Guest
หมวดหมู่ > เว็บบอร์ด จับฉ่าย

ช่องทางการติดต่ออื่น

  • Munkonggadget
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Reviews
  • Munkonggadget Contact Us

=== สัมภาษณ์คุณ Nageno Koji วิศวกรผู้อยู่เบื้องหลังหูฟังของ Sony โดย RE.V –> ===

sumat_kee

17/04/2015 09:57:25
2



สวัสดีครับ ไม่ได้เขียนบทความซะนานเลย วันนี้ผมได้นำบทสัมภาษณ์ของคุณ นาเกโน่ โคจิ ที่สัมภาษณ์โดยทีมงาน RE.V –> Gadget RE.V(iew) Blog; มาให้เพื่อนๆ อ่าน สำหรับ blog ของทีมงาน RE.V –> ผมไม่ได้รู้จักใครเป็นการส่วนตัว (หรือถ้าใครรู้จักจะแนะนำให้ผมรู้จักบ้างก็ได้นะครับ) ส่วนใหญ่จะเน้นไปในผลิตภัณฑ์ของ Sony ทั้งภาพและเสียง มีข้อมูลอีกหลายๆ ด้านของ Sony ที่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ดี ก็ลองไปติดตามที่บล็อคเขาได้นะครับ

แม้ว่าผมจะไม่ชอบหูฟังรุ่นใหม่ๆ ของ Sony เอาซะเลย (เสียงทั้งแหลมสูงและเบสลูกใหญ่ๆ ซึ่งผมไม่ชอบเบสแบบนั้น) แต่ผมก็ยอมศิโรราบกับหูฟังรุ่นเก่าๆ ของ Sony ครับ ผมไม่ใช่นักเล่นที่นิยมหูฟังรุ่นเก่านะครับ ผมนั้นเป็นพวกบ้าเสียงอย่างแท้จริง ไม่สนว่าจะเป็นของรุ่นไหน บริษัทอะไรผลิต ราคาถูกหรือแพง ดีก็ว่าดี ห่วยก็ว่าห่วยครับ 555 หลังจากที่เข้าดูพวก Youtube เห็นห้องอัดหลายๆ ห้อง นักร้องหลายๆ คนใช้หูฟัง มีหูฟังตัวหนึ่งที่ผมเห็นบ่อยมาก นั่นก็คือ Sony MDR-7506 นั่งร้องดังๆ ในโลกนี้แทบทุกคนต้องผ่านตัวนี้มาทั้งนั้น

ถามเพื่อนที่ทำงานด้านการบันทีกเสียงก็บอกว่าตัวนี้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ห้องอัดมีใช้กันทั้งนั้นเพราะให้เสียงที่เที่ยงตรง (เน้นว่าเที่ยงตรง ไม่ใช่เสียงเพราะนะครับ) ผมก็เริ่มเสาะแสวงหาด้วยราคาที่ไม่แพง (ไม่กี่พันบาท) ก็ยังงงอยู่ว่าทำไมห้องอัดราคาหลายๆ สิบล้านใช้หูฟังหลักพันว่ะ ซึ่งถ้าเขาจะใช้หูฟังราคาหลักแสนขนหน้าแข้งคงไม่ร่วงหรอกมั้ง 555 แต่ปัญหาคือมันผลิตมานานแล้ว (ตั้งแต่ปี 1991 ปัจจุบันเลิกผลิตไปแล้ว ถ้ามีของใหม่ก็จะเป็น New old stock ซุกอยู่ตามร้านต่างๆ) มี 2 version คือ made in Japan กับ made in Thailand

