเรื่องแรก แต่งเป็นภาษาเยอรมัน 44 ตอน และ อิตาเลียน 15 ตอน ในระยะแรกได้รับความนิยมพอสมควร แต่นานไปๆ ก็หมดความนิยม โดยผู้คนเริ่มมีความนิยมในอุปรากรอิตาเลียน ซึ่งทำให้ Handel เดินทางไปยังอิตาลี ในปี 1706 - 1709 โดยได้พำนักที่ Rome, Florence และ Naplesตามคำเชิญชวนของ Gian Gastone de&squot; Medici และได้ประลองฝีมือกับ Scarlatti ซึ่งผลปรากฏว่าในการแข่ง Harpsichord ผลเสมอกัน แต่ในส่วนของ Organ แล้ว Handel ชนะขาด
ในปี 1709 Handel เดินทางมายังเมืองเวนิช เพื่อเตรียมการแสดงอุปรากรเรื่อง Agrippina ในเมืองนี้ Handel ได้พบกับ Prince Ernst August อนุชาของผู้ครองแคว้น Hannover ตลอดจน Duke of Manchester ผู้ดำรงตำแน่งทูตอังกฤษประจำราชสำนักเวนิช ซึ่งทั่งสองได้เสนอให้ Handel มาทำงานทั้งใน Hannover และ London โดย Handel ตกลงใจไปทำงานที่ Hannover ก่อน โดยมีข้อแม้ว่าเขามีสิทธิ์ที่จะลาไป London ได้ในตามที่ต้องการ
ในปี 1710 Handel มารับตำแน่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำราชสำนัก Hannover  และต่อมาในปีเดียวกันเขาก็ขอลาเดินทางมายังกรุง London ซึ่งในขณะนั้นกระแสความนิยมอุปรากรอิตาเลียนยังคงได้รับความนิยมอย่างสูง ระหว่างที่พักอยู่ใน London ทาง Handel ได้เขียนอุปรากรเรื่อง Rinaldo ขึ้นและประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หลังจากที่เดินทางมาที่ London ได้ 6 เดือน Handel ได้กบับไปทำงานตามเดิมที่ Hannover ซึ่งในขณะนั้นเมือง Hannover เป็นเมืองขนาดกลางๆ ไม่ใหญ่โตหรูหราเท่ากรุง London โดย Handel เห็นว่าเขามีโอกาสที่จะได้รับชื่อเสียงและเงินทองมากมายในนครหลวงของอังกฤษมากกว่าที่ Hannover ซึ่งรายได้ที่เมือง Hannover มีเพียงเงินรายปีเท่านั้น
ดังนั้นในปี 1712 Handel ได้ขอลาไปอังกฤษอีกครั้ง โดยมีเงื่อนไขว่าจะไปในเวลาพอสมควร แต่ในคราวนี้ Handel ไปแล้วไปเลย โดยไม่กลับมายัง Hannover อีก ชีวิตใน London ทาง Handel ได้แต่งอุปรากรขึ้นมาอีกและมีรายได้ปีละ 200 ปอนด์ (เงินในสมัยนั้น ก็ถือว่ามากพอสมควร) จากพระราชินี Anne ในการแต่งเพลงถวาย ซึ่ง Handel พักอยู่ที่ London 2 ปี โดยไม่คิดที่จะกลับไป Hannover อีกเลย แล้วความเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อพระราชินี Anne เส็ดจสวรรคต แล้วเจ้านายเก่า (ผู้ครองแคว้น Hannover) ได้เป็นกษัตริย์อังกฤษโดยมีพระนามว่า King George I ซึ่งทำให้ Handel ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก แต่ทว่า Handel ก็ขอคืนดีกับพระเจ้า George ที่หนึ่งโดยแต่งเพลง Water Music ถวายระกว่างเสด็จประพาสแม่น้ำเทมส์ ซึ่งทำให้ Handel กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้ากรุงอักฤษอีกครัง และพระองค์ได้พราะราชทานรายได้อีกเท่าตัวนอกจากนี้ Handel ยังมีรายได้จากคนอื่นๆ อีก
ในปี 1723 Handel ได้ย้ายไปอยู่ในบ้านใหม่ที่ 25 Brook Street London ซึ่งเป็นบ้านเช่าและได้เช่าอยู่จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1759 (ต่อมาบ้านหลังนี้ได้ดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ Handel และได้เปิดในปี 2001)
ในปี 1727 พระเจ้า George II แห่งอังกฤษได้ขึ้นครองราชย์ ทาง Handel ได้แต่งเพลงในพระราชพิธีราชาภิเษก ซึ่งเพลง Zadok the Priest (เป็นบทเพลงหนึ่งในชุดนี้) ได้กลายเป็นเพลงที่มีการบรรเลงทุกครั้งเมื่อมีพิธีราชาภิเษก
ในระหว่างที่ Handel พำนักอยู่ที่อังกฤษ Handel ได้แต่งอุปรากรมากกว่า 45 เรื่อง และได้ออกแสดงทั้งในอังกฤษและยุโรป โดยอุปรการของ Handel มักมีปัญหากับนักร้องนากเอกเสมอๆ แต่สุดท้าย Handel มักจะเป็นฝ่ายชนะ เนื่องจากท่าที่ที่ไม่ค่อยจะยอมทำตามนักร้องที่ต้องการแก้บทเพลง
หลังจากประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน ความนิยมในอุปรากรอิตาเลียนก็เสื่อมลง โดยผู้คนหันมานิยมอุปรากรที่ร้องเป็นภาษาอังกฤษและมีเนื้อเรื่องในลักษณะล้อเลียนเสียดสี ทำให้บริษัทจัดการแสดงอุปรากรแบบอิตาเลียนของ Handel แทบล้มละลาย ถึงแม้ว่าจะเพิ่มทุนเข้าไปอีก 10,000 ปอนด์ ก็ไม่สามารถทำให้สถานะทางการเงินดีขึ้น
เมื่ออุปรากรแบบอิตาเลียนไม่มีทีท่าว่าจะกลับมารุ่งเรืองได้อีกทาง Handel จึงหันมาแต่งเพลง Oratorio ซึ่งเป็นเพลงศาสนา โดยเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Messiah ซึ่งได้แต่งขึ้นในปี 1741 และนำออกแสดงครั้งแรกในวันที่ 13 เมษายน 1742 โดยเพลงนี้ใช้เวลาแต่งเพียง 24 วัน การแสงดครั้งแรกของเพลงนี้แสดงที่ New Musick Hall ที่ถนน Fishamble เมือง Dublin โดยมีเด็กชาย 26 คน และบุรุษ 5 คน จากวงประสานเสียง St. Patrick&squot;s and Christ Church (Choir of St. Patrick&squot;s and Christ Church) บรรเลงเพลงนี้ เมื่อพระเจ้ากรุงอังกฤษได้ฟสดับก็ทรงเต็มตื้นด้วยความรู้สึกในท่อน Hallujah Chorus จนถึงกับทรงลุกขึ้นยืน และนับแต่นั้นเป็นต้นมาก็กลายเป็นธรรมเนียมที่ผู้ฟังจะลุกขึ้นยืนเมื่อมีการบรรเลงเพลงนี้ถึงท่อนทำนองนั้น
โดยเพลง Messiah ได้กลายเป็นเพลง Ortorio สำหรับบรรเลงในช่วงคริสต์มาสและร้องกันตามโบสถ์ต่างๆ จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเป็นเพลงที่ก่อให้เกิดความรู้สึกประทับใจและยิ่งใหญ่เพราะเต็มไปด้วยความรู้สึกจริงใจ มีความผ่าเผย และโน้มน้าวให้เกิดความรู้สึกทางศาสนา ครับ...
ในปี 1749 Handel ได้แต่งเพลง Music for Royal Fireworks ซึ่งมีการจุดพลุในเรือกลางแม่น้ำเทมส์ (หากใครได้ชมภาพยนตร์เรื่อง Shanghai noon - ถ้าผมจำไม่ผิด ที่ Jackie Chan เล่นคู่กับ Owen Wilson โดยเนื้อกล่าวถึงประเทศอังกฤษในยุค Victoria ก็มีฉากการจุดพลุกลางแม่น้ำเทมส์) โดยการแสดงครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมฟังถึง 12,000 คน และมีรายงานผู้เสียชีวิต 3 คน และ 1 ในนั้นเป็นนักดนตรี
ในเดือนสิงหาคม ปี 1750 ระหว่างการเดินทางจากเยอรมันี กลับไปยังกรุง London Handel ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทางจากกรุง Hague และเมือง Haarlem ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อมาในปี 1751 Handel สูญเสียการมองเห็น และตาบอดไป 1 ข้าง
ชีวิตในช่วงสุดท้ายของ Handel แม้ว่าเขาจะมีชื่อเสียง และได้รับการอุปถัมภ์เป็นอย่างดีจากกษัตริย์ของอังกฤษ แต่การดำเนินชีวิตก็เป็นไปอย่างเรียบง่ายกับเพื่อนสนิท 2-3 คน เขามักจะนั่งดื่มเบียร์และสูบกล้องยาเส้นอยู่เงียบๆ ในฐานะที่เป็นคนโสดมาทั้งชีวิต
เขามีความหวังว่า หากตากจะของตายในวัน Good Friday และในวันที่ 13 เม.ย. 1759 (พ.ศ. 2302) ซึ่งเป็น Good Friday นักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ก็ได้จากไปเมื่ออายุได้ 74 ปี โดยศพของเขาได้ฝังรวมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงต่างๆ ของอังกฤษที่ มหาวิหาร Westminster โดยมีบทเพลงมากกว่า 600 บทเพลงที่ Handel ได้ทิ้งไว้เป็นมรคก...
หากท่านในสนใจว่าผลงานของ Handel มีอะไรบ้าง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_compositions_by_George_Frideric_Handel ครับ

ปล. เสริมความ Good Friday ครับ Good Friday คือวันศุกร์ก่อนวันฟื้นคืนชีพของพระเยซู (หรือวัน Easter ซึ่งหมายถึงวันอาทิตย์หนึ่งหลังจากพระจันทร์เต็มดวง เมื่อฤดูใบไม้ผลิได้ผ่านไปของแต่ละปี) Good Friday เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเยซูถูกตอกตรึงไม้กางเขน ในวันนี้จะงดการรับประทานเนื้อสัตว์ และในโบสถ์ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิคตะไม่มีการประกอบพิธีมิสซาครับ....

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 232

Collagen

21/05/2008 21:15:48

สำหรับผู้ที่ตอบถูกเป็นท่านแรก ก็คือคุณ JoMoRo ครับ
และท่านที่ตอบถูกท่านอื่นๆ ได้แก่ คุณ bankhalkdown,  คุณ 5fbcq, คุณ auintei, คุณทอง และ คุณโนริสาหร่าย ครับ

ซึ่งตามกติกา ผมขอสงวนสิทธิ์ในของรางวัลโดยให้คุณ JoMoRo เป็นผู้เลือกก่อนนะครับ
โดยของรางวัลได้แก่
1. CD Dr.Sax Chamber Orchestra อัลบั้ม Great compositions for chamber orchestra
2. DVD Consert &dquot;Music for Monserrat&dquot;
3. หูฟัง Sennheiser MX-400 (ที่อนุเคราะห์โดยเฮียมั่นคง)
4. รางวัลปลอบใจ

ในส่วนนี้ผมคิดๆ ดูแล้วครับ ก็แจกให้กับผู้ที่ตอบถูกทุกท่านเลยดีกว่า แต่ผมขอสงวนสิทธิ์ในของรางวัลโดยให้คุณ JoMoRo เลือกก่อน และในส่วนรางวัลที่เหลือผมขออนุญาตสุ่มรายชื่อผู้โชคดีครับ

ในส่วนของคุณ JoMoRo ผมขอรบกวนคุณ JoMoRo ตอบกลับว่าจะเลือกรางวัลใด ภายในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม 2551 เวลา 21.30 น. นะครับ หากหลังจากนั้น ผมขออนุญาตสุ่มรางวัลให้ครับ


สำหรับท่านอื่นๆ รบกวนแจ้งความจำนงว่าจะรับรนางวัลที่ร้านเฮียมั่นคงสาขาประตูน้ำหรือจะให้จัดส่งไปครับ



ขอบคุณครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 233

Collagen

21/05/2008 21:27:36

ต้องอีก Post ท่านที่ตอบถูกใดที่มีเมลล์แจ้งไว้ในเว็บนี้แล้ว ผมขออนุญาตส่งเมลล์ไปแจ้งทาง e-mail นะครับ


ปล. e-mail ผม (ไม่เป็นทางการ) matrixmetalloproteinase แอด yahoo จุด คอม ครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 234

Collagen

21/05/2008 21:56:50

ในส่วนของของรางวัลของท่านอื่นๆ ผมขออนุญาตประกาศในวันที่ 22 พ.ค. 2551 เวลา 22.00 น. นะครับ


ในส่วนของคุณ JoMoRo, Auinteiม ฺBankhalkdown และคุณ โนริสาหร่าย ผมได้ส่ง e-mail ไปให้แล้วนะครับ ตาม e-mail ที่ได้แจ้งไว้ในเว็บนี้ครับ


รบกวนคุณทองและคุณ 5fbcq ช่วยตอบกลับมาด้วยนะครับว่าสะดวกรับรางวัลอย่างไรครับ


 

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 235

auintei

21/05/2008 22:13:12

มีชื่อผมด้วยแหะ ผมคงเป็นจัดส่งนะครับ ที่อยู่ผมเฮียก็มีครับ ช่วงนี้ร้อนแรง


เดี๋ยวรายละเอียดจะมาบอกนะครับขอตัวไปกินข้าวก่อน หิวจนลมออกหูแล้ว&dquot;{#emotions_dlg.em133}&dquot;


 


ขอบคุณคุณ Collagen เป็นอย่างมากครับที่เมลล์มาผมเห็นจากเมลล์นี่ละ


ขอบคุณสำหรับน้ำใจในการแบ่งปันด้วยครับ...ผมดีใจที่อย่างน้อยผมได้รู้จักคนอย่างคุณ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 236

JoMoRo

21/05/2008 23:04:57

อย่างแรกผมก็ต้องขอขอบคุณคุณ Collagen ที่จัดกิจกรรมดีดีขึ้นให้ พวกเรารวมสนุกกัน แล้วที่ขาดไม่ได้ก็คือ เฮียมั่นคง ที่ทำให้มีเว็บบอร์ดดีดีให้เราแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆกัน ขอบคุณมากๆนะครับ&dquot;{#emotions_dlg.em123}&dquot;


ผมขอเลีอกเป็น หูฟัง Sennheiser MX-400 แล้วกันนะครับ&dquot;{#emotions_dlg.em132}&dquot;


ผมคงจะให้จัดส่งมาล่ะกันนะครับ ที่อยู่ผมจะส่งไปให้ทาง mail ที่ได้รับข้อความมานะครับผม


สุดท้ายก็ต้องขอขอบคุณ ณ ที่นี้ด้วยครับ&dquot;{#emotions_dlg.em173}&dquot;

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 237

โนริสาหร่าย

22/05/2008 00:36:38

ผมจะไปรับของรางวัลเองที่ พันทิปประตูน้ำนะคับ จะเข้าไปเอาพร้อมkoss35 ขอบคุณ ท่านCollagen มากคับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 238

Collagen

22/05/2008 20:58:39

ผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลจากการร่วมสนุกครับ...


ทางคุณ JoMoRo ได้ตัดสินใจเลือก รางวัลหูฟัง Sennheiser MX-400 ไป
ในส่วนของรางวัลที่เหลือ ผมได้ส่มรายชื่อและขอประกาศรายชื่อผู้โชคดีดังนี้ครับ


1. หูฟัง Sennheiser MX-400 ผู้ที่ได้รับรางวัล ได้แก่คุณ JoMoRo
2. CD Dr.Sax Chamber Orchestra อัลบั้ม Great compositions for chamber orchestra ได้แก่คุณ ทอง
3. DVD Consert &dquot;Music for Monserrat&dquot; ได้แก่คุณ Bankhalkdown
4. รางวัลปลอบใจ ได้แก่ คุณ โนริสาหร่าย, คุณ Auintei และคุณ 5fbcq ครับ


ในส่วนของคุณ JoMoRo และคุณ Auintei และคุณ โนริสาหร่าย ผมจะประสานกับทางเฮียมั่นคงเพื่อจะได้จัดส่งของรางวัลให้ถึงที่เลยครับ
ส่วนของคุณ ทอง, คุณ Bankhalkdown, คุณ 5fbcq สามารถรับของรางวัลที่ได้ร้านเฮียมั่นคงสาขาประตูน้ำ ได้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไปครับ


ท้ายนี้ผมก็ขอบขอบคุณทุกๆ ท่านที่ร่วมสนุกในครั้งนี้ครับ และขอขอบคุณเฮียมั่นคงและหลายๆ ท่านที่อนุเคราะห์ของรางวัลรวมทั้งเวลาและสถานที่ในการจัดกิจกรรมรวมสนุกครับ


ปล. รบกวนทางคุณทอง คุณ Bankhalkdown และคุณ 5fbcq ติดต่อกลับเพื่อรับของรางวัลด้วยนะครับ ถ้าหากหลังวันที่ 10 มิ.ย. 2551 ยังไม่มีผู้ไปรับรางวัลผมขอสงวนสิทธิ์ในการนำของรางวัลไปมอบให้กับผู้อื่นครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 239

นายมั่นคง

22/05/2008 21:11:54



เย้....Collagen บอกเฮียด้วยนะว่าจะให้ส่งระเบิด เอ๊ย ...ส่งหูฟังไปให้ใคร ที่อยู่อะไรด้วยล่ะ 555

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 240

ทอง

23/05/2008 18:44:36

ขอบคุณมากครับทีหาเกมส์มาให้เล่น ขออนุญาติไปรับแผ่นในวันจันทร์ ที่ 26 แต่สงสัยว่าจะยืนยันตัวยังไงดี ผมลง email ไว้ละกันครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 241

Collagen

23/05/2008 22:05:05

ได้เลยครับ คุณทอง ในวันพรุ่งนี้ผมจะได้ประสานงานกับทาง Staff ของร้านให้ครับผม...

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 242

ทอง

26/05/2008 13:24:36

รับของมาแล้วครับ ขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้องมากๆๆ ซื้อแผ่นจาก โรงเรียนดนตรีที่เซนทรัลปิ่นเกล้าหรือเปล่าครับ คุณ Collagen

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 243

Collagen

26/05/2008 20:56:40

เปล่าครับคุณทอง แผ่นนี้ผมซื้อมาจากร้านที่ Siam Paragon ครับ... ^ ^

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 244

JoMoRo

27/05/2008 21:52:09

ได้รับของแล้วนะครับ


ต้องขอขอบคุณ เฮียมั่นคง กับหูฟังSennheiser MX-400 มากครับ


แล้วก็ขาดไม่ได้เลยคุณ Collagen กันกิจกรรมนี้ครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 245

Collagen

04/06/2008 22:25:34

หลังจากที่ประกาศรางวัลไป ผมก็หายไปพร้อมกับของรางวัลที่แจกให้หลายๆ ท่าน ซึ่ง ในวันนี้ผมขอโม้นอกเรื่องหน่อยนะครับ
ในวันนี้จะขอโม้เรื่องที่อาจจะเกี่ยวข้องกับดนตรีคลาสสิคแบบอ้อมๆๆ หน่อยนะครับ


คำเตือนก่อนอ่านบทความนี้: บทความนี้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชน กรุณาใช้วิจารณญาณก่อนการอ่าน (ถ้าเฮียเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ลบได้เลยนะครับ)


ในการบรรเลงดนตรีคลาสสิคบางครั้งก็บรรเลงพร้อมกับงานรับประทานอาหรแบบไฮโซ..... หรือที่เรียกว่า กาล่าดินเนอร์ ครับ (ในชาตินี้ยังไม่เคยไปสักครั้ง)
ซึ่งนอกจากอาหารที่ยกมาที่โต๊ะแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหน่อยไปกว่ากันก็คือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือที่เรียกภาษาทั่วไปว่า เหล้า นั่นเองครับ....


โดยทั่วไป การเสิร์ฟบรรดาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้ก็มีศัพท์ และช่วงเวลาในการเสิร์ฟที่แตกต่างกันครับ คือ
1. Apéritif คือ เหล้าก่อนอาหาร
2. Vins de Desserts คือ เปล้าหลังอาหาร
แต่ระหว่างรับประทานอาหารจะไม่มีการเสริฟเหล้าครับ เนื่องจากเป็นการรบกวนการรับประทาน ครับ


 การแบ่งประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สามารถแบ่งได้หลายประเภทครับ โดยในการเสริฟแขกผู้มีเกียรติในงานสังคมชั้นสูง มีการแบ่งประเภท ประมาณนี้ครับ
1. ไวน์ (เหล้าองุ่นแดง - เหล้าองุ่นขาว)
2. Champagne
3. Soda (เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์แต่มีความจำเป็นในการในผสมกับเครื่องดื่มอื่นๆ)
4. เบียร์
5. เหล้าต่างๆ ที่ใช้กับของหวาน
  - Apértif
  - Bitter ต่างๆ
  - Campari Bitter
  - Amer Picon
  - Dubonnet
  - Appenzelle Bitter
6. Spiritueux - ผลไม้และธัญญาพืชหมักแล้วกลั่นเป็นแอลกอฮอล์
  - Cognac
  - Armagnac
  - Kirsch
  - Gin
  - Rum
  - Whisky
7. Liqueurs
  - Cointreau, Triple sec.
  - Bénédictine
  - Anisette Marie Brizard
  - Maraschino
  - Crème de Menthe
  - Cherry Brandy
  - Curacao
  - Crème de Vanille
  - Crème de Banane
  - Crème de Cacao
  - Crème de Mandarine
  - Apricot Brandy
  - Peach Brandy
  - Grand Marnier
  - Chartreuse Jaune
  - Chartreuse Verte
8. Cocktail
ประเภทของ Cocktail ก็มีอยู่มากมายหลากหลาย ผมก็ขอไม่กล่าวถึงนะครับ


ในส่วนของ Cognac ผมขอกล่าวเสริมเพิ่มเติมสักนิดครับ...
Cognac ได้มาจากการกลั่นเหล้าองุ่นที่หมักจนได้ที่จากฝรั่งเศส ในแคว้น Charente และบ่มในถังไม้โอ๊คเพื่อให้มีอายุการเก็บมากขึ้นแล้วจึงนำมาบรรจุขวด และเวลาที่จะซื้อเหล้าประเภท Cognac ความหมายต่างๆที่อยู่บนฉลากมีดังนี้ครับ
จำนวนดาวและตัวย่อ หมายถึงคุณภาพและอายุของเหล้า...
   ดาว 1 ดวง หมายถึง Fine อายุของเหล้า 5 - 10 ปี
   ดาว 2 ดวง หมายถึง Surfine อายุของเหล้า 10 ปี
   ดาว 3 ดวง หมายถึง Extra อายุของเหล้า 10 - 15 ปี
   V.O หมายถึง Very Old อายุของเหล้า 15 - 20 ปี
   V.S.O หมายถึง Very Superior Old อายุของเหล้า 25 ปี
   V.S.O.P. หมายถึง Very Superior Old Pale อายุของเหล้า 30 ปี
   และ X.O. อยู่ หมายถึง Extra Old หรือ Extra Vieux ซึ่งมีอายุของเหล้าอย่างน้อย 40 ปี


การเสิร์ฟเหล้าที่เหมาะสม ควรเสิร์ฟในปริมาณดังนี้ครับ
1. Vin de dessert หรือ Apéritif ควรเสิร์ฟ ประมาณ 50 มิลลิลิตร
2. Whisky ควรเสิร์ฟประมาณ 40 มิลลิลิตร (แบบไม่ผสม)
3. Spiritueux Liqueur ควรเสิร์ฟประมาณ 25 มิลลิลิตร
4. Cocktail ควรเสิร์ฟประมาณ 50 มิลลิลิตร..... ครับ


อนึ่งข้อมูลในส่วนนี้ผมดัดแปลงมาจากหนังสือ &dquot;วิวัฒนาการและศิลปะการจัดโต๊ะอาหาร เครื่องดื่ม และเมนูอาหาร&dquot; ครับ และในส่วนนี้ผมไม่ได้สนับสนุนให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นนะครับ .... เมาไม่ขับ.....


ปล. โปรดติดตามตอนต่อไปครับ เกี่ยวกับประเภทของเหล้า.... เอิ๊กกกก.....

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 246

Collagen

06/06/2008 23:08:20
หลังจากที่ผมลืมไปหลายต่อหลายครั้ง ในเรื่องของการแจงเพลง Canon in D ของ Johann Pachelbel ครับ ซึ่งในวันนี้ได้มีผู้เตือนสติผมให้ Upload เพลงนี้เพื่อแจก.... ผมก็ขอแจกเพลงนี้ ตาม Link นี้ครับ
http://www.uploadtoday.com/download/?b1df761618f59d55e530fed96878ca0c

เพลงนี้ผม Rip โดยใช้ iTunes ที Bitrate 320 kbps (แต่ก่อนหน้า พี่ปิงปิงเคย Rip ไว้แล้ว ซึ่งผมได้ Copy ไฟล์มา แต่ดันลบไปซะอย่างนั้น ก็เลยต้อง Rip ใหม่ครับ)

เพลงนี้บรรเลงโดยวง Tasmanian Symphony Orchestra ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 247

headbanana

06/06/2008 23:16:35

ขอบคุณสำหรับ canon ขอครับ หลับตาฟังแล้ว แหม....ภาพบรรยายกาศกลางท้องทุ่งมันออกมาเลยครับ ^^

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 248

Collagen

19/06/2008 22:52:52
ฝนตกก็ครึ้มๆ หายไปนานกับสายฝน... กลับมาขอกล่าวยล ถึงประเภทสุราเอย....
ต่อจากตอนที่แล้วครับ ในส่วนของประเภทของเหล้าที่มีอยู่มากมายครับ...