ตัว made in Japan หาค่อนข้างยากมาก (และก็เป็นที่ต้องการของตลาดมากด้วย) เพราะรุ่นหลังๆ เป็น Thailand กันหมดแล้ว มีเพื่อนที่เคยฟังทั้งสองตัวบอกว่าเสียงของตัว Japan ดีกว่ามาก ก็ตามหามาจนได้ครับในราคาสองพันกว่าๆ สิ่งที่ผมทึ่งคือมันให้เสียงที่ชัดเจนมาก มิติดีมาก บอกตำแหน่งของเครื่องดนตรีทุกชิ้นได้แบบไม้ต้องเพ่งเลย แต่ข้อเสียคือเสียงที่คมมาก เสียงร้องก็คม เบสก็คม มิน่าหลายๆ คนถึงไม่ค่อยชอบมัน Sony MDR-7506 เป็นหูฟังสำหรับจับผิดจริงๆ ครับ และไม่เหมาะกับเครื่องเล่นที่กำลังขับน้อยเพราะจะทำให้เสียงบางมาก แต่พอเจอกับพวก CD รุ่นเก่าๆ อย่าง Sony D5 , D25s แล้วฟังสนุกมากครับ โดยเฉพาะกับกลุ่มพวก Recoder นี่เข้ากันสุดๆ (เพราะมันคืออุปกรณ์ห้องอัดด้วยกันทั้งคู่)

หาข้อมูลไปเรื่อยๆ ก็ทำให้รู้ว่ามีเพื่อนๆ ในกลุ่มร่วมกันคือ Sony MDR-V6 กับ Sony CD-900 และ CD-900ST ด้วย (รูปทรงจะคล้ายกัน) ทำให้รู้ว่าถ้าขึ้นรหัส MDR เฉยๆ นี่ขายทั่วโลก แต่ถ้ารหัส CD จะขายเฉพาะในญี่ปุ่น (ชาตินิยมจริงๆ) ซึ่ง Sony MRD-7506 เป็นพี่น้องกับ Sony CD-900 ครับ คือเหมือนกันทุกอย่าง แต่คนที่มี Sony CD-900 บอกว่าเสียงดีกว่า Sony MDR-7506 นะ (เอาเข้าไป 555) เอาล่ะช่างมันเถอะแต่ทำให้รู้ว่าหูฟังรุ่นเก่าๆ ของ Sony เสียงดีจริงๆ เมื่อเทียบกับราคา

หูฟัง Sony ตระกูล CD (ที่ทำขายเฉพาะในญี่ปุ่น) มีชื่อเสียงมานานแล้ว นักเล่นหลายๆ คนใน Head fi ก็ถือหูตระกูล CD ไว้หลายตัวทีเดียว รหัสของ CD เริ่มตั้งแต่ 300 500 700 800 900 1000 มีหลากหลายเวอร์ชั่นย่อย แต่ก่อนตัว Top คือ Sony CD-1000 แต่ก็มีตัวใหม่ออกมาแทนคือ Sony CD-3000 ซึ่งถือว่าสูงสุดในตระกูล CD ราคา ณ ปัจจุบันก็ซื้อขายกันราวๆ 15,000 - 20,000 บาท ค่อนข้างหายาก CD3000 ใช้ไดร์เวอร์เซลลูโลส แบบเดียวกับ Sony R-10 เรียกว่าเป็นพี่น้องกับ R-10 ก็ได้ (แต่ Sony R-10 ราคา 150,000 - 200,000 นะครับ 555)

หูฟังหลักปัจจุบันของผมคือ Sony CD-6 เป็นน้อง CD-7 แต่ 2 รุ่นนี้ใช้ไดร์เวอร์เคลือบทองเหมือนกัน (ใช้โลหะทองยิงเข้าไปในไดร์เวอร์ Gold beam ผลิตในปี 1986) Sony ได้ทำหูฟังโดยใช้ทองเคลือบไดร์เวอร์แค่ 2 รุ่นนี้เท่านั้นและไม่ทำอีกเลย และในโลกปัจจุบันบันก็แทบไม่มีไดร์เวอร์เคลือบทองเหลืออยู่เลย ตัวที่เป็นตำนานก็คือ Sennheiser HE-90 หรือ Orpheus ราคาหลักครึ่งล้านนั่นเอง แม้ว่าเสียงของ CD6 จะยังห่างจาก Orpheus มาก แต่ก็ถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับหูในยุคปัจจุบัน

นั่นทำให้ผมสนใจคนที่ทำหู Sony ในยุคแรกๆ ยุคที่หูฟังของ Sony ยังไม่เป็นที่นิยม ผมชอบเสียงที่เขาจูน (เพราะผมเองก็ทำเคยทำหูฟังเคยจูนหูฟังเหมือนกันรู้ว่ายากจริงๆ) จนในที่สุดก็ได้พบผู้อยู่เบื้องหลังตัวจริงนั่นคือคุณ โคจิ คนนี้นี่เอง 555

เพื่อเป็นการให้เกียรติกับ blog RE.V –> ขอให้ทุกคนตามไปอ่านบทสัมภาษณ์เต็มๆ ได้ที่นี่ครับ
http://rev.at1987.com/interviews/nageno-koji/

ขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ พบกันใหม่ สวัสดีครับ

ปล. Sony MDR-3 กับ Sony R-10 ก็เขานี่แหละครับ ส่วน Sony CD-900ST นี่ทำให้ห้องอัดครับ ห้องอัดทั่วญี่ปุ่นใช้ตัวนี้กันทั้งนั้น กว่าจะทำให้ห้องอัดพอใจได้ใช้เวลา 3 ปี แม่เจ้าอะไรมันจะยากขนาดนั้น 555 CD-900ST ถือว่าเป็นหูฟังที่คนฟังจะได้ฟังเสียงแบบเดียวกับนักร้องนั่นแหละครับ และเป็นพี่น้องกับ Sony MDR-7506
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 1

redondo16

17/04/2015 10:14:43
55
ซีรี่ย์ใหม่ๆอย่าง xba แกก็คงทำอยู่แหละครับ แต่อาจจะไม่ได้ลงไปทำทุกดอกแบบแต่ก่อน เพราะตอนเปิดตัว xba ในไทย 2-3 ปียังมาพรีเซนต์ด้วยตัวเองเลย (ใน blog RE.V หรือในเวปเฮียก็มี)

แต่แนวเสียงก็ต่างจริงๆแหละครับ ผมมี E-888 เทียบกับ XBA-H2 นี่คนละแนวเลย

มีพี่ที่ทำงานจะไป JAP ยังชั่งใจอยู่ว่าจะฝากหิ้ว CD-900ST หรือ EX800ST ดี
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 2

crabfather

17/04/2015 10:32:34
กำลังนั่งอ่านอยู่ครับ ขอบคุณมากครับ เฮียแกระดับตำนานจริงๆ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 3

paopy2iiam

17/04/2015 10:56:50
2
ค่อยมาอ่านครับ อิอิ

รอให้ Sony มาลงตลาดหู Custom อยู่ครับ อิอิ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 4

Reizei_Mako

17/04/2015 11:46:38
23
ขอบคุณครับ สาระล้วนๆ เลย
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 5

joe_np1920

17/04/2015 12:39:29
3
ความรู้ใหม่ล้วนๆครับ
ขอขอบคุณครับ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 6

คนไม่มีแฟน

17/04/2015 12:53:14
บทความใน Blog ของคุณat1987 ซึ่งเป็นuser ท่านหนึ่งในบอร์ดนี้
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 7

นายมั่นคง

17/04/2015 13:20:48
4,282
เคยมาไทยครับ 555
ขอบคุณครับพี่สุเมธ
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
ความคิดเห็นที่ : 8

ด.ช.สมชาย

18/04/2015 08:05:52
0
ได้อ่านอย่างนี้

รีบหยิบ 7506 มาฟังเลย 555
ให้กำลังใจ 0
หยิกหู 0
แจกหู 0
"=== สัมภาษณ์คุณ Nageno Koji วิศวกรผู้อยู่เบื้องหลังหูฟังของ Sony โดย RE.V –> ==="