คำเตือนก่อนอ่านบทความนี้: บทความนี้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชน กรุณาใช้วิจารณญาณก่อนการอ่าน (ถ้าเฮียเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ลบได้เลยนะครับ)

ก็ขอเริ่มเลยนะครับ...
Abricot เหล้าที่ได้จากการหมักผล Abricot (หรือ Apricot?)
Arak มาจาก Batavia (เหล้าโรง)
Armagnac เป็นเหล้าประเภทเดียวกับ Cognac แต่ทำจากเมือง Gers ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้น Bordeaux
Bitter เหล้าผสมโดยนำเปลือกไม้ เปลือกผลไม้ รากไม้หรือกลีบดอกไม้ผสมในเหล้า
Genièvre เหล้าที่ได้จากการหมักผลไม้ชื่อ Genièvre
Gentiane เหล้าที่ได้จากการกลั่นรากต้น Gentiane หรือเหล้าที่กลั่นจากข้าวสาลี ในรัสเซีย เรียกว่า Vodka
Gin เหล้าที่ได้จากการกลั่น จากการหมักข้าวโพด ข้าวโอ๊ต หรือข้าวชนิดอื่นๆ ผสมกับผลไม้ชื่อ Genievre (ผมก็ไม่รู้ว่าไอ้ผลนี้มันหน้าตาเป็นอย่างไร) และส่วนผสมอื่นๆ เพื่อแต่งกลิ่นและรส โดยมาก Gin ที่ดีๆ มักจะมาจากอังกฤาและฮอลแลนด์ (Gin ของฮอลแลนด์มีปริมาณของแอลกอฮอล์มากกว่า Gin จากอังกฤษ แต่ในการผสม Cocktail นั้น Gin จากอังกฤษได้รับความนิยมมากกว่า)
Kirsch เหล้าที่ได้จากการกลั่น จากการหมักผลเชอร์รี่ โดยมากผลิตในประเทศเยอรมัน สวิสเซอแลนด์ และเมือง Alsace ซึ่งอยู่ทางเหนือของฝรั่งเศสติดกับเยอรมัน
Kirsch Rouge (Liqueur) เหล้าที่ได้จากการผสมน้ำตาล ผลองุ่น และผลเชอร์รี่ในเหล้า Kirsch
Liqueurs เหล้าที่ได้จากการผสมผลไม้ โดยใช้แอลกอฮอล์ผสมกับน้ำตาล โดยผลไม้จะต้องนำมาตากแห้งก่อน โดยทั่วไป Liqueurs มีประมาณแอลกอฮอล์ที่ 20-30%
Madère เหล้าที่มาจากเกาะ Madère ในประเทศโปรตุเกส มีวิธีการทำเช่นเดียวกับ Sherry แต่สามารถเก็บได้ถึง 100 ปี
Malaga และ Marsala เหล้าองุ่นที่ผ่านการต้มมาแล้ว โดย Malaga มาจากประเทศสเปนและ Marsala มาจากประเทศอิตาลี (เกาะซิซิลี)
Marc เหล้าที่ได้จากการกลั่นกากขององุ่น จาก Bourgogne ในอิตาลีเรียก Grappa
Porto หรือ Port wine เหล้าที่มาจากเมือง Douro ในโปรตุเกส เป็นเหล้าที่ได้จากการผสม eau de vie de vin และบ่มไว้อย่างน้อย 2 ปี โดยเหล้าองุ่นประเภทนี้ จะใช้ผลองุ่นที่สุกงอมมากๆ แต่ไวน์จะใช้องุ่นเก็บพอสุก
Prune และ Pruneau เหล้าที่ได้จากการหมักลูกพรุน ซึ่งชื่อ Prune หรือ Pruneau เป็นชื่อเรียกใน Czech, Slovakia, Hungary แต่ในฝรั่งเศสเรียกว่า Quetsch
Rhum (Rum) ทำจากอ้อย โดยมากมาจากประเทศแถบละตินอเมิรกา เช่น Cuba, Trinidad และ Jamaica โดยมาก Rhum ใช้เวลาในการหมักประมาณ 3 ปี
Sherry เหล้าที่มาจากประเทศสเปน มีวิธีทำเช่นเดียวกับ Porto แต่ผสมกับ eau de vie de vin หลังจากการบ่มมาเป้นระยะหนึ่ง
Vermouth เป็นเหล้า Apéritif ชนิดหนึ่งทำในอิตาลีและฝรั่งเศส โดยทั่วไป Vermouth มีเหล้าองุ่นผสมอยู่อย่างน้อย 70% และมีแอลกอฮอล์ประมาณ 15.5%
Vin de dessert เป็นเหล้าองุ่นที่แตกต่างจากไวน์ที่ มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า และมีรสหวานกว่า เช่น Malago-Samos, Porto-Sherry
Whisky เหล้าที่ได้จากการกลั่น จากการหมักข้าวบาร์เลย์กับข้าวโพด รสและสีของ Whisky ได้จากการบ่มในถังไม้โอ๊ค โดยการบ่มมักจะบ่มอย่างน้อย 3 ปี โดยปกติจะบ่มที่ 7 ปี หรือมากกว่านั้น

อนึ่งข้อมูลในส่วนนี้ผมดัดแปลงมาจากหนังสือ &dquot;วิวัฒนาการและศิลปะการจัดโต๊ะอาหาร เครื่องดื่ม และเมนูอาหาร&dquot; ครับ และในส่วนนี้ผมไม่ได้สนับสนุนให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นนะครับ .... เมาไม่ขับ.....

จบบทนอกเรื่อง ที่ว่าด้วยเรื่องเหล้า แต่เพียงเท่านี้คร้าบบบบ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 249

wii

10/08/2008 20:35:44
ฮัลโล มีใครอยู่บ้างครับ

จะมีใครกลับมาหรือเปล่าครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 250

Collagen

24/09/2008 21:50:44
555 ฟัง Requiem แล้วก็ฟัง Gregorian Chant ต่อครับ หลอนใช้ได้เลยครับ.... ถ้าหากว่ามีโอกาสลองหา Requiem ของ Mozart มาลองฟังดูด้วยก็ไดนะครับ...

ปล. ตอนแรกกะเอามาให้ ท่านชิมฟังตอนปลุกเสกของ เพื่อความขลัง...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 251

Collagen

24/09/2008 21:53:21
ขอโทษด้วยนะครับที่หายไปนาน พอดีหมดมุขครับ ไม่รู้ว่าจะเขียนอันไหนต่อ... ก็ขอขอบคุณกำลังใจจากทุกท่านนะครับ....
เมื่อไม่นานมานี้ผมได้เอกสารมาแผ่นนึง (จริงๆคือ Xerox มามากกว่า) เกี่ยวกับศัพท์ทางด้านจังหวะของเพลงครับ ซึ่งได้ให้ความกระจ่างได้ดีพอสมควรเลยครับว่าชื่อเพลงในชุดของเพลงคลาสสิคแต่ละเพลงมีความหมายว่าอย่างไร ดังนั้นผมก็ขอเริ่มเลยนะครับ...

Accelerando - เพิ่มความเร็วของเพลงขึ้น (With increasing speed)
Adagio - ช้า (Slowly)
Agigato - รูปแบบการบรรเลงแบบปั่นป่วน (In an agatated manner)
Allergretto - จังหวะเร็วปานกลาง หรือกระฉับกระเฉง (Fairly quickly or briskly)
Allergro - เร็ว, จังหวะสนุกสนาน (Quickly, in a brisk, lively manner)
Amoroso - จังหวะรักโรแมนติค (Lovingly)
Andante - จังหวะช้าปานกลาง (At a moderately slow tempo)
Andantino - จังหวะช้าปานกลางแต่เร็วกว่า Andante เล็กน้อย (Slightly faster than andante)
Animato - รูปแบบร่าเริงสดใส (In a lively manner)
Appassionato - รูปแบบเผ็ดร้อน รุนแรง (Impassioned)
Assai - มาก ((in combination) very)
Calando - ค่อยๆลดโทนเสียงและความเร็ว (With gradually decreasing tone and speed)
Canatbile - ในรูปแบบเสียงร้อง (In a singing style)
Con - ด้วย ((in combination) with)
Con affeto - ด้วยอารมณ์เบาๆ (With tender emotion)
Con amore - รักโรแมนติค (Lovingly)
Con anima - ด้วยอารมรณ์ที่องอาจ สง่างาม (With spirit)
Con brico - เปี่ยมด้วยพลัง (Vigorously)
Con fuoco - ด้วยความรู้สึกแรงกล้า (With fire) -- อาจจะแปลว่าด้วยอารมณ์เร่าร้อนก็ได้นะครับ ^ ^
Con moto - เร็ว (Quickly)
Cresendo - ค่อยๆ เพิ่มความดัง (Gradual increase in loudness)
Diminuendo - ค่อยๆ ลดความดัง (Gradual decrease in loudness)
Dolce - เบาๆ และหวานๆ (Gently and Sweetly)
Doloroso - ในรูปแบบเศร้าโศก
Energico - เปี่ยมด้วยพลัง (Energetically)
Espressivo - ลึกซึ่ง, เปี่ยมด้วยความหมาย (Expressively)

โปรดติดตามต่อ เร็วๆ นี้ครับ (ศัพท์ค่อนข้างเยอะครับ จึงขอแบ่งเป็นตอนๆ ครับ)

ปล. หากผมแปลผิดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 252

SaviouR

24/09/2008 22:14:37

โหยย พี่วุฒิฟิตเหมือนเดิมเลยยย


ว่าแต่ไอ้ Requiem ที่เอามานิหลอนนนนนมากๆอ่ะ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 253

nopphong

26/09/2008 20:49:27

ฟังคลาสสิคสักพักแล้วชักสงสัยประเภทของเพลงครับ


เห็นมี sonata, rapsody,concerto,symphony ฯลฯ (ไม่รู้มีอีกหรือเปล่า) เลยอยากรู้ครับว่ามันมีอะไรบ้างต่างกันยังไงน่ะครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 254

Collagen

26/09/2008 21:11:46
โห... คุณนพพงษ์ ถามมาอย่างนี้ผมน็อคเลยครับ... เพราะว่าจริงๆ แล้ว ประเภทของเพลงคลาสสิคมีเพียบเลยครับ (ตอนนี้มีแต่ชื่อมีไม่คำบรรยายครับ) ... อันนี้เป็นตัวอย่างที่ผมเคย Post ไว้ครับ

Cantata - เพลงศาสนา
Concerto - การบรรเลงเครื่องดนตรีเครื่องเดียวประชันกับวง Orchestra เช่น Violin Concerto หรือ Piano Concerto
Concerto Grosso - การบรรเลงเพลงในวง Orchestra โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มเล่นประชันกัน
Sinfonia - หรือที่เรียกว่า Symphony - การบรรเลงเพลงในวง Orchestra ร่วมกัน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 255

nopphong

26/09/2008 21:32:13

เอาคร่าวๆก็ได้ครับ แค่ประดับความรู้ไว้เท่านั้นแหละครับ อิอิ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 256

Collagen

26/09/2008 22:14:31
ผมก็ขอต่อในส่วนของศัพท์ทางด้านจังหวะของเพลงต่อนะครับ...
Forte - ดัง (Loud or Loudly)
Fortissimo - ดังมาก (Very loud)
Furioso - รูปแบบจังหวะยุ่งเหยิง (In a frantically rushing manner)
Giocoso - สนุกสนาน (Merry)
Grave - ช้าและน่าขนลุก (Solemn and slow) --> บรรยากาศเหมือนในป่าช้า
Grazioso - นิ่มนวล (Graceful)
Lacrimoso - จังหวะเศร้าและอาลัย (Sad and mournful)
Largo - ช้าและบรรเลงแบบหยาบๆ (Slowly and broadly)
Larghetto - ช้าและบรรเลงแบบหบายๆ แต่น้อยกว่า Largo (Slowly and broadly but less so than largo)
Legato - บรรเลงจังหวะเรียบๆ และต่อเนื่อง (Smoothly and connectedly)
Leggiero - จังหวะเบาๆ (Light)
Lento - ช้า (Slowly)
Maestoso - จังหวะที่เปี่ยมด้วยอำนาจและความองอาจ (Majestically)
Marziale - จังหวะฮึกเหิม (Martial)
Mezzo - กลางๆ ((In combination)Moderately)
Moderato - จังหวะกลางๆ (At a moderate tempo)
Molto - มาก ((In combination) very)
Non troppo หรือ Non tanto - ไม่มาก ((In combination) not too much)
Pianissimo - เงียบมาก (Very quietly)
Piano - จังหวะนุ่มๆ (Softly)
Piu - มากกว่า ((In combination) more)
Pizzicato - การบรรเลงเครื่องสายโดยใช้นิ้วดีดแทนการใช้คันชักในการสี ((In music for stringed instrument) be plucked with the finger)
Poco หรือ Un poco - เล็กๆ น้อยๆ ((In combination) little)
Pomposo - รูปแบบหรูหราเอิกเกริก (In a pompous manner)
Presto - จังหวะเร็วมาก (Very fast)
Prestissimo - จังหวะเร็วกว่า Presto (Faster than presto)
Quasi - เกือบๆ ((In combination) almost, as if)

โปรดติดตาม ภาค 3 ตอนจบ เร็วๆ นี้ครับ (ยังแปลช่วงท้ายไม่เสร็จครับ)
ขอบคุณครับ

ปล. คุณนพพงษ์ ผมจะทยอยๆ เขียนให้ครับ ถ้ามีโอกาส (แต่ตอนนี้ยังหาหนังสืออธิบายไม่ค่อยได้เลยครับ เพราะว่ารูปแบบการแต่งเพลงคลาสสิค เท่าที่ผมหาได้ (มีแต่รายชื่อ) มีมากกว่า 100 แบบครับ ถ้ามีโอกาส ผมก็ขออนุญาตเอา List รายชื่อไปให้ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 257

Collagen

30/09/2008 19:25:57
ก่อนอื่นก็ต้องกล่าวขออภัยด้วยนะครับที่หายไปนาน (แล้วก็ขออภัยเฮียมั่นคง เฮียเบียส ด้วยนะครับที่วันอาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ได้ไป เนื่องจาก ป่วยครับ)
ผมก็ขอกล่าวถึงศัพท์ด้านจังหวะของเพลงในภาคสุดท้ายนะครับ...
Rallentando - เปลี่ยนจังหวะให้ช้าลง (Becoming slower)
Rubato - จังหวะยืดหยุ่น (With a flexible tempo)
Scherzando - รูปบแบบรื่นเริง (In jocular style)
Sciolto - ง่ายและอิสระ (Free and easy)
Semplice - ง่ายและไม่บังคับ (Simple and unforced)
Sforzando - บรรเลงช่วงแรกอย่างแรง (With strong initial attack)
Smorazando - (Dying away)
Sospirando - จังหวะโหยหวน (&squot;Sighing&squot;, plaintive)
Sostenuto - รูปแบบเรียบๆ (In a smooth and sustained manner)
Sott voce - เงียบมากๆๆ (Extremely quiet)
Staccato - ในหมายเหตุ สั้นๆ และแยกจากกัน ((Of notes) short, clipped and separate)
Stracinando - ยืดขยาย be long (Stretched out)
Strepitoso - ดัง, อึกทึก (Noisy)
Stringendo - เพิ่มความเร็วมากขึ้น (With increasing speed)
Tanto - มากเกินไป ((In combination) too much)
Tardo - ช้า (Slow)
Troppo - มากเกินไป ((In combination) too much)
Vivace - รูปแบบเร็วกระฉับกระเฉง (In a brisk lively manner)
Volante - เร็วและเบา (&squot;flying&squot;, fast and light)

บรรยายมาเสียยืดยาว ศัพท์หลักๆ ทางด้านจังหวะ (Expression and tempo instructions) ก็จบลงเพียงเท่านี้ครับ
ซึ่งความหมายของศัพท์เหล่านี้อาจจะช่วยให้เข้าใจรูปแบบการบรรเลงของเพลงคลาสสิคบางบทเพลงได้ดีขึ้ยครับ
ตัวอย่างเช่น...
บทเพลงของ Tchaikovsky Symphony No.6 in B Minor Op.74 &dquot;Pathetique&dquot; (ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง B Minor ผลงานลำดับที่ 74 &dquot;Pathetique&dquot;)
เพลงที่ 1 Adagio. Allegro non troppo >>> หมายถึง เพลงบรรเลงช้า ในช่วงแรก และบรรเลงเร็วแต่ไม่มากในช่วงหลัง ครับ

ท้ายนี้หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ
ขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 258

vym

30/09/2008 20:14:38
เรียน ท่าน collagen
อยากให้กรุณาแนะนำ Rachmaninov PC#2
ตามลิงค์เดิมโหลดไม่ได้แล้ว ค่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 259

dnwing

30/09/2008 20:20:24

เพลงที่อัพไว้ ลิงค์เสียหมดแล้วนะครับ เข้าไปไฟล์ขนาด 0kb ทุกอันเลย


เวบคงลบไฟล์ไปแล้ว ผมแนะนำให้ใช้บริการ Sky Drive ของ


Hotmail ดีกว่านะครับ ใช้อีเมลล์ของ hotmail เข้าใช้งานได้เลย


ฟากไฟล์เสร็จเขามีลิงค์ให้โพสตามเวบได้เสร็จสับ ฟากได้สูงสุดไฟล์ละ 50Mb


เนื้อที่ฟากไฟล์ทั้งหมด 5Gb ไม่มีลบด้วย สะดวกดีครับ ลองใช้กันดู

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 260

นายมั่นคง

30/09/2008 20:48:09



เอ้า ท่าน collagen ช่วยเพื่อนๆๆ ด้วยเร้วววว 555

จัดให้เพื่อนๆๆ หลายๆๆ ลิงค์หน่อยนะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 261

jassb1

01/10/2008 11:49:45



ขอโอกาสได้แปะลิ๊งค์บ้างนะครับ ... อัลบั้มนี้บันทึกเสียงมานิ่ง สงัด และไพเราะมากครับ .... คงคุ้นเคยกันกับบางท่อนของ นัทแคร๊กเกอร์ สวีท นะครับ ผลงานของไชคอฟสกี้ครับ


The Nutcracker Op. 71, is a fairy tale-ballet in two acts, three scenes, by Pyotr Ilyich Tchaikovsky, composed in 1891–92. Alexandre Dumas père&squot;s adaptation of the story by E.T.A. Hoffmann was set to music by Tchaikovsky (written by Marius Petipa and commissioned by the director of the Imperial Theatres Ivan Vsevolozhsky in 1891). In Western countries, this ballet has become perhaps the most popular ballet performed, primarily around Christmas time. 




    Act One 

    No.1 Scene of decorating and lighting the Christmas tree 
    No.2 March 
    No.3 Little Gallop [of the children] and entry of the parents 
    No.4 Scene dansante [Drosselmeyer&squot;s arrival and distribution of presents] 
    No.5 Scene and dance of the Grandfather 
    No.6 Scene [Departure of the guests -- DAYTIME] 
    No.7 Scene [the battle] 
    No.8 Scene [a pine forest in winter] 
    No.9 Waltz of the Snowflakes 

    Act Two 

    No.10 Scene [Introduction] 
    No.11 Scene [Arrival of Clara and the Prince] 
    No.12 Divertissement 
    a. Chocolate (Spanish dance) 
    b. Coffee (Arabian dance) 
    c. Tea (Chinese dance) 
    d. Trepak (Russian Dance) 
    e. Dance of the Mirlitons [also known as &dquot;Dance of the Reed-Flutes,&dquot; &dquot;Dance of the Shepherdesses,&dquot; and &dquot;Marzipan&dquot;] 
    f. Mother Ginger and the clowns [or &dquot;Mother Ginger and her children&dquot;] 
    No.13 Waltz of the Flowers [featuring a female soloist &dquot;Dew Drop&dquot; in Balanchine&squot;s production] 
    No.14 Pas de Deux: Adagio (Sugar-Plum Fairy and a cavalier) 
    Variation I (for the male dancer) [Tarantella] 
    Variation II (for the female dancer) [Dance of the Sugar-Plum Fairy] 
    Coda 
    No.15 Final Waltz and Apotheosis 



Download- 











Code:
http://rapidshare.com/files/146338974/The_Nutcracker_up_by_vegitoblade_w-bb.org.part1.rar ;

http://rapidshare.com/files/146627842/The_Nutcracker_up_by_vegitoblade_w-bb.org.part2.rar ;

http://rapidshare.com/files/146321091/The_Nutcracker_up_by_vegitoblade_w-bb.org.part3.rar

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 262

jassb1

01/10/2008 12:08:41

อันนี้ไม่ค่อยคลาสสิกแฮะ แต่ว่าอัดเสียงมางามจริงๆ ละเอียดทุกเม็ด


เป็นการบรรเลงซอจีน กับกูเจิ้งครับ 













Funa & Huang Jiang Qin | Face To Face (Guzheng vs Erhu) 



Year: 2007 
Style: World, guzheng, erhu 
Country: China 
Label: Miaoyin record 
Quality: 320 kbps 
Size: 82 + 55 MB 

Track List 

01 Acacia 
02 Zhenguan long song 
03 Raise the Red Lantern 
04 Ge Wei and Quan Yecha 
05 Guess 
06 Chrysanthemum Taiwan 
07 Red roses 
08 Great Wall never inverted 
09 Smoke condensate 
10 Autumn and resentment 
11 Zizhu Diao 
12 Relatives at an early date is willing to support good injury 
13 Snowster point mobiledog 












Code:

http://rapidshare.com/files/128290327/FHJQ_-FTFGuzheng_VS_Erhu_maspie.part1.rar ;


http://rapidshare.com/files/128290329/FHJQ_-FTFGuzheng_VS_Erhu_maspie.part2.rar ;



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 263

jassb1

01/10/2008 13:32:06
Brahms/Chopin/Franck_Cello Sonatas_Jacqueline Du Pré/Daniel Barenboim

Classical Instrumental | APE | Cover | RAR | 464MB

Released: 11/1/2000
Label: EMI Classics
Artists: Jacqueline Du Pré, Daniel Barenboim
Composer: Johannes Brahms, Frederic Chopin, Cesar Franck

Disc: 1
Johannes Brahms: Sonata for Cello and Piano in F major Op. 99
Johannes Brahms: Sonata for Cello & Piano in E minor, Op. 38
1. I - Allegro non troppo
2. II - Allegretto quasi Menuetto
3. III - Allegro
4. I - Allegro vivace
5. II - Adagio affettuoso
6. III - Allegro passionato
7. IV - Allegro molto
Disc: 2
Frederic Chopin: Sonata for Cello and Piano in G minor Op. 65
Cesar Franck: Sonata for Violin and Piano in A
1. I. Allegro moderato
2. II. Scherzo (Allegro con brio)
3. III. Largo
4. IV. Finale (Allegro)
5. I. Allegretto ben moderato
6. II. Allegro
7. III. Recitativo - Fantasia (Ben moderato - Molto lento)
8. IV. Allegretto poco mosso

Download links:
Cover:
Code:
http://rapidshare.com/files/17833149/BCF-CS-JDP-Covers.rar

Disc I:
Code:
http://rapidshare.com/files/17842495/BCF-CS-JDP-I.part1.rar
http://rapidshare.com/files/17853618/BCF-CS-JDP-I.part2.rar
http://rapidshare.com/files/17866732/BCF-CS-JDP-I.part3.rar
http://rapidshare.com/files/17885063/BCF-CS-JDP-I.part4.rar
http://rapidshare.com/files/17908535/BCF-CS-JDP-I.part5.rar

Disc II:
Code:
http://rapidshare.com/files/17925991/BCF-CS-JDP-II.part1.rar
http://rapidshare.com/files/17938170/BCF-CS-JDP-II.part2.rar
http://rapidshare.com/files/17949394/BCF-CS-JDP-II.part3.rar
http://rapidshare.com/files/17957346/BCF-CS-JDP-II.part4.rar
http://rapidshare.com/files/17963901/BCF-CS-JDP-II.part5.rar
http://rapidshare.com/files/17964000/BCF-CS-JDP-II.part6.rar

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 264

Collagen

01/10/2008 19:49:12
ขอโทษด้วยนะครับสำหรับเรื่อง Link ทางผมจะรีบจัดการให้เร็วที่สุดเท่าที่ผมสามารถทำได้ครับ (เนื่องจากตอนนี้สุขภาพย่ำแย่ ประกอบกับ เพิ่ง Format Harddisk ครับ) ก็อาจจะล่าช้าไปสักพักใหญ่ๆ เลยนะครับ ทางผมก็ต้อขออภัยมาเป็นอย่างสูงด้วยนะครับ...

แล้วก็ขอขอบคุณท่าน Jassb1 มากเลยครับ ที่อนุเคราะห์เพลงคลาสสิกทั้งของฝรั่งและจีนให้ผมและท่านอื่นๆ ได้ฟังครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 265

jassb1

01/10/2008 20:29:21

อันนี้ก็เป็นเรคคอร์ดดิ้งที่ได้รับการโหวตว่า เป็นหนึ่งในห้า เรคคอร์ดดิ้งที่ดีที่สุดในรอบสามสิบปีครับ


 


เป็นซิมโฟนีของเบโธเฟ่นที่สุขุม และสง่างามเยี่ยงวงออร์เครสตร้ายุโรป (ที่มิใช่เยอรมัน) อย่างดีเลยครับ


Beethoven - Symphonies 1-9(Harnoncourt - CO of Europe) 












Code:

http://rapidshare.com/files/148549726/Bthvn-Symphns1-8_Hrnncrt-Cfrp_.part1.rar ;
http://rapidshare.com/files/148549989/Bthvn-Symphns1-8_Hrnncrt-Cfrp_.part2.rar ;
http://rapidshare.com/files/148550625/Bthvn-Symphns1-8_Hrnncrt-Cfrp_.part3.rar ;
http://rapidshare.com/files/148550847/Bthvn-Symphns1-8_Hrnncrt-Cfrp_.part4.rar ;
http://rapidshare.com/files/148551157/Bthvn-Symphns1-8_Hrnncrt-Cfrp_.part5.rar


http://rapidshare.com/files/70429540/Beethoven_-_Harnoncourt_-_Symphonie_n__9_-_COE.rar 



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 266

jassb1

01/10/2008 20:34:44

คุณvym  ถามหารัคมานินอฟเบอร์สอง


ผมมีฉบับนี้ครับ เสียงอาจไม่ดีนัก แต่อย่าถือสาเลยครับ ในเมื่อมันเป็น &dquot;Rachmaninoff plays Rachmaninoff&dquot; ครับ


เจ้าของเพลงมาเล่นเอง อารมณ์เกินบรรยายครับ (ลิ๊งนี้คือ เปียโนคอนแชโต้หมายเลขสองและสามครับ)


 


http://rapidshare.com/files/112685953/RpR18.rar ;

http://rapidshare.com/files/112686555/RpR30.rar

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 267

jassb1

02/10/2008 23:24:25
ใครอยากฟังอะไรก็ลองถามไถ่มาได้นะครับ

(คลาสสิกเด้อ)

...มีก็จะนำเสนอให้ครับผม
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 268

หมอแต๊

03/10/2008 02:16:17

ใช้อย่างอื่นนอกจากrapid share ได้ป่าวครับ คือผมไม่รู้ทำไรผิดหรือ ป่าว โหลดไม่ได้เลยครับ อยากได้


Funa & Huang Jiang Qin | Face To Face (Guzheng vs Erhu) มากเลยครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 269

jassb1

03/10/2008 13:37:56
rapid share

กดโหลดได้ที่ละลิ๊งครับ

เลือกตรง ปุ่มฟรี รอนับถอยหลัง กดดาวโหลดตรงปุ่มกลมๆ - - - โลดดดดด

(ไม่แนะนำให้ใช้โปรแกรมช่วยโหลดจ้า)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 270

Jangster

04/10/2008 08:08:47

ขอบคุณสำหรับเพลงดีๆครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 271

kokosang

09/10/2008 10:19:02

แจกเพลงบรรเลงที่ใช้ในเรื่อง season chang อ่ะ เอาไว้ฟังตอนนอนคับ


ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง


 

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 272

jassb1

09/10/2008 23:44:41
จัดให้เท่าที่มีครับ

โฟร์ซีซั่นของวิวาลดี ... โหลดครบสามไฟล์ ต้องใส่พาสเวิดก่อนนะครับ ถึงจะดึงออกมาจากซิปได้

Vivaldi was born in 1678 in Venice and lived most of his life there. In 1704 he was appointed superintendent of the Pieta, a school which trained young girls in the art of singing and music. This redheared priest composed 46 operas and over 500 concertos. His music was ignored during his lifetime and was performed mostly by the young girls at the school. It was some 100 years after his death that his music was discovered!


COMPOSER: Antonio Vivaldi (1678-1741)
CD: The Four Seasons
PERFORMED BY: The Salzburg Baroque Chamber Orchestra
CD RECORDED: DDD
FORMAT: flac
RIPPED BY: TeNNeT and Wexller
PLYAING TIME: 40:34
SIZE: 190 mb



SPRING
1. Allegro
2. Largo
3. Allegro

SUMMER
4. Allegro
5. Adagio
6. Presto

AUTUMN
7. Allegro
8. Adagio
9. Allegro

WINTER
10. Allegro Non Molto
11. Largo
12. Allegro

ลิ๊งครับ (โหลดได้ครั้งละหนึ่งลิ๊งนะคร๊าบ)

http://rapidshare.com/files/116301871/CompanyFilesBackup999AVX_OperationCODENAME_VIVALDI.part1.rar

http://rapidshare.com/files/116301873/CompanyFilesBackup999AVX_OperationCODENAME_VIVALDI.part2.rar

http://rapidshare.com/files/116309337/CompanyFilesBackup999AVX_OperationCODENAME_VIVALDI.part3.rar

พาสเวิดครับ

kramer

....

เอนจอย ลิสเซนนิ่งเด้อ สิบอกไห่ 555+
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 273

เบียส

08/11/2008 22:50:14
11
หากระทู้นี้อยู่หรือป่าวจ๊ะ Collagen..........................อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 274

Collagen

08/11/2008 23:11:48
4
ช่ายแล้วคร้าบบบ เฮียเบียส งมมานานครับ บุ๋งๆๆๆ ได้แต่กดจากด้านซ้าย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 275

นายมั่นคง

08/11/2008 23:43:06
0
เอ้า หากระทู้ไม่เจอหรอกเรอะ 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 276

wallpoom

09/11/2008 02:30:14
กระทู้นี้จะครบรอบ 1 ปีแล้ว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 277

ทิวไผ่ลู่ลม

25/01/2009 12:57:11
กำลังไล่เก็บแต่ละเพลงอยู่ครับ ชอบ ๆ ทั้งนั้นเลย ได้ศัพท์ใหม่ ๆ หลายตัวด้วยขนาดผมเป็นนักดนตรีเก่าศัพท์หลาย ๆ ตัวยังไม่เคยเห็นเลย ขอบคุณมากครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 278

Collagen

26/01/2009 22:11:49
4
ขออนุญาต กลับมา Post ต่อนะครับ หลังจากหายไปนานมาก เนื่องจากหมดมุข และผมขอขอบคุณ หลายๆ ท่านที่คอยสนับสนุน และเอื้อเฟื้อข้อมูลต่างๆ ให้กระทู้ ผุๆ อันนี้มีสีสันขึ้นมาครับ...

ก็ขออนุญาตโม้นะครับ...
เมื่อช่วงต้นเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาได้อ่านหนังสือ The Planets - ประวัติย่อของดวงดาว ก็ได้อ่านๆ ไป ทางผู้เขียน (ดาวา โซเบล) ได้แนะนำบทเพลง Classic มาบทหนึ่ง ชื่อเดียวกับหนังสือเล่มนี้ ชื่อว่า The Planets โดย Gustav Holst นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ (1874 - 1934) ซึ่งเพลงชุดนี้ถือว่าอยู่ในยุคของ Neoclassic ครับ เพลงชุด The Planets นี้ แต่ขึ้นในปี 1914 - 1916 ถือว่าเป็นผลงานลำดับที่ 32 ของ Holst ครับ...

เพลงชุด The Planets นี้ถือว่าเป็นบทเพลงเกี่ยวกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล (Solar System) ที่บรรยายและพรรณา ลักษณะของดาวเคราะห์ดวงต่างๆ ตามคติความเชื่อของคนในสมัยโบราณผนวกกับความรู้ดาราศาสตร์ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ได้อย่างค่อนข้างลงตัวครับ มาถึงจุดตรงนี้ ท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจจะนึกสงสัยว่า เพลงของนักแต่งเพลงท่านอื่นๆ ก็ได้พรรณาถึงดาวดวง และดาวเคราะห์ต่างๆ ไว้ก่อนหน้าแล้ว แต่บำเพลงเหล่านั้นได้บรรยายอารมณ์ของศิลปินต่อดวงดาวแต่ละดวงครับ ไม่ครบทั้งชุด (เต็มระบบเหมือนของ Gustav Holst ครับ) โดยตัวอย่างของเพลงที่บรรยายถึงดวงดาว ของกวีก่อนหน้า ตัวอย่างเช่น
Moonlight Sonata ของ Beethoven (Opus 27 No. 2)
Clair de Lune ของ DeBussy
ซึ่งทั้ง 2 เพลงนี้ได้บรรยายถึงดวงจันทร์... นอกจากนี้ยังมี
Mercury ของ Haydn (Symphony No. 43 in E Flat Major)
Jupiter ของ Mozart (Symphony No.41 in C K.551)

ในเพลงชุด The Planets, Suite for Orchestra ของ Holst ประกอบด้วย 7 บทเพลงดังนี้ครับ
1. Mars - The bringer of war (allegro) ดาวอังคารผู้นำการสงคราม
2. Venus- The bringer of peace (adagio) ดาวศุกร์ผู้ส่งมอบสันติภาพ
3. Mercury - The winged messenger (vivace) ดาวพุธผู้ส่งสาร
4. Jupiter - The bringer of jolity (allegro giocoso) ดาวพฤหัสบดีนำความสุข
5. Saturn - The bringer of old age (adagio) ดาวเสาร์ผู้นำความชราภาพ
6. Uranus - The magician (allegro) ดาวยูเรนัสผู้วิเศษ
7. Neptune - The mystic (andante) ดาวเนปจูนผู้ลี้ลับ
มีทั้งหมด 7 เพลง... และดาวเคราะห์ 7 ดวง... ที่หายไปอีก 2 คือ โลก และดาวพลูโต (ซึ่งในปัจจุบันนี้ถูกปลดจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสถานภาพของดาวพลูโตเป็นเพลงดาวเคราะห์แคระเท่านั้น) เหตุผลที่บทเพลงนี้ไม่มี "โลก" เนื่องจากว่า Holst นอกจากมีอาชีพเป็นนักแต่งเพลง แล้วยังมีอาชีพเป็นหมอดู ดังนั้น ในความเชื่อทางโหราศาสตร์ ดาวโลก ถือว่าไม่ใช่ดาวเคราะห์ทั่วไป ดังนั้นจึงไม่มีการแต่งบทเพลงที่สื่อถึง "โลก" ไว้ด้วยครับ... ส่วนในกรณีของดาวพลูโต ในขณะนั้น (ปี 1914-1916) ยังไม่มีการค้นพบดาวพลูโต (ดาวพลูโตถูกค้นพบเมื่อปี 1930) ดังนั้นบทเพลงของ Holst ในชุด The Planets นี้จึงมี 7 เพลงครับ...

ในส่วนของเสียงของชุดเพลงนี้... ที่ผมได้ฟังผมได้ฟังจากแผ่น 20th Century Masterpieces - 100 years of classical music ซึ่งมีผู้อนุเคราะห์ ได้โหลดมาให้ผมได้ลองฟังสนองตัณหาตัวเอง (หลังจากการอ่านหนังสือ) ชุดเพลงนี้บรรเลงในจังหวะที่ความเร็วค่อนข้างเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีการบรรเลงในจังหวะ Adagio หรือบรรเลงช้าแล้ว แต่เมื่อฟังแล้วก็ถือว่าไม่ช้ามากจนทำให้ผู้ฟังหลับได้ครับ... โดยในส่วนของเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงฮิตของเพลงชุดนี้ก็คือเพลง Mars - The bringer of war ครับ เสียงของเครื่องเป่าทองเหลือง (Brasswind) และเครื่องตี (Percussion) ได้บรรเลงได้อย่างถึงอารมณ์ของคำว่า การออกศึกและสงครามครับ โดยเพลงนี้ได้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ด้วยครับ... นอกจากนี้เพลง Jupiter - The bringer of jolity ก็ได้รับความนิยมอีกเช่นกันครับ เพลงนี้ออกทำนองแนวสนุกสานาน ใสๆ ครับ เสียงออกโทนกลางๆ ไม่ออกแนวจัดๆ เหมือนเพลง Mars ครับ ในส่าวนของเพลงอื่นก็มีหลากหลายทำนองครับ แต่โดยรวมแล้ว ไม่ค่อยมีเสียงแหลมที่ออกแนวบาดหูเหมือนกับเพลง Classic ในหลายๆ เพลงครับ...

แนวอารมณ์ของเพลงชุดนี้ ในความเห็นของผม ผมว่าออกมาหลายแนวที่สอดประสานกันได้อย่างดีครับ และจบบทเพลงชุดนี้โดยการบรรเลงแบบค่อยๆ ให้เสียงจางหายไปในตอนจบโดยไม่มีการสะดุดของเสียงครับ...

นอกจาก Holst แล้ว ยังมีผู้ประพันธ์ท่วงทำนองแห่งจักรวาลไว้ก่อนหน้า Holst ด้วย คือ Johannes Kepler นักดาราศาสตร์ ผู้สานต่อแนวคิดปฏิวัติความเชื่อด้านดาราศาสตร์ของคนทั้งโลกว่า โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และโลกเป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยในหนังสือ Harmonice Mundi (การประสานเสียงของโลก) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 1619 ได้มีการบรรยายถึงการตีความการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์มาเป็นบทเพลง ครับ...

โม้มาซะยาวยืด... ท้ายนี้ก็ Sit back, relax and Enjoy listening ครับ....
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 279

Collagen

26/01/2009 22:20:23
4
ปล. ชื่อเต็มๆ ของหนังสือที่ผมอ่านและได้นำเนื้อหา บางส่วนมาอ้างอิง คือ The Planets เดอะ แพลเนต ประวัติย่อของดวงดาว ชมความอัศจรรย์ของระบบสุริยะ ผ่านมุมมองวัฒนธรรมดาราศาสตร์ (หนังสือแนวประวัติศาสตร์ ครับ)
ปล. 2 คุณลุงเปี๊ยก, พี่นพพงษ์ แล้วก็อาเฮียเบียส... ผมจะเบิร์นเพลงชุดนี้ไปให้นะครับ รอรับได้เลยครับ (แต่อาจจะช้าหน่อยนะครับ)
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 280

เบียส

26/01/2009 22:23:28
11
555 ห่างหายไปนานครับ แต่รสชาติยังเหมือนเดิมเลย 5555 เด็ดสาระตี่เหมือนเดิมเลยจ้า Collagen.......................อิ อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 281

โน้ต

25/02/2009 11:27:23
อยากได้เพลงคลาสสิก เจ๋งๆ เอาไว้ เบิร์น หน่อยอะคับแนะนำที
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 282

โน้ต

25/02/2009 11:45:45
อยากได้เพลงคลาสสิก เจ๋งๆ เอาไว้ เบิร์น หน่อยอะคับแนะนำที
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 283

Earthz

26/02/2009 13:44:44
0
สวัสดีครับ
สาวก คลาสสิคมารายงานตัวครับ
เข้าเว็ปนี้มานานละ แต่พึ่งได้สมัครแหะๆ
Jupiterนี่ถ้าผมจำไม่ปิดรู้สึกว่าจะเป็นเพลงประกอบโฆษณา
ของ ธนาคารไทยพานิช นะครับ
ส่วนตัวผมชอบ "New world" symphony no.9 ของAntonin Dvorak
ที่ผมมีเป็นของวงChicago symphony orcresta บรรเลงได้อารมณ์มากเลยครับ
ว่างๆ พักอ่านหนังสือสอบ เลยเขียนรีวิวหน่อยนะครับ
คือเพลงนี้ ประกอบ ด้วย4 Movementตามเเบบฉบับของ ซิมโฟนี่ทั่วไปนะครับ
โดยมีดังนี้ Mvt1-Adagio,Allegro Molto
Mvt2-Largo
Mvt3-Molto Vivance
Mvt4-Allegro Con Fuoco
โดยMvt4 เราจะได้ยินทำนองบ่อยมากเลยครับ
ผู้ประพันธ์ ผลงาน ก็คือ Maestro Antonin Dvorak นั่นเอง
นักประพันธ์ยุคสมัยยุคRomantic 1820-1900
เป็นชาวโมฮีเมียน(ไม่ใช่ชาติไหน เช็คนั่นเอง)
เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ในครั้น ไปอเมริกา ในค.ศ. 1893
ว่ากันว่าเป็นเพลงที่ได้ยึดเเบบ มาจากเพลงพื้นเมืองของอเมิรกา(สมัยนั้นก็พวก อินเดียเเดง)
Symphony ฉบับนี้ถูกบรรเลง ครั้งเเรก โดยวงNew york phillharmonic ณ Carnegie Hall
สถานที่ ที่นักดนตรีใฝ่ฝัน Conductor คือ Anton Seidl
ว่ากันเลยที่ Mvt 1 สำหรับผมนั้นมันให้ความรูสึกเเบบ น่าติดตาม เสียง วิโอล่า ที่พริ้วไหว
หลังจากนั้นเปลี่ยนอารมณจากอ่อนหวานเริ่มร้อนแรงขึ้น หลังจากนั้นเหล่า ไวโอลิน เล่นทำนอง ซึ่งผมเดาว่าน่าจะเป็นเหมือนการลเล่นของพวกอินเดียเเดง ความรู้สนึกที่ สนุก ชวนให้มุ่งไปข้างหน้า เหล่าบราสก็ไม่น้อยหน้า ถึงบทพระเอกก็เล่นได้อย่างเปี่ยมไปด้วยกำลัง
ต่อด้วยMvt2 ท่อนโปรดผมเลย เปิดตัวด้วยเหล่า brass ให้เสียงแบบน่าตื่นเต้น หลังจากนั้นถึงเวลานางเอก ไวโอลิน ขับร้องทำนองที่ชวนฝัน ตามมาด้วยเหล่าWood windมาช่วยเสริมความสง่า เพลงนี้เหมือนไปนั่งในทุ่งหน้า...เด๋วก่อนนะครับไม่ใช่สะวันนา นะ ร้อนนนไม่ไหว เเหะๆ ปล่อยมุขหน่อย อารมณ์นอนบนทุ่งหญ้ายามเย็น
ลมพัดเบาๆ มองไปยังท้องฟ้า ช่างชวนฝันจริงๆเลย เสียง เเนวเบส เป็นลูกๆ ทำให้กระชับขึ้นแต่ก็ยังคงความอ่อนหวานเสมอ ฟังกี่ครั้ง ก็ยังคงความอ่อนหวาน ไว้เสมอ ท่อนใกล้จบ ความอ่อนหวาน กลับเปลี่ยนกลายเป็นพลัง ขึ้นมา ด้วยเหล่าBrassอลังอย่างสง่างาม
ต่อด้วยMvt3 เปิดมาด้วยอารมณที่เปลี่ยนเเปลงจากท่อน 2อย่างเห็นได้ชัด เหมือนกับ ปจด มายังไงอย่างนั้น
เพลงเริ่มเเฝงไปด้วยพลัง ความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น แล้วค่อยๆผ่อนลงมาเป็นลูกเเมวขี้เล่น wood wind ผสานกันอย่างกลมกลืน เหล่าเครื่องสายเป็น เหมือนคอรัส เหล่าbrassมารับช่วงต่อหลังจากนั้น ถึงเวลา พายุลงอีกรอบ
ทMvt 2 ให้อารมณเหมือนกับทุ่งหญ้า ที่กว้าง แต่เปลี่ยนมาMvt3 เหมือนกับเดินเข้ามาในงานเทศกาล หรืองานแข่งขัน เพราะแฝงไปด้วยความสนุก แต่สิ่งที่เห็นคือความมุ่งมั่น ให้ความรู้สึกพุ่งไปข้างหน้ามากเลยครับ
ปิดท้ายด้วย Mvt4.เปิดมาด้วยความอลังการ และความยิ่งใหญ่ ความกล้าหาญถูกถ่ายทอดผ่านทรัมเป็ต
โดยมี เหล่าเครื่องสายเป็นเหมือนคอรัส ให้อารมณอย่างพุ่งไปข้างหน้าเหมือนท่อน3 แต่ท่อนนี้นั้นเต็มไปด้วยพลังมากเลยครับ มีการเปลี่ยนอารมณอยู่บ้างนะครับในมูฟเมนท์นี้ แต่จเห็นได้เลยว่ามีอยู่ 1ทำนองที่จะปรากฏอยู๋ในทุกมูฟเมนท์ สุดท้ายก็จบอย่างอลังการมากๆเลยครับ
อยากแนะนำให้ฟังกันนะครับ อ่านยากหน่อยนะครับผมใช้ภาษาไม่ค่อยเก่งเท่าไร จะพยายามปรับปรุงเเก้ไขนะครับ
แล้วจะเอาเพลงอื่นมารีวิว อีก ฟังคลาสสิคกัน เถอะครับ ได้อะไรหลายอย่างมาก
ได้หูฟังพวกPK2 หรือ ซาวเสตจแหล่มๆ นี่จะสุดยอดมากเลยครับ
ขอให้มีความสุขกับการฟังนะครับ ตอนนี้ขอเเวบไปอ่านหนังสือ สักหน่อยแล้วมาใหม่ครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 284

Earthz

26/02/2009 13:45:10
0
สวัสดีครับ
สาวก คลาสสิคมารายงานตัวครับ
เข้าเว็ปนี้มานานละ แต่พึ่งได้สมัครแหะๆ
Jupiterนี่ถ้าผมจำไม่ปิดรู้สึกว่าจะเป็นเพลงประกอบโฆษณา
ของ ธนาคารไทยพานิช นะครับ
ส่วนตัวผมชอบ "New world" symphony no.9 ของAntonin Dvorak
ที่ผมมีเป็นของวงChicago symphony orcresta บรรเลงได้อารมณ์มากเลยครับ
ว่างๆ พักอ่านหนังสือสอบ เลยเขียนรีวิวหน่อยนะครับ
คือเพลงนี้ ประกอบ ด้วย4 Movementตามเเบบฉบับของ ซิมโฟนี่ทั่วไปนะครับ
โดยมีดังนี้ Mvt1-Adagio,Allegro Molto
Mvt2-Largo
Mvt3-Molto Vivance
Mvt4-Allegro Con Fuoco
โดยMvt4 เราจะได้ยินทำนองบ่อยมากเลยครับ
ผู้ประพันธ์ ผลงาน ก็คือ Maestro Antonin Dvorak นั่นเอง
นักประพันธ์ยุคสมัยยุคRomantic 1820-1900
เป็นชาวโมฮีเมียน(ไม่ใช่ชาติไหน เช็คนั่นเอง)
เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ในครั้น ไปอเมริกา ในค.ศ. 1893
ว่ากันว่าเป็นเพลงที่ได้ยึดเเบบ มาจากเพลงพื้นเมืองของอเมิรกา(สมัยนั้นก็พวก อินเดียเเดง)
Symphony ฉบับนี้ถูกบรรเลง ครั้งเเรก โดยวงNew york phillharmonic ณ Carnegie Hall
สถานที่ ที่นักดนตรีใฝ่ฝัน Conductor คือ Anton Seidl
ว่ากันเลยที่ Mvt 1 สำหรับผมนั้นมันให้ความรูสึกเเบบ น่าติดตาม เสียง วิโอล่า ที่พริ้วไหว
หลังจากนั้นเปลี่ยนอารมณจากอ่อนหวานเริ่มร้อนแรงขึ้น หลังจากนั้นเหล่า ไวโอลิน เล่นทำนอง ซึ่งผมเดาว่าน่าจะเป็นเหมือนการลเล่นของพวกอินเดียเเดง ความรู้สนึกที่ สนุก ชวนให้มุ่งไปข้างหน้า เหล่าบราสก็ไม่น้อยหน้า ถึงบทพระเอกก็เล่นได้อย่างเปี่ยมไปด้วยกำลัง
ต่อด้วยMvt2 ท่อนโปรดผมเลย เปิดตัวด้วยเหล่า brass ให้เสียงแบบน่าตื่นเต้น หลังจากนั้นถึงเวลานางเอก ไวโอลิน ขับร้องทำนองที่ชวนฝัน ตามมาด้วยเหล่าWood windมาช่วยเสริมความสง่า เพลงนี้เหมือนไปนั่งในทุ่งหน้า...เด๋วก่อนนะครับไม่ใช่สะวันนา นะ ร้อนนนไม่ไหว เเหะๆ ปล่อยมุขหน่อย อารมณ์นอนบนทุ่งหญ้ายามเย็น
ลมพัดเบาๆ มองไปยังท้องฟ้า ช่างชวนฝันจริงๆเลย เสียง เเนวเบส เป็นลูกๆ ทำให้กระชับขึ้นแต่ก็ยังคงความอ่อนหวานเสมอ ฟังกี่ครั้ง ก็ยังคงความอ่อนหวาน ไว้เสมอ ท่อนใกล้จบ ความอ่อนหวาน กลับเปลี่ยนกลายเป็นพลัง ขึ้นมา ด้วยเหล่าBrassอลังอย่างสง่างาม
ต่อด้วยMvt3 เปิดมาด้วยอารมณที่เปลี่ยนเเปลงจากท่อน 2อย่างเห็นได้ชัด เหมือนกับ ปจด มายังไงอย่างนั้น
เพลงเริ่มเเฝงไปด้วยพลัง ความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น แล้วค่อยๆผ่อนลงมาเป็นลูกเเมวขี้เล่น wood wind ผสานกันอย่างกลมกลืน เหล่าเครื่องสายเป็น เหมือนคอรัส เหล่าbrassมารับช่วงต่อหลังจากนั้น ถึงเวลา พายุลงอีกรอบ
ทMvt 2 ให้อารมณเหมือนกับทุ่งหญ้า ที่กว้าง แต่เปลี่ยนมาMvt3 เหมือนกับเดินเข้ามาในงานเทศกาล หรืองานแข่งขัน เพราะแฝงไปด้วยความสนุก แต่สิ่งที่เห็นคือความมุ่งมั่น ให้ความรู้สึกพุ่งไปข้างหน้ามากเลยครับ
ปิดท้ายด้วย Mvt4.เปิดมาด้วยความอลังการ และความยิ่งใหญ่ ความกล้าหาญถูกถ่ายทอดผ่านทรัมเป็ต
โดยมี เหล่าเครื่องสายเป็นเหมือนคอรัส ให้อารมณอย่างพุ่งไปข้างหน้าเหมือนท่อน3 แต่ท่อนนี้นั้นเต็มไปด้วยพลังมากเลยครับ มีการเปลี่ยนอารมณอยู่บ้างนะครับในมูฟเมนท์นี้ แต่จเห็นได้เลยว่ามีอยู่ 1ทำนองที่จะปรากฏอยู๋ในทุกมูฟเมนท์ สุดท้ายก็จบอย่างอลังการมากๆเลยครับ
อยากแนะนำให้ฟังกันนะครับ อ่านยากหน่อยนะครับผมใช้ภาษาไม่ค่อยเก่งเท่าไร จะพยายามปรับปรุงเเก้ไขนะครับ
แล้วจะเอาเพลงอื่นมารีวิว อีก ฟังคลาสสิคกัน เถอะครับ ได้อะไรหลายอย่างมาก
ได้หูฟังพวกPK2 หรือ ซาวเสตจแหล่มๆ นี่จะสุดยอดมากเลยครับ
ขอให้มีความสุขกับการฟังนะครับ ตอนนี้ขอเเวบไปอ่านหนังสือ สักหน่อยแล้วมาใหม่ครับ

ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 285

Tanan

02/03/2009 09:36:14
ผมมี The Telarc Collection ทั้ง 10 CD เลยมันมาก
ลองหากันฟังดูก็ได้
เมื่อว่านผมไปซื้อ CD จากคลองถม ซื้อ Ultimate Voices : The most beautiful Melodies - The most beautiful Voices เป็นนักร้อง Opera ชื่อดังหลายๆใน Album เดียวแต่พอมาเปิดแม่เจ้ามันเอา MP3 มาอัดลงแผ่นชัดๆ ต่อ Amp ที่บ้านออกลำโพงแทบผู้คอตายรับไม่ได้เซ็งมากๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 286

lamgafy

01/06/2009 11:28:08
แทบผู้คอตายรับไม่ได้เซ็งมากๆ

เคยเป็นเหมือนกันครับแทบอยากจะบ้า
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 287

losttheways

11/06/2009 23:03:10
0
ผมก็เป็นคนหนึ่งครับที่ชอบฟังแนวนี้(เงียบๆคนเดียว) อิ อิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 288

Collagen

13/06/2009 20:44:27
4
สวัสดีครับทุกท่าน... หลังจากหายไปนาน วันนี้ผมขออนุญาต โม้สักหน่อยนะครับ หลังจากไม่ได้โม้มานานมาก....
บทเพลงที่ผมจะโม้ในวันนี้คือ บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล ครับ.... หลายๆ ท่านก็นึกถึงผลงานอมตะนิรันดร์กาลของ Antonio Vivaldi ในชุด The four seasons.... แต่ว่ายังมีนักแต่งเพลงอีกท่านที่ประพันธ์บทเพลงเกี่ยวกับฤดูกาลไว้ นอกจาก Vivaldi ก็คือ (Franz Joseph Haydn) ได้ประพันธ์บทเพลงที่บรรยายถึงธรรมชาติของฤดูกาลทั้ง 4 ไว้ ในชุด The Seasons ซึ่งเป็นผลงานเพลงในแนว Oratorio ซึ่งต่างจากผลงานชุดที่แล้วในชุด The Creation (แต่งเสร็จในปี 1798) ที่บรรยายถึง การสร้างโลกตารมพระคัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับพันธสัญญาเก่า (Old Testament)...

สำหรับบาทเพลง The Seasons ทางผู้ประพันธ์ (Haydn) ได้แต่งในแนวของการบรรยายถึงธรรมชาติของฤดูกาลและความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับธรรมชาติในแต่ละช่วงของปี บทประพันธ์นี้ถูกแต่งขึ้นในปี 1799 และแสดงในวันที่ 24 เมษายน 1801 ณ กรุงเวียนนา Haydn ได้แต่งผลงานนี้เมื่อมีอายุได้ 80 ปี (หลังจาก Mozart เสียชีวิตไปแล้ว 10 ปี) ซึ่งผลงานนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ต่อจาก The Creation (เนื่องจากไม่มีคู่แข่ง) บาเพลง The Seasons แบ่งเป็น 4 ส่วนตามแต่ละฤดูกาล ได้แต่ Spring (Der Frühling) , Summer (Der Sommer), Autumn (Der Herbst) และ Winter (Der Winter) ซึ่งแต่ละส่วนมีความยาวในการบรรเลงไม่ต่ำกว่า 30 นาที ในแต่ละส่าวนประกอบด้วย Recitatives หรือส่วนการเล่าเรื่อง Arias หรือส่วนของเพลง Choruses หรือส่วนของการขับร้อง (Choir) และ Ensemble นอกจากนี้ ส่วนของบุคคลที่เป็นผู้ดำเนิน (เล่า) เรื่องใน The Seasons ประกอบด้วย 3 คน คือ Hanne (ขับร้องเสียง Soprano), Lucas (ขับร้องเสียง Tenor) และ Simon ๖ขับร้องเสียง Bass)

ส่วนที่ 1 ฤดูใบไม้ผลิ...
ส่วนนี้เปิดขึ้นโดยการบรรยายถึงการผพ้นผ่านของฤดูหนาว และการเข้ามาของฤดูใบไม้ผลิ ท่วงทำนองของเพลงบรรยายถึงชีวิตในแถบชนบทที่ชาวนานและเกษตรกรเตรียมตึวทำไร่ทำนาในฤดูการเพาะปลูกใหม่ที่มาถึง

ส่วนที่ 2 ฤดูร้อน...
ส่วนนี้ได้บรรยายถึงชีวิจในชนบทเช่นเดียวกับส่วนของฤดูใบไม้ผลิ ชาวนาต้องตื่นแต่เช้ามาทำนา และได้บรรยายถึงสภาพอากาศที่ร้อนในช่วงกลางวัน นอกจากนี้ยังมีเสียงหึ่งๆ ของแมลง และเสียงของพายุฝนที่เกิดดขึ้นในฤดูร้อน และยังมีเสียงของนกร้อง และเสียงระฆังที่บอกถึง การสิ้นสุดการทำงานแต่ละวัน

ส่วนที่ 3 ฤดูใบไม้ร่วง...
ส่วนนี้กล่าวถึงการทำงานหนักในการเพาะปลูก และกล่าวถึงการเก็บเกี่ยว และยังมีการบรรเลงถึงการล่ากวาง รวมถึงการเฉลิมฉลองในฤดูกาลเก็บเกี่ยว ก็ฉลองชัยชนะจากการล่ากวาง

ส่วนที่ 4 ฤดูหนาว...
ส่วนนี้บรรเลงถึง สภาพทัศนวิสัยอันย่ำแย่ของฤดูหนาวที่ถูกปกคลุมไปด้วยหมอก และกล่าวถึงนักเดินทางที่หลงทาง และได้เดินทางมาหลบภัยที่กระท่อมต่อจากนั้นก็เป็นการเล่าเรื่องของความรักระหว่างขุนนางกับเด็กสาวชาวบ้าน ที่ไม่สมหวัง เนื่องจากเด็กสาวได้หนีไป... การบรรเลงเพลงในส่วนนี้บรรเลงคล้ายกับอุปรากรของ Mozart ในเรื่อง The Magic Flute... ในส่วนสรุป Simon ได้บรรยายเกี่ยวกับช่วงเวลาของชีวิตของคน และจบด้วยชีวิตในสรวงสวรรค์และการหมุนเวียนจองฤดูกาล....

ในส่วนของเพลงในชุด The Seasons ของ Haydn เสียงเน้นในช่วงโทนเสียงกลาง (เนื่องจากเป็นเพลงร้อง) แต่ก็มีช่วงเสียงสูงมาบ้างแต่ไม่มาก เหมาะสำหรับการฟังคำบรรยายมากกว่าครับ.... และเมื่อเปรียบเทียบกับ Four Seasons ของ Vivaldi ก็มีความแตกต่างกันพอสมควร ในส่วนของ Vivaldi เป็นเพลงบรรเลงถึงความงานของธรรมชาติในฤดูกาลทั้ง 4 แต่ในส่วนของ The Seasons เป็นการบรรเลงถึงความสัมพันธ์รหว่างบุคคลกับธรรมชาติ การลื่นไหลของจังหวะ ค่อนข้างแข็งกว่า บทเพลงของ Vivaldi แต่ว่าลูกเล่นในบทเพลงและความผสมผสานกันใน The Seasons มีมากกว่าครับ (ประกอบด้วยทั้ง Opera, Baroque และ Oratorio) ....

ปล. บทเพลง the Seasons นี้มีทั้งบรรเลงในส่วนของภาษาอังกฤษและเยอรมัน (แต่โดยมากมักจะเจอเป็นภาษาเยอรมันครับ)
ปล. 2 หายไปนาน โม้เยอะขนาดนี้ ต้องขออภัยด้วยนะครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 289

Tanan

13/06/2009 22:48:18
0
ผมเคนฟัง Summer อะ
ร้อนแรงดี อันที่เหลือยังไม่มีโอกาสเลยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 290

Collagen

14/06/2009 08:26:17
4
ถึงคุณ Tanan ครับ....

ถ้ามีโอกาสผมก็ยินดีขนแผ่นไปให้ลองฟังทั้งชุดเลยครับ ทั้งทั้ง 4 ฤดูของ The Seasons เลยครับ... (เพิ่งได้แผ่นมา)

ปล. ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ ที่ผมไม่สามารถ Rip แจกได้นะครับ เนื่องจากความงี่เง่าของเน็ทที่นี่ครับ...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 291

mäkoto

10/09/2009 14:15:46
1
สุดยอดมากครับ ผมเริ่มฟังคลาสิค จากคอลัมนิสต์ต่อพงษ์ มาสักปีสองปี เจอคุณCollagenบรรยายแบบเห็นภาพเลย vivadiผมโดนWinter - Allegro Non Moltoสุดๆครับ ชอบมาก

ไม่มีของ SERGEI RACHMANINOFF เพิ่มเติมมั่งเหรอครับฮี่ๆ ตอนนี้จมปลักกับSYMPHONY NO.2 IN E Minor และ VOCALISE,OP.34,NO.14. เริ่มนอกใจโชแปงแล้ววว
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 292

Collagen

10/09/2009 15:21:24
4
อ่า... กระทู้ยุคหินของผม...

ในส่วนของ Sergei Rachmaninov ผมไม่มีข้อมูลที่จะเขียนเลยครับ พี่ makoto (แล้วก็ตอนนี้รายงานที่จะต้องส่งยังเขียนไม่ค่อยทันเลยครับ) แต่ในความเห้นของผม ทั้ง Rachmaninov และ Chopin ผลงานเด่นๆ ดังๆ ก็เป็นบทเพลงที่ใช้เปียโนบรรเลงครับ (Rhapsody in a theme of Paganini กับ Nocturne) แต่คนละอารมณ์กันครับ ^ ^

ขอบคุณครับ ที่ช่วยขุดขึ้นมาครับ ^ ^
ถ้ามีโอกาสจะขออนุญาต โม้ต่อนะครับ....

ส่วนถ้าหากว่าสนใจเพลงก็หลังไมค์คุยกันได้ครับ... ^ ^
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 293

Touchy

03/10/2009 12:01:48
เพลงที่ใช้ปืนใหญ่ยิงรู้สึกจะมีอีกบทเพลงนะครับ ปั้งงง เลย ตั้งแต่เริ่ม เพลงก็เพลง

Explosons Polka ของ J.Strauss II บุตรครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 294

max

22/11/2009 22:50:37
สวัสดีครับผมผมอยากได้เพลงๆนึงตามหามาทั่วแล้วครับก็ยังไม่ได้มาเลยอยากจะขอซักเพลงจะได้มั้ยครับ
เพื่อว่าท่านใดมี แต่ไม่มีก็ไม่เป็นไรครับ
ขอบคุณ


Tchaikovsky seasons August
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 295

mäkoto

22/11/2009 23:36:21
1
มีคนคนขุดหนึ่งในกระทู้ที่ผมชอบมากที่สุดอิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 296

nita

22/12/2009 17:21:37
ขอบคุณค่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 297

Ann

12/02/2010 09:11:50
สวัสดีค่ะพี่ๆทุกคน หนูได้ฟังศิลปิืนไทยท่านหนึ่งเล่นเพลงคลาสสิก ซึ่งมีความไพเราะมาก
ผู้บรรเลงได้บอกชื่อเพลงและผู้แต่ง ซึ่งได้ยินไม่ค่อยชัดนักและพยายามค้นหาจากกูเกิ้ลแต่ก้อไม่เจอค่ะ
จึงอยากจะขอเรียนถามท่านผู้รู้ เผื่อว่าจะคุ้นๆ ชื่อบ้างค่ะ ชื่อเพลงมาเรรุสซ่า ของเฟอรารีส
หนูอยากทราบชื่อเพลงและชื่อศิลปินที่ถูกต้องค่ะ ขอบคุณพี่ๆมากค่ะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 298

oCtlyZm

12/02/2010 09:34:54
0
ใครขุดมาหว่า

แต่อันนี้ท่าจะไม่ดีนักสำหรับเวบเฮีย...
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 299

Noize

12/02/2010 09:38:18
2
ู^
^
สงสัยอันนี้แหละที่เฮียว่ามี bug ลบลิ้งค์ไปแล้วมันก็กลับมาอีก

ของเจ้าวุธแรงไม่ใช่เล่น ลองใหม่ครับเฮีย หิหิ..
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 300

mr.jum3o

30/07/2010 20:12:40
Ludwig Van Beethoven : Symphony No. 5 in C minor, Op. 67
01. I. Allegro con brio
02. II. Andante con moto
03. III. Scherzo : Allegro
04. IV. Allegro
ดาวน์โหลดที่นี่!! (คลิ๊กแล้วกรุณารอ 15 วินาที)


หนึ่งคำขอบคุณ คือ หนึ่งกำลังใจ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 301

mr.jum3o

30/07/2010 20:14:56
Ludwig Van Beethoven : Symphony No. 5 in C minor, Op. 67

01. I. Allegro con brio
02. II. Andante con moto
03. III. Scherzo : Allegro
04. IV. Allegro

http://8586a859.linkbucks.com (คลิ๊กแล้วกรุณารอ 15 วินาที)


หนึ่งคำขอบคุณ คือ หนึ่งกำลังใจ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 302

Noize

30/07/2010 20:34:09
2
^
^
ยังอุตส่าห์ขุดมาแถมใส่ลิ้งค์ให้อีกวุ๊ยยย..
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 303

อยากรู้

31/07/2010 15:46:08
มีนักร้องเพลงคลาสสิคบ้างมั้ยคับ


ขอคนที่ร้องเพลงคลาสสิคแล้วชื่อเพลงคลาสสิค


ขอบคุณมากคับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 304

canislupus

02/08/2010 12:23:40
สวัสดีค่ะ เป็นหน้าใหม่จริงๆ เพราะไม่เคยเข้าเวปที่นี่มาก่อน เห็นแฟนนั่งอ่านอยู่เรื่อย เลยลองเข้ามามั่ง เป็นกระทู้ที่ยาวมากค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้ดี สนุกมาก ส่วนตัวแล้วรู้สึกว่าเวลาฟังเพลงคลาสสิค เพราะที่สุดคือตอนไปค้นกรุแผ่นเสียงของคุณตามาเปิดฟัง แผ่นซีดีใหม่ๆอัดดียังไงเสียงก็สู้แผ่นเสียงแบบโบราณไม่ได้ ทำไมก็ไม่รู้นะคะ

piano concerto no.2 ของ RACHMANINOFF เคยฟังอันที่เป็น RACHMANINOFF play RACHMANINOFF ต้องบอกว่าให้ลองฟังกันเลยล่ะค่ะ มันบาดใจมาก ฟังที่คนอื่นเล่นก็ไม่ได้อารมณ์เท่า

เห็นพูดถึง Carmen ในกระทู้แรกๆ เป็น opera เรื่องนึงที่ชอบมากค่ะ แต่ไม่เคยฟังแบบที่เป็นบรรเลงอย่างเดียว เคยดูดีวีดีที่เป็นการแสดง แล้วก็มีแผ่นซีดีที่เป็นฉบับเต็ม ฟังแล้วจะได้อารมณ์ตามเนื้อเรื่องดีค่ะ แต่ต้องมีเวลามากหน่อย เพราะมันยาว อยากให้ได้ลองฟัง Carmen fantasy ทีแต่งโดย Sarasate ดูกันค่ะ เขาแต่งโดยเอา theme ของเรื่องนี้มาเรียบเรียงใหม่ เพราะมาก มีทั้งที่เป็น violin solo แล้วก็ที่เล่นกับวง orchestra

ไว้จะขอมาแจมใหม่นะคะ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 305

huahua

27/09/2010 08:57:53
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 306

Air Max Shoes

27/09/2010 09:33:37
yxzxf20100927 As we all know wearing high-heeled shoes will affect the foot health that has not been a news. But in the wrong shoes to flat feet sequela, increase the chance. Canvas shoes sprained foot when sneakers easy injury, but little-known. Canvas shoes from prior to fashionable circle became tide direction, then students are students, younger sister of primary and middle school students in physical education has become the common shoes. But this kind of material to the canvas shoes, not put on non-marking Air Max Shoes sneakers, the special BianPingZu with more is not suitable for the students to wear, because the body design is too soft shoes, shock absorption function, especially heel cup and in part, the student will not thick canvas shoes as Nike Air Max running shoes.
So a pair of sneaks is very essential, especially a pair of good texture and excellent absorbing-shock function. Air Max Nike shoes at www.iairmax.com provides variety of professional shoes, like Nike Air Max 2010, Air Max 97 etc all with low price and also high quality. Take Nike Air Max LeBron VII as an example, The LeBron VII houses 80% more air than any other full-length basketball Air-Sole unit. The basketball-specific 360 Air Unit provides maximum impact protection and stability, so you can take on the competition with confidence. So you could never be troubled by feet health of children or yourself.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 307

Timberland Boots

27/09/2010 09:55:58
zn 2010-8-27 Timberland Boots have high-quality materials, generous and fashion design, simple and practical, so most people love it! for kids, we also release new style.exquisite, adorable and warm. trust us: timberland boots can give your baby a warm winter!
High-quality Timberland Shoes, wonderful services, reasonable prices,burberry scarf, we believe that our store is your best choice! if you are looking for a product with full service from our online store, Timberland Boots Sale, please purchase from the franchised store instead.
In the company’s flagship “outdoor” concept, Timeberland stress refers to nature and the vast outdoor space, whether on land, sky, water or the seabed.
Timberland’s outdoor product demand is people’s physical and psychological in nature to pursue happiness,Merry Christmas to Me! this is life in austin &, rather than measurable sport performance Timeberland UK . so for the extreme-type sports-related products, timberland hold reservations.
Timberland is also the image of masculine women, the market began to pay attention. women now account for footwear 12% of total turnover this year, in september will be in its Cheap Timberland Boots operated stores,Wear A Cotton Bandana To Create Your Own Style, franchise and partnership stores introduced the first Women Timberland Boots women’s series. if this year’s favorable response, in 2002 autumn and winter will continue to expand product content, and increase the distribution points. in addition, Timberland Boots For Men is also possible to consider the future development of children’s wear market.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 308

Ugg Bailey Button

27/09/2010 09:56:13
zn2010-9-27

Classic Cardy Ugg is a season, some shoes, for example: Sandals for summer clothing, winter is generally do not have to wear shoes or UGG Nightfall Boots , Classic Ugg Boots, and so on, for example: only in the winter only, if you put it out in the summer, when it comes to the big joke. So regardless of Uggs Boots or shoes to wear when you save to their maximum effect.Winter shoes and UGG Ultra Short Boots are the best of warm clothing, and a variety of fabrics for Ugg Classic Tall , snow boots to become the preferred girls winter fashion and health. For Ugg Bailey Button , boots are saved when you don't have boots deformation.



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 309

MBT Shoes Sale

27/09/2010 09:56:33
zn2010.09.27 This pair of featured MBT Shoes on sale, you must also have good resistance to impact, in the complex to the harsh terrain, a pair of Buy MBT Shoes does not have a strong impact resistance, often is the sole plate. Hard floor surface long impact foot plate, even feet do not play bubble, a day to go down to the foot plates can be painful, upscale MBT Sport Shoes outlet, usually design and rich stretch of hard, not only can effectively combat the ground impact, and can effectively alleviate the pressure of body weight, on foot could better protection.Look closely at your ankles, the ankle of the medial slightly outside of the ankle when compared to the medial slightly concave.MBT Chapa Shoes tongue with lateral widening thicken asymmetry design, the tongue position more snapping the ankle, make MBT Shoes Sale caviar black and feet more reliable, thereby making Discount MBT Shoes in working more with feet, smoother, and asymmetry of the tongue is not easy to misplace.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 310

ysl198826@yahoo.com

27/09/2010 15:25:48
ysl20100927

Nike Shoes are a acceptable anatomy of cossack that originated in the Southern Hemisphere in Australia. Cheap Nike Shoes are created by application a sheep derma for the alien of the Nike Running Shoes and application sheeps absolute for the close lining to actualize a awful adequate Air Force One. They were decidedly accepted amidst farmers aural the arena as they helped to absorber their anxiety from the acrid winters.During the 1960\'s the Nike Air Max began to become accepted amidst surfers who would cull them on afterwards departure the ocean to advice accumulate their anxiety chargeless from the affliction of sand. One such surfer was Brian Walker who was aswell something of an administrator and absitively to accounts a surfing cruise to the west bank of the United States of America by demography a bassinet of Air Max 90 with him to advertise to locals if he arrived. The Air Jordan 2010 awash well, so able-bodied in actuality that in 1979 he set up a aggregation Nike Free 3.0 to deliver the boots beyond the states.During the aboriginal allotment of the twenty aboriginal aeon the Nike Shox Shoes started to advance a band afterward amidst celebrities in Hollywood causing the acceptance of the Nike Mercurial Vapors to soar. Seeing this success the ample Australian aggregation Decker absitively to buy the aggregation and one of their aboriginal accomplishments was to brand the name Nike Soccer Shoes.



ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 311

www.lacostelike.com

05/10/2010 08:52:07
LRH2010-10-5Lacoste Shoes Online has releases her new shoes for this season. For a long time, I didn’t notice shoes. But this time, I began to fall in love with Lacoste shoes. This time their Lacoste Shoes Sale are full of innovation and comfort.I love shoes with new designs. Shoes must be comfortable. I think Mens Laocste Shoes are the must-have points for choosing a pair of good shoes. When I was wandering on the internet, the Mens Lacoste Shoes attract me deeply. The shoes have leather upper with textured rubber outsole. On the shoes upper, there is large embroidered logo, whose color is the same with upper – white. The most outstanding place of the Lacoste shoes is the Cheap Lacoste Shoes. I saw too many shoes with shoelace closure.Though I love Lacoste shoes . If you are interested in flattie, Lacoste Shoes may be suitable for you. Flats are easy choice for every day. The flats have soft leather upper with textured rubber outsole. The soft upper are protective for your foot while the textured rubber outsole is to avoid slipping. There is an Lacoste logo on the shoe surface.Though I love Lacoste Carnaby Shoes.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 312

miu-miu-shoes

09/10/2010 15:05:58
Blockbuster and other video stores bvlgari replica watches had DVD or Blu-ray copies cartier bangle of both films from the replica bvlgari watches first day they became available. Tag Heuer watches Studios provide most of their mens bvlgari new releases to bricks-and-mortar retailers, bvlgari mens watches which typically rent them for tiffany jewelry a few days for $4 Replica Cartier watches and make procrastinators pay late miu miu flats fees.
However, the stores themselves are Omega Constellation closing quickly and becoming hard miu miu coffer bag to find. By the end miu miu jeans of the year, there will Omega Speedmaster be fewer than 9,900 video tiffany and co jewelry stores and they will account replica bvlgari watches for 29% of the $7.79 Franck Muller Watches billion that consumers will spend Rolex Cellini Prince to rent movies during 2010, replica bvlgari sunglasses Screen Digest forecasts. couples rings

In another four links of london earrings years, only 4,400 stores will replica bulgari be left with 11% of bvlgari b zero ring a $9.8 billion market.
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 313

ฟาง

29/07/2011 15:02:32
ชอบๆๆๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 314

watermusic

29/07/2011 18:32:07
พูดถึงเพลงคลาสสิคแล้ว ไม่พูดถึง conductor ก็คงไม่ได้นะครับ
คุณ Collagen ช่วยแนะนำ conductor ยุคหลัง ๆ ให้หน่อยครับ เผื่อจะได้หาผลงานมาฟังบ้าง
ชอบ symphony no9 ของ drovak ที่ karajan อำนวยเพลงมาก ดูได้แต่ในยูทูป
หาที่เป็น lossless ไม่ได้เลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 315

James Cook

31/07/2011 12:15:09
0
ขอฝากเว็บฟัง / download เพลงคลาสสิค ที่นี่ครับ

http://music.gadgetwizz.net/

เป็นเว็บของผมเองมีเพลงคลาสสิคทุกรูปแบบ ทุกยุค

แถมด้วยเพลงสากล และ Sountrack ดี ๆ เยอะเลยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 316

สมัครเล่น

31/07/2011 18:45:26
412



ลองหาแผ่นนี้ดูครับ
ออกจะแนวมัน ๆ แบบขาร๊อกไปหน่อย
แต่ก็อัดดีมากครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 317

hyplow

29/08/2011 09:45:55
0
ยุค barok เป็นเพลงประเภทคล้ายๆสวดหน่อยๆนะ ในความเห็นผม
ก้อมีความเห็นจากผู้สันทัดกรณีที่ไม่ใช่ผม..ฮ่าๆ
ว่าเพลงในยุคนี้เช่น bach, vivaldi นั้น ท่วงทำนองของเพลงจะทำให้คลื่นสมองราบเรียบใกล้เคียงกับการใช้หมองนั่งมาทิ ประมาณนั้น
ยังไงก้อลองฟังดูนะครับ
อีกคนที่ผมอยากแนะนำให้ฟังคือ John dowland นักประพันธ์ชาวอังกฤษในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ อันนี้ผมว่าพระกาฬยิ่งเพลงร้องยิ่งเทพ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 318

T.Visit

25/02/2012 02:29:46
Family Music สอนกีต้าร์และเปียโน
สำหรับเด็ก-ผู้ใหญ่ เริ่มต้น-พื้นฐาน-สามารถแกะเพลงทำโน้ตได้
อยู่ถนนสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ
0865658433 022339951
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 319

Killer

29/02/2012 13:07:15
มีผลงานของ antino salieri ไหมครับอยากได้ด่วน
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 320

souri

13/03/2012 13:30:10
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 321

souri

13/03/2012 13:30:49
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 322

onzevil13

27/04/2012 19:20:40
0
ขอบคุณมากเรยครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 323

saberr40

08/05/2012 17:08:06
0
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 324

grwastqz

06/04/2013 19:55:14
j61jh3d7

fkr9s0t7

f54yewr4t536

xd23p91r

km94gf1k
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 325

grwastqz

19/04/2013 12:26:29
pncux7gd

f3yvezp6

f54yewr4t536

f0u8qct9

smcrhok9
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 326

grwastqz

21/04/2013 22:28:16
h08qrs6f

j9a66lj6

f54yewr4t536

epzcjbpn

lwbtlzg3
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 327

grwastqz

22/04/2013 02:12:01
nmjsie8p

g7y1u6gq

f54yewr4t536

t9yymswq

clwj8x3d
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
"ขออนุญาต แจกเพลงคลาสสิกครับ"